ข่าว วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เกี่ยวกับนักข่าวเยอรมัน
หน้า 1 จาก 1
ข่าว วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เกี่ยวกับนักข่าวเยอรมัน
วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7142 ข่าวสดรายวัน
ลูกสาวโฮ นักข่าวเยอรมันเล่า วันพ่อถูกยิง เจ็บสาหัสที่ราชปรารภ ทหารไล่ล่าก่อนเป็นศพ พม.มอบ4แสน"คนตาย" ญาติย้ำ-ไม่คุ้มค่าชีวิต! นักข่าวเยอรมันได้พบลูกสาวแท็กซี่ เหยื่อปืน "ราชปรารภ" แล้ว เล่าเหตุการณ์ที่ถ่ายภาพวัน ถูกยิงตรงแนวยางรถยนต์ ทำเอาลูกสาวผู้ตายร่ำไห้โฮออกมา ฝ่ายนักข่าวเองก็สะเทือนใจจนพลอยร้องไห้ตามไปด้วย ลูกสาวเผยสองคนกับแม่ ออกตามหาศพพ่อตามร.พ.ไปทั่ว จนไปเจอที่รามาฯ มีภาพถ่ายในสภาพเน่าไปแล้วแต่ก็ยังจำได้ พม.แจกเงินเยียวยา 200 ราย รายที่ตายได้รับ 4 แสน แต่ญาติต่างย้ำถึงได้เงินชดเชยก็ไม่คุ้ม ทั้งที่ตายไปก็ไม่ใช่คนเสื้อแดง แต่ผ่านไปเจอลูกหลง
จากกรณีนายนิก นอสทิส นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน เดินทางไปพบตำรวจสน.พญาไท เพื่อตามหาผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ซึ่งนายนิกเห็นเหตุการณ์ขณะถูกทหารยิงบาดเจ็บ ขณะอยู่แนวยางรถยนต์บนถนนราชปรารภ ก่อนได้รับการยืนยันจากตำรวจว่าชายดังกล่าวเสียชีวิตไปแล้ว ชื่อนายชาญณรงค์ พลศรีลา อายุ 45 ปี อาชีพแท็กซี่ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ตามที่ปรากฏเป็นข่าวไปแล้วนั้น
เมื่อวันที่ 18 พ.ค. น.ส.มนชยา หรือส้มโอ พลศรีลา อายุ 25 ปี พนักงานข้าราชการ กองทัพอากาศ บุตรสาวนายชาญณรงค์ พลศรีลา อายุ 45 ปี ผู้เสียชีวิตจากการกระชับพื้นที่บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ถนนราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เดินทางไปพบนายนิก นอสทิส นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน ที่เห็นเหตุการณ์ขณะนายชาญณรงค์ถูกยิง และพยายามเข้าไปช่วยเหลือ โดยทั้งสองนัดหมายเจอกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ย่านสายไหม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.มนชยา หรือส้มโอ สอบถามนายนิก ถึงเหตุการณ์ที่นายชาญณรงค์ถูกยิงทันที โดยสอบถามถึงเรื่องราวต่างๆ วันแรกที่พบพ่อ และช่วงที่ถูกยิงหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ถนนราชปรารภอย่างละเอียด ทั้งนี้ ระหว่างที่นายนิกเล่าเรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่ต้นให้น้องส้มโอฟัง ทำเอาน้องส้มโอถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ ปล่อยโฮออกมาต่อหน้าผู้สื่อข่าว โดยที่นายนิกก็พลอยร้องไห้ออกมาด้วย จนต้องให้น้องส้มโอนั่งพักดื่มน้ำเย็น เพื่อให้หายเครียด ประมาณ 5 นาที จากนั้นนายนิกเล่าเหตุการณ์ต่อช่วงที่นายชาญณรงค์ถูกยิง และช่วงที่นายนิกเข้าไปช่วยเหลือ โดยพยายามนำร่างนายชาญณรงค์ออกจากจุดเกิดเหตุเพื่อไปส่งโรงพยาบาล แต่ไม่สามารถนำออกมาได้ เพราะขณะนั้นมีกำลังทหารประชิดเข้ามาแล้ว
นายนิก เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ขณะเดินทางไปทำข่าวอยู่บริเวณราชปรารภ ก็ได้พบเห็นนายชาญณรงค์อยู่บริเวณแนวรั้วยางรถยนต์ ขณะนั้นทราบว่าจะมีทหารบุกเข้ามาสลายการชุมนุมบริเวณดังกล่าว ก่อนหน้านี้ตนและนายชาญณรงค์ก็ได้ยืนอยู่ด้วยกัน และตนยังถ่ายรูปนายชาญณรงค์ไว้ด้วย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ตนไม่มีวันลืมตลอดชีวิตแน่นอน ภาพนายชาญณรงค์ถูกยิงวันนั้นยังติดตาตนตลอดเวลา และจะเดินหน้าหาความเป็นธรรมให้กับนายชาญณรงค์ต่อไป
ส่วนน.ส.มนชยา หรือส้มโอ กล่าวว่า บิดาของตนเดินทางไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณแยกราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. และในวันนั้น ตนทราบว่าช่วงประมาณ 15.00 น. จะมีการกระชับพื้นที่ มีความเป็นห่วงพ่อ จึงได้โทรศัพท์ไปหาแต่ไม่ติด คาดว่าน่าจะถูกตัดสัญญาณมือถือ และตลอดทั้งวันทั้งคืนนั้น ก็ไม่สามารถติดต่อพ่อได้เลย จนกระทั่งเช้าวันที่ 16 พ.ค. มารดาตน คือนางสุริยันต์เดินถือหนังสือ พิมพ์ "ข่าวสด" ฉบับบ่ายเป็นวันที่ 17 พ.ค. มาให้ตนดู และบอกว่าพ่อถูกยิงบริเวณราชปรารภ โดยภายในหนังสือพิมพ์วันนั้น เป็นภาพมีชาย 2 คน กำลังหิ้วปีกพ่อออกมาจากที่เกิดเหตุ บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์
เล่านาทียิง - นายนิก นอสติทซ์ นักข่าวเยอรมัน เล่านาทีที่นายชาญณรงค์ถูกยิงแล้ววิ่งหนีไปหลบในบ่อน้ำ ก่อนจะมีทหารมาลากตัวออกไป และรู้สึกเสียใจมากเมื่อทราบข่าวภายหลังว่านายชาญณรงค์เสียชีวิตในวันนั้น
น.ส.มนชยา กล่าวต่อว่า หลังจากเห็นภาพข่าวว่าพ่อถูกยิง ก็รีบออกตามหาทันทีว่าเขานำพ่อส่งโรงพยาบาลอะไร โดยติดต่อสอบถามไปทุกโรงพยาบาล รวมทั้งศูนย์เอราวัณ ซึ่งเป็นจุดที่รวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต แต่ก็ไม่พบ จากนั้นวันที่ 17 พ.ค. ตนได้นำข้อมูลประวัติพ่อโพสต์ลงเฟซบุ๊กและยูทูบ เพราะอยากทราบรายละเอียดคนที่พบเห็นเหตุการณ์หรือคนที่ช่วยเหลือพ่อในวันนั้นว่าเป็นใคร และต้องการทราบความจริงว่าวันนั้นเรื่องราวเป็นอย่างไร น.ส.มนชยา กล่าวอีกว่า กระทั่งวันที่ 19 พ.ค. ตนและแม่ไปตรวจสอบที่ร.พ.วชิระ บริเวณตึกนิติเวชอีก แต่ก็ไม่พบ จึงคิดว่าน่าจะถึงทางตันแล้ว ไม่รู้จะไปตามหาที่ไหน ทางแม่จึงมาบอกให้ตนไปดูที่แผนกนิติเวช ร.พ.รามาธิบดีอีกครั้ง เพราะยังไม่เคยไป พอไปถึงก็ได้เดินเข้าไปยังตึกนิติเวช และสอบถามเจ้าหน้าที่ว่ามีศพชายรูปร่างท้วม ถูกยิงบริเวณราชปรารภ ส่งเข้ามาหรือไม่ ทางโรงพยาบาลจึงนำภาพศพทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมมาให้ดู โดยพบว่ามีอยู่ 2 คนที่ส่งมาจากราชปรารภ ศพแรกเป็นชายรูปร่างผอม ไม่ทราบชื่อ หน้าตาเละ ส่วนศพที่ 2 เป็นชายรูปร่างท้วม มีหนวด อายุประมาณ 40-45 ปี แต่สภาพศพขึ้นอืด ใบหน้าเละจำไม่ได้ เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่ได้ฉีดยา ทั้งนี้ เมื่อตนเห็นศพดังกล่าว จึงยืนยันได้ทันทีว่า คือศพของพ่อตนแน่นอน เพราะจำเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้อย่างแม่นยำ จึงประสานขอรับศพไปบำเพ็ญกุศลทันที
บุตรสาวนายชาญณรงค์ กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลาที่ตามหาพ่อมาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ตนก็มักจะฝันเห็นพ่อเกือบทุกวัน โดยในความฝันนั้นเป็นเหตุการณ์พ่อถูกยิง พอตนตื่นขึ้นมา ก็นั่งนึกว่าจะเป็นไปได้หรือ ที่พ่อมาถูกยิงกลางเมืองหลวงแบบนี้ และยังฝันเห็นพ่อนอนอยู่บนผ้าห่อศพสีขาว ซึ่งเหมือนเป็นลางบอกเหตุว่าพ่อน่าจะเสียชีวิตแล้ว จนกระทั่งมาพบศพ และหลังจากที่นำร่างพ่อไปบำเพ็ญกุศล ตนก็ได้ฝันเห็นพ่ออีก โดยพ่อมาทักทาย พ่อมีรูปร่างหน้าตาหนุ่มหล่อ มาบอกสบายดี ตนถึงกับร้องไห้เมื่อฝันถึงพ่อ
ด้านนายนิก กล่าวว่า วันเกิดเหตุ จำได้ว่าหลังจากที่นายชาญณรงค์ถูกยิงที่หน้าปั๊มแล้ว ได้พยายามคลานเข้ามาในปั๊ม ซึ่งขณะนั้นนักข่าวและผู้ชุมนุมได้ไปรวมตัวกันอยู่ที่ห้องน้ำหลังปั๊ม แล้วปีนข้ามรั้วหนีไปยังบ้านหลังหนึ่ง โดยมีคนเสื้อแดงช่วยกันนำร่างนายชาญณรงค์ข้ามมาด้วย แต่นายชาญณรงค์ลงไปนอนหลบแช่อยู่ในบ่อบัว โผล่มาแค่หน้า และยังส่งเสียงร้องให้ตนช่วย บอกว่า "ผมไม่ไหวแล้ว" แต่เมื่อทหารปีนข้ามรั้วมาได้ ก็ด่านายชาญณรงค์อย่างหยาบคายว่า ทำไมถึงไม่ตาย แล้วสั่งให้ตนช่วยดึงขึ้นมาจากน้ำ แต่ตนดึงคนเดียวไม่ไหว ทหารก็เลยเข้ามาดึงแขนนายชาญณรงค์ขึ้นมาแล้วพาข้ามกำแพงไป เมื่อได้ทราบว่านายชาญณรงค์เสียชีวิตแล้ว ก็รู้สึกเสียใจ แต่ถ้าถามตนว่ารู้สึกสบายใจขึ้นหรือไม่ ที่ได้พบบุตรสาวคนที่เสียชีวิต บอกได้ว่าไม่ เพราะการสูญเสียชีวิตนั้น ไม่สามารถที่จะเรียกกลับคืนมาได้
ก่อนตาย - ภาพถ่ายที่นายนิกบันทึกไว้ตอนที่นายชาญณรงค์ยิงหนังสติ๊กสู้กับทหารที่ถนนราชปรารภ ส่วนรูปขวา คนเสื้อแดงพยายาม ลากนายชาญณรงค์ซึ่งถูกยิงสาหัสเข้ามาหลบที่หลังปั๊มน้ำมันใกล้จุดเกิดเหตุ ก่อนจะเสียชีวิต
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังจากที่นายนิกและน้องส้มโอพูดคุยกันเสร็จ ก็ได้แลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ โดยนายนิกรับปากว่าจะส่งภาพเหตุการณ์พ่อน้องส้มโอที่ถูกยิงในวันนั้นให้ดูทั้งหมด
เวลา 13.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายจิรเดช อานุภาวธรรม ที่ปรึกษารมว.พม. เป็นประธานพิธีมอบเงินเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ 200 ราย เป็นผู้เสียชีวิต 4 ราย และผู้บาดเจ็บ 196 ราย แบ่งเป็นประชาชน 119 ราย ทหาร 78 ราย และตำรวจ 3 ราย จำนวนเงิน 9,300,000 บาท โดยกระทรวงได้มอบเงินเยียวยาให้ผู้เสียหายรวมแล้ว 10 ครั้ง รวม 1,205 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 57,004,207 บาท
นางนันที วรรณจักร อายุ 51 ปี มารดาของนายชัยยันต์ วรรณจักร อายุ 21 ปี พนักงานบาร์น้ำโรงแรมอิมพีเรียล สุขุมวิท 24 ซึ่งเสียชีวิตบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. กล่าวภายหลังการรับเงินเยียวยา 4 แสนบาทว่า ลูกชายทำงานแผนกบาร์น้ำของโรงแรม จะเลิกงานกลับบ้านเวลาสี่ทุ่มทุกวัน ส่วนครอบครัวและตนอยู่ที่กาฬสินธุ์ ซึ่งตนจะโทรศัพท์มาหาลูกชายช่วงบ่ายๆ เย็นๆ เป็นระยะทุกวัน แต่วันที่ 14 พ.ค. ทางโรงแรมให้พนักงานกลับบ้านเร็วกว่าปกติ ลูกชายตนได้ขี่รถมอเตอร์ไซค์กลับที่พักบริเวณหลังสน.พญาไท ย่านถนนเพชรบุรีซอย 5 เวลาประมาณ 19.00 น. ตนได้โทร.เข้ามือถือลูกชาย ก็พบว่าหมอรับสายแจ้งว่าลูกชายถูกยิง 2 นัด ตรงสะโพกซ้ายทะลุเส้นเลือดแดงใหญ่และอีกนัดฝังในบาดเจ็บสาหัส ขณะขี่รถผ่านมาทางสามเหลี่ยมดินแดง ถูกส่งมาโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ตนจึงรีบเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทันที
"จากนั้นประมาณสามทุ่ม หมอก็โทร.มาแจ้งว่าลูกชายเสียชีวิตแล้ว พอ 7 โมงเช้าวันที่ 15 พ.ค. ฉันถึงกรุงเทพฯ ก็ไปแจ้งความที่สน. ดินแดง และขอรับศพลูกชายไปชันสูตรที่โรงพยาบาลรามาฯ ก่อนนำกลับไปทำพิธีที่บ้าน เราก็ไม่รู้ว่าใครยิงลูกชาย คนที่เข้ามาช่วยก็ถูกยิงตายเหมือนกัน ลูกชายเองไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วย ไม่เคยมาชุมนุม ทำงานอย่างเดียว ลูกชายเป็นคนกตัญญูมาก เงินเดือนประมาณ 7,000 บาท ก็ส่งให้แม่ 1,500-2,000 บาททุกเดือน วันนั้นเพื่อนลูกชายที่พักด้วยกันก็ซื้อข้าวผัดมารอ แต่สุดท้ายลูกชายก็ไม่ได้กิน" นางนันทีกล่าว
นางนันที กล่าวว่า ตนเสียใจมากที่ต้องสูญเสียลูกชาย ตนเป็นผู้ช่วยครู ดูแลเด็กในศูนย์เด็กฯ ที่กาฬสินธุ์ เงินเดือน 6,200 บาท ส่วนสามีรับจ้างก่อสร้าง มีลูกชายอีกคนกำลังเรียนหนังสือ แม้จะได้รับเงินเยียวยา แต่ไม่เพียงพอกับชีวิตคนหนึ่งคน เราเลี้ยงดูมาเยอะ ลูกเป็นเด็กกตัญญูมาก ทั้งนี้ อยากให้ประเทศกลับมาสงบสุข ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ไม่อยากให้มีใครต้องมาตาย และก็ต้องมาเสียใจกันทุกคนแบบนี้
ด้านนางหนูชิต คำกอง ภรรยานายพัน คำกอง อายุ 44 ปี ที่เสียชีวิตย่านราชปรารภ กล่าวว่า สามีมีอาชีพขับแท็กซี่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 พ.ค. โดยวันนั้นสามีจะไปขับแท็กซี่ ได้เอารถไปเช็กที่อู่ข้างวัดสระเกศ พบว่ารถแอร์ไม่เย็น จึงจะกลับมาหาลูกๆ ที่พักย่านพัฒนาการ 43 แต่ไม่มีรถเมล์ จึงได้เดินไปถึงบริเวณย่านราชปรารภ ก็ถูกทหารกั้นไม่ให้เข้าออกย่านนั้น สามีจึงไปอยู่กับรปภ.ที่ไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ ไอดีโอ ก็นั่งคุยกับคนงานก่อสร้าง จนถึง 20.00 น. ก็ยังไปไหนไม่ได้ สามียังบ่นกับคนงานว่าอยากกลับไปหาลูกๆ ลูกรอกินข้าวกันอยู่ จนกระทั่งเวลา 24.00 น. ได้มีรถตู้วิ่งเข้ามาทั้งที่ทหารห้ามไม่ให้เข้า ทหารที่อยู่สองฝั่งถนนได้ยิงใส่รถตู้ รถตู้วิ่งฝ่ากระสุนไปได้ แต่สามีของตนถูกยิงที่ราวนมซ้ายและเสียชีวิต
"ปกติสามีไม่เคยไปร่วมชุมนุมอะไรแบบนี้อยู่แล้ว เงินเยียวยาที่ได้ไม่คุ้มค่าชีวิตสามีเลย ถึงเราหาเช้ากินค่ำ ฉันเป็นแม่บ้านโรงแรม สามีขับแท็กซี่แต่เราก็ภูมิใจที่ได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา วันนี้เสียเสาหลักไปก็รู้สึกเสียใจ ชีวิตวันนี้เปลี่ยนไปหมดแล้ว สามีต้องมาตายแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เราคนเดียวต้องดูแลลูกอีก 4 คน เราไม่ได้อยู่สีไหนฝ่ายไหน แต่มองว่าเสื้อแดงถอยแล้ว จะปรองดองกันได้ไหม อยากวอนรัฐบาลว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยไม่ได้ผิด แต่มาทำแบบนี้ต้องสูญเสียชีวิต ซึ่งได้พูดคุยกับหลายคนพบว่ายังมีญาติพี่น้องหายไปไม่กลับบ้าน และไม่รู้ไปไหน ไม่รู้อีกกี่ครอบครัวต้องลำบากสาหัส ไม่อยากให้มีการทำลายชีวิตคนบริสุทธิ์อีกต่อไป ทุกวันนี้ยังทำใจไม่ได้ที่สามีเสียชีวิต เห็นหน้าลูกก็เห็นหน้าสามีตลอด" นางหนูชิตกล่าว
นางรงค์ ประจวบสุข อายุ 45 ปี ชาวสุรินทร์ ภรรยานายประจวบ ประจวบสุข อายุ 42 ปี อาชีพรับจ้าง ที่เสียชีวิตเช่นกัน กล่าวว่า สามีเพิ่งมาทำงานรับจ้างย่านสำโรงได้ 10 วัน โดยเมื่อวันที่ 16 พ.ค. มีคนโทร.มาแจ้งตนว่าสามีถูกยิงที่หน้าอกแถวย่านบ่อนไก่ พระราม 4 ที่มีการชุมนุมกัน ตนตกใจมาก เพราะให้สามีไปทำงานแล้วไปโดนยิงได้อย่างไร จากนั้นวันที่ 17 พ.ค. ตนกำลังจะเดินทางไปกรุงเทพฯ ก็ได้รับโทร ศัพท์แจ้งว่าสามีเสียชีวิตแล้ว ตนได้สอบถามเพื่อนที่ทำงานของสามีเล่าว่าสามีขอตามเพื่อนมาดูเหตุการณ์ เพราะได้ข่าวว่ามีการยิงกัน อยากทราบว่ายิงกันจริงหรือไม่ โดยสามีบอกว่าเป็นคนรักประชาธิปไตยต้องไปดู ที่ผ่านมาสามีก็เป็นคนที่สนใจข่าวสารบ้านเมืองชอบดูข่าวการเมือง กีฬา แต่ไม่ได้ไปร่วมชุมนุมการเมืองอะไร
นางรงค์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้สามีตกงานมาหลายเดือน กลับมาอยู่บ้านก็ถูกคนตีหัว จนทำงานไม่ได้อยู่นาน และเคยผ่าตัดไส้เลื่อน พอได้งานรับจ้างก็รีบไปทำที่สำโรง ได้ค่าจ้างวันละ 170-200 บาท แต่ก็เหลือไม่ถึงที่บ้าน เพราะต้องซื้อหาอาหารกินเอง เมื่อสามีมาเสียชีวิตแบบนี้ ครอบครัวมีลูก 3 คน ยังเล็กและยังเรียนหนังสือก็ยิ่งลำบากมาก เพราะตนเองก็แขนขวาพิการพับไม่ได้ ทุกวันนี้รู้สึกหดหู่ในชีวิต จากที่เคยพึ่งพาสามีได้ก็ไม่มีแล้ว คิดว่าสามีไม่น่ามาตายแบบนี้ อยากวอนรัฐบาลให้ดูแลคนที่ทุกข์ยาก ให้มีงานทำ มีอาชีพ ตนเป็นแค่คนยากจนออกความเห็นไปรัฐบาลก็คงไม่สนใจ ทุกวันนี้ได้แต่สอนลูกหลานให้รักกัน อย่าทะเลาะอย่าฆ่ากันแบบนี้
ตามหาชายที่ถูกทหารยิง บันทึกนักข่าวเยอรมัน ในเขตสังหาร-15พ.ค. ภาพ-เสียงร้องยังติดตา
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNVEl3TURZMU13PT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1DMHdOaTB5TUE9PQ==
ลูกสาวโฮ นักข่าวเยอรมันเล่า วันพ่อถูกยิง เจ็บสาหัสที่ราชปรารภ ทหารไล่ล่าก่อนเป็นศพ พม.มอบ4แสน"คนตาย" ญาติย้ำ-ไม่คุ้มค่าชีวิต! นักข่าวเยอรมันได้พบลูกสาวแท็กซี่ เหยื่อปืน "ราชปรารภ" แล้ว เล่าเหตุการณ์ที่ถ่ายภาพวัน ถูกยิงตรงแนวยางรถยนต์ ทำเอาลูกสาวผู้ตายร่ำไห้โฮออกมา ฝ่ายนักข่าวเองก็สะเทือนใจจนพลอยร้องไห้ตามไปด้วย ลูกสาวเผยสองคนกับแม่ ออกตามหาศพพ่อตามร.พ.ไปทั่ว จนไปเจอที่รามาฯ มีภาพถ่ายในสภาพเน่าไปแล้วแต่ก็ยังจำได้ พม.แจกเงินเยียวยา 200 ราย รายที่ตายได้รับ 4 แสน แต่ญาติต่างย้ำถึงได้เงินชดเชยก็ไม่คุ้ม ทั้งที่ตายไปก็ไม่ใช่คนเสื้อแดง แต่ผ่านไปเจอลูกหลง
จากกรณีนายนิก นอสทิส นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน เดินทางไปพบตำรวจสน.พญาไท เพื่อตามหาผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ซึ่งนายนิกเห็นเหตุการณ์ขณะถูกทหารยิงบาดเจ็บ ขณะอยู่แนวยางรถยนต์บนถนนราชปรารภ ก่อนได้รับการยืนยันจากตำรวจว่าชายดังกล่าวเสียชีวิตไปแล้ว ชื่อนายชาญณรงค์ พลศรีลา อายุ 45 ปี อาชีพแท็กซี่ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ตามที่ปรากฏเป็นข่าวไปแล้วนั้น
เมื่อวันที่ 18 พ.ค. น.ส.มนชยา หรือส้มโอ พลศรีลา อายุ 25 ปี พนักงานข้าราชการ กองทัพอากาศ บุตรสาวนายชาญณรงค์ พลศรีลา อายุ 45 ปี ผู้เสียชีวิตจากการกระชับพื้นที่บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ถนนราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เดินทางไปพบนายนิก นอสทิส นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน ที่เห็นเหตุการณ์ขณะนายชาญณรงค์ถูกยิง และพยายามเข้าไปช่วยเหลือ โดยทั้งสองนัดหมายเจอกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ย่านสายไหม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.มนชยา หรือส้มโอ สอบถามนายนิก ถึงเหตุการณ์ที่นายชาญณรงค์ถูกยิงทันที โดยสอบถามถึงเรื่องราวต่างๆ วันแรกที่พบพ่อ และช่วงที่ถูกยิงหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ถนนราชปรารภอย่างละเอียด ทั้งนี้ ระหว่างที่นายนิกเล่าเรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่ต้นให้น้องส้มโอฟัง ทำเอาน้องส้มโอถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ ปล่อยโฮออกมาต่อหน้าผู้สื่อข่าว โดยที่นายนิกก็พลอยร้องไห้ออกมาด้วย จนต้องให้น้องส้มโอนั่งพักดื่มน้ำเย็น เพื่อให้หายเครียด ประมาณ 5 นาที จากนั้นนายนิกเล่าเหตุการณ์ต่อช่วงที่นายชาญณรงค์ถูกยิง และช่วงที่นายนิกเข้าไปช่วยเหลือ โดยพยายามนำร่างนายชาญณรงค์ออกจากจุดเกิดเหตุเพื่อไปส่งโรงพยาบาล แต่ไม่สามารถนำออกมาได้ เพราะขณะนั้นมีกำลังทหารประชิดเข้ามาแล้ว
นายนิก เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ขณะเดินทางไปทำข่าวอยู่บริเวณราชปรารภ ก็ได้พบเห็นนายชาญณรงค์อยู่บริเวณแนวรั้วยางรถยนต์ ขณะนั้นทราบว่าจะมีทหารบุกเข้ามาสลายการชุมนุมบริเวณดังกล่าว ก่อนหน้านี้ตนและนายชาญณรงค์ก็ได้ยืนอยู่ด้วยกัน และตนยังถ่ายรูปนายชาญณรงค์ไว้ด้วย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ตนไม่มีวันลืมตลอดชีวิตแน่นอน ภาพนายชาญณรงค์ถูกยิงวันนั้นยังติดตาตนตลอดเวลา และจะเดินหน้าหาความเป็นธรรมให้กับนายชาญณรงค์ต่อไป
ส่วนน.ส.มนชยา หรือส้มโอ กล่าวว่า บิดาของตนเดินทางไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณแยกราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. และในวันนั้น ตนทราบว่าช่วงประมาณ 15.00 น. จะมีการกระชับพื้นที่ มีความเป็นห่วงพ่อ จึงได้โทรศัพท์ไปหาแต่ไม่ติด คาดว่าน่าจะถูกตัดสัญญาณมือถือ และตลอดทั้งวันทั้งคืนนั้น ก็ไม่สามารถติดต่อพ่อได้เลย จนกระทั่งเช้าวันที่ 16 พ.ค. มารดาตน คือนางสุริยันต์เดินถือหนังสือ พิมพ์ "ข่าวสด" ฉบับบ่ายเป็นวันที่ 17 พ.ค. มาให้ตนดู และบอกว่าพ่อถูกยิงบริเวณราชปรารภ โดยภายในหนังสือพิมพ์วันนั้น เป็นภาพมีชาย 2 คน กำลังหิ้วปีกพ่อออกมาจากที่เกิดเหตุ บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์
เล่านาทียิง - นายนิก นอสติทซ์ นักข่าวเยอรมัน เล่านาทีที่นายชาญณรงค์ถูกยิงแล้ววิ่งหนีไปหลบในบ่อน้ำ ก่อนจะมีทหารมาลากตัวออกไป และรู้สึกเสียใจมากเมื่อทราบข่าวภายหลังว่านายชาญณรงค์เสียชีวิตในวันนั้น
น.ส.มนชยา กล่าวต่อว่า หลังจากเห็นภาพข่าวว่าพ่อถูกยิง ก็รีบออกตามหาทันทีว่าเขานำพ่อส่งโรงพยาบาลอะไร โดยติดต่อสอบถามไปทุกโรงพยาบาล รวมทั้งศูนย์เอราวัณ ซึ่งเป็นจุดที่รวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต แต่ก็ไม่พบ จากนั้นวันที่ 17 พ.ค. ตนได้นำข้อมูลประวัติพ่อโพสต์ลงเฟซบุ๊กและยูทูบ เพราะอยากทราบรายละเอียดคนที่พบเห็นเหตุการณ์หรือคนที่ช่วยเหลือพ่อในวันนั้นว่าเป็นใคร และต้องการทราบความจริงว่าวันนั้นเรื่องราวเป็นอย่างไร น.ส.มนชยา กล่าวอีกว่า กระทั่งวันที่ 19 พ.ค. ตนและแม่ไปตรวจสอบที่ร.พ.วชิระ บริเวณตึกนิติเวชอีก แต่ก็ไม่พบ จึงคิดว่าน่าจะถึงทางตันแล้ว ไม่รู้จะไปตามหาที่ไหน ทางแม่จึงมาบอกให้ตนไปดูที่แผนกนิติเวช ร.พ.รามาธิบดีอีกครั้ง เพราะยังไม่เคยไป พอไปถึงก็ได้เดินเข้าไปยังตึกนิติเวช และสอบถามเจ้าหน้าที่ว่ามีศพชายรูปร่างท้วม ถูกยิงบริเวณราชปรารภ ส่งเข้ามาหรือไม่ ทางโรงพยาบาลจึงนำภาพศพทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมมาให้ดู โดยพบว่ามีอยู่ 2 คนที่ส่งมาจากราชปรารภ ศพแรกเป็นชายรูปร่างผอม ไม่ทราบชื่อ หน้าตาเละ ส่วนศพที่ 2 เป็นชายรูปร่างท้วม มีหนวด อายุประมาณ 40-45 ปี แต่สภาพศพขึ้นอืด ใบหน้าเละจำไม่ได้ เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่ได้ฉีดยา ทั้งนี้ เมื่อตนเห็นศพดังกล่าว จึงยืนยันได้ทันทีว่า คือศพของพ่อตนแน่นอน เพราะจำเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้อย่างแม่นยำ จึงประสานขอรับศพไปบำเพ็ญกุศลทันที
บุตรสาวนายชาญณรงค์ กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลาที่ตามหาพ่อมาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ตนก็มักจะฝันเห็นพ่อเกือบทุกวัน โดยในความฝันนั้นเป็นเหตุการณ์พ่อถูกยิง พอตนตื่นขึ้นมา ก็นั่งนึกว่าจะเป็นไปได้หรือ ที่พ่อมาถูกยิงกลางเมืองหลวงแบบนี้ และยังฝันเห็นพ่อนอนอยู่บนผ้าห่อศพสีขาว ซึ่งเหมือนเป็นลางบอกเหตุว่าพ่อน่าจะเสียชีวิตแล้ว จนกระทั่งมาพบศพ และหลังจากที่นำร่างพ่อไปบำเพ็ญกุศล ตนก็ได้ฝันเห็นพ่ออีก โดยพ่อมาทักทาย พ่อมีรูปร่างหน้าตาหนุ่มหล่อ มาบอกสบายดี ตนถึงกับร้องไห้เมื่อฝันถึงพ่อ
ด้านนายนิก กล่าวว่า วันเกิดเหตุ จำได้ว่าหลังจากที่นายชาญณรงค์ถูกยิงที่หน้าปั๊มแล้ว ได้พยายามคลานเข้ามาในปั๊ม ซึ่งขณะนั้นนักข่าวและผู้ชุมนุมได้ไปรวมตัวกันอยู่ที่ห้องน้ำหลังปั๊ม แล้วปีนข้ามรั้วหนีไปยังบ้านหลังหนึ่ง โดยมีคนเสื้อแดงช่วยกันนำร่างนายชาญณรงค์ข้ามมาด้วย แต่นายชาญณรงค์ลงไปนอนหลบแช่อยู่ในบ่อบัว โผล่มาแค่หน้า และยังส่งเสียงร้องให้ตนช่วย บอกว่า "ผมไม่ไหวแล้ว" แต่เมื่อทหารปีนข้ามรั้วมาได้ ก็ด่านายชาญณรงค์อย่างหยาบคายว่า ทำไมถึงไม่ตาย แล้วสั่งให้ตนช่วยดึงขึ้นมาจากน้ำ แต่ตนดึงคนเดียวไม่ไหว ทหารก็เลยเข้ามาดึงแขนนายชาญณรงค์ขึ้นมาแล้วพาข้ามกำแพงไป เมื่อได้ทราบว่านายชาญณรงค์เสียชีวิตแล้ว ก็รู้สึกเสียใจ แต่ถ้าถามตนว่ารู้สึกสบายใจขึ้นหรือไม่ ที่ได้พบบุตรสาวคนที่เสียชีวิต บอกได้ว่าไม่ เพราะการสูญเสียชีวิตนั้น ไม่สามารถที่จะเรียกกลับคืนมาได้
ก่อนตาย - ภาพถ่ายที่นายนิกบันทึกไว้ตอนที่นายชาญณรงค์ยิงหนังสติ๊กสู้กับทหารที่ถนนราชปรารภ ส่วนรูปขวา คนเสื้อแดงพยายาม ลากนายชาญณรงค์ซึ่งถูกยิงสาหัสเข้ามาหลบที่หลังปั๊มน้ำมันใกล้จุดเกิดเหตุ ก่อนจะเสียชีวิต
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังจากที่นายนิกและน้องส้มโอพูดคุยกันเสร็จ ก็ได้แลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ โดยนายนิกรับปากว่าจะส่งภาพเหตุการณ์พ่อน้องส้มโอที่ถูกยิงในวันนั้นให้ดูทั้งหมด
เวลา 13.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายจิรเดช อานุภาวธรรม ที่ปรึกษารมว.พม. เป็นประธานพิธีมอบเงินเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ 200 ราย เป็นผู้เสียชีวิต 4 ราย และผู้บาดเจ็บ 196 ราย แบ่งเป็นประชาชน 119 ราย ทหาร 78 ราย และตำรวจ 3 ราย จำนวนเงิน 9,300,000 บาท โดยกระทรวงได้มอบเงินเยียวยาให้ผู้เสียหายรวมแล้ว 10 ครั้ง รวม 1,205 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 57,004,207 บาท
นางนันที วรรณจักร อายุ 51 ปี มารดาของนายชัยยันต์ วรรณจักร อายุ 21 ปี พนักงานบาร์น้ำโรงแรมอิมพีเรียล สุขุมวิท 24 ซึ่งเสียชีวิตบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. กล่าวภายหลังการรับเงินเยียวยา 4 แสนบาทว่า ลูกชายทำงานแผนกบาร์น้ำของโรงแรม จะเลิกงานกลับบ้านเวลาสี่ทุ่มทุกวัน ส่วนครอบครัวและตนอยู่ที่กาฬสินธุ์ ซึ่งตนจะโทรศัพท์มาหาลูกชายช่วงบ่ายๆ เย็นๆ เป็นระยะทุกวัน แต่วันที่ 14 พ.ค. ทางโรงแรมให้พนักงานกลับบ้านเร็วกว่าปกติ ลูกชายตนได้ขี่รถมอเตอร์ไซค์กลับที่พักบริเวณหลังสน.พญาไท ย่านถนนเพชรบุรีซอย 5 เวลาประมาณ 19.00 น. ตนได้โทร.เข้ามือถือลูกชาย ก็พบว่าหมอรับสายแจ้งว่าลูกชายถูกยิง 2 นัด ตรงสะโพกซ้ายทะลุเส้นเลือดแดงใหญ่และอีกนัดฝังในบาดเจ็บสาหัส ขณะขี่รถผ่านมาทางสามเหลี่ยมดินแดง ถูกส่งมาโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ตนจึงรีบเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทันที
"จากนั้นประมาณสามทุ่ม หมอก็โทร.มาแจ้งว่าลูกชายเสียชีวิตแล้ว พอ 7 โมงเช้าวันที่ 15 พ.ค. ฉันถึงกรุงเทพฯ ก็ไปแจ้งความที่สน. ดินแดง และขอรับศพลูกชายไปชันสูตรที่โรงพยาบาลรามาฯ ก่อนนำกลับไปทำพิธีที่บ้าน เราก็ไม่รู้ว่าใครยิงลูกชาย คนที่เข้ามาช่วยก็ถูกยิงตายเหมือนกัน ลูกชายเองไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วย ไม่เคยมาชุมนุม ทำงานอย่างเดียว ลูกชายเป็นคนกตัญญูมาก เงินเดือนประมาณ 7,000 บาท ก็ส่งให้แม่ 1,500-2,000 บาททุกเดือน วันนั้นเพื่อนลูกชายที่พักด้วยกันก็ซื้อข้าวผัดมารอ แต่สุดท้ายลูกชายก็ไม่ได้กิน" นางนันทีกล่าว
นางนันที กล่าวว่า ตนเสียใจมากที่ต้องสูญเสียลูกชาย ตนเป็นผู้ช่วยครู ดูแลเด็กในศูนย์เด็กฯ ที่กาฬสินธุ์ เงินเดือน 6,200 บาท ส่วนสามีรับจ้างก่อสร้าง มีลูกชายอีกคนกำลังเรียนหนังสือ แม้จะได้รับเงินเยียวยา แต่ไม่เพียงพอกับชีวิตคนหนึ่งคน เราเลี้ยงดูมาเยอะ ลูกเป็นเด็กกตัญญูมาก ทั้งนี้ อยากให้ประเทศกลับมาสงบสุข ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ไม่อยากให้มีใครต้องมาตาย และก็ต้องมาเสียใจกันทุกคนแบบนี้
ด้านนางหนูชิต คำกอง ภรรยานายพัน คำกอง อายุ 44 ปี ที่เสียชีวิตย่านราชปรารภ กล่าวว่า สามีมีอาชีพขับแท็กซี่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 พ.ค. โดยวันนั้นสามีจะไปขับแท็กซี่ ได้เอารถไปเช็กที่อู่ข้างวัดสระเกศ พบว่ารถแอร์ไม่เย็น จึงจะกลับมาหาลูกๆ ที่พักย่านพัฒนาการ 43 แต่ไม่มีรถเมล์ จึงได้เดินไปถึงบริเวณย่านราชปรารภ ก็ถูกทหารกั้นไม่ให้เข้าออกย่านนั้น สามีจึงไปอยู่กับรปภ.ที่ไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ ไอดีโอ ก็นั่งคุยกับคนงานก่อสร้าง จนถึง 20.00 น. ก็ยังไปไหนไม่ได้ สามียังบ่นกับคนงานว่าอยากกลับไปหาลูกๆ ลูกรอกินข้าวกันอยู่ จนกระทั่งเวลา 24.00 น. ได้มีรถตู้วิ่งเข้ามาทั้งที่ทหารห้ามไม่ให้เข้า ทหารที่อยู่สองฝั่งถนนได้ยิงใส่รถตู้ รถตู้วิ่งฝ่ากระสุนไปได้ แต่สามีของตนถูกยิงที่ราวนมซ้ายและเสียชีวิต
"ปกติสามีไม่เคยไปร่วมชุมนุมอะไรแบบนี้อยู่แล้ว เงินเยียวยาที่ได้ไม่คุ้มค่าชีวิตสามีเลย ถึงเราหาเช้ากินค่ำ ฉันเป็นแม่บ้านโรงแรม สามีขับแท็กซี่แต่เราก็ภูมิใจที่ได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา วันนี้เสียเสาหลักไปก็รู้สึกเสียใจ ชีวิตวันนี้เปลี่ยนไปหมดแล้ว สามีต้องมาตายแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เราคนเดียวต้องดูแลลูกอีก 4 คน เราไม่ได้อยู่สีไหนฝ่ายไหน แต่มองว่าเสื้อแดงถอยแล้ว จะปรองดองกันได้ไหม อยากวอนรัฐบาลว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยไม่ได้ผิด แต่มาทำแบบนี้ต้องสูญเสียชีวิต ซึ่งได้พูดคุยกับหลายคนพบว่ายังมีญาติพี่น้องหายไปไม่กลับบ้าน และไม่รู้ไปไหน ไม่รู้อีกกี่ครอบครัวต้องลำบากสาหัส ไม่อยากให้มีการทำลายชีวิตคนบริสุทธิ์อีกต่อไป ทุกวันนี้ยังทำใจไม่ได้ที่สามีเสียชีวิต เห็นหน้าลูกก็เห็นหน้าสามีตลอด" นางหนูชิตกล่าว
นางรงค์ ประจวบสุข อายุ 45 ปี ชาวสุรินทร์ ภรรยานายประจวบ ประจวบสุข อายุ 42 ปี อาชีพรับจ้าง ที่เสียชีวิตเช่นกัน กล่าวว่า สามีเพิ่งมาทำงานรับจ้างย่านสำโรงได้ 10 วัน โดยเมื่อวันที่ 16 พ.ค. มีคนโทร.มาแจ้งตนว่าสามีถูกยิงที่หน้าอกแถวย่านบ่อนไก่ พระราม 4 ที่มีการชุมนุมกัน ตนตกใจมาก เพราะให้สามีไปทำงานแล้วไปโดนยิงได้อย่างไร จากนั้นวันที่ 17 พ.ค. ตนกำลังจะเดินทางไปกรุงเทพฯ ก็ได้รับโทร ศัพท์แจ้งว่าสามีเสียชีวิตแล้ว ตนได้สอบถามเพื่อนที่ทำงานของสามีเล่าว่าสามีขอตามเพื่อนมาดูเหตุการณ์ เพราะได้ข่าวว่ามีการยิงกัน อยากทราบว่ายิงกันจริงหรือไม่ โดยสามีบอกว่าเป็นคนรักประชาธิปไตยต้องไปดู ที่ผ่านมาสามีก็เป็นคนที่สนใจข่าวสารบ้านเมืองชอบดูข่าวการเมือง กีฬา แต่ไม่ได้ไปร่วมชุมนุมการเมืองอะไร
นางรงค์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้สามีตกงานมาหลายเดือน กลับมาอยู่บ้านก็ถูกคนตีหัว จนทำงานไม่ได้อยู่นาน และเคยผ่าตัดไส้เลื่อน พอได้งานรับจ้างก็รีบไปทำที่สำโรง ได้ค่าจ้างวันละ 170-200 บาท แต่ก็เหลือไม่ถึงที่บ้าน เพราะต้องซื้อหาอาหารกินเอง เมื่อสามีมาเสียชีวิตแบบนี้ ครอบครัวมีลูก 3 คน ยังเล็กและยังเรียนหนังสือก็ยิ่งลำบากมาก เพราะตนเองก็แขนขวาพิการพับไม่ได้ ทุกวันนี้รู้สึกหดหู่ในชีวิต จากที่เคยพึ่งพาสามีได้ก็ไม่มีแล้ว คิดว่าสามีไม่น่ามาตายแบบนี้ อยากวอนรัฐบาลให้ดูแลคนที่ทุกข์ยาก ให้มีงานทำ มีอาชีพ ตนเป็นแค่คนยากจนออกความเห็นไปรัฐบาลก็คงไม่สนใจ ทุกวันนี้ได้แต่สอนลูกหลานให้รักกัน อย่าทะเลาะอย่าฆ่ากันแบบนี้
ตามหาชายที่ถูกทหารยิง บันทึกนักข่าวเยอรมัน ในเขตสังหาร-15พ.ค. ภาพ-เสียงร้องยังติดตา
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNVEl3TURZMU13PT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1DMHdOaTB5TUE9PQ==
RED LETTER- จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009
RED LETTER- จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009
นักวิชาการ-อจ.จุฬาฯ สับเละ "รัฐบาล-ศอฉ.-ทหาร" ล้อมปราบปชช. 19 พ.ค. ช่างภาพยันเห็นทหารใช้"กระสุนจริง"
วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 23:40:50 น. มติชนออนไลน์
นักวิชาการ-อจ.จุฬาฯ สับเละ "รัฐบาล-ศอฉ.-ทหาร" ล้อมปราบปชช. 19 พ.ค. ช่างภาพยันเห็นทหารใช้"กระสุนจริง"
นักวิชาการ-อจ.จุฬาฯเปิดวงสัมนารุมสับเละ "รัฐบาล-ศอฉ.-ทหาร" ล้อมปราบปชช.19พ.ค. เกินกว่าเหตุ ยิง"น้องเกด"อำพรางอำมหิต ใช้รุนแรงผิดหลักมนุษยชน เมาอำนาจคุกคามปิดกั้นสื่อ ยก"อภิสิทธิ์"เป็นโมฆะบุรุษ "จตุพร"ไม่รู้"กี้ร์-สุภรณ์"อยู่ไหน
"จตุพร"ไม่รู้"กี้ร์-สุภรณ์"อยู่ไหน
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ถึงกรณีที่ นพ.บุรณัชย์ ระบุว่านายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง และนายสุภรณ์ หรือแรมโบ้อีสาน แกนนำคนเสื้อแดง เดินทางออกนอกประเทศไทยไปพำนักกับนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตแกนนำคนเสื้อแดงที่หลบหนีไปต่างประเทศหลังเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมือง ปี 2552 ว่า ไม่ทราบว่านายอริสมันต์และนายสุภรณ์ยังพำนักอยู่ในประเทศไทยหรือไปต่างประเทศแล้ว เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อพรรคพวกต้องการอยู่ในที่ปลอดภัย เราก็จะไม่สอบถามถึงสถานที่พำนัก
"มาร์ค"พักบ้าน-ตร.ห้ามรถผ่าน
สำหรับภารกิจของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี วันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ยังคงพักผ่อนอยู่ในบ้านพัก ซอยสุขุมวิท 31 ตลอด ไม่ได้ออกไปปฏิบัติภารกิจภายนอกแต่อย่างใด ขณะที่มีกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดตามจุดต่างๆเช่นเดิม โดยรอบบริเวณ และมีการปิดประกาศ ปิดช่องการจราจร บริเวณริมรั้วบ้านพักของนายกฯ ว่า ห้ามรถทุกชนิดแล่นผ่านระหว่างเวลา 18.00 - 06.00 น.
นักข่าวภาคสนามม็อบเปิดใจ
วันเดียวกัน เวลา 13.00 น. ที่สวนเงินมีมา ถนนเจริญนคร ศูนย์อำนวยการเยียวยาสถานการณ์ฉุกเฉิน จัดกิจกรรมเสวนาเรื่อง "เบื้องหน้าและเบื้องหลังการทำข่าวภาคสนามในสถานการณ์ฉุกเฉิน"
นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์ในกรุงเทพฯ มีหลายหน่วยงานที่ช่วยเหลือทำหน้าที่ตามหาผู้สูญหาย เช่น มูลนิธิกระจกเงา ในสมัยก่อนพอหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในกรุงเทพฯ คนไทยก็จะกลับมาเป็นสมานฉันท์กันได้ แต่ปัจจุบันนี้คนไทยไม่มีความสมานฉันท์กันเลยแม้แต่นิดเดียว
นายสรายุทธ ตั้งประเสริฐ กองบรรณาธิการประชาไท กล่าวว่า ไม่ใช่ช่างภาพแต่มีความสนใจในเหตุการณ์จึงลงไปดูพื้นที่เมื่อตอนมีการชุมนุมอยู่ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพราะมีความอยากรู้ว่า ชาวบ้านที่มีปัญหาเรื่องปากท้องจะสนใจเรื่องอื่นหรือไม่ นอกจากเรื่องปากท้องของตนเอง ช่วงที่ลงพื้นที่สิ่งที่เห็นเป็นอันดับแรกคือ ช่วงที่ทหารเข้ามายึดพื้นที่คืน เห็นความพยายามอย่างมากในการต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อให้รัฐบาลยอมรับฟังสิ่งที่ตนปฏิบัติ
ช่างภาพเห็นทหารใช้กระสุนจริง
นายตวงศักดิ์ ชื่นสินธุวล ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน กล่าวว่า ช่างภาพต้องเล่าความรู้สึกของภาพเอง ตนไม่ทำงานเลือกข้างอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในช่วงวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตนเห็นผู้ชุมนุมถูกทหารจับมัดนอนราบกับพื้นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ตนกำลังจะเข้าไปถ่ายภาพ แต่ถูกทางเจ้าหน้าที่ทหารห้ามไว้ไม่ให้ถ่ายภาพ ส่วนช่วงที่มีการสลายการชุมนุมขอพื้นที่คืนนั้นเกิดความหวาดกลัวในกลุ่มสื่อมวลชนและกลุ่มผู้ชุมนุม และในช่วงที่มีการยิงเอ็ม 79 ที่บริเวณสี่แยกสารสิน ทุกคนมีแต่ความหวาดกลัวและแตกตื่นกับสิ่งที่เกิดขึ้น
นายอภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา ช่างภาพอิสระ กล่าวว่า อยู่ในเหตุการณ์และเห็นว่าทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารได้ใช้กระสุนปืนจริงแล้ว แต่ทาง ศอฉ.(ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) กลับบอกว่าไม่ได้ใช้กระสุนจริง จนเริ่มมีคลิปวิดีโอมาแฉ ศอฉ.จึงบอกว่าในขณะนี้ได้ใช้กระสุนจริงแล้ว เมื่อตอนที่เข้าไปถ่ายภาพกลุ่มผู้ชุมนุมถ้าเป็นสื่อต่างประเทศก็จะไม่มีปัญหาในการทำหน้าที่เสนอข่าว แต่ถ้าเป็นสื่อมวลชนไทยกลุ่มผู้ชุมนุมก็จะถามว่าเป็นสื่อมาจากที่ใด ถ้าบอกว่าเป็นสื่อที่อยู่ฝ่ายเดียวกันกับกลุ่มผู้ชุมนุมก็จะทำงานง่ายและได้รับความสะดวกในการทำข่าวมากขึ้น
อจ.จุฬาฯเรียก19พ.ค.ล้อมปราบ
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 09.30 น. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิศักยภาพชุมชน จัดการอภิปรายทางวิชาการในหัวข้อ "โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์" โดยมีนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน และองค์กรภาคประชาชนเข้าร่วมเสวนาคึกคัก
นายเกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวหัวข้อบทวิเคราะห์ปฏิบัติการทหารว่า ขอเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน บริเวณสี่แยกคอกวัวว่า"การสลายการชุมนุม" ส่วนเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม ขอเรียกว่า "การล้อมปราบของเจ้าหน้าที่" เนื่องจากวิธีการดำเนินการของทหารถือเป็นการทำลายสิทธิทางการเมืองของผู้ชุมนุม ที่สามารถชุมนุมเรียกร้องตามรัฐธรรมนูญได้
ซัดรบ.ผลักกลุ่มต้านจำเลยสังคม
"ขอตั้งคำถามกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า วิธีการสลายการชุมนุมดำเนินการตามหลักสากลหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. พยายามแถลงข่าวและย้ำเสมอดำเนินการตามหลักสากล แต่ความเป็นจริงเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการเช่นนั้น เพราะมีการใช้กำลังทหารและอาวุธสงครามล้อมปราบประชาชน ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้มาตรการถึงขั้นนั้น" นายเกษมกล่าว
นายเกษม กล่าวว่า ส่วนฝ่ายเจ้าหน้าที่อ้างว่า กลุ่มผู้ชุมนุม นปช.มีอาวุธนั้น ตามหลักสากลเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธป้องกันตัวได้ แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถใช้อาวุธมาฆ่าประชาชน ที่รัฐบาลอ้างว่า ผู้ชุมนุม นปช.มีกลุ่มผู้ก่อการร้ายแทรกซึมอยู่ด้วยนั้น ขอตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ามีผู้ก่อการร้ายในกลุ่มผู้ชุมนุมจริง เหตุใดเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรอง จึงไม่ทราบข่าวดังกล่าวมาก่อน เพื่อจะได้หามาตรการป้องกันหรือกันบุคคลกลุ่มดังกล่าวออกจากผู้ชุมนุม ซึ่งการปฏิบัติของรัฐบาลเช่นนี้ เพื่อต้องการผลักให้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลเป็นจำเลยของสังคม
นักสันติวิธีสรุปทหารทำเกินเหตุ
น.ส.ขวัญระวี วังอุดม นักสันติวิธี กล่าวหัวข้อการสลายการชุมนุมกับมาตรฐานสากลว่า การใช้กำลังของเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมของกลุ่มนปช.ถือว่า ดำเนินการหลักสากลตามกฎบันได 7 ขั้น แต่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่กลับได้ปฏิบัติงานที่เกินกว่าเหตุ อาทิ ใช้กระสุนจริงยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งที่ตามหลักสากลจะต้องยิงขึ้นฟ้า เพื่อเตือนเท่านั้น ทั้งยังมีการใช้กระสุนยางยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม ทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนถูกยิงได้รับบาดเจ็บตามจุดสำคัญต่างๆเป็นหลักการที่ไม่ถูกต้อง
"เจ้าหน้าที่ยังใช้กำลังที่เกินขอบเขต เนื่องจากมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศและหน่วยอาสากู้ภัยถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ซึ่งกระสุนได้มาจากฝั่งทหาร การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน การกระทำของเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์ต่างๆ ชี้ให้เห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่มีความตั้งใจที่จะกระทำเกินกว่าเหตุกับผู้ชุมนุม มีสาเหตุมาจากเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่อยู่ในสภาวะกดดัน" น.ส.ขวัญระวี กล่าว
ยิงน้องเกด"อำพรางอำมหิต"
น.ส.กฤตยา อาชวนิชกุล ศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวหัวข้อค้นหาความหมายจากการบาดเจ็บล้มตาย ว่า เหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดงมีผู้เสียชีวิต 90 คน แยกเป็นผู้หญิง 4 คน ชาย 86 คน ในจำนวนนี้มีเจ้าหน้าที่ 10 คน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากถูกยิงบริเวณศีรษะ โดยใช้อาวุธสงครามหรือที่แพทย์ให้ความเห็นว่า ถูกกระสุนความเร็วสูง ต่อมามีการชันสูตรศพ ซึ่ง 1ใน 3 ของผู้เสียชีวิตไม่มีการชันสูตรศพทั้งที่ถือว่าการชันสูตรศพเป็นหลักฐานสำคัญในการพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิต และยังมีข่าวที่ออกมาสร้างความสับสน ทำให้ญาติผู้เสียชีวิตบางรายมีการแย้งผลการชันสูตรศพ
"กรณีของน้องเกด(น.ส.กมนเกด อัคฮาด อาสาพยาบาลของร่วมด้วยช่วยกัน) ที่ถูกยิงที่วัดปทุมวนาราม ซึ่ง พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการนิติวิทยาศาสตร์ บอกว่า มีกระสุนค้างที่ตัวของน้องเกด แต่ภายหลังฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกมาว่าไม่มี ซึ่งสรุปได้ว่า การชันสูตรศพของรัฐบาลไม่มีความชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า เป็นการอำพรางอำมหิต" น.ส.กฤตยากล่าว
ย้อน"อภิสิทธิ์"เป็นโมฆะบุรุษ
น.ส.กฤตยา กล่าวว่าหลังวันที่ 10 เมษายน รัฐบาลกล่าววาทกรรม คำว่า "ก่อการร้าย" ขึ้น กับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง หากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้มีการใช้คำว่า "ผู้ก่อความไม่สงบ" เท่านั้น ซึ่งรัฐบาลก็ติดใจใช้คำนี้มาโดยตลอด เป็นการสร้างความสกปรกให้สะอาด สร้างความชอบธรรมให้รัฐบาล แล้วสร้างความอัปลักษณ์ให้กับคนเสื้อแดง โดยรัฐบาลใช้อำนาจอำมหิตจัดการในสิ่งที่รัฐบาลเห็นว่า เป็นสิ่งสกปรก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง ตนมองว่าประชาชนสามารถที่จะเกลียดรัฐบาล แต่รัฐบาลไม่มีสิทธิเกลียดประชาชน ไม่มีอำนาจสั่งฆ่าประชาชน
"นายอภิสิทธิ์ นายกฯ เคยพูดกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ ต่อเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ว่า นายสมชาย เป็นคนหรือไม่ แต่ดิฉันจะไม่ถามว่านายอภิสิทธ์เป็นคนหรือไม่ เพราะรู้ว่าเป็นคนอยู่แล้ว นอกจากนี้ในสมัยนายบรรหาร ศิปอาชา อดีตนายกฯ นายอภิสิทธิ์อภิปรายโจมตีนายบรรหาร ตอนหนึ่งนายอภิสิทธิ์ กล่าวหานายบรรหารว่า เป็นโมฆะบุรุษ แต่กับเหตุการณ์นี้มีการสั่งสลายการชุมนุมทำให้คนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่นายอภิสิทธิ์ยังอยู่ในอำนาจ นายอภิสิทธิ์เป็นโมฆะบุรุษ และรัฐบาลชุดนี้ก็เป็นโมฆะรัฐบาล" น.ส.กฤตยา กล่าว
ชี้รุนแรงม็อบผิดหลักมนุษยชน
นายศราวุฒิ ประทุมราช นักวิชาการอิสระด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวหัวข้อปฏิบัติการต่อผู้ถูกจับกุมและมาตรการคุกคามอื่นๆ ภายใต้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ว่า ที่ผ่านมาการควบคุมผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. เจ้าหน้าที่ได้ใช้วิธีการรุนแรง อาทิ มัดมือไพล่หลัง จับให้นอนคว่ำและมัดมือมัดเท้า ผูกตาและทำร้ายร่างกายขณะจับกุม รวมถึงจับกุมพระภิกษุสงฆ์มัดมือและเท้า ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะความผิดในเรื่องการฝ่าฝืนข้อห้ามการชุมนุมเป็นความผิดทางการเมือง ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเช่นนั้น จึงถือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และผิดหลักมนุษยชน
"การที่ภาครัฐเริ่มใช้การข่มขู่คุกคามพลเมืองของตัวเองอย่างกว้างขวาง ย่อมแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงในรัฐและยังแสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมในการปกครองที่เริ่มเสื่อมและถอยหลัง ส่วนการที่เจ้าหน้าที่เรียกตัวผู้ชุมนุมไปอบรมหรือสอบสวน รวมไปถึงพยายามริดรอนสิทธิเสรีภาพ การซ้อมในเรือนจำ การคุกคามครอบครัวของแกนนำผู้ชุมนุมและการจับกุมแบบเหวี่ยงแห ถือเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ"นายศราวุฒิ กล่าว
สวด"ศอฉ."มุ่งโฆษณาชวนเชื่อ
ส่วน นายจักรกริช สังขมณี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในหัวข้อปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อของ ศอฉ.ว่า การแถลงข่าวของ ศอฉ.ถือเป็นการนำเสนอที่เข้าข่ายโฆษณาชวนเชื่อ ที่ไม่เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนเกิดความศรัทธาในรัฐบาลและต้องการให้เข้าใจสถานการณ์เพียงด้านเดียว และพยายามเสนอภาพที่ต้องการทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวและเกลียดชังผู้ชุมนุม รวมทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงก็ยังไม่ได้มีการพิสูจน์และหาข้อสรุปอย่างเป็นทางการ
"สำหรับเทคนิคที่ ศอฉ.ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ ประกอบด้วย การเลือกโจมตีที่ตัวบุคคล การใช้คำวลีประโยคที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามน่ากลัวและน่ารังเกียจ การตัดต่อภาพและการอ้างอิงคำพูดนอกบริบท การพูดความจริงเพียงแค่บางส่วน การเบี่ยงเบนความสนใจออกจากประเด็นหลัก การปิดกั้นสื่ออื่นๆ และการสร้างความนิยมในบุคลิกของตัวผู้โฆษณาชวนเชื่อ เช่น การเสนอภาพความคลั่งไคล้ อาทิ เสธ.ไก่อู ในฐานะผู้ก่อการรัก"นายจักรกริชกล่าว
ใช้กม.ฉุกเฉินปิดกั้นคุกคามสื่อ
น.ส.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารมวลชน กล่าวในหัวข้อ การใช้สื่อเพื่อสร้างความชอบธรรมว่า รัฐบาลได้ใช้อำนาจ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร และ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อปิดกั้นควบคุมสื่อ ข้อมูลข่าวสาร และการแสดงออกทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับรัฐบาลและกองทัพในการสลายการชุมนุม โดยออกอากาศคำสั่งและประกาศของ ศอ.รส.และศอฉ.ในลักษณะรวมการเฉพาะกิจ เซ็นเซอร์สื่อท้องถิ่น เช่น วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี จับกุมแกนนำ สั่งปิด 36 เว็ปไซต์ ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลต่อความมั่นคง แทรกแซงสื่อกระแสหลัก ระงับรายการหรือคอลัมน์ หรือตัวนักข่าว
ระงับการเสนอภาพลบของปฏิบัติการทหาร เช่น ภาพทหารประทับเล็งปืน ใช้ถ้อยคำ วาทกรรม เช่น การขอคืนพื้นที่ การกระชับวงล้อม การข่มขู่คุกคามสร้างความหวาดกลัวต่อสื่อมวลชน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีนักข่าวบาดเจ็บและเสียชีวิต รวม 9 คน คำถามคือ เหตุใดสื่อมวลชนจึงตกเป็นเป้าหมายของการลิดรอนเสิทธิเสรีภาพ รัฐบาลต้องตอบคำถามกับสังคมและผู้เสียหาย" น.ส.อุบลรัตน์
ซิวส.ต.อ.ยิงแกนแดงนครพนม
ส่วนกรณีคดีคนร้ายบุกยิง นายศุภฤกษ์ ทากิระ อายุ 40 ปี อดีตผู้สมัคร ส.อบจ.นครพนม แกนนำคนสำคัญของ นปช.นครพนม กระสุนเข้าท้ายทอย ทะลุแก้มขวา ได้รับบาดเจ็บ รักษาตัวที่โรงพยาบาลนครพนม จนอาการปลอดภัย เหตุเกิดหน้าบ้านเลขที่ 197 หมู่ 3 บ้านภูกระแต ต.นาคำ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ล่าสุดนายศุภฤกษ์ ทากิระ เข้าพบ พล.ต.ต.พนมพร อิทธิประเสริฐ ผบก.ภ.จว.นครพนม ติดตามความคืบหน้าของคดีพร้อมนำข้อมูลสำคัญ ที่จะเชื่อมโยงนำไปสู่การจับกุมตัวคนร้าย
จากนั้น พล.ต.ต.พนมพร สั่งการให้ พ.ต.ต.รัชพงษ์ นามปัดสา สารวัตรกลุ่มงานสืบสวน ภ.จว.นครพนม พร้อมชุดสืบสวน นำหลักฐานภาพคนร้าย ไปควบคุมตัวส.ต.อ.จีระศักดิ์ พลศรี อายุ 29 ปี ตำรวจงานธุรการป้องกันปราบปราม สภ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร ผู้ต้องสงสัยตามหมายจับมาให้ผู้เสียหายพร้อมพยานที่พบเห็นชี้ตัวที่สภ.ศรีสงคราม ซึ่งนายศุภฤกษ์ ได้ชี้ตัวยืนยันส.ต.อ.จีระศักดิ์ เป็นคนลงมือ ตำรวจจึงแจ้งข้อหาพยายามฆ่าเบื้องต้น ส.ต.อ.จีระศักดิ์ ให้การปฏิเสธขอต่อสู้คดีเพื่อความบริสุทธิ์ พนักงานสอบสวนยังไม่อนุญาตให้ประกันตัว ก่อนนำตัวไปฝากขังที่ศาลจังหวัดนครพนม
เหยื่อผวาปมปิดบัญชีแกนนำ
พล.ต.ต.พนมพร กล่าวว่า ตรวจสอบประวัติสอบสวนเชิงลึกกลุ่มบุคคลที่เชื่อว่าจะมีปัญหาขัดแย้งกับนายศุภฤกษ์ เจ้าตัวยืนยันมุ่งประเด็นเรื่องขัดแย้งทางการเมือง ผู้เสียหายยืนยันว่าจำได้ เพราะขณะเกิดเหตุคนร้ายลงมาสอบถามเส้นทางก่อนลงมือ คือ ส.ต.อ.จีระศักดิ์
นายศุภฤกษ์กล่าวว่าหลังจากเกิดเรื่องขึ้นกลับไปฟักฟื้นที่บ้าน ต้องระวังตัวมากขึ้น รวมถึงครอบครัวด้วย ยังมั่นใจในเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง เพราะหลายคนมองว่าเป็นแกนนำสำคัญของ นปช. ปัญหาหนี้สิน และชู้สาวไม่มีแน่นอน เชื่อมั่นการทำงานของตำรวจ แต่วิตกกังวลบ้างเพราะมีข่าวเกิดเหตุยิงแกนนำ นปช. ตามจังหวัดต่างๆทำให้คิดเรื่องการตามปิดบัญชีแกนนำ นปช.
พ.ต.อ.สมนึก มิควาฬ ผกก.สภ.กุสุมาลย์ ผู้บังคับบัญชาของ ส.ต.อ.จีระศักดิ์ กล่าวว่าตรวจสอบประวัติการทำงาน ส.ต.อ.จีระศักดิ์ ไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องกลุ่มมีอิทธิพล หรือประพฤติในทางมิชอบ เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1276950607&grpid=00&catid
นักวิชาการ-อจ.จุฬาฯ สับเละ "รัฐบาล-ศอฉ.-ทหาร" ล้อมปราบปชช. 19 พ.ค. ช่างภาพยันเห็นทหารใช้"กระสุนจริง"
นักวิชาการ-อจ.จุฬาฯเปิดวงสัมนารุมสับเละ "รัฐบาล-ศอฉ.-ทหาร" ล้อมปราบปชช.19พ.ค. เกินกว่าเหตุ ยิง"น้องเกด"อำพรางอำมหิต ใช้รุนแรงผิดหลักมนุษยชน เมาอำนาจคุกคามปิดกั้นสื่อ ยก"อภิสิทธิ์"เป็นโมฆะบุรุษ "จตุพร"ไม่รู้"กี้ร์-สุภรณ์"อยู่ไหน
"จตุพร"ไม่รู้"กี้ร์-สุภรณ์"อยู่ไหน
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ถึงกรณีที่ นพ.บุรณัชย์ ระบุว่านายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง และนายสุภรณ์ หรือแรมโบ้อีสาน แกนนำคนเสื้อแดง เดินทางออกนอกประเทศไทยไปพำนักกับนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตแกนนำคนเสื้อแดงที่หลบหนีไปต่างประเทศหลังเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมือง ปี 2552 ว่า ไม่ทราบว่านายอริสมันต์และนายสุภรณ์ยังพำนักอยู่ในประเทศไทยหรือไปต่างประเทศแล้ว เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อพรรคพวกต้องการอยู่ในที่ปลอดภัย เราก็จะไม่สอบถามถึงสถานที่พำนัก
"มาร์ค"พักบ้าน-ตร.ห้ามรถผ่าน
สำหรับภารกิจของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี วันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ยังคงพักผ่อนอยู่ในบ้านพัก ซอยสุขุมวิท 31 ตลอด ไม่ได้ออกไปปฏิบัติภารกิจภายนอกแต่อย่างใด ขณะที่มีกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดตามจุดต่างๆเช่นเดิม โดยรอบบริเวณ และมีการปิดประกาศ ปิดช่องการจราจร บริเวณริมรั้วบ้านพักของนายกฯ ว่า ห้ามรถทุกชนิดแล่นผ่านระหว่างเวลา 18.00 - 06.00 น.
นักข่าวภาคสนามม็อบเปิดใจ
วันเดียวกัน เวลา 13.00 น. ที่สวนเงินมีมา ถนนเจริญนคร ศูนย์อำนวยการเยียวยาสถานการณ์ฉุกเฉิน จัดกิจกรรมเสวนาเรื่อง "เบื้องหน้าและเบื้องหลังการทำข่าวภาคสนามในสถานการณ์ฉุกเฉิน"
นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์ในกรุงเทพฯ มีหลายหน่วยงานที่ช่วยเหลือทำหน้าที่ตามหาผู้สูญหาย เช่น มูลนิธิกระจกเงา ในสมัยก่อนพอหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในกรุงเทพฯ คนไทยก็จะกลับมาเป็นสมานฉันท์กันได้ แต่ปัจจุบันนี้คนไทยไม่มีความสมานฉันท์กันเลยแม้แต่นิดเดียว
นายสรายุทธ ตั้งประเสริฐ กองบรรณาธิการประชาไท กล่าวว่า ไม่ใช่ช่างภาพแต่มีความสนใจในเหตุการณ์จึงลงไปดูพื้นที่เมื่อตอนมีการชุมนุมอยู่ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพราะมีความอยากรู้ว่า ชาวบ้านที่มีปัญหาเรื่องปากท้องจะสนใจเรื่องอื่นหรือไม่ นอกจากเรื่องปากท้องของตนเอง ช่วงที่ลงพื้นที่สิ่งที่เห็นเป็นอันดับแรกคือ ช่วงที่ทหารเข้ามายึดพื้นที่คืน เห็นความพยายามอย่างมากในการต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อให้รัฐบาลยอมรับฟังสิ่งที่ตนปฏิบัติ
ช่างภาพเห็นทหารใช้กระสุนจริง
นายตวงศักดิ์ ชื่นสินธุวล ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน กล่าวว่า ช่างภาพต้องเล่าความรู้สึกของภาพเอง ตนไม่ทำงานเลือกข้างอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในช่วงวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตนเห็นผู้ชุมนุมถูกทหารจับมัดนอนราบกับพื้นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ตนกำลังจะเข้าไปถ่ายภาพ แต่ถูกทางเจ้าหน้าที่ทหารห้ามไว้ไม่ให้ถ่ายภาพ ส่วนช่วงที่มีการสลายการชุมนุมขอพื้นที่คืนนั้นเกิดความหวาดกลัวในกลุ่มสื่อมวลชนและกลุ่มผู้ชุมนุม และในช่วงที่มีการยิงเอ็ม 79 ที่บริเวณสี่แยกสารสิน ทุกคนมีแต่ความหวาดกลัวและแตกตื่นกับสิ่งที่เกิดขึ้น
นายอภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา ช่างภาพอิสระ กล่าวว่า อยู่ในเหตุการณ์และเห็นว่าทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารได้ใช้กระสุนปืนจริงแล้ว แต่ทาง ศอฉ.(ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) กลับบอกว่าไม่ได้ใช้กระสุนจริง จนเริ่มมีคลิปวิดีโอมาแฉ ศอฉ.จึงบอกว่าในขณะนี้ได้ใช้กระสุนจริงแล้ว เมื่อตอนที่เข้าไปถ่ายภาพกลุ่มผู้ชุมนุมถ้าเป็นสื่อต่างประเทศก็จะไม่มีปัญหาในการทำหน้าที่เสนอข่าว แต่ถ้าเป็นสื่อมวลชนไทยกลุ่มผู้ชุมนุมก็จะถามว่าเป็นสื่อมาจากที่ใด ถ้าบอกว่าเป็นสื่อที่อยู่ฝ่ายเดียวกันกับกลุ่มผู้ชุมนุมก็จะทำงานง่ายและได้รับความสะดวกในการทำข่าวมากขึ้น
อจ.จุฬาฯเรียก19พ.ค.ล้อมปราบ
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 09.30 น. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิศักยภาพชุมชน จัดการอภิปรายทางวิชาการในหัวข้อ "โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์" โดยมีนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน และองค์กรภาคประชาชนเข้าร่วมเสวนาคึกคัก
นายเกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวหัวข้อบทวิเคราะห์ปฏิบัติการทหารว่า ขอเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน บริเวณสี่แยกคอกวัวว่า"การสลายการชุมนุม" ส่วนเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม ขอเรียกว่า "การล้อมปราบของเจ้าหน้าที่" เนื่องจากวิธีการดำเนินการของทหารถือเป็นการทำลายสิทธิทางการเมืองของผู้ชุมนุม ที่สามารถชุมนุมเรียกร้องตามรัฐธรรมนูญได้
ซัดรบ.ผลักกลุ่มต้านจำเลยสังคม
"ขอตั้งคำถามกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า วิธีการสลายการชุมนุมดำเนินการตามหลักสากลหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. พยายามแถลงข่าวและย้ำเสมอดำเนินการตามหลักสากล แต่ความเป็นจริงเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการเช่นนั้น เพราะมีการใช้กำลังทหารและอาวุธสงครามล้อมปราบประชาชน ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้มาตรการถึงขั้นนั้น" นายเกษมกล่าว
นายเกษม กล่าวว่า ส่วนฝ่ายเจ้าหน้าที่อ้างว่า กลุ่มผู้ชุมนุม นปช.มีอาวุธนั้น ตามหลักสากลเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธป้องกันตัวได้ แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถใช้อาวุธมาฆ่าประชาชน ที่รัฐบาลอ้างว่า ผู้ชุมนุม นปช.มีกลุ่มผู้ก่อการร้ายแทรกซึมอยู่ด้วยนั้น ขอตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ามีผู้ก่อการร้ายในกลุ่มผู้ชุมนุมจริง เหตุใดเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรอง จึงไม่ทราบข่าวดังกล่าวมาก่อน เพื่อจะได้หามาตรการป้องกันหรือกันบุคคลกลุ่มดังกล่าวออกจากผู้ชุมนุม ซึ่งการปฏิบัติของรัฐบาลเช่นนี้ เพื่อต้องการผลักให้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลเป็นจำเลยของสังคม
นักสันติวิธีสรุปทหารทำเกินเหตุ
น.ส.ขวัญระวี วังอุดม นักสันติวิธี กล่าวหัวข้อการสลายการชุมนุมกับมาตรฐานสากลว่า การใช้กำลังของเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมของกลุ่มนปช.ถือว่า ดำเนินการหลักสากลตามกฎบันได 7 ขั้น แต่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่กลับได้ปฏิบัติงานที่เกินกว่าเหตุ อาทิ ใช้กระสุนจริงยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งที่ตามหลักสากลจะต้องยิงขึ้นฟ้า เพื่อเตือนเท่านั้น ทั้งยังมีการใช้กระสุนยางยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม ทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนถูกยิงได้รับบาดเจ็บตามจุดสำคัญต่างๆเป็นหลักการที่ไม่ถูกต้อง
"เจ้าหน้าที่ยังใช้กำลังที่เกินขอบเขต เนื่องจากมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศและหน่วยอาสากู้ภัยถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ซึ่งกระสุนได้มาจากฝั่งทหาร การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน การกระทำของเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์ต่างๆ ชี้ให้เห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่มีความตั้งใจที่จะกระทำเกินกว่าเหตุกับผู้ชุมนุม มีสาเหตุมาจากเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่อยู่ในสภาวะกดดัน" น.ส.ขวัญระวี กล่าว
ยิงน้องเกด"อำพรางอำมหิต"
น.ส.กฤตยา อาชวนิชกุล ศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวหัวข้อค้นหาความหมายจากการบาดเจ็บล้มตาย ว่า เหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดงมีผู้เสียชีวิต 90 คน แยกเป็นผู้หญิง 4 คน ชาย 86 คน ในจำนวนนี้มีเจ้าหน้าที่ 10 คน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากถูกยิงบริเวณศีรษะ โดยใช้อาวุธสงครามหรือที่แพทย์ให้ความเห็นว่า ถูกกระสุนความเร็วสูง ต่อมามีการชันสูตรศพ ซึ่ง 1ใน 3 ของผู้เสียชีวิตไม่มีการชันสูตรศพทั้งที่ถือว่าการชันสูตรศพเป็นหลักฐานสำคัญในการพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิต และยังมีข่าวที่ออกมาสร้างความสับสน ทำให้ญาติผู้เสียชีวิตบางรายมีการแย้งผลการชันสูตรศพ
"กรณีของน้องเกด(น.ส.กมนเกด อัคฮาด อาสาพยาบาลของร่วมด้วยช่วยกัน) ที่ถูกยิงที่วัดปทุมวนาราม ซึ่ง พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการนิติวิทยาศาสตร์ บอกว่า มีกระสุนค้างที่ตัวของน้องเกด แต่ภายหลังฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกมาว่าไม่มี ซึ่งสรุปได้ว่า การชันสูตรศพของรัฐบาลไม่มีความชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า เป็นการอำพรางอำมหิต" น.ส.กฤตยากล่าว
ย้อน"อภิสิทธิ์"เป็นโมฆะบุรุษ
น.ส.กฤตยา กล่าวว่าหลังวันที่ 10 เมษายน รัฐบาลกล่าววาทกรรม คำว่า "ก่อการร้าย" ขึ้น กับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง หากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้มีการใช้คำว่า "ผู้ก่อความไม่สงบ" เท่านั้น ซึ่งรัฐบาลก็ติดใจใช้คำนี้มาโดยตลอด เป็นการสร้างความสกปรกให้สะอาด สร้างความชอบธรรมให้รัฐบาล แล้วสร้างความอัปลักษณ์ให้กับคนเสื้อแดง โดยรัฐบาลใช้อำนาจอำมหิตจัดการในสิ่งที่รัฐบาลเห็นว่า เป็นสิ่งสกปรก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง ตนมองว่าประชาชนสามารถที่จะเกลียดรัฐบาล แต่รัฐบาลไม่มีสิทธิเกลียดประชาชน ไม่มีอำนาจสั่งฆ่าประชาชน
"นายอภิสิทธิ์ นายกฯ เคยพูดกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ ต่อเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ว่า นายสมชาย เป็นคนหรือไม่ แต่ดิฉันจะไม่ถามว่านายอภิสิทธ์เป็นคนหรือไม่ เพราะรู้ว่าเป็นคนอยู่แล้ว นอกจากนี้ในสมัยนายบรรหาร ศิปอาชา อดีตนายกฯ นายอภิสิทธิ์อภิปรายโจมตีนายบรรหาร ตอนหนึ่งนายอภิสิทธิ์ กล่าวหานายบรรหารว่า เป็นโมฆะบุรุษ แต่กับเหตุการณ์นี้มีการสั่งสลายการชุมนุมทำให้คนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่นายอภิสิทธิ์ยังอยู่ในอำนาจ นายอภิสิทธิ์เป็นโมฆะบุรุษ และรัฐบาลชุดนี้ก็เป็นโมฆะรัฐบาล" น.ส.กฤตยา กล่าว
ชี้รุนแรงม็อบผิดหลักมนุษยชน
นายศราวุฒิ ประทุมราช นักวิชาการอิสระด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวหัวข้อปฏิบัติการต่อผู้ถูกจับกุมและมาตรการคุกคามอื่นๆ ภายใต้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ว่า ที่ผ่านมาการควบคุมผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. เจ้าหน้าที่ได้ใช้วิธีการรุนแรง อาทิ มัดมือไพล่หลัง จับให้นอนคว่ำและมัดมือมัดเท้า ผูกตาและทำร้ายร่างกายขณะจับกุม รวมถึงจับกุมพระภิกษุสงฆ์มัดมือและเท้า ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะความผิดในเรื่องการฝ่าฝืนข้อห้ามการชุมนุมเป็นความผิดทางการเมือง ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเช่นนั้น จึงถือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และผิดหลักมนุษยชน
"การที่ภาครัฐเริ่มใช้การข่มขู่คุกคามพลเมืองของตัวเองอย่างกว้างขวาง ย่อมแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงในรัฐและยังแสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมในการปกครองที่เริ่มเสื่อมและถอยหลัง ส่วนการที่เจ้าหน้าที่เรียกตัวผู้ชุมนุมไปอบรมหรือสอบสวน รวมไปถึงพยายามริดรอนสิทธิเสรีภาพ การซ้อมในเรือนจำ การคุกคามครอบครัวของแกนนำผู้ชุมนุมและการจับกุมแบบเหวี่ยงแห ถือเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ"นายศราวุฒิ กล่าว
สวด"ศอฉ."มุ่งโฆษณาชวนเชื่อ
ส่วน นายจักรกริช สังขมณี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในหัวข้อปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อของ ศอฉ.ว่า การแถลงข่าวของ ศอฉ.ถือเป็นการนำเสนอที่เข้าข่ายโฆษณาชวนเชื่อ ที่ไม่เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนเกิดความศรัทธาในรัฐบาลและต้องการให้เข้าใจสถานการณ์เพียงด้านเดียว และพยายามเสนอภาพที่ต้องการทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวและเกลียดชังผู้ชุมนุม รวมทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงก็ยังไม่ได้มีการพิสูจน์และหาข้อสรุปอย่างเป็นทางการ
"สำหรับเทคนิคที่ ศอฉ.ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ ประกอบด้วย การเลือกโจมตีที่ตัวบุคคล การใช้คำวลีประโยคที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามน่ากลัวและน่ารังเกียจ การตัดต่อภาพและการอ้างอิงคำพูดนอกบริบท การพูดความจริงเพียงแค่บางส่วน การเบี่ยงเบนความสนใจออกจากประเด็นหลัก การปิดกั้นสื่ออื่นๆ และการสร้างความนิยมในบุคลิกของตัวผู้โฆษณาชวนเชื่อ เช่น การเสนอภาพความคลั่งไคล้ อาทิ เสธ.ไก่อู ในฐานะผู้ก่อการรัก"นายจักรกริชกล่าว
ใช้กม.ฉุกเฉินปิดกั้นคุกคามสื่อ
น.ส.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารมวลชน กล่าวในหัวข้อ การใช้สื่อเพื่อสร้างความชอบธรรมว่า รัฐบาลได้ใช้อำนาจ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร และ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อปิดกั้นควบคุมสื่อ ข้อมูลข่าวสาร และการแสดงออกทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับรัฐบาลและกองทัพในการสลายการชุมนุม โดยออกอากาศคำสั่งและประกาศของ ศอ.รส.และศอฉ.ในลักษณะรวมการเฉพาะกิจ เซ็นเซอร์สื่อท้องถิ่น เช่น วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี จับกุมแกนนำ สั่งปิด 36 เว็ปไซต์ ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลต่อความมั่นคง แทรกแซงสื่อกระแสหลัก ระงับรายการหรือคอลัมน์ หรือตัวนักข่าว
ระงับการเสนอภาพลบของปฏิบัติการทหาร เช่น ภาพทหารประทับเล็งปืน ใช้ถ้อยคำ วาทกรรม เช่น การขอคืนพื้นที่ การกระชับวงล้อม การข่มขู่คุกคามสร้างความหวาดกลัวต่อสื่อมวลชน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีนักข่าวบาดเจ็บและเสียชีวิต รวม 9 คน คำถามคือ เหตุใดสื่อมวลชนจึงตกเป็นเป้าหมายของการลิดรอนเสิทธิเสรีภาพ รัฐบาลต้องตอบคำถามกับสังคมและผู้เสียหาย" น.ส.อุบลรัตน์
ซิวส.ต.อ.ยิงแกนแดงนครพนม
ส่วนกรณีคดีคนร้ายบุกยิง นายศุภฤกษ์ ทากิระ อายุ 40 ปี อดีตผู้สมัคร ส.อบจ.นครพนม แกนนำคนสำคัญของ นปช.นครพนม กระสุนเข้าท้ายทอย ทะลุแก้มขวา ได้รับบาดเจ็บ รักษาตัวที่โรงพยาบาลนครพนม จนอาการปลอดภัย เหตุเกิดหน้าบ้านเลขที่ 197 หมู่ 3 บ้านภูกระแต ต.นาคำ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ล่าสุดนายศุภฤกษ์ ทากิระ เข้าพบ พล.ต.ต.พนมพร อิทธิประเสริฐ ผบก.ภ.จว.นครพนม ติดตามความคืบหน้าของคดีพร้อมนำข้อมูลสำคัญ ที่จะเชื่อมโยงนำไปสู่การจับกุมตัวคนร้าย
จากนั้น พล.ต.ต.พนมพร สั่งการให้ พ.ต.ต.รัชพงษ์ นามปัดสา สารวัตรกลุ่มงานสืบสวน ภ.จว.นครพนม พร้อมชุดสืบสวน นำหลักฐานภาพคนร้าย ไปควบคุมตัวส.ต.อ.จีระศักดิ์ พลศรี อายุ 29 ปี ตำรวจงานธุรการป้องกันปราบปราม สภ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร ผู้ต้องสงสัยตามหมายจับมาให้ผู้เสียหายพร้อมพยานที่พบเห็นชี้ตัวที่สภ.ศรีสงคราม ซึ่งนายศุภฤกษ์ ได้ชี้ตัวยืนยันส.ต.อ.จีระศักดิ์ เป็นคนลงมือ ตำรวจจึงแจ้งข้อหาพยายามฆ่าเบื้องต้น ส.ต.อ.จีระศักดิ์ ให้การปฏิเสธขอต่อสู้คดีเพื่อความบริสุทธิ์ พนักงานสอบสวนยังไม่อนุญาตให้ประกันตัว ก่อนนำตัวไปฝากขังที่ศาลจังหวัดนครพนม
เหยื่อผวาปมปิดบัญชีแกนนำ
พล.ต.ต.พนมพร กล่าวว่า ตรวจสอบประวัติสอบสวนเชิงลึกกลุ่มบุคคลที่เชื่อว่าจะมีปัญหาขัดแย้งกับนายศุภฤกษ์ เจ้าตัวยืนยันมุ่งประเด็นเรื่องขัดแย้งทางการเมือง ผู้เสียหายยืนยันว่าจำได้ เพราะขณะเกิดเหตุคนร้ายลงมาสอบถามเส้นทางก่อนลงมือ คือ ส.ต.อ.จีระศักดิ์
นายศุภฤกษ์กล่าวว่าหลังจากเกิดเรื่องขึ้นกลับไปฟักฟื้นที่บ้าน ต้องระวังตัวมากขึ้น รวมถึงครอบครัวด้วย ยังมั่นใจในเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง เพราะหลายคนมองว่าเป็นแกนนำสำคัญของ นปช. ปัญหาหนี้สิน และชู้สาวไม่มีแน่นอน เชื่อมั่นการทำงานของตำรวจ แต่วิตกกังวลบ้างเพราะมีข่าวเกิดเหตุยิงแกนนำ นปช. ตามจังหวัดต่างๆทำให้คิดเรื่องการตามปิดบัญชีแกนนำ นปช.
พ.ต.อ.สมนึก มิควาฬ ผกก.สภ.กุสุมาลย์ ผู้บังคับบัญชาของ ส.ต.อ.จีระศักดิ์ กล่าวว่าตรวจสอบประวัติการทำงาน ส.ต.อ.จีระศักดิ์ ไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องกลุ่มมีอิทธิพล หรือประพฤติในทางมิชอบ เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1276950607&grpid=00&catid
RED LETTER- จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009
Similar topics
» นปช วันที่ 18 พค 2553
» แถลงข่าว นปช วันที่ 12 พค 2553
» นปช แถลงข่าว วันที่ 16 พค 2553
» ข่าว 16 กพ 53
» ข่าว 19 กพ 53
» แถลงข่าว นปช วันที่ 12 พค 2553
» นปช แถลงข่าว วันที่ 16 พค 2553
» ข่าว 16 กพ 53
» ข่าว 19 กพ 53
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ