RedCyberClub Forum
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

**Update ข่าว 26-27 เมย.53

Go down

**Update ข่าว 26-27 เมย.53 Empty **Update ข่าว 26-27 เมย.53

ตั้งหัวข้อ by RED LETTER Tue Apr 27, 2010 11:25 am

สุเทพ แย้ม เจ้าหน้าที่พร้อมแล้ว อีกไม่นานลุย
สุเทพ ลั่นให้ตำรวจย้ายหากไม่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ ระบุประชาชนทนนปช.มากพอแล้ว เตรียมใช้กฎหมายจัดการ


http://news.mthai.com/politics-news/74577.html


ศอฉ. แจกแผนผังเครือข่ายล้มเ้จ้า
April 27, 2010
พ.อ.สรรเสริญกล่าวว่า ข้อมูลอันเป็นเท็จล่าสุดคือ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขาธิการในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งท่านถวายงานรับใช้ใกล้ชิด มีหน้าที่ที่นำพระมหาเมตตา พระมหากรุณาธิคุณมาสู่ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ไม่แบ่งสี ไม่แบ่งฝ่าย การทำงานของ ศอฉ.ที่ผ่านมามีการประสานงานกันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องชี้นำจากกลุ่มบุคคลใด การใส่ร้ายโจมตีท่านผู้หญิงจรุงจิตต์นั้น ถือว่าเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่ไม่บังควร ซึ่งแกนนำพยายามหยิบหยกประเด็นนี้ขึ้นมาสร้างความสับสนให้สังคม บิดเบือนข้อเท็จจริง มุ่งโจมตีท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ หรือหลายคนอาจมีความคิดว่ามีวัตถุประสงค์อื่นใดที่สูงไปกว่านี้ ซึ่งสังคมต้องพิจารณากัน ซึ่งถือเป็นการยกระดับการชุมนุมเป็นการก่อการร้ายเต็มรูปแบบโดยโยงใยไปถึงบุคคลใกล้ชิดสถาบัน


http://www.siamintelligence.com/capo-to-distribute-anti-monarch-chart/


ศอฉ.แจกเครือข่ายล้มเจ้า โยง'ทักษิณ'แกนหลัก
ศอฉ.แจกเอกสารบทวิเคราะห์ เกี่ยวกับการจาบจ้วงสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของคนไทย ให้กับสื่อมวลชน "ทักษิณ"ถูกกาหัวเป็นแกนหลัก เชื่อมโยงมาที่กลุ่มแกนนำ นปช.พร้อมแกนนำรายอื่นๆอีกเพียบ..

http://www.thairath.co.th/content/pol/79272


ช่างภาพดัง ฟันธง “รูปแม้ว”โชว์ชิล ในทวิตเตอร์ตัดต่อ 100%
ฝีมือห่วย ช่างภาพชื่อดังจับผิดรูปทักษิณ ชินวัตร ที่กำลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นรูปตัดต่อ 100 % ทั้ง แสง เงา ผิดธรรมชาติ พร้อมกับกรีดคนตัดต่อด้วยการสอนวิธีการตัดต่อขั้นเทพ ...

http://www.thairath.co.th/content/pol/79210


เปิดใจแนวหลัง ภรรยา 'พ.อ.ร่มเกล้า' นิชา หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษานายกฯคนใหม่
นิชา หิรัญบูรณะ

หลังจากที่สูญเสียผู้นำครอบครัว คือ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รอง เสธ.พล.ร.2 รอ. ค่ายจักรพงษ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี จากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างประชาชนผู้สวมเสื้อสีแดง กับทหาร เมื่อคืนวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา นำความเศร้าสลด มาสู่คนในครอบครัว "ธุวธรรม" เป็นอย่างยิ่ง


http://www.thairath.co.th/content/pol/78235



แก้ไขล่าสุดโดย RED LETTER เมื่อ Tue Apr 27, 2010 5:26 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
RED LETTER
RED LETTER

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

**Update ข่าว 26-27 เมย.53 Empty แถมข่าว จากมติชนสุดสัปดาห์.....

ตั้งหัวข้อ by RED LETTER Tue Apr 27, 2010 11:28 am

ในประเทศ

ทำในสิ่งที่เชื่อ เชื่อในสิ่งที่ทำ "ทักษิณ-3 กกต."ปักธงเลือกตั้ง 15 ต.ค.2549 ?

ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังอึมครึมขณะนี้

ดูเหมือนจะมีแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 3 คนเท่านั้น ที่มั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2549

นอกนั้นหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย นักวิชาการ ตลอดจนประชาชนทั่วไปอีกจำนวนหนึ่ง ไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันดังกล่าว แม้ว่ารัฐบาลและ กกต. ทั้ง 3 คนจะดำเนินการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกฤษฎีกายุบสภา พ.ศ.2549

และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้วก็ตาม

ความมั่นใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาจากเหตุผล 4 ข้อคือ 1.ทำงาน 2.ทำตามกติกา 3.ทุกคนต้องทำหน้าที่ตามกติกาของสังคม 4.ยึดแนวพระราชดำรัสวันที่ 9 มิถุนายน

"เนื่องจากคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญมีความชัดเจนว่า จะต้องมีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน หลังจากที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งแล้ว ซึ่งต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งกราบบังคมทูลฯ ขึ้นไปหลังวันที่ 15 สิงหาคม เป็นต้นไป จากนั้นก็แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงมาเมื่อไหร่"

"เมื่อทรงโปรดเกล้าฯ ลงมาแล้ว วันที่ 15 ตุลาคม จะอยู่ในช่วง 60 วันของการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ในช่วงนี้จึงต้องรอคอย เพราะไม่สามารถทำอะไรได้"

นอกจากนี้ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พรรคไทยรักไทยจะมีการจัดสัมมนาพรรค ประเมินสถานการณ์ทางการเมือง และวางกิจกรรมการรณรงค์หาเสียง

ที่สำคัญคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังยืนยันว่าจะเป็นคนนำทัพสู้ศึกเลือกตั้ง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากสมาชิกและผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยว่าการเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม อย่างแน่นอน



อย่างไรก็ตาม การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเป็นต้องแสดงออกถึงความมั่นใจเช่นนี้ มีสาเหตุอยู่ 2 ข้อคือ นอกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ จะอยู่ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่ต้องพยายามทำทุกอย่างเพื่อบำรุงขวัญกำลังใจ และรับประกันอนาคตของลูกพรรคแล้ว

พ.ต.ท.ทักษิณ ยังอยู่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่ต้องรับผิดชอบต่อร่างพระราชกฤษฎีการเลือกตั้ง ซึ่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้การเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2549

ด้วย 2 สถานะดังกล่าวนี้เอง ที่เป็นกลไกบังคับให้ พ.ต.ท.ทักษิณต้องเชื่อในสิ่งที่ทำ และทำในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ถึงแม้สถานการณ์แวดล้อมทางการเมืองหลายอย่างจะบ่งชี้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณพยายามจะเชื่อและทำอยู่ก็ตาม

การที่ กกต. ทั้ง 3 คนอยู่ในฐานะล้มละลายทางความเชื่อถือจากสังคม อันสืบเนื่องมาจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกันของ 3 ศาลว่า การจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน มีปัญหาไม่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ และดำเนินการโดยไม่สามารถทำให้เกิดความเที่ยงธรรมได้

ผลจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน ยังเป็นเหตุให้มีการยื่นฟ้องร้อง กกต. ตามมาจำนวนมาก และหลายคดีที่ศาลมีคำสั่งประทับรับฟ้องไปแล้ว และด้วยสถานภาพการตกเป็น "จำเลย" ตามกฎหมายของ กกต. ที่เป็นอยู่นี้ คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้พรรคการเมืองเกือบทุกพรรค ยกเว้นพรรคไทยรักไทย

ไม่เชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม

นอกจากนี้ การลาออกของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ จากตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามมาด้วยการลาออกจากรองนายกรัฐมนตรีของ นายวิษณุ เครืองาม ยังถูกระบุว่ามีสาเหตุมาจากความขัดแย้ง กรณีที่รัฐบาลต้องการให้รีบทูลเกล้าฯ ร่างพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง

ซึ่งทั้งสองอดีตเนติบริกรไม่เห็นด้วย



ก่อนการยื่นใบลาออกไม่นาน นายวิษณุ เครืองาม ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ขณะนี้พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งยังไม่เกิดปัญหา เพราะรัฐบาลได้ประสานสำนักราชเลขาธิการไปแล้ว โดยสำนักราชเลขาธิการจะยังไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ที่ยังไม่เร่งรีบ ก็เพราะถ้ามีปัญหา กกต. ลาออก ถ้ารีบทูลเกล้าฯ ไป เมื่อเกิดปัญหาก็จะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงใหม่

ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีต กกต. ยืนยันว่าระหว่างมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 148 บัญญัติไว้ว่าห้ามไม่ให้จับกุม คุมขัง หรือหมายเรียกตัวกรรมการการเลือกตั้งไปสอบสวน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือในกรณีที่จับในขณะทำความผิด

นายปริญญา นาคฉัตรีย์ กกต. อ้างเหตุผลในการดื้อแพ่ง ไม่ยอมลาออกตามกระแสเรียกร้องของสังคมว่า กกต. จำเป็นต้องอยู่เพื่อทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วง เพราะหากมีการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งลงมา การลาออกของ กกต. อาจถูกฟ้องฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้

ทั้ง 2 กรณีจึงพอจะเป็นคำตอบได้ว่า ทำไมรัฐบาลและ กกต. ถึงต้องรีบผลักดันให้มีการทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง เพราะอย่างน้อยก็จะเป็นหลักประกันความได้เปรียบของรัฐบาลว่า กกต. ที่เหลือจะไม่ต้องลาออก และยังมีสิทธิคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ต้องถูกดำเนินคดีอีกต่างหาก

ถ้าไม่เกิดประเด็นที่อัยสูงสุดมีมติให้ยุบ 5 พรรคการเมืองขึ้นมาเสียก่อน ทุกอย่างก็คงใกล้จะลงล็อคของ พ.ต.ท.ทักษิณ และ กกต. ทั้ง 3 คน และถึงแม้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะต่างคนต่างมั่นใจว่าสุดท้ายแล้วพรรคของตัวเองจะไม่ถูกยุบก็ตาม

แต่ก็มีผลทำให้การเลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม 2549 กลายเป็นปริศนามากขึ้นกว่าเดิมว่า

จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่
?

ที่มา http://info.matichon.co.th/weekly/wk_txt.php?srctag=ODIzMDA2NDk=
RED LETTER
RED LETTER

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

**Update ข่าว 26-27 เมย.53 Empty แถมข่าว จากมติชนสุดสัปดาห์....2

ตั้งหัวข้อ by RED LETTER Tue Apr 27, 2010 11:31 am

ในประเทศ

ปชป.-ทรท.ตกหล่ม..."ยุบพรรค" "อุดมการณ์"ต่าง..."ชะตากรรม"ไม่ต่าง

ไ ม่มีใคร "ได้เปรียบ" หรือ "เสียเปรียบ" ในทางการเมือง เมื่อ "พรรคไทยรักไทย" ถูกคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนายทะเบียนพรรคการเมืองเสนออัยการสูงสุด ให้ดำเนินการยุบพรรคการเมืองตามมาตรา 63 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ที่ "ชัยเกษม นิติสิริ" รองอัยการสูงสุด เป็นประธาน มีมติเป็นเอกฉันท์ 11 เสียง เห็นควรให้ "ยุบพรรค" ด้วยมูลเหตุ กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ตามมาตรา 66 (1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ (3) กระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการเมือง เช่นเดียวกับ "พรรคประชาธิปัตย์" ที่ถูกคณะกรรมการชุดเดียวกันมีมติเอกฉันท์ให้ "ยุบพรรค" เพราะกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ฉบับเดียวกัน ตามมาตรา 66 (2) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และ (3) กระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อกล่าวหาของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นข้อกล่าวหาเดียวกันกับ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย โดย 3 พรรคเล็กถูกเชือดในกรณีหัวหน้าพรรคออกหนังสืออันเป็นเท็จรับรองผู้สมัครไปสมัครรับเลือกตั้ง และเป็นผู้รับจ้าง เป็นอันว่า มติดังกล่าวเสนอให้ "ยุบพรรค" ทั้งหมด 5 พรรค เพื่อส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา "ชี้ขาด" ต่อไป นี่ คือ "ประวัติศาสตร์" หน้าหนึ่งของแวดการเมืองไทย เป็นประวัติศาสตร์ที่ทำให้พรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค ซึ่งเป็นพรรค "คู่แข่ง" ที่สมน้ำสมเนื้อที่สุดในเวลานี้ ต้องมาเผชิญ "ชะตากรรม" เดียวกัน สำหรับที่มาของการเสนอให้ "ยุบพรรค" เริ่มต้นจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็น "โฆษะ" หลังมีการร้องเรียนว่า การเลือกตั้งไม่โปร่งใสและบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นความไม่โปร่งใส ที่อยู่บนพื้นฐานของการ "เล่นเกมการเมือง" ของพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค กล่าวคือ มีการกล่าวหาพรรคไทยรักไทย "จ้าง" พรรคการเมืองเล็กๆ ลงสมัคร เพื่อไม่ต้องการต่อสู้กับตัวเอง เนื่องจากอดีตพรรคฝ่ายค้าน อย่าง ประชาธิปัตย์ ชาติไทย และมหาชน ประกาศ "บอยคอต" การเลือกตั้ง ทำให้ในเขตที่ไม่มีผู้สมัครคู่แข่ง ผู้สมัครของพรรคไทยรักไทย จะต้องทำคะแนนให้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนผู้มีสิทธิ์ทั้งหมดของเขตเลือกตั้งนั้นๆ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ก็ถูกกล่าวหาว่า "จ้าง" พรรคการเมืองเล็กๆ ไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อต้องการล้มการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ก่อนหน้านี้ "น้ำหนัก" ของข้อกล่าวหาพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์ โดยรวมๆ ดูจะไม่แตกต่างกัน แต่สถานภาพของพรรคไทยรักไทยดูจะ "ได้เปรียบ" กว่า เป็นความได้เปรียบบนพื้นฐานของ "ความเชื่อ" ที่ว่า พรรคไทยรักไทยสามารถควบคุม "กลไก" การดำเนินการทุกอย่างไว้อย่างเสร็จสรรพ แต่หากมองไปที่ ข้อกล่าวหาของพรรคไทยรักไทยตาม มาตรา 66 (1) ซึ่งระบุว่า "เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย" นักกฎหมายหลายคนมองว่าดูจะ "หนักกว่า" ข้อกล่าวหาของพรรคประชาธิปัตย์ตามมาตรา 66 (2) ที่ระบุว่า "เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองต่อระบอบประชาธิปไตย" ด้วยซ้ำ เพราะคำว่า "ล้มล้าง" ตามพจนานุกรมฉบับมติชน หมายความตรงตัวว่า "ทำลาย" ขณะที่ "ปฏิปักษ์" ความหมายคือ "ฝ่ายตรงข้าม ข้าศึก ศัตรู" ไ ม่แปลกที่ "ทักษิณ ชินวัตร" หัวหน้าพรรคไทยรักไทย พูดกับลูกพรรคในระหว่างการประชุมพรรคว่า "...อย่าหวั่นไหว ให้ทำงานเหมือนเดิม พรรคไม่ได้ทำอะไรผิด เพราะไม่เคยมีมติ ไม่เคยมีการประชุมและไม่เคยรับรู้ในเรื่องที่กล่าวหา การกล่าวหาเป็นเรื่องของตัวบุคคลที่ท่านต้องชี้แจงกันไปตามที่ถูกกล่าวหา" สอดคล้องกับสมาชิกพรรคไทยรักไทยหลายคนที่ก่อนหน้านี้พยายามออกมาพูดว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่ใช่ "มติพรรค" เป็นเรื่องของ "ตัวบุคคล" แม้แต่ตัวละครที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "คนจ้างวาน" อย่าง "พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล" รองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ก็ยังบอกว่า "ไม่หนักใจ เพราะคำให้การของฝ่ายที่กล่าวหาไม่เกี่ยวข้องกับผม แต่เป็นการสรุปกันเอาเอง คงต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา" นี่เป็นเหมือนการส่งสัญญาณให้รู้เป็น "นัย" ว่าโอกาส "รอด" และโอกาส "โดน" มีพอๆ กัน เพียงแต่โอกาสรอดนั้น พรรคไทยรักไทยก็จะต้องไปแก้ต่างต่อศาล และพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นการกระทำของ "บุคคล" ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงไปถึงพรรค หรือเป็น "มติพรรค" เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีสิทธิ์ออกทั้ง "หัว" และ "ก้อย" จึงต้องออกมาแก้กล่าวหาว่า "ไม่มีส่วนรู้เห็น" กับการกระทำของ "ไทกร พลสุวรรณ" แกนนำอีสานกู้ชาติ กุญแจดอกสำคัญที่โยงมาถึงพรรคประชาธิปัตย์ จนถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายที่จ้างพรรคเล็กให้ล้มการเลือกตั้ง นั่นคือ "การต่อสู้" ตามกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทั้งพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องทำให้ศาลรัฐธรรมนูญ "เชื่อ" ว่าพรรคไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ตามข้อกล่าวหา แ ต่หลายฝ่ายเชื่อว่านั่นเป็นแค่ "เกม" เป็น "เกม" ที่ต้อง "เล่นให้จบ" เพราะที่สุดแล้วเชื่อว่าจะไม่มีการยุบพรรคใหญ่ 2 พรรคเกิดขึ้น...? หรือหากจะมีการ "เชือด" ก็คงเป็นการเชือดแค่ระดับ "บุคคล" มากกว่าที่จะโยงใยไปถึง "พรรค" "สุขุม นวลสกุล" อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็เชื่อเช่นนั้น "...ผมเชื่อว่าจะไม่มีการยุบพรรค เพราะในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองและนักการเมืองเป็นหัวใจของระบอบ เพราะเป็นระบอบตัวแทน หากศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบทั้ง 2 พรรค ระบบการเมืองไทยก็จะขาดความน่าเชื่อถือ..." แม้แต่นักการเมืองขนานแท้อย่าง "บรรหาร ศิลปอาชา" หัวหน้าพรรคชาติไทย ก็มีมุมมองไม่ต่างกันว่า "...การยุบพรรคมันไม่ง่าย เพราะพรรคตั้งกันมาอย่างช้านาน ถ้าเอาผิดได้น่าจะเป็นตัวบุคคลมากกว่า พรรคอาจจะไม่รับรู้ก็ได้ ใครจะไปยุบพรรคไทยรักไทยได้ง่ายๆ เสียเมื่อไหร่ เหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ที่อยู่มานานตั้ง 60 ปีแล้ว..." แต่นั่นเป็นสิ่งที่พรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์จะต้องไปพิสูจน์ความ "บริสุทธิ์" ของตัวเอง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เวลานี้ทั้งสองพรรคใหญ่ คงได้รับ "บทเรียน" ทางการเมืองร่วมกันแล้วว่า แม้ "อุดมการณ์" ในการทำพรรคจะแตกต่างกัน แต่หากเล่น "นอกเกม" ไม่เดินตามระบอบประชาธิปไตย ก็อาจจะตกอยู่ "สภาพ" หรือ "ชะตากรรม" ที่ไม่แตกต่างกัน

ที่มา http://info.matichon.co.th/weekly/wk_txt.php?srctag=MDQzMDA2NDk=
RED LETTER
RED LETTER

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ