RedCyberClub Forum
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

นิวส์วีคยกย่อง ’ทักษิโณมิกส์’

Go down

นิวส์วีคยกย่อง ’ทักษิโณมิกส์’ Empty นิวส์วีคยกย่อง ’ทักษิโณมิกส์’

ตั้งหัวข้อ by RED LETTER Sat Apr 03, 2010 11:06 pm

นิวส์วีค นิตยสารชื่อดังของสหรัฐอเมริกาที่เคยขึ้นปก 4 ผู้นำในเอเชียและมีรูปของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเป็นหนึ่งในผู้นำทั้ง 4 คนรวมอยู่กับนายหม่า อิง จิ่ว ผู้นำของไต้หวันนายลี เมียง บัก ประธานาธิบดีนักธุรกิจของเกาหลีใต้ และ นายอันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ภายใต้บทความที่นำเสนอในชื่อว่า The Politics of Practical Nostalgia หรือ การเมืองแห่งการโหยหาอดีตที่ทำได้จริง

ล่าสุดนิตยสารนิวส์วีคฉบับประจำวันที่ 1 กันยายน 2551 ซึ่งออกวางตลาดในเร็วๆนี้ได้ลงตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยอีกครั้งในบทความที่มีชื่อว่า A Leader Who Looms/ ผู้นำที่ยังคงยืนเด่นเป็นตระหง่าน โดยเนื้อหาของบทความชิ้นนี้ได้ยกย่อง “ทักษิโณมิกส์” ว่าเป็นนโยบายที่ได้รับการยอมรับในภูมิภาคเอเชียอย่างกว้างขวาง มีผู้นำในแถบเอเชียหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียแม้กระทั่งประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอินเดียก็ยังเดินตามรอย “ทักษิโณมิกส์” ของอดีตนายกรัฐมนตรีไทย

แถมไม่พลาดที่จะเหน็บพวกปัญญาชนว่า “พวกปัญญาชนผู้รอบรู้เคยหัวเราะเยาะทักษิณแต่นโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมของเขากำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในเอเชีย”

นอกจากนี้นิวส์วีคยังกล่าวยกย่องชมเชยกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจของทักษิณที่ออกมาในรูป “นโยบายคู่ขนานหรือทักษิโณมิกส์” ว่าเป็น“ความคิดที่ฉลาดหลักแหลม” พร้อมเอ่ยชมอดีตนายกฯทักษิณว่าเป็น “นักคิดทางเศรษฐกิจผู้ยิ่งใหญ่”

โดยในตอนท้ายนิวส์วีคสรุปว่า “นโยบายคู่ขนานที่เฉียบแหลม” นั้นมันทำงานได้ผลจริงๆ

สำหรับ George Wehrfritz แห่งนิตยสาร NEWSWEEK ผู้เขียนบทความ A Leader Who Looms/ ผู้นำที่ยังคงยืนเด่นเป็นตระหง่านนี้เคยเขียนบทความเรื่อง Buddhist Economics/พุทธเศรษฐศาสตร์ มาแล้วเมื่อต้นปี 2007

ผู้นำที่ยังคงยืนเด่นเป็นตระหง่าน
ถอดความภาษาไทยโดย Thinking in ink

พวกปัญญาชนผู้รอบรู้เคยหัวเราะเยาะทักษิณแต่นโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมของเขากำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในเอเชียแม้กระทั่งจวบจนวาระที่เขาอำลาประเทศไทย

โดย จอร์จ เวอห์ฟริซส์
นิตยสารนิวส์วีคระหว่างประเทศ
ฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2551


ในศัพท์ทางการเมือง คุณทักษิณ ชินวัตรไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่า “ผู้สูญเสียอำนาจ” เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้วอดีตนายกรัฐมนตรีแอบดอดเดินทางไปต่างประเทศมุ่งสู่คฤหาสน์หลังงามในอังกฤษของเขาอย่างเงียบๆ เป็นการจบความคาดหวังที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าการกลับคืนสู่มาตุภูมิด้วยความภาคภูมิใจในชัยชนะของเขาเมื่อเดือนมกราคมอาจเป็นลางบ่งบอกถึงการหวลกลับคืนสู่เวทีการเมืองระดับชาติอีกครั้งจากที่ต้องลี้ภัยอยู่หลายเดือนหลังถูกโค่นล้มอำนาจจากการทำรัฐประหารอย่างไม่เสียเลือดเนื้อเมื่อปี 2549

คุณทักษิณได้ออกแถลงการณ์ถึงสาเหตุที่ต้องบินไปยังอังกฤษครั้งนี้ว่า ข้อกล่าวหาเรื่องเส้นสายแห่งการคอร์รัปชันและข้อกล่าวหาอื่นๆกำลังถูกนำเข้าสู่การพิจาราณาคดีในชั้นศาลไทย “ที่มีธงตั้งไว้แล้วล่วงหน้าเพื่อจัดการกับผมและครอบครัว” การลี้ภัยแบบคาดไม่ถึงของมหาเศรษฐีพันล้าน(เหรียญสหรัฐ)ผู้สร้างฐานะด้วยตนเองครั้งนี้ก่อให้เกิดการถกเถียงถึง ความถูกต้องของข้อกล่าวหาที่เขากำลังเผชิญอยู่ ทั้งเรื่องที่ทางกรุงเทพฯควรดำเนินการเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่และตัวจักรทางการเมืองของคุณทักษิณในอนาคต

แต่แทบไม่มีการกล่าวถึงผลงานที่อยู่ยืนยงสถาพรของคุณทักษิณเลย นั่นคือ: “การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก” ที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา ในการโปรโมทตัวเองนิดหน่อยอย่างไม่ต้องอาย คุณทักษิณประทับตรายุทธศาสตร์การพัฒนานี้ว่า “ทักษิโณมิกส์” ยุทธศาสตร์นี้ถูกนำไปใช้ในการรณรงค์หาเสียงว่าเป็นนโยบายเพื่อยกระดับฐานะของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตที่เขาลงสมัคร (ชาวไทยชนบท) ให้พ้นจากความยากจน นโยบายทักษิโณมิกส์ถูกนำไปใช้ปฏิบัติจริงหลังจากที่เขาชนะเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลเมื่อปี 2544 ความคิดริเริ่มของคุณทักษิณได้พลิกฟื้นความเสียหายที่เกิดจากวิกฤติการเงินเอเชียช่วงปี 2540-41 และทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นไปอย่างรวดเร็วจนเป็นที่อิจฉาในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจุบันนี้ นโยบายเศรษฐกิจที่หยิบยืมมาจาก“ทักษิโณมิกส์” กำลังถูกนำไปใช้เพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียเพื่อจัดการกับปัญหาเดียวกันที่เคยระบาดในประเทศไทยช่วงปลายทศวรรษ 1990 และในตอนนี้ได้คุกคามทั่วทั้งภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง: การพึ่งพาตลาดส่งออกจากอีกประเทศหนึ่งมากเกินไป การพัฒนาแบบไม่เท่าเทียมในประเทศและ ช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนที่เพิ่มถ่างมากขึ้น

นักวิพากษ์วิจารณ์ได้ประณามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของคุณทักษิณว่าเป็น “นโยบายประชานิยมที่ผลาญเงินงบประมาณอย่างมหาศาล” แต่ผู้ที่ไม่ยอมรับนโยบายของทักษิณเหล่านี้ต้องรีบเปลี่ยนความคิดอย่างรวดเร็ว เมื่อนโยบายประชานิยมอย่าง การพักหนี้เกษตรกรและกองทุนหมู่บ้านได้กระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการให้เกิดขึ้นในระดับรากหญ้าและการปรับปรุงสวัสดิการพื้นฐานที่อ่อนแอของประเทศไทยให้ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดให้มีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค(เกือบฟรี) ได้ช่วยปลดปล่อยครัวเรือนในชนบทให้เกิดการออมน้อยลงและออกไปจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น(ยกระดับการบริโภคภายในประเทศ) คุณทักษิณเรียกยุทธศาสตร์นี้ว่า “การพัฒนาแบบคู่ขนาน” หรือ “การพัฒนาเศรษฐกิจทวิวิถี” ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์จากตลาดภายในประเทศมากขึ้นควบคู่ไปกับภาคการส่งออกและมันทำงานได้ผลจริงๆ

แน่นอนว่า หนี้สาธารณะได้เพิ่มสูงขึ้นแต่ก็ชดเชยด้วยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและรายได้จากภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวเกือบ ร้อยละ 6 ต่อปีจากปี 2544-2549 โดยพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศและการส่งออกที่ลดลงและจริงๆแล้วช่องว่างระหว่างรายได้ของประเทศไทยก็หดแคบลงในขณะที่ระยะห่างระหว่างคนมั่งมีและคนยากจนกลับกว้างมากขึ้นทุกหนแห่งในภูมิภาคเอเชียอย่างเห็นได้ชัด

ระบบคิดในการดำเนินกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจของทักษิณในตอนนี้ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็น “ความคิดที่ฉลาดหลักแหลม” นโยบายประชานิยมที่เน้นการเข้าถึงแหล่งทุน โอกาสในการจ้างงานและการบริการสังคมขั้นพื้นฐานสามารถเปลี่ยนโฉมจากภูมิภาคที่เสียเปรียบกลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกได้

ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ซูซิโล บัมมัง ยุดโดโยโนได้เดินตามรอย “ทักษิโณมิกส์” ในการช่วยเหลือครัวเรือนที่ยากจนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นโดยออกมาตราการใช้เงินอุดหนุนพยุงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเพื่อไม่ให้คนยากจนต้องใช้น้ำมันแพง หรือ นายมันโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีของอินเดียได้ริเริ่มโครงการสร้างงานในชนบทหลายล้านตำแหน่ง ความต้องการในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของเขาสะท้อนให้เห็นถึงการเดินตามนโยบายประชานิยมของทักษิณเป็นอย่างมาก หรือ ประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย แห่งฟิลิปปินส์ที่ครั้งหนึ่งเคยประกาศว่า “ฉันเป็นสานุศิษย์ของทักษิโณมิกส์อย่างไม่อาย” และนับตั้งแต่ปี 2549 เมื่อจีนเปิดตัวโครงการขนาดยักษ์ใหญ่เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการลงทุนของรัฐที่ต้องการเนรมิตโครงการ “การพัฒนาชนบทตามแนวทางสังคมนิยมรูปแบบใหม่” ขึ้นในพื้นที่ชนบทห่างไกล ทางปักกิ่งได้ยกเลิกภาษีการเกษตรทั่วประเทศ จัดสรรเม็ดเงินหลายร้อยล้าน(เหรียญสหรัฐ)ให้กับอุตสาหกรรมในชนบทและนอกจากนี้ยังหาหนทางเพื่อช่วยฟื้นฟูจังหวัดที่ยากจนทางตอนกลางของประเทศ(ย้อนไปในปี 2003 จีนได้ส่งคณะผู้แทนชุดหนึ่งไปยังประเทศไทยเพื่อศึกษา “ทักษิโณมิกส์” ตามรายงานของทางการจีน)

บรรดาผู้นำของจีนได้ยืนยันถึงความสำคัญของสิ่งที่ประธานาธิบดี หู จิ่นเทาเรียกว่า “การเติบโตที่ก้าวไปพร้อมกัน” เมื่อครั้งที่สภาประชาชนแห่งชาติจัดการประชุมขึ้นช่วงเดือนมีนาที่ผ่านมาและไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานการวิเคราะห์ของจีนและต่างประเทศได้บอกเป็นนัยว่าในเร็วๆนี้ทางปักกิ่งจะเปิดเผยถึงมาตรการทางด้านการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดยักษ์ซึ่งพุ่งเป้าไปที่ภาคเศรษฐกิจที่มีข้อเสียเปรียบ

ในฐานะผู้นำชาติอาเซียนที่เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน หากไม่ผิดพลาดทางการเมืองแบบมโหฬารอย่างไม่น่าให้อภัยเสียก่อน ทักษิณอาจก้าวขึ้นสู่ “ทำเนียบปูชนียบุคคลแห่งแวดวงนักคิดทางเศรษฐกิจผู้ยิ่งใหญ่” ไปแล้ว โดยในช่วงปลายปี 2548 เขาได้ขายกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของครอบครัวให้กับบริษัทเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ที่สนนราคา 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยไม่ต้องจ่ายภาษี ดีลการซื้อขายครั้งนี้พิสูจน์แล้วว่าเป็น ”การวางแผนที่ผิดพลาด” แม้แต่ในประเทศที่มีวัฒนธรรมการเมืองแบบระบบพวกพ้องที่อะลุ้มอะหล่วยต่อกันอย่างไทย

ในการเปิดเกมรุกโต้ตอบทักษิณครั้งนี้ ได้มีการประสานความร่วมมือกันระหว่างชนชั้นสูงที่เป็นกลุ่มทุนเก่า พรรคร่วมฝ่ายค้านและผู้มีอำนาจในกองทัพโดยเรียกร้องให้เขาลาออกและจัดแสดงการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนที่ทำให้กรุงเทพฯเป็นอัมพาตอยู่หลายเดือน

ต่อมา ในวันที่ 19 กันยายน 2549 กองทัพไทยได้ทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 13 นับตั้งแต่ปี 2488 เข้ายึดอำนาจการปกครองขณะที่ทักษิณยังอยู่ที่กรุงนิวยอร์คเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ที่องค์การสหประชาชาติ

ในตอนแรก รัฐบาลทหารพยายามที่จะเก็บพับ “นโยบายทักษิโณมิกส์” โดยเชิดชูยกย่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิถีชีวิตแบบพุทธขึ้นมาแทน อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาสะท้อนกลับอย่างรุนแรงที่เป็นไปแบบทันควันทำให้บรรดานายทหารต้องรีบเปลี่ยนแนวนโยบายแทบไม่ทัน แม้กระทั่งโละทิ้งโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 รักษาทุกโรคของทักษิณเปลี่ยนมาเป็น “รักษาฟรีทุกโรค” แทน รัฐบาลชุดใหม่ของไทยได้เดินตามรอยนโยบายของทักษิณด้วยการออกมาตรการลดภาษีน้ำมัน ใช้ไฟฟ้า-ประปาฟรีสำหรับครัวเรือนขนาดเล็กและกระทั่งขึ้นรถเมล์-รถไฟฟรี!

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สุรพงษ์ สืบวงศ์ลีกล่าวถึงมาตราการที่ออกมาเหล่านี้ว่านโยบาย (6 มาตรการ 6 เดือน)เหล่านี้จะช่วยเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปีสูงถึงร้อยละ 6 และสามารถลดการใช้จ่ายของครัวเรือนได้ประมาณ 350 เหรียญสหรัฐต่อปีโดยเฉลี่ย

“ผู้ที่นำเสนอนโยบายเหล่านี้มาปฏิบัติจะได้คะแนนเสียงอย่างแน่นอน ส่วนผู้ที่ยกเลิกนโยบายเหล่านี้จะสูญเสียคะแนนเสียงแทน” นิธินัย สิริมัทการ นักเศรษฐศาสตร์อิสระกล่าว

แต่นั่นเป็นเพียงบางส่วนของการอธิบายถึงความนิยมของนโยบายประชานิยมเท่านั้น เมื่อผลงานในอดีตของทักษิณแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม บทสรุปอีกอันที่ตามมาก็คือ “นโยบายคู่ขนานที่เฉียบแหลม” จริงๆแล้วมันทำงานได้ผลนั่นเอง

RED LETTER
RED LETTER

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

นิวส์วีคยกย่อง ’ทักษิโณมิกส์’ Empty Re: นิวส์วีคยกย่อง ’ทักษิโณมิกส์’

ตั้งหัวข้อ by RED LETTER Sat Apr 03, 2010 11:13 pm

A Leader Who Looms

The pundits laughed at Thaksin, but his economic populism is spreading in Asia, even as he leaves.

George Wehrfritz
NEWSWEEK
Updated: 12:34 PM ET Aug 23, 2008
In political terms, Thaksin Shinawatra is all but a spent force. Two weeks ago Thailand’s former prime minister slipped quietly abroad to the safety of his mansions in the United Kingdom, ending expectations that his triumphant January homecoming from exile after his ouster in a bloodless coup in 2006 might presage his return to national politics. Thaksin justified his flight saying the string of corruption and other charges now working their way through the Thai courts “have been prejudged to get rid of me and my family.” The self-made billionaire’s surprise exit triggered fierce debates over the validity of the charges he faces, whether Bangkok should pursue extradition and the future of Thaksin’s political machine.

Yet almost nothing has been said about Thaksin’s most enduring legacy: a bottom-up approach to economics with widespread appeal across the developing world. In a bit of shameless self-promotion, Thaksin branded that strategy “Thaksinomics,” billing it as a plan to elevate his primary constituency—rural Thais—from poverty. Implemented after he won office back in 2001, Thaksin’s initiatives quickly reversed the devastation wrought by the 1997–98 Asian financial crisis and made Thailand’s fast growth the envy of Southeast Asia. Today, similar schemes are ramping up across developing Asia to address the issues that plagued Thailand in the late 1990s and now threaten the entire region: overdependency on export markets, unequal development at home and yawning rich-poor income gaps.

Critics decried Thaksin’s programs as bald pork-barrel populism, but skeptics quickly became converts as rural debt holidays and village-level business loans energized grass-roots manufacturing and services, and improvements to Thailand’s weak social safety net—particularly the creation of a nearly free system of basic medical care—liberated rural households to save less and spend more. Thaksin called it “dual track” development, building a vibrant local market alongside the export sector, and it worked.

Yes, public debt rose, but the boost in growth and tax revenues more than compensated. Thailand’s economy expanded by nearly 6 percent a year from 2001 to 2006, dependency on foreign investment and exports decreased and the country’s income gap actually narrowed during a period when the distance between the haves and have-nots widened virtually everywhere else in Asia.

The logic of Thaksin’s approach—that access to capital, employment opportunities and basic social services can transform disadvantaged regions into growth engines—is now accepted wisdom. Indonesian President Susilo Bambang Yudhoyono has followed it in his support for poor households hit hardest by a rollback in fuel subsidies. India’s Manmohan Singh has created millions of rural jobs; his ultimate growth goals very much echo Thaksin’s. In the Philippines, President Gloria Macapagal Arroyo once declared, “I am an unabashed disciple of Thaksinomics.” And since 2006, when China unveiled a sweeping plan to redirect state investment to create a “new socialist countryside” in the hinterland, Beijing has repealed farm taxes, channeled millions to rural enterprises and otherwise sought to revitalize poor interior provinces (China reportedly sent a team to Thailand to study Thaksinomics back in 2003).

Chinese leaders reaffirmed the importance of what President Hu Jintao calls “harmonious” growth when the National People’s Congress met last March, and in recent weeks Chinese and foreign analysis have suggested that Beijing soon could unveil a massive fiscal stimulus package targeting disadvantaged sectors of the economy.

As the Asian leader who pioneered “dual track” development, Thaksin might have climbed the pantheon of great economic thinkers if not for a massive political blunder. In late 2005 he sold his family’s telecom conglomerate to the investment arm of Singapore’s government for a cool $1.9 billion tax-free; the deal proved to be a bridge too far even in Thailand’s crony-tolerant political culture. In response, a coalition of old business elites, opposition political parties and elements of the military demanded his resignation and staged marathon street protests that paralyzed Bangkok for months. On Sept. 19, 2006, Thailand’s military staged its 13th coup since 1945, grabbing power while Thaksin was in New York to address the United Nations.

The junta initially tried to roll back Thaksinomics in favor of Buddhist-inspired self-sufficiency. The backlash was so swift, however, that the generals quickly reversed course and even made Thaksin’s $1-per-visit health scheme free. Thailand’s new government has followed suit with tax cuts for fuel, free electricity and water for small households and even free bus and rail travel. Finance Minister Surapong Suebwonglee says the programs will boost Thailand’s annual growth to 6 percent and could cut household expenses by some $350 a year on average. “The ones who introduce these policies get votes, and the ones who take them away lose votes,” says Nitinai Sirismattakarn, an independent economist.

But that only partly explains their popularity. The other draw, as Thaksin’s record well illustrates, is that smart dual-track policies actually work.

RED LETTER
RED LETTER

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ