RedCyberClub Forum
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน

Go down

ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Empty ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Feb 10, 2010 8:08 pm

UAV
(Unmaned Aerial Vehicle )
อากาศยานไร้นักบิน

ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Rq-3_d10
แม้เราจะเคยชินต่อภาพการจับปืนต่อสู้ของทหาร แต่สาระสำคัญในการป้องกันประเทศแท้จริงแล้ว คือ การตรวจตรา การลาดตระเวณ การรวมรวบข่าว เราจะวางแผนป้องกันประเทศ เราจะโจมตี ได้อย่างไร หากปราศจากข้อมูลการข่าว
ภารกิจด้านการข่าวได้เริ่มขึ้นก่อนที่สงครามจะเริ่มขึ้น
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
ยูเอวี คือ จักรกลผสมรวมกับคอมพิวเตอร์ มีความสามารถพิเศษ ในการตรวจตรา หาข่าว และยังสามารถสะท้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความเป็นไทย ได้เป็นอย่างดี
มันมีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งทางทหาร และการดำเนินชีวิต แต่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองของเรา มักจะมองข้ามความสำคัญของมันไป อย่างจงใจ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

อากาศยานไร้นักบิน มิใช่สิ่งประดิษฐ์ใหม่ของมนุษย์ มันถูกสร้างขึ้นมา พร้อมๆ กับเครื่องบิน แต่ด้วยอุปสรรคในด้านการเดินอากาศ และการควบคุมการบิน ทำให้มีใช้งานอยู่ในวงจำกัด ต่อมาเมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิตอล ดาวเทียม และวัสดุศาสตร์ ก้าวหน้าไปมากขึ้น จึงส่งผลให้ยานยูเอวีมีการพัฒนา ไปอย่างรวดเร็ว ก้าวพ้นอุปสรรค ต่างๆปได้ อย่างน่าอัศจรรย์ ได้รับการประยุกต์นำไปใช้งานในสาขาต่างๆ อย่างมากมาย มีขนาดเล็กเท่าแมลง จนถึงลำตัวขนาดใหญ่กว่าเครื่องบิน
ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Micro_10
ยูเอวีมีการพัฒนาในแนวทางเดียวกันกับเครื่องบินที่อาศัยนักบิน กล่าวคือ เราได้ประโยชน์จากมันในด้านการสังเกตการณ์ เป็นลำดับแรก ใช้มันเพื่อการส่งข่าว และการสื่อสาร ต่อมานำไปใช้ในด้านการโจมตีทางทหาร เมื่อมันมีขนาดใหญ่ขึ้น เราจึงได้ประโยชน์จากมันในด้านการขนส่ง และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นมันต่อสู้กันเอง (UAV VS UAV)
จิตมนุษย์นี้แปลกเหลือเกิน แรงจูงใจที่อยากจะบินได้เหมือนนก ทำให้ต้องใช้ความพยายามสร้างเครื่องบินขึ้นมา
ครั้นเมื่อสร้างขึ้นมาได้สมใจอยากแล้ว กลับเปลี่ยนใจ ไม่อยากบิน แต่หาทางบิน หาประโยชน์จากมัน ด้วยการควบคุมมันจากพื้นดิน ข้างล่าง
ในการที่ไม่มีนักบินขึ้นอยู่ในลำตัวเครื่อง ทำให้ตัวยานมีน้ำหนักลดลง ได้อย่างมาก จนสามารถสร้างยานที่มีขนาดเท่าตัวแมลงได้ น้ำหนักที่เบาขึ้น เป็นผลมาจาก
น้ำหนักของนักบิน
และเบาขึ้นจากน้ำหนักของอุปกรณ์ประจำตัวนักบิน อันได้แก่
เก้าอี้นักบิน อุปกรณ์บังคับการบิน
โครงสร้างเครื่องบินซึ่งปราศจากห้องนักบิน
ทำให้เราสามารถนำน้ำหนัก และที่ว่างในลำตัวเครื่องบิน ไปติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างมากมาย เช่น
กล้อง วิทยุสื่อสาร และเพิ่มปริมาณน้ำมัน
ทำให้บินได้ไกลขึ้น นานขึ้น และเนื่องจากไม่มีนักบิน จึงทำให้มันบินไปที่แห่งใดก็ได้ ทั้งที่เป็นอันตรายร้ายแรง โดยไม่จำกัดเวลา ใครเลยจะคิดว่า ต่อไปบางประเทศอาจจะนำเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ แบบไร้คนขับ บินขึ้นไปลอยนิ่ง คล้ายปั้มน้ำมันลอยฟ้า เพื่อเติมน้ำมันให้แก่เครื่องบินรบที่มีนักบิน หรือให้กับยูเอวีด้วยกันเอง
ประโยชน์ที่ได้รับ
มันเปรียบได้กับ ดวงตาสวรรค์ เราสามารถได้ประโยชน์มากมายจากยานยูเอวี ในการดำรงชีวิตประจำวัน การพัฒนาประเทศ การรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การนำมันไปใช้ในการแก้ไขปัญหาการจราจร การตรวจตราการทำลายป่าหรือแหล่งทรัพยากร เพราะมันให้ข้อมูลแบบปัจจุบันทันด่วน (Real time)
หากเกิดภัยธรรมชาติอย่างรุนแรง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆเสียหาย สนามบินถูกตัดขาด เครื่องบินที่บินโดยนักบิน ไม่สามารถเข้าสู่พื้นที่ได้ เนื่องจากฟ้าฝนยังแปรปรวนอยู่ ยานยูเอวีคือทางออกของปัญหา เราสามารถส่งมันออกไปสำรวจ ความเสียหายในเบื้องต้น ช่วยค้นหาผู้ประสบภัย ได้ในทันที โดยไม่ต้องรอให้ฟ้าสาง หรือเมฆหมอกจางลง มันสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็น
มันสามารถมองเห็นจุดบอดของชาติ โดยเฉพาะ ด้านการป้องกันประเทศ ที่ทหารใหญ่ ความคิดเก่าของไทย จินตนาการไปไม่ถึง
ในทางทหาร กองทัพชาติต่างๆ ได้นำมันไปใช้อย่างกว้างขวาง ในภารกิจที่ซึ่งเสี่ยงต่อการใช้เครื่องบินที่ขับโดยนักบิน เช่น การลาดตระเวน ในแนวหน้า และการบรรทุกจรวด และระเบิดไปโจมตีข้าศึก มันเหมาะสมสำหรับประเทศที่มีงบประมาณจำกัด และมันจึงเหมาะสมสำหรับประเทศที่มีนายทหารฝ่ายเสนาธิการที่มีจินตนาการสูง

คุณสมบัติของยุทโธปกรณ์ ทางทหาร
ยุทโธปกรณ์ทางทหาร ต้องมีคุณลักษณะพิเศษ คือ
มีความสามารถในการพรางตัว แม้จะล่องหนไม่ได้ แต่ต้องยากต่อการตรวจพบ
ต้องทนทานต่อดินน้ำ ลมไฟ
มีความอ่อนตัว เคลื่อนย้ายได้สะดวก ปฏิบัติการได้ทุภาวะอากาศ
มีความแม่นยำสูง
จะมีอาวุธจำนวนมากไปทำไม ถ้าขาดคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งอาจจำเป็นต้องแลกมาด้วยงบประมาณที่สูง แต่ยานยูเอวี สามารถตอบโจทย์ได้ทุกคำถาม

คุณสมบัติของอากาศยานทางทหาร
คุณสมบัติของอากาศยานทางทหาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ หรือบอลลูน ล้วนต้องมี
ความเร็วสูง
มีพิสัยบินไกล
มีความอยู่รอดสูง
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอากาศยานของทหารบก ทหารเรือ หรือทหารอากาศ มันต้องมีคุณลักษณะพิเศษ เป็นพื้นฐาน
และเมื่อมันช้า มันเปราะบาง มันถูกตรวจพบได้ง่าย มันจึงไม่สมควรเป็นอากาศยานในกองทัพ

การบังคับควบคุม
แม้เราจะเรียกมันว่าอากาศยานไร้นักบิน ก็ตาม แต่อย่างไรเสียเรายังคงต้องควบคุมมันอยู่ดี

เรายังคงต้องบังคับให้มันบิน (Maneuvers) เพื่อเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย และหลีกเลี่ยงอุปสรรค
เราต้องบังคับให้มันปฏิบัติภารกิจ(Missions) ตามที่ต้องการ

การบังคับยานยูเอวีมีบางส่วนคล้ายเครื่องบิน มีบางส่วนคล้ายการเล่นเครื่องบินบังคับด้วยวิทยุ (RC) เราต้องควบคุมการเดินทางของยูเอวี ทั้งทางด้านแนวระนาบ(L-NAV:Lateral Navigation)
และแนวตั้ง (V-NAV:Vertical Navigation)อย่างสมดุลกัน ในภาวะที่ตามองไม่เห็น

การเล่นเครื่องบินบังคับด้วยวิทยุ หากคนเล่นมองไม่เห็นตัวเครื่องบิน ก็บังคับมันไม่ได้ สำหรับคนที่ไม่เคยเล่น ลองนำผ้ามาผูกตาตัวเอง แล้ววิ่งในที่โล่ง แม้ไม้สะดุดอะไร เดี๋ยวก็จะหกล้มไปเอง เพราะระบบการทรงตัวของหูและตาไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นอุปสรรคข้อแรก ทั้งในการบินและการขี่จักรยาน แต่การปฏิบัติการทางทหารนั้นซับซ้อนกว่านั้นมาก
นักบินทหารถูกสอนให้สำนึกว่าเครื่องบินคืออาวุธ มิใช่ยานพาหนะ
ทหารจะละทิ้งอาวุธของตนไม่ได้ แม้กระสุนหมดทหารราบจะละทิ้งปืนของตนไม่ได้
ต้องนำดาบไปติดที่ปลายปืน เพื่อยืนหยัดต่อสู้ต่อไป
นักบินทหารก็เช่นกัน แม้เครื่องบินจะเสียหาย
ต้องนำเครื่องบินปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จ และนำเครื่องกลับมาฐานบินให้ได้

การบินยานยูเอวี แม้ชีวิตนักบินจะมิได้ผูกฝากไว้กับเครื่องบิน แต่นักบินยังคงต้องใส่ใจ ใส่จิตวิญญาณของตน ลงในเครื่องบิน ราวกับว่ามีชีวิตอยู่บนเครื่องบิน นำมันออกไปทำภารกิจให้สำเร็จ และนำมันกลับฐานให้ได้ การนำยานยูเอวีออกนอกเส้นทาง กลับฐานไม่ได้ ย่อมไม่ต่างอะไรกับ การนำเครื่องบินไปชนภูเขา
การบินยานใดๆ อย่างขาดการควบคุม จะก่อให้เกิดอันตราย ติดตามมาอย่างใหญ่หลวง เกิดพลาดพลั้งตกไปใส่บ้านเรือน รถยนต์ ผู้คน อาจทำให้ถึงตาย ร้ายกว่านั้น หากเผลอบินไปชนกับเครื่องบินโดยสาร ความเสียหายอย่างรุนแรงย่อมเกินขึ้นตามมา เรายังคงต้องใช้นักบินที่มีความรู้ด้านการจราจรทางอากาศในการควบคุมมัน
ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่มิได้เป็นของเรา แม้เราจะเห็นมันโล่งๆ เห็นนกบินได้ แต่ความจริงแล้ว ห้วงอากาศล้วนถูกจับจอง ไว้หมดแล้ว บางกำหนดเป็นเส้นทางบิน บางกำหนดเป็นเขตหวงห้าม
ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Airway10ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Danger10
เอาละ แม้ว่าท้องฟ้าไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ธรรมชาติของมัน ย่อมเปลี่ยนแปลง
ที่มองเห็นได้ด้วยตา พบเห็นบ่อยๆ คือ ฝนตก พายุฟ้าคะนอง ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคต่อการบินของเครื่องบิน อยู่แล้ว
แต่อุปสรรคที่มักมองไม่เห็น และมักมองข้าม คือ แรงลม
แรงลมแต่ละระดับต่างกัน ต่างกันทั้งความแรงและทิศทาง การเฉือนกันไปมาของลม ที่ต่างกันทั้งความแรงและทิศทาง ทำให้เกิดความแปรปรวนอย่างรุนแรง สังเกตง่ายๆได้จากคลื่นในทะเล หรือริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งทำให้การทรงตัวของเครื่องบินถูกลดทอนลงไป
ในบางวันลมที่ผิวพื้นมีทิศทาง 180/10 หรือ มาจากทางใต้ ด้วยความเร็วสิบแปด ก.ม.ต่อ ช.ม.
ในเวลาเดียวกันลมที่ระดับความสูง 5000 ฟุต มีทิศทาง 270/20 หรือมาจากทางตะวันตก ด้วยความเร็วเกือบสี่สิบ ก.ม.ต่อ ช.ม.
ในเวลาเดียวกันลมที่ระดับความสูง 35,000 ฟุต มีทิศทาง 090/60 หรือมาจากทางตะวันออก ด้วยความเร็วเกือบ 100 ก.ม.ต่อ ช.ม.
ณ. ระดับความสูงต่างกัน ยังส่งผลให้เครื่องยนต์และอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ มีประสิทธิภาพลดลง กำลังแรงม้าของเครื่องยนต์ ลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่ออยู่บนยอดดอยอินทนนท์
อุปสรรคในการบิน โดยเฉพาะพายุฝนฟ้าคะนอง ด้วยแล้ว ยากจะคาดเดา ความแปรปรวนที่จะเกิดขึ้น
ธรรมชาติเป็นเช่นนั้น การบินมีนักบินอยู่บนเครื่องบิน สามารถแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้โดยเร็ว แต่กับยานยูเอวี เป็นทักษะใหม่ ที่คนไทย ทหารไทยยังไม่คุ้นเคย มันมิใช่ของเล่น มันคือยุทโปรณ์ในทศวรรษหน้านี้เอง

การกำหนดชื่อเรียกยูเอวี
ในเบื้องต้นคงต้องเรียกมันไปก่อนว่า อากาศยาน เพราะมันอาจกลายร่างเป็น
เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ หรือบอลลูน ซึ่งเป็นอากาศยานเบากว่าอากาศก็ได้
อย่าเพิ่งปักใจ คิดว่า มันคือ เครื่องบินติดปีกเพียงรูปแบบเดียว
ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Uavs10
ศัพท์ทางการของยานในรูปแบบนี้ เคยถูกใช้ว่า “ยาน RPV (Remotely Pilot Vehicle)”ซึ่งบ่งบอกถึงระดับเทคโนโลยี ที่ยังคงต้องอาศัยนักบินควบคุมมันโดยตรงจากระยะไกล เมื่อเทคโนโลยีก้าวไกลขึ้น ยานยูเอวี UAV (Unmaned Aerial Vehicle ) สามารถบิน เข้าสู่เป้าหมายและบินกลับฐานได้เอง โดยแทบไม่ต้องอาศัยการควบคุมจากนักบิน ทั้งยังสามารถบินได้ไกล บินได้สูง บรรทุกได้มาก บินได้นานขึ้น
ยานยูเอวี นับร้อยชนิดกำลังได้รับการพัฒนา ในรูปแบบต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ต่างๆทั้งทางทหารและทางพลเรือน ภายใต้ชื่อโครงการต่างๆกัน อาทิ Predator. Global Hawk Shadow เป็นต้น
และกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้จัดระบบการเรียกขานตามแบบเครื่องบิน ขึ้นมาแล้ว ดังนี้
อักษร "R" หมายถึง reconnaissance การตรวจตรา พิสูจน์ทราบ
อักษร "Q" หมายถึง ยานที่ไม่มีคนขับประจำอยู่ในยาน unmanned aircraft system
อักษร "M" หมายถึง multi-role การปฏิบัติภารกิจได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะความสามารถในการตดตั้งอาวุธ ( armed aircraft)

ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Rq-2pi10
RQ-2 Pioneer
ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน 800px-10
RQ-4 Global Hawk
ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Air_ua10
RQ-7 Shadow
ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Usaf-m10
MQ-1 Predator
การพัฒนายานยูเอวี ในประเทศไทย
คนไทยหัวใจนักรบสมัยนี้อาจไม่รู้จัก “โทรทัศน์ ธานินทร์” ซึ่งเคยเป็นบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย มาเมื่อราว 30 ปีก่อน ซึ่งอาจเทียบได้กับ โซนี่ พานาโซนิค แต่ด้วยการต่อสู้ในสนามการค้ากับทุนต่างชาติอย่างรุนแรง ทำให้ชื่อของโทรทัศน์ธานินทร์ หายไปจากท้องตลาด หายไปจากความทรงจำของคนไทย จนปัจจุบันสู้ไม่ได้แม้กระทั่งแบร์ดเกาหลี ประเทศที่เราเคยส่งทหารไปช่วยรบ
ยานยูเอวีไม่ใช่ของใหม่สำหรับกองทัพไทย ก่อนหน้านี้กองทัพอากาศไทยเคยมีไว้ใช้ประจำการ ก่อน ทอ.เคยเรียกมันว่า ยาน RPV (Remotely Pilot Vehicle) ในฝูงบิน 402 ตาคลี เป็นของประเทศอังกฤษ ร่วมปฏิบัติการอยู่กับเครื่องบิน ARAWA ช่วงปี 2531 เราเคยใช้มันในสงครามร่มเกล้า ระหว่างรบกับลาว แต่ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีขณะนั้น มันไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกองทัพได้เท่าที่ควร มันเหมาะสำหรับการใช้งานในทะเลทราย ที่เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานในภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา
เมื่อขาดความสนใจจากผู้ใหญ่ในกองทัพ หน่วยได้ถูกยุบไป กองทัพอากาศไทยจึงไม่หันมามองมันอีกเลย ทอ.ไทยเมินเฉยต่อการใช้อากาศยานแบบไร้นักบิน ทอ.มิคิดที่จะหาประโยชน์จากอวกาศ และดาวเทียม
กระแสยานยูเอวีได้ปลุกเร้า ความสนใจของนักวิชาการและนายทหารในประเทศ อีกครั้งหนึ่ง จากผลงานของมันในสงครามอ่าวปี 1991 (พ.ศ. 2538) แต่ยังไม่ก้องกังวานเท่าที่ควร เพราะเทคโนโลยีทางด้านGPS ยังไม่กว้างขวาง ครั้นเมื่อสงครามอ่าวยกสองในปี 2003 (พ.ศ.2546) สหรัฐฯบุกไปจับซัดดัมอีกครั้ง ยานยูเอวีมีบทบาทอย่างสูง ในการทำให้ภารกิจสำเร็จ มันจึงถูกพัฒนาต่อมาอย่างรวดเร็ว จากยานสังเกตการณ์ จนกลายเป็นยานรบโจมตี อันน่าเกรงกลัว
คราวนี้นักวิชาการและนายทหารของไทย จึงเริ่มสนใจ
นักวิจัยร่วมถึง 10 หน่วยงาน ได้แก่
-กองพลทหารปืนใหญ่
-โรงเรียนนายทหารหลักของ 3 เหล่าทัพ
-จุฬาฯ
-ม.เกษตร
-ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
-สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ ม.เทคโนโลยีมหานคร
ร่วมมือกันด้วยงบประมาณ 90 ล้านบาท
ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Puksin10
เราเริ่มต้นถูกทางเสมอ แต่ขาดการติดตามผล
ซึ่งโครงการดีๆ ต่างๆ ในบ้านเรา ก็มักเป็นเช่นนี้
โครงการภายใต้การทำงานของคนในภาครัฐ มักไม่ประสบความสำเร็จ
คนเก่งของเรามักรวมหัวกันไม่ได้ แต่ละคนมักนำเอาศักดิ์ศรี และตำแหน่งของตน มาร่วมโครงการด้วย ซึ่งมันมิใช่งานประจำ มิใช่หน้าที่หลัก โครงการนี้ และโครงการอื่นๆของรัฐ ในช่วงต้นจึงเป็นแบบไฟไหม้ฟาง และต่อจากนั้นมักจะดำเนินไปอย่างแกนๆ และจบลงด้วยความล้มเหลว โดยโทษความผิดไปที่งบประมาณเสมอ
ต่างจากการทำงานของภาคเอกชน งานที่กระทำอยู่ตรงหน้า คือ ความรับผิดชอบโดยตรง ส่งผลถึงปากท้อง เพราะแต่ละคนไม่มียศศักดิ์ แต่ศักดิ์ศรี ภาคเอกชนดีกว่า ควบคุมต้นทุนได้ดีกว่า ซึ่งสังเกตได้อย่างประจักษ์ จากโรงพยาบาลเอกชน โรงเรียนเอกชน โรงแรมเอกชน มีประสิทธิภาพดีกว่าของรัฐ
เท่าที่สังเกตเห็นจากประเทศสหรัฐฯอเมริกา ประเทศที่คนเก่งมักรวมหัวกันได้ เขามักจะแลกเปลี่ยนความรู้กัน ในทุกระดับการทำงาน และมักจะได้ขอยุติร่วม ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ จากนั้น เมื่อได้แนวทางร่วมแล้ว ในขั้นตอนการพัฒนา จะถูกแยกออกเป็นอย่างน้อย สองค่าย เพื่อให้เกิดการแข่งขันกัน
อเมริกาทำเช่นนี้มาตั้งแต่ เริ่มพัฒนาเครื่องบินในยุคแรก มีหลายค่าย หลายบริษัท ที่พยายามผลิตเครื่องบินให้มีความเร็ว จนสามารถบินทะลุกำแพงเสียงได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งแนวคิดร่วมนี้บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆทั่วโลก ต่างก็ได้นำมาใช้เพื่อให้สินค้าที่ผลิตขึ้นมา มีพื้นฐานเดียวกัน ฟอร์แมทเดียวกัน ทำให้มีราคาถูกและบำรุงรักษาได้ง่าย
ล่าสุด การสร้างยานอวกาศ เพื่อการท่องเที่ยว โดยภาคเอกชน สามารถกระทำได้สำเร็จ โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า การทำงานของนาซ่า เป็นทวีคูณ
โครงการยูเอวีของเรานั้น ถูกจำกัด ให้พัฒนาโดยคนของรัฐ เพียงกลุ่มเดียว ทั้งๆที่ ความรู้ทางด้านเครื่องบินเล็กบังคับวิทยุของไทย ซึ่งเล่นกันโดยมือสมัครเล่น ก้าวไปไกลสุดกู่แล้ว
http://www.weekendhobby.com/rc/webboard/Question.asp?ID=21427
http://www.rcthai.net/forum/index.php
แต่โครงการยูเอวีของไทยเริ่มต้นและจบลงไปแล้ว ด้วยความบอบช้ำ
ลองฟังความคิดเห็นของคนไทยบางคนที่มีความห่วงใยประเทศ
เหอ ๆ .... UAV ปักสิน มันเป็นโครงการที่ล้มเหลวไปแล้วล่ะครับ เพราะแต่ละคนที่มาทำ Ego เยอะเหลือเกิน บางคนบางหน่วยงานก็มาทำกะเอางบไปทำวิจัยเพื่อที่จะได้ผลงานส่วนตัว บางคนก็มาทำเพื่อจะหาผลประโยชน์ในอนาคต สรุปแล้วมันไม่สำเร็จแล้วล่ะครับโครงการนี้ เพราะคนทำหลายคนมันไม่ดี

UAV แบบ Reven ก็เหมือนกันครับ มันเป็นโครงการที่ผู้ใหญ่ใจคต ชงเพื่อหาค่าคอมเพรสเซอร์รับประทาน ความจริงทบ.มีโครงการ UAV ของตัวเองอยู่แล้ว แต่ผู้ใหญ่หิวโซ เลยไม่สนับสนุน ผลสุดท้ายเมื่อถอยไอ้เจ้า Reven (หรือลาเวรของหมวดบอม) มาใช้ สภาพก็อย่างที่เห็นคือ ห่วย ทำไม่ได้ตามสเปค ทนอากาศของบ้านเราไม่ได้ แต่ UAV ของทบ. เองกลับทำงานได้ดีกว่าเยอะด้วยงบประมาณที่ต่ำกว่าเป็นสิบ ๆ เท่า มีผลงานมาหลายงานแล้วด้วย แต่ทบ.ไม่สนับสนุนเพราะคนมันจะกิน
........คันปาก อยากด่า แต่เล่าไม่ได้ รอเวลาเหมาะสม....

ยานยูเอวีกับหน่วยทหารปืนใหญ่
แม้การพัฒนาในระดับประเทศ จะประสบความชะงักงัน แต่ในหน่วยทหารปืนใหญ่ กลับยังคงก้าวต่อไป อย่างเงียบๆ ประโยชน์ที่ทหารปืนใหญ่ได้รับจากยานยูเอวีคือ การใช้เพื่อตรวจตำบลกระสุนตก เพื่อนำ ความเบี่ยงเบนที่ได้ มาปรับความแม่นยำในการยิงนัก ต่อๆ ไป ประโยชน์อย่างอื่น ที่เป็นผลพลอยได้ยามมา คือ พิสูจน์ทราบความเสียหายของฝ่ายตรงข้าม และยังได้ข่าวในการลาดตระเวน อีกด้วย ทหารปืนใหญ่ทำให้คนไทยภูมิใจว่า ปืนใหญ่ของเรายิงได้ไกลกว่า 30 กิโลเมตร
แต่ข้าศึกรู้ดีว่า ยิ่งไกล ความแม่นยำย่อมลดลง
การพัฒนายานยูเอวี ในตอนเริ่มต้น แม้จะบินได้เพียง 5 กิโลเมตรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่ายินดี และถ้าจะให้ยานเอวีครอบคลุมรัศมีการทำการของปืนใหญ่ ยานเอวีของทหารปืนใหญ่ต้องบินได้ไกลกว่า 50 กิโลเมตร และหากไปได้ไกลเช่นนั้น ยานยูเอวีของกองทัพอากาศ ควรจะไปได้ไกล ได้สูง ได้นานกว่าเพียงใด
ไม่รู้ว่าคนไทยจะภูมิใจด้วยหรือไม่ หากเรามียานยูเอวีที่บินได้ไกล 200 กิโลเมตร ด้วยการซื้อมาจากต่าง ประเทศ หากเป็นจริงก็นับว่ากองทัพของเราก็ควรได้รับคำชมว่า
เก่งทางยุทธพาณิชย์ มากกว่าทางยุทธการ
ก็ถ้าเช่นนั้นแล้ว ก็จัดสรร แบ่งประเทศ เซ็งลี้
ขายแผ่นดิน พื้นน้ำ ท้องฟ้าของเราให้เขาเลยเป็นไง

ยังไม่อยากข้ามเรื่องการทำงานเป็นทีมของคนไทย ลองสังเกต กีฬาระดับโลก ที่คนไทยฝากฝีมือไว้ ได้แก่
สนุกเกอร์ เทนนิส กอลฟ์ มวย ชื่อของ
ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ภราดร ธงชัย ใจดี และ สมรักษ์
ทำให้ธงไทยได้โบกสะบัดในต่างแดน แต่กีฬาดังกล่าว เป็นกีฬาที่เล่นคนเดียว
กีฬาที่เล่นกันเป็นทีม ไทยเราไม่ประสบความสำเร็จในระดับโลก เราเก่งแค่ในระดับภูมิภาค แม้จะเคยเห็นว่า ทีมเด็กของเราคว้าชัยในระดับโลกมาแล้วก็จริง แต่เมื่อเขาเหล่านั้นโตเป็นผู้ใหญ่ กลับนำความสามารถมารวมกันไม่ได้

ระบบการป้องกันภัยทางอากาศของประเทศ
การป้องกันประเทศ ของเรามอบหมายให้กองทัพดูแลโดยตรง
ภาคพื้น...เราให้กองทัพบกดูแล
ในทะเล....เราให้กองทัพเรือดูแล
บนอากาศ.....เราให้กองทัพอากาศดูแล
แต่ในทางปฏิบัติพื้นฟ้าต้องคาบเกี่ยวกับผืนดินและท้องทะเลเสมอ
แยกออกจากกันไม่ได้ ย้ำว่า
ระบบป้องกันภัยทางอากาศ แยกออกจากกันไม่ได้
นภาไทยมิได้เป็นของ ทหารอากาศไทยทั้งหมด
ระบบการป้องกันภัยทางอากาศของประเทศ ที่ไม่สอดคล้อง
แม้เราจะมีวิทยาลัยเสนาธิการทหารร่วม
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ซึ่งนำทหารจากทุกเหล่าทัพ ข้าราชการพลเรือนมาเรียนร่วมกัน แต่ระบบการป้องกันภัยทางอากาศของเรา ยังคงแยกกันปฏิบัติ แยกการควบคุม
ทบ.มีหน่วยป้องกันต่อสู้อากาศยานเป็นของตนเอง
ทร.ก็มีกองกำลังทางอากาศ และหน่วยรักษาฝั่งเป็นของตัวเอง
ทอ.ก็มีหน่วยป้องกันทางอากาศเป็นของตนเอง
จากประสบการณ์การทำงานยี่สิบปีในกองทัพ ไม่เคยเห็นระบบการป้องกันภัยทางอากาศทั้งสามเหล่าสอดประสานกัน ต่างหน่วยต่างควบคุมและปฏิบัติกันเอง
จึงพะวงเสมอว่า เมื่อเกิดศึกใหญ่ เครื่องบินของเรา จะถูกพวกเรา ยิงกันเอง
สถานการณ์ภาคใต้ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งในการใช้กำลังทางอากาศร่วม แม้มิใช่การใช้เครื่องบินเพื่อการโจมตี แต่เป็นการใช้กำลังทางอากาศเพื่อการลาดตระเวรหาข่าว
ในเบื้องต้นทั้งทางผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นทหารใหญ่ กับหน่วยปฏิบัติซึ่งเป็นนายทหารชั้นผู้น้อย ต่างพอทราบถึงจุดอ่อนในการทำงาน คือ ข้อมูลด้านการข่าวขาดประสิทธิภาพ
ด้วยกรอบความคิดแบบเดิมๆ เราจึงยังคงใช้วิธีการหาข่าวแบบเดิมๆ ด้วยการใช้คน ลงไปเป็นสายสืบในพื้นที่ แต่ผลที่ได้รับ คือการสูญเสียชีวิต และสถานการณ์ก็มิได้ดีขึ้น แม้จะล่วงเลยมาเป็นเวลากว่าสามสี่ปีแล้ว ที่เห็นพอเป็นประโยชน์อยู่บ้าง คือการที่ ทอ.นำเครื่องบิน AU-23 ไปติดตั้งระบบ FLIR เพื่อติดตามความเคลื่อนไหว แต่สถานการณ์ที่เลวอยู่แล้ว กลับร้ายลงไปอีก ในการแก้ไขปัญหาของนายทหารใหญ่ ด้วยการสั่งนำเข้าบอลลูนตรวจการณ์ขนาดยักษ์ ยุทโธปกรณ์ชิ้นนี้ใช้งบประมาณไป 350 ล้านบาท ผู้นำกองทัพในยุคหลังปฏิวัติ ก.ย.2549 ใช้งบประมาณแผ่นดิน ไปอย่างไม่ยั้งมือ โลกทั้งโลกเขาใช้ Data Link กันหมดแล้ว แต่ของเรากลับหันมาใช้ระบบโทรเลข
ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Rta_ba10
ข้อมูลการข่าว ซึ่งได้มาจากการลาดตระเวน กองทัพอากาศ ได้ให้ความสำคัญแก่มันอย่างมาก โดยยกระดับให้ภารกิจด้านนี้เป็นถึงขั้นระดับ กรมลาดตระเวนทางอากาศ มีนายทหารชั้นนายพลอากาศตรี เป็นผู้รับผิดชอบ ในขณะที่ภารกิจการปฏิบัติการทางยุทธวิธีอื่นๆ มีเพียงนายทหารระดับชั้นนาวาอากาศเอก เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดเท่านั้น ทอ.มีเครื่องบินหลายประเภทที่มีความสามารถในการลาดตระเวน แทนที่เหล่าทัพจะร่วมมือแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข่าวกรอง ระหว่างกัน ทบ.กลับจ่ายงบประมาณจำนวนมาก ไปกับลูกโป่งสวรรค์
ข้อดีของอากาศยานแบบบอลลูน ก็พอหาได้ แต่การนำมาเป็นยุทโธปกรณ์ทางทหารอากาศยานแบบบอลลูน ขาดคุณสมบัติพื้นฐานหลายประการ เช่น การพรางตัว ความคล่องตัว ความอ่อนตัว พิสัยการปฏิบัติการ เมื่อมันเริ่มออกทำงาน ข้าศึกสามารถมองเห็นมันได้อย่างง่าย ไม่เพียงแต่ข้าศึกจะหยุดการเคลื่อนไหว แต่ยังคิดหาทางโจมตีมันได้ง่าย เพราะมันลอยเด่น ต่างจากอากาศยานทางทหารทั่วไป และการจะเคลื่อนย้ายจากตำบลหนึ่งไปอีกตำบล หนึ่งกระทำด้วยความทุลักทุเล หากแนวรบเปลี่ยนไปอยู่ทางชายแดนสุรินทร์ บอลลูนแบบนี้แทบหาประโยชน์ทางทหารไม่ได้เลย
การลาดตระเวนเป็นภารกิจทางทหาร ที่ต้องใช้ความอดทน ต้องทนรอเวลานาน ต้องใช้ทั้งความรู้จากศาสตร์อื่นๆเข้ามาประกอบ ภาพถ่ายที่ได้จากลาดตระเวนทางอากาศ มีความชัดเจนสูงมาก สามารถแยกแยะได้ว่า ความดันลมล้อยางของเครื่องบินที่จอดอยู่ สูบไว้ไม่เท่ากัน เนื่องจากปีกของเครื่องบินเอียง การวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ แต่ละตารางเมตร จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญตีความ ถอดภาพออกมาเป็นข่าวกรอง การที่ ทบ.เพิ่งจะคิดหาข่าว ด้วยการใช้อากาศยาน ในขณะที่สถานการณ์คุกรุ่นขนาดนี้ ย่อมเท่ากับเป็นการฟ้องว่า
การข่าวของกองทัพหย่อนประสิทธิภาพ เพราะขาดการร่วมมือกันของทหารทั้งสามเหล่า
การลาดตระเวนทางอากาศของ ทอ. ไม่มีประสิทธิภาพ

และยังเลวร้ายไปอีก ด้วยการที่แต่ละกองทัพจัดหายานยูเอวี จากต่างประเทศเข้าประจำการ โดยที่ไม่มีแนวทางร่วมกัน ทั้งๆที่ เรามีโครงการสร้างยูเอวีระดับชาติของเราเอง อยู่แล้ว แต่
ทบ.กลับไปสั่งซื้อจากอิสราเอล SEARCHER MK วงเงิน 11.5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (370 ล้านบาท)
ทอ.ไปสั่งซื้อจากมาเลเซีย CyberEye ราคา 3.5 ล้านริงกิต (35 ล้านบาทป
ทร.ไปสั่งซื้อ ฮ.ยูเอวีมาใช้เอง
ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Search10ยานยูเอวี UAV อากาศยานไร้นักบิน Sapura10
นอกจากเป็นการใช้งบประมาณแผ่นดิน ที่ได้มาจากภาษีประชาชน จำนวนมาก แล้วยังเป็นการนำใบบัวไปปิดโครงการยูเอวีของไทย อย่างไม่ให้กลิ่นโชย
สถานการณ์ภาคใต้ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา (2548-2552) บ่งบอกถึงความเข้มแข็งของกองทัพ ได้เป็นอย่างดี แม้ฝ่ายเรามีกำลังมากกว่า มีอิสระในการครองน่านฟ้ามากกว่า มีตำราการรบเดี่ยว และรบร่วมในสถาบันวิชาการการทหารต่างๆ ก็หาได้สร้างความได้เปรียบในการปฏิบัติการไม่ งบประมาณและชีวิตทหารชั้นผู้น้อย ที่ถมลงไป อาจจะพอค้ำตำแหน่งให้ทหารใหญ่ใจคด บางคนได้ แต่เทคโนโลยีดิจิตอล จีพีเอส ยานยูเอวี จะเป็นสิ่งที่เขียนประวัติศาสตร์ให้คนไทยรุ่นหลังได้อ่าน ถึงความสามารถของคนไทย ทหารไทยในยุคนี้
ยานยูเอวี คือ อากาศยานในรูปแบบใหม่ ที่เหมาะสำหรับการใช้งานในอนาคตทั้งทางทหาร พลเรือน และเชิงพาณิชย์ เนื่องจากสามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างแม่นยำ และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าอากาศยานชนิดอื่นเป็นอย่างมาก การนำมาใช้งานในประเทศไทย เริ่มจากการซื้อมาจากต่างประเทศ ด้วยงบประมาณสูงมาก จึงได้มีการเริ่มต้นศึกษาวิจัยขึ้นในประเทศ แต่พบกับอุปสรรคสำคัญในการพัฒนา คือ นโยบายระดับประเทศ และงานร่วมกันทำงานเป็นทีมแบบไทย ผลสำเร็จจึงเป็นไปอย่างล่าช้า บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่อ อยากเห็นการพัฒนายานชนิดนี้ ดำเนินไปด้วยดี เกิดผลสำเร็จต่อประเทศชาติ และขอเป็นกำลังใจให้แก่คณะทำงาน ทุกท่าน ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ