พฤษภาทมิฬ 2535
หน้า 1 จาก 1
พฤษภาทมิฬ 2535
พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหารรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับ ประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ชนวนเหตุ
เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอำนาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่
หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จำนวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการรวมตัวกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ คือ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎร[1] และมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเมื่อได้รับพระราชทานแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ก็เกิดความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้, ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย, ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ถูกประกาศใช้
พรรคเทพ พรรคมาร
พรรคเทพ พรรคมาร เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มพรรคการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน พรรคที่ถูกเรียกว่า พรรคเทพ คือพรรคที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และได้ประกาศต่อสาธารณะมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยที่กระแส “นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง” เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมืองคือ พรรคความหวังใหม่ (72 เสียง) พรรคประชาธิปัตย์ (44 เสียง) พรรคพลังธรรม (41 เสียง) และพรรคเอกภาพ (6 เสียง)
ในขณะที่ พรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร ประกอบด้วยพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ พรรคสามัคคีธรรม (79 เสียง) พรรคชาติไทย (74 เสียง) พรรคกิจสังคม (31 เสียง) พรรคประชากรไทย (7 เสียง) และพรรคราษฎร (4 เสียง) ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และทั้ง 5 พรรคนี้ต่างเคยตอบรับมาก่อน แต่ในที่สุดกลับหันมาสนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร และเห็นว่าเป็นการพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร (รสช.)
การ ต่อต้านของประชาชน
พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตนและสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง ใด ๆ แต่ภายหลังได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้. เหตุการณ์นี้ จึงได้เป็นที่มาของประโยคที่ว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” และเป็นหนึ่งในชนวนให้ฝ่ายที่คัดค้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำการเคลื่อนไหวอีก ด้วย
การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา ดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร.ต. ฉลาด วรฉัตร และ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นเลขาธิการ ตามมาด้วยการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเอกภาพ พรรคความหวังใหม่และพรรคพลังธรรม โดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารใน บริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ
กระทั่งในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยัง หน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จากนั้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 18 พฤษภาคม รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและให้ทหารทำหน้าที่รักษา ความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลาย การชุมนุมในเข้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน
ก่อนเที่ยงวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารได้ควบคุมตัว พล.ต. จำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่อง ยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่าง ๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีกเจ็ดคน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล น.พ. เหวง โตจิราการ น.พ. สันต์ หัตถีรัตน์ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ น.ส. จิตราวดี วรฉัตร และนายวีระ มุสิกพงศ์ และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุดและ เริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนิน
19 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้ พล.อ. สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ย้ำว่าสถานการณ์เริ่มกลับสู่ความสงบและไม่ให้ประชาชนเข้าร่วม ชุมนุมอีก แต่ยังปรากฏการรวมตัวของประชาชนใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคืนวันเดียวกัน และมีการเริ่มก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มจักรยานยนต์หลาย พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เช่นการทุบทำลายป้อมจราจรและสัญญาณไฟจราจร
วันเดียวกันนั้นเริ่มมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจาก ตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ขณะที่สื่อของรัฐบาลยังคงรายงานว่าไม่มีการสูญเสียชีวิตของประชาชน แต่สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานภาพของการสลายการชุมนุมและการทำร้ายผู้ ชุมนุม หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบางฉบับเริ่มตีพิมพ์ภาพการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการตรวจและควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชน เอกชนในประเทศ
แผนไพรีพินาศ
แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น
ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ
2. ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ
3. ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม
4. ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
กระแสพระราชดำรัส
หลักจากเหตุโศกนาฏกรรมได้ผ่านไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึง ได้เชิญพลเอก สุจินดา และ พลตรี จำลอง ให้เข้าเฝ้า และได้มีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
“…ประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน เข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า บ้าเลือด เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชน เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ถ้าสมมติว่า เฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง…”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หลังจากนั้นพลเอกสุจินดาก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์รองนายกรัฐมนตรี ให้รักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพลางไปก่อน
ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535
* 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – คณะ รสช.ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
* 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพย์ติดจากสหรัฐอเมริกา
* 7 เมษายน – พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
* 8 เมษายน – ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
* 17 เมษายน – มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
* 20 เมษายน – พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
* 4 พฤษภาคม – พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารและน้ำประท้วงวันแรก
* 6 พฤษภาคม – พล.อ.สุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกระทันหัน
* 8 พฤษภาคม – พล.อ.สุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
* 9 พฤษภาคม – นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไข รัฐธรรมนูญบางประการ และ พล.ต.จำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร แต่ต่อมาพรรคร่วมรัฐบาลได้ปฏิเสธการแก้ไขรัฐธรรมนูญในภายหลัง
* 11 พฤษภาคม – พล.ต.จำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 17 พฤษภาคม
* 17 พฤษภาคม – รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขนรถสุขาของกรุงเทพ ฯ มาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับทหาร ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
* 18 พฤษภาคม – ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาบ่าย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
* 19 พฤษภาคม – กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยราม คำแหง
* 20 พฤษภาคม – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
* 24 พฤษภาคม – พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตำแหน่ง
* 10 มิถุนายน – แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
* 13 กันยายน – มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ทหารเริ่มล้อมกรอบ
เผชิญหน้า
ฉีดน้ำไล่
เผาสถานที่ราชการ
จับประชาชน นอนบนถนน ตอนกลางวัน ความร้อน ทั้งอากาศและบนถนน
เข้าจับกุมจำลอง
เตรียมสลายการชุมนุม
กลุ่มประท้วงเริ่มเผายาง
วิธีการสลาย
จุดจบ ใครชนะ
แด่ ทุกดวงวิญาณที่จากไป
ตามหาศพ "พฤษภาทมิฬ" อย่าเป็นแค่ "ภาพลวง" ใน "ข้อเท็จจริง"
บ้านเมืองเราในขณะนี้เห็นแต่มีเรื่องแปลก น่าฉงน จุดประเด็นให้ค้นหาข้อเท็จจริงอยู่ตลอด เช่น อยู่ดีๆ ก็มีข่าวพบตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยกลางทะเล พร้อมกับการตั้งข้อสังเกตว่า มีศพของผู้สูญหายจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาทมิฬบรรจุอยู่ในนั้น แถมมีการพบหัวกะโหลกมนุษย์กลางทะเล สนับสนุนข้อสันนิษฐานต่างๆ นาๆ ที่เชื่อมโยงเป็นประเด็นการเมืองให้เกิดข้อกังขาในการปฏิบัติทางทหาร ตั้งแต่ในอดีต ที่กระทำต่อผู้ชุมนุม ราวกับว่ามีความบังเอิญในการเปิดประเด็นเพื่อให้สิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติ ศาสตร์สร้างน้ำหนักความเชื่อในปัจจุบัน อันเกิดกับการสลายการชุมนุมของทหารครั้งล่าสุด
แน่นอนว่า ข้อเท็จจริงก็คือข้อเท็จจริง แม้เวลาล่วงเลยมานานขนาดไหน หากมีการพิสูจน์ตรวจสอบทุกอย่างก็ต้องปรากฏ เช่นเดียวกับกระบวนการที่รัฐบาลโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับข้อร้องเรียนจากคณะกรรมการญาติวีรชน 35 ก็สั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ และแพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ดำเนินการตรวจสอบ โดยประสานกับหน่วยงานที่มีศักยภาพในการค้นหา เช่นกองทัพเรือ ร่วมดำเนินการตรวจพิสูจน์ทันทีเพื่อความสบายใจ และคลี่คลายข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องการอยู่แล้ว
หากถึงที่สุดพบว่า ในตู้คอนเทนเนอร์ไม่ได้มีศพของผู้สูญหายจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ แต่การเปิดประเด็นขึ้นมา อย่างน้อยก็กระตุกให้สังคมรับทราบว่ามีผู้สูญหายจากเหตุการณ์ครั้งนั้นกว่า 40 ศพ และยังหาไม่เจอ ตอกย้ำการปฏิบัติทางทหารในอดีตที่มีความรุนแรง มีทั้งผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหาย สร้างแรงสั่นสะเทือนและความสำคัญให้กับวาระครบรอบเหตุการณ์ครั้งนั้นที่จะมี ขึ้นในวันที่ 17 พ.ค.นี้ ที่เชื่อมั่นว่าจะเป็นวาระที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และกองทัพในขณะนี้ต้องมาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก
แต่หากมีการพบศพ และมีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ย่อมต้องมีการรื้อคดีดังกล่าวขึ้นมาใหม่ เพราะตัวละครที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นส่วนที่ยังเวียนว่ายตายเกิดในทุกส่วนของการเมืองปัจจุบัน อีกทั้งทหารที่เข้าทำการสลายการชุมนุมครั้งนั้นยังเป็นบุคคลสำคัญ และมีชื่อเสียงในปัจจุบัน ซึ่งจะสร้างแรงสั่นสะเทือนไปยังสถาบันอื่นๆ ที่สังกัดอยู่ด้วย ที่น่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญของการเปิดประเด็นในห้วงเวลานี้เพื่อนำไปสานต่อใน เวทีระดับโลก
เราไม่อาจปฏิเสธได้หากมีการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์ในเหตุการณ์ครั้งนั้นเสียชีวิต หรือทำให้สูญหาย โดยใช้วิธีการทำลายศพ ก็ต้องมีผู้รับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำ แม้เวลาจะล่วงเลยมานานมาก แต่ประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้นั่นคือข้อเท็จจริง และต้องชำระสะสางประวัติศาสตร์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมา ซึ่งเหล่านั้นเป็นภารกิจที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทำ ไม่ใช่สร้างประเด็นขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการเมือง และทำลายล้างคู่ขัดแย้งของตัวเอง โดยใช้ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการทิ่มแทงอริ
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นแค่เกมที่จุดพลุขึ้นมาอย่างตั้งใจ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่มีข้อมูลการสลายการชุมนุม หวังแค่สร้างจินตภาพในปัจจุบันให้คนเชื่อว่า ทหารฆ่าประชาชน มีการทำลายศพ นำศพไปทิ้ง พร้อมกับปล่อยข่าวลือทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่มีหลักฐาน หรือเบาะแสที่น่าเชื่อได้ว่ามีจริง ก็เท่ากับว่าคนคิดไม่ซื่อเหล่านั้นหวังแค่นำศพไปหากิน และสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างไม่หยุดหย่อน หวังแค่ชัยชนะในเกมการต่อสู้ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นวีรชนคนต่อสู้ที่เสียชีวิตจริงในการต่อสู้เรียกร้อง ประชาธิปไตย
แต่ที่น่าสมเพชเวทนากว่านั้น คือ การนำประวัติศาสตร์มามอมเมาให้คนบริสุทธิ์จริงใจในปัจจุบันที่ต่อสู้กับความ ไม่เป็นธรรม โดยคิดแค่เรื่องการเอาชนะกันในเกมการเมือง เพราะเอาเข้าจริง ปัญหาในประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 นั้นช่างแตกต่างจากปัจจุบัน ปัญหาในตอนนั้นจึงไม่ใช่ปัญหาในขณะนี้ ภาพลวงๆ ที่มีคนคิดจะสร้างขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการเมือง และหวังฉกฉวยความได้เปรียบจากการเปิดประเด็นเหล่านี้ จึงน่าจะถูกประณามเป็นสองเท่า เพราะแท้จริงแล้วไม่ได้ต้องการหาความจริงโดยบริสุทธิ์ใจ.
แน่นอนว่า ข้อเท็จจริงก็คือข้อเท็จจริง แม้เวลาล่วงเลยมานานขนาดไหน หากมีการพิสูจน์ตรวจสอบทุกอย่างก็ต้องปรากฏ เช่นเดียวกับกระบวนการที่รัฐบาลโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับข้อร้องเรียนจากคณะกรรมการญาติวีรชน 35 ก็สั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ และแพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ดำเนินการตรวจสอบ โดยประสานกับหน่วยงานที่มีศักยภาพในการค้นหา เช่นกองทัพเรือ ร่วมดำเนินการตรวจพิสูจน์ทันทีเพื่อความสบายใจ และคลี่คลายข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องการอยู่แล้ว
หากถึงที่สุดพบว่า ในตู้คอนเทนเนอร์ไม่ได้มีศพของผู้สูญหายจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ แต่การเปิดประเด็นขึ้นมา อย่างน้อยก็กระตุกให้สังคมรับทราบว่ามีผู้สูญหายจากเหตุการณ์ครั้งนั้นกว่า 40 ศพ และยังหาไม่เจอ ตอกย้ำการปฏิบัติทางทหารในอดีตที่มีความรุนแรง มีทั้งผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหาย สร้างแรงสั่นสะเทือนและความสำคัญให้กับวาระครบรอบเหตุการณ์ครั้งนั้นที่จะมี ขึ้นในวันที่ 17 พ.ค.นี้ ที่เชื่อมั่นว่าจะเป็นวาระที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และกองทัพในขณะนี้ต้องมาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก
แต่หากมีการพบศพ และมีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ย่อมต้องมีการรื้อคดีดังกล่าวขึ้นมาใหม่ เพราะตัวละครที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นส่วนที่ยังเวียนว่ายตายเกิดในทุกส่วนของการเมืองปัจจุบัน อีกทั้งทหารที่เข้าทำการสลายการชุมนุมครั้งนั้นยังเป็นบุคคลสำคัญ และมีชื่อเสียงในปัจจุบัน ซึ่งจะสร้างแรงสั่นสะเทือนไปยังสถาบันอื่นๆ ที่สังกัดอยู่ด้วย ที่น่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญของการเปิดประเด็นในห้วงเวลานี้เพื่อนำไปสานต่อใน เวทีระดับโลก
เราไม่อาจปฏิเสธได้หากมีการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์ในเหตุการณ์ครั้งนั้นเสียชีวิต หรือทำให้สูญหาย โดยใช้วิธีการทำลายศพ ก็ต้องมีผู้รับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำ แม้เวลาจะล่วงเลยมานานมาก แต่ประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้นั่นคือข้อเท็จจริง และต้องชำระสะสางประวัติศาสตร์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมา ซึ่งเหล่านั้นเป็นภารกิจที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทำ ไม่ใช่สร้างประเด็นขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการเมือง และทำลายล้างคู่ขัดแย้งของตัวเอง โดยใช้ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการทิ่มแทงอริ
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นแค่เกมที่จุดพลุขึ้นมาอย่างตั้งใจ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่มีข้อมูลการสลายการชุมนุม หวังแค่สร้างจินตภาพในปัจจุบันให้คนเชื่อว่า ทหารฆ่าประชาชน มีการทำลายศพ นำศพไปทิ้ง พร้อมกับปล่อยข่าวลือทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่มีหลักฐาน หรือเบาะแสที่น่าเชื่อได้ว่ามีจริง ก็เท่ากับว่าคนคิดไม่ซื่อเหล่านั้นหวังแค่นำศพไปหากิน และสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างไม่หยุดหย่อน หวังแค่ชัยชนะในเกมการต่อสู้ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นวีรชนคนต่อสู้ที่เสียชีวิตจริงในการต่อสู้เรียกร้อง ประชาธิปไตย
แต่ที่น่าสมเพชเวทนากว่านั้น คือ การนำประวัติศาสตร์มามอมเมาให้คนบริสุทธิ์จริงใจในปัจจุบันที่ต่อสู้กับความ ไม่เป็นธรรม โดยคิดแค่เรื่องการเอาชนะกันในเกมการเมือง เพราะเอาเข้าจริง ปัญหาในประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 นั้นช่างแตกต่างจากปัจจุบัน ปัญหาในตอนนั้นจึงไม่ใช่ปัญหาในขณะนี้ ภาพลวงๆ ที่มีคนคิดจะสร้างขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการเมือง และหวังฉกฉวยความได้เปรียบจากการเปิดประเด็นเหล่านี้ จึงน่าจะถูกประณามเป็นสองเท่า เพราะแท้จริงแล้วไม่ได้ต้องการหาความจริงโดยบริสุทธิ์ใจ.
ความอับจนทางประวัติศาสตร์ ของพฤษภาทมิฬ
มติชนรายวัน วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 26 ฉบับที่ 10660โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นจารีตที่เดือนพฤษภาคมจะมีการจัดงานรำลึกถึง เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในบางปีผู้เขียนก็แวะเวียนไปร่วมบ้าง ตามแต่โอกาสจะอำนวยในฐานะของคนธรรมดาๆ คนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นผู้นำหรือมีบทบาทอะไรกับทิศทางของการเคลื่อนไหว
ในแต่ละปีที่ผ่านมาไม่สู้จะมีความแตกต่างใน เนื้อหาของงานมากนัก นอกจากกิจกรรมเพื่อการรำลึกถึงตัวเหตุการณ์แล้ว ก็อาจมีการอภิปรายทางการเมืองซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นทางการเมืองที่ร้อนใน ขณะนั้น ผู้ที่มาเข้าร่วมส่วนหนึ่งก็เป็นคนที่ถูกจัดว่า เป็น "ฝ่ายก้าวหน้า" ทั้งหลาย โดยเป้าหมายรวมของการจัดงานก็คือ การให้คุณค่า หรือความสำคัญกับการเคลื่อนไหวในคราวเดือนพฤษภาคมเมื่อปี 2535
แม้ว่าในปีนี้มีการจัดขึ้นเหมือนกับที่เคยเป็น มา แต่คงมีประเด็นที่ต้องขบคิดอย่างมาก โดยคำถามก็คือว่า จะอธิบายถึงสถานะของเหตุการณ์เดือนพฤษภา ในบริบทของการเมืองไทยปัจจุบันเช่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน
หากลองย้อนมองกลับไป การเคลื่อนไหวในเหตุการณ์เดือนพฤษภาเป็นกระบวนการทางการเมืองของสังคมไทย ที่มีเป้าหมายสำคัญคือ การขับไล่ทหารให้ออกไปจากการเมืองไทย พร้อมกับการสถาปนาอำนาจของระบบรัฐสภา ให้ขึ้นมาอยู่เหนือระบบราชการ
ประเด็นข้อเรียกร้องต่างๆ ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากพฤษภาทมิฬที่นำมาสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง, ประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นประธานรัฐสภา, การลดอำนาจวุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ล้วนแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายในการเคลื่อนไหวครั้งนั้น
การปฏิเสธอำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตยเป็น ประเด็นสำคัญของการเคลื่อนไหว ข้อเรียกร้องดังกล่าวมาจากการมองและอธิบายการเมืองไทยว่าปัญหาสำคัญประการ หนึ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยไทย ล้มลุกคลุกคลานมาอย่างต่อเนื่อง ก็ด้วยการแทรกแซงและการครอบงำของบรรดาขุนนางในระบบการเมืองไทย
แม้ว่าในห้วงระยะเวลานับตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา การเมืองไทยจะมิได้เผชิญกับเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ เฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นในยุคทหารเรืองอำนาจหลังทศวรรษ 2500 แต่บรรดาขุนนาง โดยเฉพาะทหารก็ยังคงมีอำนาจ กำกับความเป็นไปของการเมืองไทยในระดับสูง การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษ 2520 ล้วนแต่จบลงด้วยการยกเอา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีนักการเมืองหรือพรรคการเมืองคนไหนกล้าหือแม้ แต่น้อย แม้จะได้รับเลือกตั้ง ส.ส.เป็นจำนวนมากที่สุดก็ตาม
หรือที่บรรดานักวิชาการและสื่อมวลชนที่ใฝ่หา ประชาธิปไตยเสียดสีกันว่า "ระบอบเปรมาธิปไตย" ไงละ
ทั้งหมดเป็นสิ่งที่แทบจะตรงกันข้ามกับภาพของการ รัฐประหาร 19 กันยายน การเชื้อเชิญให้บรรดานายทหาร เข้ามายึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ย่อมเป็นสิ่งไปกันไม่ได้กับอุดมการณ์ของพฤษภาทมิฬ หรือรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะให้อำนาจในการควบคุม ตรวจสอบการเมือง ไว้ในมือของบรรดาเหล่าขุนนางแทบทั้งสิ้น
องค์กรโป๊ยเซียนแก้วิกฤตชาติ (มาตรา 68 วรรค 2), การแต่งตั้งองค์กรอิสระในเงื้อมมือของตุลาการ, การสรรหาวุฒิสมาชิก ฯลฯ ล้วนแทบไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันกับประชาชนเลย การเมืองที่จะเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเมืองของขุนนาง โดยขุนนาง และเพื่อขุนนาง
อันที่จริงหากกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้น ภาพเหล่านี้ก็ได้ปรากฏขึ้นในห้วงเวลานับตั้งแต่หลังรัฐประหารเป็นต้นมาแล้ว บรรดาบุคคลที่เข้าไปทำหน้าที่รับใช้คณะรัฐประหารในองค์กรต่างๆ ไม่ว่า ป.ป.ช., ก.ก.ต., ค.ต.ส. ก็ล้วนแล้วแต่มาจากบรรดาขุนนางในระบบราชการเป็นส่วนใหญ่
ด้วยความคาดหมายต่อรูปแบบทางการเมืองที่แตกต่าง อย่างตรงกันข้ามเช่นนี้ จึงทำให้เกิดความอิหลักอิเหลื่อต่อการอธิบายถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเป็นอย่าง ยิ่ง รวมถึงการนิยามถึงบุคคลที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดาบุคคล กลุ่ม องค์กรที่เรียกตนเองว่าภาคประชาชนบ้าง องค์กรประชาธิปไตยบ้าง ซึ่งได้มีส่วนอย่างเข้มแข็งต่อการเชื้อเชิญคณะนายทหารให้ทำการยึดอำนาจการ เมืองจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การกระทำดังกล่าวย่อมสะท้อนให้เห็นว่าตนเองไม่ได้ยึดมั่นกับหลักการของพฤษภา ทมิฬ
จะเรียกผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬว่า วีรชนได้อย่างไร ในเมื่อตนเองก็ไม่ได้ยึดมั่นหลักการนั้นเลย
การเปลี่ยนแปลงในการรับรู้และความคาดหวังที่มี ต่อระบบการเมืองนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เพียงชั่วระยะเวลา 15 ปี ทรรศนะในการอธิบายการเมืองไทยถึงได้พลิกผันไปจากเดิมอย่างคาดไม่ถึง จากเดิมที่เคยเป็นผู้ร้ายกลับกลายมาเป็นพระเอก จากพระเอกกลับมาเป็นโจรร้าย
คำวิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.เปรม ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นเรื่องปกติในฝ่ายก้าวหน้ากลับกลายมาเป็นการ "จาบจ้วง" ในวันนี้
การทำความเข้าใจกับเรื่องนี้เป็นเรื่องสลับซับ ซ้อนไม่น้อยซึ่งยังไม่ต้องการที่จะทำในที่นี้ แต่อยากตั้งข้อสังเกตบางประการที่อาจทำให้เข้าใจความต่อเนื่องระหว่างเหตุ การณ์พฤษภาทมิฬและรัฐประหาร 19 กันยายนได้มากยิ่งขึ้น
หากหวนกลับไปก่อนพฤษภาทมิฬ คงจำกันได้ว่าในการยึดอำนาจของคณะ รสช.เมื่อปี 2534 ก็ได้รับการชื่นชมอย่างกว้างขวาง จากสาธารณชน ภาพของบรรดาคนที่ต่อแถวยาวเหยียดมอบดอกไม้ ให้กับแกนนำของคณะรัฐประหาร ก็ไม่แตกต่างไปจากความปีติยินดีที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายนแต่อย่างใด
อารมณ์และความรู้สึกซึ่งยกย่องการกระทำของคณะ รัฐประหารทั้งสองคราวแม้ต่างกรรมต่างวาระ แต่ล้วนเป็นการตอบสนองต่อความรู้สึกชิงชังนักการเมืองของสังคมไทย ในคราวคณะ รสช. เป็นผลจากรัฐบาล buffet cabinet ที่นำโดย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ส่วนรัฐประหาร 19 กันยายน เป้าหมายคือรัฐบาลที่นำโดยพรรคไทยรักไทย
แม้ว่าอาจมีบางส่วนที่คัดค้านการรัฐประหารใน ทั้งสองเหตุการณ์ แต่ต้องไม่ปฏิเสธว่าอารมณ์ของสังคม หรือให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นก็คืออารมณ์ของคนชั้นกลาง วางอยู่บนฐานความเกลียดชังนักการเมือง และหากมีการกำราบนักการเมืองลงได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็เป็นสิ่งที่คนชั้นกลางไม่ปฏิเสธ แม้จะเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญหรือการกระทำที่ขัดหลักการของระบอบประชาธิปไตยก็ ตามที
อัศวินม้าขาวและเจ้าของคอกจึงมักจะกลับมาหลอก หลอนการเมืองไทยอยู่เป็นประจำ
ข้ามการถกเถียงเรื่องลักษณะของชนชั้นกลางไทยไป ก่อน สิ่งที่อยากเสนอก็คือว่าคุณลักษณะที่มุ่งร้องหากอัศวินม้าขาวไม่ได้จำกัด อยู่เฉพาะกับชนชั้นกลางแท้ๆ หากรวมไปถึงกลุ่มคนที่มักเรียกตัวเองว่าเป็นฝ่ายก้าวหน้าไม่ว่าจะเป็น พันธมิตรประชาชน กลุ่มส่งเสริมประชาธิปไตย หรือภายใต้ชื่อใดก็ตาม
ลองกลับไปทบทวนถึงบทบาทหรือเปิดดูคำให้สัมภาษณ์ ของบรรดากลุ่มถึงที่เพิ่งได้เอ่ยมาเถอะทั้งก่อนและหลังพฤษภาทมิฬ บรรดากลุ่มคนเหล่านี้ต่างยืนยันอย่างหนักแน่นถึงระบอบประชาธิปไตยว่าต้อง เป็นอิสระจากการครอบงำของทหาร รวมถึงการประณามอย่างรุนแรงต่อการเข้ามาเล่นการเมืองของบรรดานายทหาร เปรียบเทียบกับการเรียกร้องอำนาจนอกระบบก่อนรัฐประหาร หรือการแสดงความชื่นชมต่อการยึดอำนาจว่าเป็นสิ่งที่จะนำสังคมไทยให้พ้นไปจาก วิกฤตได้ ก็จะเห็นได้ว่าเอาเข้าจริงมีหลักการอะไรให้เป็นที่ยึดถือกันบ้าง
พฤษภาคม 2550 จึงอาจเป็นวาระที่ยุ่งยากต่อการหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ ถ้ายกย่องพฤษภาทมิฬก็อาจทำให้รัฐประหาร 19 กันยายนเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่ถ้าเห็นด้วยกับรัฐประหารเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจพูดถึงได้อย่างโจ่งแจ้ง
เว้นก็แต่คนที่ไม่มีหลักการใดๆ เท่านั้น ซึ่งสามารถสนับสนุนทั้งการรัฐประหาร และก็ยกย่องพฤษภาทมิฬ พร้อมกันไปได้โดยไม่มีความรู้สึกตะขิดตะขวงใดในหัวใจของตนเอง
เป็นจารีตที่เดือนพฤษภาคมจะมีการจัดงานรำลึกถึง เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในบางปีผู้เขียนก็แวะเวียนไปร่วมบ้าง ตามแต่โอกาสจะอำนวยในฐานะของคนธรรมดาๆ คนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นผู้นำหรือมีบทบาทอะไรกับทิศทางของการเคลื่อนไหว
ในแต่ละปีที่ผ่านมาไม่สู้จะมีความแตกต่างใน เนื้อหาของงานมากนัก นอกจากกิจกรรมเพื่อการรำลึกถึงตัวเหตุการณ์แล้ว ก็อาจมีการอภิปรายทางการเมืองซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นทางการเมืองที่ร้อนใน ขณะนั้น ผู้ที่มาเข้าร่วมส่วนหนึ่งก็เป็นคนที่ถูกจัดว่า เป็น "ฝ่ายก้าวหน้า" ทั้งหลาย โดยเป้าหมายรวมของการจัดงานก็คือ การให้คุณค่า หรือความสำคัญกับการเคลื่อนไหวในคราวเดือนพฤษภาคมเมื่อปี 2535
แม้ว่าในปีนี้มีการจัดขึ้นเหมือนกับที่เคยเป็น มา แต่คงมีประเด็นที่ต้องขบคิดอย่างมาก โดยคำถามก็คือว่า จะอธิบายถึงสถานะของเหตุการณ์เดือนพฤษภา ในบริบทของการเมืองไทยปัจจุบันเช่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน
หากลองย้อนมองกลับไป การเคลื่อนไหวในเหตุการณ์เดือนพฤษภาเป็นกระบวนการทางการเมืองของสังคมไทย ที่มีเป้าหมายสำคัญคือ การขับไล่ทหารให้ออกไปจากการเมืองไทย พร้อมกับการสถาปนาอำนาจของระบบรัฐสภา ให้ขึ้นมาอยู่เหนือระบบราชการ
ประเด็นข้อเรียกร้องต่างๆ ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากพฤษภาทมิฬที่นำมาสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง, ประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นประธานรัฐสภา, การลดอำนาจวุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ล้วนแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายในการเคลื่อนไหวครั้งนั้น
การปฏิเสธอำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตยเป็น ประเด็นสำคัญของการเคลื่อนไหว ข้อเรียกร้องดังกล่าวมาจากการมองและอธิบายการเมืองไทยว่าปัญหาสำคัญประการ หนึ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยไทย ล้มลุกคลุกคลานมาอย่างต่อเนื่อง ก็ด้วยการแทรกแซงและการครอบงำของบรรดาขุนนางในระบบการเมืองไทย
แม้ว่าในห้วงระยะเวลานับตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา การเมืองไทยจะมิได้เผชิญกับเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ เฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นในยุคทหารเรืองอำนาจหลังทศวรรษ 2500 แต่บรรดาขุนนาง โดยเฉพาะทหารก็ยังคงมีอำนาจ กำกับความเป็นไปของการเมืองไทยในระดับสูง การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษ 2520 ล้วนแต่จบลงด้วยการยกเอา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีนักการเมืองหรือพรรคการเมืองคนไหนกล้าหือแม้ แต่น้อย แม้จะได้รับเลือกตั้ง ส.ส.เป็นจำนวนมากที่สุดก็ตาม
หรือที่บรรดานักวิชาการและสื่อมวลชนที่ใฝ่หา ประชาธิปไตยเสียดสีกันว่า "ระบอบเปรมาธิปไตย" ไงละ
ทั้งหมดเป็นสิ่งที่แทบจะตรงกันข้ามกับภาพของการ รัฐประหาร 19 กันยายน การเชื้อเชิญให้บรรดานายทหาร เข้ามายึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ย่อมเป็นสิ่งไปกันไม่ได้กับอุดมการณ์ของพฤษภาทมิฬ หรือรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะให้อำนาจในการควบคุม ตรวจสอบการเมือง ไว้ในมือของบรรดาเหล่าขุนนางแทบทั้งสิ้น
องค์กรโป๊ยเซียนแก้วิกฤตชาติ (มาตรา 68 วรรค 2), การแต่งตั้งองค์กรอิสระในเงื้อมมือของตุลาการ, การสรรหาวุฒิสมาชิก ฯลฯ ล้วนแทบไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันกับประชาชนเลย การเมืองที่จะเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเมืองของขุนนาง โดยขุนนาง และเพื่อขุนนาง
อันที่จริงหากกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้น ภาพเหล่านี้ก็ได้ปรากฏขึ้นในห้วงเวลานับตั้งแต่หลังรัฐประหารเป็นต้นมาแล้ว บรรดาบุคคลที่เข้าไปทำหน้าที่รับใช้คณะรัฐประหารในองค์กรต่างๆ ไม่ว่า ป.ป.ช., ก.ก.ต., ค.ต.ส. ก็ล้วนแล้วแต่มาจากบรรดาขุนนางในระบบราชการเป็นส่วนใหญ่
ด้วยความคาดหมายต่อรูปแบบทางการเมืองที่แตกต่าง อย่างตรงกันข้ามเช่นนี้ จึงทำให้เกิดความอิหลักอิเหลื่อต่อการอธิบายถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเป็นอย่าง ยิ่ง รวมถึงการนิยามถึงบุคคลที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดาบุคคล กลุ่ม องค์กรที่เรียกตนเองว่าภาคประชาชนบ้าง องค์กรประชาธิปไตยบ้าง ซึ่งได้มีส่วนอย่างเข้มแข็งต่อการเชื้อเชิญคณะนายทหารให้ทำการยึดอำนาจการ เมืองจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การกระทำดังกล่าวย่อมสะท้อนให้เห็นว่าตนเองไม่ได้ยึดมั่นกับหลักการของพฤษภา ทมิฬ
จะเรียกผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬว่า วีรชนได้อย่างไร ในเมื่อตนเองก็ไม่ได้ยึดมั่นหลักการนั้นเลย
การเปลี่ยนแปลงในการรับรู้และความคาดหวังที่มี ต่อระบบการเมืองนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เพียงชั่วระยะเวลา 15 ปี ทรรศนะในการอธิบายการเมืองไทยถึงได้พลิกผันไปจากเดิมอย่างคาดไม่ถึง จากเดิมที่เคยเป็นผู้ร้ายกลับกลายมาเป็นพระเอก จากพระเอกกลับมาเป็นโจรร้าย
คำวิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.เปรม ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นเรื่องปกติในฝ่ายก้าวหน้ากลับกลายมาเป็นการ "จาบจ้วง" ในวันนี้
การทำความเข้าใจกับเรื่องนี้เป็นเรื่องสลับซับ ซ้อนไม่น้อยซึ่งยังไม่ต้องการที่จะทำในที่นี้ แต่อยากตั้งข้อสังเกตบางประการที่อาจทำให้เข้าใจความต่อเนื่องระหว่างเหตุ การณ์พฤษภาทมิฬและรัฐประหาร 19 กันยายนได้มากยิ่งขึ้น
หากหวนกลับไปก่อนพฤษภาทมิฬ คงจำกันได้ว่าในการยึดอำนาจของคณะ รสช.เมื่อปี 2534 ก็ได้รับการชื่นชมอย่างกว้างขวาง จากสาธารณชน ภาพของบรรดาคนที่ต่อแถวยาวเหยียดมอบดอกไม้ ให้กับแกนนำของคณะรัฐประหาร ก็ไม่แตกต่างไปจากความปีติยินดีที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายนแต่อย่างใด
อารมณ์และความรู้สึกซึ่งยกย่องการกระทำของคณะ รัฐประหารทั้งสองคราวแม้ต่างกรรมต่างวาระ แต่ล้วนเป็นการตอบสนองต่อความรู้สึกชิงชังนักการเมืองของสังคมไทย ในคราวคณะ รสช. เป็นผลจากรัฐบาล buffet cabinet ที่นำโดย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ส่วนรัฐประหาร 19 กันยายน เป้าหมายคือรัฐบาลที่นำโดยพรรคไทยรักไทย
แม้ว่าอาจมีบางส่วนที่คัดค้านการรัฐประหารใน ทั้งสองเหตุการณ์ แต่ต้องไม่ปฏิเสธว่าอารมณ์ของสังคม หรือให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นก็คืออารมณ์ของคนชั้นกลาง วางอยู่บนฐานความเกลียดชังนักการเมือง และหากมีการกำราบนักการเมืองลงได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็เป็นสิ่งที่คนชั้นกลางไม่ปฏิเสธ แม้จะเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญหรือการกระทำที่ขัดหลักการของระบอบประชาธิปไตยก็ ตามที
อัศวินม้าขาวและเจ้าของคอกจึงมักจะกลับมาหลอก หลอนการเมืองไทยอยู่เป็นประจำ
ข้ามการถกเถียงเรื่องลักษณะของชนชั้นกลางไทยไป ก่อน สิ่งที่อยากเสนอก็คือว่าคุณลักษณะที่มุ่งร้องหากอัศวินม้าขาวไม่ได้จำกัด อยู่เฉพาะกับชนชั้นกลางแท้ๆ หากรวมไปถึงกลุ่มคนที่มักเรียกตัวเองว่าเป็นฝ่ายก้าวหน้าไม่ว่าจะเป็น พันธมิตรประชาชน กลุ่มส่งเสริมประชาธิปไตย หรือภายใต้ชื่อใดก็ตาม
ลองกลับไปทบทวนถึงบทบาทหรือเปิดดูคำให้สัมภาษณ์ ของบรรดากลุ่มถึงที่เพิ่งได้เอ่ยมาเถอะทั้งก่อนและหลังพฤษภาทมิฬ บรรดากลุ่มคนเหล่านี้ต่างยืนยันอย่างหนักแน่นถึงระบอบประชาธิปไตยว่าต้อง เป็นอิสระจากการครอบงำของทหาร รวมถึงการประณามอย่างรุนแรงต่อการเข้ามาเล่นการเมืองของบรรดานายทหาร เปรียบเทียบกับการเรียกร้องอำนาจนอกระบบก่อนรัฐประหาร หรือการแสดงความชื่นชมต่อการยึดอำนาจว่าเป็นสิ่งที่จะนำสังคมไทยให้พ้นไปจาก วิกฤตได้ ก็จะเห็นได้ว่าเอาเข้าจริงมีหลักการอะไรให้เป็นที่ยึดถือกันบ้าง
พฤษภาคม 2550 จึงอาจเป็นวาระที่ยุ่งยากต่อการหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ ถ้ายกย่องพฤษภาทมิฬก็อาจทำให้รัฐประหาร 19 กันยายนเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่ถ้าเห็นด้วยกับรัฐประหารเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจพูดถึงได้อย่างโจ่งแจ้ง
เว้นก็แต่คนที่ไม่มีหลักการใดๆ เท่านั้น ซึ่งสามารถสนับสนุนทั้งการรัฐประหาร และก็ยกย่องพฤษภาทมิฬ พร้อมกันไปได้โดยไม่มีความรู้สึกตะขิดตะขวงใดในหัวใจของตนเอง
บทเรียนพฤษภาทมิฬ
logo-thai-rath.gif
สถานการณ์การเมืองไทยในขณะ นี้
มีอะไรหลายอย่างที่คล้ายกับเมื่อก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในเดือนพฤษภาคม 2535 คือเมื่อ 15 ปีที่แล้ว เริ่มต้นด้วยมีรัฐประหาร ยึดอํานาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2521 และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เช่นเดียวกับรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540 และร่างกันใหม่
รัฐธรรมนูญ 2534 ของ รสช.
ไม่ ต้องออกเสียงประชามติ แต่ประกาศใช้ได้เลย และถูกต่อต้านมาตั้งแต่ในขณะที่ยังร่างไม่เสร็จ ประเด็นสําคัญที่ถูกกลุ่มพรรคการเมือง “ฝ่ายเทพ” และองค์กรประชาธิปไตยคัดค้าน คือที่ มาของสมาชิกวุฒิสภา กับที่มาของนายกรัฐ-มนตรี โดยให้ประธาน รสช. เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งส.ว. 270 คน เท่ากับ 3 ใน 4 ของ ส.ส.
แม้จะเป็น ส.ว.แต่งตั้ง แต่มีอํานาจ
เกือบ เท่ากับ ส.ส. เพราะมีสิทธิ์อภิปรายไม่ไว้ วางใจรัฐบาล ความหมายจริงๆก็คือ รสช. ผู้แต่งตั้ง ส.ว. สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยไม่ ต้องง้อพรรคการเมืองหรือ ส.ส. เพราะมี ส.ว. เกินครึ่งหนึ่งของ ส.ส. อยู่ในมือ สามารถคํ้าจุน บัลลังก์หรือสืบทอดอํานาจ รสช.ได้ แต่ในขณะเดียวกัน รสช.ก็แอบสนับสนุนนักการเมืองตั้งพรรค และได้ ส.ส.มาจํานวนหนึ่ง
ประกอบกับบทบัญญัติของรัฐ ธรรมนูญ
เปิด ทางให้ “คนนอก” เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่จําเป็นที่จะต้องมาจาก ส.ส. รสช.จึงสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างสบายๆ ด้วยเสียงสนับสนุนของ ส.ว.ทั้งสภา กับ ส.ส.อีกจํานวนหนึ่ง แต่คณะผู้นํา รสช.ก็ได้ออกมาให้คํา มั่นสัญญาต่อประชาชนอย่างหนักแน่น ว่าจะไม่มีการสืบทอดอํานาจ รสช.โดยเด็ดขาด และ จะไม่รับตําแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ถูก ต่อต้าน
ประชาชนส่วนใหญ่จึงเชื่อ ว่า
รส ช.ยึดอำนาจเป็นการชั่วคราว เพียงเพื่อจะเข้าไปทำความสะอาดการเมือง แก้ไขกติกาการเมืองให้ดีขึ้น เพื่อขจัดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และป้องกันคอรัปชัน แต่หลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2535 ผู้นำ รสช.คนหนึ่งกลับรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยอ้างหน้าตาเฉยว่า “เพื่อชาติ” การคัดค้านรัฐธรรมนูญจึงเปลี่ยนเป็นการขับไล่นายกฯผู้ “ตระบัดสัตย์เพื่อชาติ”
เหตุการณ์ลุกลามบาน ปลายกลายเป็นนองเลือด
เป็นโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งสำคัญของเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง แต่สงบลง ได้ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นบทเรียนที่จะต้องจดจำไปอีกนานแสนนาน บทเรียนอย่างหนึ่งก็คือ บางคนอาจจะกระทำโดยทุกวิถีทางแม้แต่การก่อเหตุการณ์นองเลือด หรือเข่นฆ่าเพื่อนร่วมชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ หรือเพื่อรักษาอำนาจ
ต้องถือว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี
ที่คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ดึงดันเปิดทางให้ “คนนอก” เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่ทราบว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ ในเรื่องที่มาของวุฒิสภา ซึ่งมีอำนาจเท่ากับวุฒิสภาเลือกตั้ง แต่ก็น่ายินดีที่ผู้นำ คมช.หลายคนยืนยันว่า จะ ไม่มีการสืบทอดอำนาจแน่นอน เพราะหมดยุคสมัยที่ทหารจะปกครองประเทศ หวังว่าจะรักษาคำสัญญา ไม่ทำผิดพลาดอีกเหมือนกับ รสช.
สถานการณ์การเมืองไทยในขณะ นี้
มีอะไรหลายอย่างที่คล้ายกับเมื่อก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในเดือนพฤษภาคม 2535 คือเมื่อ 15 ปีที่แล้ว เริ่มต้นด้วยมีรัฐประหาร ยึดอํานาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2521 และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เช่นเดียวกับรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540 และร่างกันใหม่
รัฐธรรมนูญ 2534 ของ รสช.
ไม่ ต้องออกเสียงประชามติ แต่ประกาศใช้ได้เลย และถูกต่อต้านมาตั้งแต่ในขณะที่ยังร่างไม่เสร็จ ประเด็นสําคัญที่ถูกกลุ่มพรรคการเมือง “ฝ่ายเทพ” และองค์กรประชาธิปไตยคัดค้าน คือที่ มาของสมาชิกวุฒิสภา กับที่มาของนายกรัฐ-มนตรี โดยให้ประธาน รสช. เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งส.ว. 270 คน เท่ากับ 3 ใน 4 ของ ส.ส.
แม้จะเป็น ส.ว.แต่งตั้ง แต่มีอํานาจ
เกือบ เท่ากับ ส.ส. เพราะมีสิทธิ์อภิปรายไม่ไว้ วางใจรัฐบาล ความหมายจริงๆก็คือ รสช. ผู้แต่งตั้ง ส.ว. สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยไม่ ต้องง้อพรรคการเมืองหรือ ส.ส. เพราะมี ส.ว. เกินครึ่งหนึ่งของ ส.ส. อยู่ในมือ สามารถคํ้าจุน บัลลังก์หรือสืบทอดอํานาจ รสช.ได้ แต่ในขณะเดียวกัน รสช.ก็แอบสนับสนุนนักการเมืองตั้งพรรค และได้ ส.ส.มาจํานวนหนึ่ง
ประกอบกับบทบัญญัติของรัฐ ธรรมนูญ
เปิด ทางให้ “คนนอก” เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่จําเป็นที่จะต้องมาจาก ส.ส. รสช.จึงสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างสบายๆ ด้วยเสียงสนับสนุนของ ส.ว.ทั้งสภา กับ ส.ส.อีกจํานวนหนึ่ง แต่คณะผู้นํา รสช.ก็ได้ออกมาให้คํา มั่นสัญญาต่อประชาชนอย่างหนักแน่น ว่าจะไม่มีการสืบทอดอํานาจ รสช.โดยเด็ดขาด และ จะไม่รับตําแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ถูก ต่อต้าน
ประชาชนส่วนใหญ่จึงเชื่อ ว่า
รส ช.ยึดอำนาจเป็นการชั่วคราว เพียงเพื่อจะเข้าไปทำความสะอาดการเมือง แก้ไขกติกาการเมืองให้ดีขึ้น เพื่อขจัดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และป้องกันคอรัปชัน แต่หลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2535 ผู้นำ รสช.คนหนึ่งกลับรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยอ้างหน้าตาเฉยว่า “เพื่อชาติ” การคัดค้านรัฐธรรมนูญจึงเปลี่ยนเป็นการขับไล่นายกฯผู้ “ตระบัดสัตย์เพื่อชาติ”
เหตุการณ์ลุกลามบาน ปลายกลายเป็นนองเลือด
เป็นโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งสำคัญของเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง แต่สงบลง ได้ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นบทเรียนที่จะต้องจดจำไปอีกนานแสนนาน บทเรียนอย่างหนึ่งก็คือ บางคนอาจจะกระทำโดยทุกวิถีทางแม้แต่การก่อเหตุการณ์นองเลือด หรือเข่นฆ่าเพื่อนร่วมชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ หรือเพื่อรักษาอำนาจ
ต้องถือว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี
ที่คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ดึงดันเปิดทางให้ “คนนอก” เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่ทราบว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ ในเรื่องที่มาของวุฒิสภา ซึ่งมีอำนาจเท่ากับวุฒิสภาเลือกตั้ง แต่ก็น่ายินดีที่ผู้นำ คมช.หลายคนยืนยันว่า จะ ไม่มีการสืบทอดอำนาจแน่นอน เพราะหมดยุคสมัยที่ทหารจะปกครองประเทศ หวังว่าจะรักษาคำสัญญา ไม่ทำผิดพลาดอีกเหมือนกับ รสช.
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ