RedCyberClub Forum
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เครือข่าย องคมนตรี

Go down

เครือข่าย องคมนตรี Empty เครือข่าย องคมนตรี

ตั้งหัวข้อ by dimistry Sat Apr 03, 2010 2:51 am

๑๙ กรกฏาคม ๒๕๕๐ฉบับที่ ๖

แก๊งองคมนตรี

หลักฐานเกี่ยวกับตำแหน่ง องคมนตรี ผมได้พยายามสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ปรากฏเป็นที่ชัดเจนว่าได้เกิด ขึ้นเมื่อไรในประเทศสยาม จะมีก็แต่หลักฐานอ้างอิงชิ้นเล็กๆพอที่จะอนุมานได้ว่าในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมี “ที่ปฤกษาในพระองค์” แต่ในเวลานั้นจะใช้คำว่า “ปรีวีเคาน์ซิล” (Privy council)

จนกระทั่งมาพบ รายงานการประชุมเสนาบดีเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๔๓๕ (รศ ๑๑๑) จึงปรากฏมีคำว่า องคมนตรี เกิดขึ้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีประเพณีการแต่งตั้งองคมนตรีทุกปี ในวันที่ ๔ เมษายน เนื่องในพระราชพิธีศรีสัจปานกาล โดยไม่มีการกำหนดจำนวนองคมนตรี แล้วองคมนตรีต้องอยู่บนตำแหน่ง จนสิ้นแผ่นดิน จึงปรากฏว่าตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีจำนวนองคมนตรีมากถึง ๒๓๓ คน และการมีองคมนตรีมากมายนับร้อยคนนี้ส่งผลให้ไม่สดวกต่อการเรียก ประชุม ครั้นพอถึงรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ขึ้นตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ.๒๔๗๐ และทรงเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ เข้ามาเป็นกรรมการองคมนตรี จำนวน ๔๐ คน ทำหน้าที่ปรึกษาข้าราชการ สภากรรมการองคมนตรีได้ ปฏิบัติหน้าที่ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญส่งผลให้สภาฯ ต้องถูกยุบ คณะองคมนตรีจึงต้องพ้นจากตำแหน่งไปโดยบริยาย

ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ในรัชการปัจจุบันได้มีประกาศแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ซึ่งในรายละเอียดผมจะไม่ขอกล่าวถึง แต่จะขอข้ามมาพูดถึงคณะองคมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคน หนึ่ง และองคมนตรีอื่นๆ ไม่เกิน ๑๘ คน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี (มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง) การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง)

องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฏร สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น

ต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือน ประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองและต้องไม่แสดงการฝักไฝ่ในพรรคการเมือง ใดๆ

(มาตรา ๑๔) ก่อนเข้ารับหน้าที่องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ (มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง) องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว จากอดีตถึงปัจจุบันรวม ๔๕ ท่าน โดยองค์มนตรีท่านแรกทรงมีพระนามว่า พล.อ.พระวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ (หม่อมเจ้าอลงกฏ สุขสวัสดิ์ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๙๒-๑๙ ธันวาคม ๒๔๙๕ สิ้นพระชนม์ในตำแหน่งส่วน องคมนตรีที่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งอันดับที่ ๔๕ คือ พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุลานนท์๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘-ปัจจุบัน สำหรับคณะองคมนตรีที่มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๘ ท่าน (ไม่รวมประธานองคมนตรี) แต่ได้ถึงแก่อสัญกรรมไป ๓ ท่านในที่นี้ ผมจะนำเสนอรายนามทั้ง ๑๘ ท่าน โดยไม่ตัดทอน ซึ่งมีดังต่อไปนี้๑. นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๘-ปัจจุบัน

๒. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐-ปัจจุบัน (เป็นครั้งที่สอง ภายหลังจากที่เคยลาออกไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี ๒๕๑๙)๓. พล.ร.ต.หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช

๓ มีนาคม ๒๕๒๗-ปัจจุบัน

๔. พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ ๒๘ พฤษจิกายน ๒๕๓๐-ปัจจุบัน

๕. พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๔-ปัจจุบัน

๖. นายจุลนภ สนิทวงค์ ณ.อยุธยา ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๔-ปัจจุบัน

๗. พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ ๑๓ กรกฏาคม ๒๕๓๖-ปัจจุบัน

๘. นายอำพล เสนาณรงค์ ๙ กันยายน ๒๕๓๖-ปัจจุบัน

๙. นายจำรัส เขมะจารุ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๗-ปัจจุบัน

๑๐. หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ๓ ตุลาคม ๒๕๓๗-๗ เมษายน ๒๕๔๙ ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง

๑๑. หม่อมราชวงค์เทพกมล กาวกุล ๗ สิงหาคม ๒๕๔๐-ปัจจุบัน

๑๒. นายศักดา โมกขมรรคกุล ๖ มกราคม ๒๕๔๒-๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง

๑๓. นายเกษม วัฒนชัย ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๔-ปัจจุบัน

๑๔. นายพลากร สุวรรณรัฐ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๕-ปัจจุบัน

๑๕. นายสวัสดิ์ วัฒนายากร ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๕-ปัจจุบัน

๑๖. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖-๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ กราบบังคมทูลลาออกไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

๑๗. นายสันติ ทักราล ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘-ปัจจุบัน

๑๘. พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุลานนท์ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘-

ปัจจุบันหมายเหตุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๑ ถึง๔ กันยายน ๒๕๔๑ จึงขึ้นดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีจนถึงปัจจุบัน

รายนามองคมนตรีที่ผมกล่าว ถึงข้างต้นนี้ เพียงเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่าตลอดระยะเวลา ๕๘ ปีที่ผ่านมาเรามีองคมนตรีรวม ทั้งสิ้น ๔๕ ท่าน ทุกท่านได้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตจนเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนและคนทุกวงการ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านศาสตราจารย ์อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลที่เราท่านกราบไหว้ได้ด้วยความสนิทใจ คณะองคมนตรีทุกคณะจากอดีตจน ปัจจุบัน ไม่เคยมีปรากฏว่าจะมีใครกล้าวิพากษ์วิจารย์

จวบจนกระทั่งเปรมดำรงตำแหน่ง องคมนตรี ภายหลังจากการปฏิเสธเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญชวนของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ จึงเป็นที่จับตามองของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงทหาร นั่นสืบเนื่องจากเปรมเป็นองคมนตรีเพียงคนเดียวที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการโยก ย้ายนายทหารในแต่ละปีด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในทหารในส่วนหัวของแต่ละเหล่า ทัพแบบเล่นไม่เลิก ทั้งๆ ที่หมดอำนาจหน้าที่แล้ว ถ้าหากว่าเปรมจะโทษลิขิตฟ้า ดินว่า “ฟ้าประทานชีวิตให้เปรมได้มาเกิด แล้วใยต้องให้อาคม ซิดนีย์มาเกิดด้วย” ก็คงไม่เกินความจริงนัก เพราะทุกย่างก้าวของเปรมนั้นไม่มีก้าวย่างไหนที่จะสามารถหลุดรอดสายตาของ อาคมได้

เพราะทันทีที่ รัฐบาลชวน หลีกภัย ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโยก พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ จากผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ข้ามห้วยมาลงบนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี ๒๕๔๑ นั้น ผมก็ฟันธงด้วยการเขียนบทความเรื่อง “บิ๊กแอ๊ดไม่ได้หยุดอยู่แค่ ผบทบ.” ในปีเดียวกันนั้นเอง นอกจากนั้นแล้ว ผมยังได้ฟันธงว่าการยึดอำนาจนั้นมันส่งกลิ่นตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ แล้ว (อ่านเสียงจากออสเตรเลีย ตอนที่ ๔ เรื่อง “จิ๋วตายน้ำตื้น”) และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนในความเป็น “แก๊งองคมนตรี” ผมขอให้ท่านผู้อ่านกลับไปดูรายชื่อองคมนตรีที่ผมเสนอข้างต้น โดยให้เริ่มตั้งแต่นายศักดา โมกขมรรคกุล เป็นต้นมา เพราะเป็นองคมนตรีที่ได้รับการเสนอชื่อโดยเปรมเป็นคนแรก

นับจากบรรทัดนี้เป็นต้นไป ท่านผู้อ่านต้องอ่านด้วยความตั้งใจชนิดคำต่อคำนะครับ เพราะผมจะถอดระหัสในการเลือกสรร บุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นองคมนตรีตามความต้องการของเปรมเพื่อมารองรับแผนชั่ว ในการยึดอำนาจและทำลายล้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยโดยจะแยกเป็นสายอำนาจ อันประกอบด้วย

๑. ตุลาการ

๒. สถาบันการศึกษาชั้นสูง

๓. ฝ่ายบริหาร

๔. กองทัพ

๑.ตุลาการ ภายหลังจากที่สามารถโยก พล.อ.สุรยุทธ กลับเข้ามามีอำนาจในกองทัพบกเมื่อปี ๒๕๔๑ ได้สำเร็จ เปรมในฐานะประธานองคมนตรีก็เสนอชื่อ นายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฏีกา ขึ้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี นายศักดา เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาในปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐ ในช่วงปีเดียวกันนี้ก็ปรากฏมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาชื่อนายสันติ ทักราล นายสันติ ทักราล ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นห้วงเวลาคล้อยหลังจากที่นายศักดาเป็นองคมนตรีได้เพียงปีเดียว

แต่นั่นยังไม่ สำคัญเท่ากับในช่วงเวลาระหว่างที่นายสันติเป็นประธานศาลฏีกาอยู่นั้น นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ก็เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกา ที่ทำงานใกล้ชิดนายสันติและนายชาญชัยก็ได้ขยับขึ้นเป็นประธานศาลฏีกาเมื่อ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗-๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นายสันติ ทักราล ได้รับเสนอชื่อเข้าดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในปีเดียวกันนี้ เปรมก็เริ่มเดินสายเรียกร้อง เรื่องผู้นำต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม ตามสถาบันการศึกษา

จนกระทั่งวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ มีการทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และมีการจัดตั้งรัฐบาลเถื่อนที่มี พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีก็ปรากฏมีชื่อ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม ด้วยสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งและยาวนานที่เปรมมีต่อสถาบันตุลาการ

ท่านผู้อ่านจึง อย่าได้แปลกใจว่าเหตุใดอดีตสาม กกต จึงถูกตัดสินจำคุก ๔ ปี แล้วทำไมพรรคไทยรักไทยจึงถูกตัดสินให้ยุบพรรคและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิ ในทางการเมืองและ….?????

๒. สถาบันการศึกษา ภายหลังจากที่ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ได้หันหลังให้ตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เปรมก็เสนอชื่อแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีและก็ยังคงบทบาทอยู่ในเวดวงการศึกษา อย่างเหนียวแน่นตราบเท่าทุกวันนี้ และที่สำคัญนายเกษมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบ บิดเบือนกระแสพระราชดำรัส ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” หรือ พระบรมราโชวาทเรื่อง “รู้รักสามัคคี”

ที่นายเกษมได้ ปาฐกถาหัวข้อ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศไทยว่า “รู้คือรู้ทุกแง่มุมเกี่ยวกับการศึกษาไทย รักคือเห็นคุณค่า มีความรักความพอใจในการทำงานที่ทำและสามัคคี คือร่วมกันทำงานด้วยความจริงใจ” ทั้งๆที่พระบรมราโชวาทดังกล่าวนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้สติกลุ่มนายทหารที่เกิดมีความ ขัดแย้งกันอยู่ในเวลานั้นให้ “รู้รักสามัคคี” นายเกษม วัฒนชัย เป็นองคมนตรีอีกคนที่ไม่เคยให้ความสำคัญในเรื่องกฏหมาย โดยไม่สนใจแม้กระทั่งสถานะขององคมนตรีว่า ต้องไม่เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐและต้องไม่แสดงการฝักไฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ

นายเกษม เคยพูดอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณอยู่เป็นประจำ อีกทั้งในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ยังปรากฏมีชื่อเป็น

นายกสภา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นายกสภามา หวิทยาลัยอุบลราชธานี

นายกสภามหาวิทยา ลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลธัญบุรี

กรรมการสภา มหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อุปนายกสภา มหาวิทยาลัยบูรพา

กรรมการบริหารและ เลขาธิการมูลนิธิอานันทมหิดลและอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน

สถาบันชั้นนำอีกหนึ่งแห่ง ที่ท่านผู้อ่านควรให้ความสนใจเพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับการโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้าหากเปิดม่านสภามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่านผู้อ่านก็จะพบว่ามีกลุ่มก๊วนที่ยืนอยู่ตรงข้ามกลับพ.ต.ท.ทักษิณดังนี้

นาย สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย

ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นอธิการบดี

นายชวน หลีกภัย เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายนพนิติ เศรษฐบุตร เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

ศ.น.พ. ประเวศ วะสี เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

สำหรับมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ก็มีนายอำพล เสนาณรงค์ ซึ่งก็เป็นองคมนตรีที่ผูกขาดอยู่บนตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย จนมีการต่อต้านและกดดันจนต้องออกมาเปิดแถลงการณ์เปิดอก ตลอดจนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยก็เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากมูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นบุคคลตัวอย่าง

ทั้งหมดล้วนแต่ เป็นกลุ่มก๊วนองคมนตรีและคนใกล้ชิดเปรมซึ่งท่านผู้อ่านคงต้องสืบค้นสถาบัน อื่นเพื่อหารายละเอียดเพิ่มเติมเอาเอง ผมคงไม่สามารถนำเสนอได้หมดภายในบทความนี้ได้ และดังที่ได้กล่าวมานี้

ท่านผู้อ่านคงหาย สงสัยแล้วนะครับว่าเหตุใดความขัดแย้งทางการเืองที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและ ต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ทำไมจึงไม่มีนักวิชาการหรือนักศึกษาปัญญาชนเข้าร่วมต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ให้กับสังคม และเรียกร้องประชาธิปไตย ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา

๓. ฝ่ายบริหาร ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นายพลากร สุวรรณรัฐ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ ผู้ซึ่งเคยผิดหวังกับตำแหน่งสูงในกระทรวงมหาดไทย เปรมก็เสนอชื่อแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีในทันทีเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๔๕ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลที่มีปัญหาข้อขัดแย้งกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เปรมกวาดเอาไปเป็นพวกเสียจนหมดสิ้น

ผมเขียนมาถึงตรง นี้ท่านผู้อ่านโปรดได้สังเกตด้วยนะครับว่า ภายหลังจากที่มีการยึดอำนาจและปลุกผี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.)ขึ้นมานั้น นายพลากรซึ่งบัดนี้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีแล้ว ได้ใช้อิทธิพลพลักดันให้นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ผู้ซึ่งเป็นน้องชายไปกินตำแหน่งผู้อำนวยการ ศอบต.

ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น นี้ ท่านผู้อ่านคงเห็นแล้วนะครับว่า สายสัมพันธ์ระหว่างนายพลากรและเปรมนั้น ไม่ใช่ธรรมดาที่สามารถจะมองข้ามกันได้ ดังนั้นจึงได้อย่าแปลกใจเลยนะครับว่าเหตุใดการเคลื่อนไหวของ นปก. จึงได้ถูกขัดขวาง ไม่ว่าที่ไหน จังหวัดใด และทำให้แกนนำกลุ่มขับไล่เผด็จการหลายคนยังเข้าใจว่าเป็นบทบาทของนายอารีย์ วงค์อารียะ

ซึ่งความจริงแล้ว อิทธิพลและบารมีสายการปกครองในกระทรวงมหาดไทยของบังอารีย์นั้น มันหมดไปนานแล้วครับ เพราะมันเป็นคนละยุคสมัยกัน และถ้าจะว่ากันตามหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว หากนายพลากรไม่ติดอยู่บนตำแหน่งองคมนตรี เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคงไม่ตกเป็นของนายอารีย์อย่างแน่นอน

๔. กองทัพ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ซึ่งก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ย้ายจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ขึ้นไปรอเกษียณบนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่สร้างความไม่พอใจให้กับเปรมอย่างชนิดฝังใจไม่ลืม เพราะถือเป็นการลูบคม ซึ่งรายละเอียดเรื่องบทบาทในกองทัพของ พล.อ.สุรยุทธ ผมคงไม่ต้องนำเสนอ เนื่องจากเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายแล้วว่ามีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบันที่นั่งควบตำแหน่งประธาน คมช. เพราะต่างเติบโตมาจากหน่วยบัญชาการสงครามพิ เศษ ชนิดคลานตามกันมา

ผมนำเสนอรายละเอียดเสียยืด ยาวเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นที่มาที่ไปของผังอำนาจที่เปรมได้วางไว้เมื่อ ตอนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานองคมนตรี และมาปรากฏชัดเจนในเวลานี้ว่า มันมีความเป็นมาเช่นไร ถ้าหากท่านผู้อ่านไม่ลืมคง ต้องจำได้ว่าความโชคร้ายของประเทศไทยนั้นมันมีจุดเริ่มต้นจากการที่คนอย่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จเมื่อปี ๒๕๓๙ และทันที ที่มีการจัดตั้งรัฐบาล มหกรรมแย่งตำแหน่งจากพวกเลือกตั้งก็เกิดขึ้น และหนักหน่วงรุนแรงจนนายบรรหารต้องมีการประกาศยุบสภาแทนที่จะลาออกตามคำเสนอ ของ พล.อ.เชาว ลิต ยงใจยุทธและนายเสนาะ เทียนทอง

ปี พ.ศ.๒๕๔๐ ประเทศไทยต้องโชคร้ายซ้ำซ้อนที่นายเสนาะ เปลี่ยนพรรคเลือกมายืนอยู่ใต้ร่มเงาพรรคความหวังใหม่ และมีโอกาศได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมี พล.อ.เชาวลิต เป็นนายกรัฐมนตรี ในปีเดียวกันนี้เองที่ทำให้ขงเบ้งแห่งกองทัพอย่าง พล.อ.เชาวลิต ได้กลายมาเป็นของเล่นของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหวัณและนายกร ทัพรังษี สองน้าหลานให้เป็นข่าวไม่เว้นแต่ละวัน สลับกับผลงานของรัฐมนตรีมหาดไทยที่มีนาย เสนาะเป็นผู้ดูแล ในโครงการเปิดบ่อนไก่ชน สิบล้อบรรทุก ๒๘ ตัน แล้วที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศลืมไม่ลงนั่นก็คือ หนีเมียหลวงที่เดินทางมาตามราวีขณะที่มีการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ที่นายเสนาะนั่งเป็นประธานอยู่

จนในที่สุดรัฐบาล พล.อ.เชาวลิต ก็มีอันต้องถึงกาลอวสานในกรณีวิกฤติเศรษฐกิจ พร้อมกับมีเสียงเรียกร้องหาพี่หารปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งและได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล นายชวน หลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรีควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ในขณะที่เปรมก็ได้ รับโปรดเกล้าขึ้นเป็นประธานองคมนตรี จึงเป็นความโชคดีของ พล.อ.สุรยุทธ ที่ได้มีโอกาสทยานขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จากตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ แน่นอนที่สุดบุญคุณอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องตอบแทน นั่นก็คือ๑. ค้ำยันรัฐบาลพรรคประ ชาธิปัตย์ให้อยู่ครบเทอม ทั้งๆ ที่มีผลงานที่น่าอัปยศอดสูตลอดช่วงเวลาที่เป็นรัฐบาล และ

๒. ต้องอยู่รับใช้เปรมที่ให้ชีวิตใหม่ในครั้งนั้นด้วยการเข้ารับเป็นหัวหน้ารัฐ บาลเถื่อนใตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่กลุ่มทหารโจรหยิบยื่นให้ในเวลานี้ เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็น รัฐบาลที่ว่านอนสอนง่าย จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้กำลังยึดอำนาจให้สิ้นเปลือง เปรมจึงเริ่มมาสร้างเครื่อข่ายอำนาจเพื่อใช้ยามจำเป็นในอนาคต เปรมจึงได้เสนอชื่อแต่งตั้งนายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฏีกามาเป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๒ ภายหลังจากที่เปรมขึ้นสู่ตำแหน่งประธานองคมนตรีไม่ถึง ๔ เดือน (เปรมเป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๑) จวบจนกระทั่งนายชวน หลีกภัยประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งก่อนกำหนดครบเทอม ด้วยมั่นใจในความได้เปรียบในการเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่ผลเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยได้รับชัยอย่างชนิดฟ้าถล่มดินทลาย ดังนั้นแผนการยึดอำนาจจึงต้องถูกติดเบรคไว้ก่อน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ ก็ยังดำรงตำแหน่งอันทรงพลังอยู่ในกองทัพและมีอายุราชการยาวนานไปถึงปี ๒๕๔๖ แผนการยึดอำนาจจึงยังคงมีอยู่ เพียงแต่รอเวลาและโอกาสที่เหมาะสมเท่านั้นเอง ดังนั้นเมื่อ น.พ.เกษม วัฒนชัย มีปัญหาข้อขัดแย้งและได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการใน รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เปรมก็อุ้มเข้าเอวและเสนอชื่อให้โปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นองคมนตรี ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ กองทัพมีความเห็นเป็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาลในกรณีปัญหาประเทศเพื่อนบ้าน จนกระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องออกมาปรามกองทัพว่าอย่า “โอเวอร์รีแอ๊ค” (over react ) ก่อนมาถึงจุดแตกหักถึงขั้นต้องยกโทรศัพท์ถาม พล.อ.สุรยุทธ กลางดึกว่า “คุณจะปฏิวัติผมหรือ” ก่อนที่จะมีการย้ายให้ พล.อ.สุรยุทธ ขึ้นไปรอเกษียณบนตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ปีเดียวกันนี้เอง ก็มีการยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาตใต้ (ศอ.บต.) ที่มีนายพลากร สุวรรณรัฐ ผู้อกหักจากตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม เปรมก็เสนอชื่อนายพลากร ขึ้นเป็นองคมนตรี พอข้ามปีอันเป็นการถึงคราวเกยณอายุราชการของ พล.อ.สุรยุทธ ก็ถูกเสนอชื่อเป็นองคมนตรีเช่นเดียวกัน ถึง ตอนนี้ท่านผู้อ่านก็คงเห็นชัดแล้วนะครับว่า แผนการยึดอำนาจนั้นมันมีมานานแล้ว แต่หาโอกาสไม่ได้ ด้วยไม่มีข้ออ้างที่สมเหตุสมผล และยิ่งรอนานเท่าไรก็ดูเหมือนโอกาสจะริบหรี่ลงทุกที นั่นเป็นเพราะความสามารถของคนชื่อทักษิณ ที่ยิ่งนานวันก็ยิ่งเข้าไปอยู่ในหัวใจของผู้คนมากยิ่งขึ้นและนี่แหละที่ทำให้เปรมหมด ความอดทนที่จะรออีกต่อไป

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เปรมจึงเสนอชื่อนายสันติ ทักราล อดีตประธานศาลฏีกามาเพิ่มศักยภาพเพราะนายศักดานั้นพ้นวงการยุติธรรมมานานและ มีปัญัหาเรื่องสุขภาพ ถึงตอนนี้เพื่อความชัดเจน ผมขอฉายซ้ำในส่วนขององคมนตรีที ่มาจากสายตุลาการอีกครั้ง

๑. นายศักดา โมกขมรรคกุล

- ขึ้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ ๖ มากราคม ๒๕๔๒ ถึง ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ (ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง)

- ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๙

- ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ โดยมีนายสันติ ทักราล เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาในเวลานั้น

๒. นายสันติ ทักราล

- ขึ้นดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน

- ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓-๓๐ กันยายน ๒๕๔๔ โดยมีนายชายชัย ลิขิตจิตถะ เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกาในเวลานั้น

๓. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ

- ดำรงตำแหน่งประธานศาลฏีกา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗-๓๐ กันยายน ๒๕๔๙

- ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลเถื่อนที่มี พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ เมื่อเป็นเช่นนี้ กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยจึงเป็นอย่างที่เห็นนี่แหละครับท่านผู้อ่านดังนั้น “แก๊งองคมนตรี” อันประกอบด้วยนายศักดา โมกขมรรคกุล นายเกษม วัฒนชัย นายพลากร สุวรรณรัฐ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ นายสันติ ทักราล โดยมีเปรมเป็นหัวหน้าแล้ว ร่วมด้วยช่วยกันในการโค่นล้ม จึงสมบูรณ์แบบตามแบบฉบับเปรมาธิปไตย คือ กองทัพก็ถูกควบคุมโดยองคมนตรีสุรยุทธ กระบวนการยุติธรรมก็ไม่ต้องพิจารณาตามหลักนิติธรรม เพราะมีองคมนตรีทำหน้าที่กดทับอยู่ถึง ๒ คน ผู้ว่าถังขี้อย่างที่กลุ่ม นปก.มารายงานให้พี่น้องท้องสนามหลวง ก็มีใบสั่งจากองคมนตรีพลากร นักศึกษาปัญญาชนก็ไม่สามารถขยับเขยื่อนได้ก็ด้วยเงื่อนไขของพระราชบัญญัติ สภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีองคมนตรีและพลพรรคนั่งอยู่บนตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเกือบทุก มหาวิทยาลัย

อาคม ซิดนีย์

arkomsydney@yahoo.com.au

Copyright ©️ arkomsydney 2006-2007

อ่านแล้วกรุณาส่งต่อ
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

เครือข่าย องคมนตรี Empty Re: เครือข่าย องคมนตรี

ตั้งหัวข้อ by dimistry Sat Apr 03, 2010 2:52 am

คุณทักษิณเก่งแน่ไหน ก็ดับไฟใต้ไม่ได้หรอก เพราะความจริงมันถูกใช้เป็นเครื่องมือไม่ใช่แค่เพื่อไล่รัฐบาลทักษิณ แต่มันเป็นสิ่งที่ทำเพื่อล้มล้างระบบประชาธิปไตยของประเทศไทย โดยกลุ่มบุคคลบางคนที่อยู่ในรั้วในวัง ซึ่งนับตั้งแต่เกิดเรื่อง เราจะแต่เห็นภาพของความล้มเหลวของทุกๆรัฐบาลในการแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความรู้สึกให้ประชาชนไม่มีที่พึ่ง ไม่มีทางออก อันจะเห็นได้จากข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเหมือนกับการย้อนเวลากลับไปซัก 20 ปี ของระบบประชาธิปไตยในประเทศ การแสดงออกของคนในวังต่อเหตุปะทะ การจราจลในประเทศทั้งเรื่องภาคใต้ และเรื่องพันธมิตร เป็นเครื่องพิสูจน์ต่อความจริงที่ว่า ใครเป็นคนที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมด ทั้งๆที่ภาคใต้มีคนตายนับรวมถึงปัจจุบันนับหมื่น คนเดือดร้อนนับแสนนับล้าน แต่ปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์เหล่านี้ ของคนในวัง คือ เงียบ การตอบสนองต่อกรณีการสลายม็อบของรัฐบาลในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 คือ คนในวังไปงานศพของพวกพันธมิตร และชมว่าเป็นคนดีเสียสละตัวเพื่อรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์

ขอสังเกตที่น่าสนใจ
1 กรณีภาคใต้ ที่น่าคิด คือ ใครเป็นคนที่มีอำนาจ ขนาดสั่งให้ทหารเปิดคลังสรรพาวุธ ในโจรใต้เข้าไปขนได้ โดยไม่มีการต่อต้าน เรื่องเงียบนานเสียจน กว่าทักษิณจะลงไปดู ก็ใยแมงมุมขึ้นในคลังสรรพาวุธ เรื่องใหญ่ขนาดนี้ พณ ท่านองค์มนตรี สามารถตัดสินใจเอง โดยไม่รอกาอนุมัติจากคนที่ใหญ่กว่าได้เชียวหรือ
2 ในระหว่างช่วงที่เวลาที่ม็อบพันธมิตรไล่ทักษิณ ทำไมถึงได้มีข่าวว่า ตกกลางคืน พวกแกนนำเข้าไปนอนในวัง
3 ทำไมคนในวังไปงานศพพวกม็อบพันธมิตรยึดทำเนียบปิดถนน สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนไปทั่ว แต่ไม่ไปเยี่ยมพวกตำรวจที่ทำหน้าที่รักษากฏหมายบ้านเมือง

จากคุณ Ruby
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

เครือข่าย องคมนตรี Empty Re: เครือข่าย องคมนตรี

ตั้งหัวข้อ by dimistry Sat Apr 03, 2010 2:53 am

ระบอบอำมาตยาธิปไตย

ระบอบอำมาตยาธิปไตย ทำให้รัฐบาลที่มาจากประชาชน บริหารประเทศตามที่สัญญากับประชาชนไว้เมื่อตอนเลือกตั้งไม่ได้ เพราะเมื่อรัฐบาลสั่งงาน ข้าราชการซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการทำงาน เชื่อและเกรงกลัวอำมาตย์มากกว่ารัฐบาล ไม่ยอมทำตามคำสั่งของรัฐบาล แต่กลับทำตามความต้องการของอำมาตย์

กลุ่มอำมาตย์ คือใคร
กลุ่มอำมาตย์ คือกลุ่มข้าราชการอาวุโส นายทหารระดับสูง และองคมนตรี ที่แอบอ้างหรือทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สิ่งที่ตนสั่ง หรือแนะนำ คือพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ ทำตนเป็นผู้มีคุณสมบัติสูงส่งในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านคุณธรรมจริยธรรม ที่วางตนให้ดูเหมือนมีความเพียบพร้อม จนใครก็ไม่อาจวิพากษ์วิจารณ์ แตะต้อง ตรวจสอบได้ ข้าราชการต้องยอมทำตามแต่โดยดี กลุ่มอำมาตย์จึงสืบทอด สะสม บารมี และอำนาจมายาวนานลึกซึ้ง จนมีสถานภาพที่เหนียวแน่นมั่นคง เพราะสามารถควบคุมการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นพวกของตน โดยเฉพาะ ทหาร ตำรวจ อธิปบดีกรมต่างๆ ตลอดจนผู้ว่าราชการจังหวัด ฯลฯ ทำให้ข้าราชการเชื่อฟัง และมุ่งทำตามความต้องการกลุ่มอำมาตย์ ไม่ต้องตั้งใจทำงาน บริการประชาชน การคัดเลือกข้าราชการก็คัดเลือกเฉพาะกลุ่มของตนเอง หรือกลุ่มที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทน โดยไม่คัดเลือกจากผู้มีความสามารถ หรือคนที่ตั้งใจทำงาน

กลุ่มอำมาตย์ต้องการอะไร
กลุ่มอำมาตย์ได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากข้าราชการที่กลุ่มอำมาตย์ช่วยให้ได้รับ ตำแหน่ง เพราะการได้ตำแหน่งหมายความว่า ได้อำนาจในการบริหารงบประมาณ ได้ผลประโยชน์จากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน ซึ่งมักจะไร้ประสิทธิภาพ ฉ้อฉล ขาดความโปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ ด้านงบประมาณและโครงการก็มุ่งทำเพื่อกำไร และผลประโยชน์ทางการเมือง ส่วนกลุ่มทุน ประกอบด้วย กลุ่มทุนธุรกิจ ก็จะได้ประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลที่เอื้อ และสนับสนุนกลุ่มทุนให้ได้เปรียบคู่แข่ง หรือดำเนินธุรกิจเอาเปรียบประชาชน กลุ่มอำมาตย์ผู้ผลักดันนโยบายก็จะได้กินหัวคิว ซึ่งถือว่าเป็น “หน้าที่” ที่ต้องนำมาให้ตน ต่างจากกลุ่มทุนสมัยใหม่ที่เพิ่มรายได้ สร้างความมั่นคงด้วยความสามารถในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งเป็นการสร้างความเจริญให้ประเทศ
นอกจากนั้นแม้แต่กลุ่มนักวิชาการที่ควรจะมีเสรีภาพทางวิชาการและยึดมั่นใน ความเป็นมืออาชีพ ก็ยังเห็นแก่ผลประโยชน์ยอมขายตัวบิดเบือนหลักการเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้มี อำนาจ และอำมาตย์

ผลร้ายจากระบอบอำมาตย์
การที่รัฐบาลทำงานตามนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชนเมื่อตอนเลือกตั้งไม่ได้ ไม่ว่าประชาชนจะเลือกพรรคใด มีนโยบายดีเพียงใด ก็นำนโยบายไปใช้ไม่ได้ ทำให้ประเทศล้าหลังขาดการพัฒนาในทุกด้าน ในขณะที่กลุ่มอำมาตย์เป็นเสมือนผู้บริหารประเทศเสียเอง โดยแทรกแซงที่หัวใจคือการบริหารงานบุคคล เมื่อมีอำนาจวางคนให้ลงตำแหน่ง ก็สั่งงาน ผลักดันการบริหารประเทศไปในทิศทางที่ต้องการ ได้รับผลประโยชน์ และบารมี โดยไม่ต้องลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภา ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ต่อความผิดพลาดเสียหายที่เกิดขึ้น ทรัพยากรและผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของประเทศจึงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มอำมาตย์ ที่มั่งคั่งอยู่เพียงกลุ่มเล็กๆ ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ ด้อยโอกาส เสียเปรียบ อดอยาก ขาดแคลน กลุ่มที่น่าเห็นใจที่สุด คือ ชาวไร่ชาวนา กรรมกรที่มีรายได้น้อย กลุ่มนี้เป็นรายสุดท้ายในวงจรการตลาดที่ซื้อสินค้ามาบริโภค ไม่ได้ซื้อมาขายต่อ จึงต้องรับภาระภาษีเต็มที่ แต่ได้รับประโยชน์จากเงินภาษีน้อยกว่ากลุ่มอื่น

ระบอบอำมาตย์ไม่ต้องการให้ประชาชน มีความรู้
ด้านการศึกษา กลุ่มอำมาตย์และชนชั้นปกครอง ไม่ต้องการให้ประชาชนฉลาดและยกระดับความรู้เท่าเทียมกับตน ระบบการศึกษาของไทยจึงมีคุณภาพต่ำ พ่อแม่ต้องดิ้นรนวิ่งเต้นเสียเงินใต้โต๊ะแย่งกันเลือกโรงเรียนให้ลูก ทั้งๆที่ภาษีที่จัดเก็บไป เป็นวงเงินมากพอที่จะให้เด็กได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันทุกคน เด็กและผู้ปกครองของไทยจึงได้แต่อิจฉาเด็กมาเลเซียและสิงคโปร์

การครอบงำผ่านสื่อมวลชน
การครอบงำไม่ให้ประชาชนมีความรู้ อีกวิธีหนึ่ง คือ การครอบงำผ่านสื่อมวลชน โดยเฉพาะโทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มทุนที่ใกล้ชิดกลุ่มอำมาตย์ นำเสนอแต่รายการไร้สาระ นิยายน้ำเน่าประโลมโลก เกมส์โชว์ปัญญาอ่อน และโฆษณาบ้าเลือดไร้เหตุผลกระตุ้นกิเลส ตัณหา กามารมณ์ ตอกย้ำเข้าสมองผู้คนตั้งแต่ลืมตาตื่นเช้าจนดึกดื่น คนวัยหนุ่มสาวจนถึงแก่เฒ่าถูกมอมเมาให้หลงใหลได้ปลื้มกับพระเอกนางเอกแสนดี สวย รวย หล่อ มีรถหรู บ้านใหญ่โตโอ่อ่า แต่วันๆ ไม่เห็นทำงานอะไร กับหลงเชื่อว่าคนสวยต้องหุ่นบอบบางเพรียวลม ผิวขาวนวลกระจ่างใส แม้รักแร้ก็ต้องขาวเนียน ไม่มีที่ว่างให้กับคนที่มีหุ่นและสีผิวแบบอื่น ส่วนเด็กเล็กก็ถูกมอมเมาไม่น้อยกว่ากัน ถ้าไม่คลั่งนิยายหุ่นกายสิทธิ์ต่อสู้สัตว์ประหลาดของญี่ปุ่น ก็ถูกครอบงำด้วยนิทานจักรๆวงศ์ๆ ที่เน้นให้ยอมรับวาสนาบารมีของเจ้าหญิงเจ้าชาย ที่อ่อนแอ ไร้ความสามารถ แต่ได้ดีด้วยบุญญาธิการโดยไม่ต้องลงทุนลงแรง
และทุกครั้ง เมื่อสังคมเกิดวิกฤต มีความแตกแยกทางความคิด โดยเฉพาะเมื่อมีการชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรม สื่อเหล่านี้จะนำเสนอแต่ข่าวด้านดีของฝ่ายอำมาตย์ ปิดหูปิดตาประชาชนให้ โง่ บ้า ใบ้ ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่แท้จริงรอบด้าน ไม่ให้โอกาสใช้ปัญญาไตร่ตรอง
ผลจากการขาดความรู้ ทำให้ขาดสุขอนามัย ไม่รู้จักการกินอยู่ที่เหมาะควร เชื่อคำโฆษณา เครื่องดื่มชูกำลังที่มีสารอาหารสิบชนิด เชื่อบะหมี่หมูสับที่ไม่มีแม้แต่ขี้หมู เชื่อผงชูรส ปลื้มกับอาหารขยะ เชื่อโฆษณา ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงฆ่าวัชพืชที่มีแต่พิษร้าย ไม่รู้เท่าทันลัทธิบริโภคนิยม และเล่ห์เหลี่ยมของนายทุน เห็นดีเห็นงามกับวัตถุนิยม ละทิ้งภูมิปัญญาที่เป็นรากเหง้า ต้องสูญเสียที่ทำกิน กลายเป็นทาสแรงงานราคาต่ำ เป็นยามราคาถูกคอยป้องกันทรัพย์สินให้คนรวย ขายลูกสาวเป็นโสเภณีให้คนรวยย่ำยี เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย และพลทหารด้อยความรู้เงินเดือนต่ำ ถูกครอบงำให้ยอมจำนนและพึงพอใจในโชควาสนาที่ตนเองได้รับเพียงน้อยนิด ว่าเป็นความกรุณาเป็นบุญคุณยิ่งใหญ่ของอำมาตย์ ทั้งๆที่รับเงินเดือนจากภาษีของประชาชน ถึงขั้นยอมทำร้ายเข่นฆ่าประชาชน ซึ่งยากจนไม่มีความรู้เช่นเดียวกับตัวเอง ที่ต่อสู่เพื่อความเป็นธรรม โดยไม่คำนึงถึงผิดชอบชั่วดี

ด้านการเมือง
กลุ่มอำมาตย์จะผลักดันและสนับสนุนเฉพาะรัฐบาลที่ยอมทำตาม และให้ประโยชน์กับกลุ่มอำมาตย์ ซึ่งส่วนมากเป็นรัฐบาลที่มีแนวโน้มเป็นเผด็จการอำนาจนิยม ไว้สำหรับเผชิญหน้ากับประชาชนผู้เรียกร้องความเป็นธรรม เพื่อจะได้ไม่ต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มอำมาตย์โดยตรง
กลุ่มอำมาตย์จะหวงแหนรักษาสถานภาพของตน จะทำทุกวิถีทาง เพื่อรักษาและสืบทอดอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหาย หรือผลกระทบต่อประชาชน เช่น แอบอ้างว่ากลุ่มตนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสถาบันระดับสูง ความต้องการของตน เป็นความประสงค์ของสถาบันระดับสูง ความต้องการของกลุ่มอำมาตย์จะขัดแย้งกับความต้องการของประชาชนที่ต้องการ สร้างความเจริญ และพัฒนา การพัฒนาทุกด้านมักขัดแย้งกับความอยู่รอดของกลุ่มอำมาตย์ จึงถูกต่อต้านขัดขวาง กลุ่มอำมาตย์ต้องการให้โครงสร้าง และสภาพสังคมเป็นแบบเดิมๆ เช่น ส่งเสริมการดูถูกเหยียดหยามประเทศเพื่อนบ้าน หาเหตุให้ทหารปะทะกับประเทศเพื่อนบ้าน แทนที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เมื่อมีการรบกัน จะได้สร้างความรู้สึกชาตินิยม ลัทธิชาตินิยมเป็นสิ่งพึงประสงค์ที่สุดของกลุ่มอำมาตย์ เพราะทำให้ประชาชนหันมา “รักสามัคคี ” จงรักภักดีต่อกลุ่มอำมาตย์

การปราบปรามเข่นฆ่าคนรู้ทัน
เมื่อเกิดมีกลุ่มประชาชนหัวก้าวหน้า รู้เท่าทันระบอบอำมาตยาธิปไตย และมีทีท่าคุกคามต่อความมั่นคงของกลุ่มอำมาตย์ สูตรสำเร็จที่กลุ่มอำมาตย์ใช้กำจัดประชาชนหัวก้าวหน้า ได้ผลมาทุกยุคสมัย ในระยะเวลา ๕๐ ปี ที่ผ่านมา คือ กล่าวหาว่า “ เป็นคอมมิวนิสต์ ” และ “มุ่งร้ายต่อสถาบัน” สมคบกันกล่าวหา บิดเบือน ปิดหูปิดตา หลอกลวงประชาชนทุกวิธี เพื่อหาเหตุผลในการล้อมปราบเข่นฆ่า เพราะกลุ่มอำมาตย์เกลียดกลัวพวกนี้มากที่สุด ส่วนจะกระทบกับคนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่บ้าง ก็ถือว่าไม่ได้มีเจตนา เป็นคราวเคราะห์ และแม้ว่ากลุ่มคนที่รู้เท่าทันดังกล่าวจะมีเป็นเรือนแสน แต่กลุ่มอำมาตย์ก็จะถือว่าเป็นคนส่วนน้อยที่นอกคอกอยู่ดี เพราะคนไทยมีตั้ง ๗๐ ล้านคน ไม่ใช่แค่แสนคน เมื่อกลุ่มอำมาตย์ถูกกลุ่มประชาชนหัวก้าวหน้า รุกเข้าตาจน ก็จะหานายทหารอาสามาแก้ปัญหาให้ได้เสมอ เพราะเมื่อปราบปรามเข่นฆ่าเอาชนะประชาชนสำเร็จ ก็จะได้ปูนบำเหน็จลาภยศจากอำมาตย์จนคุ้มค่า กฎหมายบังคับว่าให้ชุมนุมอย่างสงบ แต่เมื่อชุมนุมกันอย่างสงบ กลุ่มอำมาตย์ และรัฐบาลก็เพิกเฉยไม่สนใจปล่อยให้เฉาตายไปเอง พอก่อเรื่องก็จะเกิดความเสียหายแก่ทุกฝ่าย และถูกล้อมปราบเข่นฆ่า เป็นเช่นนี้ไปไม่รู้จบ

สมน้ำหน้าคนไทย
มานั่งคิดดูก็สมน้ำหน้าคนไทยส่วนใหญ่ เมื่อคนที่หูตาสว่างเขามองเห็นความเลวร้ายฉ้อฉล เขาก็รวมตัวต่อสู้เสี่ยงชีวิต เสี่ยงคุก เสี่ยงตะราง หวังสรรสร้างสังคมที่ดี หากได้ชัยชนะก็จะได้มีสังคมที่สงบสุข มีความเท่าเทียม ได้ประโยชน์พร้อมๆ กันทุกคน ตลอดจนถึงลูกหลาน นอกจากวางเฉยไม่ช่วยเขาแล้ว ยังต่อต้าน ดูแคลน ด่าว่า กล่าวโทษเขา ว่าสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย ไม่รู้จักรักสามัคคี ไม่รู้จักเจียมเนื้อเจียมตัว ไม่ตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย ส่วนที่เหลือก็หลับหูหลับตา ไม่รับรู้ ดูนิยายน้ำเน่าอยู่เหมือนเดิมสบายดี อย่างนี้ปล่อยไว้แบบเดิมก็ดี จะได้ อดอยาก ยากจน โง่ดักดาน เป็นทาสไปไม่รู้จบตลอดทั้งโคตรเหง้า ไร้ความรู้ไร้ข้อต่อรอง เราจะได้เอาเปรียบคดโกงได้ง่ายๆ มีลูกชายก็จะได้มาเป็นแรงงานราคาถูกให้เรา มีลูกสาวก็ขายมาเป็นหมอนวดให้เราได้เชยชม….แบบนี้ก็ไม่ต้องคิดมากให้เหนื่อย สบายดี ต่อไปก็ตัวใครตัวมัน มีโอกาสเลี่ยงกฎหมาย ฉ้อฉลเอารัดเอาเปรียบใครได้ก็ทำให้แนบเนียน ไม่ต้องนึกถึงศีลธรรมจรรยา ก็ในเมื่อชีวิตมันเป็นแบบนี้ก็ไม่ต้องดิ้นรนไปเป็นแบบอื่นให้เหนื่อยยาก

จากคุณ aroonsr
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ