พลิก แฟ้มคดีสังหารพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย
หน้า 1 จาก 1
พลิก แฟ้มคดีสังหารพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย
พลิกฟื้นคืนชีพ คดีดัง "อเล็กเซย์" โอรสซาร์รัสเซีย "รอดชีวิต" จากการถูกปลงพระชนม์
ไกรฤกษ์ นานา
*พงศาวดารรัสเซียถูกปลุก ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อครอบครัวของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ลุกขึ้นมาร้องขอความเป็นธรรมเรื่องบรรพชนของตน และยืนยันด้วยเหตุผลทางนิติวิทยาศาสตร์ว่า มกุฎราชกุมารองค์สุดท้ายของรัสเซีย มิได้สิ้นพระชนม์เพราะการสังหารหมู่ในปี ค.ศ. ๑๙๑๘ แต่เพิ่งจะเสียชีวิตเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
ราชวงศ์โรมานอฟที่ ยิ่งใหญ่ล้นฟ้าของจักรวรรดิรัสเซีย พบจุดจบอย่างกะทันหันในเช้ามืดวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๑๘ เมื่อสมาชิกในพระราชวงศ์ถูกสังหารหมู่โดยตำรวจลับเชกา (Cheka) มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ (บางแห่งเรียกอเล็กซิส แต่ในที่นี้จะเรียกตามหนังสือที่ใช้อ้างอิงว่า Tsarevich Alexei-ผู้เขียน) โอรสวัยรุ่น พระชันษาเพียง ๑๔ ปีของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ และพระนาง (ซารีนา) อเล็กซานดรา ฟีโอโดรอฟนา ผู้เป็นรัชทายาทของราชบัลลังก์รัสเซีย ทรงรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิดชนิดเฉียดตาย
ก่อนหน้านี้ ดวงพระชาตาของเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ส่งเสริมให้พระองค์ได้เสวยราชย์ แต่ก็เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น แล้วดวงพระชาตาก็พลิกผันให้ต้องประสบเคราะห์กรรมโดยถูกปลงพระชนม์พร้อมกับ พระราชบิดา แต่เพราะดวงยังไม่ถึงฆาต องค์มกุฎราชกุมารจึงยังไม่สิ้นใจในทันที ทว่า ระหว่างการขนย้ายพระศพทั้งหมดไปทำลายทิ้ง ร่างของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์กลับสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย พร้อมๆ กับการสิ้นสุดของราชวงศ์โรมานอฟที่สืบทอดติดต่อกันมานาน ๓๐๐ ปี
องค์ รัชทายาททรงเติบโตขึ้นภายใต้ชื่อใหม่ว่าวาสิลี ฟิลาตอฟ (Vasily Filatov) และใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาต่อมาในบทช่างทำรองเท้าและครูสอนภูมิศาสตร์ในที่สุด ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวเหลือเชื่อของมกุฎราชกุมารองค์นั้นที่พงศาวดารรัสเซีย ไม่อยากรับรู้ โปรดอ่านต่อไป
ความเดิม และกำเนิดมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์
ซาเรวิตซ์ นิโคลาส เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ แห่งรัสเซียในปี ค.ศ. ๑๘๙๔ ในปีเดียวกันก็ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเยอรมัน พระนามเดิมว่าเจ้าหญิงอลิกซ์ (Princess Alix Von Hesse-Darmstadt) ผู้เป็นพระธิดาของเจ้าหญิงอลิซ (Princess Alice Maud Mary) ซึ่งเป็นพระธิดาองค์ที่ ๒ ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria) อีกทีหนึ่ง เจ้าหญิงอลิกซ์ได้รับสถาปนาเป็นซารีนา อเล็กซานดรา ฟีโอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย (Czarina Alexandra Feodorovna) พระนางไม่ใช่คน "ป๊อปปูล่าร์" ในราชสำนักรัสเซีย โดยเฉพาะทรงขัดแย้งและเข้ากันไม่ได้กับสมเด็จพระพันปีหลวงอยู่เสมอ พระเจ้าซาร์และซารีนาจึงทรงย้ายที่ประทับจากกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไปประทับ ณ พระราชวังลิเดียที่ซาร์สโกเอเซโล (Tsarskoe Selo) ตั้งอยู่นอกเมืองหลวงประมาณ ๒๗ กิโลเมตร ซึ่งมีส่วนทำให้รัชกาลใหม่ตัดขาดความสัมพันธ์กับราชสำนักอยู่เสมอ ความโดดเดี่ยวนี้ทำให้ซารีนาทรงใกล้ชิดกับพระเจ้าซาร์มากขึ้น แต่จะกลับเป็นเป้าหมายของการซุบซิบนินทาและความอิจฉาริษยาจากแวดวงชั้นสูงใน เมืองหลวงตลอดเวลา
ซารีนา อเล็กซานดรา มีพระราชธิดากับพระเจ้าซาร์ ๔ องค์ คือ แกรนด์ดัชเชสออลกา (Grand Dutchess Olga) แกรนด์ดัชเชสตาเตียนา (Tatiana) แกรนด์ดัชเชสมารี (Marie) และแกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย (Anastasia) แต่ตามกฎมณเฑียรบาลนั้น พระราชธิดาไม่มีสิทธิ์สืบราชบัลลังก์ ทั้งพระเจ้าซาร์และซารีนาจึงทรงกังวลพระทัยเกี่ยวกับปัญหาการไม่มีรัชทายาท ซารีนาทรงใช้เวลาส่วนใหญ่สวดมนต์อ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้า ขอให้กำเนิดพระราชโอรส ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๐๔ พระนางก็ประสูติพระราชโอรสสมปรารถนา แต่หลังจากประสูติได้ ๖ สัปดาห์ เจ้าชายอเล็กเซย์มีพระอาการโลหิตไหลไม่หยุดถึง ๓ วัน ด้วยโรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคดังกล่าวเป็นพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทั้งพระเจ้าซาร์และพระมเหสีทรงปิดข่าวเรื่องโรคร้ายประจำตัวเจ้าชายอเล็ก เซย์เป็นความลับ โรคร้ายของเจ้าชายอเล็กเซย์ ทำให้พระเจ้าซาร์และพระมเหสีใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น และมีส่วนทำให้พระเจ้าซาร์ทรงปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะน้อยลง ทั้งซารีนาก็มีพระอากัปกิริยาเคร่งเครียดเย็นชา จนทำให้เกิดข่าวลือร้ายๆ ต่างๆ ที่ทำให้ราชวงศ์มัวหมองลง และเร่งให้พสกนิกรพากันเกลียดชังพระนางมากขึ้นด้วย(๑)
การประชวรของเจ้า ชายอเล็กเซย์ จะเป็นช่องทางที่ชักนำชายคนหนึ่งมาสู่ราชสำนักรัสเซีย บุคคลผู้นี้มีชื่อว่าเกรกอรี่ รัสปูติน เขาเป็นนักบวชจากไซบีเรีย มีประวัติที่กักขฬะและคลั่งไคล้ในกามราคะ แต่ความสามารถพิเศษของรัสปูตินในเรื่องการสะกดจิตทำให้มีผู้แนะนำราชสำนัก ว่า เขาอาจรักษาอาการประชวรของเจ้าชายอเล็กเซย์ได้ รัสปูตินก้าวเข้ามาในชีวิตของพระราชวงศ์ และได้สร้างความประหลาดใจให้ทุกคนเห็น จนอาการประชวรของเจ้าชายอเล็กเซย์ทุเลาลงและมีสุขภาพดีขึ้น ซารีนาทรงมอบบำเหน็จความชอบทุกอย่างที่รัสปูตินต้องการโดยเฉพาะสิทธิพิเศษใน ราชสำนัก ผลร้ายที่ตามมาคือ อิทธิพลของซารีนาต่อพระเจ้าซาร์พลอยทำให้องค์เหนือหัวตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของรัสปูตินไปด้วย
พระเจ้าซาร์และซารีนาทรงเชื่อว่ารัสปูตินเป็นคนของพระ เจ้าที่สามารถแสดงปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอำนาจวิเศษในการรักษาโรคร้ายของเจ้าชายอเล็กเซย์ ทั้ง ๒ พระองค์จึงทรงปฏิเสธที่จะรับฟังการตักเตือนเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ รัสปูตินในราชสำนัก ซารีนาทรงปกป้องรัสปูตินทุกเรื่อง และทรงขอให้พระเจ้าซาร์ลงโทษหรือปลดข้าราชการที่ต่อต้านรัสปูตินออกจาก ตำแหน่ง รัสปูตินมีอิทธิพลอย่างมากในราชสำนักเมื่อพระเจ้าซาร์เสด็จไปบัญชาการรบที่ ชายแดนในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซารีนาโปรดให้รัสปูตินรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินแทนพระนาง ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับสภาดูมา (Duma) และนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ ข่าวลือที่แพร่กระจายทั่วประเทศว่ารัสปูตินเป็นชู้รักของซารีนาและข่มขืนพระ ราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ ทำให้เกียรติภูมิของราชวงศ์มัวหมองอย่างมาก จนสมาชิกสภาดูมาเริ่มรณรงค์ต่อต้านราชวงศ์อย่างเปิดเผย การโจมตีของสภาดูมาอย่างรุนแรงมีส่วนให้เจ้าชายเฟลิกซ์ ยุสซูปอฟ (Felix Youssoupov) และพระญาติวางแผนสังหารรัสปูตินในเวลาต่อมา(๑)
"อเล็กเซ ย์" เสวยราชย์เป็นพระเจ้าซาร์อเล็กเซย์ที่ ๒
เมื่อเกิดการปฏิวัติเดือน กุมภาพันธ์ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๗ เพื่อต่อต้านสงครามและการขาดแคลนอาหาร พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ทรงมีคำสั่งให้ใช้กำลังทหารปราบปรามกลุ่มผู้เดินขบวนอย่างเด็ดขาด และให้ประกาศปิดสมัยประชุมสภาดูมา ซึ่งกำลังแก้ไขสถานการณ์ นับแต่นั้นสภาเริ่มแสดงปฏิกิริยาเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ เหตุการณ์รุนแรงขึ้น เมื่อสภาดูมามีมติให้ประกาศการสิ้นสุดอำนาจของรัฐบาลพระเจ้าซาร์ในวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๑๗ และแต่งตั้งผู้แทนไปทูลให้พระเจ้าซาร์ทรงสละราชสมบัติ ความตึงเครียดผลักดันให้พระเจ้าซาร์ทรงยินยอมสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอ รสคืออเล็กเซย์ ในวันที่ ๒ มีนาคม ๑๙๑๗ และในบ่ายวันเดียวกันก็มีประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการเสด็จขึ้นครองราชย์ ของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ เป็นพระเจ้าซาร์อเล็กเซย์ที่ ๒ มีพระนามเต็มว่า "His Imperial Majesty Tsar Alexei II, Emperor and Autocrat of all the Russias" แต่ในช่วงเย็น พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยและทรงแก้ไขคำสั่ง โดยทรงประกาศมอบราชบัลลังก์ให้พระอนุชาคือแกรนด์ดุ๊กไมเคิล อเล็กซานโดรวิช (Grand Duke Michael Alexandrovich) แทน แต่แกรนด์ดุ๊กไมเคิลกลับทรงปฏิเสธราชบัลลังก์ การปฏิเสธครั้งนี้ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟถึงกาลอวสาน(๑)
หลังการปฏิวัติ เดือนตุลาคม ๑๙๑๗ มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ ซึ่งมีพระชันษา ๑๓ ปี พร้อมทั้งพระราชบิดา พระราชมารดา และพระราชธิดาทั้ง ๔ องค์ของพระเจ้าซาร์ ถูกนำไปควบคุมไว้ ณ บ้านอิมปาตีฟ (Impativ House) เมืองเอกาเตรินเบิร์ก (Ekaterinburg) ในไซบีเรีย ณ ที่นั้นตำรวจเชกา (หน่วยตำรวจลับมีหน้าที่สอดส่อง และควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนโซเวียต เป็นหน่วยงานสำคัญแห่งอำนาจบริหารของพรรคบอลเชวิก-ผู้เขียน) จำนวน ๑๒ นาย ได้รับคำสั่งให้ปลงพระชนม์ราชวงศ์โรมานอฟและผู้ติดตามรวมทั้งสิ้น ๑๑ คน มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ไม่ได้สิ้นพระชนม์โดยทันที เพราะก่อนที่จะถูกระดมยิงนั้น ทรงอยู่ในอ้อมพระพาหาของพระราชบิดา และพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ทรงล้มทับพระองค์ไว้ หลังจากนั้นพระศพของมกุฎราชกุมารและพระราชวงศ์ถูกนำไปทำลายและฝังไว้ที่ บริเวณเหมืองร้างในป่าคอปเตียกี (Koptyaki) นอกเมืองเอกาเตรินเบิร์กประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวที่ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ เผยแพร่โดยหน่วยงานภาครัฐ(๑)
หลักฐานใหม่ฉีกหน้าประวัติศาสตร์รัส เซีย
๒๔ ตุลาคม ๑๙๘๘ ที่เมืองอาสตราคาน (Astrakhan) ครูสอนวิชาภูมิศาสตร์ประจำหมู่บ้านชื่อวาสิลี ฟิลาตอฟ ได้ถึงแก่กรรมลงอย่างสงบ แต่ก่อนการจากไปอย่างไม่มีวันกลับ เขาได้เปิดเผยตัวเองต่อหน้าลูกเมียว่าที่แท้เขาคือมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ที่ สูญหายไปในคืนวันสังหาร วาสิลียืนยันว่าเขาเป็นคนๆ เดียวกับอเล็กเซย์ โรมานอฟ (Alexei Romanov) โอรสองค์เดียวของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ และภายหลังที่ราชวงศ์ถูกปลงพระชนม์ เขากลับได้รับการช่วยเหลือจากตำรวจ ๒ นาย ที่ทนดูความอำมหิตไม่ไหว
แน่นอนคำสารภาพของวาสิลีขัดแย้งกับประวัติ ศาสตร์รัสเซียอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ถึงกระนั้น คำชี้แจงของหน่วยสังหารก็ยังขัดแย้งกันเองในรายละเอียด แต่ที่สำคัญที่สุดและจำต้องปกปิดไว้ คือรายละเอียดของผู้ตายในวันนั้นจำต้องปิดเป็นความลับสุดยอด ทำให้ข้อเท็จจริงถูกปิดบังไว้ต่อไปสำหรับประชาชน นอกจากเหตุผลด้านความมั่นคงแล้ว มันยังมีผลต่อความปลอดภัยและการดำเนินชีวิตของตำรวจกลุ่มดังกล่าวอีกด้วย หมายความว่าตำรวจกลุ่มปฏิบัติการจะต้องเก็บข้อมูลต่างๆ เป็นความลับไปจนตลอดชีวิต(๒)
แถลงการณ์ของรัฐบาลรัสเซียภายหลังการค้นพบ โครงกระดูกของผู้เสียชีวิตที่ป่าคอปเตียกี ในเดือนธันวาคม ๑๙๙๑ ยืนยันต่อชาวโลกว่า โครงกระดูกของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ และของเจ้าหญิงอนาสตาเซียได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอยจากหลุมศพที่ถูกฝังรวม กันอยู่ ประชาชนในโลกเสรีงุนงงต่อไป เมื่อสำนักงานเขตกลาง ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ออกใบมรณบัตร ๒ ใบต่างหากในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ระบุว่า มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์และเจ้าหญิงอนาสตาเซียได้เสียชีวิตแล้ว ทว่า เพราะขาดหลักฐานโครงกระดูกของทั้ง ๒ พระองค์ย่อมทำให้คดีไม่อาจปิดสำนวนได้ โดยเฉพาะใบมรณบัตร จึงกลายเป็นโมฆะในกระบวนการยุติธรรม(๒)
ความ คับขันของวันวิปโยค
ในระหว่างที่ราชวงศ์โรมานอฟโดนอุ้มไปนั้น ข่าวการปลงพระชนม์แกรนด์ดุ๊กไมเคิล พระอนุชาของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๑๙๑๘ แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ชะตากรรมของพระราชวงศ์ที่เหลือ ซึ่งบัดนี้ถูกคุมขังไว้ในเขตไซบีเรีย รัฐบาลเฉพาะกาลในมอสโกจึงสอบถามไปยังสภาโซเวียตประจำแคว้นอูรัล (Ural) เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพระเจ้าซาร์และครอบครัว แต่รายงานต่างๆ ก็เต็มไปด้วยความคลุมเครือ ต่อมาเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างผู้นำรัฐบาลปฏิวัติ ก็ยิ่งทำให้การพิจารณาคดีและบทลงโทษของราชวงศ์โรมานอฟยืดเยื้อออกไปอีก ขณะนั้นมีข่าวว่าพวกรัสเซียขาวกำลังใกล้เข้ามาและคาดกันว่า เมืองเอกาเตรินเบิร์กอาจจะแตกในไม่ช้า วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๑๙๑๘ สภาโซเวียตแห่งอูรัลจึงส่งโทรเลขด่วนมายังรัฐบาลเฉพาะกาลให้รู้ว่ากลุ่มของ ตนไม่สามารถรอคำพิพากษาจากส่วนกลางต่อไปอีกได้ โชคร้ายสายโทรเลขถูกตัดขาดเสียอีก ทำให้ฝ่ายปฏิวัติขาดการติดต่อจนได้ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๑๙๑๘ สภาโซเวียตแห่งอูรัลจึงตัดสินใจจัดการบางอย่างกับครอบครัวของพระเจ้าซาร์ ซึ่งตกอยู่ในมือของพวกตนตามลำพัง โดยจะไม่รอคำสั่งจากมอสโกอีกต่อไป
สภา โซเวียตแห่งอูรัลจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นเพื่อพิพากษาความผิดของ ราชวงศ์โรมานอฟ ในข้อหากบฏและสร้างความล่มสลายให้แก่ประเทศชาติ ผ่านคำตัดสินให้ประหารชีวิตพระราชวงศ์ที่เหลือ(๒)
นาทีสังหารและข้อ โต้แย้งทางวิทยาศาสตร์
ต่อไปนี้เป็นคำให้การของนายยาคอฟ ยูรอฟสกี (Yakov Yurofsky) หัวหน้าเชกา ซึ่งบันทึกไว้ในปี ค.ศ. ๑๙๓๔ เกี่ยวกับคืนวันสังหารว่า "ข้าพเจ้าปลุกนักโทษของเรา หมอบอตกิน (Botkin) แพทย์ประจำพระองค์ซึ่งพักอยู่ในห้องข้างๆ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น ข้าพเจ้าแจ้งว่าต้องปลุกทุกคนขึ้น เพราะกำลังมีเหตุไม่สงบในเมือง พวกนักโทษใช้เวลาแต่งตัวนานมากเกือบจะ ๔๐ นาที หลังจากนั้นข้าพเจ้าจึงนำพวกเขาไปยังห้องที่เตรียมไว้ใต้ตัวตึก โดยบอกว่าจะนำไปถ่ายภาพหมู่เป็นหลักฐานว่าทุกคนยังปลอดภัยดี และทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าเตือนหมอบอตกินไม่ให้นักโทษนำอะไรออกมา พวกเขากลับนำสัมภาระบางอย่างติดตัวไปด้วย เช่น หมอน กระเป๋าสตางค์ และที่ข้าพเจ้าจำได้มีสุนัขเล็กๆ ตัวหนึ่งด้วย หลายอย่างไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
เมื่อลงไปถึงห้องด้านล่าง ข้าพเจ้าแนะนำให้พวกเขายืนเรียงแถวชิดกำแพง ในขณะนั้นคาดว่าทุกคนยังไม่รู้ถึงภัยที่กำลังจะมาถึงตัว อเล็กซานดราตรัสว่า "ขอเก้าอี้หน่อยได้ไหม" ซาร์นิโคลาสยังทรงอุ้มอเล็กเซย์อยู่ที่สะเอว ข้าพเจ้าสั่งให้นำเก้าอี้เข้ามา ๒ ตัว สำหรับอเล็กซานดราและอเล็กเซย์ คนที่เหลือรวมทั้งหมอบอตกิน พ่อครัว นางสนม ยืนอยู่ด้านหลัง เมื่อทุกอย่างเข้าที่ข้าพเจ้าจึงสั่งให้ตำรวจเข้ามา ทันใดนั้นซาร์นิโคลาสก็ปรี่เข้าขวางหน้าพระโอรส ข้าพเจ้าประกาศก้องว่า มีคนทั้งในและนอกประเทศพยายามที่จะลักพาตัวราชวงศ์โรมานอฟ เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้สภาโซเวียตลงมติให้ประหารชีวิตพวกท่านเสีย ซาร์ทรงทำหน้าตื่น และทรงอุทานว่า "อะไรกัน?" แล้วหันพระพักตร์ไปหาอเล็กเซย์ ในนาทีนั้น ข้าพเจ้าก็ลั่นไกที่พระองค์ในระยะเกือบเผาขน โดยที่พระองค์ไม่มีเวลาแม้แต่จะหันพระพักตร์มาเอาคำตอบจากข้าพเจ้า"(๒)
สภาพ ห้องใต้ดินขนาด ๒๒๐ ลูกบาศก์ฟุตในเวลานั้น เต็มไปด้วยความสับสน เนื่องจากแออัดอยู่ด้วยคนเกือบ ๓๐ ชีวิต และเสียงปืนดังหูดับตับไหม้พร้อมๆ กันของเพชฌฆาต ๑๒ นาย ผู้กราดกระสุนกว่า ๕๐ นัด ห้องสังหารเล็กเกินไปกว่าที่จะคาดคะเนว่าใครยิงใคร หมอกควันปืนหนาทึบตลบอบอวลไปทั่ว พร้อมกับเสียงกรีดร้องจนฟังไม่ได้ศัพท์
ราย ละเอียดทางวิทยาศาสตร์เผยว่า หมอกควันจากปืนกว่า ๑๐ กระบอก ทำให้ห้องเล็กๆ ที่มีหลอดไฟติดสว่างอยู่ดวงเดียว บดบังวิสัยทัศน์ของร่างผู้เคราะห์ร้ายจนหมดสิ้น แถมการที่อากาศมีน้อยก็ทำให้หายใจลำบาก แม้แต่ตำรวจเองก็แทบจะทนไม่ไหว ตำรวจ ๓-๔ คน ถึงกับผละออกมาเพราะขาดอากาศหายใจ ๒ คนทำท่าจะสำรอก จากการพิสูจน์รอยกระสุนบนกำแพง ทำให้เชื่อได้ว่า วิถีกระสุนส่วนใหญ่ยิงออกไปในแนวต่ำ บริเวณท่อนล่างของลำตัวคน เพราะสามารถมองเห็นได้มากกว่าท่อนบนซึ่งกลบอยู่ด้วยควันปืน และปืนส่วนใหญ่เล็งไปที่เป้าซึ่งเคลื่อนไหวเท่านั้น
ความฉุกละหุกและรีบ ร้อนทำให้สภาพศพไม่ได้รับการชันสูตรแต่อย่างใด ร่างทั้งหมดถูกลากออกไปยังรถบรรทุกที่จอดติดเครื่องรออยู่ และถูกจับโยนขึ้นไปอย่างไม่ปรานีปราศรัย โดยต้องการทำเวลาไม่ให้เกิดผิดสังเกตบนท้องถนนอันเป็นที่สาธารณะ
แนวคิด ตามหลักวิทยาศาสตร์ทำให้เชื่อต่อไปอีกว่า ควันปืนที่กลบอยู่ทั่วห้องทำให้ยากต่อการมองเป้า ตลอดจนจำนวนผู้เคราะห์ร้ายที่เบียดเสียดกันอยู่ และเครื่องกีดขวางที่หลายคนถือหรือสวมติดตัวอยู่ เช่น หมอนและอัญมณีจำนวนมากที่พรางไว้ใต้เสื้อผ้า มีส่วนทำให้กระสุนพลาดเป้าและบาดแผลไม่ฉกรรจ์นัก บางคนอาจหมดสติไปในตอนแรกเพราะตกใจสุดขีด เหตุผลนี้ทำให้เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้ที่ "บางคน" อาจจะยังไม่เสียชีวิตทันที รายงานของนายยูรอฟสกีเองก็ยังสับสน ที่ว่าเมื่อร่างทั้งหมดกองอยู่บนรถแล้ว ร่างของผู้หนึ่ง (ไม่แน่ชัดว่าใคร-ผู้เขียน) ทำท่าเหมือนกับเงยศีรษะขึ้น
รถบรรทุกเล็กยี่ ห้อเฟียต (Fiat) ขับขี่โดยตำรวจชื่อลูคานอฟ (Lyukhanov) นั่งติดคนขับมีตำรวจ ๓ นาย คือ ยูรอฟสกี (Yurovsky) เอมากอฟ (Ermakov) และวากานอฟ (Vaganov) เป็นการยากที่จะคาดเดาว่า มีอะไรเกิดขึ้นด้านหลังรถท่ามกลางคืนเดือนมืดสนิท รถเคลื่อนย้ายร่างผู้เคราะห์ร้ายจากบ้านอิมปาติฟทันทีที่การสังหารยุติลง ประมาณเวลา ๒ ยามเศษ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๑๘ ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมงครึ่ง รถจึงมาถึงเหมืองร้างนอกเมืองที่กำหนดไว้ ที่นั่นตำรวจทั้ง ๓ คน นำร่างทั้งหมดวางลงบนเลื่อนเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังหลุมลึกใกล้ๆ นั้น จากนั้นจึงเปลื้องเสื้อผ้าของทุกคนออกเพื่อเผาทำลายหลักฐาน ณ จุดนั้น ตำรวจพบเครื่องเพชรจำนวนมากซุกซ่อนอยู่ใต้เสื้อผ้า โดยเฉพาะของซารีนาและพระราชธิดาทุกพระองค์ หลังจากนั้นตำรวจจึงโยนร่างผู้เสียชีวิตลงในหลุมมืดเมื่อใกล้สาง มีคำยืนยันจากยูรอฟสกีอีกว่า ร่างทั้งหมด ๑๑ ร่างของผู้เคราะห์ร้ายที่อยู่บนรถตอนแรก แต่มีเพียง ๙ ร่างที่ถูกโยนลงในหลุม หมายความว่ามีจำนวน ๒ ร่างที่อันตรธานหายไประหว่างการเดินทาง! หนึ่งในจำนวนร่างที่หายไปมีมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์(๒)
การหลบหนีความ ตายของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์
หนังสือประวัติศาสตร์รัสเซียหลายเล่มบรรยาย เป็นเสียงเดียวกันว่า ประชาชนในระยะนั้นเริ่มหูตาสว่างจากความเชื่ออย่างงมงายว่า พระเจ้าซาร์เป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า แต่สิ่งที่ปรากฏกลับเป็นความพังพินาศของชาติ และการบริหารประเทศที่ผิดพลาดของพระเจ้าซาร์ โดยเฉพาะการที่พระเจ้าซาร์นำชาวรัสเซียนับล้านคนไปตายที่แนวหน้า
กอง กำลังเฉพาะกาลของรัฐบาลปฏิวัติ ซึ่งโดยมากเป็นลูกชาวนาจากชนบทที่ดูหมิ่นเหยียดหยามราชวงศ์ ครอบครัวของพระเจ้าซาร์จึงได้รับการปฏิบัติอย่างชิงชังในขณะถูกคุมขัง ล้วนเป็นคำให้การที่เย็นชาในสายตาของคนภายนอกทั่วไป แต่สำหรับคนวงในแล้ว เคยมีคนพบลำแสงแห่งความปรานีอยู่บ้าง ในด้านมืดของประวัติศาสตร์ วาสิลี ฟิลาตอฟ เล่าว่า ในจำนวนตำรวจเชกาที่รักษาการณ์อยู่ภายนอกบ้านอิมปาติฟ มีพี่น้อง ๒ คน สกุลสเตรโคติน (Strekotin) ชื่ออเล็กซานเดอร์ (Alexander) และอันเดร (Andrei) ที่มักจะแสดงเมตตาจิตต่อครอบครัวของเขาอยู่เสมอ หลักฐานจากบันทึกของอันเดรที่เปิดเผยในปี ค.ศ. ๑๙๒๘ ยืนยันความเป็นมิตรของ ๒ พี่น้องต่อครอบครัวโรมานอฟ แม้มันจะเป็นเพียงแค่ความทรงจำ "ซาร์มักจะกอดรัดพระโอรสด้วยความเอ็นดู และมักจะอุ้มพระองค์ไปรอบๆ บ้าน หรือมิฉะนั้นก็จะวางอเล็กเซย์บนรถเข็นหญ้า เพื่อเข็นพระโอรสไปเก็บก้อนกรวดเล่นทุกวัน ฯลฯ ส่วนพระธิดาองค์โตที่ชื่อออลกานั้นเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว และไม่ค่อยสุงสิงกับพระสุนิสาองค์อื่นๆ โดยจะใช้เวลาเล่นกับพระอนุชาองค์เล็กมากกว่า"
จากบันทึกของยูรอฟสกี พี่น้องสเตรโคตินเป็นผู้รับคำสั่งให้ยกร่างผู้เคราะห์ร้ายขึ้นบนรถ ทำให้สันนิษฐานว่า เขาทั้งสองอาจจะสังเกตเห็นว่ามกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ทรงยังมีชีวิตอยู่ในขณะ นั้น
รายงานของยูรอฟสกีให้รายละเอียดปลีกย่อยระหว่างการเดินทางที่ดู ผิวเผินไม่น่าสนใจในตอนแรก แต่ในภายหลังมันสามารถชี้เบาะแสช่องทางการหลบหนีของผู้รอดชีวิตได้ กล่าวคือ การที่หนทางไปเหมืองร้างเต็มไปด้วยหลุมบ่อขนาดใหญ่ เนื่องจากฝนตกหนักทำให้รถติดหล่ม ๒-๓ ครั้ง เป็นเหตุให้ตำรวจต้องจอดรถเพื่อขนย้ายสัมภาระคือร่างผู้เคราะห์ร้ายลง ช่วยให้น้ำหนักรถเบาขึ้น จะได้เข็นรถขึ้นจากหล่มได้ ในระหว่างการขนย้ายอย่างไม่เป็นทางการนี้เอง ที่ผู้บาดเจ็บสามารถเล็ดลอดออกไปได้ โดยที่ไม่มีใครสังเกต จึงสันนิษฐานว่ามกุฎราชกุมารอเล็กเซย์อาจเป็นผู้หนึ่งที่กลิ้งตัวเข้าไปซ่อน อยู่ข้างทาง และกระเสือกกระสนเอาตัวรอดไปจนถึงสถานีรถไฟชาร์ทาช (Shartash Station) เพื่อขอความช่วยเหลือ
หลักการนี้ดูน่าเชื่อถือที่สุด ตรงกับรายละเอียดของวาสิลีซึ่งเขาเคยเปิดเผยมันกับครอบครัวของเขาในเดือน กันยายน ๑๙๘๔ ข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมอีกมีอยู่ว่า ระหว่างขนย้ายผู้เคราะห์ร้ายไปยังเหมืองร้าง มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ซึ่งหมดสติอยู่หลังรถพลันตื่นขึ้นจากเม็ดฝนที่โปรยลง บนใบหน้า ท่ามกลางร่างของพ่อแม่พี่น้องที่แน่นิ่งอยู่รอบข้าง เขาสลัดตัวออกจากรถบรรทุก แล้วคลานเข้าไปซ่อนตัวอยู่ใต้สะพานเล็กๆ เมื่อท้องฟ้าสว่างขึ้นเขาก็คลานต่อไปตามทางรถไฟจนกระทั่งถึงสถานีรถไฟชาร์ทา ช พี่น้องตระกูลสเตรโคตินซึ่งรับคำสั่งให้ออกติดตามผู้สูญหายพบเขาอีกครั้งที่ นั่น จึงได้นำมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์หลบหนีและไปฝากไว้กับครอบครัวฟิลาตอฟ ที่พวกเขารู้จักในเมืองชาดริงค์ (Shadrinsk) ซึ่งอยู่ถัดออกไป "อเล็กเซย์ โรมานอฟ" ได้รับการเยียวยาจนมีอาการดีขึ้น และได้หลบซ่อนตัวอยู่ที่นั่นต่อมา หัวหน้าครอบครัวผู้มีนามว่าคเซโนฟอนต์ ฟิลาตอฟ (Ksenofont Filatov) เคยมีบุตรชายคนหนึ่งแต่ได้เสียชีวิตไปด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์จึงได้สวมรอยเด็กคนนั้นอย่างปลอดภัย และได้รับการอุปการะโดยครอบครัวนี้เรื่อยมา(๒)
คำชี้แจงของผู้สันทัด กรณี
รายละเอียด ๘๐% ที่ใช้ประกอบการเขียนเรื่องนี้รวบรวมขึ้นจากข้อมูลที่ค้นคว้ามาได้จาก หนังสือชื่อ The Escape of Alexei-Son of Tsar Nicholas II เขียนโดยนักค้นคว้าประวัติศาสตร์ชาวรัสเซีย ๓ ท่าน คือ วาดิม เปตรอฟ (Vadim Petrov) อีกอร์ ลีเซนโก (Igor Lysenko) และจอร์จี อีโกรอฟ (Georgy Egorov) โดยได้รับความร่วมมือจากบุตรชายคนโตของวาสิลี คือ โอเล็ก ฟิลาตอฟ (Oleg Filatov) อันเป็นการรวบรวมหลักฐานครั้งใหญ่ที่สุด ซึ่งพิสูจน์ได้ของครอบครัวฟิลาตอฟ เกี่ยวกับราชวงศ์โรมานอฟ และความเชื่อว่าหัวหน้าครอบครัวของพวกเขาคือมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ โรมานอฟ ผู้สาบสูญ(๒)
ผู้เขียนเรียบเรียงเหตุการณ์ขึ้นใหม่ เพื่อความเหมาะสมกับการตีพิมพ์เป็นบทความที่สามารถจบในเรื่อง ในความเป็นจริงหนังสือที่ใช้อ้างอิงนี้ยังให้ข้อมูลอีกมากด้วยความหนาถึง ๒๔๐ หน้ากระดาษ A4 พรั่งพร้อมด้วยภาพถ่ายนับร้อยรูป ที่สนับสนุนหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในแง่มุมต่างๆ ผู้เขียนทึ่งในวิริยะอุตสาหะของนักค้นคว้ากลุ่มนี้ อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อพิสูจน์ว่าได้มีการค้นพบ "ทฤษฎีหนึ่ง" ที่อธิบายว่ามกุฎราชกุมารอเล็กเซย์มิได้สูญหายไปจากโลกนี้
ความร้อนแรง ของอุณหภูมิในระยะนั้น จนเป็นเหตุให้ครอบครัวฟิลาตอฟ "ของขึ้น" มีที่มาจากการที่รัฐบาลรัสเซียตัดสินใจให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การสิ้นสุดของราชบัลลังก์รัสเซียระหว่างช่วงทศวรรษ ๑๙๘๐ ประจวบกับการที่วาสิลี ฟิลาตอฟ ถึงแก่กรรมลงในปี ค.ศ. ๑๙๘๘ ทายาทของเขาจึงลุกขึ้นมาเปิดปากพูดเพื่อศักดิ์ศรีของบิดา และเพื่อมนุษยธรรมสำหรับราชวงศ์โรมานอฟ ตรงนี้คือจุดยืนที่น่ายกย่อง การค้นพบฐานข้อมูลใหม่นี้ เป็นบททดสอบของการแสดงอิสรภาพทางความคิด ในยุคที่โลกสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข่าวสารข้อมูลต่างๆ ที่เคยถูกปกปิดไว้ในมุมมืดของกาลเวลา
สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือ"ผลสรุป" ทางนิติวิทยาศาสตร์ ภายหลังการทดสอบของผู้เชี่ยวชาญชาวฟินแลนด์และรัสเซีย โดยการตรวจดีเอ็นเอจากเลือดของบุตรและธิดาของวาสิลี ฟิลาตอฟ ในปี ค.ศ. ๑๙๙๖ แสดงผลว่าพวกเขาเป็นผู้สืบสายโลหิตมาจากราชวงศ์โรมานอฟจริง แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นและเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง คือการที่ครอบครัวฟิลาตอฟร้องขอความเป็นธรรมไปยังศาลโลก ณ กรุงเฮกให้เข้าแทรกแซงในขั้นตอนการพิสูจน์ ในที่สุดรัฐบาลรัสเซียจึงอนุญาตในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ให้มีการตรวจดีเอ็นเอจากชิ้นส่วนอวัยวะของนายวาสิลี ฟิลาตอฟ ผู้วายชนม์ จากกระดูก เส้นผม ฟัน และเล็บ ตามระบบนิติเวชวิทยา รวมถึงการคำนวณส่วนประกอบของใบหน้า ตามอายุขัยในวัยต่างๆ ด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผลปรากฏว่า วาสิลี ฟิลาตอฟ คือบุคคลเดียวกันกับมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ โรมานอฟ(๒)
ปริศนาที่เป็น เรื่องเล่าอย่างสม่ำเสมอในครอบครัวฟิลาตอฟ คือการที่วาสิลีเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน แต่ความสามารถพิเศษที่ติดตัวเขามาไม่สามารถปิดบังไว้ได้นาน เช่น ความจัดเจนในการพูดภาษาเยอรมัน กรีก ลโลวานิก ละติน อังกฤษ และฝรั่งเศส อย่างคล่องแคล่ว มีความรู้ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พงศาวดารรัสเซีย และการเมืองในยุโรปอย่างกว้างขวาง ดีกว่าคนรัสเซียชนบททั่วไป ตลอดจนความช่ำชองในการเล่นเปียโน และความรอบรู้เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิคของสังคมชั้นสูง สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่ได้ใกล้ชิดเขาจนตลอดชีวิต เขารู้เรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร?
http://pushkin.exteen.com/20060313/entry
ไกรฤกษ์ นานา
*พงศาวดารรัสเซียถูกปลุก ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อครอบครัวของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ลุกขึ้นมาร้องขอความเป็นธรรมเรื่องบรรพชนของตน และยืนยันด้วยเหตุผลทางนิติวิทยาศาสตร์ว่า มกุฎราชกุมารองค์สุดท้ายของรัสเซีย มิได้สิ้นพระชนม์เพราะการสังหารหมู่ในปี ค.ศ. ๑๙๑๘ แต่เพิ่งจะเสียชีวิตเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
ราชวงศ์โรมานอฟที่ ยิ่งใหญ่ล้นฟ้าของจักรวรรดิรัสเซีย พบจุดจบอย่างกะทันหันในเช้ามืดวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๑๘ เมื่อสมาชิกในพระราชวงศ์ถูกสังหารหมู่โดยตำรวจลับเชกา (Cheka) มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ (บางแห่งเรียกอเล็กซิส แต่ในที่นี้จะเรียกตามหนังสือที่ใช้อ้างอิงว่า Tsarevich Alexei-ผู้เขียน) โอรสวัยรุ่น พระชันษาเพียง ๑๔ ปีของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ และพระนาง (ซารีนา) อเล็กซานดรา ฟีโอโดรอฟนา ผู้เป็นรัชทายาทของราชบัลลังก์รัสเซีย ทรงรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิดชนิดเฉียดตาย
ก่อนหน้านี้ ดวงพระชาตาของเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ส่งเสริมให้พระองค์ได้เสวยราชย์ แต่ก็เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น แล้วดวงพระชาตาก็พลิกผันให้ต้องประสบเคราะห์กรรมโดยถูกปลงพระชนม์พร้อมกับ พระราชบิดา แต่เพราะดวงยังไม่ถึงฆาต องค์มกุฎราชกุมารจึงยังไม่สิ้นใจในทันที ทว่า ระหว่างการขนย้ายพระศพทั้งหมดไปทำลายทิ้ง ร่างของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์กลับสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย พร้อมๆ กับการสิ้นสุดของราชวงศ์โรมานอฟที่สืบทอดติดต่อกันมานาน ๓๐๐ ปี
องค์ รัชทายาททรงเติบโตขึ้นภายใต้ชื่อใหม่ว่าวาสิลี ฟิลาตอฟ (Vasily Filatov) และใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาต่อมาในบทช่างทำรองเท้าและครูสอนภูมิศาสตร์ในที่สุด ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวเหลือเชื่อของมกุฎราชกุมารองค์นั้นที่พงศาวดารรัสเซีย ไม่อยากรับรู้ โปรดอ่านต่อไป
ความเดิม และกำเนิดมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์
ซาเรวิตซ์ นิโคลาส เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ แห่งรัสเซียในปี ค.ศ. ๑๘๙๔ ในปีเดียวกันก็ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเยอรมัน พระนามเดิมว่าเจ้าหญิงอลิกซ์ (Princess Alix Von Hesse-Darmstadt) ผู้เป็นพระธิดาของเจ้าหญิงอลิซ (Princess Alice Maud Mary) ซึ่งเป็นพระธิดาองค์ที่ ๒ ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria) อีกทีหนึ่ง เจ้าหญิงอลิกซ์ได้รับสถาปนาเป็นซารีนา อเล็กซานดรา ฟีโอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย (Czarina Alexandra Feodorovna) พระนางไม่ใช่คน "ป๊อปปูล่าร์" ในราชสำนักรัสเซีย โดยเฉพาะทรงขัดแย้งและเข้ากันไม่ได้กับสมเด็จพระพันปีหลวงอยู่เสมอ พระเจ้าซาร์และซารีนาจึงทรงย้ายที่ประทับจากกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไปประทับ ณ พระราชวังลิเดียที่ซาร์สโกเอเซโล (Tsarskoe Selo) ตั้งอยู่นอกเมืองหลวงประมาณ ๒๗ กิโลเมตร ซึ่งมีส่วนทำให้รัชกาลใหม่ตัดขาดความสัมพันธ์กับราชสำนักอยู่เสมอ ความโดดเดี่ยวนี้ทำให้ซารีนาทรงใกล้ชิดกับพระเจ้าซาร์มากขึ้น แต่จะกลับเป็นเป้าหมายของการซุบซิบนินทาและความอิจฉาริษยาจากแวดวงชั้นสูงใน เมืองหลวงตลอดเวลา
ซารีนา อเล็กซานดรา มีพระราชธิดากับพระเจ้าซาร์ ๔ องค์ คือ แกรนด์ดัชเชสออลกา (Grand Dutchess Olga) แกรนด์ดัชเชสตาเตียนา (Tatiana) แกรนด์ดัชเชสมารี (Marie) และแกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย (Anastasia) แต่ตามกฎมณเฑียรบาลนั้น พระราชธิดาไม่มีสิทธิ์สืบราชบัลลังก์ ทั้งพระเจ้าซาร์และซารีนาจึงทรงกังวลพระทัยเกี่ยวกับปัญหาการไม่มีรัชทายาท ซารีนาทรงใช้เวลาส่วนใหญ่สวดมนต์อ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้า ขอให้กำเนิดพระราชโอรส ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๐๔ พระนางก็ประสูติพระราชโอรสสมปรารถนา แต่หลังจากประสูติได้ ๖ สัปดาห์ เจ้าชายอเล็กเซย์มีพระอาการโลหิตไหลไม่หยุดถึง ๓ วัน ด้วยโรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคดังกล่าวเป็นพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทั้งพระเจ้าซาร์และพระมเหสีทรงปิดข่าวเรื่องโรคร้ายประจำตัวเจ้าชายอเล็ก เซย์เป็นความลับ โรคร้ายของเจ้าชายอเล็กเซย์ ทำให้พระเจ้าซาร์และพระมเหสีใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น และมีส่วนทำให้พระเจ้าซาร์ทรงปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะน้อยลง ทั้งซารีนาก็มีพระอากัปกิริยาเคร่งเครียดเย็นชา จนทำให้เกิดข่าวลือร้ายๆ ต่างๆ ที่ทำให้ราชวงศ์มัวหมองลง และเร่งให้พสกนิกรพากันเกลียดชังพระนางมากขึ้นด้วย(๑)
การประชวรของเจ้า ชายอเล็กเซย์ จะเป็นช่องทางที่ชักนำชายคนหนึ่งมาสู่ราชสำนักรัสเซีย บุคคลผู้นี้มีชื่อว่าเกรกอรี่ รัสปูติน เขาเป็นนักบวชจากไซบีเรีย มีประวัติที่กักขฬะและคลั่งไคล้ในกามราคะ แต่ความสามารถพิเศษของรัสปูตินในเรื่องการสะกดจิตทำให้มีผู้แนะนำราชสำนัก ว่า เขาอาจรักษาอาการประชวรของเจ้าชายอเล็กเซย์ได้ รัสปูตินก้าวเข้ามาในชีวิตของพระราชวงศ์ และได้สร้างความประหลาดใจให้ทุกคนเห็น จนอาการประชวรของเจ้าชายอเล็กเซย์ทุเลาลงและมีสุขภาพดีขึ้น ซารีนาทรงมอบบำเหน็จความชอบทุกอย่างที่รัสปูตินต้องการโดยเฉพาะสิทธิพิเศษใน ราชสำนัก ผลร้ายที่ตามมาคือ อิทธิพลของซารีนาต่อพระเจ้าซาร์พลอยทำให้องค์เหนือหัวตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของรัสปูตินไปด้วย
พระเจ้าซาร์และซารีนาทรงเชื่อว่ารัสปูตินเป็นคนของพระ เจ้าที่สามารถแสดงปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอำนาจวิเศษในการรักษาโรคร้ายของเจ้าชายอเล็กเซย์ ทั้ง ๒ พระองค์จึงทรงปฏิเสธที่จะรับฟังการตักเตือนเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ รัสปูตินในราชสำนัก ซารีนาทรงปกป้องรัสปูตินทุกเรื่อง และทรงขอให้พระเจ้าซาร์ลงโทษหรือปลดข้าราชการที่ต่อต้านรัสปูตินออกจาก ตำแหน่ง รัสปูตินมีอิทธิพลอย่างมากในราชสำนักเมื่อพระเจ้าซาร์เสด็จไปบัญชาการรบที่ ชายแดนในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซารีนาโปรดให้รัสปูตินรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินแทนพระนาง ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับสภาดูมา (Duma) และนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ ข่าวลือที่แพร่กระจายทั่วประเทศว่ารัสปูตินเป็นชู้รักของซารีนาและข่มขืนพระ ราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ ทำให้เกียรติภูมิของราชวงศ์มัวหมองอย่างมาก จนสมาชิกสภาดูมาเริ่มรณรงค์ต่อต้านราชวงศ์อย่างเปิดเผย การโจมตีของสภาดูมาอย่างรุนแรงมีส่วนให้เจ้าชายเฟลิกซ์ ยุสซูปอฟ (Felix Youssoupov) และพระญาติวางแผนสังหารรัสปูตินในเวลาต่อมา(๑)
"อเล็กเซ ย์" เสวยราชย์เป็นพระเจ้าซาร์อเล็กเซย์ที่ ๒
เมื่อเกิดการปฏิวัติเดือน กุมภาพันธ์ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๗ เพื่อต่อต้านสงครามและการขาดแคลนอาหาร พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ทรงมีคำสั่งให้ใช้กำลังทหารปราบปรามกลุ่มผู้เดินขบวนอย่างเด็ดขาด และให้ประกาศปิดสมัยประชุมสภาดูมา ซึ่งกำลังแก้ไขสถานการณ์ นับแต่นั้นสภาเริ่มแสดงปฏิกิริยาเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ เหตุการณ์รุนแรงขึ้น เมื่อสภาดูมามีมติให้ประกาศการสิ้นสุดอำนาจของรัฐบาลพระเจ้าซาร์ในวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๑๗ และแต่งตั้งผู้แทนไปทูลให้พระเจ้าซาร์ทรงสละราชสมบัติ ความตึงเครียดผลักดันให้พระเจ้าซาร์ทรงยินยอมสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอ รสคืออเล็กเซย์ ในวันที่ ๒ มีนาคม ๑๙๑๗ และในบ่ายวันเดียวกันก็มีประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการเสด็จขึ้นครองราชย์ ของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ เป็นพระเจ้าซาร์อเล็กเซย์ที่ ๒ มีพระนามเต็มว่า "His Imperial Majesty Tsar Alexei II, Emperor and Autocrat of all the Russias" แต่ในช่วงเย็น พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยและทรงแก้ไขคำสั่ง โดยทรงประกาศมอบราชบัลลังก์ให้พระอนุชาคือแกรนด์ดุ๊กไมเคิล อเล็กซานโดรวิช (Grand Duke Michael Alexandrovich) แทน แต่แกรนด์ดุ๊กไมเคิลกลับทรงปฏิเสธราชบัลลังก์ การปฏิเสธครั้งนี้ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟถึงกาลอวสาน(๑)
หลังการปฏิวัติ เดือนตุลาคม ๑๙๑๗ มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ ซึ่งมีพระชันษา ๑๓ ปี พร้อมทั้งพระราชบิดา พระราชมารดา และพระราชธิดาทั้ง ๔ องค์ของพระเจ้าซาร์ ถูกนำไปควบคุมไว้ ณ บ้านอิมปาตีฟ (Impativ House) เมืองเอกาเตรินเบิร์ก (Ekaterinburg) ในไซบีเรีย ณ ที่นั้นตำรวจเชกา (หน่วยตำรวจลับมีหน้าที่สอดส่อง และควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนโซเวียต เป็นหน่วยงานสำคัญแห่งอำนาจบริหารของพรรคบอลเชวิก-ผู้เขียน) จำนวน ๑๒ นาย ได้รับคำสั่งให้ปลงพระชนม์ราชวงศ์โรมานอฟและผู้ติดตามรวมทั้งสิ้น ๑๑ คน มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ไม่ได้สิ้นพระชนม์โดยทันที เพราะก่อนที่จะถูกระดมยิงนั้น ทรงอยู่ในอ้อมพระพาหาของพระราชบิดา และพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ทรงล้มทับพระองค์ไว้ หลังจากนั้นพระศพของมกุฎราชกุมารและพระราชวงศ์ถูกนำไปทำลายและฝังไว้ที่ บริเวณเหมืองร้างในป่าคอปเตียกี (Koptyaki) นอกเมืองเอกาเตรินเบิร์กประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวที่ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ เผยแพร่โดยหน่วยงานภาครัฐ(๑)
หลักฐานใหม่ฉีกหน้าประวัติศาสตร์รัส เซีย
๒๔ ตุลาคม ๑๙๘๘ ที่เมืองอาสตราคาน (Astrakhan) ครูสอนวิชาภูมิศาสตร์ประจำหมู่บ้านชื่อวาสิลี ฟิลาตอฟ ได้ถึงแก่กรรมลงอย่างสงบ แต่ก่อนการจากไปอย่างไม่มีวันกลับ เขาได้เปิดเผยตัวเองต่อหน้าลูกเมียว่าที่แท้เขาคือมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ที่ สูญหายไปในคืนวันสังหาร วาสิลียืนยันว่าเขาเป็นคนๆ เดียวกับอเล็กเซย์ โรมานอฟ (Alexei Romanov) โอรสองค์เดียวของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ และภายหลังที่ราชวงศ์ถูกปลงพระชนม์ เขากลับได้รับการช่วยเหลือจากตำรวจ ๒ นาย ที่ทนดูความอำมหิตไม่ไหว
แน่นอนคำสารภาพของวาสิลีขัดแย้งกับประวัติ ศาสตร์รัสเซียอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ถึงกระนั้น คำชี้แจงของหน่วยสังหารก็ยังขัดแย้งกันเองในรายละเอียด แต่ที่สำคัญที่สุดและจำต้องปกปิดไว้ คือรายละเอียดของผู้ตายในวันนั้นจำต้องปิดเป็นความลับสุดยอด ทำให้ข้อเท็จจริงถูกปิดบังไว้ต่อไปสำหรับประชาชน นอกจากเหตุผลด้านความมั่นคงแล้ว มันยังมีผลต่อความปลอดภัยและการดำเนินชีวิตของตำรวจกลุ่มดังกล่าวอีกด้วย หมายความว่าตำรวจกลุ่มปฏิบัติการจะต้องเก็บข้อมูลต่างๆ เป็นความลับไปจนตลอดชีวิต(๒)
แถลงการณ์ของรัฐบาลรัสเซียภายหลังการค้นพบ โครงกระดูกของผู้เสียชีวิตที่ป่าคอปเตียกี ในเดือนธันวาคม ๑๙๙๑ ยืนยันต่อชาวโลกว่า โครงกระดูกของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ และของเจ้าหญิงอนาสตาเซียได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอยจากหลุมศพที่ถูกฝังรวม กันอยู่ ประชาชนในโลกเสรีงุนงงต่อไป เมื่อสำนักงานเขตกลาง ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ออกใบมรณบัตร ๒ ใบต่างหากในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ระบุว่า มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์และเจ้าหญิงอนาสตาเซียได้เสียชีวิตแล้ว ทว่า เพราะขาดหลักฐานโครงกระดูกของทั้ง ๒ พระองค์ย่อมทำให้คดีไม่อาจปิดสำนวนได้ โดยเฉพาะใบมรณบัตร จึงกลายเป็นโมฆะในกระบวนการยุติธรรม(๒)
ความ คับขันของวันวิปโยค
ในระหว่างที่ราชวงศ์โรมานอฟโดนอุ้มไปนั้น ข่าวการปลงพระชนม์แกรนด์ดุ๊กไมเคิล พระอนุชาของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๑๙๑๘ แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ชะตากรรมของพระราชวงศ์ที่เหลือ ซึ่งบัดนี้ถูกคุมขังไว้ในเขตไซบีเรีย รัฐบาลเฉพาะกาลในมอสโกจึงสอบถามไปยังสภาโซเวียตประจำแคว้นอูรัล (Ural) เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพระเจ้าซาร์และครอบครัว แต่รายงานต่างๆ ก็เต็มไปด้วยความคลุมเครือ ต่อมาเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างผู้นำรัฐบาลปฏิวัติ ก็ยิ่งทำให้การพิจารณาคดีและบทลงโทษของราชวงศ์โรมานอฟยืดเยื้อออกไปอีก ขณะนั้นมีข่าวว่าพวกรัสเซียขาวกำลังใกล้เข้ามาและคาดกันว่า เมืองเอกาเตรินเบิร์กอาจจะแตกในไม่ช้า วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๑๙๑๘ สภาโซเวียตแห่งอูรัลจึงส่งโทรเลขด่วนมายังรัฐบาลเฉพาะกาลให้รู้ว่ากลุ่มของ ตนไม่สามารถรอคำพิพากษาจากส่วนกลางต่อไปอีกได้ โชคร้ายสายโทรเลขถูกตัดขาดเสียอีก ทำให้ฝ่ายปฏิวัติขาดการติดต่อจนได้ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๑๙๑๘ สภาโซเวียตแห่งอูรัลจึงตัดสินใจจัดการบางอย่างกับครอบครัวของพระเจ้าซาร์ ซึ่งตกอยู่ในมือของพวกตนตามลำพัง โดยจะไม่รอคำสั่งจากมอสโกอีกต่อไป
สภา โซเวียตแห่งอูรัลจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นเพื่อพิพากษาความผิดของ ราชวงศ์โรมานอฟ ในข้อหากบฏและสร้างความล่มสลายให้แก่ประเทศชาติ ผ่านคำตัดสินให้ประหารชีวิตพระราชวงศ์ที่เหลือ(๒)
นาทีสังหารและข้อ โต้แย้งทางวิทยาศาสตร์
ต่อไปนี้เป็นคำให้การของนายยาคอฟ ยูรอฟสกี (Yakov Yurofsky) หัวหน้าเชกา ซึ่งบันทึกไว้ในปี ค.ศ. ๑๙๓๔ เกี่ยวกับคืนวันสังหารว่า "ข้าพเจ้าปลุกนักโทษของเรา หมอบอตกิน (Botkin) แพทย์ประจำพระองค์ซึ่งพักอยู่ในห้องข้างๆ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น ข้าพเจ้าแจ้งว่าต้องปลุกทุกคนขึ้น เพราะกำลังมีเหตุไม่สงบในเมือง พวกนักโทษใช้เวลาแต่งตัวนานมากเกือบจะ ๔๐ นาที หลังจากนั้นข้าพเจ้าจึงนำพวกเขาไปยังห้องที่เตรียมไว้ใต้ตัวตึก โดยบอกว่าจะนำไปถ่ายภาพหมู่เป็นหลักฐานว่าทุกคนยังปลอดภัยดี และทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าเตือนหมอบอตกินไม่ให้นักโทษนำอะไรออกมา พวกเขากลับนำสัมภาระบางอย่างติดตัวไปด้วย เช่น หมอน กระเป๋าสตางค์ และที่ข้าพเจ้าจำได้มีสุนัขเล็กๆ ตัวหนึ่งด้วย หลายอย่างไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
เมื่อลงไปถึงห้องด้านล่าง ข้าพเจ้าแนะนำให้พวกเขายืนเรียงแถวชิดกำแพง ในขณะนั้นคาดว่าทุกคนยังไม่รู้ถึงภัยที่กำลังจะมาถึงตัว อเล็กซานดราตรัสว่า "ขอเก้าอี้หน่อยได้ไหม" ซาร์นิโคลาสยังทรงอุ้มอเล็กเซย์อยู่ที่สะเอว ข้าพเจ้าสั่งให้นำเก้าอี้เข้ามา ๒ ตัว สำหรับอเล็กซานดราและอเล็กเซย์ คนที่เหลือรวมทั้งหมอบอตกิน พ่อครัว นางสนม ยืนอยู่ด้านหลัง เมื่อทุกอย่างเข้าที่ข้าพเจ้าจึงสั่งให้ตำรวจเข้ามา ทันใดนั้นซาร์นิโคลาสก็ปรี่เข้าขวางหน้าพระโอรส ข้าพเจ้าประกาศก้องว่า มีคนทั้งในและนอกประเทศพยายามที่จะลักพาตัวราชวงศ์โรมานอฟ เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้สภาโซเวียตลงมติให้ประหารชีวิตพวกท่านเสีย ซาร์ทรงทำหน้าตื่น และทรงอุทานว่า "อะไรกัน?" แล้วหันพระพักตร์ไปหาอเล็กเซย์ ในนาทีนั้น ข้าพเจ้าก็ลั่นไกที่พระองค์ในระยะเกือบเผาขน โดยที่พระองค์ไม่มีเวลาแม้แต่จะหันพระพักตร์มาเอาคำตอบจากข้าพเจ้า"(๒)
สภาพ ห้องใต้ดินขนาด ๒๒๐ ลูกบาศก์ฟุตในเวลานั้น เต็มไปด้วยความสับสน เนื่องจากแออัดอยู่ด้วยคนเกือบ ๓๐ ชีวิต และเสียงปืนดังหูดับตับไหม้พร้อมๆ กันของเพชฌฆาต ๑๒ นาย ผู้กราดกระสุนกว่า ๕๐ นัด ห้องสังหารเล็กเกินไปกว่าที่จะคาดคะเนว่าใครยิงใคร หมอกควันปืนหนาทึบตลบอบอวลไปทั่ว พร้อมกับเสียงกรีดร้องจนฟังไม่ได้ศัพท์
ราย ละเอียดทางวิทยาศาสตร์เผยว่า หมอกควันจากปืนกว่า ๑๐ กระบอก ทำให้ห้องเล็กๆ ที่มีหลอดไฟติดสว่างอยู่ดวงเดียว บดบังวิสัยทัศน์ของร่างผู้เคราะห์ร้ายจนหมดสิ้น แถมการที่อากาศมีน้อยก็ทำให้หายใจลำบาก แม้แต่ตำรวจเองก็แทบจะทนไม่ไหว ตำรวจ ๓-๔ คน ถึงกับผละออกมาเพราะขาดอากาศหายใจ ๒ คนทำท่าจะสำรอก จากการพิสูจน์รอยกระสุนบนกำแพง ทำให้เชื่อได้ว่า วิถีกระสุนส่วนใหญ่ยิงออกไปในแนวต่ำ บริเวณท่อนล่างของลำตัวคน เพราะสามารถมองเห็นได้มากกว่าท่อนบนซึ่งกลบอยู่ด้วยควันปืน และปืนส่วนใหญ่เล็งไปที่เป้าซึ่งเคลื่อนไหวเท่านั้น
ความฉุกละหุกและรีบ ร้อนทำให้สภาพศพไม่ได้รับการชันสูตรแต่อย่างใด ร่างทั้งหมดถูกลากออกไปยังรถบรรทุกที่จอดติดเครื่องรออยู่ และถูกจับโยนขึ้นไปอย่างไม่ปรานีปราศรัย โดยต้องการทำเวลาไม่ให้เกิดผิดสังเกตบนท้องถนนอันเป็นที่สาธารณะ
แนวคิด ตามหลักวิทยาศาสตร์ทำให้เชื่อต่อไปอีกว่า ควันปืนที่กลบอยู่ทั่วห้องทำให้ยากต่อการมองเป้า ตลอดจนจำนวนผู้เคราะห์ร้ายที่เบียดเสียดกันอยู่ และเครื่องกีดขวางที่หลายคนถือหรือสวมติดตัวอยู่ เช่น หมอนและอัญมณีจำนวนมากที่พรางไว้ใต้เสื้อผ้า มีส่วนทำให้กระสุนพลาดเป้าและบาดแผลไม่ฉกรรจ์นัก บางคนอาจหมดสติไปในตอนแรกเพราะตกใจสุดขีด เหตุผลนี้ทำให้เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้ที่ "บางคน" อาจจะยังไม่เสียชีวิตทันที รายงานของนายยูรอฟสกีเองก็ยังสับสน ที่ว่าเมื่อร่างทั้งหมดกองอยู่บนรถแล้ว ร่างของผู้หนึ่ง (ไม่แน่ชัดว่าใคร-ผู้เขียน) ทำท่าเหมือนกับเงยศีรษะขึ้น
รถบรรทุกเล็กยี่ ห้อเฟียต (Fiat) ขับขี่โดยตำรวจชื่อลูคานอฟ (Lyukhanov) นั่งติดคนขับมีตำรวจ ๓ นาย คือ ยูรอฟสกี (Yurovsky) เอมากอฟ (Ermakov) และวากานอฟ (Vaganov) เป็นการยากที่จะคาดเดาว่า มีอะไรเกิดขึ้นด้านหลังรถท่ามกลางคืนเดือนมืดสนิท รถเคลื่อนย้ายร่างผู้เคราะห์ร้ายจากบ้านอิมปาติฟทันทีที่การสังหารยุติลง ประมาณเวลา ๒ ยามเศษ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๑๘ ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมงครึ่ง รถจึงมาถึงเหมืองร้างนอกเมืองที่กำหนดไว้ ที่นั่นตำรวจทั้ง ๓ คน นำร่างทั้งหมดวางลงบนเลื่อนเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังหลุมลึกใกล้ๆ นั้น จากนั้นจึงเปลื้องเสื้อผ้าของทุกคนออกเพื่อเผาทำลายหลักฐาน ณ จุดนั้น ตำรวจพบเครื่องเพชรจำนวนมากซุกซ่อนอยู่ใต้เสื้อผ้า โดยเฉพาะของซารีนาและพระราชธิดาทุกพระองค์ หลังจากนั้นตำรวจจึงโยนร่างผู้เสียชีวิตลงในหลุมมืดเมื่อใกล้สาง มีคำยืนยันจากยูรอฟสกีอีกว่า ร่างทั้งหมด ๑๑ ร่างของผู้เคราะห์ร้ายที่อยู่บนรถตอนแรก แต่มีเพียง ๙ ร่างที่ถูกโยนลงในหลุม หมายความว่ามีจำนวน ๒ ร่างที่อันตรธานหายไประหว่างการเดินทาง! หนึ่งในจำนวนร่างที่หายไปมีมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์(๒)
การหลบหนีความ ตายของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์
หนังสือประวัติศาสตร์รัสเซียหลายเล่มบรรยาย เป็นเสียงเดียวกันว่า ประชาชนในระยะนั้นเริ่มหูตาสว่างจากความเชื่ออย่างงมงายว่า พระเจ้าซาร์เป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า แต่สิ่งที่ปรากฏกลับเป็นความพังพินาศของชาติ และการบริหารประเทศที่ผิดพลาดของพระเจ้าซาร์ โดยเฉพาะการที่พระเจ้าซาร์นำชาวรัสเซียนับล้านคนไปตายที่แนวหน้า
กอง กำลังเฉพาะกาลของรัฐบาลปฏิวัติ ซึ่งโดยมากเป็นลูกชาวนาจากชนบทที่ดูหมิ่นเหยียดหยามราชวงศ์ ครอบครัวของพระเจ้าซาร์จึงได้รับการปฏิบัติอย่างชิงชังในขณะถูกคุมขัง ล้วนเป็นคำให้การที่เย็นชาในสายตาของคนภายนอกทั่วไป แต่สำหรับคนวงในแล้ว เคยมีคนพบลำแสงแห่งความปรานีอยู่บ้าง ในด้านมืดของประวัติศาสตร์ วาสิลี ฟิลาตอฟ เล่าว่า ในจำนวนตำรวจเชกาที่รักษาการณ์อยู่ภายนอกบ้านอิมปาติฟ มีพี่น้อง ๒ คน สกุลสเตรโคติน (Strekotin) ชื่ออเล็กซานเดอร์ (Alexander) และอันเดร (Andrei) ที่มักจะแสดงเมตตาจิตต่อครอบครัวของเขาอยู่เสมอ หลักฐานจากบันทึกของอันเดรที่เปิดเผยในปี ค.ศ. ๑๙๒๘ ยืนยันความเป็นมิตรของ ๒ พี่น้องต่อครอบครัวโรมานอฟ แม้มันจะเป็นเพียงแค่ความทรงจำ "ซาร์มักจะกอดรัดพระโอรสด้วยความเอ็นดู และมักจะอุ้มพระองค์ไปรอบๆ บ้าน หรือมิฉะนั้นก็จะวางอเล็กเซย์บนรถเข็นหญ้า เพื่อเข็นพระโอรสไปเก็บก้อนกรวดเล่นทุกวัน ฯลฯ ส่วนพระธิดาองค์โตที่ชื่อออลกานั้นเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว และไม่ค่อยสุงสิงกับพระสุนิสาองค์อื่นๆ โดยจะใช้เวลาเล่นกับพระอนุชาองค์เล็กมากกว่า"
จากบันทึกของยูรอฟสกี พี่น้องสเตรโคตินเป็นผู้รับคำสั่งให้ยกร่างผู้เคราะห์ร้ายขึ้นบนรถ ทำให้สันนิษฐานว่า เขาทั้งสองอาจจะสังเกตเห็นว่ามกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ทรงยังมีชีวิตอยู่ในขณะ นั้น
รายงานของยูรอฟสกีให้รายละเอียดปลีกย่อยระหว่างการเดินทางที่ดู ผิวเผินไม่น่าสนใจในตอนแรก แต่ในภายหลังมันสามารถชี้เบาะแสช่องทางการหลบหนีของผู้รอดชีวิตได้ กล่าวคือ การที่หนทางไปเหมืองร้างเต็มไปด้วยหลุมบ่อขนาดใหญ่ เนื่องจากฝนตกหนักทำให้รถติดหล่ม ๒-๓ ครั้ง เป็นเหตุให้ตำรวจต้องจอดรถเพื่อขนย้ายสัมภาระคือร่างผู้เคราะห์ร้ายลง ช่วยให้น้ำหนักรถเบาขึ้น จะได้เข็นรถขึ้นจากหล่มได้ ในระหว่างการขนย้ายอย่างไม่เป็นทางการนี้เอง ที่ผู้บาดเจ็บสามารถเล็ดลอดออกไปได้ โดยที่ไม่มีใครสังเกต จึงสันนิษฐานว่ามกุฎราชกุมารอเล็กเซย์อาจเป็นผู้หนึ่งที่กลิ้งตัวเข้าไปซ่อน อยู่ข้างทาง และกระเสือกกระสนเอาตัวรอดไปจนถึงสถานีรถไฟชาร์ทาช (Shartash Station) เพื่อขอความช่วยเหลือ
หลักการนี้ดูน่าเชื่อถือที่สุด ตรงกับรายละเอียดของวาสิลีซึ่งเขาเคยเปิดเผยมันกับครอบครัวของเขาในเดือน กันยายน ๑๙๘๔ ข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมอีกมีอยู่ว่า ระหว่างขนย้ายผู้เคราะห์ร้ายไปยังเหมืองร้าง มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ซึ่งหมดสติอยู่หลังรถพลันตื่นขึ้นจากเม็ดฝนที่โปรยลง บนใบหน้า ท่ามกลางร่างของพ่อแม่พี่น้องที่แน่นิ่งอยู่รอบข้าง เขาสลัดตัวออกจากรถบรรทุก แล้วคลานเข้าไปซ่อนตัวอยู่ใต้สะพานเล็กๆ เมื่อท้องฟ้าสว่างขึ้นเขาก็คลานต่อไปตามทางรถไฟจนกระทั่งถึงสถานีรถไฟชาร์ทา ช พี่น้องตระกูลสเตรโคตินซึ่งรับคำสั่งให้ออกติดตามผู้สูญหายพบเขาอีกครั้งที่ นั่น จึงได้นำมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์หลบหนีและไปฝากไว้กับครอบครัวฟิลาตอฟ ที่พวกเขารู้จักในเมืองชาดริงค์ (Shadrinsk) ซึ่งอยู่ถัดออกไป "อเล็กเซย์ โรมานอฟ" ได้รับการเยียวยาจนมีอาการดีขึ้น และได้หลบซ่อนตัวอยู่ที่นั่นต่อมา หัวหน้าครอบครัวผู้มีนามว่าคเซโนฟอนต์ ฟิลาตอฟ (Ksenofont Filatov) เคยมีบุตรชายคนหนึ่งแต่ได้เสียชีวิตไปด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์จึงได้สวมรอยเด็กคนนั้นอย่างปลอดภัย และได้รับการอุปการะโดยครอบครัวนี้เรื่อยมา(๒)
คำชี้แจงของผู้สันทัด กรณี
รายละเอียด ๘๐% ที่ใช้ประกอบการเขียนเรื่องนี้รวบรวมขึ้นจากข้อมูลที่ค้นคว้ามาได้จาก หนังสือชื่อ The Escape of Alexei-Son of Tsar Nicholas II เขียนโดยนักค้นคว้าประวัติศาสตร์ชาวรัสเซีย ๓ ท่าน คือ วาดิม เปตรอฟ (Vadim Petrov) อีกอร์ ลีเซนโก (Igor Lysenko) และจอร์จี อีโกรอฟ (Georgy Egorov) โดยได้รับความร่วมมือจากบุตรชายคนโตของวาสิลี คือ โอเล็ก ฟิลาตอฟ (Oleg Filatov) อันเป็นการรวบรวมหลักฐานครั้งใหญ่ที่สุด ซึ่งพิสูจน์ได้ของครอบครัวฟิลาตอฟ เกี่ยวกับราชวงศ์โรมานอฟ และความเชื่อว่าหัวหน้าครอบครัวของพวกเขาคือมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ โรมานอฟ ผู้สาบสูญ(๒)
ผู้เขียนเรียบเรียงเหตุการณ์ขึ้นใหม่ เพื่อความเหมาะสมกับการตีพิมพ์เป็นบทความที่สามารถจบในเรื่อง ในความเป็นจริงหนังสือที่ใช้อ้างอิงนี้ยังให้ข้อมูลอีกมากด้วยความหนาถึง ๒๔๐ หน้ากระดาษ A4 พรั่งพร้อมด้วยภาพถ่ายนับร้อยรูป ที่สนับสนุนหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในแง่มุมต่างๆ ผู้เขียนทึ่งในวิริยะอุตสาหะของนักค้นคว้ากลุ่มนี้ อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อพิสูจน์ว่าได้มีการค้นพบ "ทฤษฎีหนึ่ง" ที่อธิบายว่ามกุฎราชกุมารอเล็กเซย์มิได้สูญหายไปจากโลกนี้
ความร้อนแรง ของอุณหภูมิในระยะนั้น จนเป็นเหตุให้ครอบครัวฟิลาตอฟ "ของขึ้น" มีที่มาจากการที่รัฐบาลรัสเซียตัดสินใจให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การสิ้นสุดของราชบัลลังก์รัสเซียระหว่างช่วงทศวรรษ ๑๙๘๐ ประจวบกับการที่วาสิลี ฟิลาตอฟ ถึงแก่กรรมลงในปี ค.ศ. ๑๙๘๘ ทายาทของเขาจึงลุกขึ้นมาเปิดปากพูดเพื่อศักดิ์ศรีของบิดา และเพื่อมนุษยธรรมสำหรับราชวงศ์โรมานอฟ ตรงนี้คือจุดยืนที่น่ายกย่อง การค้นพบฐานข้อมูลใหม่นี้ เป็นบททดสอบของการแสดงอิสรภาพทางความคิด ในยุคที่โลกสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข่าวสารข้อมูลต่างๆ ที่เคยถูกปกปิดไว้ในมุมมืดของกาลเวลา
สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือ"ผลสรุป" ทางนิติวิทยาศาสตร์ ภายหลังการทดสอบของผู้เชี่ยวชาญชาวฟินแลนด์และรัสเซีย โดยการตรวจดีเอ็นเอจากเลือดของบุตรและธิดาของวาสิลี ฟิลาตอฟ ในปี ค.ศ. ๑๙๙๖ แสดงผลว่าพวกเขาเป็นผู้สืบสายโลหิตมาจากราชวงศ์โรมานอฟจริง แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นและเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง คือการที่ครอบครัวฟิลาตอฟร้องขอความเป็นธรรมไปยังศาลโลก ณ กรุงเฮกให้เข้าแทรกแซงในขั้นตอนการพิสูจน์ ในที่สุดรัฐบาลรัสเซียจึงอนุญาตในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ให้มีการตรวจดีเอ็นเอจากชิ้นส่วนอวัยวะของนายวาสิลี ฟิลาตอฟ ผู้วายชนม์ จากกระดูก เส้นผม ฟัน และเล็บ ตามระบบนิติเวชวิทยา รวมถึงการคำนวณส่วนประกอบของใบหน้า ตามอายุขัยในวัยต่างๆ ด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผลปรากฏว่า วาสิลี ฟิลาตอฟ คือบุคคลเดียวกันกับมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ โรมานอฟ(๒)
ปริศนาที่เป็น เรื่องเล่าอย่างสม่ำเสมอในครอบครัวฟิลาตอฟ คือการที่วาสิลีเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน แต่ความสามารถพิเศษที่ติดตัวเขามาไม่สามารถปิดบังไว้ได้นาน เช่น ความจัดเจนในการพูดภาษาเยอรมัน กรีก ลโลวานิก ละติน อังกฤษ และฝรั่งเศส อย่างคล่องแคล่ว มีความรู้ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พงศาวดารรัสเซีย และการเมืองในยุโรปอย่างกว้างขวาง ดีกว่าคนรัสเซียชนบททั่วไป ตลอดจนความช่ำชองในการเล่นเปียโน และความรอบรู้เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิคของสังคมชั้นสูง สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่ได้ใกล้ชิดเขาจนตลอดชีวิต เขารู้เรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร?
http://pushkin.exteen.com/20060313/entry
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ