องค์กรเทวดาอิสระ
หน้า 1 จาก 1
องค์กรเทวดาอิสระ
องค์กรเทวดาอิสระ
โดย : สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คัดลอกจากคอลัมน์ “กฎหมายการเมือง”
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2552
คำวินิจฉัยของ กกต. ในคดีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้สร้างความงงงวยให้แก่ผู้เขียนอีกครั้งหนึ่งถึงมาตรฐานในการปฏิบัติงานขององค์กรนี้
โดยกรรมการ กกต. ได้มีความเห็นว่าให้ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ และประธานก็ได้รับมอบอำนาจดังกล่าวมาวินิจฉัยโดยไม่มีข้อโต้แย้งแม้แต่น้อย
คำถามสำคัญไม่ใช่ว่าการตัดสินใจของประธาน กกต. จะเป็นไปในทิศทางใด (ซึ่งอันที่จริงก็สามารถคาดเดาได้โดยไม่ยากอยู่แล้ว) หากมีอยู่ว่าอำนาจในการวินิจฉัยในประเด็นกรณียุบพรรคที่เกิดขึ้นเป็นอำนาจของใคร ระหว่างคณะกรรมการ กกต. หรือเป็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง
หากอำนาจในการตัดสินใจนี้เป็นของคณะกรรมการ กกต. ก็จะต้องมีการตัดสินใจในนามขององค์กรเกิดขึ้นว่าจะดำเนินเช่นไร และด้วยเหตุผลอย่างไร ทาง กกต. ไม่สามารถจะมีมติมอบอำนาจให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดไปทำหน้าที่ตัดสินใจได้ หากการให้อำนาจนี้เป็นของ กกต. ก็ย่อมหมายความว่า ต้องการให้องค์กรนี้ทำงานในลักษณะของกลุ่มบุคคล ไม่ใช่ให้อำนาจกับใครคนใดคนหนึ่ง บนความคาดหวังว่าเพื่อให้เกิดการถกเถียง แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นในหมู่ผู้ดำรงตำแหน่งด้วยกัน
การมีมติในลักษณะให้เพียงบุคคลหนึ่งตัดสินใจแทนองค์กรย่อมเป็นสิ่งที่ขัดกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งองค์กรในลักษณะกลุ่มอย่างแน่นอน
ถ้าการให้อำนาจเช่นนี้ สามารถกระทำได้และเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องมี กกต. ในลักษณะขององค์กรกลุ่มอีกต่อไป เหลือแค่ประธาน กกต. ทำหน้าที่เพียงคนเดียวก็เพียงพอแล้ว เมื่อมีข้อร้องเรียนใดๆ ก็ให้ประธานตัดสินใจซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบด้วย ดังนั้น กรรมการคนอื่นๆ ซึ่งกินเงินเดือนละแสนกว่าบาทก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยใช่เหตุ
หรือในอีกแง่หนึ่ง หากการวินิจฉัยกรณียุบพรรคการเมืองเป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว ถ้าเช่นนั้น ทางคณะกรรมการ กกต. ก็ไม่มีอำนาจใดที่จะมาตัดสินแทน หรือแม้กระทั่งการมีมติมอบหมายก็ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อสรุปของ กกต. ในกรณีนี้จึงไม่สามารถสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้ในเชิงเหตุผลทางกฎหมายแต่อย่างใด
การปฏิบัติงานของ กกต. เป็นตัวอย่างหนึ่งในท่ามกลางองค์กรอิสระที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะพบเห็นได้ว่าถูกตั้งคำถามหรือข้อสงสัยต่อมาตรฐานหรือความคงเส้นคงวาขององค์กรเหล่านี้ เฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การปฏิบัติงานขององค์กรอิสระจำนวนมากไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ตรงกันข้ามกับมีจุดยืนทางการเมืองเข้ามากำกับแนวทางการปฏิบัติงานอยู่ด้วย
ความคลางแคลงใจนี้ ปรากฏทั้งในแง่กระบวนการและบรรทัดฐานในการวินิจฉัยที่ไม่สม่ำเสมอ อาทิเช่น คดีหรือข้อร้องเรียนที่มีอยู่กับบางองค์กร สำหรับฝ่ายหนึ่งได้รับการพิจารณาและไต่สวนอย่างรวดเร็ว ขณะที่หากเป็นข้อร้องเรียนที่มีมาจากอีกฝ่ายกลับดำเนินไปอย่างเชื่องช้า หรือในกรณีที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกัน แต่ผลของการตัดสินกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
การตัดสินคดีข้อพิพาทที่รับฟังคำแถลงปิดคดีเสร็จเพียงสองชั่วโมงแล้ว สามารถมีคำตัดสินยาว 30 หน้าออกมาได้ จะให้เข้าใจเป็นอื่นได้อย่างไรนอกจากมีการเขียนไว้ล่วงหน้าก่อนได้ฟังคำแถลงปิดคดีทั้งหมดแล้ว
หรือแม้กระทั่งการตั้งข้อสงสัยต่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระว่าอาจไม่อยู่ในฐานะที่ปฏิบัติงานได้อย่างชอบธรรม ก็ล้วนแต่เป็นคำถามที่สั่นคลอนต่อความชอบธรรมในการทำงานขององค์กรอิสระทั้งสิ้น
แต่ทั้งหมดแทบไม่เคยมีคำชี้แจงอย่างชัดเจนออกมาจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในองค์กรเหล่านี้
การมีอภิสิทธิ์โดยไม่ต้องตอบคำถามขององค์กรอิสระ คือ ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้การปฏิบัติงานขององค์กรเหล่านี้ พร้อมที่จะเป๋ไปเป๋มาตามอำเภอใจ
แม้ว่าตามรัฐธรรมนูญจะกำหนดให้มีกระบวนการในการควบคุมตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระเหล่านี้ แต่ด้วยการซ้อนทับและเกี่ยวดองกันทำให้กระบวนการตรวจสอบไม่สามารถปรากฏขึ้นจริงได้ในทางปฏิบัติ อาทิเช่น ประธานของบางองค์กรมีบทบาทในการคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็น ส.ว. สรรหา และเมื่อต้องการถอดถอนบุคคลในองค์กรเหล่านี้ ก็ต้องไปผ่านความเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภาที่ตนเองมีส่วนในการคัดเลือกมา ก็ไม่ต่างอะไรไปจากการลูบหน้าปะจมูกมิใช่หรือ
เมื่อการควบคุมองค์กรอิสระไม่สามารถเกิดขึ้นในความเป็นจริง องค์กรต่างๆ เหล่านี้ จึงพ้นไปจากความรับผิดชอบใดอย่างสิ้นเชิง ไม่ต้องแปลกใจว่าเพราะเหตุใดองค์กรอิสระจึงไม่ได้รับการยอมรับในสังคมไทยมากนัก นอกจากในหมู่ผู้มีจุดยืนการเมืองร่วมกัน
องค์กรอิสระถือกำเนิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย บนความคาดหวังว่าจะเป็นกลไกที่สามารถสร้างความชอบธรรมในการตรวจสอบนักการเมือง หรือกิจกรรมต่างๆ ให้มีความโปร่งใส เป็นธรรมและควรได้รับการยอมรับจากส่วนใหญ่ในสังคม แต่บัดนี้องค์กรอิสระกลับกลายเป็นองค์กรทางการเมือง ซึ่งมิได้ทำหน้าที่ตามความคาดหมายดังที่เคยเป็นมา
ทางเลือกที่อาจต้องขบคิดกันให้มากขึ้นก็คือว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรอิสระสามารถถูกควบคุมจากสังคมได้เช่นเดียวกัน ต้องไม่มีองค์กรทางการเมืองใดที่ปราศจากความรับผิดต่อประชาชนในระบอบเสรีประชาธิปไตย
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ต้องไม่มีองค์กรอิสระลอยไปลอยมาแบบเทวดาด้วยภาษีของประชาชน แต่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมแม้แต่น้อย
…………………...................................................................................................................................
โดย : สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คัดลอกจากคอลัมน์ “กฎหมายการเมือง”
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2552
คำวินิจฉัยของ กกต. ในคดีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้สร้างความงงงวยให้แก่ผู้เขียนอีกครั้งหนึ่งถึงมาตรฐานในการปฏิบัติงานขององค์กรนี้
โดยกรรมการ กกต. ได้มีความเห็นว่าให้ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ และประธานก็ได้รับมอบอำนาจดังกล่าวมาวินิจฉัยโดยไม่มีข้อโต้แย้งแม้แต่น้อย
คำถามสำคัญไม่ใช่ว่าการตัดสินใจของประธาน กกต. จะเป็นไปในทิศทางใด (ซึ่งอันที่จริงก็สามารถคาดเดาได้โดยไม่ยากอยู่แล้ว) หากมีอยู่ว่าอำนาจในการวินิจฉัยในประเด็นกรณียุบพรรคที่เกิดขึ้นเป็นอำนาจของใคร ระหว่างคณะกรรมการ กกต. หรือเป็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง
หากอำนาจในการตัดสินใจนี้เป็นของคณะกรรมการ กกต. ก็จะต้องมีการตัดสินใจในนามขององค์กรเกิดขึ้นว่าจะดำเนินเช่นไร และด้วยเหตุผลอย่างไร ทาง กกต. ไม่สามารถจะมีมติมอบอำนาจให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดไปทำหน้าที่ตัดสินใจได้ หากการให้อำนาจนี้เป็นของ กกต. ก็ย่อมหมายความว่า ต้องการให้องค์กรนี้ทำงานในลักษณะของกลุ่มบุคคล ไม่ใช่ให้อำนาจกับใครคนใดคนหนึ่ง บนความคาดหวังว่าเพื่อให้เกิดการถกเถียง แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นในหมู่ผู้ดำรงตำแหน่งด้วยกัน
การมีมติในลักษณะให้เพียงบุคคลหนึ่งตัดสินใจแทนองค์กรย่อมเป็นสิ่งที่ขัดกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งองค์กรในลักษณะกลุ่มอย่างแน่นอน
ถ้าการให้อำนาจเช่นนี้ สามารถกระทำได้และเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องมี กกต. ในลักษณะขององค์กรกลุ่มอีกต่อไป เหลือแค่ประธาน กกต. ทำหน้าที่เพียงคนเดียวก็เพียงพอแล้ว เมื่อมีข้อร้องเรียนใดๆ ก็ให้ประธานตัดสินใจซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบด้วย ดังนั้น กรรมการคนอื่นๆ ซึ่งกินเงินเดือนละแสนกว่าบาทก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยใช่เหตุ
หรือในอีกแง่หนึ่ง หากการวินิจฉัยกรณียุบพรรคการเมืองเป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว ถ้าเช่นนั้น ทางคณะกรรมการ กกต. ก็ไม่มีอำนาจใดที่จะมาตัดสินแทน หรือแม้กระทั่งการมีมติมอบหมายก็ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อสรุปของ กกต. ในกรณีนี้จึงไม่สามารถสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้ในเชิงเหตุผลทางกฎหมายแต่อย่างใด
การปฏิบัติงานของ กกต. เป็นตัวอย่างหนึ่งในท่ามกลางองค์กรอิสระที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะพบเห็นได้ว่าถูกตั้งคำถามหรือข้อสงสัยต่อมาตรฐานหรือความคงเส้นคงวาขององค์กรเหล่านี้ เฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การปฏิบัติงานขององค์กรอิสระจำนวนมากไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ตรงกันข้ามกับมีจุดยืนทางการเมืองเข้ามากำกับแนวทางการปฏิบัติงานอยู่ด้วย
ความคลางแคลงใจนี้ ปรากฏทั้งในแง่กระบวนการและบรรทัดฐานในการวินิจฉัยที่ไม่สม่ำเสมอ อาทิเช่น คดีหรือข้อร้องเรียนที่มีอยู่กับบางองค์กร สำหรับฝ่ายหนึ่งได้รับการพิจารณาและไต่สวนอย่างรวดเร็ว ขณะที่หากเป็นข้อร้องเรียนที่มีมาจากอีกฝ่ายกลับดำเนินไปอย่างเชื่องช้า หรือในกรณีที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกัน แต่ผลของการตัดสินกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
การตัดสินคดีข้อพิพาทที่รับฟังคำแถลงปิดคดีเสร็จเพียงสองชั่วโมงแล้ว สามารถมีคำตัดสินยาว 30 หน้าออกมาได้ จะให้เข้าใจเป็นอื่นได้อย่างไรนอกจากมีการเขียนไว้ล่วงหน้าก่อนได้ฟังคำแถลงปิดคดีทั้งหมดแล้ว
หรือแม้กระทั่งการตั้งข้อสงสัยต่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระว่าอาจไม่อยู่ในฐานะที่ปฏิบัติงานได้อย่างชอบธรรม ก็ล้วนแต่เป็นคำถามที่สั่นคลอนต่อความชอบธรรมในการทำงานขององค์กรอิสระทั้งสิ้น
แต่ทั้งหมดแทบไม่เคยมีคำชี้แจงอย่างชัดเจนออกมาจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในองค์กรเหล่านี้
การมีอภิสิทธิ์โดยไม่ต้องตอบคำถามขององค์กรอิสระ คือ ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้การปฏิบัติงานขององค์กรเหล่านี้ พร้อมที่จะเป๋ไปเป๋มาตามอำเภอใจ
แม้ว่าตามรัฐธรรมนูญจะกำหนดให้มีกระบวนการในการควบคุมตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระเหล่านี้ แต่ด้วยการซ้อนทับและเกี่ยวดองกันทำให้กระบวนการตรวจสอบไม่สามารถปรากฏขึ้นจริงได้ในทางปฏิบัติ อาทิเช่น ประธานของบางองค์กรมีบทบาทในการคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็น ส.ว. สรรหา และเมื่อต้องการถอดถอนบุคคลในองค์กรเหล่านี้ ก็ต้องไปผ่านความเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภาที่ตนเองมีส่วนในการคัดเลือกมา ก็ไม่ต่างอะไรไปจากการลูบหน้าปะจมูกมิใช่หรือ
เมื่อการควบคุมองค์กรอิสระไม่สามารถเกิดขึ้นในความเป็นจริง องค์กรต่างๆ เหล่านี้ จึงพ้นไปจากความรับผิดชอบใดอย่างสิ้นเชิง ไม่ต้องแปลกใจว่าเพราะเหตุใดองค์กรอิสระจึงไม่ได้รับการยอมรับในสังคมไทยมากนัก นอกจากในหมู่ผู้มีจุดยืนการเมืองร่วมกัน
องค์กรอิสระถือกำเนิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย บนความคาดหวังว่าจะเป็นกลไกที่สามารถสร้างความชอบธรรมในการตรวจสอบนักการเมือง หรือกิจกรรมต่างๆ ให้มีความโปร่งใส เป็นธรรมและควรได้รับการยอมรับจากส่วนใหญ่ในสังคม แต่บัดนี้องค์กรอิสระกลับกลายเป็นองค์กรทางการเมือง ซึ่งมิได้ทำหน้าที่ตามความคาดหมายดังที่เคยเป็นมา
ทางเลือกที่อาจต้องขบคิดกันให้มากขึ้นก็คือว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรอิสระสามารถถูกควบคุมจากสังคมได้เช่นเดียวกัน ต้องไม่มีองค์กรทางการเมืองใดที่ปราศจากความรับผิดต่อประชาชนในระบอบเสรีประชาธิปไตย
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ต้องไม่มีองค์กรอิสระลอยไปลอยมาแบบเทวดาด้วยภาษีของประชาชน แต่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมแม้แต่น้อย
…………………...................................................................................................................................
RED LETTER- จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ