RedCyberClub Forum
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

<<< เนปาล จากวันวานถึงวันนี้ >>>

Go down

<<<  เนปาล จากวันวานถึงวันนี้ >>> Empty <<< เนปาล จากวันวานถึงวันนี้ >>>

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Feb 24, 2010 5:23 am

ราชอาณาจักรเนปาล (KINGDOM OF NEPAL)
...
2. ประวัติศาสตร์โดยย่อ

ราชอาณาจักรเนปาลมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าสองพันปี โดยเริ่มจากชนเผ่าKirates ในเขตหุบเขากาฐมาณฑุ ต่อมาในราวคริสตศตวรรษที่ 4 ตระกูล Lichhavis ได้ปกครองดินแดนนี้ โดยได้รับอิทธิพลฮินดูและพุทธจากอินเดีย ประวัติศาสตร์ปรากฏเด่นชัดขึ้น เมื่อราชวงศ์มัลละ (Malla) ได้ปกครองพื้นที่ทางตะวันตกของเนปาล และหุบเขากาฐมาณฑุ(Kathmandu Valley) ทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 18 ถึง 21 ต่อมาราชอาณาจักรของราชวงศ์มัลละได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 รัฐด้วยกัน คือ กาฐมาณฑุ บัคตาปูร์ ลาลิตปูร์ (ปาทาน) และกีรติปูร์
ในราว พ.ศ. 2311 กษัตริย์ Prithivi Narayan Shah ต้นราชวงศ์ชาห์ในปัจจุบันได้สถาปนาราชอาณาจักร Gorkha โดยรวบรวมอาณาจักรของเนปาลเป็นอาณาจักรเดียว ต่อมาเนปาลได้รับชัยชนะในการทำสงครามกับผู้รุกราน อาทิ อังกฤษทางด้านอินเดีย และจีนทางด้านทิเบต ในช่วงนี้เนปาลปกครองโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศในบรรดาศักดิ์ “Rana”ที่สืบทอดกับมาในตระกูล Shamsher ประมาณ 100 ปี ช่วงดังกล่าวกษัตริย์เป็นประมุขเพียงในนามเท่านั้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2493 อำนาจในการบริหารประเทศจึงกลับคืนมาสู่กษัตริยอีกครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดี Tribhuvan และในช่วงเวลาเดียวกัน พรรค Nepali Congress(NC) ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกในเนปาล
พ.ศ. 2502 สมเด็จพระราชาธิบดี Mahendra ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ และได้จัดให้มีการเลือกตั้งโดยมี นาย B.P. Koirala หัวหน้าพรรค NC ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ใน พ.ศ. 2505 ได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดการปกครอง“ ระบบปัญจยาต ”(Panchayat System) หรือระบบรัฐสภาแบบสภาเดียวและไม่มีพรรคการเมือง
ช่วง ต้นปี พ.ศ. 2533 มีการชุมนุมประท้วงและก่อการจลาจลเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยแบบมีพรรคการ เมืองหลายพรรค(multi - party system)โดยมีการแทรกแซงจากต่างชาติโดยเฉพาะอินเดีย เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2533 สมเด็จพระราชาธิบดีBirendra ทรงประกาศยกเลิกข้อห้ามที่มิให้มีพรรคการเมืองและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
กษัตริย์ องค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดี Gyanendra เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชาห์ พระองค์ที่ 13 ขึ้นครองราชย์ เมื่อ 4 มิถุนายน 2544 ภายหลังโศกนาฎกรรมที่เกิดเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์หมู่ สมเด็จพระราชาธิบดี Birendra และพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544

-----------------------------------------
3. การเมืองการปกครอง

ระบอบการปกครอง
ฝ่ายนิติบัญญัติ : รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน (House of Representatives – Pratinidhi Sabha) จำนวน 205 คน มีวาระ 5 ปี และสภาสูง (National Assembly – Rajya Sabha) จำนวน 60 คน ซึ่ง 10 คน มาจากพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง 35 คนมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาฯ (ต้องมีผู้หญิงอย่างน้อย 3 คน) และ 15 คน มาจากการเลือกตั้งจากเขตต่างๆ ทั่วประเทศ สมาชิกสภาสูง 1 ใน 3 หมดวาระทุก 2 ปี
หมาย เหตุ - ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2545 สภาผู้แทนราษฎรและสภาสูงถูกยุบไป และยังอยู่ระหว่างรอกำหนดวันเลือกตั้ง ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งรัฐบาลให้เป็นผู้บริหาร ประเทศ
ฝ่ายบริหาร : รัฐบาลมาจากพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาฯ หรือหลายพรรคที่รวมกันแล้วมีเสียงข้างมากในสภาฯ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี
เนปาลแบ่งเขตการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 5 ภาค (Development Regions) แต่ละภาคประกอบด้วย 2-3 โซน มีทั้งสิ้น 14 โซน แต่ละโซนประกอบด้วย 4-8 เขต รวมทั้งสิ้น 75 เขตบริหาร (Administrative Districts) ในแต่ละเขตมีหัวหน้าผู้บริหาร เรียกว่า “Chief District Officer” มีหน้าที่รับผิดชอบการปกครองดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย ร่วมมือประสานงานและปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงต้นสังกัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย คือ เขตพัฒนาหมู่บ้าน “Village Development Committee” โดยมีหัวหน้าบริหารเรียกว่า “Local Development Officer”
ฝ่าย ตุลาการ : ประกอบด้วยศาลชั้นต้น (District Court) ศาลอุทธรณ์ (Appellate Court) และศาลฎีกา (Supreme Court) ประธานศาลฎีกาได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ มีวาระ 7 ปี
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2534 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยครั้งแรก ในรอบ 32 ปี และได้รับความสนใจจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือจัดทำหีบบัตรเลือกตั้งและให้ ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายการเลือกตั้ง เพื่อให้การเลือกตั้งดำเนินไปโดยเสรีและยุติธรรมแล้ว นาย James Earl (Jimmy) Carter อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย

สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 สมาชิกรัฐสภาพรรค NC จำนวน 60 คน ได้เข้าชื่อยื่นหนังสือขอให้เลขาธิการพรรค NC ในรัฐสภา เรียกประชุม เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นาย Krishna Prasad Bhattarai นายกรัฐมนตรีเนปาล เนื่องจากนาย Bhattarai ไม่สามารถควบคุมคณะรัฐมนตรีในเรื่องการทุจริตและไม่สามารถปราบปรามการก่อการ ร้ายของกลุ่ม Maoists ซึ่งพยายามจะล้มล้างระบอบประชาธิปไตยในเนปาล โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2543 นาย Bhattarai ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากมีรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งรวมทั้ง สิ้น 12 คน เป็นผลให้พรรค NC ต้องเลือกสรรผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยมีผู้สมัคร 2 คน คือ นาย Girija Prasad Koirala และนาย Sher Bahadur Deuba ผลการลงคะแนนเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค NC ปรากฏว่า นาย Koirala ได้รับคะแนนเสียง 69 คะแนน ขณะที่ นาย Deuba ได้รับคะแนนเสียง 43 คะแนน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543 สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนปาลจึงได้แต่งตั้งให้นาย Girija Prasad Koirala ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
วัน ที่ 19 กรกฎาคม 2544 นาย Koirala ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนปาล เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกลุ่ม Maoists และปัญหาคอรัปชั่นจากกรณีการเช่าเครื่องบิน Lauda Air ของสายการบินแห่งชาติ Royal Nepal Airlines Corporation รวมทั้งไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับพระ ราชวงศ์เนปาล เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544
วันที่ 22 กรกฎาคม 2544 พรรค NC ได้ออกเสียงลงมติให้ นาย Sher Bahadur Deuba ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของเนปาล
สำหรับกลุ่ม Maoists เป็นกลุ่มที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ตามแนวทางเหมา เจ๋อ ตุง และได้เรียกร้องให้เนปาลปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยใช้กำลังต่อต้านรัฐบาลและดำเนินสงครามประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 กลุ่มดังกล่าวสามารถควบคุมพื้นที่ในชนบทได้เป็นส่วนใหญ่ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในระดับท้องถิ่นเนื่องจากกลุ่มดังกล่าวเอา ชนะใจประชาชนด้วย การนำทรัพย์สินและอาหารที่ปล้นสะดมได้จากพ่อค้าและผู้มีฐานะในท้องถิ่นไปแจก จ่ายให้กับประชาชนที่ยากไร้และใช้ความรุนแรงข่มขู่และลงโทษประชาชนที่ไม่ เห็นด้วยหรือไม่ให้ความร่วมมือ
ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน 2544 กลุ่ม Maoists ได้พยายามก่อความไม่สงบที่กรุงกาฐมาณฑุและบริเวณใกล้เคียงด้วยการลอบวาง ระเบิดตามจุดต่างๆเพื่อประท้วงการที่รัฐบาลเนปาลประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับ ความปลอดภัยของสาธารณชน (Public Safety Regulations 2001) เพื่อให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการจับกุมบุคคลใดเพื่อคุมขังหรือ กักกันบริเวณหากเห็นว่าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่ออธิปไตยของชาติหรือ ละเมิดกฎหมายและความสงบของบ้านเมือง ซึ่งทำให้กองทัพบกและกลุ่ม Maoists ปะทะกันอย่างรุนแรง เป็นที่เข้าใจว่าการโจมตีของกลุ่ม Maoists มีวัตถุประสงค์ที่จะลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ซึ่งทำให้ ฯพณฯ นาย Koirala ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนปาลเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2544
หลังจากการเจรจากับกลุ่มก่อการร้ายล้มเหลว โดยกลุ่ม Maoists ได้ถอนตัวจากการเจรจาฝ่ายเดียวและกลับไปใช้ความรุนแรงอีก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี Deuba ได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน (State of Emergency) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลสั่งเคลื่อนย้ายกำลังทหารเพื่อปราบปราม การก่อการร้าย และขยายอายุอีก 3 เดือน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545 อย่างไรก็ตาม เมื่อใกล้จะครบกำหนด ฯพณฯ นาย Koirala อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานพรรค NC รวมทั้งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ CPN (UML) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุด ได้ประกาศไม่สนับสนุนการขยายอายุภาวะฉุกเฉิน ซึ่งได้นำไปสู่การยุบสภาผู้แทน ราษฎรเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 (ค.ศ.2002)
พรรคการเมืองในสภา(ก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 22 พฤษภาคม 2545)ประกอบด้วย
พรรค Nepali Congress มีส.ส. จำนวน 113 คน
พรรค Communist Party of Nepal/Unified Marxist-Leminist มีส.ส. จำนวน 69 คน
พรรค National Democratic Party (Rastriya Prajatantra Party-RPP) มีส.ส. จำนวน 11 คน
พรรค Nepal Sadbhavana (Goodwill) Party มีส.ส. จำนวน 5 คน
พรรค National People’s Front มีส.ส. จำนวน 5 คน
พรรค Nepal Workers’and Peasants’ Party มีส.ส. จำนวน 1 คน
พรรค United People’s Front มีส.ส. จำนวน 1 คน
ประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ นาย Tara Nath Ranabhat
อย่างไรก็ตาม ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในเนปาลอีกครั้งเมื่อ ฯพณฯ นาย Deuba ได้กราบทูลสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ให้เลื่อนการเลือกตั้งทั่วไปออกไปอีกกว่า 1 ปี โดยอ้างว่าเพื่อจัดการเจรจากับกลุ่มก่อการร้ายนิยมเหมาให้สำเร็จเสียก่อน แต่สมเด็จพระราชาธิบดี Gyanendra กลับทรงปลด ฯพณฯ นาย Deuba ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อ 4 ตุลาคม 2545 และทรงประกาศว่าจะใช้อำนาจปกครองประเทศจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ในวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ฯพณฯ นาย Lokendra Bahadur Chand เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยมีนาย Badri Prasad Mandal เป็นรองนายกรัฐมนตรี และมีรัฐมนตรีอีก 7 คน ต่อมาได้มีการปรับเพิ่มคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2545 ทำให้มีคณะรัฐมนตรีรวมทั้งสิ้น 22 คน
การปลดนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง และการใช้พระราชอำนาจปกครองของกษัตริย์ทำให้ถูกผู้นำพรรคการเมืองใหญ่ที่มี อิทธิพลวิพากษ์วิจารณ์ว่ากษัตริย์จะนำประเทศไปสู่ระบอบการปกครองแบบปัญจยาต ซึ่งห้ามมิให้มีพรรคการเมืองและกษัตริย์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ (Absolute Monarchy)

ผู้นำพรรค NC พรรค CPN/UML พรรค NC (Democratic) ซึ่งแยกตัวออกมาจากพรรค NC และพรรคฝ่ายซ้ายต่างๆ ได้จัดประท้วงทางการเมืองตลอดมา นอกจากนี้ กลุ่ม Maoists ก็ทำการก่อการร้าย ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร พลเรือน และบังคับให้หยุดงานทั่วประเทศหรือตามท้องถิ่นต่างๆอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก นำไปสู่ความตกต่ำทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมมากที่สุดยุคหนึ่ง แม้ว่า ฯพณฯ นาย Chand จะได้ประสบผลไปขั้นต้นในการประสานดำเนินการเจรจากับกลุ่ม Maoists คณะของทั้งสองฝ่ายเห็นชอบเรื่อง Code of Conduct 22 ข้อร่วมกัน แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ฯพณฯ นาย Chand ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ความ ขัดแย้งกับพรรคการเมืองต่างๆ ได้ รวมทั้งยังไม่มีความคืบหน้าในการเจรจากับกลุ่มMaoists ทั้งนี้มีการหยุดยิงมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2546และมีการเจรจาอย่างเป็นทางการกันมาแล้ว 2 รอบ ซึ่งกลุ่ม Maoists ก็ได้เริ่มปฏิบัติการโจมตี วางระเบิด ลักพาตัว ปล้นสะดมเผาอาคารที่ทำการของรัฐบาล เรียกค่าไถ่ หนักขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2546และในเดือนตุลาคม หลังเทศกาลศาสนาฮินดูสิ้นสุดลง รัฐบาลได้มีมาตรการตอบโต้และกวาดล้างกลุ่ม Maoists อย่างจริงจังจนทุกวันนี้ และเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2546 สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรเนปาลได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ฯพณฯ นาย Surya Bahadur Thapa อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย และเป็นผู้นำคนหนึ่งของพรรค Rastriya Prajatantra Party - RPP ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบแทน ฯพณฯ นาย Chand

สถานการณ์ทางการเมืองภายในล่าสุด

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2003 สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลชุด ปัจจุบันภายใต้การนำของฯพณฯ นาย Thapa จำนวน 6 คน ที่มาจากพรรค RPP ดังนี้
1. Dr. Prakash Chandra Lohani ดำรงตำแหน่ง รมว.ก.การคลัง
2. Mr. Kamal Thapa ดำรงตำแหน่ง รมว.ก.สารนิเทศและคมนาคม
3. Mr. Hari Bahadur Basnet ดำรงตำแหน่งรมว.ก.การศึกษาและการกีฬา
4. Mr. Buddhi Man Tamang ดำรงตำแหน่งรมว.ก.วางแผนจัดการและการทำงาน
5. Mr. Sarbendra Nath Shukla ดำรงตำแหน่งรมว.ก.วัฒนธรรม ท่องเที่ยวและการบินพลเรือน
6. Ms. Renu Kumari Yadav ดำรงตำแหน่ง State Minister ก. สตรี เด็กและสวัสดิการสังคม

ทั้ง นี้ รัฐมนตรี หมายเลข 1.- 5. จะเป็นรัฐมนตรีที่มีอำนาจเต็มในครม. และได้เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรเนปาลแล้ว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2003 สำหรับรมต. สตรีคนเดียวในการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งครั้งนี้เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค RPP แต่ตำแหน่งรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้งไม่มีอำนาจเต็มจะปฏิบัติหน้าที่ใน กระทรวงสตรี เด็ก และสวัสดิการสังคม และรายงานต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี Thapa สำหรับตำแหน่งอื่นๆ ในคณะรัฐมนตรีที่ยังมิได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในกระทรวงฯ สำคัญๆ จะอยู่ในความรับผิดชอบของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี Thapa ผู้เดียว และมอบหมายให้รัฐมนตรีบางท่านรับผิดชอบกระทรวงฯ อื่นๆ บางกระทรวงด้วย สำหรับกระทรวงการต่างประเทศ แม้ว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี Thapa จะรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้วยก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติได้มอบหมายให้ Dr. Bhekh Bahadur Thapa ตำแหน่ง Ambassador-at-large (เทียบเท่ารัฐมนตรี) ทำหน้าที่ช่วยกำกับดูแลงานของกระทรวงฯ และคาดว่าหากจะมีการปรับ ครม. ครั้งต่อไป Dr. Bhekh Bahadur Thapa ก็จะขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนปาลอย่างแน่นอน ซึ่งขณะนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี Thapa กำลังอยู่ระหว่างการสรรหาผู้ที่เหมาะสมเข้าร่วมในคณะรัฐบาลต่อไป
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 นาย Tara Nath Ranabhat โฆษกสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศว่า ตนจะขอลาออกจากตำแหน่ง หากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันไม่คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยกล่าวว่า กษัตริย์จำเป็นต้องแต่งตั้งสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ หรือไม่ก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งโดยแต่งตั้งรัฐบาลที่ประกอบด้วยพรรคการ เมืองทุกพรรคขึ้น ทั้งนี้ นาย Ranabhat เห็นว่า เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งของตนสิ้นสุดลงในวันที่ 14 เมษายน 2547 ตนก็จะไม่ขอดำรงตำแหน่งต่อเนื่องจากเป็นการไม่ถูกต้องที่จะมีโฆษกสภาผู้แทน ราษฎรต่อไปเมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎร

สถานการณ์การเมืองภายในตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2546 - มกราคม 2547

รัฐบาล Thapa พยายามจัดการเจรจาสันติกับกลุ่ม MAOISTS ขึ้น เป็นการเสนอเปิดเจรจาสันติ รอบที่ 3 กลางเดือนสิงหาคม 2546 แต่ประสบความล้มเหลว กลุ่ม MAOISTS ได้ปฏิบัติการก่อความไม่สงบ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2546 ทั้งในและนอกเมืองหลวง เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นช่วงมรสุม และเทศกาลสำคัญทางศาสนาฮินดูก็ตาม กลุ่ม MAOISTS ประกาศหยุดงานทั่วประเทศในเนปาล ระหว่าง 18-20 กันยายน 2546 มีการปะทะกันระหว่างกองกำลังรัฐบาลกับกลุ่ม MAOISTS มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงธันวาคม 2546 ก็ไม่มีท่าทีจะยุติ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ ต่อมาเมื่อ 16 ธันวาคม 2546 ทางการเนปาลได้จับกุมผู้นำนักศึกษา 3 คน เพื่อดำเนินคดีทำให้เกิดปฏิกิริยาประท้วงการกระทำของทางการเนปาลโดย องค์กรนักศึกษาทั่วประเทศ รวมตัวกันประท้วงทั้งในตัวเมืองหลวงและจังหวัดต่าง ๆ เป็นผลให้รัฐบาลเปิดศึกหลายด้าน แต่ในที่สุดต้องปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 3 แต่ไม่ทำให้ภาพพจน์รัฐบาล Thapa ดีขึ้น เพราะในช่วงนั้น พรรคการเมืองใหญ่ ทั้ง 5 พรรค ได้ออกโรงช่วยองค์กรนักศึกษาด้วย และต่อมาสถานการณ์บีบบังคับให้ ฯพณฯ นาย Thapa พิจารณาตัวเองซึ่งเป็นช่วงที่ ฯพณฯ นาย Thapa ออกเดินทางไปเยือนประเทศสมาชิกกลุ่ม SAARC ระหว่างวันที่ 17-22 ธันวาคม 2546
ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2546 หัวหน้าพรรค RPP ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ ฯพณฯ นาย Thapa สังกัด ได้ยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการให้ ฯพณฯ นาย Thapa ลาออก และนักศึกษา 7 องค์กรได้ร่วมกันก่อการประท้วงตามท้องถนนเพื่อต่อต้านรัฐบาลและสมเด็จพระ ราชาธิบดี Gyanendra ที่รวบอำนาจ และเป็นเผด็จการ ให้เนปาลฟื้นฟูให้มีรัฐสภา เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐ (Republican) และให้จัดตั้งสภาชั่วคราวเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ และมีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ ส่วนกลุ่ม MAOISTS ที่ได้ก่อการกบฏต่อต้านรัฐบาลเนปาลมานานหลายปีแล้วนั้น ก็ได้เพิ่มการก่อการรุนแรงในหลายพื้นที่ และได้ประกาศเขตเอกราชในเขตชนบททางภาคตะวันตกของเนปาล และกลุ่ม MAOISTS ได้เพิ่มการก่อการร้ายถี่ขึ้นด้วยการวางระเบิด ลอบฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ข้าราชการของรัฐ ตลอดจนประชาชนตามพื้นที่ด้านนอกและใกล้เขตเมืองหลวง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนไม่น้อย ในขณะเดียวกัน รัฐบาลเนปาลได้เพิ่มมาตรการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อกลุ่มนักศึกษาที่ทำการ ประท้วงและกลุ่ม MAOISTS และกล่าวหาว่านักศึกษาได้รับการยุยงส่งเสริมจากกลุ่ม MAOISTS มาทำการก่อกวนและล้มล้างรัฐบาลและระบอบกษัตริย์ ฉะนั้น ความมั่นคงของเนปาลและกษัตริย์ของเนปาลจึงได้รับผลกระทบกระเทือนจากแรงกดดัน จากกลุ่มนักการเมือง นักศึกษา และกลุ่ม MAOISTS อย่างมาก หากเนปาลไม่สามารถเจรจาให้เกิดการประนีประนอม และมีความสามัคคีในชาติได้ ความมั่นคงในชาติก็ต้องตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวง ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตจะได้ติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป

http://www.mfa.go.th/web/1720.php

--------------------------------------------------------------------------------------

ปิดฉากสถาบันกษัตริย์เนปาล รัฐบาลเตรียมประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐปีหน้า
Tue, 2007-12-25 05:37

บีบีซีรายงานเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ว่า รัฐบาลเนปาลเตรียมยกเลิกระบบกษัตริย์แล้ว ตามข้อตกลงกับกบฏลัทธิเหมาซึ่งต่อสู้กับรัฐบาลมายาวนาน โดยในปีหน้า รัฐบาลจะจัดการเลือกตั่งทั่วไป จากนั้นจะประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ และตั้งรัฐสภาตามระบอบรัฐธรรมนูญ ขณะที่กลุ่มพันธมิตรรัฐบาลเนปาล 6 พรรค และกบฎลัทธิเหมาได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า เนปาลจะกลายเป็นประเทศสาธารณรัฐ ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากมีการเปิดรัฐสภาเนปาลเป็นครั้งแรก

รายงานระบุว่า แผนยกเลิกระบอบสถาบันกษัตริย์ของเนปาลเกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลประสบปัญหาในการ เจรจาหยุดยิงกับกบฎเนปาล เพื่อนำประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยกลุ่มกบฎเนปาลประกาศว่ากลุ่มพร้อมที่เล่นการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ขณะที่ชาวเนปาลก็สนับสนุนที่จะให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ ทั้งนี้ ราชวงศ์เนปาลได้เสื่อมความนิยมนับตั้งแต่เกิดเหตุสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล เมื่อปี 2544 และการใช้ความรุนแรงของกษัตริย์คเยนทรา เพื่อปราบปรามกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตย

เป็นที่รับรู้ว่า เนปาลจะพลิกโฉมหน้ากลายเป็นประเทศประชาธิปไตยหน้าใหม่อย่างเต็มรูปแบบ ชนิดไม่เหลือแม้แต่สถาบันกษัตริย์ให้ไว้ประดับในรัฐธรรมนูญ ทว่านี่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่พูดได้ว่า เหนือสิ่งอื่นใดแล้ว ผ่านการยินยอมพร้อมใจของประชาชนชาวเนปาลเอง

แล้วประเทศชื่อเนปาลก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยน แปลงที่น่าใจหายสำหรับบาง ประเทศ โดยเฉพาะการล้มสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองมายาวนาน เมื่อข้อตกลงทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและกลุ่มกบฎ ที่เป็นปรปักษ์คู่อริกับสถาบันกษัตริย์เนปาลมาแต่ไหนแต่ไรได้บรรลุขึ้น ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์ของเนปาลซึ่งครั้งหนี่งเคยเป็นที่ชื่นชอบของชาวเนปาล ต้องถึงกาล 'ล่มสลาย' กลาย เป็นอดีตอย่างถาวร จากอิทธิพลแห่งการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกต่อประเทศเล็ก ๆ ที่ถวิลหาระบอบปกครองใหม่ และน้ำมือของกษัตริย์เจ้าแผ่นดินนาม 'คเยนทรา' ผู้ซึ่งถูกหลายฝ่ายโจมตีเป็นฝ่ายทำลายราชวงศ์กษัตริย์ด้วยพระองค์เอง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มพันธมิตรรัฐบาลเนปาล 6 พรรค ได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลลัทธิเหมา เพื่อแผ่วทางไปสู่การเมืองระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มรูป ด้วยการจัดการเลือกตั้งทั่วไป และประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณะ ก่อนจะจัดตั้งรัฐสภาขึ้นมาเพื่อร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จากนั้น สถาบันกษัตริย์ก็จะถูกยุบอย่างเป็นทางการ โดยเนปาลจะพลิกโฉมหน้ากลายเป็นประเทศประชาธิปไตยหน้าใหม่อย่างเต็มรูปแบบ ชนิดไม่เหลือแม้แต่สถาบันกษัตริย์ให้ไว้ประดับในรัฐธรรมนูญ ทว่านี่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่พูดได้ว่า เหนือสิ่งอื่นใดแล้ว ผ่านการยินยอมพร้อมใจของประชาชนชาวเนปาลเอง

ว่าไปแล้ว การถึงกาลอวสานของราชวงศ์เนปาล ได้ถูกปูทางก่อนถึงบทสรุปเด็ดขาด ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วโดยรัฐบาลพลเรือนของเนปาลต้องการบรรลุข้อตกลงกับกลุ่ม กบฎเนปาล ซึ่งดำเนินสงครามต่อสู้กับรัฐบาลเพื่อต้องการเปลี่ยนประเทศให้เป็นรัฐ คอมมิวนิสต์ตามความศรัทธาลัทธิเหมาของกลุ่ม หลังจากที่รัฐบาลเนปาลต้องทนกับสภาพบ้านเมืองวุ่นวายไม่สงบ เพราะปฎิบัติการก่อกวนของกลุ่มกบฎเหมา ที่มีศักยภาพคายพิษแสบกระทบเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการปิดกั้นการจราจรตามเมืองต่างๆ ของประเทศ การจัดการ

ชุมนุมขนาดใหญ่ป่วนรัฐบาล นอกเหนือจากการควบคุมพื้นที่ชนบทส่วนใหญ่ของประเทศ โดย ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้บรรลุข้อตกลงสันติภาพคร่าวกับกบฎลัทธิเหมา ด้วยการยอมประเด็นสำคัญเรื่องการพิจารณาเรื่องยุบราชวงศ์เนปาล ภายใต้การเมืองใต้ระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการ โดยรัฐสภาชุดใหม่จะมีการร่าง'แก้ไขรัฐธรรมนูญ'เปลี่ยนเนปาลให้เป็นประเทศ สาธารณรัฐ และรัฐบาลพลเรือนเนปาลต้องยอมกลุ่มกบฎที่ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงสันติภาพดัง กล่าว หลังจากกลุ่มโวยวายต้องการให้มีการยุบสถาบันกษัตริย์เนปาลอย่างจริงจัง

อย่างไรก็ตาม กระแสต่อต้านราชวงศ์กษัตริย์เนปาลเกิดขึ้นจาก 'ประชาชนชาวเนปาล' เองที่ไม่พอใจการปกครองประเทศของกษัตริย์เนปาล เป็นปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นชนิดเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ แตกต่างจากกษัตริย์พิเรนทราซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ชื่นชอบและศรัทธาของชาวเนปาล ทั่วประเทศ โดยแผ่นดินเนปาลต้องพานพบฝันร้าย เมื่อพระองค์และพระราชินีไอชวายา และสมาชิกราชวงศ์อื่น ๆ 7 พระองค์ ต้องถูกสังหารสิ้นชีพขณะที่ร่วมกระยาหารมื้อค่ำ จากน้ำมือของเจ้าชายดิเพนทรา ผู้ผิดหวังเรื่องความรักที่ถูกกีดกั้น ก่อนปลิดชีพตัวเอง กลายเป็นเหตุการณ์ช๊อกเนปาลและทั่วโลก

ต่อมา กษัตริย์คเยนทรา ซึ่งไม่เป็นที่ชื่นชอบศรัทธาจากชาวเนปาลเท่ากับได้ผงาดขึ้นมาเป็น 'จ้าวแผ่นดิน'บริหารประเทศ โดยพระองค์ได้ใช้ 'กฎเหล็ก' ด้วยสถานภาพประมุขของประเทศ ประกาศยุบรัฐบาลพลเรือนของนายเชอร์ บาฮาดูร์ ดิวบา ฐานไม่สามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับกบฎลัทธิเหมา เพื่อปูทางไปสู่การเลือกตั้งในปี 2548 ท่ามกลางกระแส โจมตีพระองค์ว่าต้องการจะยึดอำนาจเพื่อบริหารประเทศ และสร้างระบอบกษัตริย์ที่รวบอำนาจเบ็ดเสร็จก่อนเหตุการณ์ดังกล่าวบานปลาย เป็นความรุนแรง จากการประท้วงของประชาชนที่เบื้องแรกเริ่มต้นจากการจลาจลบนท้องถนน และนำไปการประกาศใช้กำลังทหารปราบปรามประชาชนและสมาชิกพรรรคฝ่ายค้าน และนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด

ขณะที่กษัตริย์คเยนทราต้องเผชิญกับ 'พลังประชาชน' ที่รวมตัวชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และทำให้พระองค์ต้องยอมถอยหลัง เพื่อไม่ให้ประเทศเข้าสู่ภาวะอนาธิปไตยไร้ขื่อแป ท่ามกลางกระแสกดดันของนานาชาติซึ่งเพิ่มขึ้นต่อกษัตริย์เนปาลพระองค์ โดยต่างชาติต่างไม่พอใจกับการใช้กฎเหล็กรุนแรงของพระองค์ในการกุมบังเหียน บริหารประเทศ ในสภาพยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน ก่อนที่พรรคการเมืองต่าง ๆ จะขี้นมาจัดตั้งรัฐบาล และประกาศจะทำข้อตกลงสันติภาพกับกบฎลัทธิเหมา และ กษัตริย์คเยนทราถูกบังคับให้สละอำนาจบริหารประเทศโดยตรงหลังจาก นั้น เป็นเส้นทางที่นำไปสู่อวสานของสถาบัน กษัตริย์ประเทศนี้ โดยเนปาลจะไม่ได้เห็นพระ 'โอรสพระองค์ ต่อไป' ได้มีโอกาสสืบทอดราชบัลลังก์กษัตริย์ต่อไป อีกแล้ว โดยเฉพาะเจ้าชายเปราส มกุฎราชกุมาร ถือเป็นการสิ้นสุดยุคของกษัตริย์พระองค์ของเนปาล ด้วยชื่อสุดท้ายของพระเจ้าแผ่นดินชื่อ 'คเยนทรา'

ที่ มาและเรียงเรียงจาก www.matichon.co.th
http://www.prachatai.com/journal/2007/12/15266

--------------------------------------------------------------------------------------

ประเทศเนปาล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

[แก้] ประวัติ ศาสตร์

ก่อนปีพ.ศ. 2311 หุบเขากาฐมาณฑุแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร จนกระทั่งผู้นำเผ่ากุรข่า ปฤฐวี นารายัณ ศาห์ สามารถรวบรวมอาณาจักรในหุบเขาเข้าด้วยกัน และหลังจากนั้นได้ทำสงครามขยายอาณาเขตออกไป จนในปีพ.ศ. 2357-พ.ศ. 2359 เกิดสงครามอังกฤษ -เนปาล กองทัพกุรข่าพ่ายแพ้ ต้องทำสนธิสัญญาและจำกัดอาณาเขตเนปาลเหลือเท่าปัจจุบัน[1]

ในปีพ.ศ. 2491 ชัง พหาทุระ รานา ซึ่งเป็นขุนนางในประเทศ ยึดอำนาจจากราชวงศ์ศาห์ โดยยังคงราชวงศ์ศาห์ไว้เป็นประมุขแต่ในนาม ตระกูลรานาได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร เนปาลได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับกองทัพบริเตนในหลายสงคราม ทำให้สหราชอาณาจักรทำสนธิสัญญามิตรภาพกับเนปาลในปีพ.ศ. 2466 ซึ่งในสนธิสัญญานี้ สหราชอาณาจักรได้ยอมรับเอกราชของเนปาลอย่างชัดเจน[2]

ในปี พ.ศ. 2494 เกิดการต่อต้านการปกครองของตระกูลรานา นำโดยพรรคเนปาลีคองเกรสและกษัตริย์ ตริภุวัน ทำให้โมหัน สัมเสระ ชัง พหาทุระ รานา ผู้นำคนสุดท้ายของตระกูลรานาคืนอำนาจให้แก่กษัตริย์ศาห์ และจัดการเลือกตั้ง

หลังจากเนปาลได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในช่วงสั้นๆ โดยจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในปีพ.ศ. 2502 แต่กษัตริย์ มเหนทระได้ยุบสภา ยึดอำนาจในปีพ.ศ. 2503 และใช้ระบอบปัญจายัตแทน จนมาถึงการปฏิรูปการปกครองในปีพ.ศ. 2533 ทำให้เปลี่ยนจากระบอบปัญจายัต ที่ห้ามมีพรรคการเมือง มาเป็นระบอบรัฐสภาแบบพหุพรรค[3]

ในปีพ.ศ. 2539 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ได้เปิดฉากสงครามประชาชน มีเป้าหมายที่จะสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมขึ้นแทนระบอบราชาธิปไตย นำมาซึ่งสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลายาวนานถึงสิบปี ในปีพ.ศ. 2544 เกิดเหตุสังหารหมู่ในพระราชวัง โดยเจ้าชายทิ เปนทระ มกุฎราชกุมารในสมัยนั้น และกษัตริย์ชญาเนนทระได้ ขึ้นครองราชสมบัติแทน ในปีพ.ศ. 2548 กษัตริย์ชญาเนนทระได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล นำมาซึ่งการประท้วงจากประชาชนและพรรคการเมืองในเวลาต่อมา จนต้องคืนอำนาจให้กับรัฐสภา รัฐสภาเนปาลได้จำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ และให้เนปาลเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state)

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐสภาเนปาลได้ผ่านกฎหมายที่จะเปลี่ยนเนปาลเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยมีผลหลังการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2551[4]

ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 รัฐบาลเนปาลประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ สถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยขึ้น โดยกำหนดให้ชญาเนนทระและพระ บรมวงศานุวงศ์ต้องเสด็จออกจากพระราชวังภายใน 15 วัน และกำหนดให้วันที่ 28 - 30 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ[5]
[แก้] การ เมือง

ใน ปัจจุบัน เนปาลเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีนายราม บารัน ยาดัฟ เป็นประธานาธิบดีคนแรก จากการลงคะแนนเสียงของสภาร่างรัฐธรรมนูญ 308 เสียง และนายคีรีชา ปราสาท โกอีราละ อดีตรักษาการณ์ประมุขแห่งรัฐทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อไป จนมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อันนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมา หรืออดีตกลุ่มกบฏลัทธิเหมา ซึ่งมีนายประจันดา เป็นนายกรัฐมนตรี [6] แต่หลังจากที่นายประจันดา ต้องการให้อดีตกลุ่มกบฎของเขาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ จึงมีกระแสกดดันมาจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเนปาล และรวมทั้งประธานาธิบดียาดัฟ นายประจันดาจึงประกาศลาออก และสภาได้เลือกนายมาดัฟ คูมาร์ เนปาล อดีตเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิมาร์ก-เลนิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ก่อนครบรอบ 1 ปีของการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐในเนปาล

--------------------------------------------------------------------------------------

เนปาลวันนี้แตกต่างจากวันวานในแง่การปกครอง ค่อนข้างมาก
มีการยกเลิก ระบอบกษัตริย์ มาเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย
เรื่องราวอันหน้าสนใจของประเทศนี้
วันนี้เราจะลองมาแกะประวัติศาสตร์แล้ว วิเคราะห์ดูว่า
เหตุใดระบอบ กษัตริย์ถึงล่มสลายในเนปาล
และ เหตุใดกลุ่มเหมาอิสต์ถึงชนะได้
ไม่รู้ว่าจะวิเคราะห์ออกมาตรงไหม
ถือเป็นความเห็นส่วนตัวเราแล้วกัน

หลังอ่านข้อมูลเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ เนปาล
จากที่โพสไว้ด้านบน
โดย ความเห็นส่วนตัวขอสรุปง่ายๆ ดังนี้
ระบอบกษัตริย์ล่มสลายในเนปาลเพราะพระราชอำนาจ
คือคิดว่ามีพระราชอำนาจมากจะทำอะไรก็ได้
ไม่ต้องเห็นหัวประชาชนก็ยังได้ว่ายังงั้น
ถึงได้ลงมาเล่นกับไฟ หรือการเมือง
การเมืองนั้นเข้าไปสถาบันไหนพังที่นั่น
ไม่ว่าจะสถาบันเล็กสุดคือครอบครัว
จนไปถึงสถาบันการศึกษา
สถาบันทหาร หรือ สถาบันนั่นนี่

"หลังจากเนปาลได้มีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในช่วงสั้นๆ โดยจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในปีพ.ศ. 2502 แต่กษัตริย์ มเหนทระได้ยุบสภา ยึดอำนาจในปีพ.ศ. 2503 และใช้ระบอบปัญจายัตแทน จนมาถึงการปฏิรูปการปกครองในปีพ.ศ. 2533 ทำให้เปลี่ยนจากระบอบปัญจายัต ที่ห้ามมีพรรคการเมือง มาเป็นระบอบรัฐสภาแบบพหุพรรค"

ซึ่งจะว่าไปแล้ว
เป็น ธรรมชาติของคนมีอำนาจ
ที่จะ ต้องหวงและปกป้องอำนาจของตนไว้
ให้ยาวนานและมั่นคงที่สุด
กษัตริย์เนปาลก็เหมือนกันไม่มีข้อยกเว้น
จะเห็นได้ว่ามีทั้งพยายามยึดอำนาจ ยุบสภา
ห้ามมีพรรคการเมือง
ซึ่งการกระทำในครั้งนั้น
ได้ทำให้เกิดการต่อสู้ใต้ดิน
ของขบวนการเหมาอิสต์
ในเมื่อเล่นบนดินไม่ได้
ธรรมชาติของนักต่อสู้ก็ต้องลงใต้ดินเล่นต่อไป

กษัตริย์เนปาลอาจย่ามใจ
ที่ช่วงสม
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ