กรุงแบกแดด
หน้า 1 จาก 1
กรุงแบกแดด
เรื่องราวของเมืองแบกแดดนั้นมีมากมายเกินกว่าที่เรารู้มาจากข่าวประจำวัน เสียอีก ครั้งหนึ่ง แบกแดดเป็นเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดในโลก
ใน ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การค้า การอุตสาหกรรม การศึกษาและการเผยแพร่ความรู้ศิลปะและวรรณกรรมนั้น ความสำเร็จของแบกแดดไม่มีใครทั้งในตะวันออกและตะวันตกสามารถมาเปรียบเทียบ ได้ แต่ความหายนะที่แบกแดดได้รับก็เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ของมนุษชาติเช่นกัน
ความหายนะของแบกแดดเริ่มขึ้นใน ค.ศ.1218 เมื่อกองทัพป่าเถื่อนของเจงกิสข่านได้ยาตราเข้ามารุกรานและทำลายเมืองต่างเอ เซียกลางและอาณาจักรเปอร์เซียจนราบเป็นหน้ากลอง เช่น เมืองบุคอรอ สะมาร์คันด์ เฮราต นิชาปูร์และบัลค์ เขาไม่ได้เข้าโจมตีแบกแดด แต่ได้ปูทางการรุกรานไว้ให้ฮูลากูข่านหลานชายของเขา
ใน ค.ศ.1258 ฮูลากูข่านได้เข้ามาทำลายแบกแดดโดยฆ่าประชาชนในเมืองไปถึง 1.6 ล้านคนและทำลายสัญลักษณ์ต่างๆแห่งความรุ่งโรจน์ของเมืองอันยิ่งใหญ่นี้ลง อย่างไม่มีอะไรหลงเหลือ คนพวกนี้เข้ามารุกราน ปล้นสดมภ์ ทำลาย เผา ฆ่า แล้วก็จากไป พวกมองโกลคือพวกที่รู้จักกันว่าเป็นพวกป่าเถื่อน
ใน ค.ศ.1990 แผ่นดินและผู้คนของแบกก็ได้ถูกโจมตีอีกครั้งหนึ่ง พวกเขาโจมตีโรงพยาบาล โรงงานผลิตยา อ่างเก็บน้ำ โกดังอาหาร โรงงาน โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า บ้านเรือนและตลาด นอกจากนั้นแล้วพวกเขายังปิดล้อมประเทศโดยไม่ยอมให้อาหารถึงมือคนที่หิวโหย และไม่ยอมให้ยาถึงคนป่วย พวกเขาตัดสินให้ทุกคนในประเทศตายด้วยความเจ็บปวดอย่างช้าๆ ท่ามกลางผู้คนที่ล้มตายทั่วประเทศและการทำลายล้างจากน้ำมือของผู้รุกราน เมื่อ 8 ศตวรรษก่อนนั้น มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่สองอย่างระหว่างอดีตและปัจจุบัน
เจงกิส ข่านถูกยั่วยุโดยความโง่เขลาของควาริซม์ชาห์ที่ฆ่าพ่อค้าชาวมองโกล 400 คนด้วยความระแวงว่าพ่อค้าเหล่านี้คือสายลับ ส่วนผู้รุกรานใน ค.ศ.1991 ก็ถูกยั่วยุเช่นกันถึงแม้ว่าคนพวกนี้จะใช้การยั่วยุที่ถูกวางแผนมาแล้ว ฮูลากูข่านได้ยินว่ามันเป็นเรื่องไม่ดีถ้าหากเลือดของผู้นำมุสลิมจะหยดลงบน พื้น ดังนั้น เขาจึงไม่ฆ่าเคาะลีฟะฮฺด้วยดาบ แต่ได้จับยัดใส่กระสอบและทุบจนตายหลังจากนั้นก็ให้ม้าเข้าเหยียบย่ำ
ผู้ รุกรานใน ค.ศ.1998 ได้ยินว่ามันเป็นการไม่ดีที่จะโจมตีในเดือนเราะมะฎอน ดังนั้น พวกเขาจึงเริ่มต้นความ***มโหดสามวันก่อนหน้านั้น นี่เป็นการแสดงความรู้สึกอย่างเดียวกับฮูลากู
แต่ฮูลากูมีแค่ เพียงอาวุธทำลายล้างสูง ส่วนผู้รุกรานใน ค.ศ.1990 ไม่เพียงแต่มีอาวุธทำลายล้างสูงเท่านั้น แต่ยังมีอาวุธหลอกลวงมวลชนอีกด้วย เครื่องมือเหล่านี้อยู่ในรูปของสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง เช่น ซีเอ็นเอ็น บีบีซี รอยเตอร์และอื่นๆ ฮูลากูไม่มีสิ่งเหล่านี้ นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมฮูลากูจึงไม่เคยออกมาร้องคำว่า “สันติภาพบนโลก”ขณะที่กำลังสังหารหมู่ และเขาไม่เสแสร้งแกล้งทำว่าเขากำลังยึดถือ “กฎหมายระหว่างประเทศ” เขาไม่ประกาศว่าเขา “ไม่ได้ทะเลาะกับประชาชน” ขณะที่กำลังฆ่าประชาชน เขาไม่ได้ประกาศว่าเขา “เคารพอิสลาม” ขณะที่เขาเผามัสญิดและโรงเรียน เพราะเขาเป็นคนป่าเถื่อนที่โกหกไม่เป็น
เจงกิสข่านและฮูลากู ข่านยังปกครองโลกอยู่ในปัจจุบัน เหตุผลและหลักการของพวกเขายังคงเป็นแรงผลักดันทางการเมืองที่แท้จริงอยู่ ฉากการเข่นฆ่าที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าไม่สิ้นสุดในบอสเนียและโคโซวา ในแคชเมียร์และปาเลสไตน ในอิรักและเบรุต ในอาฟกานิสถานและซูดาน แต่การอวตารกลับมาใหม่ครั้งล่าสุดของพวกเขานั้นดูช่างมีอารยธรรมเสียเหลือ เกิน
มันเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับสิ่งที่นักสร้างภาพและกลไก โฆษณาชวนเชื่อของโลกทำออกมา มันดูสวยงาม และไม่น่ากลัว นี่คือความจริงที่ไม่ได้ถูกเคลือบแฝงไว้เกี่ยวกับโลกที่เรามีชีวิตอยู่ใน ปัจจุบัน
การรุกรานของพวกมองโกลเป็นแค่เพียงความบังเอิญที่ เกิดขึ้นเพราะความบ้าที่ควาริซม์ชาห์กระนั้นหรือ? ถ้าหากอ่านประวัติศาสตร์อย่างเผินก็อาจทำให้ใครคิดว่ามันเป็นเช่นนั้น แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่โดยสิ้นเชิง กองกำลังแห่งความชั่วร้ายมักจะอยู่ในส่วนนี้ของโลกและจะยังคงอยู่อย่างนั้น แต่กองกำลังแห่งความชั่วร้ายนี้จะมีอำนาจก็ต่อเมื่อกองกำลังแห่งความดี อ่อนแอเพราะปัญหาภายใน
เราสามารถเห็นปัญหาใหญ่ในโลกมุสลิมเวลานั้นได้ซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของโศกนาฏกรรมที่ติดตาม
ประการแรกก็คือ การต่อสู้ภายใน
ควาริซม์ ชาห์ได้ใช้เวลาและพลังงานส่วนใหญ่ของเขาไปในการต่อสู้กับพวกเฆารีและผู้ ปกครองมุสลิมในประเทศเพื่อนบ้าน ลูกชายของสุลต่านเศาะลาฮุดดีนก็ต่อสู้กันเอง ผู้ปกครองเมืองมักก๊ะฮฺและมะดีนะฮฺก็ยุ่งอยู่กับการทำสงครามระหว่างกันและ อัลกอมี เสนาบดีของมุสตะซิมเคาะลีฟะฮฺคนสุดท้ายแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺซึ่งถูกฮูลากู ข่านสังหารก็วางแผนทำลายเคาะลีฟะฮฺ
หลังจากนั้นก็มีเรื่องความ รักในทรัพย์สินเงินทองและความสุขทางโลก ทุกคนมัวแต่สาละวนอยู่กับมาตรฐานชีวิตของตน การฉ้อราษฎร์บังหลวงจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดา ผู้คนได้รับเสียงดนตรีและความบันเทิงต่างๆรวมทั้งการบริโภคสิ่งที่ฟุ่มเฟือย และไร้สาระ เคาะลีฟะฮฺมุสตะซิมเองก็สนใจอยู่กับการล่าสัตว์และความบันเทิงมากกว่ากิจการ ของรัฐ
มีเรื่องบอกเล่าเกี่ยวกับบัดรุดดีน ลุลุ ผู้ปกครองเมืองโมซุลซึ่งได้รับการร้องขอสองอย่าง ในเวลาเดียวกัน กล่าวคือ เคาะลีฟะฮฺมุสตะซิมได้ขอร้องเขาให้ส่งเครื่องดนตรีและนักร้องมาให้ ส่วนฮูลากูได้ขอให้เขาส่งปืนใหญ่และอาวุธที่ใช้ในการทำลายปราสาท และขณะที่เรื่องนี้กำลังดำเนินอยู่นั้น ผู้นำศาสนาบางคนกำลังถกเถียงกันว่าใครเหนือกว่ากันระหว่างอะลีหรือมุอาวียะ ฮฺ
หลังจากยึดแบกแดดได้แล้ว ฮูลากูก็ยาตราทัพมุ่งหน้าสู่ซีเรียและอาฟริกา ไม่ว่าเขาจะย่างก้าวไปที่ไหน ทุกคนที่ขวางหน้าเขาต้องถูกทำลายลงจนดูเหมือนว่าไม่มีใครที่จะมาขวางเขาได้ แต่ใน ค.ศ.1260 ที่อัยน์ญะลูตในกาลิลี กองกำลังของสุลต่านบัยเบอร์ก็ได้หยิบยื่นความปราชัยอย่างย่อยยับให้แก่เขา กองกำลังที่อยู่เบื้องหลังสุลต่านบัยเบอร์ก็คือเชค อิซซุดดีน นักวิชาการและนักปฏิรูปผู้ยิ่งใหญ่ที่เร่งเร้าสุลต่านให้เคลื่อนทัพออกไปและ ย้อนกลับมาตีตลบหลังพวกมองโกลและตัวเองก็ได้เข้าร่วมในการต่อสู้ด้วย คำปราศรัยที่ปลุกเร้าใจของเขาได้นำให้มุสลิมนับหมื่นคนหันมาสู่อิสลาม
เมื่อ ประชาชนหันมาหาอัลลอฮฺ ความช่วยของอัลลอฮฺก็กลับมาหาพวกเขา ภายในสองปี ซีเรียทั้งหมดได้รับการปลดปล่อยจากพวกมองโกล ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการทำงานเชิญชวนผู้คนสู่อิสลามอย่างจริงจังของนักวิชาการในยุคนั้นภายใน เวลา 40 ปีหลังการรุกรานแบกแดดของฮูลากู ลูกหลานของเขาจำนวนมากมายได้หันมาเข้ารับอิสลาม
แบกแดดเคยเป็นเมืองสำคัญชั้นนำของเมโสโปเตเมียโบราณซึ่งเป็นหนึ่งในอู่ อารยธรรมของมนุษย์และมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาซียะ ฮฺที่เจริญรุ่งเรือง แต่เมืองนี้ก็ได้ถูกทำลายอย่างยับเยินถึงสองครั้งโดยพวกมองโกลภายใต้การนำ ของฮูลากูและติมูร์เลน
ปัจจุบัน แบกแดดกำลังตกอยู่ใต้การถูกทำลายล้างและชาวเมืองกำลังถูกสังหารหมู่อีกครั้ง หนึ่งซึ่งโหด***มทารุณยิ่งกว่าพวกมองโกลที่ป่าเถื่อนเสียอีก แต่โชคร้ายที่ในสหวรรษใหม่นี้ผู้รุกรานที่ทำลายอู่อารยธรรมนี้เป็นผู้ที่ อ้างตัวว่าเป็นผู้มีอารยธรรมและเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นจึงขอให้เราได้กลับไปในประวัติศาสตร์เพื่อดูว่าเมืองอันยิ่งใหญ่นี้ รอดพ้นมาจากการถูกพวกมองโกลทำลายได้อย่างไร
ตำนานของเมืองที่ยิ่งใหญ่
แบกแดด เป็นเมืองหลวงของอิรักและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในตะวันออกกลาง เมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางของอิรักห่างจากก้นอ่าวอาหรับขึ้นไปประมาณ 330 ไมล์ (530 ก.ม.)
หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าที่ตั้ง ของเมืองแบกแดดได้ถูกครอบครองโดยผู้คนต่างๆมาเป็นเวลานานก่อนที่อิสลามจะ เข้าไปพิชิตเมโสโปเตเมียใน ค.ศ.637 และอาณาจักรโบราณต่างๆก็มีเมืองหลวงของตนอยู่ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตาม การก่อตั้งเมืองหลวงอย่างแท้จริงก็มีขึ้นประมาณ ค.ศ.762 เมื่ออบูญัฟฟาร อัล-มันซูร เคาะลีฟะฮฺคนที่สองของราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้ตัดสินใจเลือกบริเวณนี้เป็น เมืองหลวงของตน
บรรยากาศของการต่อสู้และมาตรการรักษาความ ปลอดภัยที่ล้อมรอบการปกครองในปีแรกๆของอัล-มันซูรส่วนหนึ่งได้แสดงให้เรา เห็นถึงการตัดสินใจของเขาในการเลือกถิ่นที่อาศัยใหม่และลักษณะการเลือกของ เขาด้วย เดิมทีแล้วเขาได้สร้างบ้านของเขาในเมืองกูฟะฮฺและได้สร้างวังขึ้นมาหลัง หนึ่งซึ่งถูกเรียกว่าฮาชิมียะฮฺในเขตนี้ นอกจากนั้นเขายังได้คิดตั้งป้อมปราการขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งซึ่งจะเป็น สัญลักษณ์แห่งอำนาจสำหรับราชวงศ์ใหม่ของเขาและขณะเดียวกันก็จะทำให้เขามีที่ พักที่มั่นคงปลอดภัยด้วย
ไม่นานนักอัล-มันซูรก็หันมาสนใจ บริเวณที่ตั้งของเมืองแบกแดดซึ่งจะต้องมีบรรยากาศดี สามารถเป็นแหล่งที่มีปัจจัยเลี้ยงชีพและมีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ดังนั้นเขาจึงได้สร้างป้อมปราการขึ้นมาแห่งหนึ่งที่นั่นโดยให้ชื่อว่าเมือง แห่งความสันติสุข(มะดีนะตุสสะลาม)โดยสร้างอยู่ข้างในกำแพงวงกลมและเป็นที่ รู้จักกันว่าเมืองวงกลม ปัจจุบันเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างอัล-กาซิมียะฮฺและอัล-คอร์ค
เมือง นี้ได้ทำให้อิรักกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเอเซียใหม่ เมืองนี้ดูเหมือนกับสถานที่ทำงานของรัฐบาลมากกว่าเมืองสำหรับอยู่อาศัย มันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3,000 หลา (2,700 เมตร) และมีกำแพงสามชั้นโดยตั้งอยู่ตรงจุดที่แม่น้ำไทกริสและยูเฟรตีสใกล้กันที่ สุดและเชื่อมต่อกันได้โดยคลองต่างๆซึ่งสามารถเป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติต่อ ศัตรูผู้รุกรานได้
งานก่อสร้างซึ่งได้ถูกตัดสินใจในเดือนเราะ บีอุลเอาวัล 141 (กรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ.758) ได้ถูกหยุดยั้งไปชั่วขณะหนึ่งระหว่างที่พวกญาติของอัล-มันซูรก่อการกบฎ แต่หลังจากนั้นแล้ว การก่อสร้างก็กลับมาเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง และใน ฮ.ศ.145/ค.ศ.762 เคาะลีฟะฮฺก็ย้ายเข้ามาอยู่ในวังใหม่ถัดไปจากมัสญิดใหญ่กลางใจเมือง วังแห่งนี้มีจตุรัสโล่งล้อมรอบซึ่งใช้สำหรับต้อนรับผู้คนและข้าราชการ
ถนน สายหลักสี่สายเริ่มตนตั้งแต่วังของเคาะลีฟะฮฺและมัสญิดใหญ่ไปยังส่วนต่างๆ ของอาณาจักรรอบๆนั้นเป็นบ้านของพวกขุนนาง ค่ายองค์รักษ์และร้านค้าที่จำเป็นโดยมีกำแพงสองชั้นกั้นรอบเมืองและมีประตู ใหญ่สี่ประตูรอบตัวเมือง
แต่ไม่นานนักที่พักอันมั่นคงซึ่งเดิม มีเจตนาไว้เป็นที่พักอาศัยสำหรับเคาะลีฟะฮฺและบริวารก็ได้กลายเป็นจุดศูนย์ กลางของเมืองสำคัญเพราะหลังจากนั้นไม่กี่ปี พวกพ่อค้าทั้งหลายก็ถูกย้ายออกไปจากบริเวณที่ถูกเรียกว่า “เมืองวงกลม” ไปอยู่ในบริเวณใหม่ที่จะพัฒนาต่อไป
ขนาดอันจำกัดของเมืองนี้มี ผลต่อการขยายตัวอย่างรวดเร็ว พวกพ่อค้าได้สร้างตลาดและบ้านขึ้นมาโดยรอบประตูด้านใต้และได้กลายเป็นตำบล หนึ่งขึ้นมาซึ่งถูกเรียกว่าอัล-คอร์ค ส่วนประตูด้านตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ถนนคุรอซานได้ถูกเชื่อมกับสะพานจอดเรือบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไทกริส
อีก ฝั่งหนึ่งของแม่น้ำไทกริส อัล-มะฮฺดี ทายาทของอัล-มันซูรก็ได้สร้างที่พักอาศัยของตัวเองขึ้นมาพร้อมกับการตั้งกอง ทัพของตนเองและต่อมาได้เติบโตเข้มแข็งกลายเป็นคู่แข่งของเมืองวงกลม เคาะลีฟะฮฺเองก็มีวังแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นนอกเมืองวงกลมบนฝั่งแม่น้ำตรงกับ สะพานที่เขาสามารถใช้ข้ามได้
แบกแดดมีความเจริญสูงสุดทางด้าน เศรษฐกิจและวิชาการในศตวรรษที่ 8 และตอนต้นศตวรรษที่ 9 ภายใต้การปกครองของมะฮดีผู้ปกครองอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ.775-785 และฮารูน อัร-รอชีด ผู้สืบทอดการปกครองต่อจากเขาระหว่าง ค.ศ.786-809 ในตอนนั้น แบกแดดถูกถือว่าเป็นเมืองที่มั่งคั่งที่สุดในโลก ท่าเรือของแบกแดดเรียงรายไปด้วยเรือจากจีน อินเดียและอาฟริกาตะวันออก
เคาะ ลีฟะฮฺมะอ์มูน (ค.ศ.813-833) ได้ส่งเสริมให้มีการแปลผลงานเขียนของกรีกโบราณออกเป็นภาษาอาหรับ มีการก่อสร้างโรงพยาบาลและหอดูดาวซึ่งเป็นการดึงดูดพวกกวีและช่างฝีมือต่างๆ ให้มาสู่เมืองหลวง
ราชวงศ์อับบาซียะฮฺค่อยๆเริ่มอ่อนแอลง ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 9 เพราะการต่อสู้ภายใน ความล้มเหลวในการเพาะปลูกอันเนื่องมาจากการละทิ้งระบบการชลประทานและการ ถูกรุกรานโดยพวกเร่ร่อนในศตวรรษที่ 10 สงครามกลางเมืองระหว่างลูกชายสองคนของฮารูน อัร-รอชีดก็ส่งผลให้เมืองวงกลมต้องถูกทำลาย ระหว่าง ค.ศ.886 และ ค.ศ.892 บรรดาเคาะลีฟะฮฺได้ละทิ้งแบกแดดเพื่อสะมัรรอในทางตอนเหนือและเมืองแบกแดดได้ ถูกพวกเติร์กที่ถูกจ้างมาเป็นองครักษ์ยึดครองเมื่อเคาะลีฟะฮฺกลับมายัง แบกแดดอีกครั้งหนึ่งก็ได้มีการสร้างเมืองหลวงของตนขึ้นบนฝั่งตะวันออก พิพิธภัณฑ์อิรักมีสมบัติทางโบราณคดีที่สำคัญตั้งแต่ประวัติศาสตร์ยุคเมโสโป เตเมียและศิลปสมัยใหม่ถูกทำลายโดยพวกป่าเถื่อน
การ ถูกรุกรานและถูกปกครองโดยชาวต่างชาติ (กล่าวคือพวกบูยิดระหว่าง ค.ศ. 945-1055 และพวกเซลจู๊กเติร์กระหว่าง ค.ศ.1055-1152)ได้ทำให้หลายส่วนของเมืองถูกทำลายไป แต่การล่มสลายของแบกแดดเริ่มต้นเมื่อฮูลากู หลานของเจงกิสข่านผู้พิชิตได้เข้ามาทำลายเมืองจนราบเป็นหน้ากลองใน ค.ศ.1258 และฆ่าเคาะลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺพร้อมกับสังหารหมู่ประชาชนนับแสนคน ฮูลากูได้ทำลายทำนบกั้นน้ำ ห้องสมุดและงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ความคิดมากมาย และทำให้การฟื้นฟูระบบชลประทานไม่สามารถทำได้ซึ่งเป็นการทำลายความสามารถของ เมืองแบกแดดในการจะสร้างความรุ่งเรืองในอนาคต
หลังจากนั้นอีก ประมาณ 200 ปี ใน ค.ศ.1401แบกแดดก็ถูกพวกมองโกลอีกกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของเตเมอร์เลนทำลายจน ไม่สามารถฟื้นฟูได้จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20
หลังจากนั้น แบกแดดก็กลายเป็นเมืองหลวงของจังหวัดหนึ่ง ตอนแรกก็เป็นเมืองหลวงของจักรพรรดิมองโกลแห่งอิหร่าน (ค.ศ.1258-1339) และหลังจากนั้นก็เป็นเมืองหลวงของรัฐบริวาร (ระหว่าง ค.ศ.1339-1410) ต่อมาในค.ศ.1401แบกแดดก็ต้องเผชิญกับการถูกทำลายโดยพวกมองโกลอีกกลุ่มหนึ่ง ภายใต้การนำของติมูร์และหลังจากนั้นก็ถูกพวกเติร์กสองกลุ่มขึ้นมาปกครองต่อ เนื่องกันระหว่าง ค.ศ.1410-1508 ซึ่งในช่วงเวลาระหว่างนี้ แบกแดดได้รับการฟื้นฟูเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ใน ค.ศ.1508 แบกแดดได้ถูกรวมเข้าไว้กับอาณาจักรใหม่เปอร์เซียใหม่ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย ชาห์อิสมาอีลแห่งราชวงศ์เศาะฟะวียะฮฺ หลังจากนั้นใน ค.ศ.1534 เมืองแดดก็ถูกยึดโดยสุลต่านสุลัยมานที่ 1 แห่งราชวงศ์ออตโตมาน
ถึง แม้จะถูกโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่าโดยพวกเปอร์เซีย แต่แบกแดดก็ยังคงอยู่ใต้การปกครองของพวกออตโตมานจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ยกเว้นในช่วงเวลาสั้นๆระหว่าง ค.ศ.1623-38 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พวกเปอร์เซียยึดไป
การฟื้นฟูบูรณะและการอยู่รอด
ใน ศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสและอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลในแบกแดด โดยเริ่มตั้งแต่ค.ศ.1798 ซึ่งอังกฤษได้เข้ามาตั้งบ้านพักทูตถาวรของตนขึ้นที่นั่น ไม่นานนัก พวกอังกฤษก็ได้เข้ามามีอำนาจและอภิสิทธิ์เป็นที่สองรองไปจากผู้ปกครองแบกแดด
ความเจริญมั่งคั่งได้เริ่มกลับมายังแบกแดดอีกครั้งหนึ่งเมื่อ การเดินทางด้วยเรือกลไฟในแม่น้ำไทกริสได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ.1860 นับตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่ง ค.ศ.1914 เจ้าเมืองออตโตมานหลายคนก็ได้เข้ามาปรับปรุงเมืองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะมิดฮัต ปาชา (ค.ศ.1869-1872) ซึ่งในช่วงนี้เขาได้ทำลายกำแพงเมืองหลายจุด ทำการปฏิรูปการปกครอง เปิดหนังสือพิมพ์และตั้งโรงพิมพ์สมัยใหม่ขึ้นมา นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีการสร้างโรงงานต่างๆ โรงพยาบาลสมัยใหม่ โรงเรียนอีกมากมายและสภาเมืองหลวงขึ้นอีกด้วย
ใน ค.ศ.1920 แบกแดดได้กลายเป็นเมืองหลวงของรัฐอิรักที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ หลังจาก ค.ศ.1973 การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันได้ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในช่วงนี้เองที่แบกแดดได้มีการพัฒนาอย่างมากที่สุด
แบกแดดได้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมสำหรับโลกอาหรับและเป็นแหล่งสร้างกวี นักเขียนและนักวาดภาพระบายสีคนสำคัญของโลกบางคน
แปด ปีของสงครามอันขมขื่นกับอิหร่านตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ได้บั่นทอนความทันสมัยของแบกแดดลงไป ตัวเมืองได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดโดยกองกำลังพันธมิตรที่ นำโดยสหรัฐในระหว่างสงครามอ่าวใน ค.ศ.1991 เมืองแบกแดดต้องพบกับยุคของการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานในขณะที่ถูกคว่ำบาตร หลังจากสิ้นสุดสงครามนองเลือด
ตอนนี้ ค.ศ.2003 เมืองแดดก็ถูกกำหนดให้ต้องเผชิญกับการทำลายล้างและการสังหารหมู่อีกครั้ง หนึ่งซึ่งโหด***มทารุณยิ่งกว่าการทำลายล้างของพวกมองโกลที่ป่าเถื่อนเสียอีก
ใน ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การค้า การอุตสาหกรรม การศึกษาและการเผยแพร่ความรู้ศิลปะและวรรณกรรมนั้น ความสำเร็จของแบกแดดไม่มีใครทั้งในตะวันออกและตะวันตกสามารถมาเปรียบเทียบ ได้ แต่ความหายนะที่แบกแดดได้รับก็เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ของมนุษชาติเช่นกัน
ความหายนะของแบกแดดเริ่มขึ้นใน ค.ศ.1218 เมื่อกองทัพป่าเถื่อนของเจงกิสข่านได้ยาตราเข้ามารุกรานและทำลายเมืองต่างเอ เซียกลางและอาณาจักรเปอร์เซียจนราบเป็นหน้ากลอง เช่น เมืองบุคอรอ สะมาร์คันด์ เฮราต นิชาปูร์และบัลค์ เขาไม่ได้เข้าโจมตีแบกแดด แต่ได้ปูทางการรุกรานไว้ให้ฮูลากูข่านหลานชายของเขา
ใน ค.ศ.1258 ฮูลากูข่านได้เข้ามาทำลายแบกแดดโดยฆ่าประชาชนในเมืองไปถึง 1.6 ล้านคนและทำลายสัญลักษณ์ต่างๆแห่งความรุ่งโรจน์ของเมืองอันยิ่งใหญ่นี้ลง อย่างไม่มีอะไรหลงเหลือ คนพวกนี้เข้ามารุกราน ปล้นสดมภ์ ทำลาย เผา ฆ่า แล้วก็จากไป พวกมองโกลคือพวกที่รู้จักกันว่าเป็นพวกป่าเถื่อน
ใน ค.ศ.1990 แผ่นดินและผู้คนของแบกก็ได้ถูกโจมตีอีกครั้งหนึ่ง พวกเขาโจมตีโรงพยาบาล โรงงานผลิตยา อ่างเก็บน้ำ โกดังอาหาร โรงงาน โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า บ้านเรือนและตลาด นอกจากนั้นแล้วพวกเขายังปิดล้อมประเทศโดยไม่ยอมให้อาหารถึงมือคนที่หิวโหย และไม่ยอมให้ยาถึงคนป่วย พวกเขาตัดสินให้ทุกคนในประเทศตายด้วยความเจ็บปวดอย่างช้าๆ ท่ามกลางผู้คนที่ล้มตายทั่วประเทศและการทำลายล้างจากน้ำมือของผู้รุกราน เมื่อ 8 ศตวรรษก่อนนั้น มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่สองอย่างระหว่างอดีตและปัจจุบัน
เจงกิส ข่านถูกยั่วยุโดยความโง่เขลาของควาริซม์ชาห์ที่ฆ่าพ่อค้าชาวมองโกล 400 คนด้วยความระแวงว่าพ่อค้าเหล่านี้คือสายลับ ส่วนผู้รุกรานใน ค.ศ.1991 ก็ถูกยั่วยุเช่นกันถึงแม้ว่าคนพวกนี้จะใช้การยั่วยุที่ถูกวางแผนมาแล้ว ฮูลากูข่านได้ยินว่ามันเป็นเรื่องไม่ดีถ้าหากเลือดของผู้นำมุสลิมจะหยดลงบน พื้น ดังนั้น เขาจึงไม่ฆ่าเคาะลีฟะฮฺด้วยดาบ แต่ได้จับยัดใส่กระสอบและทุบจนตายหลังจากนั้นก็ให้ม้าเข้าเหยียบย่ำ
ผู้ รุกรานใน ค.ศ.1998 ได้ยินว่ามันเป็นการไม่ดีที่จะโจมตีในเดือนเราะมะฎอน ดังนั้น พวกเขาจึงเริ่มต้นความ***มโหดสามวันก่อนหน้านั้น นี่เป็นการแสดงความรู้สึกอย่างเดียวกับฮูลากู
แต่ฮูลากูมีแค่ เพียงอาวุธทำลายล้างสูง ส่วนผู้รุกรานใน ค.ศ.1990 ไม่เพียงแต่มีอาวุธทำลายล้างสูงเท่านั้น แต่ยังมีอาวุธหลอกลวงมวลชนอีกด้วย เครื่องมือเหล่านี้อยู่ในรูปของสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง เช่น ซีเอ็นเอ็น บีบีซี รอยเตอร์และอื่นๆ ฮูลากูไม่มีสิ่งเหล่านี้ นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมฮูลากูจึงไม่เคยออกมาร้องคำว่า “สันติภาพบนโลก”ขณะที่กำลังสังหารหมู่ และเขาไม่เสแสร้งแกล้งทำว่าเขากำลังยึดถือ “กฎหมายระหว่างประเทศ” เขาไม่ประกาศว่าเขา “ไม่ได้ทะเลาะกับประชาชน” ขณะที่กำลังฆ่าประชาชน เขาไม่ได้ประกาศว่าเขา “เคารพอิสลาม” ขณะที่เขาเผามัสญิดและโรงเรียน เพราะเขาเป็นคนป่าเถื่อนที่โกหกไม่เป็น
เจงกิสข่านและฮูลากู ข่านยังปกครองโลกอยู่ในปัจจุบัน เหตุผลและหลักการของพวกเขายังคงเป็นแรงผลักดันทางการเมืองที่แท้จริงอยู่ ฉากการเข่นฆ่าที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าไม่สิ้นสุดในบอสเนียและโคโซวา ในแคชเมียร์และปาเลสไตน ในอิรักและเบรุต ในอาฟกานิสถานและซูดาน แต่การอวตารกลับมาใหม่ครั้งล่าสุดของพวกเขานั้นดูช่างมีอารยธรรมเสียเหลือ เกิน
มันเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับสิ่งที่นักสร้างภาพและกลไก โฆษณาชวนเชื่อของโลกทำออกมา มันดูสวยงาม และไม่น่ากลัว นี่คือความจริงที่ไม่ได้ถูกเคลือบแฝงไว้เกี่ยวกับโลกที่เรามีชีวิตอยู่ใน ปัจจุบัน
การรุกรานของพวกมองโกลเป็นแค่เพียงความบังเอิญที่ เกิดขึ้นเพราะความบ้าที่ควาริซม์ชาห์กระนั้นหรือ? ถ้าหากอ่านประวัติศาสตร์อย่างเผินก็อาจทำให้ใครคิดว่ามันเป็นเช่นนั้น แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่โดยสิ้นเชิง กองกำลังแห่งความชั่วร้ายมักจะอยู่ในส่วนนี้ของโลกและจะยังคงอยู่อย่างนั้น แต่กองกำลังแห่งความชั่วร้ายนี้จะมีอำนาจก็ต่อเมื่อกองกำลังแห่งความดี อ่อนแอเพราะปัญหาภายใน
เราสามารถเห็นปัญหาใหญ่ในโลกมุสลิมเวลานั้นได้ซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของโศกนาฏกรรมที่ติดตาม
ประการแรกก็คือ การต่อสู้ภายใน
ควาริซม์ ชาห์ได้ใช้เวลาและพลังงานส่วนใหญ่ของเขาไปในการต่อสู้กับพวกเฆารีและผู้ ปกครองมุสลิมในประเทศเพื่อนบ้าน ลูกชายของสุลต่านเศาะลาฮุดดีนก็ต่อสู้กันเอง ผู้ปกครองเมืองมักก๊ะฮฺและมะดีนะฮฺก็ยุ่งอยู่กับการทำสงครามระหว่างกันและ อัลกอมี เสนาบดีของมุสตะซิมเคาะลีฟะฮฺคนสุดท้ายแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺซึ่งถูกฮูลากู ข่านสังหารก็วางแผนทำลายเคาะลีฟะฮฺ
หลังจากนั้นก็มีเรื่องความ รักในทรัพย์สินเงินทองและความสุขทางโลก ทุกคนมัวแต่สาละวนอยู่กับมาตรฐานชีวิตของตน การฉ้อราษฎร์บังหลวงจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดา ผู้คนได้รับเสียงดนตรีและความบันเทิงต่างๆรวมทั้งการบริโภคสิ่งที่ฟุ่มเฟือย และไร้สาระ เคาะลีฟะฮฺมุสตะซิมเองก็สนใจอยู่กับการล่าสัตว์และความบันเทิงมากกว่ากิจการ ของรัฐ
มีเรื่องบอกเล่าเกี่ยวกับบัดรุดดีน ลุลุ ผู้ปกครองเมืองโมซุลซึ่งได้รับการร้องขอสองอย่าง ในเวลาเดียวกัน กล่าวคือ เคาะลีฟะฮฺมุสตะซิมได้ขอร้องเขาให้ส่งเครื่องดนตรีและนักร้องมาให้ ส่วนฮูลากูได้ขอให้เขาส่งปืนใหญ่และอาวุธที่ใช้ในการทำลายปราสาท และขณะที่เรื่องนี้กำลังดำเนินอยู่นั้น ผู้นำศาสนาบางคนกำลังถกเถียงกันว่าใครเหนือกว่ากันระหว่างอะลีหรือมุอาวียะ ฮฺ
หลังจากยึดแบกแดดได้แล้ว ฮูลากูก็ยาตราทัพมุ่งหน้าสู่ซีเรียและอาฟริกา ไม่ว่าเขาจะย่างก้าวไปที่ไหน ทุกคนที่ขวางหน้าเขาต้องถูกทำลายลงจนดูเหมือนว่าไม่มีใครที่จะมาขวางเขาได้ แต่ใน ค.ศ.1260 ที่อัยน์ญะลูตในกาลิลี กองกำลังของสุลต่านบัยเบอร์ก็ได้หยิบยื่นความปราชัยอย่างย่อยยับให้แก่เขา กองกำลังที่อยู่เบื้องหลังสุลต่านบัยเบอร์ก็คือเชค อิซซุดดีน นักวิชาการและนักปฏิรูปผู้ยิ่งใหญ่ที่เร่งเร้าสุลต่านให้เคลื่อนทัพออกไปและ ย้อนกลับมาตีตลบหลังพวกมองโกลและตัวเองก็ได้เข้าร่วมในการต่อสู้ด้วย คำปราศรัยที่ปลุกเร้าใจของเขาได้นำให้มุสลิมนับหมื่นคนหันมาสู่อิสลาม
เมื่อ ประชาชนหันมาหาอัลลอฮฺ ความช่วยของอัลลอฮฺก็กลับมาหาพวกเขา ภายในสองปี ซีเรียทั้งหมดได้รับการปลดปล่อยจากพวกมองโกล ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการทำงานเชิญชวนผู้คนสู่อิสลามอย่างจริงจังของนักวิชาการในยุคนั้นภายใน เวลา 40 ปีหลังการรุกรานแบกแดดของฮูลากู ลูกหลานของเขาจำนวนมากมายได้หันมาเข้ารับอิสลาม
แบกแดดเคยเป็นเมืองสำคัญชั้นนำของเมโสโปเตเมียโบราณซึ่งเป็นหนึ่งในอู่ อารยธรรมของมนุษย์และมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาซียะ ฮฺที่เจริญรุ่งเรือง แต่เมืองนี้ก็ได้ถูกทำลายอย่างยับเยินถึงสองครั้งโดยพวกมองโกลภายใต้การนำ ของฮูลากูและติมูร์เลน
ปัจจุบัน แบกแดดกำลังตกอยู่ใต้การถูกทำลายล้างและชาวเมืองกำลังถูกสังหารหมู่อีกครั้ง หนึ่งซึ่งโหด***มทารุณยิ่งกว่าพวกมองโกลที่ป่าเถื่อนเสียอีก แต่โชคร้ายที่ในสหวรรษใหม่นี้ผู้รุกรานที่ทำลายอู่อารยธรรมนี้เป็นผู้ที่ อ้างตัวว่าเป็นผู้มีอารยธรรมและเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นจึงขอให้เราได้กลับไปในประวัติศาสตร์เพื่อดูว่าเมืองอันยิ่งใหญ่นี้ รอดพ้นมาจากการถูกพวกมองโกลทำลายได้อย่างไร
ตำนานของเมืองที่ยิ่งใหญ่
แบกแดด เป็นเมืองหลวงของอิรักและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในตะวันออกกลาง เมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางของอิรักห่างจากก้นอ่าวอาหรับขึ้นไปประมาณ 330 ไมล์ (530 ก.ม.)
หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าที่ตั้ง ของเมืองแบกแดดได้ถูกครอบครองโดยผู้คนต่างๆมาเป็นเวลานานก่อนที่อิสลามจะ เข้าไปพิชิตเมโสโปเตเมียใน ค.ศ.637 และอาณาจักรโบราณต่างๆก็มีเมืองหลวงของตนอยู่ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตาม การก่อตั้งเมืองหลวงอย่างแท้จริงก็มีขึ้นประมาณ ค.ศ.762 เมื่ออบูญัฟฟาร อัล-มันซูร เคาะลีฟะฮฺคนที่สองของราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้ตัดสินใจเลือกบริเวณนี้เป็น เมืองหลวงของตน
บรรยากาศของการต่อสู้และมาตรการรักษาความ ปลอดภัยที่ล้อมรอบการปกครองในปีแรกๆของอัล-มันซูรส่วนหนึ่งได้แสดงให้เรา เห็นถึงการตัดสินใจของเขาในการเลือกถิ่นที่อาศัยใหม่และลักษณะการเลือกของ เขาด้วย เดิมทีแล้วเขาได้สร้างบ้านของเขาในเมืองกูฟะฮฺและได้สร้างวังขึ้นมาหลัง หนึ่งซึ่งถูกเรียกว่าฮาชิมียะฮฺในเขตนี้ นอกจากนั้นเขายังได้คิดตั้งป้อมปราการขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งซึ่งจะเป็น สัญลักษณ์แห่งอำนาจสำหรับราชวงศ์ใหม่ของเขาและขณะเดียวกันก็จะทำให้เขามีที่ พักที่มั่นคงปลอดภัยด้วย
ไม่นานนักอัล-มันซูรก็หันมาสนใจ บริเวณที่ตั้งของเมืองแบกแดดซึ่งจะต้องมีบรรยากาศดี สามารถเป็นแหล่งที่มีปัจจัยเลี้ยงชีพและมีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ดังนั้นเขาจึงได้สร้างป้อมปราการขึ้นมาแห่งหนึ่งที่นั่นโดยให้ชื่อว่าเมือง แห่งความสันติสุข(มะดีนะตุสสะลาม)โดยสร้างอยู่ข้างในกำแพงวงกลมและเป็นที่ รู้จักกันว่าเมืองวงกลม ปัจจุบันเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างอัล-กาซิมียะฮฺและอัล-คอร์ค
เมือง นี้ได้ทำให้อิรักกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเอเซียใหม่ เมืองนี้ดูเหมือนกับสถานที่ทำงานของรัฐบาลมากกว่าเมืองสำหรับอยู่อาศัย มันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3,000 หลา (2,700 เมตร) และมีกำแพงสามชั้นโดยตั้งอยู่ตรงจุดที่แม่น้ำไทกริสและยูเฟรตีสใกล้กันที่ สุดและเชื่อมต่อกันได้โดยคลองต่างๆซึ่งสามารถเป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติต่อ ศัตรูผู้รุกรานได้
งานก่อสร้างซึ่งได้ถูกตัดสินใจในเดือนเราะ บีอุลเอาวัล 141 (กรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ.758) ได้ถูกหยุดยั้งไปชั่วขณะหนึ่งระหว่างที่พวกญาติของอัล-มันซูรก่อการกบฎ แต่หลังจากนั้นแล้ว การก่อสร้างก็กลับมาเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง และใน ฮ.ศ.145/ค.ศ.762 เคาะลีฟะฮฺก็ย้ายเข้ามาอยู่ในวังใหม่ถัดไปจากมัสญิดใหญ่กลางใจเมือง วังแห่งนี้มีจตุรัสโล่งล้อมรอบซึ่งใช้สำหรับต้อนรับผู้คนและข้าราชการ
ถนน สายหลักสี่สายเริ่มตนตั้งแต่วังของเคาะลีฟะฮฺและมัสญิดใหญ่ไปยังส่วนต่างๆ ของอาณาจักรรอบๆนั้นเป็นบ้านของพวกขุนนาง ค่ายองค์รักษ์และร้านค้าที่จำเป็นโดยมีกำแพงสองชั้นกั้นรอบเมืองและมีประตู ใหญ่สี่ประตูรอบตัวเมือง
แต่ไม่นานนักที่พักอันมั่นคงซึ่งเดิม มีเจตนาไว้เป็นที่พักอาศัยสำหรับเคาะลีฟะฮฺและบริวารก็ได้กลายเป็นจุดศูนย์ กลางของเมืองสำคัญเพราะหลังจากนั้นไม่กี่ปี พวกพ่อค้าทั้งหลายก็ถูกย้ายออกไปจากบริเวณที่ถูกเรียกว่า “เมืองวงกลม” ไปอยู่ในบริเวณใหม่ที่จะพัฒนาต่อไป
ขนาดอันจำกัดของเมืองนี้มี ผลต่อการขยายตัวอย่างรวดเร็ว พวกพ่อค้าได้สร้างตลาดและบ้านขึ้นมาโดยรอบประตูด้านใต้และได้กลายเป็นตำบล หนึ่งขึ้นมาซึ่งถูกเรียกว่าอัล-คอร์ค ส่วนประตูด้านตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ถนนคุรอซานได้ถูกเชื่อมกับสะพานจอดเรือบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไทกริส
อีก ฝั่งหนึ่งของแม่น้ำไทกริส อัล-มะฮฺดี ทายาทของอัล-มันซูรก็ได้สร้างที่พักอาศัยของตัวเองขึ้นมาพร้อมกับการตั้งกอง ทัพของตนเองและต่อมาได้เติบโตเข้มแข็งกลายเป็นคู่แข่งของเมืองวงกลม เคาะลีฟะฮฺเองก็มีวังแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นนอกเมืองวงกลมบนฝั่งแม่น้ำตรงกับ สะพานที่เขาสามารถใช้ข้ามได้
แบกแดดมีความเจริญสูงสุดทางด้าน เศรษฐกิจและวิชาการในศตวรรษที่ 8 และตอนต้นศตวรรษที่ 9 ภายใต้การปกครองของมะฮดีผู้ปกครองอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ.775-785 และฮารูน อัร-รอชีด ผู้สืบทอดการปกครองต่อจากเขาระหว่าง ค.ศ.786-809 ในตอนนั้น แบกแดดถูกถือว่าเป็นเมืองที่มั่งคั่งที่สุดในโลก ท่าเรือของแบกแดดเรียงรายไปด้วยเรือจากจีน อินเดียและอาฟริกาตะวันออก
เคาะ ลีฟะฮฺมะอ์มูน (ค.ศ.813-833) ได้ส่งเสริมให้มีการแปลผลงานเขียนของกรีกโบราณออกเป็นภาษาอาหรับ มีการก่อสร้างโรงพยาบาลและหอดูดาวซึ่งเป็นการดึงดูดพวกกวีและช่างฝีมือต่างๆ ให้มาสู่เมืองหลวง
ราชวงศ์อับบาซียะฮฺค่อยๆเริ่มอ่อนแอลง ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 9 เพราะการต่อสู้ภายใน ความล้มเหลวในการเพาะปลูกอันเนื่องมาจากการละทิ้งระบบการชลประทานและการ ถูกรุกรานโดยพวกเร่ร่อนในศตวรรษที่ 10 สงครามกลางเมืองระหว่างลูกชายสองคนของฮารูน อัร-รอชีดก็ส่งผลให้เมืองวงกลมต้องถูกทำลาย ระหว่าง ค.ศ.886 และ ค.ศ.892 บรรดาเคาะลีฟะฮฺได้ละทิ้งแบกแดดเพื่อสะมัรรอในทางตอนเหนือและเมืองแบกแดดได้ ถูกพวกเติร์กที่ถูกจ้างมาเป็นองครักษ์ยึดครองเมื่อเคาะลีฟะฮฺกลับมายัง แบกแดดอีกครั้งหนึ่งก็ได้มีการสร้างเมืองหลวงของตนขึ้นบนฝั่งตะวันออก พิพิธภัณฑ์อิรักมีสมบัติทางโบราณคดีที่สำคัญตั้งแต่ประวัติศาสตร์ยุคเมโสโป เตเมียและศิลปสมัยใหม่ถูกทำลายโดยพวกป่าเถื่อน
การ ถูกรุกรานและถูกปกครองโดยชาวต่างชาติ (กล่าวคือพวกบูยิดระหว่าง ค.ศ. 945-1055 และพวกเซลจู๊กเติร์กระหว่าง ค.ศ.1055-1152)ได้ทำให้หลายส่วนของเมืองถูกทำลายไป แต่การล่มสลายของแบกแดดเริ่มต้นเมื่อฮูลากู หลานของเจงกิสข่านผู้พิชิตได้เข้ามาทำลายเมืองจนราบเป็นหน้ากลองใน ค.ศ.1258 และฆ่าเคาะลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺพร้อมกับสังหารหมู่ประชาชนนับแสนคน ฮูลากูได้ทำลายทำนบกั้นน้ำ ห้องสมุดและงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ความคิดมากมาย และทำให้การฟื้นฟูระบบชลประทานไม่สามารถทำได้ซึ่งเป็นการทำลายความสามารถของ เมืองแบกแดดในการจะสร้างความรุ่งเรืองในอนาคต
หลังจากนั้นอีก ประมาณ 200 ปี ใน ค.ศ.1401แบกแดดก็ถูกพวกมองโกลอีกกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของเตเมอร์เลนทำลายจน ไม่สามารถฟื้นฟูได้จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20
หลังจากนั้น แบกแดดก็กลายเป็นเมืองหลวงของจังหวัดหนึ่ง ตอนแรกก็เป็นเมืองหลวงของจักรพรรดิมองโกลแห่งอิหร่าน (ค.ศ.1258-1339) และหลังจากนั้นก็เป็นเมืองหลวงของรัฐบริวาร (ระหว่าง ค.ศ.1339-1410) ต่อมาในค.ศ.1401แบกแดดก็ต้องเผชิญกับการถูกทำลายโดยพวกมองโกลอีกกลุ่มหนึ่ง ภายใต้การนำของติมูร์และหลังจากนั้นก็ถูกพวกเติร์กสองกลุ่มขึ้นมาปกครองต่อ เนื่องกันระหว่าง ค.ศ.1410-1508 ซึ่งในช่วงเวลาระหว่างนี้ แบกแดดได้รับการฟื้นฟูเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ใน ค.ศ.1508 แบกแดดได้ถูกรวมเข้าไว้กับอาณาจักรใหม่เปอร์เซียใหม่ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย ชาห์อิสมาอีลแห่งราชวงศ์เศาะฟะวียะฮฺ หลังจากนั้นใน ค.ศ.1534 เมืองแดดก็ถูกยึดโดยสุลต่านสุลัยมานที่ 1 แห่งราชวงศ์ออตโตมาน
ถึง แม้จะถูกโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่าโดยพวกเปอร์เซีย แต่แบกแดดก็ยังคงอยู่ใต้การปกครองของพวกออตโตมานจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ยกเว้นในช่วงเวลาสั้นๆระหว่าง ค.ศ.1623-38 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พวกเปอร์เซียยึดไป
การฟื้นฟูบูรณะและการอยู่รอด
ใน ศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสและอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลในแบกแดด โดยเริ่มตั้งแต่ค.ศ.1798 ซึ่งอังกฤษได้เข้ามาตั้งบ้านพักทูตถาวรของตนขึ้นที่นั่น ไม่นานนัก พวกอังกฤษก็ได้เข้ามามีอำนาจและอภิสิทธิ์เป็นที่สองรองไปจากผู้ปกครองแบกแดด
ความเจริญมั่งคั่งได้เริ่มกลับมายังแบกแดดอีกครั้งหนึ่งเมื่อ การเดินทางด้วยเรือกลไฟในแม่น้ำไทกริสได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ.1860 นับตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่ง ค.ศ.1914 เจ้าเมืองออตโตมานหลายคนก็ได้เข้ามาปรับปรุงเมืองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะมิดฮัต ปาชา (ค.ศ.1869-1872) ซึ่งในช่วงนี้เขาได้ทำลายกำแพงเมืองหลายจุด ทำการปฏิรูปการปกครอง เปิดหนังสือพิมพ์และตั้งโรงพิมพ์สมัยใหม่ขึ้นมา นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีการสร้างโรงงานต่างๆ โรงพยาบาลสมัยใหม่ โรงเรียนอีกมากมายและสภาเมืองหลวงขึ้นอีกด้วย
ใน ค.ศ.1920 แบกแดดได้กลายเป็นเมืองหลวงของรัฐอิรักที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ หลังจาก ค.ศ.1973 การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันได้ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในช่วงนี้เองที่แบกแดดได้มีการพัฒนาอย่างมากที่สุด
แบกแดดได้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมสำหรับโลกอาหรับและเป็นแหล่งสร้างกวี นักเขียนและนักวาดภาพระบายสีคนสำคัญของโลกบางคน
แปด ปีของสงครามอันขมขื่นกับอิหร่านตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ได้บั่นทอนความทันสมัยของแบกแดดลงไป ตัวเมืองได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดโดยกองกำลังพันธมิตรที่ นำโดยสหรัฐในระหว่างสงครามอ่าวใน ค.ศ.1991 เมืองแบกแดดต้องพบกับยุคของการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานในขณะที่ถูกคว่ำบาตร หลังจากสิ้นสุดสงครามนองเลือด
ตอนนี้ ค.ศ.2003 เมืองแดดก็ถูกกำหนดให้ต้องเผชิญกับการทำลายล้างและการสังหารหมู่อีกครั้ง หนึ่งซึ่งโหด***มทารุณยิ่งกว่าการทำลายล้างของพวกมองโกลที่ป่าเถื่อนเสียอีก
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ