ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ทุจริตกล้ายาง
หน้า 1 จาก 1
ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ทุจริตกล้ายาง
เครือซีพี แจ้งเท็จแปลงกิ่งตา-กล้ายาง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤษภาคม 2548 21:51 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
สภาพแปลงยางชำถุงในฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เครือซีพี ที่ให้เอกชนเช่าเพาะชำยางถุงซึ่งเพิ่งแตกตาและบางส่วนติดโรคเฉาตาย
?ผู้ จัดการรายวัน? ตรวจสอบข้อมูลการแจ้งจำนวนแปลงกิ่งตาและแปลงกล้ายางเทียบกับทำเนียบแปลงขยาย พันธุ์ต้นยางเพื่อการค้า ประจำปี 2546 ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร พบว่า การแสดงเนื้อที่ของแปลงกิ่งตายางของซีพี ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง จำนวน 6 แปลง คือ
1. แปลงของนางสุภาวิณีย์ หนูทอง บ้านเลขที่ 317 ถ.กันตัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 15 ไร่ กิ่งตายางพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 700,000 กิ่ง แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ต้นยางฯ มีเพียง 2 ไร่ จำนวน 50,000 กิ่ง
2. แปลงของนางวารุณี ศรีวะปะ 62/1 ม. 9 ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 30 ไร่ จำนวน 800,000 กิ่ง แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 16 ไร่ จำนวน 417,500 กิ่ง
3. แปลงนายสุนทร พรหมมี 139/1 ม.6 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่36 ไร่ จำนวน 1,400,000 กิ่ง แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 4 ? 2-0 ไร่ จำนวน 143,500 กิ่ง
4. แปลงนายสุธรรม แซ่โค้ว 49/2 ม. 1 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 23 ไร่ จำนวน 600,000 กิ่ง แต่การขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 20 ไร่ จำนวน 621,450 กิ่ง
5. แปลงของนายโสภณ ดำจุ้ย 179/4 ม.4 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 19 ไร่ จำนวน 760,000 กิ่ง แต่การขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 6 ไร่ จำนวน 172,550 กิ่ง
6. แปลงของนายเล่ง แซ่โค้ว 126 ม.6 ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ซีพี แจ้งเนื้อที่ 40 ไร่ จำนวน 1,275,000 กิ่ง แต่การขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 30 ไร่ จำนวน 512,650 กิ่ง
กล่าวเฉพาะในส่วนของแปลงกิ่งตายาง ซีพี แจ้งเท็จ 85 ไร่ คือ มีแปลงกิ่งตายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เพียง 187 ไร่เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลมีแปลงเพาะขยายพันธุ์ ยาง ไม่น้อยกว่า 200 ไร่
ส่วนแปลงต้นกล้า ที่เงื่อนไขประมูลกำหนดให้มีไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ในเอกสารยื่นประมูลของบริษัท แจ้งมี 1,961 ไร่ แต่เป็นหลักฐานเท็จเมื่อตรวจสอบจากเอกสารทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ ประจำปี 2546 โดยเนื้อที่ที่ขอจดทะบียนฯ กับเนื้อที่ที่บริษัทแจ้งแตกต่างกัน ดังนี้
1. แปลงของนางวารุณี ศรีวะปะ 62/1 ม.9 ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 150 ไร่ กำลังผลิต 1,950,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ จริงมีเพียง 45 ไร่ 675,000 ต้น
2. แปลงของนายสุเทพ เยี่ยมอุดม 188 ถ.เพชรเกษม ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 100 ไร่ กำลังผลิต 1,200,000 ต้น ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 15 ไร่ 225,000 ต้น
3. แปลงของนายสุนทร พรหมมี 139/1 ม.6 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 150 ไร่ กำลังผลิต 2,250,000 ต้น ส่วนตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 27 ไร่ 405,000 ต้น
4. แปลงของนายปรีชา ใจสมุทร 9 หมู่ 5 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 80 ไร่ กำลังผลิต 1,200,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 17 ไร่ จำนวน 246,500 ต้น
5. แปลงของนายสุธรรม แซ่โค้ว 49/2 ม. 1 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 150ไน่ กำลังผลิต 1,950,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 20 ไร่ จำนวน 290,000 ต้น
6. แปลงของนายโสภณ ดำจุ้ย 179/4 ม.4 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 120 ไร่ กำลังผลิต 1,680,000 ไร่ แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 47 ไร่ จำนวน 681,500 ต้น
7.แปลง ของนายอ้า แซ่โค้ว 76 ม. 5 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 125 ไร่ กำลังผลิต 2,000,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 50 ไร่ จำนวน 725,000 ต้น
8. แปลงของนายชัยยุทธ สุขลิ้ม 33/8 ม. 1 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 100 ไร่ กำลังผลิต 1,200,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 56 ไร่ จำนวน 840,000 ต้น
9. แปลงของนายเล่ง แซ่โค้ว 126 ม. 6 ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ซีพี แจ้ง 160 ไร่ กำลังผลิต 2,000,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 50 ไร่ จำนวน 750,000 ต้น
10. ฟาร์มกำแพงเพชร (ของกลุ่มซีพี) 187-189 ม. 9 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ซีพี แจ้งเนื้อที่ 300 ไร่ กำลังผลิต 4,500,000 ต้น แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ
11. ฟาร์มแสลงพัน-คำพราน 58 ม. 5 อ.วังม่วง จ.สระบุรี (ของกลุ่มซีพี) ซีพี แจ้งเนื้อที่ 200 ไร่ กำลังผลิต 3,000,000 ต้น แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ
จากข้อมูลข้างต้น พบว่า เครือซีพี แจ้งหลักฐานอันเป็นเท็จประกอบการเข้าร่วมประมูลกันถึง 808 ไร่ และอีก 500 ไร่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ รวมพื้นที่จำนวน 1,308ไร่ ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประมูลที่จะต้องมีแปลงกล้ายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรม วิชาการฯ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ เพราะข้อเท็จจริงแปลงยางที่ซีพี กล่าวอ้างขึ้นทะเบียนจริงเพียง 653ไร่เท่านั้น
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤษภาคม 2548 21:51 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
สภาพแปลงยางชำถุงในฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เครือซีพี ที่ให้เอกชนเช่าเพาะชำยางถุงซึ่งเพิ่งแตกตาและบางส่วนติดโรคเฉาตาย
?ผู้ จัดการรายวัน? ตรวจสอบข้อมูลการแจ้งจำนวนแปลงกิ่งตาและแปลงกล้ายางเทียบกับทำเนียบแปลงขยาย พันธุ์ต้นยางเพื่อการค้า ประจำปี 2546 ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร พบว่า การแสดงเนื้อที่ของแปลงกิ่งตายางของซีพี ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง จำนวน 6 แปลง คือ
1. แปลงของนางสุภาวิณีย์ หนูทอง บ้านเลขที่ 317 ถ.กันตัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 15 ไร่ กิ่งตายางพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 700,000 กิ่ง แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ต้นยางฯ มีเพียง 2 ไร่ จำนวน 50,000 กิ่ง
2. แปลงของนางวารุณี ศรีวะปะ 62/1 ม. 9 ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 30 ไร่ จำนวน 800,000 กิ่ง แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 16 ไร่ จำนวน 417,500 กิ่ง
3. แปลงนายสุนทร พรหมมี 139/1 ม.6 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่36 ไร่ จำนวน 1,400,000 กิ่ง แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 4 ? 2-0 ไร่ จำนวน 143,500 กิ่ง
4. แปลงนายสุธรรม แซ่โค้ว 49/2 ม. 1 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 23 ไร่ จำนวน 600,000 กิ่ง แต่การขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 20 ไร่ จำนวน 621,450 กิ่ง
5. แปลงของนายโสภณ ดำจุ้ย 179/4 ม.4 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 19 ไร่ จำนวน 760,000 กิ่ง แต่การขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 6 ไร่ จำนวน 172,550 กิ่ง
6. แปลงของนายเล่ง แซ่โค้ว 126 ม.6 ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ซีพี แจ้งเนื้อที่ 40 ไร่ จำนวน 1,275,000 กิ่ง แต่การขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ มีเพียง 30 ไร่ จำนวน 512,650 กิ่ง
กล่าวเฉพาะในส่วนของแปลงกิ่งตายาง ซีพี แจ้งเท็จ 85 ไร่ คือ มีแปลงกิ่งตายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เพียง 187 ไร่เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลมีแปลงเพาะขยายพันธุ์ ยาง ไม่น้อยกว่า 200 ไร่
ส่วนแปลงต้นกล้า ที่เงื่อนไขประมูลกำหนดให้มีไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ในเอกสารยื่นประมูลของบริษัท แจ้งมี 1,961 ไร่ แต่เป็นหลักฐานเท็จเมื่อตรวจสอบจากเอกสารทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ ประจำปี 2546 โดยเนื้อที่ที่ขอจดทะบียนฯ กับเนื้อที่ที่บริษัทแจ้งแตกต่างกัน ดังนี้
1. แปลงของนางวารุณี ศรีวะปะ 62/1 ม.9 ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 150 ไร่ กำลังผลิต 1,950,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนในทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ จริงมีเพียง 45 ไร่ 675,000 ต้น
2. แปลงของนายสุเทพ เยี่ยมอุดม 188 ถ.เพชรเกษม ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 100 ไร่ กำลังผลิต 1,200,000 ต้น ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 15 ไร่ 225,000 ต้น
3. แปลงของนายสุนทร พรหมมี 139/1 ม.6 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 150 ไร่ กำลังผลิต 2,250,000 ต้น ส่วนตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 27 ไร่ 405,000 ต้น
4. แปลงของนายปรีชา ใจสมุทร 9 หมู่ 5 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 80 ไร่ กำลังผลิต 1,200,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 17 ไร่ จำนวน 246,500 ต้น
5. แปลงของนายสุธรรม แซ่โค้ว 49/2 ม. 1 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้ง 150ไน่ กำลังผลิต 1,950,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 20 ไร่ จำนวน 290,000 ต้น
6. แปลงของนายโสภณ ดำจุ้ย 179/4 ม.4 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 120 ไร่ กำลังผลิต 1,680,000 ไร่ แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 47 ไร่ จำนวน 681,500 ต้น
7.แปลง ของนายอ้า แซ่โค้ว 76 ม. 5 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 125 ไร่ กำลังผลิต 2,000,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 50 ไร่ จำนวน 725,000 ต้น
8. แปลงของนายชัยยุทธ สุขลิ้ม 33/8 ม. 1 ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซีพี แจ้งเนื้อที่ 100 ไร่ กำลังผลิต 1,200,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 56 ไร่ จำนวน 840,000 ต้น
9. แปลงของนายเล่ง แซ่โค้ว 126 ม. 6 ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ซีพี แจ้ง 160 ไร่ กำลังผลิต 2,000,000 ต้น แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียนฯ มีเพียง 50 ไร่ จำนวน 750,000 ต้น
10. ฟาร์มกำแพงเพชร (ของกลุ่มซีพี) 187-189 ม. 9 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ซีพี แจ้งเนื้อที่ 300 ไร่ กำลังผลิต 4,500,000 ต้น แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ
11. ฟาร์มแสลงพัน-คำพราน 58 ม. 5 อ.วังม่วง จ.สระบุรี (ของกลุ่มซีพี) ซีพี แจ้งเนื้อที่ 200 ไร่ กำลังผลิต 3,000,000 ต้น แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ
จากข้อมูลข้างต้น พบว่า เครือซีพี แจ้งหลักฐานอันเป็นเท็จประกอบการเข้าร่วมประมูลกันถึง 808 ไร่ และอีก 500 ไร่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ รวมพื้นที่จำนวน 1,308ไร่ ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประมูลที่จะต้องมีแปลงกล้ายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรม วิชาการฯ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ เพราะข้อเท็จจริงแปลงยางที่ซีพี กล่าวอ้างขึ้นทะเบียนจริงเพียง 653ไร่เท่านั้น
แก้ไขล่าสุดโดย dimistry เมื่อ Wed Dec 09, 2009 8:09 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
แฉไอ้โม่งทุจริตกล้ายาง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤษภาคม 2548 21:52 น.
สภาพ แปลงยางชำถุงในฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เครือซีพี ที่ถูกทิ้งร้างเนื่องจากปีที่ผ่านมาแปลงแห่งนี้เพาะยางชำถุงจำนวนล้านต้นแต่ ได้มาตรฐานพร้อมส่งมอบเพียง 5 แสนต้น
เบื้องหลังความเสียหาย โครงการปลูกยางล้านไร่ เหตุฝ่ายการเมืองเร่งรัดในลักษณะ ?แดกด่วน? ซ้ำยังคัดเลือกยักษ์ซีพีที่ขาดคุณสมบัติ ผิดเงื่อนไขประมูล ไม่มีประสบการณ์และความพร้อมเป็นผู้ส่งมอบยางจำนวนมโหฬารถึง 90 ล้านต้น เผยซีพียุบทิ้งโครงการผลิตกล้ายางคล้อยหลังชนะประมูลเพียงเดือนเศษ หันสวมบทโบรกเกอร์จับเสือมือเปล่ากินส่วนต่างเหนาะๆ กว่า 350 ล้าน
นาย โกเมน สงค์ประเสริฐ อดีตอัยการประจำจังหวัดหนองคาย กรรมการสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จังหวัดหนองคาย เปิดเผยว่า โครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้ฯ 1 ล้านไร่ เป็นโครงการที่ทำกันอย่างเร่งรีบเพราะเป็นช่วงใกล้หาเสียงเลือกตั้ง อีกทั้งกลุ่มซีพีที่ชนะประมูลไม่ใช่มืออาชีพ ไม่เคยทำเรื่องยางมาก่อน แต่เข้ามาจับเสือมือเปล่า หน่วยปฏิบัติคือฝ่ายราชการก็ไม่กล้าปฏิเสธต้องทำตามนโยบายของฝ่ายการเมือง
?โครงการใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมแปลงกิ่งตา ต้นกล้ายาง เป็นปีๆ เพื่อให้ได้พันธุ์ยางที่มีคุณภาพ สมบูรณ์? นายโกเมน กล่าว
ด้าน นายกุลชัย ธีระกุลพิสุทธิ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.อุดรธานี กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ซีพีทำหน้าที่เหมือนโบรกเกอร์เข้ามากว้านซื้อกล้ายางจากแปลงเพาะชำทั่วไป ทั้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ รวมถึงกล้ายางไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพราะต้องเร่งส่งมอบให้ทันตามสัญญา โดยกว้านซื้อในราคาต้นละ 11-12 บาท ส่งขายให้กรมวิชาการเกษตรในราคาต้นละ 15.70 บาท จำนวน 90 ล้านต้น งานนี้ ซีพี กินส่วนต่างประมาณ 350 ล้านบาท
ขณะ ที่ นายอุดร ชายตุ้ย พนักงานประจำแปลงเพาะชำยาง อ.แม่วงศ์ จ.นครสวรรค์ กล่าวยืนยันว่า ราคาต้นกล้ายางที่เพาะชำส่งมอบให้ซีพีในราคา 11.50 บาท/ต้น หากคิดต้นทุนทั้งหมดแล้วผู้เพาะชำจะมีกำไรเฉลี่ยต้นละ 1 บาท ซึ่งไม่ค่อยคุ้ม ขณะที่ราคาตลาดปีที่แล้วซื้อขายกันที่ 18-20 บาท ส่วนปีนี้ซื้อขายกันที่ 14-15 บาท โดยพันธุ์ยางที่นำมาเพาะชำเอามาจากอ.ปะเหลียน จ.ตรัง มีสัญญาส่งมอบให้ซีพีปีนี้ จำนวน 500,000 กว่าต้น
เนวิน - กรมวิชาการเกษตร เล่นผิดบท
โครงการ ดังกล่าว เกิดขึ้นในสมัยนายเนวิน ชิดชอบ รมช.กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้กำกับดูแลกรมวิชาการเกษตรฯ ผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งที่ตามพันธกิจของกรมวิชาการเกษตร คือ ?บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรอง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิตและผลิตภัณฑ์พืช เพื่อให้บริการการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ?
นอก จากนี้ กรมวิชาการ ยังเน้นการประยุกต์และพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจ และเน้นการทดสอบเทคโนโลยี การผลิตพันธุ์พืช ปัจจัยการผลิต การบริการวิชาการและสร้างเครือข่ายวิชาการ การที่ นายเนวิน ชิดชอบ เสนอให้กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการจัดหาพันธุ์กล้ายางโดยเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนรับดำเนินการจึงขัด กับหลักการทำงานของกรมวิชาการเกษตรมาตั้งแต่ต้น
เพราะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะดังหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องยางโดยตรง เช่น สำนักงานกองทุนสวนยางฯ
นาย เนวิน ชิดชอบ รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงประเด็นการเข้ามารับผิดชอบโครงการส่งเสริมปลูกยางล้านไร่ของกรม วิชาการเกษตร ว่าคนทั่วไปกำลังเข้าใจผิดว่ากรมวิชาการฯ มีหน้าที่เพียงวิจัยและพัฒนา แต่ในความเป็นจริงกรมวิชาการ มีหน้าที่ไม่ต่างกับกรมปศุสัตว์ที่รับผิดชอบดูแลสินค้าปศุสัตว์ หรือกรมประมงที่จะต้องรับผิดชอบดูแลสินค้าประมง กรมวิชาการฯ ก็เช่นกันจะต้องดูแลเรื่องพืชทั้งหมด ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องดูแต่งานวิจัยอย่างเดียว
นายเนวิน กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการองค์ความรู้หรืองานวิจัยของภาคเอกชนไปไกลกว่าภาครัฐค่อนข้างมาก ภาครัฐจะคิดว่าหน้าที่ในการวิจัยเป็นของกรมวิชาการเพียงแห่งเดียว จะคิดว่ากรมวิชาการเก่งอยู่คนเดียวไม่ได้ ต่อไปกรมจะต้องมีหน้าที่ในการกำกับดูแล ต้องเป็นหน่วยตรวจสอบหรือหน่วยรับรอง หรือคอยอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชน โดยรองอธิบดีจะต้องทำงานประจำ ส่วนอธิบดีจะต้องเป็นคนทำโปรเจค
ซีพี ขาดคุณสมบัติแต่กลับผ่านฉลุย
อย่าง ไรก็ตาม หลังจากครม.อนุมัติโครงการ กรมวิชาการเกษตร ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 46 ประกวดราคาจ้างเหมาผลิตต้นยางชำถุง ขนาดการเติบโต 1 ฉัตร ตามพันธุ์ยางที่กรมวิชาการเกษตร แนะนำปี 2546 จำนวน 90 ล้านต้น ราคากลางจัดจ้าง 1,440 ล้านบาท โดยผู้สนใจต้องขอซื้อเอกสารประกวดราคาชุดละ 50,000 บาท พร้อมกับวงเงินค้ำประกันสัญญา 3 ล้านบาท
กรมวิชาการฯ ยังกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาว่า ?จะต้องมีแปลงเพาะต้นกล้าไม่ว่าจะเป็นแปลงเดียว หรือหลายแปลง (รวมกัน) ไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ และจะต้องมีแหล่งกิ่งตายางที่ใช้จากแปลงเพาะขยายพันธุ์ที่จดทะเบียนกับกรม ไม่ว่าจะเป็นแปลงเดียวหรือหลายแปลง (รวมกัน) ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ และมีต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์ยางที่กรมแนะนำไม่น้อยกว่า 120,000 ต้นและจะต้องเสนอรายละเอียดพื้นที่แปลงกล้ายางและทะเบียนแปลงเพาะขยายพันธุ์ ยางในวันยื่นซองประกวดราคา?
ในการเข้าร่วมประมูลครั้งนี้ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เสนอว่า ?บริษัทมีแปลงเพาะต้นกล้าหลายแปลงรวมกันมากกว่า 1,000 ไร่ และจะมีแหล่งกิ่งตายางที่ใช้จากแปลงเพาะขยายพันธุ์ยางที่จดทะเบียนกับกรม หลายแปลงรวมกันมากกว่า 200 ไร่ และมีต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์ยางที่กรมแนะนำมากกว่า 120,000 ต้น?
พร้อม กันนั้น บริษัทได้แนบรายการแสดงเนื้อที่และสถานที่ตั้งของแปลงกิ่งตายาง จำนวน 21 แปลง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตจ.ตรัง (อ.เมือง, อ.ย่านตาขาว,อ.ห้วยยอด, อ.นาโยง, อ.ปะเหลียน อ.สิเกา) และอ.ทุ่งหว้า จ.สตูล รวม 272 ไร่ และแสดงรายการเนื้อที่และสถานที่ตั้งของแปลงยาง รวม 1,961 ไร่ กำลังผลิต 27.445 ล้านต้น
แจ้งเท็จแปลงกิ่งตา ? กล้ายาง
?ผู้จัดการราย วัน? ตรวจสอบข้อมูลข้างต้นเทียบกับทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้า ประจำปี 2546 ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร พบว่า การแสดงเนื้อที่ของแปลงกิ่งตายางของซีพี ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง จำนวน 6 แปลง โดย ซีพี แจ้งเท็จ 85 ไร่ คือ มีแปลงกิ่งตายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เพียง 187 ไร่เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลมีแปลงเพาะขยายพันธุ์ ยาง ไม่น้อยกว่า 200 ไร่
ส่วนแปลงต้นกล้า ที่เงื่อนไขประมูลกำหนดให้มีไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ในเอกสารยื่นประมูลของบริษัท แจ้งมี 1,961 ไร่ แต่เป็นหลักฐานเท็จเมื่อตรวจสอบจากเอกสารทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ ประจำปี 2546 โดยเนื้อที่ที่ขอจดทะบียนฯ กับเนื้อที่ที่บริษัทแจ้งแตกต่างกัน
ทั้ง นี้ บริษัทฯ แจ้งหลักฐานอันเป็นเท็จประกอบการเข้าร่วมประมูลกันถึง 808 ไร่ และอีก 500 ไร่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ รวมพื้นที่จำนวน 1,308ไร่ ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประมูลที่จะต้องมีแปลงกล้ายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรม วิชาการฯ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ เพราะข้อเท็จจริงแปลงยางที่ซีพี กล่าวอ้างขึ้นทะเบียนจริงเพียง 653ไร่เท่านั้น (อ่านรายละเอียด ?ซีพี แจ้งเท็จแปลงกิ่งตา - กล้ายาง?)
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุด คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ซึ่งมีนายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร (ขณะนั้น) เป็นประธาน พิจารณาตัดสินให้ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เป็นผู้ชนะประมูล โดยไม่ได้ตรวจสอบคุณสมบัติว่าเป็นไปตามกำหนดหรือไม่
ทางสำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ในเรื่องที่บริษัทผู้เข้าร่วมประมูล 3 บริษัทมีกรรมการที่ถือหุ้นไขว้กัน และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดตีความ ซึ่ง ?ผู้จัดการรายวัน? สอบถามความคืบหน้าจากรักษาการผู้ว่าการสตง. ในการเข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ แต่ยังไม่ได้รับคำตอบเพราะต้องรอให้บอร์ดพิจารณาก่อนว่าจะให้ข้อมูลต่อสื่อ ได้หรือไม่
ยุบทิ้งแปลงเพาะกล้าหลังชนะประมูล
ในการ ลงพื้นที่สำรวจผลโครงการฯ ช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ?ผู้จัดการรายวัน? เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการเพาะกล้ายางที่ฟาร์มแสลงพัน ? คำพราน ที่ จ.สระบุรี และฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ในเครือซีพี ด้วย
เจ้า หน้าที่ระดับบริหารของฟาร์มแสลงพัน ? คำพราน ให้ข้อมูลว่า ?เรา (ซีพี) ยุบโครงการปลูกกล้ายางทิ้งไปแล้วตั้งแต่ต้นปี 47 เพราะค่า PH ของดินมีปัญหาเป็นด่างมากประมาณ 7.8-8 กล้ายางที่ควรเขียวหลังเพาะปลูกไปแล้ว 2 เดือน กลับเหลืองแข่งกับทานตะวัน เราใช้เวลาบำรุงนานหลายเดือนด้วยทุกวิธีการแต่ไม่สามารถทำให้ยางเติบโตได้ สุดท้ายก็ยุบทิ้งและใช้พื้นที่ปลูกทานตะวันไปแล้วรอบหนึ่ง?
เจ้า หน้าที่ระดับบริหารของฟาร์มแสลงพันฯ ให้ข้อมูลว่า ซีพี เริ่มเพาะกล้ายางเมื่อเดือน ส.ค. 46 บนเนื้อที่ 70 ไร่ เพาะกล้ายางประมาณ 100,000 ต้น
การดำเนินการเพาะกล้ายางของฟาร์มแสลงพันฯ เกิดขึ้นระหว่างที่กลุ่มซีพี เข้าร่วมประมูลตามประกาศประกวดราคา เลขที่ 4/2546 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 46 ของกรมวิชาการเกษตร และต่อมากลุ่มซีพี ชนะประมูลพร้อมกับทำสัญญาในเดือนพ.ย. 46 ทั้งนี้ เครือซีพี แจ้งต่อกรมวิชาการฯ ว่าแปลงยางที่ฟาร์มแสลงพันฯ มีเนื้อที่ 200 ไร่ กำลังผลิตกล้ายางถึง 3 ล้านต้น ทั้งที่ ช่วงเวลานั้น สภาพกล้ายางของซีพีที่ฟาร์มแสลงพัน ? คำพรานมีปัญหาเกิดขึ้นชัดเจนและสุดท้ายก็ไม่สามารถเพาะกล้ายางได้แม้แต่ต้น เดียว
ขณะที่ฟาร์มกำแพงเพชร ไม่มีแปลงเพาะกล้ายางดังที่แจ้งต่อกรมวิชาการฯว่าฟาร์มแห่งนี้ มีเนื้อที่เพาะกล้า 300 ไร่ กำลังผลิต 4,500,000 ต้น แต่อย่างใด โดยมีเนื้อที่บางส่วนสำหรับยางชำถุง จำนวน 1 ล้านต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของฟาร์มกำแพงเพชร กล่าวยอมรับว่า ปีที่ผ่านมายางชำถุงที่ฟาร์มฯ สามารถส่งมอบได้เพียง 500,000 ต้นเท่านั้นจากที่เพาะชำล้านต้น
?การไม่มีคุณสมบัติ ไม่มีประสบการณ์และความไม่พร้อมของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ซีพี ได้สร้างปัญหาต่อเนื่องให้เกษตรกรรับเคราะห์กรรมและอาจส่งผลให้โครงการนี้ ประสบความล้มเหลวไม่เป็นไปตามเป้าหมาย? เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของสกย.ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง วิเคราะห์
สำหรับ การตั้งข้อสังเกตและพาดพิงถึงเครือซีพี ที่มีปัญหาส่งยางช้าและไม่ได้คุณภาพนั้น ?ผู้จัดการรายวัน? ได้ทำหนังสือขอสัมภาษณ์นายสกล บุญชูดวง รองกรรมการผู้จัดการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ผู้รับมอบอำนาจลงนามเป็นคู่สัญญากับกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 48 เพื่อเปิดโอกาสให้ชี้แจงกรณีที่ถูกเกษตรกรและเจ้าหน้าที่รัฐฯ ในพื้นที่พาดพิงถึงในเรื่องการส่งมอบกล้ายางช้าและไม่ได้คุณภาพ และขอสอบถามถึงผลสรุปโครงการในช่วงปี 47 ที่ผ่านมา การเตรียมความพร้อมส่งมอบยางชำถุงตามสัญญาในปี 48 และ 49 ความพร้อมของแปลงกล้ายางตามสัญญา และข้อมูลอื่นๆ แต่ทางนายสกล ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ โดยให้เลขาฯ หน้าห้องแจ้งว่าติดภารกิจที่ต่างจังหวัด ไม่สามารถติดต่อได้
อย่างไรก็ตาม ?ผู้จัดการ? จะติดตามความคืบหน้า พร้อมนำเสนอข่าวเมื่อได้รับข้อมูลจากฝ่ายที่ถูกพาดพิงถึงในวันข้างหน้า
สภาพ แปลงยางชำถุงในฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เครือซีพี ที่ถูกทิ้งร้างเนื่องจากปีที่ผ่านมาแปลงแห่งนี้เพาะยางชำถุงจำนวนล้านต้นแต่ ได้มาตรฐานพร้อมส่งมอบเพียง 5 แสนต้น
เบื้องหลังความเสียหาย โครงการปลูกยางล้านไร่ เหตุฝ่ายการเมืองเร่งรัดในลักษณะ ?แดกด่วน? ซ้ำยังคัดเลือกยักษ์ซีพีที่ขาดคุณสมบัติ ผิดเงื่อนไขประมูล ไม่มีประสบการณ์และความพร้อมเป็นผู้ส่งมอบยางจำนวนมโหฬารถึง 90 ล้านต้น เผยซีพียุบทิ้งโครงการผลิตกล้ายางคล้อยหลังชนะประมูลเพียงเดือนเศษ หันสวมบทโบรกเกอร์จับเสือมือเปล่ากินส่วนต่างเหนาะๆ กว่า 350 ล้าน
นาย โกเมน สงค์ประเสริฐ อดีตอัยการประจำจังหวัดหนองคาย กรรมการสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จังหวัดหนองคาย เปิดเผยว่า โครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้ฯ 1 ล้านไร่ เป็นโครงการที่ทำกันอย่างเร่งรีบเพราะเป็นช่วงใกล้หาเสียงเลือกตั้ง อีกทั้งกลุ่มซีพีที่ชนะประมูลไม่ใช่มืออาชีพ ไม่เคยทำเรื่องยางมาก่อน แต่เข้ามาจับเสือมือเปล่า หน่วยปฏิบัติคือฝ่ายราชการก็ไม่กล้าปฏิเสธต้องทำตามนโยบายของฝ่ายการเมือง
?โครงการใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมแปลงกิ่งตา ต้นกล้ายาง เป็นปีๆ เพื่อให้ได้พันธุ์ยางที่มีคุณภาพ สมบูรณ์? นายโกเมน กล่าว
ด้าน นายกุลชัย ธีระกุลพิสุทธิ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.อุดรธานี กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ซีพีทำหน้าที่เหมือนโบรกเกอร์เข้ามากว้านซื้อกล้ายางจากแปลงเพาะชำทั่วไป ทั้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ รวมถึงกล้ายางไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพราะต้องเร่งส่งมอบให้ทันตามสัญญา โดยกว้านซื้อในราคาต้นละ 11-12 บาท ส่งขายให้กรมวิชาการเกษตรในราคาต้นละ 15.70 บาท จำนวน 90 ล้านต้น งานนี้ ซีพี กินส่วนต่างประมาณ 350 ล้านบาท
ขณะ ที่ นายอุดร ชายตุ้ย พนักงานประจำแปลงเพาะชำยาง อ.แม่วงศ์ จ.นครสวรรค์ กล่าวยืนยันว่า ราคาต้นกล้ายางที่เพาะชำส่งมอบให้ซีพีในราคา 11.50 บาท/ต้น หากคิดต้นทุนทั้งหมดแล้วผู้เพาะชำจะมีกำไรเฉลี่ยต้นละ 1 บาท ซึ่งไม่ค่อยคุ้ม ขณะที่ราคาตลาดปีที่แล้วซื้อขายกันที่ 18-20 บาท ส่วนปีนี้ซื้อขายกันที่ 14-15 บาท โดยพันธุ์ยางที่นำมาเพาะชำเอามาจากอ.ปะเหลียน จ.ตรัง มีสัญญาส่งมอบให้ซีพีปีนี้ จำนวน 500,000 กว่าต้น
เนวิน - กรมวิชาการเกษตร เล่นผิดบท
โครงการ ดังกล่าว เกิดขึ้นในสมัยนายเนวิน ชิดชอบ รมช.กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้กำกับดูแลกรมวิชาการเกษตรฯ ผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งที่ตามพันธกิจของกรมวิชาการเกษตร คือ ?บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรอง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิตและผลิตภัณฑ์พืช เพื่อให้บริการการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ?
นอก จากนี้ กรมวิชาการ ยังเน้นการประยุกต์และพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจ และเน้นการทดสอบเทคโนโลยี การผลิตพันธุ์พืช ปัจจัยการผลิต การบริการวิชาการและสร้างเครือข่ายวิชาการ การที่ นายเนวิน ชิดชอบ เสนอให้กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการจัดหาพันธุ์กล้ายางโดยเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนรับดำเนินการจึงขัด กับหลักการทำงานของกรมวิชาการเกษตรมาตั้งแต่ต้น
เพราะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะดังหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องยางโดยตรง เช่น สำนักงานกองทุนสวนยางฯ
นาย เนวิน ชิดชอบ รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงประเด็นการเข้ามารับผิดชอบโครงการส่งเสริมปลูกยางล้านไร่ของกรม วิชาการเกษตร ว่าคนทั่วไปกำลังเข้าใจผิดว่ากรมวิชาการฯ มีหน้าที่เพียงวิจัยและพัฒนา แต่ในความเป็นจริงกรมวิชาการ มีหน้าที่ไม่ต่างกับกรมปศุสัตว์ที่รับผิดชอบดูแลสินค้าปศุสัตว์ หรือกรมประมงที่จะต้องรับผิดชอบดูแลสินค้าประมง กรมวิชาการฯ ก็เช่นกันจะต้องดูแลเรื่องพืชทั้งหมด ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องดูแต่งานวิจัยอย่างเดียว
นายเนวิน กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการองค์ความรู้หรืองานวิจัยของภาคเอกชนไปไกลกว่าภาครัฐค่อนข้างมาก ภาครัฐจะคิดว่าหน้าที่ในการวิจัยเป็นของกรมวิชาการเพียงแห่งเดียว จะคิดว่ากรมวิชาการเก่งอยู่คนเดียวไม่ได้ ต่อไปกรมจะต้องมีหน้าที่ในการกำกับดูแล ต้องเป็นหน่วยตรวจสอบหรือหน่วยรับรอง หรือคอยอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชน โดยรองอธิบดีจะต้องทำงานประจำ ส่วนอธิบดีจะต้องเป็นคนทำโปรเจค
ซีพี ขาดคุณสมบัติแต่กลับผ่านฉลุย
อย่าง ไรก็ตาม หลังจากครม.อนุมัติโครงการ กรมวิชาการเกษตร ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 46 ประกวดราคาจ้างเหมาผลิตต้นยางชำถุง ขนาดการเติบโต 1 ฉัตร ตามพันธุ์ยางที่กรมวิชาการเกษตร แนะนำปี 2546 จำนวน 90 ล้านต้น ราคากลางจัดจ้าง 1,440 ล้านบาท โดยผู้สนใจต้องขอซื้อเอกสารประกวดราคาชุดละ 50,000 บาท พร้อมกับวงเงินค้ำประกันสัญญา 3 ล้านบาท
กรมวิชาการฯ ยังกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาว่า ?จะต้องมีแปลงเพาะต้นกล้าไม่ว่าจะเป็นแปลงเดียว หรือหลายแปลง (รวมกัน) ไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ และจะต้องมีแหล่งกิ่งตายางที่ใช้จากแปลงเพาะขยายพันธุ์ที่จดทะเบียนกับกรม ไม่ว่าจะเป็นแปลงเดียวหรือหลายแปลง (รวมกัน) ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ และมีต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์ยางที่กรมแนะนำไม่น้อยกว่า 120,000 ต้นและจะต้องเสนอรายละเอียดพื้นที่แปลงกล้ายางและทะเบียนแปลงเพาะขยายพันธุ์ ยางในวันยื่นซองประกวดราคา?
ในการเข้าร่วมประมูลครั้งนี้ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เสนอว่า ?บริษัทมีแปลงเพาะต้นกล้าหลายแปลงรวมกันมากกว่า 1,000 ไร่ และจะมีแหล่งกิ่งตายางที่ใช้จากแปลงเพาะขยายพันธุ์ยางที่จดทะเบียนกับกรม หลายแปลงรวมกันมากกว่า 200 ไร่ และมีต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์ยางที่กรมแนะนำมากกว่า 120,000 ต้น?
พร้อม กันนั้น บริษัทได้แนบรายการแสดงเนื้อที่และสถานที่ตั้งของแปลงกิ่งตายาง จำนวน 21 แปลง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตจ.ตรัง (อ.เมือง, อ.ย่านตาขาว,อ.ห้วยยอด, อ.นาโยง, อ.ปะเหลียน อ.สิเกา) และอ.ทุ่งหว้า จ.สตูล รวม 272 ไร่ และแสดงรายการเนื้อที่และสถานที่ตั้งของแปลงยาง รวม 1,961 ไร่ กำลังผลิต 27.445 ล้านต้น
แจ้งเท็จแปลงกิ่งตา ? กล้ายาง
?ผู้จัดการราย วัน? ตรวจสอบข้อมูลข้างต้นเทียบกับทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้า ประจำปี 2546 ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร พบว่า การแสดงเนื้อที่ของแปลงกิ่งตายางของซีพี ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง จำนวน 6 แปลง โดย ซีพี แจ้งเท็จ 85 ไร่ คือ มีแปลงกิ่งตายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เพียง 187 ไร่เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลมีแปลงเพาะขยายพันธุ์ ยาง ไม่น้อยกว่า 200 ไร่
ส่วนแปลงต้นกล้า ที่เงื่อนไขประมูลกำหนดให้มีไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ในเอกสารยื่นประมูลของบริษัท แจ้งมี 1,961 ไร่ แต่เป็นหลักฐานเท็จเมื่อตรวจสอบจากเอกสารทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ฯ ประจำปี 2546 โดยเนื้อที่ที่ขอจดทะบียนฯ กับเนื้อที่ที่บริษัทแจ้งแตกต่างกัน
ทั้ง นี้ บริษัทฯ แจ้งหลักฐานอันเป็นเท็จประกอบการเข้าร่วมประมูลกันถึง 808 ไร่ และอีก 500 ไร่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการฯ รวมพื้นที่จำนวน 1,308ไร่ ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประมูลที่จะต้องมีแปลงกล้ายางที่ขึ้นทะเบียนกับกรม วิชาการฯ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ เพราะข้อเท็จจริงแปลงยางที่ซีพี กล่าวอ้างขึ้นทะเบียนจริงเพียง 653ไร่เท่านั้น (อ่านรายละเอียด ?ซีพี แจ้งเท็จแปลงกิ่งตา - กล้ายาง?)
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุด คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ซึ่งมีนายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร (ขณะนั้น) เป็นประธาน พิจารณาตัดสินให้ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เป็นผู้ชนะประมูล โดยไม่ได้ตรวจสอบคุณสมบัติว่าเป็นไปตามกำหนดหรือไม่
ทางสำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ในเรื่องที่บริษัทผู้เข้าร่วมประมูล 3 บริษัทมีกรรมการที่ถือหุ้นไขว้กัน และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดตีความ ซึ่ง ?ผู้จัดการรายวัน? สอบถามความคืบหน้าจากรักษาการผู้ว่าการสตง. ในการเข้ามาตรวจสอบโครงการนี้ แต่ยังไม่ได้รับคำตอบเพราะต้องรอให้บอร์ดพิจารณาก่อนว่าจะให้ข้อมูลต่อสื่อ ได้หรือไม่
ยุบทิ้งแปลงเพาะกล้าหลังชนะประมูล
ในการ ลงพื้นที่สำรวจผลโครงการฯ ช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ?ผู้จัดการรายวัน? เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการเพาะกล้ายางที่ฟาร์มแสลงพัน ? คำพราน ที่ จ.สระบุรี และฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ในเครือซีพี ด้วย
เจ้า หน้าที่ระดับบริหารของฟาร์มแสลงพัน ? คำพราน ให้ข้อมูลว่า ?เรา (ซีพี) ยุบโครงการปลูกกล้ายางทิ้งไปแล้วตั้งแต่ต้นปี 47 เพราะค่า PH ของดินมีปัญหาเป็นด่างมากประมาณ 7.8-8 กล้ายางที่ควรเขียวหลังเพาะปลูกไปแล้ว 2 เดือน กลับเหลืองแข่งกับทานตะวัน เราใช้เวลาบำรุงนานหลายเดือนด้วยทุกวิธีการแต่ไม่สามารถทำให้ยางเติบโตได้ สุดท้ายก็ยุบทิ้งและใช้พื้นที่ปลูกทานตะวันไปแล้วรอบหนึ่ง?
เจ้า หน้าที่ระดับบริหารของฟาร์มแสลงพันฯ ให้ข้อมูลว่า ซีพี เริ่มเพาะกล้ายางเมื่อเดือน ส.ค. 46 บนเนื้อที่ 70 ไร่ เพาะกล้ายางประมาณ 100,000 ต้น
การดำเนินการเพาะกล้ายางของฟาร์มแสลงพันฯ เกิดขึ้นระหว่างที่กลุ่มซีพี เข้าร่วมประมูลตามประกาศประกวดราคา เลขที่ 4/2546 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 46 ของกรมวิชาการเกษตร และต่อมากลุ่มซีพี ชนะประมูลพร้อมกับทำสัญญาในเดือนพ.ย. 46 ทั้งนี้ เครือซีพี แจ้งต่อกรมวิชาการฯ ว่าแปลงยางที่ฟาร์มแสลงพันฯ มีเนื้อที่ 200 ไร่ กำลังผลิตกล้ายางถึง 3 ล้านต้น ทั้งที่ ช่วงเวลานั้น สภาพกล้ายางของซีพีที่ฟาร์มแสลงพัน ? คำพรานมีปัญหาเกิดขึ้นชัดเจนและสุดท้ายก็ไม่สามารถเพาะกล้ายางได้แม้แต่ต้น เดียว
ขณะที่ฟาร์มกำแพงเพชร ไม่มีแปลงเพาะกล้ายางดังที่แจ้งต่อกรมวิชาการฯว่าฟาร์มแห่งนี้ มีเนื้อที่เพาะกล้า 300 ไร่ กำลังผลิต 4,500,000 ต้น แต่อย่างใด โดยมีเนื้อที่บางส่วนสำหรับยางชำถุง จำนวน 1 ล้านต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของฟาร์มกำแพงเพชร กล่าวยอมรับว่า ปีที่ผ่านมายางชำถุงที่ฟาร์มฯ สามารถส่งมอบได้เพียง 500,000 ต้นเท่านั้นจากที่เพาะชำล้านต้น
?การไม่มีคุณสมบัติ ไม่มีประสบการณ์และความไม่พร้อมของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ซีพี ได้สร้างปัญหาต่อเนื่องให้เกษตรกรรับเคราะห์กรรมและอาจส่งผลให้โครงการนี้ ประสบความล้มเหลวไม่เป็นไปตามเป้าหมาย? เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของสกย.ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง วิเคราะห์
สำหรับ การตั้งข้อสังเกตและพาดพิงถึงเครือซีพี ที่มีปัญหาส่งยางช้าและไม่ได้คุณภาพนั้น ?ผู้จัดการรายวัน? ได้ทำหนังสือขอสัมภาษณ์นายสกล บุญชูดวง รองกรรมการผู้จัดการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ผู้รับมอบอำนาจลงนามเป็นคู่สัญญากับกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 48 เพื่อเปิดโอกาสให้ชี้แจงกรณีที่ถูกเกษตรกรและเจ้าหน้าที่รัฐฯ ในพื้นที่พาดพิงถึงในเรื่องการส่งมอบกล้ายางช้าและไม่ได้คุณภาพ และขอสอบถามถึงผลสรุปโครงการในช่วงปี 47 ที่ผ่านมา การเตรียมความพร้อมส่งมอบยางชำถุงตามสัญญาในปี 48 และ 49 ความพร้อมของแปลงกล้ายางตามสัญญา และข้อมูลอื่นๆ แต่ทางนายสกล ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ โดยให้เลขาฯ หน้าห้องแจ้งว่าติดภารกิจที่ต่างจังหวัด ไม่สามารถติดต่อได้
อย่างไรก็ตาม ?ผู้จัดการ? จะติดตามความคืบหน้า พร้อมนำเสนอข่าวเมื่อได้รับข้อมูลจากฝ่ายที่ถูกพาดพิงถึงในวันข้างหน้า
เผยสตง.เคยคุ้ยทุจริตกล้ายาง
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 18 พฤษภาคม 2548 22:09 น.
ผู้ จัดการรายวัน- เผยสตง.ได้กลิ่นกล้ายางมีฮั้ว เคยส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและถามรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ แต่ยังไม่ทันความจริงปรากฎ "คุณหญิงจารุวรรณ" โดนเล่นงานก่อน "สุดารัตน์" ขอเวลาอีก 2 วันก่อนพิจารณาจะดำเนินการอย่างไร แฉ สส.ไทยรักไทยเหนือ-อีสาน ร่วมขบวนส่งกล้ายางให้ซีพี ทั้งที่ไม่มีประสบการณ์ทำแปลงกล้ายางมาก่อน หวั่นเกิดปัญหาต่อคุณภาพกล้ายางในอนาคต ขณะที่ซีพีเตรียมพานักข่าวร่วมพิสูจน์พื้นที่เสียหาย ยืนยันกล้ายางที่ส่งมอบแล้ว ซีพี ไม่รับผิดชอบ
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีกล้ายาง 90 ล้านต้นในโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ว่า จนถึงขณะนี้ตนก็ยังไม่ได้รับรายงานจากหน่วยงานใดเลยว่ามีความคืบหน้าไปมาก น้อยแค่ไหน ดังนั้นจะให้เวลาอีก 2 วันสรุปเรื่องรายงานขึ้นมา เพื่อที่จะสรุปว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ส่วนข้อเสนอที่ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่บริษัทซีพี กับกรมวิชาการเกษตรนั้น ก็ต้องดูรายงานก่อนสรุป ตนยังไม่เคยเห็นสัญญา แต่จะขอดูรวดเดียวทั้งหมด
ทั้งนี้คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น นายกรัฐมนตรีเองก็ไม่ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษเพราะท่านให้นโยบายไปแล้วว่าให้ หาข้อเท็จจริงให้ได้เพราะกระทบกับเกษตรกรโดยตรง ส่วนการลงพื้นที่เพื่อเอ็กซ์เรย์แปลงกล้ายางที่ตายลงเป็นจำนวนมากนั้น ก็เป็นเรื่องที่สมควรจะทำอย่างเร็วที่สุด
แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรณีที่มีข้อครหาถึงความไม่โปร่งใสในขั้นตอนการประมูลว่ามีการฮั้วประมูลกัน ระหว่างบริษัทเอกชน 3 รายที่เข้าร่วมประมูล ทางสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้ตรวจพบและสอบถามมาทางรัฐมนตรีที่กำกับดูแลเรื่องนี้ และได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบกล้ายางและการส่งมอบกล้ายาง อย่างไรก็ตามก่อนที่จะได้รับคำตอบ ก็มีการดำเนินการเพื่อทำให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฆกา ผู้ว่าการสตง. ออกจากตำแหน่ง
แหล่งข่าวจากกรรมาธิการการเกษตร สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้มี ส.ส.ไทยรักไทยภาคเหนือและอีสานยอมรับว่า รับเป็นตัวแทนจากบริษัทซีพีในการผลิตกล้ายางโดยไม่ให้รายละเอียดอย่างอื่น และไม่มีการเซ็นสัญญา ทั้งที่ ส.ส.เหล่านั้นไม่มีประสบการณ์ตรงในการผลิต จึงได้ไปกว้านซื้อจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีการปลอมปนยางพื้นเมืองร่วมด้วย หากตรวจสอบพบและคัดออกก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าตรวจไม่พบก็ถือเป็นกรรมของเกษตรกรที่ต้องปลูกยางพื้นเมืองที่ไม่ให้ผล ผลิต
"เท่าที่ทราบซีพีไม่ได้เซ็นต์สัญญากับตัวแทนเหล่านี้ด้วย บริษัทฯ ให้ข้อมูลแต่เพียงว่า ต้องการกล้ายางเป็นจำนวนมาก ใครผลิตได้เท่าไรรับไม่อั้น จึงได้มีการกว้านซื้อต้นกล้ากันชนิดไม่มีการตรวจสอบ แต่ประเด็นที่สำคัญคือเรื่องสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เพราะไม่มีเกษตรกรที่ไหนเขาปลูกยางกันเดือนสิงหาคม และโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและอิสานนั้น ในช่วงเดือนดังกล่าวเกือบไม่มีฝนแล้ว ไม่เหมือนภาคใต้ที่เพิ่งเข้าฤดูฝนและสามารถส่งมอบในเดือนนี้ได้ แม้จะไม่ควรส่งมอบก็ตาม" แหล่งข่าวระบุ
นายสุเมธ ภิญโญสนิท กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 24 พ.ค.เป็นต้นไป ทางบริษัทเตรียมพาคณะสื่อมวลชน ไปร่วมตรวจสอบความเสียหายในพื้นที่ แถบภาคอีสาน โดยขณะนี้ทางสำนักประชาสัมพันธ์ของบริษัทอยู่ระหว่างกำหนดวันเวลาและสถานที่ ที่ชัดเจนอีกครั้ง
นายสุเมธ กล่าวถึงกรณีสัญญาข้อ 20(2) ที่เปิดช่องให้ภาครัฐเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมเกินกว่าค่าปรับตามสัญญากรณี เกิดความเสียหายว่า ขอบเขตความรับผิดชอบของบริษัทตามสัญญาคือในส่วนของกล้ายางและคุณภาพของกล้า ยาง แต่หากเกิดกรณีความเสียหายหลังจากการส่งมอบ ตามที่เป็นข่าว ทางบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งก็เป็นเงื่อนไขตามที่สัญญากำหนด
สำหรับกรณีที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันรายงานข่าว การแจ้งเท็จกรณีแปลงกิ่งตายางที่ จ.สระบุรี นายสุเมธ กล่าวว่า ทางบริษัทได้ยุบโครงการแปลงกล้ายาง ฟาร์มแสลงพัน - คำพราน จ.สระบุรี ตามที่เป็นข่าวจริง เนื่องจากที่ดินไม่เหมาะสมในการเพาะกล้าพันธุ์ แต่เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหากับทางบริษัทและโครงการ เพราะยังมีแปลงกล้ายางที่ ฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ที่มีการผลิตกล้ายางได้มากเกินกว่าความต้องการของโครงการด้วยซ้ำ
ส่วนการแก้ไขสัญญาเพื่อให้ส่งมอบเร็วขึ้นจากสัญญา 1 เดือน หรือสิ้นสุดการส่งมอบในเดือนกรกฎาคมนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทสำรวจความพร้อมในพื้นที่ ทั้งความพร้อมในเรื่องของกล้ายางและความพร้อมของเกษตรกร ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถแก้สัญญาได้หรือไม่ แต่ยืนยันได้ 90% ว่าจะสามารถทำได้
นายนพดล สวนประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่ามีเกษตรกรบางส่วนได้สละสิทธิ์ เข้าร่วมโครงการ แต่ในความรู้สึกคิดว่ายังไม่มาก ตอนนี้อยู่ระหว่างรอรับรายงานอย่างเป็นทางการ เพื่อแก้ปัญหาล่วงหน้าในฤดูกาลต่อไป
"ฉกรรจ์"ซุ่มเงียบลงพื้นที่หนองคาย
จากการตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ทั้ง สกย. –สำนักงานเกษตรจังหวัดหวัด หรือแม้แต่นายอำเภอ กรณีทีมีข่าวว่านายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและคณะฯ จะลงพื้นที่ตรวจสอบกล้ายางที่ได้รับความเสียหายจากโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ในวันที่ 18 พ.ค.เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานต่างปฏิเสธว่า คณะของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ลงพื้นที่ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สกย.จังหวัดหนองคายรายหนึ่งกล่าวว่า เท่าที่ทราบคณะของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรจะเดินทางมาปฏิบัติราชการในพื้นที่ อำเภอโพนพิสัย จ.หนองคาย ในวันนี้ (19 พ.ค.) แต่จะมาในหมู่บ้านและตำบลใดนั้นไม่ได้รับการแจ้งรายละเอียดเข้ามา
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000066112
ผู้ จัดการรายวัน- เผยสตง.ได้กลิ่นกล้ายางมีฮั้ว เคยส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและถามรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ แต่ยังไม่ทันความจริงปรากฎ "คุณหญิงจารุวรรณ" โดนเล่นงานก่อน "สุดารัตน์" ขอเวลาอีก 2 วันก่อนพิจารณาจะดำเนินการอย่างไร แฉ สส.ไทยรักไทยเหนือ-อีสาน ร่วมขบวนส่งกล้ายางให้ซีพี ทั้งที่ไม่มีประสบการณ์ทำแปลงกล้ายางมาก่อน หวั่นเกิดปัญหาต่อคุณภาพกล้ายางในอนาคต ขณะที่ซีพีเตรียมพานักข่าวร่วมพิสูจน์พื้นที่เสียหาย ยืนยันกล้ายางที่ส่งมอบแล้ว ซีพี ไม่รับผิดชอบ
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีกล้ายาง 90 ล้านต้นในโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ว่า จนถึงขณะนี้ตนก็ยังไม่ได้รับรายงานจากหน่วยงานใดเลยว่ามีความคืบหน้าไปมาก น้อยแค่ไหน ดังนั้นจะให้เวลาอีก 2 วันสรุปเรื่องรายงานขึ้นมา เพื่อที่จะสรุปว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ส่วนข้อเสนอที่ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่บริษัทซีพี กับกรมวิชาการเกษตรนั้น ก็ต้องดูรายงานก่อนสรุป ตนยังไม่เคยเห็นสัญญา แต่จะขอดูรวดเดียวทั้งหมด
ทั้งนี้คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น นายกรัฐมนตรีเองก็ไม่ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษเพราะท่านให้นโยบายไปแล้วว่าให้ หาข้อเท็จจริงให้ได้เพราะกระทบกับเกษตรกรโดยตรง ส่วนการลงพื้นที่เพื่อเอ็กซ์เรย์แปลงกล้ายางที่ตายลงเป็นจำนวนมากนั้น ก็เป็นเรื่องที่สมควรจะทำอย่างเร็วที่สุด
แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรณีที่มีข้อครหาถึงความไม่โปร่งใสในขั้นตอนการประมูลว่ามีการฮั้วประมูลกัน ระหว่างบริษัทเอกชน 3 รายที่เข้าร่วมประมูล ทางสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้ตรวจพบและสอบถามมาทางรัฐมนตรีที่กำกับดูแลเรื่องนี้ และได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบกล้ายางและการส่งมอบกล้ายาง อย่างไรก็ตามก่อนที่จะได้รับคำตอบ ก็มีการดำเนินการเพื่อทำให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฆกา ผู้ว่าการสตง. ออกจากตำแหน่ง
แหล่งข่าวจากกรรมาธิการการเกษตร สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้มี ส.ส.ไทยรักไทยภาคเหนือและอีสานยอมรับว่า รับเป็นตัวแทนจากบริษัทซีพีในการผลิตกล้ายางโดยไม่ให้รายละเอียดอย่างอื่น และไม่มีการเซ็นสัญญา ทั้งที่ ส.ส.เหล่านั้นไม่มีประสบการณ์ตรงในการผลิต จึงได้ไปกว้านซื้อจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีการปลอมปนยางพื้นเมืองร่วมด้วย หากตรวจสอบพบและคัดออกก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าตรวจไม่พบก็ถือเป็นกรรมของเกษตรกรที่ต้องปลูกยางพื้นเมืองที่ไม่ให้ผล ผลิต
"เท่าที่ทราบซีพีไม่ได้เซ็นต์สัญญากับตัวแทนเหล่านี้ด้วย บริษัทฯ ให้ข้อมูลแต่เพียงว่า ต้องการกล้ายางเป็นจำนวนมาก ใครผลิตได้เท่าไรรับไม่อั้น จึงได้มีการกว้านซื้อต้นกล้ากันชนิดไม่มีการตรวจสอบ แต่ประเด็นที่สำคัญคือเรื่องสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เพราะไม่มีเกษตรกรที่ไหนเขาปลูกยางกันเดือนสิงหาคม และโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและอิสานนั้น ในช่วงเดือนดังกล่าวเกือบไม่มีฝนแล้ว ไม่เหมือนภาคใต้ที่เพิ่งเข้าฤดูฝนและสามารถส่งมอบในเดือนนี้ได้ แม้จะไม่ควรส่งมอบก็ตาม" แหล่งข่าวระบุ
นายสุเมธ ภิญโญสนิท กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 24 พ.ค.เป็นต้นไป ทางบริษัทเตรียมพาคณะสื่อมวลชน ไปร่วมตรวจสอบความเสียหายในพื้นที่ แถบภาคอีสาน โดยขณะนี้ทางสำนักประชาสัมพันธ์ของบริษัทอยู่ระหว่างกำหนดวันเวลาและสถานที่ ที่ชัดเจนอีกครั้ง
นายสุเมธ กล่าวถึงกรณีสัญญาข้อ 20(2) ที่เปิดช่องให้ภาครัฐเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมเกินกว่าค่าปรับตามสัญญากรณี เกิดความเสียหายว่า ขอบเขตความรับผิดชอบของบริษัทตามสัญญาคือในส่วนของกล้ายางและคุณภาพของกล้า ยาง แต่หากเกิดกรณีความเสียหายหลังจากการส่งมอบ ตามที่เป็นข่าว ทางบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งก็เป็นเงื่อนไขตามที่สัญญากำหนด
สำหรับกรณีที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันรายงานข่าว การแจ้งเท็จกรณีแปลงกิ่งตายางที่ จ.สระบุรี นายสุเมธ กล่าวว่า ทางบริษัทได้ยุบโครงการแปลงกล้ายาง ฟาร์มแสลงพัน - คำพราน จ.สระบุรี ตามที่เป็นข่าวจริง เนื่องจากที่ดินไม่เหมาะสมในการเพาะกล้าพันธุ์ แต่เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหากับทางบริษัทและโครงการ เพราะยังมีแปลงกล้ายางที่ ฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ที่มีการผลิตกล้ายางได้มากเกินกว่าความต้องการของโครงการด้วยซ้ำ
ส่วนการแก้ไขสัญญาเพื่อให้ส่งมอบเร็วขึ้นจากสัญญา 1 เดือน หรือสิ้นสุดการส่งมอบในเดือนกรกฎาคมนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทสำรวจความพร้อมในพื้นที่ ทั้งความพร้อมในเรื่องของกล้ายางและความพร้อมของเกษตรกร ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถแก้สัญญาได้หรือไม่ แต่ยืนยันได้ 90% ว่าจะสามารถทำได้
นายนพดล สวนประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่ามีเกษตรกรบางส่วนได้สละสิทธิ์ เข้าร่วมโครงการ แต่ในความรู้สึกคิดว่ายังไม่มาก ตอนนี้อยู่ระหว่างรอรับรายงานอย่างเป็นทางการ เพื่อแก้ปัญหาล่วงหน้าในฤดูกาลต่อไป
"ฉกรรจ์"ซุ่มเงียบลงพื้นที่หนองคาย
จากการตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ทั้ง สกย. –สำนักงานเกษตรจังหวัดหวัด หรือแม้แต่นายอำเภอ กรณีทีมีข่าวว่านายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและคณะฯ จะลงพื้นที่ตรวจสอบกล้ายางที่ได้รับความเสียหายจากโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ในวันที่ 18 พ.ค.เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานต่างปฏิเสธว่า คณะของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ลงพื้นที่ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สกย.จังหวัดหนองคายรายหนึ่งกล่าวว่า เท่าที่ทราบคณะของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรจะเดินทางมาปฏิบัติราชการในพื้นที่ อำเภอโพนพิสัย จ.หนองคาย ในวันนี้ (19 พ.ค.) แต่จะมาในหมู่บ้านและตำบลใดนั้นไม่ได้รับการแจ้งรายละเอียดเข้ามา
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000066112
ทุจริตกล้ายางพารา -- โกงยกกำลัง 3
โดย "เซี่ยงเส้าหลง" และทีมข่าวการเมือง 19 พฤษภาคม 2548 11:53 น.
กรณีทุจริตกล้ายางพารามีอะไรกันนักหนาหรือ “ผู้จัดการรายวัน” ถึงให้ความสำคัญเป็นทั้งข่าวนำหน้า 1 และรายงานพิเศษต่อ เนื่องมาเป็นสัปดาห์ ๆ มี Hidden Agenda อย่างไรหรือ วันนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” ขออนุญาตใช้เนื้อที่ตรงนี้จับเข่าคุยกับผู้อ่านเล่าให้ฟังด้วยภาษาชาวบ้าน
กรณีนี้ อย่าว่าแต่จะต้องเร่งรวมพลังเฉดหัวนักการเมืองที่รับผิดชอบให้พ้นออกจากการร่วมบริหารประเทศและดำเนินคดีเลย
มันน่านำโทษานุโทษในอดีต “กุดหัวเจ็ดชั่วโคตร” กลับมาใช้เสียด้วยซ้ำ !
เพราะมันเป็นการโกงกันอย่างบูรณาการ หรือบูรณาโกง ที่แสดงให้เห็นภาพของคำ “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย” อย่างเป็นรูปธรรม
เพราะมันเป็นการโกงอย่างแฮ็ตทริก หรือโกงยกกำลัง 3 ที่จะให้ผล 3 ชั้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตอีก 5 – 7 ปีข้างหน้า
...โกงเกษตรกรคนยากคนจน
...ที่เสมือนเป็นการฆ่าให้ตายในวันนี้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะไปตายในอีก 5 – 7 ปีข้างหน้า
...และยังจะเป็นการทำลายรายได้ของชาติจากการส่งออก
มาไล่กันพิจารณาทีละขั้นตอน
...................
เวิลด์แบงก์ให้คะแนนการจัดการกับการทุจริตของประเทศไทย 49 จาก 100
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรไม่พอใจนสพ.มติชนที่พาดหัวแบบไม่ช่วยรัฐบาล แสดงธาตุแท้อารมณ์ดั้งเดิมที่เป็นเจ้าเรือน ถึงกับเอ่ยชื่อประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ทวงบุญคุณหนังสือพิมพ์ อาจจะเป็นเพราะประจวบเหมาะกับในระยะนี้นับตั้งแต่ได้ชัยชนะ 377 เสียงกลับมีแต่ข่าวการทุจริตคอร์รัปชั่นในเรื่องต่าง ๆ มาเป็นระยะ ๆ
น่า สังเกตไหมว่า ปี 2548 นี้ผ่านไปแค่ 5 เดือน ถ้าไม่นับกรณีสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว มีเรื่องของการทุจริตในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสียเป็นส่วนใหญ่
กระทรวงเกษตรฯจัดเป็นกระทรวงเกรด A ของบรรดานักการเมืองมาแต่ไหนแต่ไร
วิธีการที่นักการเมืองเขาจำแนกแบ่งเกรดของกระทรวงทบวงกรมเขาดูกันที่ งบประมาณ, อำนาจอิทธิพล และช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ ผสมผสานกันไป
อย่างกรณีกระทรวงศึกษาธิการ ถึงแม้ว่าจะได้รับจัดสรรงบประมาณมากกว่ากระทรวงอื่น ๆ แต่เพราะเป็นกระทรวงใหญ่ รายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประจำ ไม่มีรายจ่ายประเภท “จัดซื้อ, จัดจ้าง” มาก ก็เลยเป็นกระทรวงเกรด B
งบประมาณที่กระทรวงเกษตรฯได้ไปในปีงบประมาณ 2548 คือ 52,409.9 ล้านบาท
มากเป็นลำดับ 6
รองจากกระทรวงศึกษาธิการ (1) กระทรวงการคลัง (2) กระทรวงมหาดไทย (3) กระทรวงกลาโหม (4) และกระทรวงคมนาคม (5)
ช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ในกระทรวงเกษตรฯเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง, การก่อสร้าง และทรัพยากรธรรมชาติ
ในยุคก่อน คนส่วนใหญ่มักจะมองผลประโยชน์ของกระทรวงเกษตรฯ เฉพาะ 2 กรมหลัก ๆ คือกรมป่าไม้และกรมชลประทาน แต่ข้อเท็จจริง ณ วันนี้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะเชื้อร้ายของการทุจริต การแสวงหาประโยชน์ การละเมิดหลักธรรมาภิบาล ลามลึกแผ่ขยายครอบคลุมกรมอื่น ๆ ของกระทรวงนี้ไปแทบทั้งหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมที่เกี่ยวกับวิชาการ !
ลำพังการคอร์รัปชั่น เกิดขึ้นที่ไหนหรือที่กระทรวงใด มันก็เลวร้ายอยู่แล้ว แต่หากเกิดขึ้นในกระทรวงเกษตรฯ ความเลวร้ายดังกล่าวจะยิ่งทวีขึ้นเป็น 2 เท่า
เพราะ ว่ามันเป็นการทำมาหากินบนน้ำตาและความทุกข์ยากของประชาชนคนชั้นล่าง ซึ่งพวกเขาแทบจะไม่มีโอกาสในทางสังคมเทียบเท่าคนในกลุ่มอื่น ๆ อยู่แล้ว
ช่องทางการทุจริตในกระทรวงเกษตรฯส่วนใหญ่ ตั้งเรื่องขึ้นมาจากเหตุความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน
ข่าวความอื้อฉาวในโครงการส่งเสริมปลูกยางพาราล้านไร่ ของกระทรวงเกษตรฯที่ถูกเปิดเผยขึ้นมา เพราะหลักฐานประจักษ์ชัดจากผลเสียหายของกล้ายางที่เกษตรกรนำไปปลูกตายไปกว่า ครึ่ง บางรายถึงกับตายยกแปลง ได้รับคำอธิบายง่าย ๆ จากกรมวิชาการเกษตร และนักการเมืองจอมโปรเจกต์ที่ดูแลกรมนี้ในทางปฏิบัติต่อเนื่องมา 8 ปี ว่าเป็นเพราะภัยแล้ง และเกษตรกรดูแลไม่ดี ขณะที่เครือซีพีที่ชนะประมูลส่งมอบกล้ายางก็ออกมากล่าวโทษระบบชลประทานของ ประเทศที่ไม่ได้เรื่อง จึงทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น
แก้ตัวกันไปน้ำขุ่น ๆ
ใจบาปหยาบช้าถึงขั้นโทษเทวดาฟ้าดินไปโน่น
พอเริ่มจำนนต่อหลักฐาน ก็คิดอ่านจะแก้ผ้าเอาหน้ารอดกันง่าย ๆ ด้วยการแก้ระเบียบโน่นนิดนี่หน่อย และจะตั้งนักวิชาการท้องถิ่นเข้ามาเป็นกรรมการตรวจรับกล้ายางในแต่ละงวดด้วย
อยาก ให้นักวิชาการท้องถิ่นอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ให้ดี ๆ แล้วเร่งถอยออกไปห่าง ๆ อย่ามารับบท “พายเรือให้โจรนั่ง” หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง...
อย่ามาบำเพ็ญตนเป็น “ชุมพล ศิลปอาชา” ให้กับ “สุชน ชาลีเครือ” เลย
(ประเด็นหลังนี้ – โปรดติดตามอ่านในต้นสัปดาห์หน้า)
........................
โครงการส่งเสริมปลูกยางพารา 1 ล้านไร่เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมีดำริริเริ่มตามข้อเสนอของนักการเมืองจอมโปรเจกต์นั้น เป็นโครงการที่มีหลักการดี ที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้ยากไร้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการขยายพื้นที่ปลูกยางในภาคเหนือและภาค อีสาน เมื่อเดือนมีนาคม 2546 ในโอกาสที่เดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่คณะกรรมการบริหารและคณะผู้ บริหารรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบงานด้านยาง 2 หน่วยงาน
ส.ก.ย. -- สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
อ.ส.ย. -- องค์การสวนยาง
หากดูต้นเรื่อง ดูการมอบนโยบายแล้ว หน่วยงานหลักที่ควรจะเข้ามาทำโครงการนี้ เพราะมีความเชี่ยวชาญและรับผิดชอบงานด้านยางโดยตรง ก็ควรจะเป็นส.ก.ย. หรืออ.ส.ย. เพราะมีเจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องยางดีกระจายครอบคลุมอยู่ทุกพื้นที่ทั่ว ประเทศ
แต่กรมวิชาการเกษตรที่มีเจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องยางพาราอยู่เพียงหยิบมือเดียวกลับเป็นผู้เข้ามารับผิดชอบ
โครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่ง ปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 พื้นที่ปลูกยาง 1 ล้านไร่ แบ่งเป็นเขตภาคอีสาน 700,000 ไร่ และภาคเหนือ 300,000 ไร่
กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบทั้ง
- การกำหนดเขตพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม
- การตรวจสอบ ควบคุม และจัดหาพันธุ์ยาง
ส.ก.ย.รับผิดชอบการฝึกอบรม การควบคุม กำกับ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปลูกยางของโครงการ
และให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบจัดหาสินเชื่อ
คำถามก็คือ ทำไมถึงต้องเป็นกรมวิชาการเกษตร ?
เป็นเพราะข้าราชการกรมวิชาการเกษตร สั่งขวาหันซ้ายหันได้ – ใช่ไหม ?
เพราะถ้าเป็น ส.ก.ย. ก็จะมีคนนอกเข้ามาร่วมเป็นบอร์ดอยู่ด้วย จะสั่งซ้ายหันขวาหันไม่ได้ – ใช่ไหม ?
ตรงนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการตั้งเรื่องตั้งโครงการของนักการเมืองมาก เพราะเป็นตัวชี้ว่าโครงการนั้น ๆ จะเก็บเกี่ยวได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ ข้อมูลความลับต่าง ๆ จะหลุดรั่วไปถึงฝ่ายค้านหรือสื่อหรือไม่ ทำให้เสียจังหวะหรือไม่
เหตุที่ต้องตั้งคำถามว่าทำไมกรมวิชาการเกษตรต้องเข้ามาทำโครงการ ก็เพราะถ้าไปดูพันธกิจหรือหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร จะเขียนเอาไว้ชัดเจนว่า
“บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรองและให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิตและผลิตภัณฑ์พืช เพื่อให้บริการการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ โดยมียุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและพัฒนาพืช การบริการวิชาการด้านพืช”
อันนี้ชัดเจน ไปทบทวนตรวจสอบบทบาทหน้าที่ของกรมนี้ได้
กรมวิชาการเกษตรไม่ได้มีหน้าที่จัดหาจัดซื้อพันธุ์พืชหรือส่งเสริมด้านพืช
เพราะกรมที่มีหน้าที่นี้โดยตรงก็คือ กรมส่งเสริมการเกษตร
โครงการจัดซื้อจัดหานี่แหละที่เป็นช่องทางสำคัญในการคอร์รัปชั่น รับสินบาทคาดสินบน ชักเปอร์เซ็นต์ เอกชนที่ผูกขาดทำมาหากินกันอยู่ก็จะได้ขายของที่ซื้อมาถูก ๆ แล้วมาขายต่อให้รัฐแพง ๆ และที่ผ่านมากรมที่มีหน้าที่นี้โดยตรง ก็เคยอื้อฉาวสุด ๆ
ที่สังคมไทยจำกันได้แม่น รู้จักกันดี ก็กรณี “ผักสวนครัวรั้วกินได้” เมื่อปี 2541
กระทั่งมีอยู่พักหนึ่งที่กระทรวงเกษตรฯมีนโยบายห้ามไม่ให้หน่วยงาน ของรัฐเป็นผู้จัดหาปัจจัยการผลิต แต่ตอนนี้ก็คงเลิกกันไปแล้ว และมีโครงการจัดซื้อจัดหาแจกปัจจัยการผลิต เพื่อทำมาหากินกันเหมือนเคย
โครงการยางล้านไร่ ก็ไม่ต่างไปจากโครงการส่งเสริมอื่นๆ
เข้าสูตรสำเร็จ
นักการเมืองตั้งโครงการ -- ข้าราชการเป็นคนชง – ล็อกสเปกเอาเอกชนขาประจำเข้ามาเป็นผู้ได้รับงานไป
เมื่อได้รับการเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีให้ขยายพื้นที่ปลูกยางได้ในเขต อีสานและเหนือ นักการเมืองคนโปรดก็กลับมาทำการบ้านเสนอเรื่องผ่านตามขั้นตอนเข้าสู่การ พิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยยกแม่น้ำทั้งห้าให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
โดยเฉพาะผลดีที่จะเกษตรกรจะสามารถลืมตาอ้าปากได้เพราะโครงการนี้ถึง 142,850 รายที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าว ครอบครัวละ 20,000 – 30,000 กว่าบาทต่อปี
จะมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและแรงงานภาคเกษตรไม่น้อยกว่า 150,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานกรีดยางจะมีรายได้ดี สม่ำเสมอตลอดทั้งปี
นอกจากนั้น รัฐบาลยังจะได้ผลประโยชน์จากผลผลิตยางของประเทศที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่ายาง 7,700 ล้านบาท/ปี และหากนำยางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และส่งออก จะมีรายได้จากการส่งออก 38,500 ล้านบาท
สภาพแวดล้อมก็จะดีขึ้นด้วย
ฟังดูดี และมีความเป็นไปได้ เพราะเวลานี้ราคายางก็มีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ยางเทียมที่เป็นบายโปรดักส์จากน้ำมันสูงขึ้นตามภาวะราคา น้ำมันที่มีแต่จะพุ่งทะยานตามดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นแต่ซัปพลายน้อยลง
ฟังกันเคลิ้มจนกระทั่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีไม่มีใครตั้งคำถามเลยว่า เหตุใดกระทรวงเกษตรฯจึงมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร ซึ่งไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งที่กระทรวงเกษตรฯเองมีหน่วยงานดูแลเรื่องยางโดยเฉพาะอยู่ถึง 2 หน่วย คือ ส.ก.ย. กับ อ.ส.ย.
ถามว่าการตั้งเรื่องอย่างนี้ – คอร์รัปชั่นในเชิงนโยบายหรือไม่ ?
แต่ไม่ว่าคำตอบจะออกมาอย่างไร มติครม.เห็นชอบให้ดำเนินโครงการนี้ตามที่กระทรวงเกษตรฯเสนอ ก็นับเป็นการยืมมือครม.มาการันตีความถูกต้อง โครงการดำเนินไปอย่างที่ไม่ควรจะเป็นตั้งแต่ต้น
เสมือนการปฏิบัติภารกิจที่ผิดฝาผิดตัว ซึ่งมีแต่จะสร้างปัญหาตามมา
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติแล้ว กรมวิชาการเกษตรก็ดำเนินเรื่องต่อด้วยการเปิดประมูลหาเอกชนมาผลิตยางชำถุง
ถึงขั้นนี้แล้วหากต้องการล็อกสเปกเอาเอกชนที่รับงานผูกกันเป็นขาประจำก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ออก TOR หรือข้อกำหนดหลักเกณฑ์ในการเข้าประกวดราคาที่สามารถกีดกันผู้ร่วมประมูลราย อื่น ๆ อย่างเช่นเรื่องพันธุ์ยาง ส่วนใหญ่ที่ทำกันอยู่ในบ้านเราก็จะเป็นเกษตรกรรายเล็กรายย่อยที่รวมตัวกัน เป็นสหกรณ์ หรือทำเดี่ยว ๆ บริษัทใหญ่ ๆ ไม่ค่อยมี ก็ออกว่าต้องการยางชำถุงจำนวน 90 ล้านต้น โดยให้บริษัทเดียวรับเหมาไปทำ แล้วส่งมอบให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ แทนที่จะกระจายไปยังพื้นที่และเปิดโอกาสให้รายเล็กรายย่อยที่เขามี ประสบการณ์ทำพันธุ์ขายอยู่ก่อน
เหมือนกรณีลำไยอบแห้ง ที่ว่าจ้างให้บริษัทปอเฮง รับอบแห้งรายเดียว ส่วนรายย่อยถ้าอยากทำก็ต้องมาเป็นลูกช่วง ทำตัวเป็นโบรกเกอร์กินส่วนต่าง
นอกจากนั้น ก็กำหนดให้ผู้เข้าประมูลวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญาสูงถึง 72 ล้านบาท เพราะมูลค่าโครงการสูงถึง 1,400 กว่าล้าน
การกำหนด TOR อย่างนี้รายเล็กรายย่อยไม่มีโอกาสอยู่แล้ว
TOR ที่ออกมาจึงล็อกสเปกเอาไว้บางจุด แต่บางจุดต้องเปิดเอาไว้เพื่อให้เอกชนที่ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องยางเข้ามาร่วมได้
ทำกันถึงขนาดว่า ใน TOR ของโครงการที่ต้องส่งมอบพันธุ์ยางถึง 90 ล้านต้นนี้ไม่ได้ระบุแม้แต่น้อยว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลต้องมีประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญด้านยางพารามา ก่อน และต้องมีแปลงกิ่งพันธุ์ยาง แปลงกล้ายางของตนเองด้วย มีกำหนดไว้เพียงกว้าง ๆ ว่า เป็นผู้ที่มีอาชีพจำหน่ายพันธุ์พืชมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา ในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดหาพันธุ์ ระบุเพียงว่าผู้เสนอราคาจะต้องมีแปลงเพาะต้นกล้าไม่ว่าจะเป็นแปลงเดียวหรือ หลายแปลงรวมกันไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ และจะต้องมีแหล่งกิ่งตายางที่ใช้จากแปลงเพาะขยายพันธุ์ที่จดทะเบียนกับกรม วิชาการเกษตร แปลงเดียวหรือหลายแปลงรวมกัน ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ และมีต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์ยางที่กรมแนะนำไม่น้อยกว่า 120,000 ต้น
TOR ไม่ได้ระบุว่าผู้เสนอราคาจะต้องมีแปลงของตนเอง ขอเพียงให้มีจะรวบรวมแล้วเช่าแปลงมาจากบุคคลอื่นก็ได้
นั่นคือการล็อกสเปกในจุดที่คู่แข่งขันรายอื่นจะเข้ามาสู้ได้ และเปิดกว้างสำหรับข้อที่เป็นจุดอ่อนของบริษัทคู่ขาประจำ
ถัดจากนั้น ก็เตรียมการในขั้นที่ 2 คือ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ซึ่งจะต้องเป็น “เด็กในคาถา” สั่งซ้ายหันขวาหันได้ เก็บกำความลับได้
นั่นคือกุญแจที่สำคัญและโครงการปลูกยางล้านไร่
ปรากฏผลว่า – เครือซีพีชนะประมูล ทั้ง ๆ ที่ปรากฏหลักฐานชัดว่า การเสนอแปลงกิ่งตายางและแปลงกล้ายางของบริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้าประจำปี 2546 ไม่ถูกต้องตรงกัน ถือเป็นการแจ้งเท็จ ไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ TOR กำหนด
แต่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เป็น “เด็กในคาถา” จะหาใครมาตรวจสอบรายละเอียดในจุดนี้
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาตรวจสอบพบเรื่องนี้ และได้ติดต่อสอบถามไปยังนักการเมืองที่ดูแล
มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแปลงกล้ายางและการส่งมอบกล้ายาง
แต่ก็มีอันต้องเกิดเหตุเกี่ยวกับตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของท่านเสียก่อน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกมาการันตีในการแถลงข่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า มีการลงไปตรวจสอบแปลงยางตามที่บริษัทเสนอเข้ามาทุกแปลง แต่ไม่กล้าแสดงเอกสารหลักฐานใด ๆ ต่อสาธารณะว่ามีการเข้าไปตรวจสอบจริงหรือไม่
ก็ ไม่รู้ว่าวันนี้ “หลักฐาน” การตรวจสอบของสตง.ในยุคคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาจะมีอันสลายหายสูญไปหลังถูกขบวนกังฉินยึดอำนาจอย่างแยบยลหรือไม่
ประเด็นนี้ต้องสะสางให้กระจ่าง เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้
เพราะเมื่อบริษัทที่ชนะประมูล ไม่มีแปลงกิ่งตาพันธุ์ ไม่มีแปลงกล้ายางดังที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติ ก็ทำให้ยางชำถุงที่จะส่งมอบให้แก่เกษตรกรนั้นไม่เพียงพอ ไม่ได้คุณภาพ ตามสัญญาที่ตกลงกัน
และยังเป็นที่มาของการกว้านซื้อยางที่เอา “กิ่งตาสอย” ที่สอยจากยางต้นแก่แล้วมาติดตาส่งมอบปะปนเข้ามาในโครงการ
ซึ่งจะเห็นผลอีก 7 ปีข้างหน้าเมื่อถึงเวลากรีดแล้วจะมีน้ำยางน้อยหรือไม่มีน้ำยางเลย
ยางที่มีน้ำยางน้อยหรือไม่มีน้ำยาง – ก็ไม่ต่างกับ “วัวพลาสติก” ในอดีต
การทำแบบนี้ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา
.........................
ย้อนกลับมาดูเรื่องสัญญาที่กรมวิชาการเกษตรทำกับเครือซีพี จะเห็นว่ากรมวิชาการเกษตรเอื้ออาทรต่อซีพีอย่างมาก
เอื้ออาทรถึงขั้นที่ว่า -- ทำผิดหลักวิชาการการปลูกยางที่กรมวิชาการเกษตรฯให้คำแนะนำต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเลยก็ว่าได้
นั่นคือ หลักวิชาการแนะนำว่าควรปลูกยางในต้นฤดูฝน หมายถึงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เพื่อให้ยางสามารถยืนต้นได้ในช่วงฤดูฝน คือถึงเดือนกรกฎาคม ส่วนเดือนสิงหาคมไม่ควรปลูกแล้ว เพราะเสี่ยงกับฝนทิ้งช่วงและหมดฝน เพราะภาคอีสานกับภาคเหนือไม่เหมือนกับภาคใต้ที่เดือนสิงหาคมก็ยังมีฝนอยู่ จะใช้เกณฑ์เดียวกันไม่ได้ เพราะสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศต่างกัน
แต่สัญญาที่กรมวิชาการเกษตรทำกับซีพีเป็นอย่างไร – มาดูกัน...
ใน ปีแรก 2547 กำหนดส่งมอบ 4 งวด คือ 31 พ.ค. 47 จำนวน 1.8 ล้านต้น, 30 มิ.ย. 47 จำนวน 7.2 ล้านต้น, 31 ก.ค. 47 จำนวน 7.2 ล้านต้น และ 31 ส.ค. 47 จำนวน 1.8 ล้านต้น
ปีต่อ ๆ ไปก็กำหนดส่งมอบอย่างนี้เหมือนกัน
เมื่อถูกจับได้ไล่ทัน ก็เพิ่งบอกว่าสั่งการให้เปลี่ยนแปลงแล้ว
สัญญาอย่างนี้คนที่อยู่ในแวดวงยางเขาตั้งคำถามกันทั้งนั้นแหละ
เดือน สิงหาคม กรมวิชาการเกษตรกำหนดให้บริษัทส่งมอบได้อย่างไร เพราะถ้ายึดตามหลักวิชาการที่กรมวิชาการเกษตรเองแนะนำว่าต้องปลูกต้นฝนแล้ว สัญญาก็ควรจะกำหนดให้ต้องส่งยางชำถุงถึงมือเกษตรกรให้หมดภายในเดือนมิถุนายน แล้ว
เพราะเกษตรกรรับยางไปปลูกช่วงสิงหาคม เขตอีสานและเหนือ ฝนทิ้งช่วงหรือหมดฝนแล้ว
ไม่เหมือนภาคใต้
ก็จะอ้างภัยแล้งเหมือนกับที่กำลังอ้างกันอยู่เวลานี้
..........................
ท่าน การใช้คนผิดประเภท ปลูกพืชผิดถิ่น เอาประสบการณ์จากภาคหนึ่งไปใช้อีกภาคหนึ่ง – มีเรื่อง “ตลกขื่น” จะขอเล่าแทรกพักสมองคั่นเวลาตรงนี้สักเล็กน้อย
นักการ เมืองจอมโปรเจกต์บางคนสมัยเมื่อได้รับมอบหมายจากท่านผู้นำให้เป็นประธานคณะ กรรมการติดตามการแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พี่ท่านก็ขยันเสียเหลือเกิน
สร้างงาน สร้างรายได้ ตระเวน “ขุดบ่อน้ำ” กันยกใหญ่
โดยเอาประสบการณ์การขุดบ่อน้ำในภาคอีสานไปใช้ที่ภาคใต้
ปรากฏว่าได้บ่อ แต่ไม่มีน้ำ
ชาวบ้านที่นั่นเขาเรียกบ่อแปลกประหลาดที่เกิดจากวิกฤตความรุนแรงเหล่านี้ว่า...
“บ่อเขมร”
ท่านผู้นำอาจจะเถียงว่าคนหนังสือพิมพ์กล่าวร้าย ท่านไปตรวจราชการทีไรก็เห็นน้ำเต็มบ่อทุกที
ก็ จะไม่เต็มอย่างไรล่ะ ในเมื่อคืนก่อนที่ท่านผู้นำจะลงไปตรวจราชการ นักการเมืองคนขยันก็ขอแรงข้าราชการทหารตำรวจช่วยกันบรรทุกน้ำไปใส่ให้เต็ม ทุกบ่อ
...................
ไม่เพียงแค่เอื้ออาทรให้ส่งมอบยางถึงเดือนสิงหาคมเท่านั้น กรมวิชาการเกษตรยังเปิดช่องให้เครือซีพีส่งมอบยางให้แก่เกษตรกรในเดือน กันยายนอีกด้วย โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของเกษตรกร และเครือซีพีก็ไม่ขัดข้องที่จะส่งให้ และพร้อมรับผิดชอบหากยางมีปัญหาเสียหายล้มตาย ส่วนกรมวิชาการเกษตรไม่ขอรับผิดชอบใด ๆ เพราะเป็นความสมัครใจกันของทั้ง 2 ฝ่าย
ความ จริงแล้ว โดยบทบาทหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร จะอ้างความต้องการของเกษตรกรที่สมัครใจจะรับยางไปเองไม่ได้ กรมวิชาการเกษตรต้องไม่ให้มีการส่งยางแก่เกษตรกรในเดือนกันยายนโดยเด็ดขาด
เพราะรับไปปลูกมีโอกาสรอดยาก ลงทุนสูญเปล่า
เรื่องนี้หน่วยราชการจะลอยตัวไม่รับผิดชอบไม่ได้
การอนุญาตให้เครือซีพีส่งมอบยางแก่เกษตรกรในเดือนกันยายนนี้ ทางผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางเขาเชื่อว่าหน่วยราชการต้องการช่วยเหลือซีพีให้ไม่ ต้องรับภาระดูแลรับผิดชอบยางที่ส่งล่าช้า ส่งไม่ทัน
เพราะหากเก็บไว้ข้ามปีต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษา
เป็นการโยนภาระไปให้แก่เกษตรกรตัดสินใจเอาเองว่าจะทำอย่างไร
จะเสี่ยงปลูก ซึ่งมีโอกาสตายสูงถ้าไม่ลงทุนรดน้ำ
หรือจะชำไว้ต่อรอปลูกปีหน้า
ทำไมเกษตรกรบางส่วนถึงจำใจรับเอายางถึงแม้จะล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน ซึ่งไม่มีฝนแล้ว
ก็เป็นเพราะพวกเขาขุดหลุมรอไว้แล้วตามเงื่อนไขการเข้าโครงการ เมื่อขุดหลุมแล้ว รื้อถอนพืชที่ปลูกไว้ออกไปแล้ว ถึงยางมาช้าก็ต้องเอา – ไม่มีทางเลือก
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น การชดเชย ชดใช้ ต้องไม่ใช่เฉพาะพันธุ์ยาง -- ต้องคิดค่าไถ ค่าขุดหลุมใหม่ รวมทั้งค่าเสียโอกาสเสียเวลาที่ผ่านไปโดยไม่มีรายได้จากแปลงที่ดินที่เตรียม สำหรับปลูกยางตั้งแต่ต้นฝนแล้ว แต่เพิ่งมาได้ยางเมื่อหมดฝน
แต่ก็เปล่า
ทำไมไม่เอื้ออาทรกับคนยากคนจนบ้าง
โครงการ นี้ บรรดาลูกช่วงที่ผลิตยางชำถุงส่งให้เครือซีพีในราคา 11 – 12 บาท ขณะที่ราคาที่เครือซีพีทำสัญญาตกลงกับกรมวิชาการเกษตร คือ 15.70 บาท
กินส่วนต่างประมาณ 400 ล้านบาท
.........................
สัญญาจ้างยังกำหนดการส่งมอบกล้ายางพาราที่มีลักษณะ 1 ฉัตร หรือแตกยอดชั้นเดียว
ซึ่งชาวสวนยางเขารู้ดีว่า “ยางฉัตรเดียว” ยังไม่มีรากแข็งแรงพอที่จะรอด เพราะยางแตกยอดง่าย เพียงแค่ตัดมาจิ้มลงดินไม่นานก็แตกยอด แต่ยังไม่มีราก
ต้องได้ “ยาง 2 ฉัตร” จึงจะมีโอกาสรอดสูงกว่า เนื่องจากรากแข็งแรงกว่า
ยางในโครงการมันไม่มีรากแก้ว ปลูกไปยิ่งนาน 4 - 5 ปี เกษตรกรก็ยิ่งเสียเวลา เสียโอกาส
ต้นกล้าที่ไม่สมบูรณ์พอบางต้น ถึงแม้จะรอดไปได้ แต่มันจะแสดงอาการเอาตอนอายุ 6 - 7 ปี ถึงระยะที่จะกรีดยางได้ มันจะกลายเป็นยางแคระ หรือไม่ให้น้ำยางเอาดื้อ ๆ
เมื่อ ถึงเวลานั้น คือในอีก 6 - 7 ปีข้างหน้า คนที่เกี่ยวข้องหลายคนคงจะเกษียณอายุราชการ กินบำนาญ หรือไปเป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชนสบายไปแล้ว
ส่วนเกษตรกรที่คิดจะพลิกชีวิตตัวเอง ไถสวนเก่าเพื่อปลูกยางพารา หวังจะขายแพง ๆ จะอยู่ต่อได้อย่างไร ?
มิพักต้องพูดถึงรายได้ของประเทศชาติที่คาดการณ์ฝันเฟื่องเอาไว้ว่าจะเพิ่มเท่านั้นเท่านี้ – ก็มีแต่จะสูญไป
..........................
มีเรื่อง “ตลกขื่น” จะขอเล่าแทรกพักสมองคั่นเวลาตรงนี้อีกสักเล็กน้อย
ชาวบ้านเขาเล่ากันสนุก ๆ ว่าถัดจากยางพารา กระทรวงเกษตรฯกำลังจะหันบังเหียนไปยังปาล์ม
กำลังคิดโครงการปาล์มพันธุ์ใหม่
เป็นปาล์มพันธุ์ไทย คิดค้นโดยข้าราชการและนักการเมือง จากการศึกษาวิจัยพบว่าให้ผลผลิตดีมาก ๆ สำหรับข้าราชการและนักการเมืองชื่อว่า....
ปาล์มพันธุ์สวา
หรือ...
พันธุ์สวาปา(ล์)ม
..........................
ไม่เพียงแต่โครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่เท่านั้นที่อื้อฉาวตั้งแต่ประมูลจนบัดนี้
โครงการสวนยางอื้ออาทรก็มีปัญหาไม่แพ้กัน
และถึงเวลานี้โครงการก็ยังไม่ไปถึงไหน เพราะบริษัทตัวแทนของนักการเมืองและข้าราชการที่กะเข้ามาฮุบงานนี้ ซึ่งมีมูลค่านับหมื่นล้าน ถูกกลุ่มเกษตรกรร้องเรียน กระทั่งต้องส่งสัญญาไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความ ส่วนเกษตรกรที่เตรียมตัวเข้าร่วมโครงการก็ถูกลอยแพรอเก้อจนบัดนี้
............................
“ผมไม่ทราบ เป็นเรื่องของข้าราชการประจำ”
นี่คือวาทะประจำของนักการเมือง
โครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่นี้ก็เช่นกัน ถ้าจนตรอกจริง ๆ ก็จะเป็นข้าราชการประจำที่จะต้องถูก “ฆ่าตัดตอน” เพราะกระบวนการเป็นไปอย่างที่เล่ามาโดยลำดับ นักการเมืองสั่ง ข้าราชการประจำตั้งเรื่องและดำเนินการ นักการเมืองได้เงิน ข้าราชการประจำได้เงินและตำแหน่ง
คำถามง่าย ๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะต้องตอบด้วยสามัญสำนึกก็คือ....
ถ้านักการเมืองไม่สั่ง – ข้าราชการประจำจะกล้าหรือ ?
เลิกกันเสียทีเถิดกับบทสรุปประเภท....
คนสั่ง – ไม่โดน
คนเซ็น – โดน
สร้างประเพณีใหม่ขึ้นมาว่า....
เกิดเรื่องไม่ชอบมาพากลขึ้นในยุคใด นักการเมืองที่คุมหน่วยงานนั้นในขณะนั้น – ต้องโดน !
.............................
ถ้ายังยึดคติ “คนสั่ง – ไม่โดน, คนเซ็น – โดน” ก็ให้ระวังกันเอาไว้ทั้งนายทั้งบ่าวว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีกครั้ง
โดนยกครอก – ตายยกพรรค
เพราะบาปกรรมจากการโกงเกษตรกรและโกงคนจนตามทันเร็วมากและแรงมาก
หนึ่ง ในปัจจัยที่ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งประสบชะตากรรมในระดับถูกกวาดตกแผ่นดินใหญ่ใน อดีตมาแล้ว ก็เพราะพฤติกรรมโกงเกษตรกรและโกงคนจนนี่แหละ !
จดหมายจากศ.ระพี สาคริก
เรียน คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่เคารพ
ผมติดตามรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ แทบทุกวันศุกร์ ยกเว้นการเดินทางไปทำงานในพื้นที่
เพราะรายการที่คุณทำร่วมกับคุณสโรชา พรอุดมศักดิ์ มีเนื้อหาสาระที่ให้ประโยชน์ ทั้งในด้านเป็นข่าว และเป็นแง่คิดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของสังคม
เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คุณหยิบยกเอาประเด็นคณะรัฐมนตรีจะจัดประชุมสัญจร ที่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ซึ่งเมื่อ 60 ปีกว่ายังเป็นป่า ผมเคยไปเดินเกวียนอยู่ที่นั่น
ประเด็นสำคัญ คุณได้อธิบายชี้แจงว่า ปราสาทพนมรุ้งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับกษัตริย์ประกอบพิธี ซึ่งเป็นของสูงทางวัฒนธรรม แม้แต่ที่โบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก็เป็นสถานที่ซึ่งพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้นที่จะเข้าไปทำ พิธีได้
ถ้าคนแต่ก่อนเขาพูดก็คงพูดว่า -- คนธรรมดาเข้าไปทำอะไรระวังเหาจะขึ้นหัว
คุณสนธิบอกว่า ลูกน้องคิดทำให้เจ้านาย เพื่อยกย่อง ถ้าเราไม่ลืมสัจธรรมสิ่งหนึ่งซึ่งมีผู้พูดครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ”ลูกน้องมักทำให้ผู้ใหญ่เสียหาย” ถ้าผู้ใหญ่ลืมตัว ขณะนี้เป็นกันมากจริง ๆ ครับ
เมื่อคุณหยิบยกเอาข้อความที่ว่า เช่น ในโบสถ์วัดพระแก้วมรกต ”เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้วครับ” คุณสนธิก็คงจะมีอยู่ในใจแล้วก็ได้
เมื่อ ช่วงสงกรานต์ ผมชมข่าวทางโทรทัศน์ กล้องจับองค์พระแก้วมรกต กับจับที่คุณทักษิณ แยกกันเป็นทีละตอน ผมก็สงสัยแล้วว่าอาจเป็นที่เดียวกัน แต่ผมก็ไม่เชื่อสายตาว่าจะมีการอาจเอื้อมขนาดนั้น เพราะคนนี้ได้รับคัดเลือกมาจากประชาชนทั่วประเทศควรจะเป็นคนรู้จักเจียมตน
แต่วันรุ่งขึ้น ผมเห็นภาพสีเต็มหน้าหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และภาพสีในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ว่า นายกรัฐมนตรีเข้าไปเป็นประธานประกอบพิธีศาสนาในโบสถ์วัดพระแก้ว แถมยังแต่งตัวแบบลำลอง นั่งบนพรมสีแดง มีเจ้าหน้าที่เข้าไปก้มศีรษะมอบเครื่องกรวดน้ำให้
ผมไม่เคยเห็นภาพอย่างนี้มาก่อนในชีวิต
เห็นแต่องค์พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์แต่งฉลององค์ด้วยเครื่องราชอิสริยยศเท่านั้น
หลายคนเอาภาพนี้มาให้ดูกัน และคิดกันเอาเอง ทำให้ผมนึกในใจว่า ขณะนี้บ้านเมืองเกิดอาเพศขึ้นมาแล้วหรือ ?
อย่างที่โบราณกล่าวความตอนหนึ่งไว้ว่า “กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม” ผมดูแล้วใจหดหู่มากครับ
ที่คุณสนธิกล่าวสาปแช่งไว้ตอนใกล้จะปิดรายการ ผมว่ามันยังน้อยไป
คุณสนธิพูดเรื่อง เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ หากจำได้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้มีเรื่อง ผักสวนครัว รั้วกินได้ มีหนังสือพิมพ์ผู้จัดการมาขอสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากผม ผมพูดไว้ตอนหนึ่งว่า
“ถ้าเอาเรื่องจริง ๆ อาจไม่มีคุกจะใส่พอ”
คนในเกษตร โกรธผมมาก ถึงกับกล่าวว่า ”เกิดในเกษตรแท้ ๆ พูดยังงี้ได้ยังไง ?” ผมไม่อยากโต้เถียง เพราะถือว่าพูดด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ในใจก็อดคิดไม่ได้ว่า ”ถ้าไม่รักกันจริง ก็ไม่พูดตรง ๆ”
แต่การที่มีคนกลุ่มหนึ่งพูดว่า เกิดในเกษตรแท้ ๆ พูดได้ยังไง ? มันสะท้อนให้เห็นความรู้สึกของคนในเกษตรส่วนมาก ถือพวกมาตั้งแต่อยู่ในระบบการจัดการศึกษาแล้ว ยิ่งมาโดนนักการเมืองสมัยนี้ด้วย ยิ่งช้ำหนัก
ผมเคยตอบคำถามโทรทัศน์หน้าอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ที่เขาถามว่า อาจารย์รักเกษตรหรือเปล่า ?
ผมตอบ รักสิครับเพราะเป็นของพื้นฐานแผ่นดินไทย แต่ผมไม่ใช่พวกเกษตร ?
ใครจะคิดได้ไม่ได้ก็แล้วแต่ครับ แต่มันเป็นมานานแล้ว จึงทำให้ปัญญามืดบอด ไม่ยังงั้นชีวิตเกษตรกรจะดีกว่านี้มาก
ด้วยความเคารพอย่างสูง
ระพี สาคริก
http://www.nokkrob.org/index.php?&obj=forum.view(cat_id=open,id=344)
กรณีทุจริตกล้ายางพารามีอะไรกันนักหนาหรือ “ผู้จัดการรายวัน” ถึงให้ความสำคัญเป็นทั้งข่าวนำหน้า 1 และรายงานพิเศษต่อ เนื่องมาเป็นสัปดาห์ ๆ มี Hidden Agenda อย่างไรหรือ วันนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” ขออนุญาตใช้เนื้อที่ตรงนี้จับเข่าคุยกับผู้อ่านเล่าให้ฟังด้วยภาษาชาวบ้าน
กรณีนี้ อย่าว่าแต่จะต้องเร่งรวมพลังเฉดหัวนักการเมืองที่รับผิดชอบให้พ้นออกจากการร่วมบริหารประเทศและดำเนินคดีเลย
มันน่านำโทษานุโทษในอดีต “กุดหัวเจ็ดชั่วโคตร” กลับมาใช้เสียด้วยซ้ำ !
เพราะมันเป็นการโกงกันอย่างบูรณาการ หรือบูรณาโกง ที่แสดงให้เห็นภาพของคำ “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย” อย่างเป็นรูปธรรม
เพราะมันเป็นการโกงอย่างแฮ็ตทริก หรือโกงยกกำลัง 3 ที่จะให้ผล 3 ชั้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตอีก 5 – 7 ปีข้างหน้า
...โกงเกษตรกรคนยากคนจน
...ที่เสมือนเป็นการฆ่าให้ตายในวันนี้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะไปตายในอีก 5 – 7 ปีข้างหน้า
...และยังจะเป็นการทำลายรายได้ของชาติจากการส่งออก
มาไล่กันพิจารณาทีละขั้นตอน
...................
เวิลด์แบงก์ให้คะแนนการจัดการกับการทุจริตของประเทศไทย 49 จาก 100
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรไม่พอใจนสพ.มติชนที่พาดหัวแบบไม่ช่วยรัฐบาล แสดงธาตุแท้อารมณ์ดั้งเดิมที่เป็นเจ้าเรือน ถึงกับเอ่ยชื่อประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ทวงบุญคุณหนังสือพิมพ์ อาจจะเป็นเพราะประจวบเหมาะกับในระยะนี้นับตั้งแต่ได้ชัยชนะ 377 เสียงกลับมีแต่ข่าวการทุจริตคอร์รัปชั่นในเรื่องต่าง ๆ มาเป็นระยะ ๆ
น่า สังเกตไหมว่า ปี 2548 นี้ผ่านไปแค่ 5 เดือน ถ้าไม่นับกรณีสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว มีเรื่องของการทุจริตในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสียเป็นส่วนใหญ่
กระทรวงเกษตรฯจัดเป็นกระทรวงเกรด A ของบรรดานักการเมืองมาแต่ไหนแต่ไร
วิธีการที่นักการเมืองเขาจำแนกแบ่งเกรดของกระทรวงทบวงกรมเขาดูกันที่ งบประมาณ, อำนาจอิทธิพล และช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ ผสมผสานกันไป
อย่างกรณีกระทรวงศึกษาธิการ ถึงแม้ว่าจะได้รับจัดสรรงบประมาณมากกว่ากระทรวงอื่น ๆ แต่เพราะเป็นกระทรวงใหญ่ รายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประจำ ไม่มีรายจ่ายประเภท “จัดซื้อ, จัดจ้าง” มาก ก็เลยเป็นกระทรวงเกรด B
งบประมาณที่กระทรวงเกษตรฯได้ไปในปีงบประมาณ 2548 คือ 52,409.9 ล้านบาท
มากเป็นลำดับ 6
รองจากกระทรวงศึกษาธิการ (1) กระทรวงการคลัง (2) กระทรวงมหาดไทย (3) กระทรวงกลาโหม (4) และกระทรวงคมนาคม (5)
ช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ในกระทรวงเกษตรฯเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง, การก่อสร้าง และทรัพยากรธรรมชาติ
ในยุคก่อน คนส่วนใหญ่มักจะมองผลประโยชน์ของกระทรวงเกษตรฯ เฉพาะ 2 กรมหลัก ๆ คือกรมป่าไม้และกรมชลประทาน แต่ข้อเท็จจริง ณ วันนี้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะเชื้อร้ายของการทุจริต การแสวงหาประโยชน์ การละเมิดหลักธรรมาภิบาล ลามลึกแผ่ขยายครอบคลุมกรมอื่น ๆ ของกระทรวงนี้ไปแทบทั้งหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมที่เกี่ยวกับวิชาการ !
ลำพังการคอร์รัปชั่น เกิดขึ้นที่ไหนหรือที่กระทรวงใด มันก็เลวร้ายอยู่แล้ว แต่หากเกิดขึ้นในกระทรวงเกษตรฯ ความเลวร้ายดังกล่าวจะยิ่งทวีขึ้นเป็น 2 เท่า
เพราะ ว่ามันเป็นการทำมาหากินบนน้ำตาและความทุกข์ยากของประชาชนคนชั้นล่าง ซึ่งพวกเขาแทบจะไม่มีโอกาสในทางสังคมเทียบเท่าคนในกลุ่มอื่น ๆ อยู่แล้ว
ช่องทางการทุจริตในกระทรวงเกษตรฯส่วนใหญ่ ตั้งเรื่องขึ้นมาจากเหตุความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน
ข่าวความอื้อฉาวในโครงการส่งเสริมปลูกยางพาราล้านไร่ ของกระทรวงเกษตรฯที่ถูกเปิดเผยขึ้นมา เพราะหลักฐานประจักษ์ชัดจากผลเสียหายของกล้ายางที่เกษตรกรนำไปปลูกตายไปกว่า ครึ่ง บางรายถึงกับตายยกแปลง ได้รับคำอธิบายง่าย ๆ จากกรมวิชาการเกษตร และนักการเมืองจอมโปรเจกต์ที่ดูแลกรมนี้ในทางปฏิบัติต่อเนื่องมา 8 ปี ว่าเป็นเพราะภัยแล้ง และเกษตรกรดูแลไม่ดี ขณะที่เครือซีพีที่ชนะประมูลส่งมอบกล้ายางก็ออกมากล่าวโทษระบบชลประทานของ ประเทศที่ไม่ได้เรื่อง จึงทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น
แก้ตัวกันไปน้ำขุ่น ๆ
ใจบาปหยาบช้าถึงขั้นโทษเทวดาฟ้าดินไปโน่น
พอเริ่มจำนนต่อหลักฐาน ก็คิดอ่านจะแก้ผ้าเอาหน้ารอดกันง่าย ๆ ด้วยการแก้ระเบียบโน่นนิดนี่หน่อย และจะตั้งนักวิชาการท้องถิ่นเข้ามาเป็นกรรมการตรวจรับกล้ายางในแต่ละงวดด้วย
อยาก ให้นักวิชาการท้องถิ่นอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ให้ดี ๆ แล้วเร่งถอยออกไปห่าง ๆ อย่ามารับบท “พายเรือให้โจรนั่ง” หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง...
อย่ามาบำเพ็ญตนเป็น “ชุมพล ศิลปอาชา” ให้กับ “สุชน ชาลีเครือ” เลย
(ประเด็นหลังนี้ – โปรดติดตามอ่านในต้นสัปดาห์หน้า)
........................
โครงการส่งเสริมปลูกยางพารา 1 ล้านไร่เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมีดำริริเริ่มตามข้อเสนอของนักการเมืองจอมโปรเจกต์นั้น เป็นโครงการที่มีหลักการดี ที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้ยากไร้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการขยายพื้นที่ปลูกยางในภาคเหนือและภาค อีสาน เมื่อเดือนมีนาคม 2546 ในโอกาสที่เดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่คณะกรรมการบริหารและคณะผู้ บริหารรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบงานด้านยาง 2 หน่วยงาน
ส.ก.ย. -- สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
อ.ส.ย. -- องค์การสวนยาง
หากดูต้นเรื่อง ดูการมอบนโยบายแล้ว หน่วยงานหลักที่ควรจะเข้ามาทำโครงการนี้ เพราะมีความเชี่ยวชาญและรับผิดชอบงานด้านยางโดยตรง ก็ควรจะเป็นส.ก.ย. หรืออ.ส.ย. เพราะมีเจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องยางดีกระจายครอบคลุมอยู่ทุกพื้นที่ทั่ว ประเทศ
แต่กรมวิชาการเกษตรที่มีเจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องยางพาราอยู่เพียงหยิบมือเดียวกลับเป็นผู้เข้ามารับผิดชอบ
โครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่ง ปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 พื้นที่ปลูกยาง 1 ล้านไร่ แบ่งเป็นเขตภาคอีสาน 700,000 ไร่ และภาคเหนือ 300,000 ไร่
กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบทั้ง
- การกำหนดเขตพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม
- การตรวจสอบ ควบคุม และจัดหาพันธุ์ยาง
ส.ก.ย.รับผิดชอบการฝึกอบรม การควบคุม กำกับ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปลูกยางของโครงการ
และให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบจัดหาสินเชื่อ
คำถามก็คือ ทำไมถึงต้องเป็นกรมวิชาการเกษตร ?
เป็นเพราะข้าราชการกรมวิชาการเกษตร สั่งขวาหันซ้ายหันได้ – ใช่ไหม ?
เพราะถ้าเป็น ส.ก.ย. ก็จะมีคนนอกเข้ามาร่วมเป็นบอร์ดอยู่ด้วย จะสั่งซ้ายหันขวาหันไม่ได้ – ใช่ไหม ?
ตรงนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการตั้งเรื่องตั้งโครงการของนักการเมืองมาก เพราะเป็นตัวชี้ว่าโครงการนั้น ๆ จะเก็บเกี่ยวได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ ข้อมูลความลับต่าง ๆ จะหลุดรั่วไปถึงฝ่ายค้านหรือสื่อหรือไม่ ทำให้เสียจังหวะหรือไม่
เหตุที่ต้องตั้งคำถามว่าทำไมกรมวิชาการเกษตรต้องเข้ามาทำโครงการ ก็เพราะถ้าไปดูพันธกิจหรือหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร จะเขียนเอาไว้ชัดเจนว่า
“บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรองและให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิตและผลิตภัณฑ์พืช เพื่อให้บริการการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ โดยมียุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและพัฒนาพืช การบริการวิชาการด้านพืช”
อันนี้ชัดเจน ไปทบทวนตรวจสอบบทบาทหน้าที่ของกรมนี้ได้
กรมวิชาการเกษตรไม่ได้มีหน้าที่จัดหาจัดซื้อพันธุ์พืชหรือส่งเสริมด้านพืช
เพราะกรมที่มีหน้าที่นี้โดยตรงก็คือ กรมส่งเสริมการเกษตร
โครงการจัดซื้อจัดหานี่แหละที่เป็นช่องทางสำคัญในการคอร์รัปชั่น รับสินบาทคาดสินบน ชักเปอร์เซ็นต์ เอกชนที่ผูกขาดทำมาหากินกันอยู่ก็จะได้ขายของที่ซื้อมาถูก ๆ แล้วมาขายต่อให้รัฐแพง ๆ และที่ผ่านมากรมที่มีหน้าที่นี้โดยตรง ก็เคยอื้อฉาวสุด ๆ
ที่สังคมไทยจำกันได้แม่น รู้จักกันดี ก็กรณี “ผักสวนครัวรั้วกินได้” เมื่อปี 2541
กระทั่งมีอยู่พักหนึ่งที่กระทรวงเกษตรฯมีนโยบายห้ามไม่ให้หน่วยงาน ของรัฐเป็นผู้จัดหาปัจจัยการผลิต แต่ตอนนี้ก็คงเลิกกันไปแล้ว และมีโครงการจัดซื้อจัดหาแจกปัจจัยการผลิต เพื่อทำมาหากินกันเหมือนเคย
โครงการยางล้านไร่ ก็ไม่ต่างไปจากโครงการส่งเสริมอื่นๆ
เข้าสูตรสำเร็จ
นักการเมืองตั้งโครงการ -- ข้าราชการเป็นคนชง – ล็อกสเปกเอาเอกชนขาประจำเข้ามาเป็นผู้ได้รับงานไป
เมื่อได้รับการเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีให้ขยายพื้นที่ปลูกยางได้ในเขต อีสานและเหนือ นักการเมืองคนโปรดก็กลับมาทำการบ้านเสนอเรื่องผ่านตามขั้นตอนเข้าสู่การ พิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยยกแม่น้ำทั้งห้าให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
โดยเฉพาะผลดีที่จะเกษตรกรจะสามารถลืมตาอ้าปากได้เพราะโครงการนี้ถึง 142,850 รายที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าว ครอบครัวละ 20,000 – 30,000 กว่าบาทต่อปี
จะมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและแรงงานภาคเกษตรไม่น้อยกว่า 150,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานกรีดยางจะมีรายได้ดี สม่ำเสมอตลอดทั้งปี
นอกจากนั้น รัฐบาลยังจะได้ผลประโยชน์จากผลผลิตยางของประเทศที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่ายาง 7,700 ล้านบาท/ปี และหากนำยางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และส่งออก จะมีรายได้จากการส่งออก 38,500 ล้านบาท
สภาพแวดล้อมก็จะดีขึ้นด้วย
ฟังดูดี และมีความเป็นไปได้ เพราะเวลานี้ราคายางก็มีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ยางเทียมที่เป็นบายโปรดักส์จากน้ำมันสูงขึ้นตามภาวะราคา น้ำมันที่มีแต่จะพุ่งทะยานตามดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นแต่ซัปพลายน้อยลง
ฟังกันเคลิ้มจนกระทั่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีไม่มีใครตั้งคำถามเลยว่า เหตุใดกระทรวงเกษตรฯจึงมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร ซึ่งไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งที่กระทรวงเกษตรฯเองมีหน่วยงานดูแลเรื่องยางโดยเฉพาะอยู่ถึง 2 หน่วย คือ ส.ก.ย. กับ อ.ส.ย.
ถามว่าการตั้งเรื่องอย่างนี้ – คอร์รัปชั่นในเชิงนโยบายหรือไม่ ?
แต่ไม่ว่าคำตอบจะออกมาอย่างไร มติครม.เห็นชอบให้ดำเนินโครงการนี้ตามที่กระทรวงเกษตรฯเสนอ ก็นับเป็นการยืมมือครม.มาการันตีความถูกต้อง โครงการดำเนินไปอย่างที่ไม่ควรจะเป็นตั้งแต่ต้น
เสมือนการปฏิบัติภารกิจที่ผิดฝาผิดตัว ซึ่งมีแต่จะสร้างปัญหาตามมา
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติแล้ว กรมวิชาการเกษตรก็ดำเนินเรื่องต่อด้วยการเปิดประมูลหาเอกชนมาผลิตยางชำถุง
ถึงขั้นนี้แล้วหากต้องการล็อกสเปกเอาเอกชนที่รับงานผูกกันเป็นขาประจำก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ออก TOR หรือข้อกำหนดหลักเกณฑ์ในการเข้าประกวดราคาที่สามารถกีดกันผู้ร่วมประมูลราย อื่น ๆ อย่างเช่นเรื่องพันธุ์ยาง ส่วนใหญ่ที่ทำกันอยู่ในบ้านเราก็จะเป็นเกษตรกรรายเล็กรายย่อยที่รวมตัวกัน เป็นสหกรณ์ หรือทำเดี่ยว ๆ บริษัทใหญ่ ๆ ไม่ค่อยมี ก็ออกว่าต้องการยางชำถุงจำนวน 90 ล้านต้น โดยให้บริษัทเดียวรับเหมาไปทำ แล้วส่งมอบให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ แทนที่จะกระจายไปยังพื้นที่และเปิดโอกาสให้รายเล็กรายย่อยที่เขามี ประสบการณ์ทำพันธุ์ขายอยู่ก่อน
เหมือนกรณีลำไยอบแห้ง ที่ว่าจ้างให้บริษัทปอเฮง รับอบแห้งรายเดียว ส่วนรายย่อยถ้าอยากทำก็ต้องมาเป็นลูกช่วง ทำตัวเป็นโบรกเกอร์กินส่วนต่าง
นอกจากนั้น ก็กำหนดให้ผู้เข้าประมูลวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญาสูงถึง 72 ล้านบาท เพราะมูลค่าโครงการสูงถึง 1,400 กว่าล้าน
การกำหนด TOR อย่างนี้รายเล็กรายย่อยไม่มีโอกาสอยู่แล้ว
TOR ที่ออกมาจึงล็อกสเปกเอาไว้บางจุด แต่บางจุดต้องเปิดเอาไว้เพื่อให้เอกชนที่ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องยางเข้ามาร่วมได้
ทำกันถึงขนาดว่า ใน TOR ของโครงการที่ต้องส่งมอบพันธุ์ยางถึง 90 ล้านต้นนี้ไม่ได้ระบุแม้แต่น้อยว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลต้องมีประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญด้านยางพารามา ก่อน และต้องมีแปลงกิ่งพันธุ์ยาง แปลงกล้ายางของตนเองด้วย มีกำหนดไว้เพียงกว้าง ๆ ว่า เป็นผู้ที่มีอาชีพจำหน่ายพันธุ์พืชมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี
คุณสมบัติของผู้เสนอราคา ในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดหาพันธุ์ ระบุเพียงว่าผู้เสนอราคาจะต้องมีแปลงเพาะต้นกล้าไม่ว่าจะเป็นแปลงเดียวหรือ หลายแปลงรวมกันไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ และจะต้องมีแหล่งกิ่งตายางที่ใช้จากแปลงเพาะขยายพันธุ์ที่จดทะเบียนกับกรม วิชาการเกษตร แปลงเดียวหรือหลายแปลงรวมกัน ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ และมีต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์ยางที่กรมแนะนำไม่น้อยกว่า 120,000 ต้น
TOR ไม่ได้ระบุว่าผู้เสนอราคาจะต้องมีแปลงของตนเอง ขอเพียงให้มีจะรวบรวมแล้วเช่าแปลงมาจากบุคคลอื่นก็ได้
นั่นคือการล็อกสเปกในจุดที่คู่แข่งขันรายอื่นจะเข้ามาสู้ได้ และเปิดกว้างสำหรับข้อที่เป็นจุดอ่อนของบริษัทคู่ขาประจำ
ถัดจากนั้น ก็เตรียมการในขั้นที่ 2 คือ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ซึ่งจะต้องเป็น “เด็กในคาถา” สั่งซ้ายหันขวาหันได้ เก็บกำความลับได้
นั่นคือกุญแจที่สำคัญและโครงการปลูกยางล้านไร่
ปรากฏผลว่า – เครือซีพีชนะประมูล ทั้ง ๆ ที่ปรากฏหลักฐานชัดว่า การเสนอแปลงกิ่งตายางและแปลงกล้ายางของบริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับทำเนียบแปลงขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้าประจำปี 2546 ไม่ถูกต้องตรงกัน ถือเป็นการแจ้งเท็จ ไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ TOR กำหนด
แต่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เป็น “เด็กในคาถา” จะหาใครมาตรวจสอบรายละเอียดในจุดนี้
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาตรวจสอบพบเรื่องนี้ และได้ติดต่อสอบถามไปยังนักการเมืองที่ดูแล
มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแปลงกล้ายางและการส่งมอบกล้ายาง
แต่ก็มีอันต้องเกิดเหตุเกี่ยวกับตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของท่านเสียก่อน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกมาการันตีในการแถลงข่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า มีการลงไปตรวจสอบแปลงยางตามที่บริษัทเสนอเข้ามาทุกแปลง แต่ไม่กล้าแสดงเอกสารหลักฐานใด ๆ ต่อสาธารณะว่ามีการเข้าไปตรวจสอบจริงหรือไม่
ก็ ไม่รู้ว่าวันนี้ “หลักฐาน” การตรวจสอบของสตง.ในยุคคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาจะมีอันสลายหายสูญไปหลังถูกขบวนกังฉินยึดอำนาจอย่างแยบยลหรือไม่
ประเด็นนี้ต้องสะสางให้กระจ่าง เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้
เพราะเมื่อบริษัทที่ชนะประมูล ไม่มีแปลงกิ่งตาพันธุ์ ไม่มีแปลงกล้ายางดังที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติ ก็ทำให้ยางชำถุงที่จะส่งมอบให้แก่เกษตรกรนั้นไม่เพียงพอ ไม่ได้คุณภาพ ตามสัญญาที่ตกลงกัน
และยังเป็นที่มาของการกว้านซื้อยางที่เอา “กิ่งตาสอย” ที่สอยจากยางต้นแก่แล้วมาติดตาส่งมอบปะปนเข้ามาในโครงการ
ซึ่งจะเห็นผลอีก 7 ปีข้างหน้าเมื่อถึงเวลากรีดแล้วจะมีน้ำยางน้อยหรือไม่มีน้ำยางเลย
ยางที่มีน้ำยางน้อยหรือไม่มีน้ำยาง – ก็ไม่ต่างกับ “วัวพลาสติก” ในอดีต
การทำแบบนี้ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา
.........................
ย้อนกลับมาดูเรื่องสัญญาที่กรมวิชาการเกษตรทำกับเครือซีพี จะเห็นว่ากรมวิชาการเกษตรเอื้ออาทรต่อซีพีอย่างมาก
เอื้ออาทรถึงขั้นที่ว่า -- ทำผิดหลักวิชาการการปลูกยางที่กรมวิชาการเกษตรฯให้คำแนะนำต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเลยก็ว่าได้
นั่นคือ หลักวิชาการแนะนำว่าควรปลูกยางในต้นฤดูฝน หมายถึงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เพื่อให้ยางสามารถยืนต้นได้ในช่วงฤดูฝน คือถึงเดือนกรกฎาคม ส่วนเดือนสิงหาคมไม่ควรปลูกแล้ว เพราะเสี่ยงกับฝนทิ้งช่วงและหมดฝน เพราะภาคอีสานกับภาคเหนือไม่เหมือนกับภาคใต้ที่เดือนสิงหาคมก็ยังมีฝนอยู่ จะใช้เกณฑ์เดียวกันไม่ได้ เพราะสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศต่างกัน
แต่สัญญาที่กรมวิชาการเกษตรทำกับซีพีเป็นอย่างไร – มาดูกัน...
ใน ปีแรก 2547 กำหนดส่งมอบ 4 งวด คือ 31 พ.ค. 47 จำนวน 1.8 ล้านต้น, 30 มิ.ย. 47 จำนวน 7.2 ล้านต้น, 31 ก.ค. 47 จำนวน 7.2 ล้านต้น และ 31 ส.ค. 47 จำนวน 1.8 ล้านต้น
ปีต่อ ๆ ไปก็กำหนดส่งมอบอย่างนี้เหมือนกัน
เมื่อถูกจับได้ไล่ทัน ก็เพิ่งบอกว่าสั่งการให้เปลี่ยนแปลงแล้ว
สัญญาอย่างนี้คนที่อยู่ในแวดวงยางเขาตั้งคำถามกันทั้งนั้นแหละ
เดือน สิงหาคม กรมวิชาการเกษตรกำหนดให้บริษัทส่งมอบได้อย่างไร เพราะถ้ายึดตามหลักวิชาการที่กรมวิชาการเกษตรเองแนะนำว่าต้องปลูกต้นฝนแล้ว สัญญาก็ควรจะกำหนดให้ต้องส่งยางชำถุงถึงมือเกษตรกรให้หมดภายในเดือนมิถุนายน แล้ว
เพราะเกษตรกรรับยางไปปลูกช่วงสิงหาคม เขตอีสานและเหนือ ฝนทิ้งช่วงหรือหมดฝนแล้ว
ไม่เหมือนภาคใต้
ก็จะอ้างภัยแล้งเหมือนกับที่กำลังอ้างกันอยู่เวลานี้
..........................
ท่าน การใช้คนผิดประเภท ปลูกพืชผิดถิ่น เอาประสบการณ์จากภาคหนึ่งไปใช้อีกภาคหนึ่ง – มีเรื่อง “ตลกขื่น” จะขอเล่าแทรกพักสมองคั่นเวลาตรงนี้สักเล็กน้อย
นักการ เมืองจอมโปรเจกต์บางคนสมัยเมื่อได้รับมอบหมายจากท่านผู้นำให้เป็นประธานคณะ กรรมการติดตามการแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พี่ท่านก็ขยันเสียเหลือเกิน
สร้างงาน สร้างรายได้ ตระเวน “ขุดบ่อน้ำ” กันยกใหญ่
โดยเอาประสบการณ์การขุดบ่อน้ำในภาคอีสานไปใช้ที่ภาคใต้
ปรากฏว่าได้บ่อ แต่ไม่มีน้ำ
ชาวบ้านที่นั่นเขาเรียกบ่อแปลกประหลาดที่เกิดจากวิกฤตความรุนแรงเหล่านี้ว่า...
“บ่อเขมร”
ท่านผู้นำอาจจะเถียงว่าคนหนังสือพิมพ์กล่าวร้าย ท่านไปตรวจราชการทีไรก็เห็นน้ำเต็มบ่อทุกที
ก็ จะไม่เต็มอย่างไรล่ะ ในเมื่อคืนก่อนที่ท่านผู้นำจะลงไปตรวจราชการ นักการเมืองคนขยันก็ขอแรงข้าราชการทหารตำรวจช่วยกันบรรทุกน้ำไปใส่ให้เต็ม ทุกบ่อ
...................
ไม่เพียงแค่เอื้ออาทรให้ส่งมอบยางถึงเดือนสิงหาคมเท่านั้น กรมวิชาการเกษตรยังเปิดช่องให้เครือซีพีส่งมอบยางให้แก่เกษตรกรในเดือน กันยายนอีกด้วย โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของเกษตรกร และเครือซีพีก็ไม่ขัดข้องที่จะส่งให้ และพร้อมรับผิดชอบหากยางมีปัญหาเสียหายล้มตาย ส่วนกรมวิชาการเกษตรไม่ขอรับผิดชอบใด ๆ เพราะเป็นความสมัครใจกันของทั้ง 2 ฝ่าย
ความ จริงแล้ว โดยบทบาทหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร จะอ้างความต้องการของเกษตรกรที่สมัครใจจะรับยางไปเองไม่ได้ กรมวิชาการเกษตรต้องไม่ให้มีการส่งยางแก่เกษตรกรในเดือนกันยายนโดยเด็ดขาด
เพราะรับไปปลูกมีโอกาสรอดยาก ลงทุนสูญเปล่า
เรื่องนี้หน่วยราชการจะลอยตัวไม่รับผิดชอบไม่ได้
การอนุญาตให้เครือซีพีส่งมอบยางแก่เกษตรกรในเดือนกันยายนนี้ ทางผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางเขาเชื่อว่าหน่วยราชการต้องการช่วยเหลือซีพีให้ไม่ ต้องรับภาระดูแลรับผิดชอบยางที่ส่งล่าช้า ส่งไม่ทัน
เพราะหากเก็บไว้ข้ามปีต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษา
เป็นการโยนภาระไปให้แก่เกษตรกรตัดสินใจเอาเองว่าจะทำอย่างไร
จะเสี่ยงปลูก ซึ่งมีโอกาสตายสูงถ้าไม่ลงทุนรดน้ำ
หรือจะชำไว้ต่อรอปลูกปีหน้า
ทำไมเกษตรกรบางส่วนถึงจำใจรับเอายางถึงแม้จะล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน ซึ่งไม่มีฝนแล้ว
ก็เป็นเพราะพวกเขาขุดหลุมรอไว้แล้วตามเงื่อนไขการเข้าโครงการ เมื่อขุดหลุมแล้ว รื้อถอนพืชที่ปลูกไว้ออกไปแล้ว ถึงยางมาช้าก็ต้องเอา – ไม่มีทางเลือก
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น การชดเชย ชดใช้ ต้องไม่ใช่เฉพาะพันธุ์ยาง -- ต้องคิดค่าไถ ค่าขุดหลุมใหม่ รวมทั้งค่าเสียโอกาสเสียเวลาที่ผ่านไปโดยไม่มีรายได้จากแปลงที่ดินที่เตรียม สำหรับปลูกยางตั้งแต่ต้นฝนแล้ว แต่เพิ่งมาได้ยางเมื่อหมดฝน
แต่ก็เปล่า
ทำไมไม่เอื้ออาทรกับคนยากคนจนบ้าง
โครงการ นี้ บรรดาลูกช่วงที่ผลิตยางชำถุงส่งให้เครือซีพีในราคา 11 – 12 บาท ขณะที่ราคาที่เครือซีพีทำสัญญาตกลงกับกรมวิชาการเกษตร คือ 15.70 บาท
กินส่วนต่างประมาณ 400 ล้านบาท
.........................
สัญญาจ้างยังกำหนดการส่งมอบกล้ายางพาราที่มีลักษณะ 1 ฉัตร หรือแตกยอดชั้นเดียว
ซึ่งชาวสวนยางเขารู้ดีว่า “ยางฉัตรเดียว” ยังไม่มีรากแข็งแรงพอที่จะรอด เพราะยางแตกยอดง่าย เพียงแค่ตัดมาจิ้มลงดินไม่นานก็แตกยอด แต่ยังไม่มีราก
ต้องได้ “ยาง 2 ฉัตร” จึงจะมีโอกาสรอดสูงกว่า เนื่องจากรากแข็งแรงกว่า
ยางในโครงการมันไม่มีรากแก้ว ปลูกไปยิ่งนาน 4 - 5 ปี เกษตรกรก็ยิ่งเสียเวลา เสียโอกาส
ต้นกล้าที่ไม่สมบูรณ์พอบางต้น ถึงแม้จะรอดไปได้ แต่มันจะแสดงอาการเอาตอนอายุ 6 - 7 ปี ถึงระยะที่จะกรีดยางได้ มันจะกลายเป็นยางแคระ หรือไม่ให้น้ำยางเอาดื้อ ๆ
เมื่อ ถึงเวลานั้น คือในอีก 6 - 7 ปีข้างหน้า คนที่เกี่ยวข้องหลายคนคงจะเกษียณอายุราชการ กินบำนาญ หรือไปเป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชนสบายไปแล้ว
ส่วนเกษตรกรที่คิดจะพลิกชีวิตตัวเอง ไถสวนเก่าเพื่อปลูกยางพารา หวังจะขายแพง ๆ จะอยู่ต่อได้อย่างไร ?
มิพักต้องพูดถึงรายได้ของประเทศชาติที่คาดการณ์ฝันเฟื่องเอาไว้ว่าจะเพิ่มเท่านั้นเท่านี้ – ก็มีแต่จะสูญไป
..........................
มีเรื่อง “ตลกขื่น” จะขอเล่าแทรกพักสมองคั่นเวลาตรงนี้อีกสักเล็กน้อย
ชาวบ้านเขาเล่ากันสนุก ๆ ว่าถัดจากยางพารา กระทรวงเกษตรฯกำลังจะหันบังเหียนไปยังปาล์ม
กำลังคิดโครงการปาล์มพันธุ์ใหม่
เป็นปาล์มพันธุ์ไทย คิดค้นโดยข้าราชการและนักการเมือง จากการศึกษาวิจัยพบว่าให้ผลผลิตดีมาก ๆ สำหรับข้าราชการและนักการเมืองชื่อว่า....
ปาล์มพันธุ์สวา
หรือ...
พันธุ์สวาปา(ล์)ม
..........................
ไม่เพียงแต่โครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่เท่านั้นที่อื้อฉาวตั้งแต่ประมูลจนบัดนี้
โครงการสวนยางอื้ออาทรก็มีปัญหาไม่แพ้กัน
และถึงเวลานี้โครงการก็ยังไม่ไปถึงไหน เพราะบริษัทตัวแทนของนักการเมืองและข้าราชการที่กะเข้ามาฮุบงานนี้ ซึ่งมีมูลค่านับหมื่นล้าน ถูกกลุ่มเกษตรกรร้องเรียน กระทั่งต้องส่งสัญญาไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความ ส่วนเกษตรกรที่เตรียมตัวเข้าร่วมโครงการก็ถูกลอยแพรอเก้อจนบัดนี้
............................
“ผมไม่ทราบ เป็นเรื่องของข้าราชการประจำ”
นี่คือวาทะประจำของนักการเมือง
โครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่นี้ก็เช่นกัน ถ้าจนตรอกจริง ๆ ก็จะเป็นข้าราชการประจำที่จะต้องถูก “ฆ่าตัดตอน” เพราะกระบวนการเป็นไปอย่างที่เล่ามาโดยลำดับ นักการเมืองสั่ง ข้าราชการประจำตั้งเรื่องและดำเนินการ นักการเมืองได้เงิน ข้าราชการประจำได้เงินและตำแหน่ง
คำถามง่าย ๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะต้องตอบด้วยสามัญสำนึกก็คือ....
ถ้านักการเมืองไม่สั่ง – ข้าราชการประจำจะกล้าหรือ ?
เลิกกันเสียทีเถิดกับบทสรุปประเภท....
คนสั่ง – ไม่โดน
คนเซ็น – โดน
สร้างประเพณีใหม่ขึ้นมาว่า....
เกิดเรื่องไม่ชอบมาพากลขึ้นในยุคใด นักการเมืองที่คุมหน่วยงานนั้นในขณะนั้น – ต้องโดน !
.............................
ถ้ายังยึดคติ “คนสั่ง – ไม่โดน, คนเซ็น – โดน” ก็ให้ระวังกันเอาไว้ทั้งนายทั้งบ่าวว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีกครั้ง
โดนยกครอก – ตายยกพรรค
เพราะบาปกรรมจากการโกงเกษตรกรและโกงคนจนตามทันเร็วมากและแรงมาก
หนึ่ง ในปัจจัยที่ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งประสบชะตากรรมในระดับถูกกวาดตกแผ่นดินใหญ่ใน อดีตมาแล้ว ก็เพราะพฤติกรรมโกงเกษตรกรและโกงคนจนนี่แหละ !
จดหมายจากศ.ระพี สาคริก
เรียน คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่เคารพ
ผมติดตามรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ แทบทุกวันศุกร์ ยกเว้นการเดินทางไปทำงานในพื้นที่
เพราะรายการที่คุณทำร่วมกับคุณสโรชา พรอุดมศักดิ์ มีเนื้อหาสาระที่ให้ประโยชน์ ทั้งในด้านเป็นข่าว และเป็นแง่คิดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของสังคม
เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คุณหยิบยกเอาประเด็นคณะรัฐมนตรีจะจัดประชุมสัญจร ที่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ซึ่งเมื่อ 60 ปีกว่ายังเป็นป่า ผมเคยไปเดินเกวียนอยู่ที่นั่น
ประเด็นสำคัญ คุณได้อธิบายชี้แจงว่า ปราสาทพนมรุ้งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับกษัตริย์ประกอบพิธี ซึ่งเป็นของสูงทางวัฒนธรรม แม้แต่ที่โบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก็เป็นสถานที่ซึ่งพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้นที่จะเข้าไปทำ พิธีได้
ถ้าคนแต่ก่อนเขาพูดก็คงพูดว่า -- คนธรรมดาเข้าไปทำอะไรระวังเหาจะขึ้นหัว
คุณสนธิบอกว่า ลูกน้องคิดทำให้เจ้านาย เพื่อยกย่อง ถ้าเราไม่ลืมสัจธรรมสิ่งหนึ่งซึ่งมีผู้พูดครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ”ลูกน้องมักทำให้ผู้ใหญ่เสียหาย” ถ้าผู้ใหญ่ลืมตัว ขณะนี้เป็นกันมากจริง ๆ ครับ
เมื่อคุณหยิบยกเอาข้อความที่ว่า เช่น ในโบสถ์วัดพระแก้วมรกต ”เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้วครับ” คุณสนธิก็คงจะมีอยู่ในใจแล้วก็ได้
เมื่อ ช่วงสงกรานต์ ผมชมข่าวทางโทรทัศน์ กล้องจับองค์พระแก้วมรกต กับจับที่คุณทักษิณ แยกกันเป็นทีละตอน ผมก็สงสัยแล้วว่าอาจเป็นที่เดียวกัน แต่ผมก็ไม่เชื่อสายตาว่าจะมีการอาจเอื้อมขนาดนั้น เพราะคนนี้ได้รับคัดเลือกมาจากประชาชนทั่วประเทศควรจะเป็นคนรู้จักเจียมตน
แต่วันรุ่งขึ้น ผมเห็นภาพสีเต็มหน้าหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และภาพสีในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ว่า นายกรัฐมนตรีเข้าไปเป็นประธานประกอบพิธีศาสนาในโบสถ์วัดพระแก้ว แถมยังแต่งตัวแบบลำลอง นั่งบนพรมสีแดง มีเจ้าหน้าที่เข้าไปก้มศีรษะมอบเครื่องกรวดน้ำให้
ผมไม่เคยเห็นภาพอย่างนี้มาก่อนในชีวิต
เห็นแต่องค์พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์แต่งฉลององค์ด้วยเครื่องราชอิสริยยศเท่านั้น
หลายคนเอาภาพนี้มาให้ดูกัน และคิดกันเอาเอง ทำให้ผมนึกในใจว่า ขณะนี้บ้านเมืองเกิดอาเพศขึ้นมาแล้วหรือ ?
อย่างที่โบราณกล่าวความตอนหนึ่งไว้ว่า “กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม” ผมดูแล้วใจหดหู่มากครับ
ที่คุณสนธิกล่าวสาปแช่งไว้ตอนใกล้จะปิดรายการ ผมว่ามันยังน้อยไป
คุณสนธิพูดเรื่อง เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ หากจำได้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้มีเรื่อง ผักสวนครัว รั้วกินได้ มีหนังสือพิมพ์ผู้จัดการมาขอสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากผม ผมพูดไว้ตอนหนึ่งว่า
“ถ้าเอาเรื่องจริง ๆ อาจไม่มีคุกจะใส่พอ”
คนในเกษตร โกรธผมมาก ถึงกับกล่าวว่า ”เกิดในเกษตรแท้ ๆ พูดยังงี้ได้ยังไง ?” ผมไม่อยากโต้เถียง เพราะถือว่าพูดด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ในใจก็อดคิดไม่ได้ว่า ”ถ้าไม่รักกันจริง ก็ไม่พูดตรง ๆ”
แต่การที่มีคนกลุ่มหนึ่งพูดว่า เกิดในเกษตรแท้ ๆ พูดได้ยังไง ? มันสะท้อนให้เห็นความรู้สึกของคนในเกษตรส่วนมาก ถือพวกมาตั้งแต่อยู่ในระบบการจัดการศึกษาแล้ว ยิ่งมาโดนนักการเมืองสมัยนี้ด้วย ยิ่งช้ำหนัก
ผมเคยตอบคำถามโทรทัศน์หน้าอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ที่เขาถามว่า อาจารย์รักเกษตรหรือเปล่า ?
ผมตอบ รักสิครับเพราะเป็นของพื้นฐานแผ่นดินไทย แต่ผมไม่ใช่พวกเกษตร ?
ใครจะคิดได้ไม่ได้ก็แล้วแต่ครับ แต่มันเป็นมานานแล้ว จึงทำให้ปัญญามืดบอด ไม่ยังงั้นชีวิตเกษตรกรจะดีกว่านี้มาก
ด้วยความเคารพอย่างสูง
ระพี สาคริก
http://www.nokkrob.org/index.php?&obj=forum.view(cat_id=open,id=344)
"บรรพต" ตกตะลึงยางตาสอยงัดกม.เล่นงานซีพีผิดสัญญา
ผู้จัดการรายวัน(21 มิถุนายน 2548)
" บรรพต" ดอดลงตรังหาข้อมูลตลบหลังกรมวิชาการเกษตร ยอมรับตะลึงยางตาสอยเกลื่อนสองฟากถนนและลามทั่วประเทศ ยันเป็นยางพันธุ์ไม่ดีไม่มีน้ำยาง "คุณหญิงหน่อย" จี้ "เนวิน" เร่งสรุปปัญหากล้ายาง พร้อมพลิกกม.เล่นงานซีพีหากพบความผิดอาจถึงขั้นยกเลิกสัญญา ขณะที่ "เนวิน" โบ้ยส่งชี้แจงหมดแล้ว ยันไม่มีทุจริต ย้ำไม่ได้นอนเฝ้าแปลงซีพีจึงไม่รู้มียางตาสอยหรือไม่ ผอ.สถาบันยางยืดอกพร้อมรับผิดชอบ ทั้งโยกงานควบคุมยางออกจากสถาบันวิจัยยางยกแผนก กลุ่มผู้ผลิตยางพันธุ์ดีตรังทวงสัญญาก่อนบุกทำเนียบฯ รอบสอง
นาย บรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวยอมรับว่า ได้เดินทางไปตรวจสอบแปลงกล้ายางที่จ.ตรัง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกล้ายางป้อนให้โครงการส่งเสริมปลูกยางล้านไร่จริง และพบยางตาสอยทั้งจังหวัดเต็มสองข้างทาง โดยก่อนหน้านี้ตนได้ยินแต่เพียงข่าวเท่านั้น จึงได้ลงไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง ซึ่งจากการสอบถามเกษตรกรที่เพาะพันธุ์กล้าส่งโครงการก็ยอมรับว่าเป็นยางตา สอยจริง เพราะหากเป็นยางตาเขียวจะต้องใช้เวลาในการชำกล้านานเป็นปี แต่การทำยางตาสอยใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น และจะไม่ให้น้ำยางในอนาคต ที่น่าห่วงคือขณะนี้พบยางตาสอยระบาดไปทั่วประเทศ
"เกษตรกรผู้ผลิตบอก ผมว่า ยางตาสอยก็สามารถเจริญเติบโตได้แต่เปลือกบางจะไม่ให้น้ำยางหรือให้น้อยมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเกษตรกร โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกไปแล้ว และไม่มีประสบการณ์ไม่สามารถที่จะแยกระหว่างยางตาเขียวกับยางตาสอยได้ ซึ่งผมจะเร่งสั่งการให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรลงไปให้ความรู้แก่เกษตรกร ที่ร่วมโครงการตรวจสอบพันธุ์ก่อนที่จะลงมือปลูก ส่วนเกษตรกรที่ซื้อไปปลูกเองจะต้องสอบถามเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรให้แน่ ใจเสียก่อนในการเลือกซื้อพันธุ์ การดูแลรวมไปถึงเทคนิคการปลูก" นายบรรพตกล่าว
วานนี้ (20 มิ.ย.) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมวิชาการภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส เพื่อความร่วมมือการวิจัยยางพาราของไทยว่า ในปี 2547 ไทยและฝรั่งเศสมีข้อตกลงกรอบความร่วมมือด้านวิจัยร่วมกัน ซึ่งฝ่ายไทยคัดเลือกโครงการวิจัยยางพาราเป็นหนึ่งในหลายหัวข้อที่ได้รับการ สนับสนุนภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ เพราะเห็นว่าฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญครบวงจร ตั้งแต่เกษตรกรรมยางที่ฝรั่งเศสมีฐานการผลิตในแอฟริกาจนถึงผลิตภัณฑ์ยางใน วิศวกรรมและยานยนต์
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกยางพารามากที่สุดในโลก แต่ 90% เป็นการส่งออกวัตถุดิบ มีเพียง 10% เท่านั้นที่มีการแปรรูป ถึงเวลาแล้วที่จะปรับโครงสร้างให้มีมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยาง การประชุมครั้งนี้จะเป็นช่องทางให้มีการพัฒนาสู่การแปรรูปอย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งยอมรับว่าโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องที่ต้องหารือกันในประเด็นของการพัฒนาคุณภาพต้นยาง ตั้งแต่ปลูกเพื่อให้น้ำยางที่ดีในอนาคต
จี้ "เนวิน" เร่งสรุปปัญหากล้ายาง
ผู้ สื่อข่าวถามว่าโครงการพัฒนาคุณภาพยางเป็นเรื่องระดับประเทศ แต่ปัญหาการปลูกยางไม่ได้คุณภาพกลับยังไม่มีการแก้ไข คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ได้กำชับผู้ที่รับผิดชอบคือนายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรฯ ให้เร่งดำเนินการและสรุปความเสียหายมาให้โดยเร็ว ไม่ใช่เพียงแต่การสรุปในเบื้องต้นเท่านั้น เพราะขณะนี้ประเด็นปัญหาได้ขยายผลไปมาก จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ส่วนเรื่องที่นายกรัฐมนตรี ออกมารับรองซีพีว่าได้ดำเนินการส่งมอบกล้า ยางอย่างถูกต้องนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่นั้นเป็นโครงการที่ดีนายกฯ พูดในทำนองว่าต้องการให้เกษตรกรหลุดพ้นจากปัญหาความยากจนไม่ได้มีเจตนาจะไป รับรองใคร
ส่วนกรณีหากภายหลังพบว่าบริษัทซีพีมีความผิดจะมีการยกเลิก สัญญาหรือไม่ นั้น คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ตอนนี้รอข้อเท็จจริงและดูข้อกฎหมายอยู่ว่าจะดำเนินการได้แค่ไหน ซึ่งก็ได้ให้นายเนวินเร่งสรุปให้อยู่แล้ว
"เนวิน" ย้ำแจงหมดแล้วการันตีไม่มีทุจริต
นาย เนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงปัญหาการทุจริตในโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ว่า โครงการนี้ไม่มีการทุจริต ทุกอย่างได้ชี้แจงไปหมดแล้ว จึงไม่อยากพูดอะไรมาก ส่วนการตั้งกรรมการสอบตอนนี้ก็อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการ จึงต้องรอสรุปผลว่าจะออกมาอย่างไร
สำหรับกรณีที่มีการระบาดของยางตา สอยและยางธุดงค์ในพื้นที่ภาคอีสานนั้น ได้มอบหมายให้นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไปตรวจจับอยู่ และก็ได้ดำเนินการแล้ว แต่การจะระบุว่ามียางตาสอยระบาดเข้ามาร่วมกับแปลงต้นยางที่ทางบริษัทเจริญ โภคภัณฑ์เมล็ดภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) หรือไม่นั้น ไม่อาจทราบได้ เนื่องจากไม่ได้นอนเฝ้าแปลงกล้ายางของซีพี
นายเนวินกล่าวถึงกรณีที่ กลุ่มเกษตรกรออกมาระบุว่าทางบริษัทซีพีเบี้ยว เงินไม่ยอมจ่ายเรื่องค่าต้นยางที่ส่งมอบนั้นว่า เป็นเรื่องของกลไกทางธุรกิจที่ทางบริษัททำกับเกษตรกร กระทรวงฯ จะไปเกี่ยวด้วยไม่ได้ ถ้ามีปัญหาหรือโกงกันเกษตรกรควรจะไปแจ้งความฟ้องร้องตามกฎหมายเพื่อเรียก ร้องค่าเสียหาย
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า ส.ส. นำกล้ายางไปแจกในช่วงหลังเดือนสิงหาคม ซึ่งล่วงเลยฤดูปลูกยางจนทำให้กล้ายางตายเป็นจำนวนมาก เป็นเพราะส.ส.ไม่ฟังเสียงทักท้วงจากกระทรวงเกษตรฯ แต่ในเอกสารระบุชัดว่า ทางกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้เสนอขอเงื่อนไขให้ส่งมอบเอง นายเนวินกล่าวว่า ไม่มีความคิดเห็นกับเรื่องดังกล่าว
ผอ.สถาบันวิจัยยาง ยืดอกรับผิดชอบ
นาย ประวิตร วงศ์สุคนธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การทำยางตาสอยถ้าพูดตามหลักเหตุผลแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากติดตายาก การลงทุนสูง เมื่อไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงไม่น่าจะมีใครยอมขาดทุนเพื่อทุจริต ดังนั้นจึงไม่เชื่อว่ามีการทำยางตาสอยอยู่จริง แต่ถ้ามีการทำยางตาสอยจริง ผมในฐานะ ผอ.สถาบันวิจัยยาง ก็ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ เพราะเป็นผู้ดูแลด้านพันธุ์ยางโดยตรง
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ผอ.ได้ลงไปตรวจสอบบ้างหรือไม่ นายประวิตรกล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจเป็นประจำก็ไม่พบว่ามียางตาสอยจริง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ทางเกษตรกรเขาทำของเขาเองไม่ได้ทำเพื่อการค้าทางสถาบัน วิจัยยาง ก็ไม่สามารถบังคับอะไรได้
ส่วนกรณีที่มีการโอนย้ายงานทาง ด้านการควบคุมยางให้เป็นไปตามพระราช บัญญัติยาง ไปอยู่ในสังกัดสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรนั้น นายประวิตรกล่าวว่า เป็นแผนของกรมวิชาการเกษตรที่มีมาแต่เดิมแล้วไม่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องทุจริต กล้ายางพาราเป็นการย้ายสังกัดให้ถูกต้องตามหน้าที่โดยงานที่ย้ายไปเป็นการ ย้ายกันทั้งแผนก รวมทั้งบุคลากรอีกประมาณ 10 กว่าคนด้วย สำหรับงานที่ย้ายออกไปก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เมื่อทางสถาบันวิจัยยางต้องการข้อมูลในส่วนไหน ก็สามารถประสานตรวจสอบหรือร้องขอข้อมูลได้
ซีพีเรียก "นายหน้า" เข้าพบด่วน
รายงาน ข่าวแจ้งว่า ภายหลังการตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ของนายเอกพล บุญเกื้อ นายหน้าที่รวบรวมกล้ายางส่งให้กับซีพี ปรากฏว่าทางผู้บริหารของซีพี ได้เรียกนายเอกพลเข้าพบเป็นการด่วนในวันนี้ (21 มิ.ย.)
ยื่น 3 ข้อเสนอร้อง "คุณหญิงหน่อย" แก้ไข
นาย ซุ่น แซ่เอี้ยว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ในฐานะประธานกลุ่มผู้ผลิตยางพันธุ์ดีตรัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกลุ่มฯ ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 304 ราย กำลังประสบปัญหาเดือดร้อนอย่างหนักเพราะผลกระทบจากโครงการส่งเสริมปลูกยาง ล้านไร่ของรัฐบาล โดยผลการสำรวจข้อมูลจากสมาชิกทั้งหมด มีประเด็นข้อเรียกร้อง 3 ข้อที่ขอให้ทางรมว.กระทรวงเกษตรฯ ให้ความช่วยเหลือโดยด่วน คือ
1) ปัญหาด้านราคาและต้นทุนการผลิต ให้รัฐบาลประกันราคากล้ายางพันธุ์ดีที่จำหน่ายจากแปลงเกษตรกรในราคา 6 บาท/ต้นเป็นอย่างน้อย และอยากให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าที่เป็นต้นทุนการผลิตกล้ายางของเกษตรกร หรือไม่ก็หาทางสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงด้วย
2) ปัญหาด้านการตลาด เวลานี้มีปริมาณยางพันธุ์อยู่ในแปลงของเกษตรกรอีกจำนวนมาก สวนทางกับความต้องการของตลาดและนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการปลูกยาง แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ตอนนี้เกษตรกรต้องการขายกล้ายางเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ แต่กลับไม่มีผู้ซื้อ แถมที่จำหน่ายไปแล้วส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับเงินจากพ่อค้าคนกลาง
นอกจาก นั้น ยังมีเกษตรกรหลายรายถูกหลอกจากนายหน้าบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยให้นำหลักฐานการขึ้นทะเบียนต่อทางราชการ และเอกสารที่ดินเพาะกล้ายางไปมอบให้ แล้วบอกว่าจะมีการจัดสรรโควตาขายกล้ายางมาให้ตามความเป็นจริง แต่ปรากฏในภายหลังว่าเกษตรกรถูกสวมสิทธิ์ ส่วนกล้ายางที่ผลิตได้ก็ไม่สามารถขายได้ ดังนั้นขอให้รัฐบาลชี้แจงข้อมูลที่ชัดเจนที่เกษตรกรเข้าใจได้ง่าย และหาตลาดให้กับเกษตรกรโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง
และ 3. ปัญหาด้านการขาดเงินทุนหมุนเวียน ต้องแบกรับภาระหนี้สินกล้ายางที่ผลิตออกมาจำนวนมากก็ขายไม่ได้ ส่วนที่ขายไปแล้วก็ได้ราคาต่ำมาก ซ้ำยังไม่ได้รับเงิน ทั้งนี้เกิดจากพ่อค้าคนกลางปั่นตลาดและฉวยโอกาสทำกำไร ดังนั้นขอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตกล้ายางด่วน เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และช่วยลดภาระหนี้สินของเกษตรกร รวมถึงเพื่อให้งานของกลุ่มขยายไปสู่วิสาหกิจชุมชนได้ในที่สุด
"หาก รัฐบาลจริงใจให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ สั่งการให้แก้ไขปัญหาทันที เกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางจะไม่ต้องรวมตัวกันเดินทางบุกทำเนียบฯ ทวงถามอีกครั้ง" หนึ่งในแกนนำกลุ่มเกษตรกรฯ กล่าว โดยก่อนหน้านี้ กลุ่มดังกล่าวได้เดินทางมายังทำเนียบฯ เพื่อร้องเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่ง
http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=34358
---------------------------------------------------
ประชาทรรศน์
พิรุธ คตส.เลือกปฏิบัติ “บรรพต” พ้นคดีกล้ายาง
พบ พิรุธ คตส. เลือกปฏิบัติคดีจัดซื้อกล้ายางพารา 1.4 พันล้าน ในรายชื่อผู้ถูกกล่าวหา 45 คน ไม่มีชื่อ “บรรพต หงษ์ทอง” ทั้งที่เรื่องอยู่ในความรับผิดชอบของปลัดกระทรวงเกษตรฯ โดยตรง ขณะที่กรรมการโดยตำแหน่งกลับโดนหางเลขถ้วนหน้า จี้ประธานอนุกรรมการสอบสวน พร้อมด้วย “นาม ยิ้มแย้ม” อธิบายต่อสาธารณชน ระบุประธาน คตส.ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ มีโทษถึงติดคุก
จาก กรณีที่คณะกกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) มีมติส่งสำนวนคดีการจัดซื้อกล้ายางพารามูลค่า 1,440 ล้านบาทให้สำนักงานอัยการสูงสุด สั่งฟ้องผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 45 คน มีทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และ บริษัทเอกชนที่เข้าประกวดราคา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการใช้เวลาพิจารณาอย่างยาวนานนั้น ได้กลายเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความสุจริต เที่ยงธรรม และการเลือกปฏิบัติของ คตส.
เนื่อง มาจากการสอบสวนคดีจัดซื้อกล้ายางพาราดังกล่าว มีพิรุธมาตั้งแต่แรก เมื่อนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. สั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 93 ราย โดยไม่มีชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี คือ นายวัลลภ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาอยู่ด้วย จนกระทั่งถูกสื่อมวลชนทักท้วง ว่าทำไมชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี หายไป
ใน ครั้งนั้น นายนาม ยิ้มแย้ม ชี้แจงว่า “เจ้าหน้าที่พิมพ์ตกหล่น” และได้สั่งให้พิมพ์ชื่อนายวัลลภ เจียรวนนท์ พร้อมด้วยผู้บริหารซีพี ทั้งคณะ เข้าไปเป็นผู้ต้องหาแล้ว โดยเป็นเพียงคำแก้ตัวง่ายๆ ท่ามกลางกระแสข่าวว่ามีการวิ่งเต้น และมีคนพยายามที่จะเชื่อมโยงไปถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
เมื่อ ผ่านพ้นขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหา โดยไม่สามารถตัดชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี ให้พ้นจากสำนวนได้ คตส.ก็ใช้เวลาอีกกว่า 1 ปี ในการสรุปผลการสอบสวนว่าสมควรดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 45 ราย ตัดคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งเป็นผู้นำเสนอโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ออกไปทั้งหมด
ผู้ ต้องหาของคตส. ในคดีนี้ จึงเหลือเพียง กลุ่มที่ 1. คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คกช.) บางคน นำโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานคชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายอดิศัย โพธารามิก นายวราเทพ รัตนากร พร้อมด้วยข้าราชการจากหลายหน่วยงานที่เป็นกรรมการคชก. โดยตำแหน่ง ซึ่งถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีอนุมัติเงิน 1,440 ล้านบาท ดำเนินโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ โดยไม่มีอำนาจ
กลุ่ม ที่ 2. ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร ที่เป็นคณะกรรมการประกวดราคา กลุ่มที่ 3. บริษัทเอกชนที่เข้าประกวดราคาทั้ง 3 ราย และ กลุ่มที่ 4 คือ นายเนวิน ชิดชอบ ในฐานะผู้อนุมัติให้รับราคาตามที่ส่วนราชการเสนอมา
หาก จำแนกความผิดของทั้ง 45 ราย ที่ถูกคตส. ตั้งข้อหาและสรุปสำนวนส่งให้อัยการสั่งฟ้อง พอจะได้เป็น 3 เรื่องหลัก คือ 1. คณะกรรมการคชก. มีความผิดเนื่องจากอนุมัติให้ใช้เงิน 1,440 ล้านบาทโดยไม่มีอำนาจ 2. ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร กับ บริษัทเอกชน มีความผิด เนื่องจาก “ล็อกสเปก” และ “ฮั้ว”ราคา และ 3. นายเนวิน ชิดชอบ มีความผิดเนื่องจาก เซ็นอนุมัติรับราคา โดยไม่ยอมรอให้นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนใหม่ ในขณะนั้น มาเป็นคนลงนาม
อย่าง ไรก็ดีประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องนี้ อยู่ตรงที่การดำเนินคดีกับกรรมการ คชก. บางคน และตัดชื่อคนบางคน ออกไป ทั้งๆ ที่เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ในฐานะคณะกรรมการที่ร่วมกันพิจารณาอนุมัติเงิน 1,440 ล้านบาท
มี การตั้งข้อสังเกตุว่า คตส. หยิบชื่อกรรมการคชก. 2 คนออกไปจากสำนวนสอบสวน คือ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และนายสุทธิพร จีระพันธ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ไม่ตกเป็นผู้ต้องหาของคตส. ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะนายบรรพต ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงเกษตรฯ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
ใน ขณะที่ นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง กลับตกเป็นผู้ต้องหา เนื่องจากเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยตำแหน่ง เช่นเดียวกับ นายปริญญา อุดมทรัพย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ซึ่งไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลย แต่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ก็กลับต้องตกเป็นผู้ต้องหา เช่นเดียวกัน
แหล่ง ข่าวระบุว่ากรณีที่เกิดขึ้น นายบรรเจิด สิงหคเนติ ประธานอนุกรรมการสอบสวนคดีนี้ และ นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. ต้องมีคำอธิบายกับประชาชนว่าเหตุใด ชื่อนายบรรพต หงษ์ทอง จึงหายไป แต่รองอธิบดีกรมการปกครอง หรืออธิบดีกรมประมง ต้องมารับผิดกับเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ ที่มีนายบรรพต เป็นปลัดกระทรวงฯ เพราะเหตุใด
พร้อม ตั้งข้อสังเกตุด้วยว่า นายนาม ยิ้มแย้ม จะแก้ตัวว่าเจ้าหน้าที่พิมพ์ชื่อผู้ต้องหา “หล่น” อีกหรือไม่ ซึ่งการกระทำของนายนาม ส่อเข้าข่ายการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เข้าด้วยช่วยเหลือผู้กระทำความผิด เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุก
ทั้ง นี้ หากคตส. ทำงานด้วยความไม่ชัดเจน อาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นการทำงานเพื่อชำระความแค้นส่วนตัว ไม่ได้เป็นการทำงานเพื่อประเทศชาติด้วยความสุจริต
http://downmerng.blogspot.com/2008/02/blog-post_07.html
-------------------------------------------------------------------------
แก้วสรร เป็นพยานให้ เนวิน เชื่อไม่ผิดคดีทุจริตกล้ายาง
แก้ว สรร อติโพธิ" อดีต คตส.เสียงข้างน้อยคดีทุจริตกล้ายาง พร้อมขึ้นศาลเป็นพยานจำเลย ระบุ คตส. มีมติเอกฉันท์การสมยอมราคาการจัดซื้อ แต่ตัวเองเห็นต่างเรื่องข้อกฎหมาย พฤติการณ์ คชก.ยังไม่เข้าความผิดทุจริตร่วม "เนวิน" ย้ำไม่กลัวคนมองเป็นพยานจำเลย ชี้เป็นเรื่องกระบวนยุติธรรม จำเลยมีโอกาสสู้คดีเต็มที่
ที่ ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง วันที่ 22 พ.ค.52 เวลา 09.30 น. นายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตจัดซื้อกล้ายางพารา 90 ล้านต้น คดีหมายเลขดำที่ อม.4
2551 พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ไต่สวนพยานจำเลย ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ในฐานะ คชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว.เกษตรฯ ในฐานะ คชก. นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ ในฐานะเป็นผู้ริเริ่มโครงการ
นอก จากนี้ ยังมีนายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะ คชก. กับพวกบริษัทเอกชน และกลุ่มข้าราชการ ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-44 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง และ ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4 10 -14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 11
โดยฝ่ายจำเลย นำนายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งเป็น คตส. เสียงข้างน้อย ในชั้นพิจารณาสำนวน ที่เห็นว่ามีปัญหาประเด็นข้อกฎหมายที่ยังไม่อาจชี้มูลความผิดว่า มีการทุจริต ซึ่งนายแก้วสรร เบิกความว่า เหตุผลที่พยานเป็นเสียงข้างน้อยในชั้นพิจารณารายงานสอบสวนอนุ คตส. เรื่องนี้ เพราะไม่เห็นหลักฐานที่ชี้ว่า มีการสมคบกันกับนายเนวินผู้ริเริ่มโครงการตั้งแต่แรก เช่นเดียวกับ คชก. ที่เห็นว่า การกระทำนั้นยังไม่ใช่การทุจริต แต่เป็นเรื่องที่ คชก. ดื้อ พยายามจะทำโครงการนี้ ส่วนข้อเท็จจริงเรื่องการประมูลจัดซื้อจัดจ้างมีการทุจริตหรือไม่นั้น ประเด็นนี้ คตส. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า มีการสมยอมในการประกวดราคา โดยไม่ได้แข่งขันกันเลย ซึ่งบุคคลที่มาร่วมก็อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
เมื่อ ศาลถามว่า นายเนวิน รมช.เกษตร ฯ ขณะนั้น ซึ่งรับผิดชอบเรื่องกล้ายาง รวมทั้งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และคณะกรรมการบริหารประกวดราคา ต่างมีความสัมพันธ์กันในทางตำแหน่งแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีพฤติการณ์ร่วมกัน นายแก้วสรร ตอบว่า ในสำนวนคดี อนุ คตส. ไม่สามารถเจาะลงไปว่า มีการบัญชาการดังกล่าว ส่วนเรื่องความสัมพันธ์โดยส่วนตัวนั้น มีแต่คำบอกเล่า ซึ่งตนไม่เห็นว่าจะนำมาเป็นหลักฐานได้ ภายหลังศาลไต่สวนนายแก้วสรรเสร็จสิ้นแล้ว ฝ่ายจำเลยได้นำพยานเข้าไต่สวนอีก 4 ปาก
ทั้งนี้ นายแก้วสรร กล่าวชี้แจงว่า การที่มาเป็นพยานจำเลยครั้งนี้ ไม่กลัวว่าใครจะมองยังไง เพราะอยากจะให้มองในมุมกลับว่าเป็นกระบวนการยุติธรรม จำเลยมีโอกาสต่อสู้เต็มที่ เมื่อเขาต้องการให้เรามาให้ปากคำเราก็ต้องมา เมื่อมาแล้วเราจะมาพูดความเท็จไม่ได้เพราะในความเป็นจริง คตส. ก็มีการถกเถียงกันตั้งเยอะ ไม่ใช่ว่าจะมีมติเอกฉันท์เสมอไป แต่ตรงนี้ก็แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้กลั่นแกล้ง
http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=264499&ch=pl1
http://ic-democracy.com/news-View.php?N=47
------------------------------------------------------
ที่ ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือก 7 หัวหน้าคณะ 1 พ.อาวุโส รับผิดชอบสำนวน “สมคิด-เนวิน” กับพวกทุจริตจัดซื้อกล้ายาง 90 ล้านต้น 1,440 ล้านบาท นัดฟังคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ 6 ส.ค.นี้
วันนี้ (4 ก.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกา สนามหลวง นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อเลือกตั้งองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.4/2551 ทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.), นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมว.เกษตร และสหกรณ์ กับพวกรวม 44 คน ประกอบด้วย กลุ่มคณะรัฐมนตรี (ครม.), กลุ่มคณะกรรมการกลั่นกรองเสนอโครงการต่อ ครม.คณะที่ 2, กลุ่มคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.), กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารราผลประกวดราคา ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการ และกลุ่มบริษัทเอกชนที่มี 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือซีพี, บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด และ บริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด
โดยการประชุมเลือกองค์คณะใช้วิธีลงคะแนนลับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 13 ซึ่งผลการลงคะแนนโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ได้รับเลือกมีรายชื่อเรียงตามลำดับคะแนนที่ได้รับ เลือกดังนี้
1.นายบุญรอด ตันประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 2.นายชาลี ทัพภวิมล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 3.นายเกษม วีรวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 4.นายสุรภพ ปัทมะสุคน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 5.นายวิชา มั่นสกุล ผู้พิพากษาอ่วุโสในศาลฎีกา 6.นายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 7.นายประทีป ปิติสันต์ ผู้พิหากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 8.นายรัตน กองแก้ว ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 9.นายจรัส พวงมนี ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ซึ่งนายจรัส เป็นหนึ่งในองค์คณะคดีหมายเลขดำ อม.2/2551 ทุจริตออกโฉนดที่ดินคลองด่านทับที่สาธารณะที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวัฒนา อัศวเหม ประธานพรรค เพื่อแผ่นดิน อดีต รมช.มหาดไทย เป็นจำเลยด้วย
องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 จะประชุมเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน และพิจารณาคำฟ้องของ คตส. เพื่อมีคำสั่งรับฟ้องหรือไม่รับฟ้องต่อไป ซึ่งศาลฎีกาฯ นัดฟังคำสั่งในวันที่ 6 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ประธานศาลจะปิดประกาศรายชื่อองค์คณะผู้พิพากษาไว้ที่หน้าศาลฎีกาให้ คู่ความทราบ เพื่อยื่นคำร้องคัดค้านตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 4
ผู้สื่อข่าวรายงงานว่า คดีนี้ คตส.ยื่นฟ้องจำเลย 44 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีผู้ดำเนินโครงการ ได้แก่ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.เกษตรฯ, กลุ่ม คชก.ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน คชก.ที่อนุมัติการใช้เงิน, กลุ่มข้าราชการที่เป็นคณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา, กลุ่มเอกชน 18 ราย แยกเป็นนิติบุคคลบริษัท 3 แห่ง และกรรมการบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ , บจก.รีสอร์ทแลนด์ และ บจก.เอกเจริญการเกษตร จำนวน 15 ราย ข้อหาเป็น เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ที่โทษจำคุก 1-10 ปี หรือ ปรับ 2,000-20,000 บาท, เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ม.151 ที่มีโทษจำคุก 5- 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 2,000-40,000 บาท , ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อให้ได้ไป ซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท ประกอบ มาตรา 83, 84 และ 86 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4, 10-14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 11
http://www.boybdream.com/manager-news-content.php?newid=71755
-----------------------------------------------------------------
ยกฟ้องคดีกล้ายางรอดทั้งยวง
เนวินและคณะพ้นมลทิน
วันอังคาร ที่ 22 กันยายน 2552 เวลา 7:36 น
สะอื้นยันทำเพื่อประชาชนทนายโจทก์ระบุคดีสิ้นสุด
5 อดีตรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องรวม 44 ชีวิตรอดยกแผง ศาลฎีกามีมติ 8 ต่อ 1 ยกฟ้องคีดกล้ายาง “เนวิน” สะอื้นน้ำตาคลอเบ้ายันโครงการกล้ายางทำเพื่อประชาชน พร้อมเดินหน้าภารกิจปกป้องสถาบันจนตัวตาย ขณะที่กองเชียร์เฮจนเสียงแหบ คำตัดสินชี้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่การฉ้อโกง หลังฐานฟังไม่ได้ จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ทนายโจทก์น้อมรับชี้คดีจบแล้ว ด้าน “หญิงเป็ด” บ่นผิดหวัง ขณะที่กองทัพและตำรวจฉวยจังหวะนายกฯไม่อยู่ ขอเงินครม.ซื้ออาวุธอื้อซ่า อ้างของเก่าล้าสมัย ด้านพ.ร.บ.เงินกู้อาจสะดุด วุฒิฯยังค้าน “กอร์ปศักดิ์” แย้มถ้ารัฐบาลแพ้โหวตก็ต้องยุบสภา ส่วน “เจ๊วา” ดัน “ยรรยง” เข้าครม.ประทับตรานั่งเก้าอี้ปลัดกระทรวงพาณิชย์
* “ปะฉะดะ”คุมอ่านกล้ายาง
เมื่อ วันที่ 21 ก.ย. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการนัดอ่านคำพิพากษาครั้งที่ 2 ในคดีการทุจริตจัดซื้อกล้ายางพาราจำนวน 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ หลังจากเลื่อนอ่านคำพิพากษามาจากวันที่ 17 ส.ค. เนื่องจากนายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 5 ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษา ซึ่งอ้างว่าอยู่ในระหว่างการรักษาอาการป่วยที่สหรัฐอเมริกา
สำหรับ บรรยากาศก่อนการคำพิพากษา ได้มีผู้สื่อข่าวทุกแขนงมารอรายงานข่าว รวมถึงโทรทัศน์ได้มีการเตรียมพร้อมการถ่ายทอดสด ขณะที่บริเวณทางเข้าและออกของศาลฎีกาได้มีการนำแผงเหล็กมาตั้งบริเวณทางเดิน เท้าเพื่อป้องกันเหตุการณ์ความวุ่นวาย นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมารักษาความสงบเรียบร้อยหลายร้อยนายทั้งใน และนอกเครื่องแบบ รวมทั้งชุดปฏิบัติการพิเศษเคลื่อนที่เร็ว “ปะฉะดะ” นำโดย พล.ต.ต. วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 เป็นผู้ควบคุมดูแล
* รมต.มาให้กำลังใจเพียบ
จาก นั้นในช่วงบ่ายบรรดา ส.ส. และรัฐมนตรีของพรรคภูมิใจไทยได้เดินทางมาให้กำลังใจนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคอย่างคับคั่ง นำโดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เลขาธิการ พรรค นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรฯ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ จากพรรคเพื่อแผ่นดิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายนายชวรัตน์ ทั้งนี้ยังรวมถึงนายมานิต วัฒนเสน ว่าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน
ขณะที่คนในครอบครัวชิดชอบมีเพียงนายศักดิ์สยาม ประธานคณะทำงาน รมว.มหาดไทย น้องชายนายเนวินเท่านั้นที่เดินทางมาที่ศาลฎีกา ส่วนนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา บิดานายเนวินติดภารกิจที่รัฐสภาจึงไม่ได้เดินทางมา จนกระทั่งเวลา 13.35 น. นายเนวินในฐานะจำเลยที่ 4 ได้เดินทางมาถึงศาลฎีกาด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มพร้อมกับทักทายสื่อมวลชน
* ศาลร่ายยาวคดีกล้ายาง
จาก นั้นเวลา 14.10 น. นายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนทุจริตการจัดซื้อต้นกล้ายาง พารา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 ที่ คตส. โดย ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร คชก. จำเลยที่ 1 นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง จำเลยที่ 2 นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีต รมว.เกษตรฯ จำเลยที่ 3 นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ จำเลยที่ 4 นายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 5 ในฐานะกรรมการ คชก. คณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา และบริษัทเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัทเอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา เป็นจำเลยที่ 6-44 ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
* มติคะแนนเสียงเอกฉันท์
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า องค์คณะผู้พิพากษา พิจารณาแล้ววินิจฉัยในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปัญหาว่าคำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่า คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละคนไว้อย่างชัดเจนโดย ละเอียดแล้วว่า จำเลยคนใดกระทำความผิดร่วมกับจำเลยคนใด และจำเลยแต่ละคนมีความผิดอย่างไรโดยระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ ที่กล่าวหาว่ากระทำความผิดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยทั้ง 44 เข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งอ้างบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.158 และข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง พ.ศ. 2543 ข้อ 8 วรรคหนึ่งแล้ว
ข้อ 2. โจท
" บรรพต" ดอดลงตรังหาข้อมูลตลบหลังกรมวิชาการเกษตร ยอมรับตะลึงยางตาสอยเกลื่อนสองฟากถนนและลามทั่วประเทศ ยันเป็นยางพันธุ์ไม่ดีไม่มีน้ำยาง "คุณหญิงหน่อย" จี้ "เนวิน" เร่งสรุปปัญหากล้ายาง พร้อมพลิกกม.เล่นงานซีพีหากพบความผิดอาจถึงขั้นยกเลิกสัญญา ขณะที่ "เนวิน" โบ้ยส่งชี้แจงหมดแล้ว ยันไม่มีทุจริต ย้ำไม่ได้นอนเฝ้าแปลงซีพีจึงไม่รู้มียางตาสอยหรือไม่ ผอ.สถาบันยางยืดอกพร้อมรับผิดชอบ ทั้งโยกงานควบคุมยางออกจากสถาบันวิจัยยางยกแผนก กลุ่มผู้ผลิตยางพันธุ์ดีตรังทวงสัญญาก่อนบุกทำเนียบฯ รอบสอง
นาย บรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวยอมรับว่า ได้เดินทางไปตรวจสอบแปลงกล้ายางที่จ.ตรัง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกล้ายางป้อนให้โครงการส่งเสริมปลูกยางล้านไร่จริง และพบยางตาสอยทั้งจังหวัดเต็มสองข้างทาง โดยก่อนหน้านี้ตนได้ยินแต่เพียงข่าวเท่านั้น จึงได้ลงไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง ซึ่งจากการสอบถามเกษตรกรที่เพาะพันธุ์กล้าส่งโครงการก็ยอมรับว่าเป็นยางตา สอยจริง เพราะหากเป็นยางตาเขียวจะต้องใช้เวลาในการชำกล้านานเป็นปี แต่การทำยางตาสอยใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น และจะไม่ให้น้ำยางในอนาคต ที่น่าห่วงคือขณะนี้พบยางตาสอยระบาดไปทั่วประเทศ
"เกษตรกรผู้ผลิตบอก ผมว่า ยางตาสอยก็สามารถเจริญเติบโตได้แต่เปลือกบางจะไม่ให้น้ำยางหรือให้น้อยมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเกษตรกร โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกไปแล้ว และไม่มีประสบการณ์ไม่สามารถที่จะแยกระหว่างยางตาเขียวกับยางตาสอยได้ ซึ่งผมจะเร่งสั่งการให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรลงไปให้ความรู้แก่เกษตรกร ที่ร่วมโครงการตรวจสอบพันธุ์ก่อนที่จะลงมือปลูก ส่วนเกษตรกรที่ซื้อไปปลูกเองจะต้องสอบถามเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรให้แน่ ใจเสียก่อนในการเลือกซื้อพันธุ์ การดูแลรวมไปถึงเทคนิคการปลูก" นายบรรพตกล่าว
วานนี้ (20 มิ.ย.) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมวิชาการภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส เพื่อความร่วมมือการวิจัยยางพาราของไทยว่า ในปี 2547 ไทยและฝรั่งเศสมีข้อตกลงกรอบความร่วมมือด้านวิจัยร่วมกัน ซึ่งฝ่ายไทยคัดเลือกโครงการวิจัยยางพาราเป็นหนึ่งในหลายหัวข้อที่ได้รับการ สนับสนุนภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ เพราะเห็นว่าฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญครบวงจร ตั้งแต่เกษตรกรรมยางที่ฝรั่งเศสมีฐานการผลิตในแอฟริกาจนถึงผลิตภัณฑ์ยางใน วิศวกรรมและยานยนต์
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกยางพารามากที่สุดในโลก แต่ 90% เป็นการส่งออกวัตถุดิบ มีเพียง 10% เท่านั้นที่มีการแปรรูป ถึงเวลาแล้วที่จะปรับโครงสร้างให้มีมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยาง การประชุมครั้งนี้จะเป็นช่องทางให้มีการพัฒนาสู่การแปรรูปอย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งยอมรับว่าโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องที่ต้องหารือกันในประเด็นของการพัฒนาคุณภาพต้นยาง ตั้งแต่ปลูกเพื่อให้น้ำยางที่ดีในอนาคต
จี้ "เนวิน" เร่งสรุปปัญหากล้ายาง
ผู้ สื่อข่าวถามว่าโครงการพัฒนาคุณภาพยางเป็นเรื่องระดับประเทศ แต่ปัญหาการปลูกยางไม่ได้คุณภาพกลับยังไม่มีการแก้ไข คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ได้กำชับผู้ที่รับผิดชอบคือนายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรฯ ให้เร่งดำเนินการและสรุปความเสียหายมาให้โดยเร็ว ไม่ใช่เพียงแต่การสรุปในเบื้องต้นเท่านั้น เพราะขณะนี้ประเด็นปัญหาได้ขยายผลไปมาก จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ส่วนเรื่องที่นายกรัฐมนตรี ออกมารับรองซีพีว่าได้ดำเนินการส่งมอบกล้า ยางอย่างถูกต้องนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่นั้นเป็นโครงการที่ดีนายกฯ พูดในทำนองว่าต้องการให้เกษตรกรหลุดพ้นจากปัญหาความยากจนไม่ได้มีเจตนาจะไป รับรองใคร
ส่วนกรณีหากภายหลังพบว่าบริษัทซีพีมีความผิดจะมีการยกเลิก สัญญาหรือไม่ นั้น คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ตอนนี้รอข้อเท็จจริงและดูข้อกฎหมายอยู่ว่าจะดำเนินการได้แค่ไหน ซึ่งก็ได้ให้นายเนวินเร่งสรุปให้อยู่แล้ว
"เนวิน" ย้ำแจงหมดแล้วการันตีไม่มีทุจริต
นาย เนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงปัญหาการทุจริตในโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ว่า โครงการนี้ไม่มีการทุจริต ทุกอย่างได้ชี้แจงไปหมดแล้ว จึงไม่อยากพูดอะไรมาก ส่วนการตั้งกรรมการสอบตอนนี้ก็อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการ จึงต้องรอสรุปผลว่าจะออกมาอย่างไร
สำหรับกรณีที่มีการระบาดของยางตา สอยและยางธุดงค์ในพื้นที่ภาคอีสานนั้น ได้มอบหมายให้นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไปตรวจจับอยู่ และก็ได้ดำเนินการแล้ว แต่การจะระบุว่ามียางตาสอยระบาดเข้ามาร่วมกับแปลงต้นยางที่ทางบริษัทเจริญ โภคภัณฑ์เมล็ดภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) หรือไม่นั้น ไม่อาจทราบได้ เนื่องจากไม่ได้นอนเฝ้าแปลงกล้ายางของซีพี
นายเนวินกล่าวถึงกรณีที่ กลุ่มเกษตรกรออกมาระบุว่าทางบริษัทซีพีเบี้ยว เงินไม่ยอมจ่ายเรื่องค่าต้นยางที่ส่งมอบนั้นว่า เป็นเรื่องของกลไกทางธุรกิจที่ทางบริษัททำกับเกษตรกร กระทรวงฯ จะไปเกี่ยวด้วยไม่ได้ ถ้ามีปัญหาหรือโกงกันเกษตรกรควรจะไปแจ้งความฟ้องร้องตามกฎหมายเพื่อเรียก ร้องค่าเสียหาย
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า ส.ส. นำกล้ายางไปแจกในช่วงหลังเดือนสิงหาคม ซึ่งล่วงเลยฤดูปลูกยางจนทำให้กล้ายางตายเป็นจำนวนมาก เป็นเพราะส.ส.ไม่ฟังเสียงทักท้วงจากกระทรวงเกษตรฯ แต่ในเอกสารระบุชัดว่า ทางกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้เสนอขอเงื่อนไขให้ส่งมอบเอง นายเนวินกล่าวว่า ไม่มีความคิดเห็นกับเรื่องดังกล่าว
ผอ.สถาบันวิจัยยาง ยืดอกรับผิดชอบ
นาย ประวิตร วงศ์สุคนธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การทำยางตาสอยถ้าพูดตามหลักเหตุผลแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากติดตายาก การลงทุนสูง เมื่อไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงไม่น่าจะมีใครยอมขาดทุนเพื่อทุจริต ดังนั้นจึงไม่เชื่อว่ามีการทำยางตาสอยอยู่จริง แต่ถ้ามีการทำยางตาสอยจริง ผมในฐานะ ผอ.สถาบันวิจัยยาง ก็ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ เพราะเป็นผู้ดูแลด้านพันธุ์ยางโดยตรง
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ผอ.ได้ลงไปตรวจสอบบ้างหรือไม่ นายประวิตรกล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจเป็นประจำก็ไม่พบว่ามียางตาสอยจริง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ทางเกษตรกรเขาทำของเขาเองไม่ได้ทำเพื่อการค้าทางสถาบัน วิจัยยาง ก็ไม่สามารถบังคับอะไรได้
ส่วนกรณีที่มีการโอนย้ายงานทาง ด้านการควบคุมยางให้เป็นไปตามพระราช บัญญัติยาง ไปอยู่ในสังกัดสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรนั้น นายประวิตรกล่าวว่า เป็นแผนของกรมวิชาการเกษตรที่มีมาแต่เดิมแล้วไม่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องทุจริต กล้ายางพาราเป็นการย้ายสังกัดให้ถูกต้องตามหน้าที่โดยงานที่ย้ายไปเป็นการ ย้ายกันทั้งแผนก รวมทั้งบุคลากรอีกประมาณ 10 กว่าคนด้วย สำหรับงานที่ย้ายออกไปก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เมื่อทางสถาบันวิจัยยางต้องการข้อมูลในส่วนไหน ก็สามารถประสานตรวจสอบหรือร้องขอข้อมูลได้
ซีพีเรียก "นายหน้า" เข้าพบด่วน
รายงาน ข่าวแจ้งว่า ภายหลังการตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ของนายเอกพล บุญเกื้อ นายหน้าที่รวบรวมกล้ายางส่งให้กับซีพี ปรากฏว่าทางผู้บริหารของซีพี ได้เรียกนายเอกพลเข้าพบเป็นการด่วนในวันนี้ (21 มิ.ย.)
ยื่น 3 ข้อเสนอร้อง "คุณหญิงหน่อย" แก้ไข
นาย ซุ่น แซ่เอี้ยว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ในฐานะประธานกลุ่มผู้ผลิตยางพันธุ์ดีตรัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกลุ่มฯ ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 304 ราย กำลังประสบปัญหาเดือดร้อนอย่างหนักเพราะผลกระทบจากโครงการส่งเสริมปลูกยาง ล้านไร่ของรัฐบาล โดยผลการสำรวจข้อมูลจากสมาชิกทั้งหมด มีประเด็นข้อเรียกร้อง 3 ข้อที่ขอให้ทางรมว.กระทรวงเกษตรฯ ให้ความช่วยเหลือโดยด่วน คือ
1) ปัญหาด้านราคาและต้นทุนการผลิต ให้รัฐบาลประกันราคากล้ายางพันธุ์ดีที่จำหน่ายจากแปลงเกษตรกรในราคา 6 บาท/ต้นเป็นอย่างน้อย และอยากให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าที่เป็นต้นทุนการผลิตกล้ายางของเกษตรกร หรือไม่ก็หาทางสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงด้วย
2) ปัญหาด้านการตลาด เวลานี้มีปริมาณยางพันธุ์อยู่ในแปลงของเกษตรกรอีกจำนวนมาก สวนทางกับความต้องการของตลาดและนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการปลูกยาง แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ตอนนี้เกษตรกรต้องการขายกล้ายางเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ แต่กลับไม่มีผู้ซื้อ แถมที่จำหน่ายไปแล้วส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับเงินจากพ่อค้าคนกลาง
นอกจาก นั้น ยังมีเกษตรกรหลายรายถูกหลอกจากนายหน้าบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยให้นำหลักฐานการขึ้นทะเบียนต่อทางราชการ และเอกสารที่ดินเพาะกล้ายางไปมอบให้ แล้วบอกว่าจะมีการจัดสรรโควตาขายกล้ายางมาให้ตามความเป็นจริง แต่ปรากฏในภายหลังว่าเกษตรกรถูกสวมสิทธิ์ ส่วนกล้ายางที่ผลิตได้ก็ไม่สามารถขายได้ ดังนั้นขอให้รัฐบาลชี้แจงข้อมูลที่ชัดเจนที่เกษตรกรเข้าใจได้ง่าย และหาตลาดให้กับเกษตรกรโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง
และ 3. ปัญหาด้านการขาดเงินทุนหมุนเวียน ต้องแบกรับภาระหนี้สินกล้ายางที่ผลิตออกมาจำนวนมากก็ขายไม่ได้ ส่วนที่ขายไปแล้วก็ได้ราคาต่ำมาก ซ้ำยังไม่ได้รับเงิน ทั้งนี้เกิดจากพ่อค้าคนกลางปั่นตลาดและฉวยโอกาสทำกำไร ดังนั้นขอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตกล้ายางด่วน เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และช่วยลดภาระหนี้สินของเกษตรกร รวมถึงเพื่อให้งานของกลุ่มขยายไปสู่วิสาหกิจชุมชนได้ในที่สุด
"หาก รัฐบาลจริงใจให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ สั่งการให้แก้ไขปัญหาทันที เกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางจะไม่ต้องรวมตัวกันเดินทางบุกทำเนียบฯ ทวงถามอีกครั้ง" หนึ่งในแกนนำกลุ่มเกษตรกรฯ กล่าว โดยก่อนหน้านี้ กลุ่มดังกล่าวได้เดินทางมายังทำเนียบฯ เพื่อร้องเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่ง
http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=34358
---------------------------------------------------
ประชาทรรศน์
พิรุธ คตส.เลือกปฏิบัติ “บรรพต” พ้นคดีกล้ายาง
พบ พิรุธ คตส. เลือกปฏิบัติคดีจัดซื้อกล้ายางพารา 1.4 พันล้าน ในรายชื่อผู้ถูกกล่าวหา 45 คน ไม่มีชื่อ “บรรพต หงษ์ทอง” ทั้งที่เรื่องอยู่ในความรับผิดชอบของปลัดกระทรวงเกษตรฯ โดยตรง ขณะที่กรรมการโดยตำแหน่งกลับโดนหางเลขถ้วนหน้า จี้ประธานอนุกรรมการสอบสวน พร้อมด้วย “นาม ยิ้มแย้ม” อธิบายต่อสาธารณชน ระบุประธาน คตส.ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ มีโทษถึงติดคุก
จาก กรณีที่คณะกกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) มีมติส่งสำนวนคดีการจัดซื้อกล้ายางพารามูลค่า 1,440 ล้านบาทให้สำนักงานอัยการสูงสุด สั่งฟ้องผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 45 คน มีทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และ บริษัทเอกชนที่เข้าประกวดราคา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการใช้เวลาพิจารณาอย่างยาวนานนั้น ได้กลายเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความสุจริต เที่ยงธรรม และการเลือกปฏิบัติของ คตส.
เนื่อง มาจากการสอบสวนคดีจัดซื้อกล้ายางพาราดังกล่าว มีพิรุธมาตั้งแต่แรก เมื่อนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. สั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 93 ราย โดยไม่มีชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี คือ นายวัลลภ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาอยู่ด้วย จนกระทั่งถูกสื่อมวลชนทักท้วง ว่าทำไมชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี หายไป
ใน ครั้งนั้น นายนาม ยิ้มแย้ม ชี้แจงว่า “เจ้าหน้าที่พิมพ์ตกหล่น” และได้สั่งให้พิมพ์ชื่อนายวัลลภ เจียรวนนท์ พร้อมด้วยผู้บริหารซีพี ทั้งคณะ เข้าไปเป็นผู้ต้องหาแล้ว โดยเป็นเพียงคำแก้ตัวง่ายๆ ท่ามกลางกระแสข่าวว่ามีการวิ่งเต้น และมีคนพยายามที่จะเชื่อมโยงไปถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
เมื่อ ผ่านพ้นขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหา โดยไม่สามารถตัดชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี ให้พ้นจากสำนวนได้ คตส.ก็ใช้เวลาอีกกว่า 1 ปี ในการสรุปผลการสอบสวนว่าสมควรดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 45 ราย ตัดคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งเป็นผู้นำเสนอโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ออกไปทั้งหมด
ผู้ ต้องหาของคตส. ในคดีนี้ จึงเหลือเพียง กลุ่มที่ 1. คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คกช.) บางคน นำโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานคชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายอดิศัย โพธารามิก นายวราเทพ รัตนากร พร้อมด้วยข้าราชการจากหลายหน่วยงานที่เป็นกรรมการคชก. โดยตำแหน่ง ซึ่งถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีอนุมัติเงิน 1,440 ล้านบาท ดำเนินโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ โดยไม่มีอำนาจ
กลุ่ม ที่ 2. ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร ที่เป็นคณะกรรมการประกวดราคา กลุ่มที่ 3. บริษัทเอกชนที่เข้าประกวดราคาทั้ง 3 ราย และ กลุ่มที่ 4 คือ นายเนวิน ชิดชอบ ในฐานะผู้อนุมัติให้รับราคาตามที่ส่วนราชการเสนอมา
หาก จำแนกความผิดของทั้ง 45 ราย ที่ถูกคตส. ตั้งข้อหาและสรุปสำนวนส่งให้อัยการสั่งฟ้อง พอจะได้เป็น 3 เรื่องหลัก คือ 1. คณะกรรมการคชก. มีความผิดเนื่องจากอนุมัติให้ใช้เงิน 1,440 ล้านบาทโดยไม่มีอำนาจ 2. ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร กับ บริษัทเอกชน มีความผิด เนื่องจาก “ล็อกสเปก” และ “ฮั้ว”ราคา และ 3. นายเนวิน ชิดชอบ มีความผิดเนื่องจาก เซ็นอนุมัติรับราคา โดยไม่ยอมรอให้นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนใหม่ ในขณะนั้น มาเป็นคนลงนาม
อย่าง ไรก็ดีประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องนี้ อยู่ตรงที่การดำเนินคดีกับกรรมการ คชก. บางคน และตัดชื่อคนบางคน ออกไป ทั้งๆ ที่เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ในฐานะคณะกรรมการที่ร่วมกันพิจารณาอนุมัติเงิน 1,440 ล้านบาท
มี การตั้งข้อสังเกตุว่า คตส. หยิบชื่อกรรมการคชก. 2 คนออกไปจากสำนวนสอบสวน คือ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และนายสุทธิพร จีระพันธ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ไม่ตกเป็นผู้ต้องหาของคตส. ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะนายบรรพต ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงเกษตรฯ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
ใน ขณะที่ นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง กลับตกเป็นผู้ต้องหา เนื่องจากเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยตำแหน่ง เช่นเดียวกับ นายปริญญา อุดมทรัพย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ซึ่งไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลย แต่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ก็กลับต้องตกเป็นผู้ต้องหา เช่นเดียวกัน
แหล่ง ข่าวระบุว่ากรณีที่เกิดขึ้น นายบรรเจิด สิงหคเนติ ประธานอนุกรรมการสอบสวนคดีนี้ และ นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. ต้องมีคำอธิบายกับประชาชนว่าเหตุใด ชื่อนายบรรพต หงษ์ทอง จึงหายไป แต่รองอธิบดีกรมการปกครอง หรืออธิบดีกรมประมง ต้องมารับผิดกับเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ ที่มีนายบรรพต เป็นปลัดกระทรวงฯ เพราะเหตุใด
พร้อม ตั้งข้อสังเกตุด้วยว่า นายนาม ยิ้มแย้ม จะแก้ตัวว่าเจ้าหน้าที่พิมพ์ชื่อผู้ต้องหา “หล่น” อีกหรือไม่ ซึ่งการกระทำของนายนาม ส่อเข้าข่ายการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เข้าด้วยช่วยเหลือผู้กระทำความผิด เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุก
ทั้ง นี้ หากคตส. ทำงานด้วยความไม่ชัดเจน อาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นการทำงานเพื่อชำระความแค้นส่วนตัว ไม่ได้เป็นการทำงานเพื่อประเทศชาติด้วยความสุจริต
http://downmerng.blogspot.com/2008/02/blog-post_07.html
-------------------------------------------------------------------------
แก้วสรร เป็นพยานให้ เนวิน เชื่อไม่ผิดคดีทุจริตกล้ายาง
แก้ว สรร อติโพธิ" อดีต คตส.เสียงข้างน้อยคดีทุจริตกล้ายาง พร้อมขึ้นศาลเป็นพยานจำเลย ระบุ คตส. มีมติเอกฉันท์การสมยอมราคาการจัดซื้อ แต่ตัวเองเห็นต่างเรื่องข้อกฎหมาย พฤติการณ์ คชก.ยังไม่เข้าความผิดทุจริตร่วม "เนวิน" ย้ำไม่กลัวคนมองเป็นพยานจำเลย ชี้เป็นเรื่องกระบวนยุติธรรม จำเลยมีโอกาสสู้คดีเต็มที่
ที่ ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง วันที่ 22 พ.ค.52 เวลา 09.30 น. นายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตจัดซื้อกล้ายางพารา 90 ล้านต้น คดีหมายเลขดำที่ อม.4
2551 พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ไต่สวนพยานจำเลย ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ในฐานะ คชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว.เกษตรฯ ในฐานะ คชก. นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ ในฐานะเป็นผู้ริเริ่มโครงการ
นอก จากนี้ ยังมีนายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะ คชก. กับพวกบริษัทเอกชน และกลุ่มข้าราชการ ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-44 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง และ ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4 10 -14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 11
โดยฝ่ายจำเลย นำนายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งเป็น คตส. เสียงข้างน้อย ในชั้นพิจารณาสำนวน ที่เห็นว่ามีปัญหาประเด็นข้อกฎหมายที่ยังไม่อาจชี้มูลความผิดว่า มีการทุจริต ซึ่งนายแก้วสรร เบิกความว่า เหตุผลที่พยานเป็นเสียงข้างน้อยในชั้นพิจารณารายงานสอบสวนอนุ คตส. เรื่องนี้ เพราะไม่เห็นหลักฐานที่ชี้ว่า มีการสมคบกันกับนายเนวินผู้ริเริ่มโครงการตั้งแต่แรก เช่นเดียวกับ คชก. ที่เห็นว่า การกระทำนั้นยังไม่ใช่การทุจริต แต่เป็นเรื่องที่ คชก. ดื้อ พยายามจะทำโครงการนี้ ส่วนข้อเท็จจริงเรื่องการประมูลจัดซื้อจัดจ้างมีการทุจริตหรือไม่นั้น ประเด็นนี้ คตส. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า มีการสมยอมในการประกวดราคา โดยไม่ได้แข่งขันกันเลย ซึ่งบุคคลที่มาร่วมก็อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
เมื่อ ศาลถามว่า นายเนวิน รมช.เกษตร ฯ ขณะนั้น ซึ่งรับผิดชอบเรื่องกล้ายาง รวมทั้งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และคณะกรรมการบริหารประกวดราคา ต่างมีความสัมพันธ์กันในทางตำแหน่งแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีพฤติการณ์ร่วมกัน นายแก้วสรร ตอบว่า ในสำนวนคดี อนุ คตส. ไม่สามารถเจาะลงไปว่า มีการบัญชาการดังกล่าว ส่วนเรื่องความสัมพันธ์โดยส่วนตัวนั้น มีแต่คำบอกเล่า ซึ่งตนไม่เห็นว่าจะนำมาเป็นหลักฐานได้ ภายหลังศาลไต่สวนนายแก้วสรรเสร็จสิ้นแล้ว ฝ่ายจำเลยได้นำพยานเข้าไต่สวนอีก 4 ปาก
ทั้งนี้ นายแก้วสรร กล่าวชี้แจงว่า การที่มาเป็นพยานจำเลยครั้งนี้ ไม่กลัวว่าใครจะมองยังไง เพราะอยากจะให้มองในมุมกลับว่าเป็นกระบวนการยุติธรรม จำเลยมีโอกาสต่อสู้เต็มที่ เมื่อเขาต้องการให้เรามาให้ปากคำเราก็ต้องมา เมื่อมาแล้วเราจะมาพูดความเท็จไม่ได้เพราะในความเป็นจริง คตส. ก็มีการถกเถียงกันตั้งเยอะ ไม่ใช่ว่าจะมีมติเอกฉันท์เสมอไป แต่ตรงนี้ก็แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้กลั่นแกล้ง
http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=264499&ch=pl1
http://ic-democracy.com/news-View.php?N=47
------------------------------------------------------
ที่ ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือก 7 หัวหน้าคณะ 1 พ.อาวุโส รับผิดชอบสำนวน “สมคิด-เนวิน” กับพวกทุจริตจัดซื้อกล้ายาง 90 ล้านต้น 1,440 ล้านบาท นัดฟังคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ 6 ส.ค.นี้
วันนี้ (4 ก.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกา สนามหลวง นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อเลือกตั้งองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.4/2551 ทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.), นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมว.เกษตร และสหกรณ์ กับพวกรวม 44 คน ประกอบด้วย กลุ่มคณะรัฐมนตรี (ครม.), กลุ่มคณะกรรมการกลั่นกรองเสนอโครงการต่อ ครม.คณะที่ 2, กลุ่มคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.), กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารราผลประกวดราคา ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการ และกลุ่มบริษัทเอกชนที่มี 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือซีพี, บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด และ บริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด
โดยการประชุมเลือกองค์คณะใช้วิธีลงคะแนนลับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 13 ซึ่งผลการลงคะแนนโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ได้รับเลือกมีรายชื่อเรียงตามลำดับคะแนนที่ได้รับ เลือกดังนี้
1.นายบุญรอด ตันประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 2.นายชาลี ทัพภวิมล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 3.นายเกษม วีรวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 4.นายสุรภพ ปัทมะสุคน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 5.นายวิชา มั่นสกุล ผู้พิพากษาอ่วุโสในศาลฎีกา 6.นายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 7.นายประทีป ปิติสันต์ ผู้พิหากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 8.นายรัตน กองแก้ว ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 9.นายจรัส พวงมนี ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ซึ่งนายจรัส เป็นหนึ่งในองค์คณะคดีหมายเลขดำ อม.2/2551 ทุจริตออกโฉนดที่ดินคลองด่านทับที่สาธารณะที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวัฒนา อัศวเหม ประธานพรรค เพื่อแผ่นดิน อดีต รมช.มหาดไทย เป็นจำเลยด้วย
องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 จะประชุมเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน และพิจารณาคำฟ้องของ คตส. เพื่อมีคำสั่งรับฟ้องหรือไม่รับฟ้องต่อไป ซึ่งศาลฎีกาฯ นัดฟังคำสั่งในวันที่ 6 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ประธานศาลจะปิดประกาศรายชื่อองค์คณะผู้พิพากษาไว้ที่หน้าศาลฎีกาให้ คู่ความทราบ เพื่อยื่นคำร้องคัดค้านตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 4
ผู้สื่อข่าวรายงงานว่า คดีนี้ คตส.ยื่นฟ้องจำเลย 44 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีผู้ดำเนินโครงการ ได้แก่ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.เกษตรฯ, กลุ่ม คชก.ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน คชก.ที่อนุมัติการใช้เงิน, กลุ่มข้าราชการที่เป็นคณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา, กลุ่มเอกชน 18 ราย แยกเป็นนิติบุคคลบริษัท 3 แห่ง และกรรมการบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ , บจก.รีสอร์ทแลนด์ และ บจก.เอกเจริญการเกษตร จำนวน 15 ราย ข้อหาเป็น เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ที่โทษจำคุก 1-10 ปี หรือ ปรับ 2,000-20,000 บาท, เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ม.151 ที่มีโทษจำคุก 5- 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 2,000-40,000 บาท , ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อให้ได้ไป ซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท ประกอบ มาตรา 83, 84 และ 86 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4, 10-14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 11
http://www.boybdream.com/manager-news-content.php?newid=71755
-----------------------------------------------------------------
ยกฟ้องคดีกล้ายางรอดทั้งยวง
เนวินและคณะพ้นมลทิน
วันอังคาร ที่ 22 กันยายน 2552 เวลา 7:36 น
สะอื้นยันทำเพื่อประชาชนทนายโจทก์ระบุคดีสิ้นสุด
5 อดีตรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องรวม 44 ชีวิตรอดยกแผง ศาลฎีกามีมติ 8 ต่อ 1 ยกฟ้องคีดกล้ายาง “เนวิน” สะอื้นน้ำตาคลอเบ้ายันโครงการกล้ายางทำเพื่อประชาชน พร้อมเดินหน้าภารกิจปกป้องสถาบันจนตัวตาย ขณะที่กองเชียร์เฮจนเสียงแหบ คำตัดสินชี้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่การฉ้อโกง หลังฐานฟังไม่ได้ จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ทนายโจทก์น้อมรับชี้คดีจบแล้ว ด้าน “หญิงเป็ด” บ่นผิดหวัง ขณะที่กองทัพและตำรวจฉวยจังหวะนายกฯไม่อยู่ ขอเงินครม.ซื้ออาวุธอื้อซ่า อ้างของเก่าล้าสมัย ด้านพ.ร.บ.เงินกู้อาจสะดุด วุฒิฯยังค้าน “กอร์ปศักดิ์” แย้มถ้ารัฐบาลแพ้โหวตก็ต้องยุบสภา ส่วน “เจ๊วา” ดัน “ยรรยง” เข้าครม.ประทับตรานั่งเก้าอี้ปลัดกระทรวงพาณิชย์
* “ปะฉะดะ”คุมอ่านกล้ายาง
เมื่อ วันที่ 21 ก.ย. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการนัดอ่านคำพิพากษาครั้งที่ 2 ในคดีการทุจริตจัดซื้อกล้ายางพาราจำนวน 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ หลังจากเลื่อนอ่านคำพิพากษามาจากวันที่ 17 ส.ค. เนื่องจากนายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 5 ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษา ซึ่งอ้างว่าอยู่ในระหว่างการรักษาอาการป่วยที่สหรัฐอเมริกา
สำหรับ บรรยากาศก่อนการคำพิพากษา ได้มีผู้สื่อข่าวทุกแขนงมารอรายงานข่าว รวมถึงโทรทัศน์ได้มีการเตรียมพร้อมการถ่ายทอดสด ขณะที่บริเวณทางเข้าและออกของศาลฎีกาได้มีการนำแผงเหล็กมาตั้งบริเวณทางเดิน เท้าเพื่อป้องกันเหตุการณ์ความวุ่นวาย นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมารักษาความสงบเรียบร้อยหลายร้อยนายทั้งใน และนอกเครื่องแบบ รวมทั้งชุดปฏิบัติการพิเศษเคลื่อนที่เร็ว “ปะฉะดะ” นำโดย พล.ต.ต. วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 เป็นผู้ควบคุมดูแล
* รมต.มาให้กำลังใจเพียบ
จาก นั้นในช่วงบ่ายบรรดา ส.ส. และรัฐมนตรีของพรรคภูมิใจไทยได้เดินทางมาให้กำลังใจนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคอย่างคับคั่ง นำโดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เลขาธิการ พรรค นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรฯ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ จากพรรคเพื่อแผ่นดิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายนายชวรัตน์ ทั้งนี้ยังรวมถึงนายมานิต วัฒนเสน ว่าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน
ขณะที่คนในครอบครัวชิดชอบมีเพียงนายศักดิ์สยาม ประธานคณะทำงาน รมว.มหาดไทย น้องชายนายเนวินเท่านั้นที่เดินทางมาที่ศาลฎีกา ส่วนนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา บิดานายเนวินติดภารกิจที่รัฐสภาจึงไม่ได้เดินทางมา จนกระทั่งเวลา 13.35 น. นายเนวินในฐานะจำเลยที่ 4 ได้เดินทางมาถึงศาลฎีกาด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มพร้อมกับทักทายสื่อมวลชน
* ศาลร่ายยาวคดีกล้ายาง
จาก นั้นเวลา 14.10 น. นายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนทุจริตการจัดซื้อต้นกล้ายาง พารา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 ที่ คตส. โดย ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร คชก. จำเลยที่ 1 นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง จำเลยที่ 2 นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีต รมว.เกษตรฯ จำเลยที่ 3 นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ จำเลยที่ 4 นายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 5 ในฐานะกรรมการ คชก. คณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา และบริษัทเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัทเอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา เป็นจำเลยที่ 6-44 ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
* มติคะแนนเสียงเอกฉันท์
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า องค์คณะผู้พิพากษา พิจารณาแล้ววินิจฉัยในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปัญหาว่าคำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่า คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละคนไว้อย่างชัดเจนโดย ละเอียดแล้วว่า จำเลยคนใดกระทำความผิดร่วมกับจำเลยคนใด และจำเลยแต่ละคนมีความผิดอย่างไรโดยระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ ที่กล่าวหาว่ากระทำความผิดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยทั้ง 44 เข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งอ้างบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.158 และข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง พ.ศ. 2543 ข้อ 8 วรรคหนึ่งแล้ว
ข้อ 2. โจท
Similar topics
» ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา
» ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ฮิตเลอร์ ชนะเลือกตั้งทำไมถูกกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการ
» ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่องการจารกรรมข้อมูลการบินทักษิณในกัมพูชา+คลิปผลที่ได้ตอนท้าย
» เรื่อง ตำราไม่ล้างไต
» เรื่อง เผา ... อย่าคิดยุ่งยาก ซับซ้อน
» ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ฮิตเลอร์ ชนะเลือกตั้งทำไมถูกกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการ
» ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่องการจารกรรมข้อมูลการบินทักษิณในกัมพูชา+คลิปผลที่ได้ตอนท้าย
» เรื่อง ตำราไม่ล้างไต
» เรื่อง เผา ... อย่าคิดยุ่งยาก ซับซ้อน
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ