“รถอัจฉริยะ” ความหวัง ในเขมร
หน้า 1 จาก 1
“รถอัจฉริยะ” ความหวัง ในเขมร
ภาพเอเอฟพีวันที่ 21 ส.ค. นายเนียนกับรถที่เขาออกแบบขึ้นเอง "อังกอร์ 333-2010" บริเวณหน้าบ้านในกรุงพนมเปญ
เอเอฟพี - รถมินิคาร์สีทองคันจิ๋ว ที่วิ่งไปมาบนถนนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ไม่เพียงแต่รูปลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครและสีสะดุดตาเท่านั้น แต่ผู้ประดิษฐ์รถคันนี้ นายเนียน ผลึก (Nhean Phaloek) ยังอ้างว่ารถของเขาสามารถสั่งการผ่านความคิดได้ด้วย
“ผม แค่ดีดนิ้วประตูรถก็จะเปิด หรือไม่ผมเพียงแค่คิดให้ประตูรถเปิด มันก็จะเปิดทันที” เจ้าของรถสุดเก๋อายุ 51 ปี ที่ภาคภูมิใจกับรถประดิษฐ์ในชื่อว่า อังกอร์ 333-2010 กล่าว
ผู้ เห็นเหตุการณ์ต่างอ้าปากค้างเมื่อนายเนียนสาธิตเทคนิคการเปิดประตูรถให้ดู โดยรถที่สร้างขึ้นจากไฟเบอร์กลาสคันนี้มีมูลค่าทั้งหมด 5,000 ดอลลาร์และใช้เวลาประกอบอยู่ 19 เดือน แต่เจ้าของรถไม่เปิดเผยให้เห็นระบบรีโมตคอนโทรลที่ซ่อนอยู่ภายในรถให้ผู้ สื่อข่าวดูแต่อย่างใด
เจ้าของรถ 2 ที่นั่งคันนี้ มีความฝันว่ารถของเขาจะช่วยประคับประคองอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศที่ยัง ล้าหลังหลังเพราะปัญหาความขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคนานนับทศวรรษ
“ผม รู้สึกตื่นเต้นและภูมิใจมากกับรถของผมเพราะหลายคนต่างชื่นชมและคอยซักถามผม เกี่ยวกับวิธีที่ผมสร้างรถคันนี้ขึ้นมา” นายเนียน กล่าว โดยรถที่เขาประดิษฐ์ขึ้นนี้สามารถเร่งความเร็วได้สูงสุดได้ถึง 100 กม./ชม.
ส่วน นายกง พะริธ (Kong Pharith) อายุ 48 ปี อดีตครูสอนวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกซ์ ที่ประกอบรถขึ้นเองเช่นกัน ระบุว่า อุตสากรรมยานยนต์ในกัมพูชาน่าจะเฟื่องฟูกว่านี้
“งาน ของพวกเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเป็นแรงกระตุ้นให้กับคนรุ่นใหม่ได้เข้าสู่ กระบวนการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นเพื่อแสดงให้โลกเห็นว่ากัมพูชาก็มีความสามารถที่จะทำในสิ่งที่คนอื่นคิด ว่าเราทำไม่ได้” นายกง กล่าว
นายกง เป็นนักประดิษฐ์ที่คนในประเทศต่างให้ความสนใจเมื่อครั้งที่เขาประดิษฐ์รถ จักรยานพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นเป้นครั้งแรกในปี 2548 นายกง คิดว่า ในตอนนี้เขาได้ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใหม่ที่ไม่เหมือนใครขึ้นได้กับรถจี๊ป สีส้มของเขาที่มีแผงโซลาร์เซลล์ติดอยู่บนหลังคารถ
นาย กง กล่าวว่า เขาใช้เวลาออกแบบรถประดิษฐ์คันนี้เป็นเวลา 4 เดือน และใช้เวลาตกแต่งครั้งสุดท้ายกับรถ “Tribrid” ที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างน้ำมัน ไฟฟ้า และโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถทำความเร็วสูงสุดที่ 40 กม./ชม.ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2,000 วัตต์
“ผม รู้สึกดีใจมากกับความสำเร็จของผม แต่ก็ยังไม่ค่อยพอใจมันมากเท่าไหร่” นายกง กล่าว พร้อมระบุว่ากัมพูชายังขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการประดิษฐ์และผลิตผลงานที่มีประสิทธิภาพ
ความ ฝันที่จะผลิตรถยนต์ในกัมพูชาอาจไม่ไกลเกินเอื้อม เมื่อเจ้าหน้าที่ของทางการได้ประกาศแผนการลงทุนของบริษัทฮุนไดผู้ผลิตรถยนต์ จากเกาหลีใต้ ซึ่งจะเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ โดยโรงงานดังกล่าวมีแผนที่จะประกอบรถยนต์ให้ได้ 3,000 คันต่อปี
นายเนียนชี้ส่วนต่างๆ ภายในห้องโดยสารให้ดู พร้อมบอกว่ารถจิ๋วแต่แจ๋วคันนี้สามารถเปิดประตูด้วยเสียงหรือความคิด
ก่อน หน้านี้ กัมพูชาเองก็เคยมีโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศในช่วงทศวรรษที่ 1960 ก่อนที่ประเทศจะอยู่ภายใต้ภาวะสงครามเวียดนามเช่นกัน ซึ่งในระหว่างการดำเนินการผลิตช่วงระยะเวลาสั้นๆ นั้น รถยนต์ที่ผลิตขึ้นมีชื่อว่า “อังกอร์” โดยผลิตขึ้นจากชิ้นส่วนรถยนต์นำเข้าและยางรถยนต์ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ซึ่งรถยนต์ที่ประกอบขึ้นอย่างง่ายๆ นี้ ยังคงใช้กันอยู่ตามชนบท ที่ประชากรกว่า 80% ของประเทศอาศัยอยู่
นอกจากนั้น บรรดาเกษตรกรในชนบทก็นิยมใช้ “ควายเหล็ก” ซึ่งมีเครื่องยนต์ที่ผลิตจากจีนหรือเวียดนาม เพื่อขนส่งคนและข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ โดยเครื่องยนต์ตัวเดียวกันซึ่งมีราคาหลายพันดอลลาร์ ยังนำมาใช้ในการปั่นไฟ หรือปั๊มน้ำในเวลาที่พวกเขาไม่ต้องใช้มันเป็นพาหนะเดินทางไปบนเส้นทางที่ เป็นหลุมเป็นบ่อของประเทศ
แต่ในเมืองหลวงอย่างกรุง พนมเปญ คนชนชั้นสูงและชนชั้นกลางมักจะขับรถนำเข้าราคาแพงที่ถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์ ของสถานะและความสำเร็จของบุคคลที่ขับขี่
“คนเขมรให้ ความสนใจมากขึ้นกับรถที่ใช้ขับมากกว่าเสื้อผ้าที่ซื้อมาสวมใส่” นายชอง บอริส รูส์ (Jean Boris Roux) ผู้นำเข้ารถยนต์ Ford มาจำหน่ายในกัมพูชา กล่าว
“ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนเขมรที่จะโชว์ความสำเร็จในอาชีพการงานผ่านรถยนต์ที่พวกเขาขับ” นายรูส์ กล่าว
ถึง แม้ว่าชาวกัมพูชาจะรักรถยนต์ แต่ นายรูส์ และนักวิเคราะห์อีกหลายคนระบุว่ายังคงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยกับการที่โรงงาน ผลิตรถยนต์จะเปิดขึ้นในกัมพูชาเร็วๆนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยยังคงเป็นยักษ์ใหญ่ใน อุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคนี้อยู่
“ไม่เพียงแค่มีตัว โรงงาน คุณยังต้องการบริษัทอีกหลายร้อยบริษัทที่ผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนไม่ว่าจะเป็น เบาะที่นั่ง พวงมาลัย หรือกระโปรงรถ มันไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในกัมพูชาในอีกไม่กี่ปีนี้แน่นอน” นายรูส์ กล่าว
จนถึงตอนนั้น นายเนียนกล่าวว่า เขาก็ยังคงจะประดิษฐ์รถยนต์ที่บ้านของเขาต่อไป
รถ ยนต์อังกอร์ 333-2010 เป็นคันที่ 3 ที่ นายเนียน ประดิษฐ์ขึ้น และเป็นคันแรกที่สามารถพูดได้ ซึ่งทันที่ที่นายเนียนปิดประตูรถอย่างแรง รถยนต์ของเขาจะส่งเสียงขึ้นมาว่า “ทำไมคุณต้องปิดประตูแรงขนาดนี้”
“ชาว บ้านและนักท่องเที่ยวหลายสิบคนชอบมาดูรถของผม มีชาวอังกฤษคนหนึ่งบอกผมว่านี่คือ รถเจมส์บอนด์สไตล์เขมร” นายเนียน กล่าวพร้อมกับรอยยิ้ม
เรียบเรียงจาก 'Telepathic' car symbolises Cambodian car industry hopes โดย Chan Sovannara
ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ กัมพูชา
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ