เมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา คึกฤทธิ์ วิจารณ์ เปรม ตรงเป้าที่สุด
หน้า 1 จาก 1
เมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา คึกฤทธิ์ วิจารณ์ เปรม ตรงเป้าที่สุด
เอามาฝากให้อ่านกันว่า เมื่อ 20 กว่าปีมาแล้ว เขาก็ไม่ได้ต่างจากสมัยนี้เลยอย่างไร?
คอลัมน์ซอยสวนพลู
หนังสือพิมพ์รายวันสยามรัฐ
ฉบับประจำวันที่ 11 มีนาคม 2530
โดยอาจารย์หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ได้รับการยกย่องเป็นพหูสูตร และเสาหลักประชาธิปไตยของไทยในอดีต
ความจริงผมไม่อยากจะเขียนเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้เลย แต่เมื่อได้พิจารณาดูโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่า จำเป็นต้องเขียนเพราะถ้าไม่เขียนแล้วอาจเกิดผลเสียหายใหญ่โตต่อไปได้จะกระเทือนใครบ้างผมก็ไม่สนใจละครับ เพราะผมคิดเสียว่า ถ้าผมกระเทือนใครคนนั้นเป็นคนควรกระเทือนหรือ กระเทือนอยู่แล้ว
มีข่าวออกมาว่า ในหลวงมีพระราชดำรัสกับคนหนังสือพิมพ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในทำนองว่าระบอประชาธิปไตยในเมืองไทยนั้นยุ่งยากเพราะเราต้องลอกแบบฝรั่งเอามาใช้ ถ้าทำแบบไทยๆ ก็คงจะยุ่งยากน้อยลง พระราชดำรัสนี้มีขึ้นในโต๊ะเสวย ขณะที่มีพระราชปฏิสันถารกับคนหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นธรรมดาของพระราชดำรัสในโต๊ะเสวยก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ มาก่อนหน้านี้ หรือคนหนังสือพิมพ์กราบบังคมทูลถามอย่างใดอย่าง หนึ่งหรือหลายอย่าง และเมื่อมีพระราชกระแสที่เป็นข่าวนี้แล้ว ก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ ต่อไปอีก
การที่จะนำพระราชกระแสในโต๊ะเสวยมาบอกเล่าให้คนนอกทราบนั้น ก็ไม่บังควรอย่างยิ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าจะบอกเล่า ก็ควรจะบอกให้หมดว่า พระราชกระแสก่อนนั้นมีมาอย่างไร และพระราชกระแสต่อไปมีอย่างไร การที่รัฐบาลจงใจเชิญพระราชกระแสมาแต่ประโยคเดียว แล้วสั่งให้เผยแพร่ต่อไป นั้น เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง แม้จะเป็นคำพูดของคนอื่นก็ไม่ควร เพราะไม่เป็นธรรมแก่ผู้พูด
ความจริง คนหนังสือพิมพ์ที่เฝ้าฯอยู่ในโต๊ะเสวยนั้น มีอยู่หลายคน ไปจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ แต่มีอยู่เพียงฉบับเดียวหรือสองฉบับเท่านั้นที่ได้นำมาลงเป็นข่าว แต่ก็เป็นข่าวเล็กๆ มิได้ถือว่าเป็นข่าวใหญ่ข่าวสำคัญหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่นั้นมิได้เอ่ยถึงเลย
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์ไทยนั้นถึงจะจ้วงจาบใครต่อใครให้เกิดโทสะ เคียดแค้นได้อยู่เสมอ แต่ก็รู้ที่ต่ำที่สูง บูชาคนที่ควรบูชาและมีความ จงรักภักดีอันมั่นคงแข็งแรงอยู่ พูดง่ายๆ ก็คือ หนังสือพิมพ์ไทยยังเป็นผู้ดีอยู่ไม่กำเริบ ผมก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมนายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้ตื่นเต้นถึงกับบอกคณะรัฐมนตรีให้ช่วยกันเผยแพร่ข่าวนี้ให้สะพัดออกไป และย้ำแล้ว ย้ำอีกว่า อยากให้คนรู้กันทั่ว
ที่คุณเปรมอ้างว่าจงรักภักดีต่อพระกรุณายิ่งกว่าใครนั้น น่าจะต้องเอามาผ่านห้องทดลองเพื่อวิเคราะห์กันใหม่เสียแล้วกระมัง? สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคิดก็คือ คำว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ นั้น หมายความว่าอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายของคำนี้ในขณะที่มีพระราชดำรัสนั้นเป็น อย่างไร เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ ผมเองก็ไม่รู้
คุณเปรมเป็นอะไรมาจึงจะเข้าไปหยั่งรู้ในพระราชหฤทัยได้? เพียงแต่คิดว่าตัวรู้ก็ออกจะเป็นคนไม่น่าติดต่อด้วยเสียแล้ว
เรื่องประชาธิปไตยแบบไทยๆ นี้ ผมได้ยินพูดกันมาช้านานแล้วคนโน้นพูดบ้างคนนี้พูดบ้าง ฟังดูก็เห็นตรงกันแต่ศัพท์ที่ใช้เรียก ส่วนวิธีการที่อ้างว่าเป็นวิธีการแบบไทยๆ นั้น ไม่เห็นตรงกันสักราย เมื่อต่างคนต่างคิดในเรื่องเดียวกันนี้ ต่างคนต่างก็มีวิธีการของตนแตกต่างกันไป บ้าบ้าง บอบ้าง บิ่นบ้าง หาอะไรเป็นแก่นสารและเอาเป็นที่ยุติไม่ได้
เมื่อคุณเปรมตื่นเต้นในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ อย่างนี้ ก็พอจะเข้าใจได้ว่า คุณเปรมเองก็ต้องการและมีวิธีการของระบอบประชาธิปไตย แบบไทยๆ ของตนเอง
หมายถึง การเป็นนายกฯโดยไม่ต้องสมัครผู้แทนฯให้เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ ใช่ไหม?
หมายถึงการที่เป็นนายกฯ คนเดียวตลอดไปใช่ไหม?
หมายถึงนายกฯ คนที่ชื่อเปรมนั้นไม่ต้องรับผิดในสิ่งใดและต่อใครใช่ไหม?
หมายถึงนายกฯคนที่ชื่อเปรมจะต้องอยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ ใครแตะต้องไม่ได้ ใช่ไหม?
หมายถึง ความเป็นนายกฯนั้นมีแต่เสวยสุข ไม่มีทุกข์กับใคร ใช่ไหม?
ได้อยู่บ้านหลวง ใช้น้ำหลวง ไฟหลวง ใช่ไหม?
จะไปไหนก็ใช้รถหลวง เรือหลวง หรือหลวงออกค่าโดยสารเครื่องบินให้ยกโขยงกันไปเที่ยวต่างประเทศได้ ใช่ไหม?
จะไปไหนก็มีคนมาเรียงรายคอยต้อนรับ บางแห่งถึงกับก้มลงกราบกับพื้นดิน ใช่ไหม?
ความคิดเหล่านี้ก่อให้เกิดตัณหาอุปาทาน อันเป็นต้นเหตุของอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ โลภะ ทำให้เกิดความอยากเห็นความคิดของตนเป็นผล จริงจังขึ้นมา เพื่อทุกอย่างที่ตนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นจะได้เกิดขึ้น และเห็นจะเป็นเพราะความอยากนั้นเองที่ทำให้คนเหมาเอาคำว่า ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ในพระราชดำรัสนั้นตรงกับความ หมายที่ตนคิดไว้ ถึงกับดีอกดีใจสั่งให้เผยแพร่ต่อๆ ไป เป็นการตู่พระราชดำรัสโดยแท้ ในหลวงนั้น ทรงเป็นล้นพ้นในทุกกรณี ไม่ควรที่ใครจะไปเหมาเอาว่า พระราชดำริใดๆ ตรงกับความคิดของตนเองได้
เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ หากคุณเปรมหรือรัฐบาลคุณเปรม ไม่ว่าจะเป็นเปรม 5 เปรม 6 ไปจนถึงเปรม 432 จนกระทำสิ่งใดโดยอ้างว่า เพื่อเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ แล้ว จะต้องถือว่าการกระทำนั้นเป็นความคิดของคุณเปรมเองแต่ผู้เดียว ไม่ใช่ตามความหมายในพระราชดำรัส ใครไม่เห็นด้วยก็อาจแย้งได้ คุณเปรมไม่มีสิทธิ์ที่จะอ้างว่า ทำไปตามพระราชดำรัสเพื่อปกป้องคุ้มกันตนเอง เมื่อมีอะไรเสียหายเกิดขึ้น คุณเปรม จะต้องรับผิดด้วยตนเอง จะไปซัดความผิดให้แก่ใครไม่ได้ จะอ้างว่า ทำไปด้วยความจงรักภักดีก็ไม่ได้เด็ดขาด คุณสมัคร สุนทรเวช ได้พูดเรื่องนี้ขึ้นมาก่อน แต่แทนที่ใครจะได้สติ คุณสมัครกลับถูกโจมตีมากมายทางวิทยุและทางอื่นๆ
ผมได้อ่านคำชี้แจงของคุณสมัครในหนังสือพิมพ์เดลิมิเลอร์ เกี่ยวกับเรื่องที่คุณสมัครถูกโจมตีนี้แล้ว รู้สึกจับใจในความรู้จักประมาณตนของคุณสมัครมาก ไม่เสียทีที่คุณสมัครเกิดมาในตระกรูลข้าราชสำนัก มีบรรพบุรุษเคยใกล้ชิดพระองค์มาก่อน รู้ต่ำรู้สูง รู้สิ่งใดควรพูดสิ่งใดไม่ควร
คึกฤทธิ์ ปราโมช
ที่มา : http://forum.weredhome.com/index.php?topic=254.msg617
คอลัมน์ซอยสวนพลู
หนังสือพิมพ์รายวันสยามรัฐ
ฉบับประจำวันที่ 11 มีนาคม 2530
โดยอาจารย์หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ได้รับการยกย่องเป็นพหูสูตร และเสาหลักประชาธิปไตยของไทยในอดีต
ความจริงผมไม่อยากจะเขียนเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้เลย แต่เมื่อได้พิจารณาดูโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่า จำเป็นต้องเขียนเพราะถ้าไม่เขียนแล้วอาจเกิดผลเสียหายใหญ่โตต่อไปได้จะกระเทือนใครบ้างผมก็ไม่สนใจละครับ เพราะผมคิดเสียว่า ถ้าผมกระเทือนใครคนนั้นเป็นคนควรกระเทือนหรือ กระเทือนอยู่แล้ว
มีข่าวออกมาว่า ในหลวงมีพระราชดำรัสกับคนหนังสือพิมพ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในทำนองว่าระบอประชาธิปไตยในเมืองไทยนั้นยุ่งยากเพราะเราต้องลอกแบบฝรั่งเอามาใช้ ถ้าทำแบบไทยๆ ก็คงจะยุ่งยากน้อยลง พระราชดำรัสนี้มีขึ้นในโต๊ะเสวย ขณะที่มีพระราชปฏิสันถารกับคนหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นธรรมดาของพระราชดำรัสในโต๊ะเสวยก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ มาก่อนหน้านี้ หรือคนหนังสือพิมพ์กราบบังคมทูลถามอย่างใดอย่าง หนึ่งหรือหลายอย่าง และเมื่อมีพระราชกระแสที่เป็นข่าวนี้แล้ว ก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ ต่อไปอีก
การที่จะนำพระราชกระแสในโต๊ะเสวยมาบอกเล่าให้คนนอกทราบนั้น ก็ไม่บังควรอย่างยิ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าจะบอกเล่า ก็ควรจะบอกให้หมดว่า พระราชกระแสก่อนนั้นมีมาอย่างไร และพระราชกระแสต่อไปมีอย่างไร การที่รัฐบาลจงใจเชิญพระราชกระแสมาแต่ประโยคเดียว แล้วสั่งให้เผยแพร่ต่อไป นั้น เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง แม้จะเป็นคำพูดของคนอื่นก็ไม่ควร เพราะไม่เป็นธรรมแก่ผู้พูด
ความจริง คนหนังสือพิมพ์ที่เฝ้าฯอยู่ในโต๊ะเสวยนั้น มีอยู่หลายคน ไปจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ แต่มีอยู่เพียงฉบับเดียวหรือสองฉบับเท่านั้นที่ได้นำมาลงเป็นข่าว แต่ก็เป็นข่าวเล็กๆ มิได้ถือว่าเป็นข่าวใหญ่ข่าวสำคัญหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่นั้นมิได้เอ่ยถึงเลย
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์ไทยนั้นถึงจะจ้วงจาบใครต่อใครให้เกิดโทสะ เคียดแค้นได้อยู่เสมอ แต่ก็รู้ที่ต่ำที่สูง บูชาคนที่ควรบูชาและมีความ จงรักภักดีอันมั่นคงแข็งแรงอยู่ พูดง่ายๆ ก็คือ หนังสือพิมพ์ไทยยังเป็นผู้ดีอยู่ไม่กำเริบ ผมก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมนายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้ตื่นเต้นถึงกับบอกคณะรัฐมนตรีให้ช่วยกันเผยแพร่ข่าวนี้ให้สะพัดออกไป และย้ำแล้ว ย้ำอีกว่า อยากให้คนรู้กันทั่ว
ที่คุณเปรมอ้างว่าจงรักภักดีต่อพระกรุณายิ่งกว่าใครนั้น น่าจะต้องเอามาผ่านห้องทดลองเพื่อวิเคราะห์กันใหม่เสียแล้วกระมัง? สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคิดก็คือ คำว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ นั้น หมายความว่าอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายของคำนี้ในขณะที่มีพระราชดำรัสนั้นเป็น อย่างไร เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ ผมเองก็ไม่รู้
คุณเปรมเป็นอะไรมาจึงจะเข้าไปหยั่งรู้ในพระราชหฤทัยได้? เพียงแต่คิดว่าตัวรู้ก็ออกจะเป็นคนไม่น่าติดต่อด้วยเสียแล้ว
เรื่องประชาธิปไตยแบบไทยๆ นี้ ผมได้ยินพูดกันมาช้านานแล้วคนโน้นพูดบ้างคนนี้พูดบ้าง ฟังดูก็เห็นตรงกันแต่ศัพท์ที่ใช้เรียก ส่วนวิธีการที่อ้างว่าเป็นวิธีการแบบไทยๆ นั้น ไม่เห็นตรงกันสักราย เมื่อต่างคนต่างคิดในเรื่องเดียวกันนี้ ต่างคนต่างก็มีวิธีการของตนแตกต่างกันไป บ้าบ้าง บอบ้าง บิ่นบ้าง หาอะไรเป็นแก่นสารและเอาเป็นที่ยุติไม่ได้
เมื่อคุณเปรมตื่นเต้นในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ อย่างนี้ ก็พอจะเข้าใจได้ว่า คุณเปรมเองก็ต้องการและมีวิธีการของระบอบประชาธิปไตย แบบไทยๆ ของตนเอง
หมายถึง การเป็นนายกฯโดยไม่ต้องสมัครผู้แทนฯให้เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ ใช่ไหม?
หมายถึงการที่เป็นนายกฯ คนเดียวตลอดไปใช่ไหม?
หมายถึงนายกฯ คนที่ชื่อเปรมนั้นไม่ต้องรับผิดในสิ่งใดและต่อใครใช่ไหม?
หมายถึงนายกฯคนที่ชื่อเปรมจะต้องอยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ ใครแตะต้องไม่ได้ ใช่ไหม?
หมายถึง ความเป็นนายกฯนั้นมีแต่เสวยสุข ไม่มีทุกข์กับใคร ใช่ไหม?
ได้อยู่บ้านหลวง ใช้น้ำหลวง ไฟหลวง ใช่ไหม?
จะไปไหนก็ใช้รถหลวง เรือหลวง หรือหลวงออกค่าโดยสารเครื่องบินให้ยกโขยงกันไปเที่ยวต่างประเทศได้ ใช่ไหม?
จะไปไหนก็มีคนมาเรียงรายคอยต้อนรับ บางแห่งถึงกับก้มลงกราบกับพื้นดิน ใช่ไหม?
ความคิดเหล่านี้ก่อให้เกิดตัณหาอุปาทาน อันเป็นต้นเหตุของอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ โลภะ ทำให้เกิดความอยากเห็นความคิดของตนเป็นผล จริงจังขึ้นมา เพื่อทุกอย่างที่ตนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นจะได้เกิดขึ้น และเห็นจะเป็นเพราะความอยากนั้นเองที่ทำให้คนเหมาเอาคำว่า ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ในพระราชดำรัสนั้นตรงกับความ หมายที่ตนคิดไว้ ถึงกับดีอกดีใจสั่งให้เผยแพร่ต่อๆ ไป เป็นการตู่พระราชดำรัสโดยแท้ ในหลวงนั้น ทรงเป็นล้นพ้นในทุกกรณี ไม่ควรที่ใครจะไปเหมาเอาว่า พระราชดำริใดๆ ตรงกับความคิดของตนเองได้
เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ หากคุณเปรมหรือรัฐบาลคุณเปรม ไม่ว่าจะเป็นเปรม 5 เปรม 6 ไปจนถึงเปรม 432 จนกระทำสิ่งใดโดยอ้างว่า เพื่อเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ แล้ว จะต้องถือว่าการกระทำนั้นเป็นความคิดของคุณเปรมเองแต่ผู้เดียว ไม่ใช่ตามความหมายในพระราชดำรัส ใครไม่เห็นด้วยก็อาจแย้งได้ คุณเปรมไม่มีสิทธิ์ที่จะอ้างว่า ทำไปตามพระราชดำรัสเพื่อปกป้องคุ้มกันตนเอง เมื่อมีอะไรเสียหายเกิดขึ้น คุณเปรม จะต้องรับผิดด้วยตนเอง จะไปซัดความผิดให้แก่ใครไม่ได้ จะอ้างว่า ทำไปด้วยความจงรักภักดีก็ไม่ได้เด็ดขาด คุณสมัคร สุนทรเวช ได้พูดเรื่องนี้ขึ้นมาก่อน แต่แทนที่ใครจะได้สติ คุณสมัครกลับถูกโจมตีมากมายทางวิทยุและทางอื่นๆ
ผมได้อ่านคำชี้แจงของคุณสมัครในหนังสือพิมพ์เดลิมิเลอร์ เกี่ยวกับเรื่องที่คุณสมัครถูกโจมตีนี้แล้ว รู้สึกจับใจในความรู้จักประมาณตนของคุณสมัครมาก ไม่เสียทีที่คุณสมัครเกิดมาในตระกรูลข้าราชสำนัก มีบรรพบุรุษเคยใกล้ชิดพระองค์มาก่อน รู้ต่ำรู้สูง รู้สิ่งใดควรพูดสิ่งใดไม่ควร
คึกฤทธิ์ ปราโมช
ที่มา : http://forum.weredhome.com/index.php?topic=254.msg617
RED LETTER- จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ