RedCyberClub Forum
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

บทความ บั้งไฟพญานาค มีจริงหรอ?????

Go down

บทความ บั้งไฟพญานาค มีจริงหรอ????? Empty บทความ บั้งไฟพญานาค มีจริงหรอ?????

ตั้งหัวข้อ by RED LETTER Sat Oct 10, 2009 4:54 am

[b]บทความสารคดีเรื่อง “ บั้งไฟพญานาคมีจริงหรือ ” Suspect งง

เมื่อปี พ.ศ. 2537 – 2540 ผู้เขียนได้ย้ายไปรับราชการเป็นครูสอนประจำอยู่ที่โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอ
บึงกาฬจังหวัดหนองคายในระยะเวลา 3 ปีที่ข้าพเจ้าได้ทำการสอนอยู่ที่นั่น และที่นี่เองที่ข้าพเจ้าได้พบกับ
เหตุการณ์หนึ่งซึ่งแม้นแต่เดี๋ยวนี้ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้เลยว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรนั่นคือปรากฏการณ์
ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ บั้งไฟพญานาค” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือไม่? มีคนสร้างสถาน
การณ์ขึ้นมาหรือไม่ ? เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นโดยเกี่ยวโยงกับพุทธศาสนาจริงหรือ? และคำถามอื่น ๆ อีก
มากมาย และก็มีคนที่พยายามให้คำตอบต่าง ๆ นานา กันไป เช่น เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่ก็มีคน
โต้แย้งว่าถ้าเป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติ ทำไมจึงมาเกิดเฉพาะลำน้ำโขงเท่านั้น ที่อื่นทำไมไม่เกิด หรือถ้ามี
คนสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้ว เขาจะทำเพื่อประโยชน์อะไร ? ใครจะเป็นคนอาสาลงไปจุดบั้งไฟใต้ท้องแม่
น้ำโขง เพราะน้ำไหลแรงมากและก็เย็นมาก คนที่ลงไปมีโอกาสตายแน่นอน หรือ ถ้ามีคนจุดบั้งไฟโดยใช้
รีโมตคอนโทรล จริง เวลาบั้งไฟพุ่งขึ้นมาทำไมไม่มีเสียงดังเลย คุ้มหรือไม่กับการลงทุน และที่สำคัญทำไม
จึงต้องมาเกิดเฉพาะช่วงในวันที่ ขึ้น15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี หลาย ๆ คนทั่วประเทศ ได้เดินทางไปชมบั้ง
ไฟพญานาคจนหาที่พัก ที่จอดรถไม่ได้การจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าได้สอบถามหลายคน เพื่อหา
คำตอบ หลาย ๆ คนก็ยังกังขา และให้คำตอบไม่ได้ ข้าพเจ้าก็ไปชมทุกปีเช่นกันก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้เช่นกัน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? ทำไมต้องเกิดเฉพาะแม่น้ำโขงในเขตจังหวัดหนองคาย ทำไมต้องเกิดในวัน
เพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จากคำถามต่าง ๆ นานา ได้มีนักวิชาการได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าและให้คำตอบทางสื่อมวลชน ออกทางโทรทัศน์วิทยุ จนเกิดความขัดแย้งและมีการประท้วงกันมาแล้ว นอกจากนั้นได้มีการนำเอาเรื่องบั้งไฟพญานาคไปสร้างเป็นภาพยนตร์หวังว่าหลาย ๆ คนคงจะได้ชมกันแล้ว ถามว่าท่านได้ข้อสรุปหรือยัง ว่าบั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นได้อย่างไร? ก่อนอื่นเรามาทราบประวัติความเป็นมาของบั้งไฟพญานาคดูว่ามีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งไม่แน่เมื่อท่านอ่าน เรื่องราวของบทความนี้จบท่านอาจจะทราบคำตอบนี้ก็ได้ว่าบั้งไฟพญานาคที่จริงมันคืออะไร?
บั้งไฟพญานาค - ความเป็นมา
ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค หรือปรากฏการณ์ที่มีลูกไฟพุ่งขึ้นจากกลางแม่น้ำโขงในคืนวันเพ็ญเดือน 11 หรือคืนวันออกพรรษา คล้ายมีคนจุดพลุไฟขึ้นมา มีลักษณะเป็นลูกไฟขนาดที่มองเห็นจากริมฝั่งโตประมาณผลมะนาว แสงของดวงไฟจะมีสี "แดงอมชมพู" หรือที่เรียกกันว่า "สีบานเย็น" การเกิดดวงไฟนี้จะอยู่ประมาณช่วงโพล้เพล้หลังพระอาทิตย์ตกดิน ดวงจันทร์กำลังจับขอบฟ้าพอดี และจะขึ้นถี่มากครั้งละ 3 - 7 ลูกในคราวเดียวกันในช่วงที่พระจันทร์เริ่มลอยเด่นประมาณ 20 องศาจากการคาดคะเนการทำมุมกับแนวขอบฟ้า สภาพบรรยากาศที่พอเหมาะกับการเกิดลูกไฟหรือบั้งไฟพญานาคจะต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ รู้สึกได้จากบรรยากาศรอบตัวเราต้องไม่อบอ้าว อากาศเย็นสบายและที่สำคัญท้องฟ้าต้องไม่มีเมฆมาบดบังดวงจันทร์ โอกาสชมลูกไฟที่ว่านี้แน่นอน และองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ลูกไฟพุ่งขึ้นมาจากน้ำจำนวนมากและแน่นอนว่าจะต้องขึ้นในวันนั้นก็คือ วันที่พระจันทร์ "เต็มดวง" จริงๆ
ทุกท่านที่ไปนั่งคอยชมจะพบกับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยังหาข้อยุติทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ว่า ทำไมต้องเกิดขึ้น ณ คาบเวลานี้ เป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด และ ต้องเกิดตามลำน้ำโขงเฉพาะช่วงของจังหวัดหนอง คายเท่านั้น

สถานที่รับชมบั้งไฟพญานาค
สถานที่ที่เหมาะสมหรืออีกนัยหนึ่งนั้นคือ สถานที่เกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคก็ได้แก่ตลอดแนวลำน้ำโขง จากช่วง "อำเภอสังคม" ยาวไปตลอดลำน้ำจนถึง "บ้านอาฮง" ในเขตอำเภอบึงกาฬ แต่ทว่าไม่ใช่ว่าจะไปนั่งดูนั่งชมตรงไหนก็ได้ครับ จุดที่ขึ้นให้เห็นกันทุกๆปีมักจะอยู่ในทำเลที่มีลำห้วยสาขาไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง เพราะแถบนั้นจะเป็นที่สะสมตะกอน สถานที่ที่มีการผุดขึ้นเป็นประจำก็ได้แก่สถานที่เหล่านี้
อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ ได้แก่ หมู่บ้านผาตั้ง, น้ำตกธารทอง ,วัดหินหมากเป้ง ซึ่งค่อนข้างจะสะดวกเพราะมีที่จอดรถที่กว้างขวาง และยังได้มานมัสการรูปเหมือนและอัฐิของท่านหลวงปู่เทศก์ด้วย, หมู่บ้านโคกซวก ซึ่งอยู่ติดกับวัดพอดี บ้านท่ากฐิน เป็นต้นอำเภอเมือง มีข่าวการขึ้นประปรายแถบตำบลหาดคำ บ้านหัวหาด บ้านพวก มีการปรากฏให้เห็นเยอะพอสมควร บ้านสีกายใต้ และบ้านเดื่อ ซึ่งมีชายแดนติดกับอำเภอโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย นี่คือที่มาแห่งตำนานเล่าขานเรื่องบั้งไฟพญานาคเลยละครับ ที่อำเภอแห่งนี้จะมีวัดอยู่วัดหนึ่ง เรียงชื่อว่า "วัดหลวง" ตั้งอยู่ริมปาก "ห้วยหลวง" ซึ่งเป็นลำห้วยขนาดใหญ่ ไหลมาจากเทือกเขาภูพานในเขตจังหวัดอุดรธานี มีตำนานเล่าขานกันถึง "พญานาค" มานมนานเกี่ยวพันต่อเนื่องกันเป็นตำนาน ที่วัดแห่งนี้ทุกๆปี จะมีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยมาเฝ้าชมปรากฏการณ์นี้ แต่โดยสภาพของบรรยากาศแวดล้อมไม่ค่อยเป็นใจนัก เพราะอยู่ติดกับตลาดในอำเภอ แสงไฟจากบ้านเรือนร้านค้าทำให้ความสุขสว่างของดวงไฟลดลงไปมาก แต่ก็ยังมีให้เห็นได้แม้จะไม่ชัดเจนนัก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539 มีการเล่าลือถึงเรื่องมีพญานาคมาประทับรอยไว้บนหลังรถของอาจารย์ท่านหนึ่ง ที่สอนอยู่ที่โรงเรียนประจำอำเภอ เป็นข่าวเกรียวกราวทางหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายวันเลยทีเดียว อำเภอรัตนวาปี เมื่อก่อนเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอโพนพิสัย เพิ่งแยกตัวออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ไม่นานมานี้ และยกระดับเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2542 จุดชมบั้งไฟพญานาคที่ดีที่สุดของจังหวัดหนองคาย อยู่ที่อำเภอแห่งนี้ บริเวณปากห้วยน้ำเป ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 65 กิโลเมตร สถานที่ที่สะดวกในการชมก็คือ " โรงเรียนบ้านน้ำเป " อยู่ในบริเวณเดียวกับปากลำห้วยนั่นเอง เคยมีการรายงานว่า มีลูกไฟขึ้นที่นี่เป็นจำนวนถึง สองร้อยกว่าลูกในคืนนั้น อำเภอปากคาด ถัดจากรัตนวาปี ต่อมาก็คืออำเภอปากคาดเป็นอีกอำเภอหนึ่งที่ตั้งอยู่บนถนนสาย 212 ถนนเลียบแม่น้ำโขงที่ยาวขนานตลอดลำน้ำ อำเภอปากคาดเป็นอำเภอเล็กๆที่มีเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับพืชผลทางการเกษตรสองสามชนิดคือ กล้วย สับปะรด และยางพารา เป็นพื้นที่ทดลองปลูกยางพาราในภาคอีสานยุคแรกๆเลยละครับ การจะชมบั้งไฟพญานาคที่นี่ผมเองก็ไม่เคยมาด้วยตนเอง เพราะติดที่ค่อนข้างจะไกลแต่ก็รับทราบมาว่า มีบริเวณปาก "ห้วยคาด" อีกแห่งหนึ่งที่มีการผุดขึ้นของลูกไฟหนาแน่นพอสมควรอำเภอบึงกาฬ อำเภอใหญ่อีกอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย มีการเตรียมการที่จะแยกตัวเองออกเป็น " จังหวัดบึงกาฬ " มานานพอสมควร เมืองที่มาของคำว่า "กุหลาบปากซัน" เพราะว่าตัวอำเภอนั้นตั้งอยู่ตรงข้ามกับ " เมืองปากซัน " ประเทศลาว ที่ที่มีน้ำซันไหลผ่านสามารถพบพานแม่น้ำสองสีได้ จุดชมบั้งไฟพญานาคที่ดีที่สุดของอำเภอนี้อยู่ที่ " บ้านอาฮง " ซึ่งน้ำโขงแถบนี้จะอุดมไปด้วยแก่งหิน เริ่มมาจากแถวปลายอำเภอปากคาดและจะมีหินก้อนใหญ่สุดในแก่งก็อยู่ประมาณที่บ้านอาฮงแห่งนี้ นอกจากนี้กลางแม่น้ำที่บ้านอาฮงนี้ยังได้ชื่อว่า "สะดือแม่น้ำโขง" อีกด้วย เหตุก็เพราะบริเวณแก่งจะมีอยู่จุดหนึ่งค่อนข้างจะลึกมาก ชาวบ้านเคยใช้ไม้ไผ่บ้านต่อกันยาวกว่า 6 ลำหยั่งลงไปก็ยังไม่ถึงพื้น ลูกไฟหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "บั้งไฟพญานาค" ที่ขึ้นที่นี่นั้น มีลักษณะแตกต่างจากที่ขึ้นตามจุดอื่นอยู่มาก เพราะที่อื่นจะมีลักษณะสีแดงอมชมพูแต่ที่นี่จะมีสีเหลืองอมส้มมีความสุกสว่างมากกว่าที่อื่น จากคำล่ำลือของชาวบ้านที่กล่าวถึงลูกไฟสีขาวแกมเขียวขนาดเท่าดวงพระจันทร์ในคืนนั้น มีความสว่างขนาดเกือบเท่ากลางวัน และเสียงไชโยโห่ร้องคล้ายกับงานรื่นเริงในยามดึกที่สงัดเงียบ รอท่านพิสูจน์อยู่ ณ ที่แห่งนี้ " บ้านอาฮง "
ข้อมูลจากการศึกษาการเกิดบั้งไฟพญานาคทางวิทยาศาสตร์
นายแพทย์มนัส กนกศิลป์ นายแพทย์ 9 ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้ากลุ่มงานกุมารเวชกรรม หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม และผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหนองคาย
ได้สรุป ผลงานวิจัยชิ้นนี้ ว่าเป็น ทฤษฎี ก๊าซขึ้น ก๊าซลง โดย สรุปเป็นสาระสำคัญดังนี้ คือ “ เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เข้าใกล้โลกจะมีผลในการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของบรรยากาศชิดผิวโลกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทำให้อนุภาคที่หนักและแตกตัวได้ยากด้วยพลังรังสีจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกพาดผ่านโดยถ้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่คนละซีกโลกด้านที่มีดวงจันทร์มีความหนาแน่นของอนุภาคชนิดนั้นสูงกว่าด้านที่มีดวงอาทิตย์ และในระหว่างอนุภาคด้วยกันอนุภาคที่หนักกว่าหรือแตกตัวยากกว่าจะมีความหนาแน่นสูงขึ้นมากกว่าอนุภาคที่เบากว่าหรือแตกตัวง่ายกว่าในซีกโลกด้านเดียวกันและเมื่อโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ขยับตัวเข้าใกล้โลกถึงจุดหนึ่งๆอนุภาคแต่ละชนิดก็จะเริ่มเกิดการฟุ้งกระจายในแนวดิ่งทำให้ความหนาแน่นของอนุภาคนั้นๆ ณ ตำแหน่งชิดผิวโลกลดลงได้ด้วยอิทธิพลของการแตกตัวจากพลังงานรังสี และการฟุ้งกระจายในแนวดิ่งจากพลังงานความร้อนของดวงอาทิตย์ และแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์แต่เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ซีกโลกด้านเดียวกันกลับทำให้ความหนาแน่นของอนุภาคแต่ละชนิดต่ำกว่าเมื่ออยู่คนละซีกโลก” เหตุที่เลือกใช้การวัดออกซิเจนโมเลกุล (O2)เป็นตัวแทนหลักในการวิจัย ก็เนื่องจากเป็นก๊าซที่สำคัญที่ใช้ในการสันดาปของเชื้อเพลิงทุกชนิด อีกทั้ง UVB ซึ่งเป็นตัวสลายม่าน O3 สลายแล้วได้ O2 +O ดังนั้นถ้าโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก UVB เพิ่มขึ้น % O2 จึงเพิ่มขึ้นได้ ถ้าโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นอีก จะทำให้ UVC ซึ่งสลาย O2 ได้เป็น O + O เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ % O2 ลดลงได้ ซึ่งรวมทั้งฟองก๊าซมีเทนที่ผุดจากผิวโลก ก็สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมซึ่งในภาวะปกติจะพบหนาแน่นเหนือต่อชั้นโอโซโนสเฟียร์ (สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 35 – 55 กม.) อันเป็นปฏิกิริยาแบบโฮโมจีนัสคอมบัสชั่น คือ เนื้อก๊าซกับเนื้ออากาศ ปะปนเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นในชั้นสตราโตสเฟียร์ (สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 55 – 80) เท่านั้น และจะไม่เกิดในระดับผิวโลกส่วนล่างอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ก็เพราะมีม่านโอโซนกำบังรังสีจากแสงอาทิตย์อีกทั้งออกซิเจนอะตอมเบาและไม่คงตัวจึงลอยขึ้นทำให้ระดับผิวโลกปกติจะมีออกซิเจนอะตอมอยู่น้อยมาก แต่เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ทำให้ปริมาณพลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์จะสูงสุดในช่วงที่โลกเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และมากพอที่จะทะลวงผ่านม่านโอโซนที่กำบังอยู่ลงมากระทบโมเลกุลของออกซิเจนที่หนาแน่นเบื้องล่างได้ดังเช่น ในช่วงที่เกิดบั้งไฟพญานาคที่บรรยากาศผิวโลก จะมีความหนาแน่นของโมเลกุลของออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น จากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ และเมื่อมีพลังงานรังสี จากดวงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านม่านโอโซนลงมา จะทำให้โมเลกุลออกซิเจนแตกตัวเป็นอะตอมของออกซิเจนที่มีประจุและอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ตามสนาม แม่เหล็กโลกออกซิเจนอะตอมที่มีพลังงานสูงจะมีความหนาแน่นสูงพอที่จะเกิดปฏิกิริยาสันดาป กับฟองก๊าซมีเทนที่ผุดขึ้นแทบทุกวัน เป็นประจำอยู่แล้ว โดยเป็นการย้ายปฏิกิริยาจากในชั้นสตราโตสเฟียร์จำลองมาเกิดในระดับผิวโลกแทน แต่เป็นแบบเฮ็ทเทอโรจีนคอมบัสชั่น คือ ฟองก๊าซมีเทนและบรรยากาศแยกกันคนละส่วนเกิดปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัสกับฟองก๊าซลุกติดไฟ เกิดเป็นบั้งไฟพญานาค อยากทราบว่าท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับ
หลายคนพูดว่าเราขอเชื่อว่าเป็นเรื่องของพญานาคแล้วกัน ไม่ต้องพิสูจน์ แต่เชื่อด้วยใจ บางคนพูดว่า
แน่จริง ไม่พากันดำน้ำลงไปพิสูจน์เลยละ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย มัวแต่วัดอุณหภูมิเหนือผิวน้ำอยู่ได้ เหตุมันเกิดที่ใต้น้ำไม่ใช่หรือ? อ่านนิทานพื้นบ้านแล้วสนุกดี แต่ขอบอกว่าไม่เป็นความจริงทั้งพุทธประวัติหรือนิทาน แต่อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็เป็นเครื่องขัดเกราจิตใจของคน จะสังเกตได้ว่าผู้ที่มีความรู้แต่ไม่มีธรรมะในจิตใจมักจะต่ำทรามเสมอต่ำทั้งการกระทำและความคิดอยากจะขอบอกว่านิทานพุทธประวัติมากกว่า90%ไม่เป็นความจริงแต่เชื่อเถอะว่าถ้าทุกคนได้อ่านพุทธประวัติหรือนำอาหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปดำเนินชีวิตแล้วละก็เจริญทุกคน
ผมได้ไปสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในอำเภอบึงกาฬ เขาเล่าว่าก็เห็นกันมานานจนไม่เห็นเป็นเรื่องแปลกประหลาดและไม่ได้จุดประกายอะไรให้คนถิ่นอื่นด้วย แต่เพิ่งมาเป็นเรื่องราวใหญ่โตก็เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง แล้วเกิดแนวความคิดขึ้นมี 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายความเชื่อดั้งเดิม (เพื่อประโยชน์ในการดำรงตนตาม ประเพณี และจริยธรรม ครรลองศาสนาพุทธฝ่ายความเชื่อเรื่องสวรรค์/นรก ) กับฝ่ายต้องการพิสูจน์เชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์ ต่างฝ่ายก็ต่างมุ่งที่จะสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งน่าจะไม่มีทางยุติ หรือพบกันกลางทางได้ในยุคสมัยนี้ ก็ขอให้เป็นภาระของฝ่ายบ้านเมืองที่จะต้องดำรงความเป็นกลาง และพยายามให้เหตุผลทางสังคมที่เหมาะสมต่อไป แล้วท่านผู้อ่านละครับมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับบั้งไฟพญานาค ?



Prev: บทความเรื่อง มหันตภัยจาก ICT
Next: Design web page Teaching with technology
RED LETTER
RED LETTER

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ