ตีแผ่คดียึดทรัพย์
หน้า 1 จาก 1
ตีแผ่คดียึดทรัพย์
ตีแผ่คดียึดทรัพย์ โดยเห่าดง ไทยรัฐ
“เห่าดง” นักเขียนในคอลัมส์ กล้าได้กล้าเสีย ของไทยรัฐ ได้รวบรวมและสอดแทรกข้อคิดเห็นในหัวข้อ ตีแผ่คดียึดทรัพย์ ไว้น่าสนใจ เลยขอนำมาเผยแพร่ต่อ
ดุลพาห เล่มที่ 5 ปีที่ 40 กย.-ตค. 2536
ไม่ว่าใคร หากได้อ่านนิตยสารกระทรวงยุติธรรม ที่ชื่อ ดุลพาห เล่ม 5 ปีที่ 40 กันยายน-ตุลาคม 2536 รับรองว่า จะได้ความรู้ เกี่ยวกับข้อกฎหมายเพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยเท่าพันเท่า โดยเฉพาะนิตยสารฉบับนี้ ได้ลงบทความกรณีศึกษาคดียึดทรัพย์ประวัติศาสตร์สมัย รสช. เอาไว้ละเอียดยิบทุกแง่ทุกมุมเริ่มจากบทความของนายวิชา มหาคุณ ที่เขียนเรื่องการตรวจสอบในทางตุลาการ : ศึกษาจากกรณีประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 เอาไว้ว่า ศาลฎีกาเริ่มใช้อำนาจตรวจสอบในทางตุลาการเป็นครั้งแรกในคดีอาชญากรสงคราม เมื่อปี 2489
จากนั้น ปี 2536 ศาลฎีกาจึงหวนกลับมาใช้อำนาจตรวจสอบในทางตุลาการ ในกรณีประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 โดยไม่ส่งให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า
1. ขณะที่ รสช.ออกประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 เป็นช่วงเวลาที่ไม่มี กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือธรรมนูญการปกครองฉบับใดใช้บังคับ นั่นหมายความว่า คณะ รสช.ซึ่งเป็นคณะผู้เผด็จการอันเป็นรัฏฐาธิปัตย์ในขณะนั้น ออกคำสั่งโดยไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดตรวจสอบว่าชอบหรือมิชอบประการใด
2. ต่อมาระหว่างที่ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 มีผลใช้บังคับอยู่นั้น ได้มีประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ดังนั้น ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 จึงอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองฯ และจะขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองฯไม่ได้
ต่อมา ได้มีคำสั่งศาลฎีการะบุว่า ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย และขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 จึงไม่สามารถใช้บังคับได้
ส่วนเหตุผลก็มาจากคำ วินิจฉัยยึดทรัพย์ของ คตส. เป็นการสั่งลงโทษริบทรัพย์ในทางอาญา โดยไม่ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากนี้ คตส.ยังใช้อำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ซึ่งตามประเพณีการ ปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย เป็นอำนาจของศาล จึงเป็นสิ่งที่ขัดต่อประเพณีการปกครองฯ ไม่สามารถกระทำได้และข้อสำคัญที่สุดก็คือ การออกและใช้ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ที่ให้ทรัพย์สินของนักการเมืองซึ่งได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนประกาศดังกล่าว ใช้บังคับ เป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคล ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามออกกฎหมาย ที่มีโทษอาญาให้มีผลย้อนหลัง เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจึงถือได้ว่า ประกาศดังกล่าวขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศ ไทยในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ให้ออกกฎหมายย้อนหลังลงโทษบุคคล
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่น่าสนใจซึ่งมีผู้สงสัยกันมากอีกประการหนึ่งก็คือ ในเมื่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติรับรองให้ประกาศ ที่ออกก่อนวันใช้รัฐธรรมนูญการปกครองนี้เป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วเหตุใดศาลฎีกาจึงวินิจฉัยได้ว่า ประกาศนี้ไม่มีผลบังคับข้อนี้ศาลฎีกาได้วินิจฉัย ไว้ชัดเจนว่า บทบัญญัติในธรรมนูญการปกครองดังกล่าว เป็นเพียงการรองรับโดยทั่วไปว่า ประกาศของ รสช.มีผลให้ใช้บังคับได้ เช่น กฎหมายเท่านั้น มิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้ แม้เนื้อหาตามประกาศนั้นขัดแย้งต่อธรรมนูญการปกครอง เพราะปัญหาที่ว่าประกาศ รสช.ใช้บังคับได้เพียงใด ต่างกันกับปัญหาที่ว่าประกาศนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
วิชา มหาคุณ – คดียึดทรัพย์ สมัย รสช.
แม้หลายคนอาจคิดว่า ข้อกฎหมายเป็นเรื่องปวดหัว ไม่เห็นน่าสนใจสักนิด แต่ขอให้เชื่อผมเถอะว่า นับจากนี้ไป การเมืองจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับข้อกฎหมายไปตลอด ฉะนั้น ทุกคนก็ควรศึกษาข้อกฎหมายกันแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้มีภูมิความรู้เอาไว้คอยติดตามการชิงไหวชิงพริบทางการเมืองในอนาคต
ซึ่งรับรองได้ว่า แต่ละฝ่ายจะงัดข้อกฎหมายมาถล่มกันดุเดือดแน่นอนในส่วนของคดียึดทรัพย์ครั้ง ประวัติศาสตร์ นายวิชา มหาคุณ ได้ สรุปไว้ว่า เหตุที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ใช้บังคับมิได้มีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ให้ คตส.มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีประดุจดังศาล กับส่วนที่ให้มีผลย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลเหมือนเช่นในคดีอาชญากรสงคราม
ซึ่งศาลอาชญากรรมสงคราม วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงครามฯเฉพาะที่บัญญัติลงโทษ การกระทำก่อนวันใช้พระราชบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะ
สำหรับบทเรียนที่ได้รับจาก ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 นั้น มีอยู่ 7 ข้อ คือ
1. ศาลยุติธรรมประกาศเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน ตามประเพณีการปกครองของประเทศ ในระบอบประชาธิปไตย
2. ศาลยุติธรรมยืนยันถึงอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามหลักนิติธรรม (the rule of law) โดยไม่ยอมสละอำนาจนี้ให้แก่ คณะบุคคลหรือบุคคลใด
3. ศาลยุติธรรมยืนยันหลักตามรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ว่า กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคล
4. ศาลยุติธรรมสงวนสิทธิและอำนาจในการตรวจสอบกฎหมาย มิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญในกรณีที่กฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้ระบุไว้ โดยแน่ชัดว่าให้องค์กรใดเป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว
5. แม้ผู้เผด็จการที่ยึดอำนาจการปกครองสำเร็จ สามารถออกประกาศหรือคำสั่งที่ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ แต่ประกาศหรือคำสั่งนั้นต้องถูกตรวจสอบได้ว่าเป็นประกาศหรือคำสั่ง ที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่
6. ประกาศหรือคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจเบ็ดเสร็จ ย่อมมีข้อผิดพลาด และไม่ถูกต้องตามกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย (due process of law)
7. การกระทำใดก็ตาม แม้จะมีเจตนาดีและหวังดีสักเพียงใด แต่หากการกระทำนั้นประกอบด้วยกระบวนการหรือวิธีการอันไม่ถูกต้องชอบธรรมแล้ว ก็หาทำให้การกระทำนั้นเป็นสิ่งถูกต้องไปด้วยไม่ เช่น กรณีปล้นทรัพย์ เอามาสร้างโบสถ์ หรือจับคนร้ายมารุมประชาทัณฑ์จนตาย เป็นต้น
นายวิชา มหาคุณ ได้สรุปความเห็นทางด้านกฎหมายเอาไว้ชัดเจนมาก สามารถนำบางเรื่องมาใช้พิจารณาเปรียบเทียบกับยุคปัจจุบัน
กรณีคณะปฏิวัติ ตั้ง คตส.มาตรวจสอบทุจริต และอายัดทรัพย์นักการเมืองในรัฐบาลชุดที่แล้วโดยเฉพาะในเรื่องของหลัก นิติธรรม (the rule of law) คมช. และ คตส. ยุคนี้มีเพียงใด การตั้งคณะบุคคลเป็นการเฉพาะ เพื่อเลือกเอาบางโครงการขึ้นมาสอบสวนทุจริต ทั้งที่มีการยื่นให้สอบโครงการ อื่นๆ แต่ไม่ยอมสอบ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่
รวมไปถึงการเจาะจง อายัดทรัพย์คนคนเดียว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปมปัญหาทางข้อกฎหมายในอนาคตทั้งสิ้นเพียงแค่ได้อ่านนิตยสาร กระทรวงยุติธรรมที่ชื่อ ดุลพาห ก็ทำให้ หูตาสว่างขึ้นมากจริงๆผมถือว่า ได้คัมภีร์กฎหมายสุดยอดฉบับหนึ่งมาไว้ในมือ และจากนี้ไป คงได้ตั้งคำถามกับผู้มีอำนาจเพื่อให้ตอบต่อสาธารณชนว่า ทุกสิ่งที่ คมช.ได้ทำมานั้น ไร้ความเป็นธรรมและขัดต่อกฎหมายหรือไม่
รสช. ด้วยคำสั่งศาลฎีกาคดียึดทรัพย์
ต่อมาเป็นบทความของนายชัย พัฒน์ ชินวงศ์ ได้เขียนโดยอ้างคำสั่งศาลฎีกาคดียึดทรัพย์ที่ 913/2536 ซึ่งตัดสินให้คำสั่งของ รสช.ฉบับที่ 26 ขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และมีผลให้คำสั่งยึดทรัพย์นักการเมืองที่ร่ำรวยผิดปกติ กลายเป็นคำสั่งอันมิชอบ
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอหมายเหตุท้ายฎีกาที่นายอธิคม อินทุภูติ ได้บันทึกไว้เพื่อแสดงเหตุและผลเพิ่มเติมในบางประเด็น รวมทั้งกฎหมายและคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องเอาไว้อย่างพร้อมมูลครบถ้วนนายชัยพัฒน์ระบุว่า ขณะที่ศาลฎีกากำลังพิจารณาตัดสินคดีนี้ สถานการณ์ทางการเมืองได้ตึงเครียดมาโดยตลอด เนื่องจากผลของคำสั่งย่อมส่งผลกระทบต่อเงื่อนไขทางการเมืองของรัฐบาลในขณะ นั้น รวมทั้งปัญหาการคานอำนาจกันของอำนาจรัฐ 3 ฝ่าย ซึ่งเป็นข้อที่ถกเถียงกันอยู่กว้างขวาง
ดังนั้น การวินิจฉัยของศาลฎีกาจึงจำเป็นต้องปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง และเป็นไปเพื่อความถูกต้องตามหลักกฎหมาย และต้องเป็นการวางรากฐานสำหรับนิติปฏิบัติที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าด้วย คำสั่งฉบับนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นคำสั่งที่สำคัญมากที่สุดในช่วงทศวรรษนี้ก็ว่าได้
หลังจากผมได้อ่านบทความดัง กล่าวแล้ว ถือว่าได้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายเพิ่มขึ้นมากมาย โดยเฉพาะหมายเหตุท้ายฎีกาที่นายอธิคม อินทุภูติ ได้บันทึกเอาไว้นั้น ยิ่งทำให้เข้าใจข้อกฎหมายได้กระจ่างชัดขึ้นยกตัวอย่างในเรื่องที่ศาลฎีกาเห็นว่าการตั้ง คตส.เป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ก็มีข้อชวนให้คิด ไปได้ว่า จะถือได้หรือไม่ คตส.เป็นเพียงกลไกพิเศษของฝ่ายบริหารที่ต้องการป้องกันมิให้ผู้ไม่สุจริตได้ รับประโยชน์ จากการฉ้อราษฎร์บังหลวงทำนองเดียวกับการยึดทรัพย์ในอดีตคตส.
จึงอาจจะมิใช่การ ตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี โดยเฉพาะภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมให้นักการเมืองทั้งหลาย มีสิทธิยื่นคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สินต่อศาล อำนาจของ คตส. มิได้มีลักษณะเป็นอำนาจที่เด็ดขาดอีกต่อไป จะถือว่าเป็นอำนาจทำนองเดียวกับอำนาจศาล น่าจะไม่ได้ในข้อนี้
ผู้บันทึกเห็นว่า คงต้องแยกอำนาจของ คตส.ออกเป็น 2 ส่วน คือช่วงก่อนมีการแก้ไขกับช่วงภายหลังมีการแก้ไข ในช่วงก่อนมีการแก้ไขนั้น อำนาจ คตส.มีลักษณะเป็นอำนาจที่เด็ดขาดแน่นอน เพราะไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ แท้จริง นำคดีไปฟ้องร้องเป็นอย่างอื่นส่วนต่อมามีการแก้ไขให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหายื่นคำ ร้องขอพิสูจน์ ทรัพย์สิน แต่ศาลฎีกายังคงเห็นว่าอำนาจของ คตส.มีลักษณะเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น
ผู้บันทึกเองก็ เห็นว่า อำนาจของ คตส. ตอนนี้ไม่ได้เป็นอำนาจที่เด็ดขาดแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลของศาลฎีกาที่มองว่า บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่มิได้แก้ไขให้มีทางเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของ คตส. ในข้อที่ว่านักการเมืองคนนั้นๆมีทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้น ผิดปกติ และร่ำรวยผิดปกติผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต
ผู้บันทึกเข้าใจว่า ศาลฎีกาคงมองในแง่ที่ว่า แม้อำนาจของ คตส.ในส่วนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ของผู้ถูกกล่าวหาจะคลายความเด็ดขาดไปแล้ว แต่ในส่วนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงของผู้ถูกกล่าวหายังมีอยู่ ศาลยังไม่อาจลบล้างได้ ซึ่งก็มีเหตุผล
จริงๆแล้วยังมีข้อกฎหมายที่ น่าศึกษาอีกมากมายในคดีประวัติศาสตร์ ยึดทรัพย์นักการเมืองของ รสช. แต่ข้อมูลเพียงเท่านี้ก็คงจะพอแล้วสำหรับการปูพื้นฐานความรู้ด้านกฎหมาย ให้แก่ประชาชนเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับกรณี คตส.ของ คมช.ที่กำลังไล่ล่าอายัดทรัพย์นักการเมืองอยู่ตอนนี้
ปัจจุบัน คมช.
นับจากนี้ไป ผมจะตั้งคำถามต่อการกระทำของคณะปฏิวัติ รวมทั้งพฤติกรรม ตลอดจนอำนาจที่ใช้ทั้งหมดว่า เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งได้ยึดหลักกฎหมายสากลที่ใช้ในนานาอารยประเทศหรือไม่
แม้คณะปฏิวัติจะมีนักกฎหมาย ที่เก่งกาจมาเขียนกฎหมายให้ก็ตามแต่สุดท้ายแล้ว หลักนิติธรรม หรือ the rule of law ก็จะมีอิทธิพลเหนือความเก่งกาจในการเขียนกฎหมายที่ไร้ความเป็นธรรม และไม่เป็นประชาธิปไตยอยู่ดี นี่คือความเชื่อที่เกิดขึ้น หลังจากได้อ่านบทความเกี่ยวกับข้อกฎหมายจากนิตยสารดุลพาห
โดยเฉพาะหลักการสำคัญที่ผม ได้รับมาก็คือ คณะผู้เผด็จการที่ยึดอำนาจการปกครองสำเร็จ แม้จะสามารถออกประกาศหรือคำสั่งที่ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ แต่ประกาศหรือคำสั่งนั้นต้องถูกตรวจสอบ ได้ว่าเป็นประกาศหรือคำสั่งที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่แม้ฝ่ายกฎหมายของคณะ ปฏิวัติจะพยายาม ใช้ความเก่งกาจทางด้านนิติศาสตร์เขียนกฎหมายให้เนียน หรือรัดกุมเพียงใด แต่เจตนาในการกระทำ หรือการปฏิวัติ ก็บ่งชี้อยู่แล้วว่า เป็นความมุ่งหวังที่จะทำลายคณะรัฐบาล หรือทำลายคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่มีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน
ดังนั้น การออกประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิวัติใน ส่วนนี้จึงมิได้มุ่งหวังเพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไปแก่ประชาชนทุกคน ตรงกันข้าม กลับเจาะจงที่จะใช้ประกาศหรือคำสั่งนั้นเล่นงาน คณะบุคคลเพียงกลุ่มเดียวให้ได้รับโทษทัณฑ์ขั้นร้ายแรงที่สุด ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดหลักนิติธรรมอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติแทรกแซงกระบวน การยุติธรรมในส่วนของการสอบสวนด้วยการใช้ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 แต่งตั้ง คตส.ให้มีอำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดิน กระทำการสอบสวนเรื่องที่มีการร้องเรียนทุจริตบางเรื่อง ไม่ได้เป็นการสอบสวนเรื่องทุจริตเป็นการทั่วไปเหมือนเช่น ป.ป.ช. ปปง.ขณะที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ได้ระบุเอาไว้ชัดว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
คำถามที่ตามมาก็คือ การออกประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เพื่อเล่นงานบุคคลเพียงกลุ่มเดียว ถือเป็นการเสมอกันในกฎหมาย และได้ รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันหรือไม่ รวมทั้งการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที่มีความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกันหรือ ไม่
นอกจากนี้ ยังจะมีการออกกฎหมายบังคับให้ประเทศชาติต้อง ไปรับผิดชอบต่อการกระทำของบุคคลเพียงกลุ่มเดียว นั่นก็คือ กรณี คตส.ถูกฟ้องรอง หากผลการฟ้องร้องออกมาว่า คณะบุคคลดังกล่าวผิด ต้องชดใช้ค่าเสียหาย จะเป็นธรรมต่อประชาชนทั่วประเทศหรือไม่ เนื่องจากขณะที่ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 และกฎหมายให้รัฐร่วมรับผิดนั้น ไม่ได้ อยู่ในช่วงที่บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย
ประชาชนไม่ได้มี ส่วนรู้เห็นอะไรด้วยเลยทั้งหมดจึงเป็นการกระทำโดยพลการของคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นส่วนเรื่องที่ผู้มีอำนาจ กระหยิ่มยิ้มย่อง คิดว่าเขียนมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญรองรับการกระทำของตัวเองไว้หมด ไม่ว่าการกระทำใดก่อนหรือหลังประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้ถือว่าการนั้นและกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
ที่ผ่านมา คณะปฏิวัติทุกยุคก็คิดอย่างนี้ แต่ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ก็เป็นโมฆะจนได้ เพราะศาลเห็นว่า ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ยังมีประเด็นวินิจฉัยที่เจ๋งกว่า นั่นก็คือประกาศหรือคำสั่งนั้น ใช้บังคับได้หรือไม่ หลักนิติธรรมสูงส่งเพียงใด.
“เห่าดง” นักเขียนในคอลัมส์ กล้าได้กล้าเสีย ของไทยรัฐ ได้รวบรวมและสอดแทรกข้อคิดเห็นในหัวข้อ ตีแผ่คดียึดทรัพย์ ไว้น่าสนใจ เลยขอนำมาเผยแพร่ต่อ
ดุลพาห เล่มที่ 5 ปีที่ 40 กย.-ตค. 2536
ไม่ว่าใคร หากได้อ่านนิตยสารกระทรวงยุติธรรม ที่ชื่อ ดุลพาห เล่ม 5 ปีที่ 40 กันยายน-ตุลาคม 2536 รับรองว่า จะได้ความรู้ เกี่ยวกับข้อกฎหมายเพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยเท่าพันเท่า โดยเฉพาะนิตยสารฉบับนี้ ได้ลงบทความกรณีศึกษาคดียึดทรัพย์ประวัติศาสตร์สมัย รสช. เอาไว้ละเอียดยิบทุกแง่ทุกมุมเริ่มจากบทความของนายวิชา มหาคุณ ที่เขียนเรื่องการตรวจสอบในทางตุลาการ : ศึกษาจากกรณีประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 เอาไว้ว่า ศาลฎีกาเริ่มใช้อำนาจตรวจสอบในทางตุลาการเป็นครั้งแรกในคดีอาชญากรสงคราม เมื่อปี 2489
จากนั้น ปี 2536 ศาลฎีกาจึงหวนกลับมาใช้อำนาจตรวจสอบในทางตุลาการ ในกรณีประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 โดยไม่ส่งให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า
1. ขณะที่ รสช.ออกประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 เป็นช่วงเวลาที่ไม่มี กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือธรรมนูญการปกครองฉบับใดใช้บังคับ นั่นหมายความว่า คณะ รสช.ซึ่งเป็นคณะผู้เผด็จการอันเป็นรัฏฐาธิปัตย์ในขณะนั้น ออกคำสั่งโดยไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดตรวจสอบว่าชอบหรือมิชอบประการใด
2. ต่อมาระหว่างที่ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 มีผลใช้บังคับอยู่นั้น ได้มีประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ดังนั้น ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 จึงอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองฯ และจะขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองฯไม่ได้
ต่อมา ได้มีคำสั่งศาลฎีการะบุว่า ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย และขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 จึงไม่สามารถใช้บังคับได้
ส่วนเหตุผลก็มาจากคำ วินิจฉัยยึดทรัพย์ของ คตส. เป็นการสั่งลงโทษริบทรัพย์ในทางอาญา โดยไม่ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากนี้ คตส.ยังใช้อำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ซึ่งตามประเพณีการ ปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย เป็นอำนาจของศาล จึงเป็นสิ่งที่ขัดต่อประเพณีการปกครองฯ ไม่สามารถกระทำได้และข้อสำคัญที่สุดก็คือ การออกและใช้ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ที่ให้ทรัพย์สินของนักการเมืองซึ่งได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนประกาศดังกล่าว ใช้บังคับ เป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคล ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามออกกฎหมาย ที่มีโทษอาญาให้มีผลย้อนหลัง เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจึงถือได้ว่า ประกาศดังกล่าวขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศ ไทยในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ให้ออกกฎหมายย้อนหลังลงโทษบุคคล
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่น่าสนใจซึ่งมีผู้สงสัยกันมากอีกประการหนึ่งก็คือ ในเมื่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติรับรองให้ประกาศ ที่ออกก่อนวันใช้รัฐธรรมนูญการปกครองนี้เป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วเหตุใดศาลฎีกาจึงวินิจฉัยได้ว่า ประกาศนี้ไม่มีผลบังคับข้อนี้ศาลฎีกาได้วินิจฉัย ไว้ชัดเจนว่า บทบัญญัติในธรรมนูญการปกครองดังกล่าว เป็นเพียงการรองรับโดยทั่วไปว่า ประกาศของ รสช.มีผลให้ใช้บังคับได้ เช่น กฎหมายเท่านั้น มิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้ แม้เนื้อหาตามประกาศนั้นขัดแย้งต่อธรรมนูญการปกครอง เพราะปัญหาที่ว่าประกาศ รสช.ใช้บังคับได้เพียงใด ต่างกันกับปัญหาที่ว่าประกาศนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
วิชา มหาคุณ – คดียึดทรัพย์ สมัย รสช.
แม้หลายคนอาจคิดว่า ข้อกฎหมายเป็นเรื่องปวดหัว ไม่เห็นน่าสนใจสักนิด แต่ขอให้เชื่อผมเถอะว่า นับจากนี้ไป การเมืองจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับข้อกฎหมายไปตลอด ฉะนั้น ทุกคนก็ควรศึกษาข้อกฎหมายกันแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้มีภูมิความรู้เอาไว้คอยติดตามการชิงไหวชิงพริบทางการเมืองในอนาคต
ซึ่งรับรองได้ว่า แต่ละฝ่ายจะงัดข้อกฎหมายมาถล่มกันดุเดือดแน่นอนในส่วนของคดียึดทรัพย์ครั้ง ประวัติศาสตร์ นายวิชา มหาคุณ ได้ สรุปไว้ว่า เหตุที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ใช้บังคับมิได้มีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ให้ คตส.มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีประดุจดังศาล กับส่วนที่ให้มีผลย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลเหมือนเช่นในคดีอาชญากรสงคราม
ซึ่งศาลอาชญากรรมสงคราม วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงครามฯเฉพาะที่บัญญัติลงโทษ การกระทำก่อนวันใช้พระราชบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะ
สำหรับบทเรียนที่ได้รับจาก ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 นั้น มีอยู่ 7 ข้อ คือ
1. ศาลยุติธรรมประกาศเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน ตามประเพณีการปกครองของประเทศ ในระบอบประชาธิปไตย
2. ศาลยุติธรรมยืนยันถึงอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามหลักนิติธรรม (the rule of law) โดยไม่ยอมสละอำนาจนี้ให้แก่ คณะบุคคลหรือบุคคลใด
3. ศาลยุติธรรมยืนยันหลักตามรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ว่า กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคล
4. ศาลยุติธรรมสงวนสิทธิและอำนาจในการตรวจสอบกฎหมาย มิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญในกรณีที่กฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้ระบุไว้ โดยแน่ชัดว่าให้องค์กรใดเป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว
5. แม้ผู้เผด็จการที่ยึดอำนาจการปกครองสำเร็จ สามารถออกประกาศหรือคำสั่งที่ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ แต่ประกาศหรือคำสั่งนั้นต้องถูกตรวจสอบได้ว่าเป็นประกาศหรือคำสั่ง ที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่
6. ประกาศหรือคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจเบ็ดเสร็จ ย่อมมีข้อผิดพลาด และไม่ถูกต้องตามกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย (due process of law)
7. การกระทำใดก็ตาม แม้จะมีเจตนาดีและหวังดีสักเพียงใด แต่หากการกระทำนั้นประกอบด้วยกระบวนการหรือวิธีการอันไม่ถูกต้องชอบธรรมแล้ว ก็หาทำให้การกระทำนั้นเป็นสิ่งถูกต้องไปด้วยไม่ เช่น กรณีปล้นทรัพย์ เอามาสร้างโบสถ์ หรือจับคนร้ายมารุมประชาทัณฑ์จนตาย เป็นต้น
นายวิชา มหาคุณ ได้สรุปความเห็นทางด้านกฎหมายเอาไว้ชัดเจนมาก สามารถนำบางเรื่องมาใช้พิจารณาเปรียบเทียบกับยุคปัจจุบัน
กรณีคณะปฏิวัติ ตั้ง คตส.มาตรวจสอบทุจริต และอายัดทรัพย์นักการเมืองในรัฐบาลชุดที่แล้วโดยเฉพาะในเรื่องของหลัก นิติธรรม (the rule of law) คมช. และ คตส. ยุคนี้มีเพียงใด การตั้งคณะบุคคลเป็นการเฉพาะ เพื่อเลือกเอาบางโครงการขึ้นมาสอบสวนทุจริต ทั้งที่มีการยื่นให้สอบโครงการ อื่นๆ แต่ไม่ยอมสอบ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่
รวมไปถึงการเจาะจง อายัดทรัพย์คนคนเดียว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปมปัญหาทางข้อกฎหมายในอนาคตทั้งสิ้นเพียงแค่ได้อ่านนิตยสาร กระทรวงยุติธรรมที่ชื่อ ดุลพาห ก็ทำให้ หูตาสว่างขึ้นมากจริงๆผมถือว่า ได้คัมภีร์กฎหมายสุดยอดฉบับหนึ่งมาไว้ในมือ และจากนี้ไป คงได้ตั้งคำถามกับผู้มีอำนาจเพื่อให้ตอบต่อสาธารณชนว่า ทุกสิ่งที่ คมช.ได้ทำมานั้น ไร้ความเป็นธรรมและขัดต่อกฎหมายหรือไม่
รสช. ด้วยคำสั่งศาลฎีกาคดียึดทรัพย์
ต่อมาเป็นบทความของนายชัย พัฒน์ ชินวงศ์ ได้เขียนโดยอ้างคำสั่งศาลฎีกาคดียึดทรัพย์ที่ 913/2536 ซึ่งตัดสินให้คำสั่งของ รสช.ฉบับที่ 26 ขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และมีผลให้คำสั่งยึดทรัพย์นักการเมืองที่ร่ำรวยผิดปกติ กลายเป็นคำสั่งอันมิชอบ
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอหมายเหตุท้ายฎีกาที่นายอธิคม อินทุภูติ ได้บันทึกไว้เพื่อแสดงเหตุและผลเพิ่มเติมในบางประเด็น รวมทั้งกฎหมายและคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องเอาไว้อย่างพร้อมมูลครบถ้วนนายชัยพัฒน์ระบุว่า ขณะที่ศาลฎีกากำลังพิจารณาตัดสินคดีนี้ สถานการณ์ทางการเมืองได้ตึงเครียดมาโดยตลอด เนื่องจากผลของคำสั่งย่อมส่งผลกระทบต่อเงื่อนไขทางการเมืองของรัฐบาลในขณะ นั้น รวมทั้งปัญหาการคานอำนาจกันของอำนาจรัฐ 3 ฝ่าย ซึ่งเป็นข้อที่ถกเถียงกันอยู่กว้างขวาง
ดังนั้น การวินิจฉัยของศาลฎีกาจึงจำเป็นต้องปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง และเป็นไปเพื่อความถูกต้องตามหลักกฎหมาย และต้องเป็นการวางรากฐานสำหรับนิติปฏิบัติที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าด้วย คำสั่งฉบับนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นคำสั่งที่สำคัญมากที่สุดในช่วงทศวรรษนี้ก็ว่าได้
หลังจากผมได้อ่านบทความดัง กล่าวแล้ว ถือว่าได้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายเพิ่มขึ้นมากมาย โดยเฉพาะหมายเหตุท้ายฎีกาที่นายอธิคม อินทุภูติ ได้บันทึกเอาไว้นั้น ยิ่งทำให้เข้าใจข้อกฎหมายได้กระจ่างชัดขึ้นยกตัวอย่างในเรื่องที่ศาลฎีกาเห็นว่าการตั้ง คตส.เป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ก็มีข้อชวนให้คิด ไปได้ว่า จะถือได้หรือไม่ คตส.เป็นเพียงกลไกพิเศษของฝ่ายบริหารที่ต้องการป้องกันมิให้ผู้ไม่สุจริตได้ รับประโยชน์ จากการฉ้อราษฎร์บังหลวงทำนองเดียวกับการยึดทรัพย์ในอดีตคตส.
จึงอาจจะมิใช่การ ตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี โดยเฉพาะภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมให้นักการเมืองทั้งหลาย มีสิทธิยื่นคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สินต่อศาล อำนาจของ คตส. มิได้มีลักษณะเป็นอำนาจที่เด็ดขาดอีกต่อไป จะถือว่าเป็นอำนาจทำนองเดียวกับอำนาจศาล น่าจะไม่ได้ในข้อนี้
ผู้บันทึกเห็นว่า คงต้องแยกอำนาจของ คตส.ออกเป็น 2 ส่วน คือช่วงก่อนมีการแก้ไขกับช่วงภายหลังมีการแก้ไข ในช่วงก่อนมีการแก้ไขนั้น อำนาจ คตส.มีลักษณะเป็นอำนาจที่เด็ดขาดแน่นอน เพราะไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ แท้จริง นำคดีไปฟ้องร้องเป็นอย่างอื่นส่วนต่อมามีการแก้ไขให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหายื่นคำ ร้องขอพิสูจน์ ทรัพย์สิน แต่ศาลฎีกายังคงเห็นว่าอำนาจของ คตส.มีลักษณะเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น
ผู้บันทึกเองก็ เห็นว่า อำนาจของ คตส. ตอนนี้ไม่ได้เป็นอำนาจที่เด็ดขาดแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลของศาลฎีกาที่มองว่า บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่มิได้แก้ไขให้มีทางเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของ คตส. ในข้อที่ว่านักการเมืองคนนั้นๆมีทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้น ผิดปกติ และร่ำรวยผิดปกติผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต
ผู้บันทึกเข้าใจว่า ศาลฎีกาคงมองในแง่ที่ว่า แม้อำนาจของ คตส.ในส่วนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ของผู้ถูกกล่าวหาจะคลายความเด็ดขาดไปแล้ว แต่ในส่วนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงของผู้ถูกกล่าวหายังมีอยู่ ศาลยังไม่อาจลบล้างได้ ซึ่งก็มีเหตุผล
จริงๆแล้วยังมีข้อกฎหมายที่ น่าศึกษาอีกมากมายในคดีประวัติศาสตร์ ยึดทรัพย์นักการเมืองของ รสช. แต่ข้อมูลเพียงเท่านี้ก็คงจะพอแล้วสำหรับการปูพื้นฐานความรู้ด้านกฎหมาย ให้แก่ประชาชนเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับกรณี คตส.ของ คมช.ที่กำลังไล่ล่าอายัดทรัพย์นักการเมืองอยู่ตอนนี้
ปัจจุบัน คมช.
นับจากนี้ไป ผมจะตั้งคำถามต่อการกระทำของคณะปฏิวัติ รวมทั้งพฤติกรรม ตลอดจนอำนาจที่ใช้ทั้งหมดว่า เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งได้ยึดหลักกฎหมายสากลที่ใช้ในนานาอารยประเทศหรือไม่
แม้คณะปฏิวัติจะมีนักกฎหมาย ที่เก่งกาจมาเขียนกฎหมายให้ก็ตามแต่สุดท้ายแล้ว หลักนิติธรรม หรือ the rule of law ก็จะมีอิทธิพลเหนือความเก่งกาจในการเขียนกฎหมายที่ไร้ความเป็นธรรม และไม่เป็นประชาธิปไตยอยู่ดี นี่คือความเชื่อที่เกิดขึ้น หลังจากได้อ่านบทความเกี่ยวกับข้อกฎหมายจากนิตยสารดุลพาห
โดยเฉพาะหลักการสำคัญที่ผม ได้รับมาก็คือ คณะผู้เผด็จการที่ยึดอำนาจการปกครองสำเร็จ แม้จะสามารถออกประกาศหรือคำสั่งที่ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ แต่ประกาศหรือคำสั่งนั้นต้องถูกตรวจสอบ ได้ว่าเป็นประกาศหรือคำสั่งที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่แม้ฝ่ายกฎหมายของคณะ ปฏิวัติจะพยายาม ใช้ความเก่งกาจทางด้านนิติศาสตร์เขียนกฎหมายให้เนียน หรือรัดกุมเพียงใด แต่เจตนาในการกระทำ หรือการปฏิวัติ ก็บ่งชี้อยู่แล้วว่า เป็นความมุ่งหวังที่จะทำลายคณะรัฐบาล หรือทำลายคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่มีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน
ดังนั้น การออกประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิวัติใน ส่วนนี้จึงมิได้มุ่งหวังเพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไปแก่ประชาชนทุกคน ตรงกันข้าม กลับเจาะจงที่จะใช้ประกาศหรือคำสั่งนั้นเล่นงาน คณะบุคคลเพียงกลุ่มเดียวให้ได้รับโทษทัณฑ์ขั้นร้ายแรงที่สุด ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดหลักนิติธรรมอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติแทรกแซงกระบวน การยุติธรรมในส่วนของการสอบสวนด้วยการใช้ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 แต่งตั้ง คตส.ให้มีอำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดิน กระทำการสอบสวนเรื่องที่มีการร้องเรียนทุจริตบางเรื่อง ไม่ได้เป็นการสอบสวนเรื่องทุจริตเป็นการทั่วไปเหมือนเช่น ป.ป.ช. ปปง.ขณะที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ได้ระบุเอาไว้ชัดว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
คำถามที่ตามมาก็คือ การออกประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เพื่อเล่นงานบุคคลเพียงกลุ่มเดียว ถือเป็นการเสมอกันในกฎหมาย และได้ รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันหรือไม่ รวมทั้งการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที่มีความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกันหรือ ไม่
นอกจากนี้ ยังจะมีการออกกฎหมายบังคับให้ประเทศชาติต้อง ไปรับผิดชอบต่อการกระทำของบุคคลเพียงกลุ่มเดียว นั่นก็คือ กรณี คตส.ถูกฟ้องรอง หากผลการฟ้องร้องออกมาว่า คณะบุคคลดังกล่าวผิด ต้องชดใช้ค่าเสียหาย จะเป็นธรรมต่อประชาชนทั่วประเทศหรือไม่ เนื่องจากขณะที่ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 และกฎหมายให้รัฐร่วมรับผิดนั้น ไม่ได้ อยู่ในช่วงที่บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย
ประชาชนไม่ได้มี ส่วนรู้เห็นอะไรด้วยเลยทั้งหมดจึงเป็นการกระทำโดยพลการของคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นส่วนเรื่องที่ผู้มีอำนาจ กระหยิ่มยิ้มย่อง คิดว่าเขียนมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญรองรับการกระทำของตัวเองไว้หมด ไม่ว่าการกระทำใดก่อนหรือหลังประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้ถือว่าการนั้นและกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
ที่ผ่านมา คณะปฏิวัติทุกยุคก็คิดอย่างนี้ แต่ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ก็เป็นโมฆะจนได้ เพราะศาลเห็นว่า ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ยังมีประเด็นวินิจฉัยที่เจ๋งกว่า นั่นก็คือประกาศหรือคำสั่งนั้น ใช้บังคับได้หรือไม่ หลักนิติธรรมสูงส่งเพียงใด.
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ