กรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
หน้า 1 จาก 1
กรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
กรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ความไม่เท่าเทียมกันทางกฎหมาย ของไทยกับต่างประเทศ… กรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดย วิเชียร ศิริมงคล ใน มติชน
ผู้เขียนได้มี โอกาสเป็นทนายจำเลยของชาวต่างชาติหลายประเทศใดคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ทาง การของต่างประเทศร้องขอให้รัฐบาลไทยจัดส่งตัวบุคคลที่ทางการต่างประเทศนั้น กล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาในประเทศของตนแล้วหลบหนีเข้ามาในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลไทยส่งตัวบุคคลผู้นั้นกลับไปดำเนินคดีตามกฎหมายในศาลต่าง ประเทศ โดยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนมีอยู่ 2 กรณี คือ1.กรณีที่รัฐบาลไทยมีสัญญา ส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับต่างประเทศบางประเทศ
2.กรณีที่รัฐบาลไทยไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศที่ร้องขอให้ส่ง ผู้ร้ายข้ามแดน
จากประสบการณ์ของผู้เขียน ได้มีข้อคิดเห็นในเชิงวิชาการเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันทางกฎหมายของไทย กับต่างประเทศในคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน จึงใคร่ขอฝากไว้เป็นแนวศึกษาเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง นักกฎหมาย ประชาชน และผู้ที่สนใจได้ช่วยกันวิเคราะห์ ศึกษา เพื่อที่จะได้หาทางแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและวิธีปฏิบัติตามกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนของรัฐบาลไทยใน โอกาสต่อไป
ทั้งนี้ ผู้เขียนหวังเพียงว่าเพื่อให้ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีทางกฎหมายกรณีการส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนเทียบเท่าอารยประเทศอื่นๆ ที่มี/ไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย
และถือเป็นโอกาสดีที่ขณะนี้กำลังมีเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนไทย เกี่ยวกับกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภริยา ว่าทางการไทยจะร้องขอให้รัฐบาลอังกฤษส่งตัวบุคคลดังกล่าวกลับมาดำเนินคดีใน ประเทศไทยได้หรือไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยสัญญาว่าด้วยส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันในระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษ ซึ่งได้ลงนามไว้ต่อกันเมื่อวันที่ 4 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 129 (ค.ศ.1911 หรือ พ.ศ.2445) ที่กรุงเทพฯ โดยสัญญาฉบับนี้ได้มีพระราชานุญาตทั้งสองฝ่าย และได้แลกเปลี่ยนหนังสือพระราชานุญาตฝ่ายไทยและฝ่ายอังกฤษต่อกันที่กรุง ลอนดอน ณ วันที่ 1 สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก 130
สัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษฉบับดังกล่าว ผู้ที่ลงนามในสัญญาฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามขณะนั้นคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศฝ่ายสยาม และฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงเกรตบริเตนและไอร์แลนด์อันรวมกัน และอาณาจักรอังกฤษที่โพ้นทะเลทั้งหลาย และบรมราชาธิราชแห่งอินเดียขณะนั้นคือ อาเธอปิลเอสไควร์ อรรคราชทูตพิเศษ และผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายอังกฤษประจำอยู่ ณ พระราชสำนักที่กรุงเทพฯ
วัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์ของสัญญาดังกล่าวทำไว้เพื่อจะป้องกันไม่ให้มีผู้กระทำความผิด ร้ายแรงอันเป็นโทษอยู่ในพระราชอาณาเขตทั้งสองฝ่าย คือบุคคลที่ต้องหาหรือถูกกล่าวโทษว่ากระทำความผิดอันมีโทษตามที่ระบุไว้ใน สัญญารวม 31 ฐานความผิด และเป็นผู้ซึ่งหลบหนีการพิจารณาคดีจากศาลยุติธรรมของประเทศคู่สัญญาและไป อาศัย/พบตัวอยู่ในประเทศของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งสมควรที่จะต้องถูกส่งตัวให้ ซึ่งกันและกัน เพื่อนำตัวบุคคลนั้นไปพิจารณาพิพากษาคดีในศาลยุติธรรมในประเทศที่ร้องขอให้ ส่งตัวนั้นๆ ตามกฎหมายต่อไป
ในสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนดังกล่าวระบุความผิดอันมีโทษที่รัฐบาลไทยและ อังกฤษจะส่งตัวบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนแก่กันได้รวม 31 โทษฐานความผิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่มีโทษเกี่ยวกับการประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย, ปลอมแปลงเงินตรา, ยักยอกทรัพย์, ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นต้น
กรณีที่ศาลไทยได้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภริยา ฐานขัดหมายศาล ตามคดีที่ถูกฟ้องร้องซึ่งมีโทษและฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 หมวด 2 ซึ่งเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น เมื่อได้พิจารณาโทษตามข้อตกลงตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนข้างต้นไม่พบว่าตรง กับโทษใดที่ทางการไทยจะร้องขอให้อังกฤษส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้
อย่างไรก็ตาม ในสัญญาดังกล่าวได้มีข้อยกเว้นไว้ว่า “ถ้าโทษอย่างอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ถ้ามีความอยู่ในกฎหมายซึ่งใช้อยู่ทั้งสองฝ่ายว่าจะส่งผู้ร้ายให้กันได้นั้น ก็สุดแล้วแต่ประเทศซึ่งรับคำขอให้ส่งนั้นจะเห็นสมควรว่าจะส่งผู้ร้ายข้ามแดน ให้ต่อกันหรือไม่”
ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงต้องศึกษาว่าอังกฤษมีกฎหมายทำนองเดียวกับความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามที่ทางการไทยฟ้อง ร้องดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยาหรือไม่
ซึ่งหากมี เช่นนี้ทางการไทยก็สามารถร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้โดยอาศัยข้อสัญญาข้าง ต้น
มีข้อยกเว้นเด็ดขาดตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษอีกว่า ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “การเมือง” ก็ไม่ต้องส่งผู้ร้ายคนนั้นให้แก่กัน
โดยสัญญาในข้อ 5 ระบุว่า “ถ้าผู้ร้ายที่หนีมายังประเทศใด ประเทศนั้นเห็นว่าโทษที่ขอให้ส่งตัวไปชำระนั้น เป็นโทษมีลักษณะผิดต่ออำนาจของบ้านเมืองก็ดี หรือว่าผู้ร้ายนั้นนำพยานพิสูจน์ให้เห็นว่าการที่ขอให้ส่งตัวกลับไป เป็นการเพื่อจะชำระและลงโทษ อันมีลักษณะผิดต่ออำนาจของบ้านเมืองแล้ว ก็ไม่ต้องส่งผู้ร้ายคนนั้นให้แก่กัน”
จากประสบการณ์ของผู้เขียนมีความเห็นว่าการที่ทางการไทยจะร้องขอให้ทางการ อังกฤษส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา เป็นผู้ร้ายขัามแดนมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น เป็นสิ่งที่ยากอย่างยิ่ง
อีกทั้งต้องใช้เวลายาวนานในการพิจารณาคดีที่ศาลในอังกฤษกว่าคดีจะถึงที่ สุด เว้นแต่จะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลอังกฤษ (นอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน) ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลดังนี้
1.กระบวนพิจารณาคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนในศาลที่ประเทศอังกฤษแตกต่างกับการ พิจารณาคดีของศาลยุติธรรมในประเทศไทย เกี่ยวกับคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ทั้งนี้เพราะอังกฤษจะปฏิบัติตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ทำไว้กับประเทศไทย โดยเคร่งครัด อีกทั้งให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนไม่ว่าเชื้อชาติ สัญชาติใดเท่าเทียมกันทั้งหมด
การที่ศาลอังกฤษจะพิจารณาส่งผู้ร้ายข้ามแดนรายใดมายังประเทศไทย จะต้องพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานโดยละเอียดเสมอเหมือนหนึ่งว่าผู้ร้ายนั้น เป็นผู้กระทำความผิดในเมือง/ประเทศอังกฤษเอง (ตามสัญญาข้อ 8)
อีกทั้งจะต้องมีพยานหลักฐานนำสืบพิสูจน์เพียงพอให้ศาลอังกฤษเชื่อว่า ถ้าหากความผิดนั้นจำเลยได้กระทำในประเทศอังกฤษแล้ว ศาลจะมีอำนาจสั่งขังจำเลยไว้รอการพิจารณาคดีได้, จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันตามหมายจับของไทย และความผิดที่จำเลยต้องรับโทษนั้นเป็นความผิดอย่างหนึ่งซึ่งประเทศอังกฤษจะ ส่งตัวให้ได้ในเวลาที่พิพากษาลงโทษจำเลยนั้น
2.จากเหตุผลดั่งกล่าวข้างต้น พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา จะต้องจ้างทีมทนายความฝีมือดีในอังกฤษประสานงานกับทีมทนายความฝ่ายไทย ที่ให้ข้อมูล นำสืบพยานหลักฐานต่อสู้คดีในศาลที่อังกฤษในประเด็นสำคัญว่าคำร้องของส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนของทางการไทยนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “การเมือง” อย่างชัดแจ้ง
และคดีที่ตนถูกฟ้องร้องในประเทศไทยไม่มีระบุไว้ในสัญญาทั้ง 31 โทษฐานความผิด ตนเองและครอบครัวเป็นผู้บริสุทธิ์ ถูกกลั่นแกล้ง ปฏิวัติรัฐประหาร และถูกอายัดทรัพย์โดยมิชอบ เป็นเหตุให้ตนเองและภริยาต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศเพื่อความปลอดภัย และยังเดินทางเข้าประเทศไทยไม่ได้เพราะอยู่ในช่วงที่มีรัฐบาลมาจากการ ปฏิวัติ เกรงว่าจะถูกทำร้าย กลั่นแกล้ง ฯลฯ เป็นต้น
ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการถูกปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลทักษิณ เป็นข่าวแพร่หลายไปทั่วโลกและเป็นข่าวต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันและไม่อาจ ปฏิเสธได้ว่าต้นเหตุในการหนีไปอยู่ต่างประเทศนั้นมาจากเรื่อง “การเมือง” ซึ่งศาลในอังกฤษอาจจะรับฟังก็ได้
และแม้แต่หมายจับของศาลไทย ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2550 ก็ออกโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (มิใช่ศาลยุติธรรม) ซึ่งพิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องของนักการเมืองโดยเฉพาะ
นอกจากนั้น ตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ ยังมีข้อสัญญาในข้อ 6 ที่มีข้อความระบุห้ามอีกว่า “ผู้ร้ายที่ส่งไปให้แล้วนั้น ห้ามไม่ให้ประเทศที่รับตัวไปนั้น เอาไปกักขังหรือชำระโทษอย่างอื่นๆ นอกจากโทษที่ร้องขอรับตัวไปจนกว่าจะได้ปล่อยตัวหรือให้โอกาสแก่คนที่รับตัว ไปนั้น เพื่อกลับไปยังประเทศที่ส่งตัวให้นั้นได้แล้วจึงจะชำระโทษคดีอย่างอื่นๆ ได้”
ซึ่งหมายความว่าหากอังกฤษยอมส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณและภริยากลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยทางการไทยจะดำเนินคดีได้ เฉพาะโทษตามหมายจับในคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เท่านั้นจะนำตัวไปพิจารณาพิพากษาในคดีอื่นๆ ไม่ได้ เว้นแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา จะไปก่อคดีใหม่ขึ้นมาอีก
ดังนั้น จึงเป็นช่องทางให้จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ว่าเป็นคดีเกี่ยวกับการเมือง และศาลอังกฤษอาจพิจารณายกฟ้องและไม่ต้องส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยาเป็นผู้ร้ายข้ามแดน โดยอาศัยสัญญาข้อ 5 ดังกล่าวข้างต้นได้
นอกจากนั้น ยังมีเหตุผลประกอบอื่นๆ ที่ทางการอังกฤษจะไม่ยอมส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน เช่น ความมีฐานะทางการเงินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่สร้างรายได้และภาษีให้แก่อังกฤษเป็นจำนวนมหาศาล ฯลฯ เป็นต้น
3.เราคงจำกันได้ว่าประเทศไทยเคยได้รับบทเรียนเรื่องการร้องขอส่งตัว ผู้ร้ายข้ามแดนคดี นายปิ่น จักกะพาก จากประเทศอังกฤษ และนายราเกซ สักเสนา จากประเทศแคนาดา มาแล้ว 2 คดี
ซึ่งผู้เขียนเคยนำตัวอย่างคดี, คำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลในประเทศอังกฤษ มาใช้ต่อสู้คดีที่คนอังกฤษถูกทางการอังกฤษร้องขอให้รัฐบาลไทยส่งตัวเป็น ผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อนำไปพิจารณาพิพากษาในอังกฤษ
แต่ท้ายสุดศาลไทยก็มีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องขอ ของทางการอังกฤษ
และเพื่อเป็นอุทาหรณ์, เป็นการวิเคราะห์ในเชิงกฎหมายและวิชาการเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกัน พิจารณาว่าในคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา นั้น รัฐบาลไทยมีโอกาสนำตัวบุคคลทั้งสองมาดำเนินคดีในประเทศไทยโดยอาศัยสัญญาส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนที่ทำไว้กับอังกฤษได้ยากง่ายอย่างไรหรือไม่ นอกเหนือจากข้อต่อสู้เรื่อง “คดีการเมือง” ดังกล่าวข้างต้น
คดีนายปิ่น จักกะพาก นั้น คงจำกันได้ว่าทางการไทยได้ร้องขอไปยังทางการอังกฤษเพื่อให้ส่งตัวเป็น ผู้ร้ายข้ามแดนมายังประเทศไทย โดยกล่าวหาว่านายปิ่นกระทำความผิดอาญาในประเทศไทยรวม 45 ข้อหา โดยนายปิ่นถูกจับตัวในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2542 และถูกนำตัวขึ้นดำเนินคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ศาลแขวง Bow Street Magistrates” Court
นายปิ่นได้ต่อสู้คดี และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกันศาลแขวงดังกล่าวได้ไต่สวนพยานหลัก ฐานทั้งสองฝ่ายแล้วได้มีพิพากษาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 ว่านายปิ่นมีความผิดเพียง 7 ข้อหา จึงพิพากษาให้ส่งตัวนายปิ่นเป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่ทางการไทย
แต่นายปิ่นได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลสูง (High Court of Justice, Queens Bench Division) โดยศาลสูงได้วินิจฉัยคดีทั้ง 7 ข้อหาโดยละเอียดว่าโจทก์มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะรับฟังได้หรือไม่ว่าจำเลย ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาของรัฐบาลไทย (เสมอเหมือนหนึ่งว่าคดีนั้นได้เกิดขึ้นในอังกฤษ)
ท้ายสุดศาลสูงได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2544 โดยพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลแขวง ยกฟ้องคดีทุกข้อหาและปล่อยตัวนายปิ่นพ้นข้อหาไป
โดยศาลได้วินิจฉัยในประเด็นสำคัญว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดๆ บ่งชี้หรือสนับสนุนข้อพิสูจน์ได้ว่านายปิ่นกระทำการโดยมีเจตนาทุจริตตามข้อ กล่าวหา และยังไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่คณะผู้พิพากษาจะวินิจฉัยลงโทษนายปิ่นได้
กรณีของนายปิ่นไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอังกฤษ เพราะสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษนั้น จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าข้อกล่าวหาในความผิดของนายปิ่นตามที่ทางการไทยกล่าว อ้างนั้น หากเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษจะเป็นความผิดตามกฎหมายอังกฤษหรือไม่ (Double Criminality)
แต่ปรากฏว่าพยานหลักฐานของฝ่ายไทยยังไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าการ กระทำของนายปิ่นผิดต่อกฎหมายอังกฤษด้วย ซึ่งคดีดังกล่าวได้ถึงที่สุดแล้วและรัฐบาลไทยไม่สามารถนำตัวนายปิ่นมาดำเนิน คดีที่ประเทศไทยได้จนบัดนี้
เหตุที่ผู้เขียนต้องหยิบยกคดีของนายปิ่น จักกะพาก ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่ากระบวนพิจารณาคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนของอังกฤษนั้น ได้กระทำลงโดยละเอียด และให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลยผู้ถูกกล่าวหา โดยที่จำเลยมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เพื่อมิให้ตน เองถูกส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นไปตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันและภายใต้กฎหมายของ อังกฤษ อีกทั้งศาลอังกฤษยังให้ประกันตัวในระหว่างพิจารณาคดีด้วย ซึ่งแตกต่างกับการพิจารณาคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามกฎหมายไทย ที่ผู้เขียนใคร่ขอหยิบยกขึ้นเปรียบเทียบ ดังนี้
ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พุทธศักราช 2472 ตราเป็นกฎหมายขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2472 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ประเทศไทยมีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับอังกฤษนานถึง 18 ปี โดยในพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญที่ควรพิจารณาดังนี้
1.พ.ร.บ.นี้ให้ใช้บังคับแก่บรรดาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเทศไทยเท่าที่ ไม่แย้งกับข้อความในหรังสือสัญญา อนุสัญญาหรือความตกลงกับรัฐบาลต่างประเทศ หรือในประกาศกระแสพระบรมราชโองการที่ได้ออกเกี่ยวกับหนังสือสัญญา อนุสัญญาและความตกลงนั้นๆ
2.หากประเทศใดไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทยแต่ถ้ารัฐบาลไทย เห็นเป็นการสมควรก็อาจส่งตัวบุคคลผู้ต้องหาที่พิจารณาว่ากระทำความผิดอาญาใน เขตอำนาจศาลของต่างประเทศ ให้แก่ประเทศนั้นๆ ได้ แต่การกระทำผิดเช่นนี้ ต้องเป็นความผิดซึ่งกฎหมายไทยกำหนดโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปี
3.ความผิดที่จะส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนนั้น จะต้องไม่ใช่เป็นความผิดอันมีลักษณะในทางการเมือง
4.คดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน ศาลไม่ควรอนุญาตให้จำเลยมีประกัน
5.ศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานข้อต่อสู้ฝ่ายจำเลย นอกจากในข้อต่อไปนี้ คือ
(1) จำเลยไม่ใช่ตัวบุคคลที่ถูกร้องขอให้ส่งข้ามแดน
(2) ความผิดนั้นไม่อยู่ในประเภทที่จะส่งข้ามแดนได้ หรือว่าเป็นความผิดอันมีลักษณะในทางการเมือง
(3) การที่ขอให้ส่งข้ามแดนนั้น ความจริงเพื่อประสงค์จะเอาตัวไปลงโทษสำหรับความผิดอย่างอื่นอันมีลักษณะใน ทางการเมือง
(4) สัญชาติของจำเลย
ผู้เขียนได้เป็นทนายจำเลยของชาวอังกฤษผู้หนึ่ง (ขอสงวนนาม) ซึ่งพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว มีภรรยาคนไทยและมีบุตร 1 คน
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 คดีหมายเลขดำที่ ผ.12/2544 คดีหมายเลขแดงที่ ผ.6/2545 เรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดยคดีนี้รัฐบาลอังกฤษได้ร้องขอให้ทางการไทยส่ง จำเลยกลับไปดำเนินคดีที่อังกฤษ ในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา
ผู้เขียนและทนายความอังกฤษได้ร่วมกันต่อสู้คดีที่ศาลอาญา โดยเสนอพยานหลักฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์หากคดีตามข้อกล่าวหาเกิดขึ้นใน ประเทศไทย และหยิบยกข้อต่อสู้ตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ และคดีของนายปิ่น จักกะพาก ที่ถูกดำเนินคดีที่อังกฤษมาเป็นบรรทัดฐานแนวทางในการต่อสู้คดีเพราะเชื่อว่า หากคดีนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะศลจะรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามข้อ กล่าวหาของทางการอังกฤษ ขอให้ศาลยกฟ้อง ปล่อยตัวจำเลยไป
ท้ายสุดศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ขังจำเลยไว้เพื่อส่งตัวข้ามแดนไปยังประเทศ อังกฤษ โดยศาลได้วินิจฉัยว่าส่วนที่จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหานั้น ตาม พ.ร.บ.การส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ให้ออกคำสั่งอนุญาตให้ขังจำเลยไว้เพื่อส่งข้ามแดนไป” นั้น หมายความว่าให้ศาลไต่สวนให้ได้ความว่าฟ้องของโจทก์ตลอดจนพยานหลักฐานที่ โจทก์ไต่สวนในชั้นนี้ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 หรือไม่ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่ ฯลฯ
ซึ่งจากคำวินิจฉัยของศาลอาญาดังกล่าว โดยความเคารพผู้เขียนเห็นว่าแนวปฏิบัติของศาลไทยแตกต่างไปจากแนวปฏิบัติของ ศาลในประเทศอังกฤษอย่างเช่นคดีของนายปิ่น จักกะพาก เพราะศาลไทยจะไม่รับฟังข้อต่อสู้ของจำเลยว่าหากคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม ข้อเท็จจริงที่ทางการอังกฤษกล่าวหาประกอบกับพยานหลักฐานตามข้อต่อสู้ของ จำเลยนั้น จะเป็นการผิดต่อกฎหมายไทยหรือไม่เพราะศาลเห็นว่าเพียงแต่ทางการอังกฤษได้ ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติและขั้นตอนแล้ว ประเทศไทยก็จะต้องส่งบุคคลที่ถูกร้องขอกลับไปยังประเทศอังกฤษทุกกรณี (เว้นแต่คดีการเมืองที่นำสืบไปตามข้อต่อสู้)
ซึ่งต่อมาผู้เขียนได้อุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลอุทธรณ์ แต่ท้ายสุดศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลอาญา ให้ส่งตัวจำเลยเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศอังกฤษ และคดีถือว่าถึงที่สุดไม่สามารถฎีกาได้
ครั้นต่อมาเมื่อจำเลยได้ถูกส่งตัวกลับอังกฤษและถูกนำตัวขึ้นพิจารณา พิพากษาที่ศาลแขวง Bow Street Magistrates” Court ที่กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นศาลเดียวกันที่พิจารณาคดีนายปิ่น จักกะพาก ศาลแขวงได้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยเพราะโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่ศาล จะรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดอาญาฐานฆ่าคนตายตามฟ้อง
ปัจจุบันจำเลยได้กลับมาประเทศไทย และอยู่กินกับลูกและภรรยามาจนบัดนี้
นอกจากคดีดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนยังได้เป็นทนายจำเลยให้กับชาวรัสเซีย, ยูเครน, เยอรมัน ที่ถูกทางการของต่างประเทศร้องขอให้รัฐบาลไทยส่งตัวจำเลยเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ไปพิจารณาพิพากษาคดีในต่างประเทศ เช่น ตามคดีของศาลอาญา หมายเลขคดีแดงที่ ผ.2/2546 ศาลอาญาได้มีคำวินิจฉัยว่า “ตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 มาตรา 15 บัญญัติว่า ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ให้ออกคำสั่งอนุญาตให้ขังจำเลยไว้เพื่อส่งตัวข้ามแดนต่อไป
ซึ่งมีความหมายว่าให้ศาลไต่สวนเพื่อฟังข้อมูลเบื้องต้นว่าฟ้องของโจทก์ ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 มาตรา 12 หรือไม่ ไม่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามกฎหมายของประเทศที่ร้อง ขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่”
และคดีของศาลอาญา หมายเลขแดงที่ ผ.13/2546 ได้มีคำวินิจฉัยว่า “ส่วนจำเลยจะกระทำความผิดจริงตามข้อกล่าวหาในฟ้องโจทก์หรือไม่นั้น ไม่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยเพราะตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 มาตรา 15 บัญญัติว่า”
ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ให้ออกคำสั่งอนุญาตให้ขังจำเลยไว้เพื่อส่งข้ามแดนไป
ซึ่งมีความหมายให้ศาลไต่สวนเพื่อฟังข้อมูลเบื้องต้นว่าฟ้องของโจทก์ต้อง ด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 หรือไม่เท่านั้น
กฎหมายมิได้มีเจตนารมณ์ถึงขั้นจะต้องมีพยานหลักฐานเพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยกระทำความผิด แต่มุ่งประสงค์เพียงว่าการกระทำที่จำเลยถูกกล่าวหานั้นมีมูลความผิดหรือไม่
จากเหตุผลที่ผู้เขียนได้กล่าวข้างต้น หากสมมุติว่ามีอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ ได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายอาญาของอังกฤษและหลบหนีมายังประเทศไทย และทางการอังกฤษได้ร้องขอให้รัฐบาลไทยส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน และเป็นไปตามเงื่อนไขการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าทางการไทยจะต้องรีบพิจารณาและส่งตัวบุคคลดังกล่าว กลับไปดำเนินคดีที่ประเทศอังกฤษอย่างแน่นอนโดยถือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นสำคัญ
แต่เหตุไฉน ในทางกลับกัน กรณีที่ทางการไทยประสงค์จะร้องขอให้ทางการอังกฤษส่งคนไทยที่อยู่ในประเทศ อังกฤษ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาพิจารณาพิพากษาลงโทษในประเทศไทย กลับมีความยุ่งยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง และโอกาสที่จะได้ตัวกลับมานั้นช่างริบหรี่เสียเหลือเกิน
เพราะบุคคลเหล่านั้นมีสิทธิ เสรีภาพ ที่จะต่อสู้คดีได้เต็มที่ภายใต้กฎหมายของอังกฤษ และสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อประเทศไทย
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลไทยจะกลับมาพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง กฎหมาย และสนธิสัญญา ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานและเป็นแนวปฏิบัติที่เท่าเทียมกันกับอารยประเทศในโลก นี้เพราะ ประเทศไทยมิใช่เมืองขึ้นทางกฎหมายของประเทศใดในโลก
ความไม่เท่าเทียมกันทางกฎหมาย ของไทยกับต่างประเทศ… กรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดย วิเชียร ศิริมงคล ใน มติชน
ผู้เขียนได้มี โอกาสเป็นทนายจำเลยของชาวต่างชาติหลายประเทศใดคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ทาง การของต่างประเทศร้องขอให้รัฐบาลไทยจัดส่งตัวบุคคลที่ทางการต่างประเทศนั้น กล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาในประเทศของตนแล้วหลบหนีเข้ามาในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลไทยส่งตัวบุคคลผู้นั้นกลับไปดำเนินคดีตามกฎหมายในศาลต่าง ประเทศ โดยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนมีอยู่ 2 กรณี คือ1.กรณีที่รัฐบาลไทยมีสัญญา ส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับต่างประเทศบางประเทศ
2.กรณีที่รัฐบาลไทยไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศที่ร้องขอให้ส่ง ผู้ร้ายข้ามแดน
จากประสบการณ์ของผู้เขียน ได้มีข้อคิดเห็นในเชิงวิชาการเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันทางกฎหมายของไทย กับต่างประเทศในคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน จึงใคร่ขอฝากไว้เป็นแนวศึกษาเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง นักกฎหมาย ประชาชน และผู้ที่สนใจได้ช่วยกันวิเคราะห์ ศึกษา เพื่อที่จะได้หาทางแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและวิธีปฏิบัติตามกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนของรัฐบาลไทยใน โอกาสต่อไป
ทั้งนี้ ผู้เขียนหวังเพียงว่าเพื่อให้ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีทางกฎหมายกรณีการส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนเทียบเท่าอารยประเทศอื่นๆ ที่มี/ไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย
และถือเป็นโอกาสดีที่ขณะนี้กำลังมีเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนไทย เกี่ยวกับกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภริยา ว่าทางการไทยจะร้องขอให้รัฐบาลอังกฤษส่งตัวบุคคลดังกล่าวกลับมาดำเนินคดีใน ประเทศไทยได้หรือไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยสัญญาว่าด้วยส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันในระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษ ซึ่งได้ลงนามไว้ต่อกันเมื่อวันที่ 4 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 129 (ค.ศ.1911 หรือ พ.ศ.2445) ที่กรุงเทพฯ โดยสัญญาฉบับนี้ได้มีพระราชานุญาตทั้งสองฝ่าย และได้แลกเปลี่ยนหนังสือพระราชานุญาตฝ่ายไทยและฝ่ายอังกฤษต่อกันที่กรุง ลอนดอน ณ วันที่ 1 สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก 130
สัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษฉบับดังกล่าว ผู้ที่ลงนามในสัญญาฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามขณะนั้นคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศฝ่ายสยาม และฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงเกรตบริเตนและไอร์แลนด์อันรวมกัน และอาณาจักรอังกฤษที่โพ้นทะเลทั้งหลาย และบรมราชาธิราชแห่งอินเดียขณะนั้นคือ อาเธอปิลเอสไควร์ อรรคราชทูตพิเศษ และผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายอังกฤษประจำอยู่ ณ พระราชสำนักที่กรุงเทพฯ
วัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์ของสัญญาดังกล่าวทำไว้เพื่อจะป้องกันไม่ให้มีผู้กระทำความผิด ร้ายแรงอันเป็นโทษอยู่ในพระราชอาณาเขตทั้งสองฝ่าย คือบุคคลที่ต้องหาหรือถูกกล่าวโทษว่ากระทำความผิดอันมีโทษตามที่ระบุไว้ใน สัญญารวม 31 ฐานความผิด และเป็นผู้ซึ่งหลบหนีการพิจารณาคดีจากศาลยุติธรรมของประเทศคู่สัญญาและไป อาศัย/พบตัวอยู่ในประเทศของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งสมควรที่จะต้องถูกส่งตัวให้ ซึ่งกันและกัน เพื่อนำตัวบุคคลนั้นไปพิจารณาพิพากษาคดีในศาลยุติธรรมในประเทศที่ร้องขอให้ ส่งตัวนั้นๆ ตามกฎหมายต่อไป
ในสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนดังกล่าวระบุความผิดอันมีโทษที่รัฐบาลไทยและ อังกฤษจะส่งตัวบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนแก่กันได้รวม 31 โทษฐานความผิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่มีโทษเกี่ยวกับการประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย, ปลอมแปลงเงินตรา, ยักยอกทรัพย์, ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นต้น
กรณีที่ศาลไทยได้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภริยา ฐานขัดหมายศาล ตามคดีที่ถูกฟ้องร้องซึ่งมีโทษและฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 หมวด 2 ซึ่งเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น เมื่อได้พิจารณาโทษตามข้อตกลงตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนข้างต้นไม่พบว่าตรง กับโทษใดที่ทางการไทยจะร้องขอให้อังกฤษส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้
อย่างไรก็ตาม ในสัญญาดังกล่าวได้มีข้อยกเว้นไว้ว่า “ถ้าโทษอย่างอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ถ้ามีความอยู่ในกฎหมายซึ่งใช้อยู่ทั้งสองฝ่ายว่าจะส่งผู้ร้ายให้กันได้นั้น ก็สุดแล้วแต่ประเทศซึ่งรับคำขอให้ส่งนั้นจะเห็นสมควรว่าจะส่งผู้ร้ายข้ามแดน ให้ต่อกันหรือไม่”
ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงต้องศึกษาว่าอังกฤษมีกฎหมายทำนองเดียวกับความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามที่ทางการไทยฟ้อง ร้องดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยาหรือไม่
ซึ่งหากมี เช่นนี้ทางการไทยก็สามารถร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้โดยอาศัยข้อสัญญาข้าง ต้น
มีข้อยกเว้นเด็ดขาดตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษอีกว่า ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “การเมือง” ก็ไม่ต้องส่งผู้ร้ายคนนั้นให้แก่กัน
โดยสัญญาในข้อ 5 ระบุว่า “ถ้าผู้ร้ายที่หนีมายังประเทศใด ประเทศนั้นเห็นว่าโทษที่ขอให้ส่งตัวไปชำระนั้น เป็นโทษมีลักษณะผิดต่ออำนาจของบ้านเมืองก็ดี หรือว่าผู้ร้ายนั้นนำพยานพิสูจน์ให้เห็นว่าการที่ขอให้ส่งตัวกลับไป เป็นการเพื่อจะชำระและลงโทษ อันมีลักษณะผิดต่ออำนาจของบ้านเมืองแล้ว ก็ไม่ต้องส่งผู้ร้ายคนนั้นให้แก่กัน”
จากประสบการณ์ของผู้เขียนมีความเห็นว่าการที่ทางการไทยจะร้องขอให้ทางการ อังกฤษส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา เป็นผู้ร้ายขัามแดนมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น เป็นสิ่งที่ยากอย่างยิ่ง
อีกทั้งต้องใช้เวลายาวนานในการพิจารณาคดีที่ศาลในอังกฤษกว่าคดีจะถึงที่ สุด เว้นแต่จะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลอังกฤษ (นอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน) ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลดังนี้
1.กระบวนพิจารณาคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนในศาลที่ประเทศอังกฤษแตกต่างกับการ พิจารณาคดีของศาลยุติธรรมในประเทศไทย เกี่ยวกับคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ทั้งนี้เพราะอังกฤษจะปฏิบัติตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ทำไว้กับประเทศไทย โดยเคร่งครัด อีกทั้งให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนไม่ว่าเชื้อชาติ สัญชาติใดเท่าเทียมกันทั้งหมด
การที่ศาลอังกฤษจะพิจารณาส่งผู้ร้ายข้ามแดนรายใดมายังประเทศไทย จะต้องพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานโดยละเอียดเสมอเหมือนหนึ่งว่าผู้ร้ายนั้น เป็นผู้กระทำความผิดในเมือง/ประเทศอังกฤษเอง (ตามสัญญาข้อ 8)
อีกทั้งจะต้องมีพยานหลักฐานนำสืบพิสูจน์เพียงพอให้ศาลอังกฤษเชื่อว่า ถ้าหากความผิดนั้นจำเลยได้กระทำในประเทศอังกฤษแล้ว ศาลจะมีอำนาจสั่งขังจำเลยไว้รอการพิจารณาคดีได้, จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันตามหมายจับของไทย และความผิดที่จำเลยต้องรับโทษนั้นเป็นความผิดอย่างหนึ่งซึ่งประเทศอังกฤษจะ ส่งตัวให้ได้ในเวลาที่พิพากษาลงโทษจำเลยนั้น
2.จากเหตุผลดั่งกล่าวข้างต้น พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา จะต้องจ้างทีมทนายความฝีมือดีในอังกฤษประสานงานกับทีมทนายความฝ่ายไทย ที่ให้ข้อมูล นำสืบพยานหลักฐานต่อสู้คดีในศาลที่อังกฤษในประเด็นสำคัญว่าคำร้องของส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนของทางการไทยนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “การเมือง” อย่างชัดแจ้ง
และคดีที่ตนถูกฟ้องร้องในประเทศไทยไม่มีระบุไว้ในสัญญาทั้ง 31 โทษฐานความผิด ตนเองและครอบครัวเป็นผู้บริสุทธิ์ ถูกกลั่นแกล้ง ปฏิวัติรัฐประหาร และถูกอายัดทรัพย์โดยมิชอบ เป็นเหตุให้ตนเองและภริยาต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศเพื่อความปลอดภัย และยังเดินทางเข้าประเทศไทยไม่ได้เพราะอยู่ในช่วงที่มีรัฐบาลมาจากการ ปฏิวัติ เกรงว่าจะถูกทำร้าย กลั่นแกล้ง ฯลฯ เป็นต้น
ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการถูกปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลทักษิณ เป็นข่าวแพร่หลายไปทั่วโลกและเป็นข่าวต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันและไม่อาจ ปฏิเสธได้ว่าต้นเหตุในการหนีไปอยู่ต่างประเทศนั้นมาจากเรื่อง “การเมือง” ซึ่งศาลในอังกฤษอาจจะรับฟังก็ได้
และแม้แต่หมายจับของศาลไทย ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2550 ก็ออกโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (มิใช่ศาลยุติธรรม) ซึ่งพิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องของนักการเมืองโดยเฉพาะ
นอกจากนั้น ตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ ยังมีข้อสัญญาในข้อ 6 ที่มีข้อความระบุห้ามอีกว่า “ผู้ร้ายที่ส่งไปให้แล้วนั้น ห้ามไม่ให้ประเทศที่รับตัวไปนั้น เอาไปกักขังหรือชำระโทษอย่างอื่นๆ นอกจากโทษที่ร้องขอรับตัวไปจนกว่าจะได้ปล่อยตัวหรือให้โอกาสแก่คนที่รับตัว ไปนั้น เพื่อกลับไปยังประเทศที่ส่งตัวให้นั้นได้แล้วจึงจะชำระโทษคดีอย่างอื่นๆ ได้”
ซึ่งหมายความว่าหากอังกฤษยอมส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณและภริยากลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยทางการไทยจะดำเนินคดีได้ เฉพาะโทษตามหมายจับในคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เท่านั้นจะนำตัวไปพิจารณาพิพากษาในคดีอื่นๆ ไม่ได้ เว้นแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา จะไปก่อคดีใหม่ขึ้นมาอีก
ดังนั้น จึงเป็นช่องทางให้จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ว่าเป็นคดีเกี่ยวกับการเมือง และศาลอังกฤษอาจพิจารณายกฟ้องและไม่ต้องส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยาเป็นผู้ร้ายข้ามแดน โดยอาศัยสัญญาข้อ 5 ดังกล่าวข้างต้นได้
นอกจากนั้น ยังมีเหตุผลประกอบอื่นๆ ที่ทางการอังกฤษจะไม่ยอมส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน เช่น ความมีฐานะทางการเงินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่สร้างรายได้และภาษีให้แก่อังกฤษเป็นจำนวนมหาศาล ฯลฯ เป็นต้น
3.เราคงจำกันได้ว่าประเทศไทยเคยได้รับบทเรียนเรื่องการร้องขอส่งตัว ผู้ร้ายข้ามแดนคดี นายปิ่น จักกะพาก จากประเทศอังกฤษ และนายราเกซ สักเสนา จากประเทศแคนาดา มาแล้ว 2 คดี
ซึ่งผู้เขียนเคยนำตัวอย่างคดี, คำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลในประเทศอังกฤษ มาใช้ต่อสู้คดีที่คนอังกฤษถูกทางการอังกฤษร้องขอให้รัฐบาลไทยส่งตัวเป็น ผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อนำไปพิจารณาพิพากษาในอังกฤษ
แต่ท้ายสุดศาลไทยก็มีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องขอ ของทางการอังกฤษ
และเพื่อเป็นอุทาหรณ์, เป็นการวิเคราะห์ในเชิงกฎหมายและวิชาการเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกัน พิจารณาว่าในคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา นั้น รัฐบาลไทยมีโอกาสนำตัวบุคคลทั้งสองมาดำเนินคดีในประเทศไทยโดยอาศัยสัญญาส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนที่ทำไว้กับอังกฤษได้ยากง่ายอย่างไรหรือไม่ นอกเหนือจากข้อต่อสู้เรื่อง “คดีการเมือง” ดังกล่าวข้างต้น
คดีนายปิ่น จักกะพาก นั้น คงจำกันได้ว่าทางการไทยได้ร้องขอไปยังทางการอังกฤษเพื่อให้ส่งตัวเป็น ผู้ร้ายข้ามแดนมายังประเทศไทย โดยกล่าวหาว่านายปิ่นกระทำความผิดอาญาในประเทศไทยรวม 45 ข้อหา โดยนายปิ่นถูกจับตัวในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2542 และถูกนำตัวขึ้นดำเนินคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ศาลแขวง Bow Street Magistrates” Court
นายปิ่นได้ต่อสู้คดี และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกันศาลแขวงดังกล่าวได้ไต่สวนพยานหลัก ฐานทั้งสองฝ่ายแล้วได้มีพิพากษาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 ว่านายปิ่นมีความผิดเพียง 7 ข้อหา จึงพิพากษาให้ส่งตัวนายปิ่นเป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่ทางการไทย
แต่นายปิ่นได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลสูง (High Court of Justice, Queens Bench Division) โดยศาลสูงได้วินิจฉัยคดีทั้ง 7 ข้อหาโดยละเอียดว่าโจทก์มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะรับฟังได้หรือไม่ว่าจำเลย ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาของรัฐบาลไทย (เสมอเหมือนหนึ่งว่าคดีนั้นได้เกิดขึ้นในอังกฤษ)
ท้ายสุดศาลสูงได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2544 โดยพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลแขวง ยกฟ้องคดีทุกข้อหาและปล่อยตัวนายปิ่นพ้นข้อหาไป
โดยศาลได้วินิจฉัยในประเด็นสำคัญว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดๆ บ่งชี้หรือสนับสนุนข้อพิสูจน์ได้ว่านายปิ่นกระทำการโดยมีเจตนาทุจริตตามข้อ กล่าวหา และยังไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่คณะผู้พิพากษาจะวินิจฉัยลงโทษนายปิ่นได้
กรณีของนายปิ่นไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอังกฤษ เพราะสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษนั้น จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าข้อกล่าวหาในความผิดของนายปิ่นตามที่ทางการไทยกล่าว อ้างนั้น หากเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษจะเป็นความผิดตามกฎหมายอังกฤษหรือไม่ (Double Criminality)
แต่ปรากฏว่าพยานหลักฐานของฝ่ายไทยยังไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าการ กระทำของนายปิ่นผิดต่อกฎหมายอังกฤษด้วย ซึ่งคดีดังกล่าวได้ถึงที่สุดแล้วและรัฐบาลไทยไม่สามารถนำตัวนายปิ่นมาดำเนิน คดีที่ประเทศไทยได้จนบัดนี้
เหตุที่ผู้เขียนต้องหยิบยกคดีของนายปิ่น จักกะพาก ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่ากระบวนพิจารณาคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนของอังกฤษนั้น ได้กระทำลงโดยละเอียด และให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลยผู้ถูกกล่าวหา โดยที่จำเลยมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เพื่อมิให้ตน เองถูกส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นไปตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันและภายใต้กฎหมายของ อังกฤษ อีกทั้งศาลอังกฤษยังให้ประกันตัวในระหว่างพิจารณาคดีด้วย ซึ่งแตกต่างกับการพิจารณาคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามกฎหมายไทย ที่ผู้เขียนใคร่ขอหยิบยกขึ้นเปรียบเทียบ ดังนี้
ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พุทธศักราช 2472 ตราเป็นกฎหมายขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2472 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ประเทศไทยมีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับอังกฤษนานถึง 18 ปี โดยในพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญที่ควรพิจารณาดังนี้
1.พ.ร.บ.นี้ให้ใช้บังคับแก่บรรดาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเทศไทยเท่าที่ ไม่แย้งกับข้อความในหรังสือสัญญา อนุสัญญาหรือความตกลงกับรัฐบาลต่างประเทศ หรือในประกาศกระแสพระบรมราชโองการที่ได้ออกเกี่ยวกับหนังสือสัญญา อนุสัญญาและความตกลงนั้นๆ
2.หากประเทศใดไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทยแต่ถ้ารัฐบาลไทย เห็นเป็นการสมควรก็อาจส่งตัวบุคคลผู้ต้องหาที่พิจารณาว่ากระทำความผิดอาญาใน เขตอำนาจศาลของต่างประเทศ ให้แก่ประเทศนั้นๆ ได้ แต่การกระทำผิดเช่นนี้ ต้องเป็นความผิดซึ่งกฎหมายไทยกำหนดโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปี
3.ความผิดที่จะส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนนั้น จะต้องไม่ใช่เป็นความผิดอันมีลักษณะในทางการเมือง
4.คดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน ศาลไม่ควรอนุญาตให้จำเลยมีประกัน
5.ศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานข้อต่อสู้ฝ่ายจำเลย นอกจากในข้อต่อไปนี้ คือ
(1) จำเลยไม่ใช่ตัวบุคคลที่ถูกร้องขอให้ส่งข้ามแดน
(2) ความผิดนั้นไม่อยู่ในประเภทที่จะส่งข้ามแดนได้ หรือว่าเป็นความผิดอันมีลักษณะในทางการเมือง
(3) การที่ขอให้ส่งข้ามแดนนั้น ความจริงเพื่อประสงค์จะเอาตัวไปลงโทษสำหรับความผิดอย่างอื่นอันมีลักษณะใน ทางการเมือง
(4) สัญชาติของจำเลย
ผู้เขียนได้เป็นทนายจำเลยของชาวอังกฤษผู้หนึ่ง (ขอสงวนนาม) ซึ่งพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว มีภรรยาคนไทยและมีบุตร 1 คน
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 คดีหมายเลขดำที่ ผ.12/2544 คดีหมายเลขแดงที่ ผ.6/2545 เรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดยคดีนี้รัฐบาลอังกฤษได้ร้องขอให้ทางการไทยส่ง จำเลยกลับไปดำเนินคดีที่อังกฤษ ในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา
ผู้เขียนและทนายความอังกฤษได้ร่วมกันต่อสู้คดีที่ศาลอาญา โดยเสนอพยานหลักฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์หากคดีตามข้อกล่าวหาเกิดขึ้นใน ประเทศไทย และหยิบยกข้อต่อสู้ตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ และคดีของนายปิ่น จักกะพาก ที่ถูกดำเนินคดีที่อังกฤษมาเป็นบรรทัดฐานแนวทางในการต่อสู้คดีเพราะเชื่อว่า หากคดีนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะศลจะรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามข้อ กล่าวหาของทางการอังกฤษ ขอให้ศาลยกฟ้อง ปล่อยตัวจำเลยไป
ท้ายสุดศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ขังจำเลยไว้เพื่อส่งตัวข้ามแดนไปยังประเทศ อังกฤษ โดยศาลได้วินิจฉัยว่าส่วนที่จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหานั้น ตาม พ.ร.บ.การส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ให้ออกคำสั่งอนุญาตให้ขังจำเลยไว้เพื่อส่งข้ามแดนไป” นั้น หมายความว่าให้ศาลไต่สวนให้ได้ความว่าฟ้องของโจทก์ตลอดจนพยานหลักฐานที่ โจทก์ไต่สวนในชั้นนี้ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 หรือไม่ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่ ฯลฯ
ซึ่งจากคำวินิจฉัยของศาลอาญาดังกล่าว โดยความเคารพผู้เขียนเห็นว่าแนวปฏิบัติของศาลไทยแตกต่างไปจากแนวปฏิบัติของ ศาลในประเทศอังกฤษอย่างเช่นคดีของนายปิ่น จักกะพาก เพราะศาลไทยจะไม่รับฟังข้อต่อสู้ของจำเลยว่าหากคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม ข้อเท็จจริงที่ทางการอังกฤษกล่าวหาประกอบกับพยานหลักฐานตามข้อต่อสู้ของ จำเลยนั้น จะเป็นการผิดต่อกฎหมายไทยหรือไม่เพราะศาลเห็นว่าเพียงแต่ทางการอังกฤษได้ ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติและขั้นตอนแล้ว ประเทศไทยก็จะต้องส่งบุคคลที่ถูกร้องขอกลับไปยังประเทศอังกฤษทุกกรณี (เว้นแต่คดีการเมืองที่นำสืบไปตามข้อต่อสู้)
ซึ่งต่อมาผู้เขียนได้อุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลอุทธรณ์ แต่ท้ายสุดศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลอาญา ให้ส่งตัวจำเลยเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศอังกฤษ และคดีถือว่าถึงที่สุดไม่สามารถฎีกาได้
ครั้นต่อมาเมื่อจำเลยได้ถูกส่งตัวกลับอังกฤษและถูกนำตัวขึ้นพิจารณา พิพากษาที่ศาลแขวง Bow Street Magistrates” Court ที่กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นศาลเดียวกันที่พิจารณาคดีนายปิ่น จักกะพาก ศาลแขวงได้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยเพราะโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่ศาล จะรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดอาญาฐานฆ่าคนตายตามฟ้อง
ปัจจุบันจำเลยได้กลับมาประเทศไทย และอยู่กินกับลูกและภรรยามาจนบัดนี้
นอกจากคดีดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนยังได้เป็นทนายจำเลยให้กับชาวรัสเซีย, ยูเครน, เยอรมัน ที่ถูกทางการของต่างประเทศร้องขอให้รัฐบาลไทยส่งตัวจำเลยเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ไปพิจารณาพิพากษาคดีในต่างประเทศ เช่น ตามคดีของศาลอาญา หมายเลขคดีแดงที่ ผ.2/2546 ศาลอาญาได้มีคำวินิจฉัยว่า “ตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 มาตรา 15 บัญญัติว่า ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ให้ออกคำสั่งอนุญาตให้ขังจำเลยไว้เพื่อส่งตัวข้ามแดนต่อไป
ซึ่งมีความหมายว่าให้ศาลไต่สวนเพื่อฟังข้อมูลเบื้องต้นว่าฟ้องของโจทก์ ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 มาตรา 12 หรือไม่ ไม่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามกฎหมายของประเทศที่ร้อง ขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่”
และคดีของศาลอาญา หมายเลขแดงที่ ผ.13/2546 ได้มีคำวินิจฉัยว่า “ส่วนจำเลยจะกระทำความผิดจริงตามข้อกล่าวหาในฟ้องโจทก์หรือไม่นั้น ไม่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยเพราะตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 มาตรา 15 บัญญัติว่า”
ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ให้ออกคำสั่งอนุญาตให้ขังจำเลยไว้เพื่อส่งข้ามแดนไป
ซึ่งมีความหมายให้ศาลไต่สวนเพื่อฟังข้อมูลเบื้องต้นว่าฟ้องของโจทก์ต้อง ด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 หรือไม่เท่านั้น
กฎหมายมิได้มีเจตนารมณ์ถึงขั้นจะต้องมีพยานหลักฐานเพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยกระทำความผิด แต่มุ่งประสงค์เพียงว่าการกระทำที่จำเลยถูกกล่าวหานั้นมีมูลความผิดหรือไม่
จากเหตุผลที่ผู้เขียนได้กล่าวข้างต้น หากสมมุติว่ามีอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ ได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายอาญาของอังกฤษและหลบหนีมายังประเทศไทย และทางการอังกฤษได้ร้องขอให้รัฐบาลไทยส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน และเป็นไปตามเงื่อนไขการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าทางการไทยจะต้องรีบพิจารณาและส่งตัวบุคคลดังกล่าว กลับไปดำเนินคดีที่ประเทศอังกฤษอย่างแน่นอนโดยถือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นสำคัญ
แต่เหตุไฉน ในทางกลับกัน กรณีที่ทางการไทยประสงค์จะร้องขอให้ทางการอังกฤษส่งคนไทยที่อยู่ในประเทศ อังกฤษ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาพิจารณาพิพากษาลงโทษในประเทศไทย กลับมีความยุ่งยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง และโอกาสที่จะได้ตัวกลับมานั้นช่างริบหรี่เสียเหลือเกิน
เพราะบุคคลเหล่านั้นมีสิทธิ เสรีภาพ ที่จะต่อสู้คดีได้เต็มที่ภายใต้กฎหมายของอังกฤษ และสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อประเทศไทย
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลไทยจะกลับมาพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง กฎหมาย และสนธิสัญญา ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานและเป็นแนวปฏิบัติที่เท่าเทียมกันกับอารยประเทศในโลก นี้เพราะ ประเทศไทยมิใช่เมืองขึ้นทางกฎหมายของประเทศใดในโลก
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ