ข่าว 08 เมษา 53
หน้า 1 จาก 1
ข่าว 08 เมษา 53
5 อาจารย์ นิติฯ ธรรมศาสตร์ แถลงการณ์เรื่อง พรก. ฉุกเฉิน
8 เม.ย. 2553 กลุ่ม 5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์กรณีที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีความเห็นและข้อเรียกร้อง ดังต่อไปนี้
000
แถลงการณ์กลุ่ม ๕ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพ มหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ นั้น เรา กลุ่ม ๕ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความเห็นและข้อเรียกร้อง ดังนี้
๑. เสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในรัฐเสรีประชาธิปไตย
๒. ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดง คือ ให้นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎรภายใน ๑๕ วัน ข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองซึ่งเป็นเรื่องปกติในรัฐ เสรีประชาธิปไตย การปิดถนนและการยึดพื้นที่สาธารณะบางส่วนเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องให้ รัฐบาลเจรจาต่อรองกับผู้ชุมนุม หากการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมายใด รัฐบาลและเจ้าหน้าที่สามารถบังคับใช้กฎหมายนั้นเพื่อออกมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกัน ปราบปราม หรือลงโทษผู้กระทำผิดนั้นได้
๓. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ไม่เพียงต่อผู้ชุมนุมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประชาชนทั่วไปในวงกว้างอีกด้วย การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงต้องคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วนเป็นสำคัญ
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง เราเห็นว่าการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดงยังอยู่ในกรอบของการชุมนุมโดย สงบและปราศจากอาวุธ หากรัฐบาลต้องการให้ผู้ชุมนุมออกจากสถานที่สาธารณะ รัฐบาลสามารถใช้มาตรการอื่นๆได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่วนกรณีระเบิดตามสถานที่ต่างๆในแต่ละวันนั้น ยังไม่มีข้อเท็จจริงใดแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของ คนเสื้อแดง เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่ามีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพจำนวนมาก ทั้งในแง่ความเข้มข้นของมาตรการและในแง่พื้นที่ซึ่งครอบคลุมในหลายจังหวัด
เราเห็นว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงยังไม่ถือเป็น “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ อันเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้เป็นมาตรการที่เกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน
๔. มาตรา ๑๖ ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ บัญญัติว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง นั่นหมายความว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของ ศาลปกครอง และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของศาลรัฐธรรมนูญเพราะไม่ได้เป็นคดีรัฐธรรมนูญ ส่วนจะอยู่ภายใต้การควบคุมของศาลยุติธรรมหรือไม่นั้น ยังไม่มีคำพิพากษาบรรทัดฐานยืนยันไว้ ความข้อนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการประกัน โดยองค์กรตุลาการเพียงพอ จนอาจทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกละเมิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบได้
เราเห็นว่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ เป็นไปเพื่อสลายการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง รักษาอำนาจและความมั่นคงของรัฐบาลต่อไป ไม่ใช่รักษาอำนาจและความมั่นคงของรัฐ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นมีผลเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นการใช้อำนาจเพื่อทำให้มาตรการที่ปกติแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา ให้กลายเป็นมาตรการที่ชอบด้วยกฎหมายในทางรูปแบบ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ไม่เพียงแต่ไม่ช่วยแก้ไขวิกฤติความขัดแย้ง ครั้งนี้ให้บรรเทาเบาบางลงไปได้ แต่กลับเป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ตึงเครียดและรุนแรงมากขึ้น
เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข
รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร
อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล
วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๓
8 เม.ย. 2553 กลุ่ม 5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์กรณีที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีความเห็นและข้อเรียกร้อง ดังต่อไปนี้
000
แถลงการณ์กลุ่ม ๕ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพ มหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ นั้น เรา กลุ่ม ๕ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความเห็นและข้อเรียกร้อง ดังนี้
๑. เสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในรัฐเสรีประชาธิปไตย
๒. ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดง คือ ให้นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎรภายใน ๑๕ วัน ข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองซึ่งเป็นเรื่องปกติในรัฐ เสรีประชาธิปไตย การปิดถนนและการยึดพื้นที่สาธารณะบางส่วนเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องให้ รัฐบาลเจรจาต่อรองกับผู้ชุมนุม หากการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมายใด รัฐบาลและเจ้าหน้าที่สามารถบังคับใช้กฎหมายนั้นเพื่อออกมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกัน ปราบปราม หรือลงโทษผู้กระทำผิดนั้นได้
๓. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ไม่เพียงต่อผู้ชุมนุมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประชาชนทั่วไปในวงกว้างอีกด้วย การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงต้องคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วนเป็นสำคัญ
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง เราเห็นว่าการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดงยังอยู่ในกรอบของการชุมนุมโดย สงบและปราศจากอาวุธ หากรัฐบาลต้องการให้ผู้ชุมนุมออกจากสถานที่สาธารณะ รัฐบาลสามารถใช้มาตรการอื่นๆได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่วนกรณีระเบิดตามสถานที่ต่างๆในแต่ละวันนั้น ยังไม่มีข้อเท็จจริงใดแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของ คนเสื้อแดง เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่ามีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพจำนวนมาก ทั้งในแง่ความเข้มข้นของมาตรการและในแง่พื้นที่ซึ่งครอบคลุมในหลายจังหวัด
เราเห็นว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงยังไม่ถือเป็น “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ อันเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้เป็นมาตรการที่เกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน
๔. มาตรา ๑๖ ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ บัญญัติว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง นั่นหมายความว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของ ศาลปกครอง และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของศาลรัฐธรรมนูญเพราะไม่ได้เป็นคดีรัฐธรรมนูญ ส่วนจะอยู่ภายใต้การควบคุมของศาลยุติธรรมหรือไม่นั้น ยังไม่มีคำพิพากษาบรรทัดฐานยืนยันไว้ ความข้อนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการประกัน โดยองค์กรตุลาการเพียงพอ จนอาจทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกละเมิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบได้
เราเห็นว่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ เป็นไปเพื่อสลายการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง รักษาอำนาจและความมั่นคงของรัฐบาลต่อไป ไม่ใช่รักษาอำนาจและความมั่นคงของรัฐ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นมีผลเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นการใช้อำนาจเพื่อทำให้มาตรการที่ปกติแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา ให้กลายเป็นมาตรการที่ชอบด้วยกฎหมายในทางรูปแบบ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ไม่เพียงแต่ไม่ช่วยแก้ไขวิกฤติความขัดแย้ง ครั้งนี้ให้บรรเทาเบาบางลงไปได้ แต่กลับเป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ตึงเครียดและรุนแรงมากขึ้น
เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข
รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร
อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล
วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๓
303 คณาจารย์ค้านการยุบสภา เรียกร้องเร่งปฏิรูปการเมือง
Thu, 2010-04-08 13:52
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเช้าวันนี้ (8 เม.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 7 ตึกเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มนักวิชาการนำโดย นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ. ประมวล วีรุตมเสน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร. สุรชัย ศิริไกร ,รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ. ทวี สุรฤทธิกุล สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกันแถลงข่าวในนามกลุ่มนักวิชาการที่ยืนยันความถูกต้องต่อสังคม เพื่อคัดค้านความรุนแรงที่ไร้สติ ต่อต้านการยุบสภาที่ไร้เหตุผล เร่งปฏิรูปการเมือง เพื่อเป็นทางออกต่อสังคม พร้อมนำรายชื่อคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวม 303 คน ร่วมแถลงข่าว
สมชัยกล่าวถึงที่มาของกลุ่มนักวิชาการกลุ่มนี้ว่า เป็นการรวมตัวที่ใช้ระยะเวลาสั้นเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์ เน็ตและการส่งข้อความ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ประกอบไปด้วย คณาจารย์ทั้งหมด 303 ท่าน มีทั้งศาสตราจารย์ไปจนถึงบุคคลที่ ปฎิบัติหน้าที่ทางวิชาการ และนักวิชาการอิสระจากมหา วิทยาลัย 14 แห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เป็นต้น
ทั้งนี้กลุ่มนักวิชาการยังเสนอความเห็นร่วมกันว่า อยากเรียกร้องให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องออกมาจัดการเพื่อให้รัฐบาล สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะทหารซึ่งเป็นสถาบันที่มีระเบียบและมีพลังต้องออกมาแสดงจุดยืนว่าจะ จัดการกับปัญหาของการชุมนุมที่ริดลอนสิทธิของคนที่ประกอบอาชีพในบริเวณสี่ แยกราชประสงค์อย่างไร ผู้นำทหารเช่นผู้บัญชาการกองทัพบก แม่ทัพภาคต่าง ๆ ต้องออกมาแสดงความเห็นว่าจะดำเนิน การอย่างไรกับผู้ชุมนุมประท้วง และเห็นว่าถ้าผู้นำทหารไม่เข้า ไปจัดการปัญหานี้ก็ควรจะลาออก
ตัวแทนกลุ่มนักวิชาการกล่าวทิ้งท้ายว่า การแสดงจุดยืนในครั้งนี้ก็เพื่อ ที่จะให้กลุ่มคนที่ไม่เห็น ด้วยหรือได้รับความเดือดร้อน ในการชุมนุมครั้งนี้ออกมา แสดงตัวหรือร่วมให้รายชื่อกับ พวกเรา แสดงให้รัฐบาลเห็นว่าประชาธิปไต ยที่แท้จริงเป็นอย่างไร การเปิดโต๊ะเจรจากับแกนนำคนเสื้อ แดงเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่ายังมีเสียงอีกจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการชุนนุมในครั้งนี้ และต้องกลายเป็น “แดงจำยอม” เพราะกลัวความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น รัฐบาลต้องรีบออกมาบังคับใช้กฎ หมายเพื่อไม่ให้สังคมเกิดความ แตกแยกไปกว่านี้
ประกาศจุดยืนของกลุ่มนักวิชาการที่ยืนยันความถูกต้องต่อสังคม
“คัดค้านความรุนแรงที่ไร้สติ ต่อต้านการยุบสภาที่ไร้เหตุผล เร่งปฎิรูปการเมืองเพื่อเป็นทางออก ต่อสังคม”
1. การชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญ แต่การกระทำที่ผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อสาธารณะ การใช้ความรุนแรงข่มขู่ และสร้างความรู้สึกหวาดกลัวแก่ ประชาชน เป็นสิ่งที่สังคมควรประนาม
2. ข้อเรียกร้องเพื่อให้เกิดการ ยุบสภา เป็นข้อเรียกร้องที่ปราศจากเหตุผล อันควร การกล่าวอ้างถึงสังคมที่ไม่สงบ จนเป็นเหตุต้องยุบสภา เป็นการส่งเสริมให้เกิดแบบอย่างในการใช้กำลังรุนแรง และการกะเกณฑ์คนมาสร้างความเสีย หาย เพื่อหวังผลในเชิงการเมือง จึงเป็นเรื่องรัฐบาลไม่จำเป็นต้องรับฟัง หรือต้องเจรจาด้วยแต่อย่างใด
3. การรักษากฎหมายและสร้างสังคม ให้คืนสู่ปกติสุขโดยเร็ว เป็นหน้าที่ที่รัฐต้องดำเนินการ ก่อนที่บ้านเมืองจะเสียหายไปมากกว่า นี้
4. การปฎิรูปทางการเมืองและสังคม โดยระดมความเห็นจากทุกภาคส่วน มามองปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันออกแบบกลไกเพื่อปฏิรูปการเมืองและสังคม ถือเป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูง สุดของรัฐบาลปัจจุบัน และต้องทำด้วยความจริงใจ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า รัฐบาลตั้งใจจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
กป.อพช.เรียก ร้องหยุดสร้างเงื่อนไขความรุนแรง เดินหน้าสู่การเจรจา
กป.อพช.เรียก ร้องหยุดสร้างเงื่อนไขความรุนแรง เดินหน้าสู่การเจรจา
Thu, 2010-04-08 14:06
วันนี้ (8 เม.ย.) คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ “หยุดสร้างเงื่อนไขความรุนแรง เดินหน้าเข้าสู่การเจรจาเพื่อหา ทางออกให้สังคมไทย” โดยมีข้อเรียกร้องต่อทั้งฝ่ายรัฐบาลและผู้ชุมนุม นปช. รวมทั้งเหตุระเบิดรายวันในกรุ งเทพมหานคร โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้
000
แถลงการณ์เรื่อง “หยุดสร้างเงื่อนไขความรุนแรง เดินหน้าเข้าสู่การเจรจาเพื่อหาทางออกให้สังคมไทย”
จากกรณีที่แกนนำ นปช. บางคนได้เข้าไปในรัฐสภาเพื่อค้นหาผู้นำรัฐบาลและจับตัวนายทหารพร้อมกับยึด อาวุธ จนทำให้รัฐบาลประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินอย่างร้ายแรง เพื่อควบคุมและยับยั้งสถานการณ์การเมืองนั้น
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา เอกชน (กป.อพช.) รู้สึกห่วงใยต่อสถานการณ์ที่มีแนวโน้มจะนำพาไปสู่การเผชิญหน้ากันและสร้าง เงื่อนไขที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนอาจเกิดความเสียหายอย่างร้าย แรงต่อระบอบประชาธิปไตยและ สังคมไทยโดยรวม ดังนั้นเพื่อลดเงื่อนไขการสร้างความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจึงมีข้อเสนอและ เรียกร้องดังต่อไปนี้
1. ขอให้รัฐบาลยกเลิกการประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินอย่างร้ายแรง
2. ขอให้แกนนำนปช. ใช้เสรีภาพการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 โดยการกลับไปชุมนุมสถานที่เดิม
3. ขอให้รัฐบาลและแกนนำ นปช. เข้าสู่การเจรจากันโดยทันที เพื่อหาทางออกให้สังคมไทย
4. ขอให้สื่อมวลชนทุกแขนงทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ของทุกกลุ่มฝ่าย ใช้วิจารณญาณในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นการให้ ข้อมูลในลักษณะเป็นการให้ ร้าย เพื่อทำลายล้างซึ่งกันและกัน ไม่ยั่วยุให้เกิดความเกลียดชัง อันอาจจะเป็นเหตุแห่งความรุนแรง
5. ขอประณามการกระทำของบุคคลไม่ทราบ ฝ่ายที่อาศัยสถานการณ์เพื่อ สร้างความรุนแรงโดยการวาง ระเบิดรายวัน และให้รัฐบาลดำเนินการเอาผิดอย่างจริงจังกับกลุ่มบุคคลดังกล่าว
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา เอกชน (กป.อพช.)
8 เมษายน 2553
Thu, 2010-04-08 14:06
วันนี้ (8 เม.ย.) คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ “หยุดสร้างเงื่อนไขความรุนแรง เดินหน้าเข้าสู่การเจรจาเพื่อหา ทางออกให้สังคมไทย” โดยมีข้อเรียกร้องต่อทั้งฝ่ายรัฐบาลและผู้ชุมนุม นปช. รวมทั้งเหตุระเบิดรายวันในกรุ งเทพมหานคร โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้
000
แถลงการณ์เรื่อง “หยุดสร้างเงื่อนไขความรุนแรง เดินหน้าเข้าสู่การเจรจาเพื่อหาทางออกให้สังคมไทย”
จากกรณีที่แกนนำ นปช. บางคนได้เข้าไปในรัฐสภาเพื่อค้นหาผู้นำรัฐบาลและจับตัวนายทหารพร้อมกับยึด อาวุธ จนทำให้รัฐบาลประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินอย่างร้ายแรง เพื่อควบคุมและยับยั้งสถานการณ์การเมืองนั้น
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา เอกชน (กป.อพช.) รู้สึกห่วงใยต่อสถานการณ์ที่มีแนวโน้มจะนำพาไปสู่การเผชิญหน้ากันและสร้าง เงื่อนไขที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนอาจเกิดความเสียหายอย่างร้าย แรงต่อระบอบประชาธิปไตยและ สังคมไทยโดยรวม ดังนั้นเพื่อลดเงื่อนไขการสร้างความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจึงมีข้อเสนอและ เรียกร้องดังต่อไปนี้
1. ขอให้รัฐบาลยกเลิกการประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินอย่างร้ายแรง
2. ขอให้แกนนำนปช. ใช้เสรีภาพการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 โดยการกลับไปชุมนุมสถานที่เดิม
3. ขอให้รัฐบาลและแกนนำ นปช. เข้าสู่การเจรจากันโดยทันที เพื่อหาทางออกให้สังคมไทย
4. ขอให้สื่อมวลชนทุกแขนงทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ของทุกกลุ่มฝ่าย ใช้วิจารณญาณในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นการให้ ข้อมูลในลักษณะเป็นการให้ ร้าย เพื่อทำลายล้างซึ่งกันและกัน ไม่ยั่วยุให้เกิดความเกลียดชัง อันอาจจะเป็นเหตุแห่งความรุนแรง
5. ขอประณามการกระทำของบุคคลไม่ทราบ ฝ่ายที่อาศัยสถานการณ์เพื่อ สร้างความรุนแรงโดยการวาง ระเบิดรายวัน และให้รัฐบาลดำเนินการเอาผิดอย่างจริงจังกับกลุ่มบุคคลดังกล่าว
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา เอกชน (กป.อพช.)
8 เมษายน 2553
Similar topics
» แถลงข่าว เสื้อแดง ค่ำคืน 26 เมษา 53
» ตรวจสอบรายชื่อ คนเจ็บ คนตาย ในวันที่ 10 เมษา 53
» ข่าว 25 มค 52
» ข่าว 26 มค 52
» ข่าว 11 กพ 53
» ตรวจสอบรายชื่อ คนเจ็บ คนตาย ในวันที่ 10 เมษา 53
» ข่าว 25 มค 52
» ข่าว 26 มค 52
» ข่าว 11 กพ 53
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ