RedCyberClub Forum
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก

Go down

ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก Empty ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Mar 10, 2010 7:12 am

ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก 55300016
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยหนึ่งในคุณค่ามรดกโลกของไทย

กรณีการยื่นเสนอเป็นมรดกโลกของ 'ปราสาทเขาพระวิหาร' อันลื่อลั่นสะท้านเขตแดน ไทย-กัมพูชา นั้น แม้จะมีปัญหาดั่งไฟสุมขอนอันร้อนระอุอยู่ก็ตาม แต่หากตัดเรื่องปราสาทเขาพระวิหารออกไปแล้ว จะพบว่าในบ้านเรา ยังมีสถานที่ที่รอยื่นขอเป็นมรดกโลกอีกมากมายหลายแห่ง ทำให้เกิดคำถามคาใจคาใจอยู่ว่า การเป็น 'มรดกโลก' ดีเด่นอย่างไรกัน ใครต่อใครจึงแสวงหากันนัก

ด่านหิน พิชิตมรดกโลก

ก่อนอื่นมารู้จักหน่วยงานที่ให้ค่ามรดกโลกกันเสียหน่อย องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเล็งเห็นว่า สันติภาพที่เกิดจากการตกลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แท้จริงและยืนนาน จากประเทศชาติต่างๆ ในโลก สันติภาพจะต้องวางรากฐานอยู่บนความร่วมมือทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของมนุษยชาติ
ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก 55300010
อยุธยามรดกโลกที่มีปัญหามากแห่งหนึ่งของไทย

จึงเป็นที่มาของมรดกโลก ความหมายของ มรดกโลก (World Heritage) คือ สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต

ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่ ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน

บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก 55300011
หม้อไห ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในบ้านเชียง

เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดีและสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก

ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

ตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก

คณะกรรมการมรดกโลกจะมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งในแต่ละปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการจัดการเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกที่ยังคงอยู่ และรับรายชื่อสถานที่ที่ประเทศต่างๆเสนอให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะมีการประชุมครั้งหนึ่งที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ
ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก 55300012
เขาใหญ่มรดกโลกทางธรรมชาติ 1 ใน 2 ของไทย

ยาวเหยียด รอคิวขึ้นแท่น

ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานที่ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก 5แห่ง แบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3แห่ง คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร)มรดกโลกปีพ.ศ.2537 ,อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร มรดกโลกปี พ.ศ.2534 ,แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี มรดกโลกปีพ.ศ.2535 และมีมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง คือที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง มรดกโลกปีพ.ศ.2534 และผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ มรดกโลกปีพ.ศ.2548

นอกจากนี้ยังมี ว่าที่มรดกโลกแห่งใหม่อีก 2 แห่ง ที่อยู่ในระหว่างการเสนอชื่อรอบสุดท้ายรอการเข้าสู่การขึ้นบัญชีประกาศเป็น มรดกโลก ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี และเส้นทางสายราชมรรคคา เส้นทางที่เชื่อมทางวัฒนธรรมปราสาทหินพิมาย เชื่อมปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และกลุ่มปราสาทตาเมือน อีกทั้งยังมี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ที่เตรียมเป็นตัวเต็งอยู่ในอันดับต้นๆที่เรามีสิทธิ์ลุ้นขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

แต่ดูเหมือนว่ามรดกโลก5แห่ง และว่าที่อีก 2 แห่ง จะน้อยไปสำหรับเมืองไทย ด้วยเหตุนี้ทางกระทรวงวัฒนธรรมจึงมอบหมายให้สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ดำเนินการรวบรวมข้อมูลของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังเตรียมเสนอเข้าสู่ บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของยูเนสโก (Tentative list) เพื่อนำเสนอเป็นมรดกโลกแหล่งใหม่ของไทย มีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่
ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก 55300013
อนุสาวรีย์ สืบ นาคะเสถียร สัญลักษณ์สำคัญแห่งมรดกโลกห้วยขาแข้ง

1.เส้นทางวัฒนธรรมศรีวิชัยไชยา - นครศรีธรรมราช – สทิงพระ – ยะรัง และ เคดาห์ ประเทศมาเลเซีย 2. แหล่งวัฒนธรรมล้านนา( ความสัมพันธ์พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.น่าน และจ.ลำพูน)3. แหล่งโบราณคดีเมืองเก่าเชียงแสนและสุวรรณโคมคำ จ.เชียงราย และเมืองบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา 5. กลุ่มสถาปัตยกรรมของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ 6. พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช 7. องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เพื่อนำสู่ที่ประชุมอนุกรรมการมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อพิจารณาเห็นชอบในหลักการ และคุณสมบัติของการเสนอเป็นมรดกโลก ก่อนที่จะเสนอให้คณะอนุกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกด้าน วัฒนธรรมพิจารณาเข้าที่ประชุมยูเนสโกต่อไป

ไม่เพียงเท่านั้นที่ประชุมยังได้มีการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม อีก 2 แห่ง ได้แก่ แหล่งภาพเขียนสี ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี และ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งทางจังหวัดได้ขอเสนอเข้าสู่ศูนย์มรดกโลกเพื่อพิจารณาก่อนเข้าบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative list) ที่จะเสนอเข้าสู่การเป็นมรดกโลก ซึ่งสถานที่เหล่ายังไม่นับรวบบัญชีรายชื่อเบื้องต้นเดิมที่มีอยู่แล้วอีกหลาย10 แห่ง
ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก 55300014
ภูพระบาท ว่าที่มรดกโลก เมืองอุดร

สโรช รัตนมาศ วัฒนธรรมจ.น่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่พยายามผลักดันให้น่านได้รับการเสนอเป็นมรดกโลก กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า สำหรับเมืองน่านเอง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน ยังมีอีกหลายส่วนที่ยังไม่เรียบร้อย ข้อมูลด้านวิชาการก็ยังไม่สมบูรณ์ ยังต้องมีการทำประชาพิจารณ์กับประชาชนคนน่าน ถึงความเข้าใจในการเป็นมรดกโลกด้วย

แต่แม้เรื่องการเป็นมรดกโลกจะยังอีกยาวไกลทางจังหวัดน่านก็ไม่ย่อท้อ โดยขณะนี้ได้ส่งเรื่องรูปแบบอาคารสถาปัตยกรรมบริเวณหัวแหวนเมืองน่าน เข้าชิงรางวัลอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จากองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นรางวัลเดียวกับที่ตลาดสามชุก จ.สุพรรณบุรีได้รับเมื่อปีที่แล้ว

“โดยรางวัลนี้มีขั้นตอนในการพิจารณาไม่ยุ่งยากเท่าเมืองมรดกโลก เราจึงมีความหวังสูง ซึ่งการเสนอแบบนี้หากได้รับการพิจารณาได้รับรางวัล ก็จะทำให้ง่ายต่อการยื่นเสนอขอเป็นเมืองมรดกโลกมากยิ่งขึ้น” สโรช วัฒนธรรมจ.น่านกล่าว

และเมื่อถามว่าเป็นเมืองมรดกโลกดีกว่าเมืองที่ไม่ได้เป็นอย่างไร สโรช ชี้แจงให้ฟังว่า การเป็นมรดกโลกมีข้อดีคือเรื่องบประมาณในการควบคุมดูแลแหล่งมรดกโลกที่จะมีงบบำรุงทุกปี ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่มากยิ่งขึ้น มรดกโลกจึงเป็นเพียงเป้าหมาย ให้ทุกคนเห็นความสำคัญของสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้ เป็นกุศโลบายประการหนึ่งเท่านั้น

อันดามัน มรดกโลกทางทะเลแห่งแรกของไทย

เช่นเดียวกันความเห็นของ ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) หนึ่งในผู้มีส่วนผลักดันทะเลอันดามันสู่มรดกโลก ที่กล่าวถึงผลดีของการเป็นมรดกโลกให้ฟังว่า

“เราสามารถใช้มรดกโลกเป็นเครื่องมือให้ภาครัฐหันมาสนใจเรื่องการอนุรักษ์ได้ ทั้งยังเป็นโอกาสดีที่จะเก็บสิ่งสวยงามไว้ให้อยู่กับเราได้นานที่สุด เมื่อเป็นมรดกโลกรัฐจะไม่ทำโครงการที่มีผลกระทบต่อมรดกโลกเพราะมีอนุสัญญาว่าด้วยป้องกันมรดกโลกคุ้มครองอยู่ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อประมงพื้นบ้าน”

ดร.ศักดิ์อนันต์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ดีการเป็นมรดกโลกก็ยังมีข้อเสียเช่นกัน เช่นเมื่อเป็นแล้วขาดการจัดการที่ดี เน้นแต่ขายเรื่องท่องเที่ยวจนทรุดโทรม ในจุดนี้จากการลงสำรวจพื้นที่กับชาวบ้านเราพบว่าพวกเขายังเป็นกังวลอยู่บ้างเหมือนกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องไปพูดคุยว่าการเป็นมรดกโลกสร้างอะไรแก่พวกเขา ภาครัฐต้องทำแผนประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้คนในชาติสนใจเรื่องมรดกโลกโลกด้วย
ทำไม...ใครๆก็อยากเป็น'มรดกโลก 55300015
ปราสาทเมืองต่ำ หนึ่งในเส้นทางสายราชมรรคคา ว่าที่มรดกโลกแห่งใหม่

“ในส่วนของอันดามันเอง ตอนนี้เราก็เป็นหนึ่งในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เช่นกัน ซึ่งเชื่อมั่นว่าทะเลบ้านเราโดดเด่นในระดับสากล พวกเรามีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องขั้นตอนขณะนี้อยู่ในระหว่างการทำแผนการจัดการพื้นที่จะครอบคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 18 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี หมู่เกาะพยาม แหลมสน เขาหลัก-รำลู่ เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อ่าวพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน สิรินาถ หาดเจ้าไหม หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะลันตา เกาะเภตรา ทะเลบัน ตะรุเตา ธารโบกขรณี หมู่เกาะระ-เกาะพระทอง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง รวมทั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งในฝั่งอันดามัน ที่จะเสนอเป็นมรดกโลกร่วมกัน”

ดร.ศักดิ์อนันต์ อธิบายต่อว่า จากนั้นก็จะส่งข้อมูลให้กรมอุทยานของไทย แล้วจึงทำการจะส่งให้กรรมการมรดกโลกไทย ซึ่งไม่แน่ใจว่าเรื่องจะต้องถูกส่งเข้าสู่สภาด้วยหรือเปล่า เพราะตอนนี้ขั้นตอนการเป็นมรดกโลกยุ่งยากกว่าเดิม แต่กระบวนต่างๆทางคณะทำงานจะต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายนปี 53แน่นอน

“เราใช้หลักยุทธศาสตร์อันดามันในการดำเนินงาน อย่างจุดไหนที่มีปัญหาเช่น หลีเป๊ะ ก็ตัดออก ที่ซึ่งมีเอกชนรุกที่บนหาดเจ้าไหมเราก็ตัดออก เหลือแต่ส่วนของทะเลเพราะมีพะยูน ต้องเข้าใจว่าการเสนอครั้งนี้พื้นที่ทางทะเลไม่ได้ติดต่อกัน แต่เราอาศัยการผูกเรื่องด้วยความเป็นอันดามันให้เป็นเรื่องเดียวกันแต่กว่าจะทราบผลส่งถึงยูเนสโกว่าเราจะได้เป็นมรดกโลกทางทะเลแห่งแรกของไทยหรือไม่ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี”ดร.ศักดิ์อนันต์กล่าวทิ้งท้าย

อย่างไรก็ตามจากการขอเป็นมรดกโลกเพิ่มในหลายพื้นที่นั้น คงไม่สำคัญเท่ากับการปลูกฝังให้คงในชาติรู้จักรักและหวงแหนสมบัติของชาติตน รวมถึงพยายามดูแลรักษาแหล่งมรดกโลกเดิมไว้ให้ดีที่สุด เพราะปัจจุบันมรดกโลกบางแห่งในเมืองไทยเริ่มถูกวิจารณ์ว่า ไม่ได้รับการดูแล การดำเนินการ และการจัดการ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร ส่งผลให้มีสภาพเสื่อมโทรม ไม่น่าดู จนอาจจะนำไปสู่การถอดถอนในอนาคตได้ถ้ายังปล่อยทิ้งไว้อย่างนี้
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ