RedCyberClub Forum
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา

Go down

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา Empty ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Dec 09, 2009 7:58 pm

เรื่องนี้ได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาไปเรียบร้อยแล้ว
โดยสรุปคือคนซื้อไม่ผิด
เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการประมูลไม่ผิด
ที่ดินไม่ถูกยึด
สรุปไม่มีอะไรผิดเลย
ยกเว้นคนไปเซ็นต์ค้ำประกันผิดติดคุกตั้ง 2 ปี
แถมเป็นการตัดสินโดยศาลเดียว
คือศาลฎีกาเลยไม่ใช่ 3 ศาลแบบปกติ
เลยไม่มีโอกาสแก้ตัวในการหาข้อมูลมาหักล้างอีก 2 ศาล

เรื่องนี้คงไปวิพากษ์วิจารณ์อะไรมากไม่ได้ในยุคนี้
คงต้องรออนาคตที่ลูกหลาน
จะลุกขึ้นมาชำระประวัติศาสตร์ให้อีกครั้ง
ตอนนี้ทำได้แต่เพียงบันทึกเรื่องราวเหล่านี้เก็บไว้
รวมถึงหลักฐานชิ้นสำคัญ
ที่ไม่ได้ใช้ในการตัดสินครั้งนี้
โดยฝ่ายทนายทักษิณไม่ได้ยกขึ้นมาแก้ต่าง
นั่นคือคำวินิจฉัยที่ ๕/๒๕๔๓ ของศาลรัฐธรรมนูญ
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
ชุดที่มีนายประเสริฐ นาสกุล เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ที่วินิจฉัยความหมายคำว่า เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เอาไว้ว่า

"บุคคล ซึ่งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการ รวม ๒๗ ตำแหน่งดังกล่าวข้างต้นนี้ ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย ซึ่งหมายความรวมถึงกฎ ระเบียบ ที่ออกโดยอาศัยกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย และปฏิบัติงานประจำ ซึ่งหมายความว่าต้องมีทั้งอำนาจหน้าที่หรือหน้าที่ตามที่กฎหมาย กฎ ระเบียบที่ออกโดยอาศัยกฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ จะต้องเป็นการมีอำนาจหน้าที่หรือหน้าที่ประจำดังกล่าว แต่การใช้อำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ ที่ระบุข้างต้น เป็นการใช้อำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยคณะบุคคลที่ประกอบกันขึ้น เป็นคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ กรรมการหรืออนุกรรมการ แต่ละคนไม่สามารถใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นของคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ได้ด้วยตนเองโดยลำพัง เพราะกฎหมายให้อำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แม้ว่าคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้นจะอยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแล ของรัฐ และมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมายก็ตาม ดังนั้น ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวม ๒๗ ตำแหน่ง เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ"

สรุปว่า ถ้าเป็นในรูปคณะกรรมการ
ตำแหน่งประธานหรือกรรมการ ในคณะกรรมการ
ไม่ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
แม้ว่าตัวบุคคลแต่ละคนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
หรือคณะกรรมการนั้น
ถูกแต่งตั้งโดยรัฐและกินเงินเดือนของรัฐ
เนื่องจากการทำงานในรูปคณะกรรมการ
ไม่ได้ตัดสินใจคนเดียวตามลำพัง
ซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฟื้นฟูตรงๆ ไม่มี
ถ้าจะมีก็อาจเป็นในรูปของมติ คณะรัฐมนตรี
ซึ่งก็เข้าข่ายว่าเป็นในรูปคณะกรรมการ
ไม่ใช่ตัวบุคคล
ดังนั้นไม่ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฟื้นฟู
และมีมติครม. ในสมัยรัฐบาลชวน2
ที่ให้กองทุนฟื้นฟูไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งมติคณะรัฐมนตรี
นี่ก็เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญว่าตำแหน่งนายก
ไม่สามารถไปกำกับดูแลอะไรกองทุนฟื้นฟูได้โดยตรง
ขนาดมติครม. ยังไม่ต้องทำตามเลย
ในขณะที่หน่วยงานข้าราชการกระทรงกรมต่างๆ
รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจยังต้องทำตาม
ไม่แน่วันหนึ่งลูกหลานอาจจะได้ใช้ข้อมูลเหล่านี้
เพื่อที่จะชำระประวัติศาสตร์เรื่องนี้อีกครั้งในอนาคต

เรื่องนี้เคยตอบกระทู้ที่พันทิพไว้หลายหนแล้ว
แต่ยังไม่ได้รวบรวมขึ้น Blog
เมื่อวานทำตอนตีหนึ่งกว่าๆ
ไปเสร็จตีสี่กว่าๆ
เล่นไปเล่นมาแฮงบ่อยแต่ก็เสร็จจนได้
เก็บข้อมูลไว้
เพื่ออนาคตเอาไว้ให้ลูกหลานอ้างอิง
ในการชำระประวัติศาสตร์
บ่อยครั้งคุณจะเห็นเขาชำระประวัติศาสตร์
เมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบปีหรือหลายร้อยปี
แต่ในยุคนั้นๆ ทำไม่ได้
และข้อมูลพวกนี้หรือข้อมูลต่างๆ ที่เก็บกันตอนนี้
ช่วงนี้ดูไม่มีประโยชน์หรือมีค่าอะไร
ลองผ่านไปหลายๆ ปีดูซิ
คุณค่ามันจะเพิ่มเป็นเงาตามตัว
นี่แหละคุณค่าของคำว่าประวัติศาสตร์
ยิ่งนานวันยิ่งสำคัญ
บางคนบอกทำไมชอบโพสเยอะๆ
ที่ต้องเอาข่าวมาลงเยอะๆ
ก็เพื่อให้เป็นหลักฐาน
เดี๋ยวหาว่าพูดลอยๆ
ถ้าไม่เก็บข่าวพวกนี้ไว้
นานวันยิ่งหายาก
ขนาดพึ่งผ่านไม่กี่วัน
ยังค้นหาแทบแย่เลย
ใจจริงอยากให้ข้อมูลพวกนี้
ถูกแจกกระจายไปให้มากที่สุด
ไม่ว่าจะรูป CD หรือ เอกสาร

"เหตุผลคือสิ่งที่ใช้ เพื่อเอาชนะความอยุติธรรม
อยู่ที่การนำเสนอ ให้คนรับรู้และเข้าใจได้ทั่วถึงยังไง"

โดย มาหาอะไร
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา Empty ศาลสั่งจำคุก ทักษิณ 2 ปี - ยกฟ้อง พจมาน

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Dec 09, 2009 8:02 pm

ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว
(แฟ้มภาพทักษิณ และครอบครัว : วันนี้ครอบครัวชินวัตรไม่ได้เดินทางมาฟังศาลตัดสินคดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาฯ)

ประชาชนร่วมฟังคำพิพากษาคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา
กลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไปร่วมฟังคำพิพากษาคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา


ที่ดินย่านรัชดา
ที่ดินคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ มี "ทักษิณ-พจมาน" เป็นจำเลย


เมื่อเวลา ประมาณ 14.00 น. วันนี้ (21 ตุลาคม) ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เริ่มอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยใน คดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ตกเป็นจำเลย

คดี ดังกล่าว อัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ต่อศาลฎีกากรณีที่คุณหญิงพจมานประมูลซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถนนรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าอาจไม่ถูกต้อง เพราะพ.ต.ท.ทักษิณเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในการกำกับดูแลหน่วยงานของ รัฐ จึงไม่สามารถทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐได้ ซึ่งรวมถึงคู่สมรสได้

ทั้ง นี้ศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษา พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา จำเลยที่ 2 คดีที่ดินรัชดาฯ เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง และมีคำพิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี และยกฟ้องคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา โดยสาระสำคัญคำพิพากษาสรุปได้ดังนี้

ศาล ฎีกามีมติเอกฉันท์ว่า ที่ดินที่เป็นข้อพิพาทไม่ได้มาจากการทำความผิด และมีมติ 7 ต่อ 2 เงินที่ซื้อจากที่ดินไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผิดจึงไม่มีการริบ

ศาล ฎีกามีมติ 5 ต่อ 4 เห็นว่าจำเลยที่ 1 คือ พ.ต.ท.ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งต้องกระทำตัวให้เป็นแบบอย่างแห่งความซื่อสัตย์ จึงถือได้ว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติ ปปช. ตามมาตรา 100 และมีโทษตามมาตรา 122 ให้จำคุก 2 ปี ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้องทั้งหมด และให้ออกหมายจับจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งให้นำคำพิพากษานี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ถือว่าจำเลยแม้จะไม่มาร่วมรับฟังพึงถือว่ารับรู้คำตัดสินของศาลแล้ว

ศาลฎีกา มีมติ 7 ต่อ 2 ว่า คุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษร่วมกับจำเลยที่ 1

ด้านนายเสกสรร บางสมบูรณ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด เตรียมประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อทำเรื่องขอส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน โดยคดีนี้มีอายุความ 10 ปี

สำหรับคดีดังกล่าวผู้พิพากษาได้เลื่อนอ่านคำตัดสินจากวันที่ 17 กันยายน เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาตามที่นัดหมาย ศาลจึงให้ออกหมายจับ และคดีดังกล่าวศาลได้ไต่สวนพยานโจทก์และจำเลยมาตั้งแต่เดือนกรกฏาคม และเสร็จสิ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคม



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://hilight.kapook.com/view/30132
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา Empty พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Dec 09, 2009 8:03 pm

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2542
เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542"

มาตรา 2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518
(2) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530
(3) พระราชบัญญัติการแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
" เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมี ตำแหน่ง หรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและ สมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และให้ หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ และบุคคลหรือคณะ บุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนิน การอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ไม่ ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ
"ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" หมายความว่า
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรี
(3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(4) สมาชิกวุฒิสภา
(5) ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) และ (2) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
(6) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(7) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(8) ผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลนคร
(9) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีราย ได้หรืองบประมาณไม่ต่ำกว่า เกณฑ์ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราช กิจจานุเบกษา
"ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง" หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ทบวง หรือ กระทรวง สำหรับข้าราชการพลเรือน ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพ หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุด สำหรับ ข้าราชการทหาร ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการและ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หัวหน้าหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล หรือผู้ดำรงตำแหน่ง ตามที่กฎหมายอื่นบัญญัติ
"ผู้เสียหาย" หมายความว่า ผู้เสียหายจากการกระทำอันเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกระทำความ ผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
"ผู้ถูกกล่าว หา" หมายความว่า ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาหรือมีพฤติการณ์ปรากฏแก่คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่า ได้กระทำการอันเป็นมูลที่จะนำไปสู่การถอดถอนจากตำแหน่งการดำเนิน คดีอาญา การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือการดำเนินการทางวินัย ตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และให้หมายความรวมถึงตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำดังกล่าวด้วย
"ประธานกรรมการ" หมายความว่า ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
"กรรมการ" หมายความว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
" อนุกรรมการ" หมายความว่า อนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
"เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
" พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่าเลขาธิการและข้าราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการ หรือพนักงานซึ่งมาช่วยราชการในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติได้แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
" ทุจริตต่อหน้าที่" หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามี ตำแหน่ง หรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือ หน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
" ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ" หมายความว่า การที่ทรัพย์สินหรือหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่งมีการเปลี่ยน แปลงไปจากบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินที่ได้ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่งในลักษณะที่ทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นผิดปกติหรือหนี้สินลดลงผิดปกติ
"ร่ำรวยผิดปกติ" หมายความว่า การมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติหรือการมี หนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจใน ตำแหน่งหน้าที่

...

มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการดังต่อไปนี้
(1) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี
(2) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับ หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี
(3) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอันมี ลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว
(4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้ง ต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
เจ้า หน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไป ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้นำบท บัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคสอง โดยให้ถือว่าการ ดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าว เป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา Empty ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลรัฐธรรมนูญ

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Dec 09, 2009 8:03 pm

คำวินิจฉัยที่ ๕/๒๕๔๓
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ กรณี คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภา


ประธานรัฐสภาได้มีคำร้องลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๓ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการวินิจฉัยลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องสรุปได้ว่า กลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภายื่นคำร้องต่อประธานรัฐสภาเพื่อขอให้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ ส่งเรื่อง พร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก วุฒิสภา สืบเนื่องมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิก วุฒิสภา ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ โดยมีคู่มือการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา มอบให้ผู้สมัคร แต่มิได้อธิบายคำว่า "เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) ไว้ แต่อย่างใด ทำให้ผู้สมัครเข้าใจว่า ตนไม่มีลักษณะต้องห้าม หลังจากปิดการรับสมัครครบเจ็ดวัน คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีหนังสือแจ้งผู้สมัครแต่ละรายว่า ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำเขตเลือกตั้งตรวจสอบเอกสารหลักฐานการสมัครของผู้สมัครแต่ละรายแล้ว เห็นว่า เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ต่อมา คณะกรรมการการเลือกตั้งตีความ คำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ว่า หมายความรวมถึง กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรรมการการประถมศึกษาจังหวัด กรรมการสถาบันราชภัฏ และกรรมการประจำสถาบัน ผู้ทรงคุณวุฒิ อนุกรรมการข้าราชการตำรวจประจำจังหวัด และอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน ฯลฯ ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวถูก ตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จึงเป็นความเห็นที่ขัดแย้งกันสองฝ่าย คือ
ฝ่ายแรก ได้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ต้องเสียสิทธิจากการวินิจฉัยของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง เห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๙ (๑๑) และ (๑๒) เพราะเป็นการตีความคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในมาตรา ๑๐๙ (๑๑) เกินเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญอันเป็นการจำกัดสิทธิของผู้สมัครรับเลือกตั้งมากกว่าที่กำหนด ไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) และ (๑๒) เป็นผลให้มีการเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งภายหลังที่รับสมัคร และคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้สมัครแล้ว จึงเป็นการกระทำที่ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายที่สอง ได้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง เห็นว่า การที่พิจารณาว่าบุคคลใดเป็น เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๙ (๑๑) นั้น มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
๑. ตำแหน่งนั้น ๆ มีที่มาจากกฎหมาย กฎ ระเบียบ ของทางราชการที่ระบุไว้
๒. การดำรงตำแหน่งเกิดจากการแต่งตั้ง โดยอาศัยกฎหมาย กฎ ระเบียบ ของ ทางราชการ
๓. อำนาจหน้าที่ของตำแหน่งนั้น ถูกกำหนดโดยกฎหมาย กฎ ระเบียบ ของ ทางราชการ ซึ่งการกระทำตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น หรือก่อให้เกิด นิติสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้
๔. บุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว อาจได้รับค่าตอบแทนเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด จากรัฐ
ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภารายใดที่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว ถูกตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ประธานรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังกล่าว ทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป และมีบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเสนอเรื่องให้ประธานรัฐสภาส่งปัญหาดังกล่าว ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงอนุมานได้ว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเพื่อเป็นการยุติปัญหาข้อโต้แย้งทางความคิดดังกล่าว ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชนโดยทั่วไปที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สำคัญของชาติ และประชาชน อันส่งผลถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาและรัฐสภาในอนาคต และอาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ประธานรัฐสภาจึงจำเป็นต้องใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ เสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า
๑. คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ซึ่งถือได้ ว่าเป็นการวินิจฉัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ว่าหมายความรวมถึง กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรรมการการประถมศึกษาจังหวัด กรรมการสถาบันราชภัฏ และกรรมการประจำสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ อนุกรรมการข้าราชการตำรวจประจำจังหวัด และ อนุกรรมการข้าราชการพลเรือน ฯลฯ เป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) และ (๑๒) หรือไม่ และ
๒. การที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งรับสมัครผู้สมัครรับเลือก ตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภา และประกาศการรับสมัครโดยเปิดเผยแล้ว ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" เป็นเหตุให้มีการแจ้งผลการไม่รับสมัครภายหลังอีก ดังนั้นการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งออกหลักฐานการรับสมัครรับเลือกตั้ง และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแล้ว แต่ต่อมาภายหลัง กลับมาแจ้งตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งบุคคลนั้น ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ระหว่างพิจารณา พันตำรวจเอก เจือ อัมรนันทน์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก วุฒิสภา จังหวัดอุทัยธานี ยื่นคำแถลงการณ์และขอแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาล รัฐธรรมนูญรับไว้เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาแล้ว โดยไม่จำต้องให้พันตำรวจเอก เจือ อัมรนันทน์ แถลงการณ์ด้วยวาจา ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ฯ แล้ว
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว มีประเด็นวินิจฉัยเบื้องต้นว่า ประธานรัฐสภามีอำนาจยื่น คำร้องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ หรือไม่
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ องค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ให้องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย"
พิจารณาแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญจัดตั้งขึ้นและ มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญหลายประการ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งของบุคคลที่จะใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกวุฒิสภาตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๘๗ บัญญัติไว้ โดยมีสาเหตุของการวินิจฉัยจากการที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ จังหวัดหลายจังหวัดหารือมา จึงเป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๔ วรรคหนึ่ง ในฐานะเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และมาตรา ๑๔๕ (๓) วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นในการดำเนินการจัดให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยความหมายของคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) และมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาบางคนโต้แย้งการวินิจฉัยความ หมายคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอำนาจวินิจฉัยความหมายคำดังกล่าว ซึ่งเป็นถ้อยคำในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นแล้ว และรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ บัญญัติให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ได้ ได้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ ได้
ระหว่างพิจารณา พันตำรวจเอก เจือ อัมรนันทน์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก วุฒิสภา จังหวัดอุทัยธานี ยื่นคำแถลงการณ์และขอแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาล รัฐธรรมนูญรับไว้เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาแล้ว โดยไม่จำต้องให้พันตำรวจเอก เจือ อัมรนันทน์ แถลงการณ์ด้วยวาจา ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ฯ แล้ว
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว มีประเด็นวินิจฉัยเบื้องต้นว่า ประธานรัฐสภามีอำนาจยื่น คำร้องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ หรือไม่
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ องค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ให้องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อ ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย"
พิจารณาแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญจัดตั้งขึ้นและ มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญหลายประการ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งของบุคคลที่จะใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกวุฒิสภาตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๘๗ บัญญัติไว้ โดยมีสาเหตุของการวินิจฉัยจากการที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ จังหวัดหลายจังหวัดหารือมา จึงเป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๔ วรรคหนึ่ง ในฐานะเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และมาตรา ๑๔๕ (๓) วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นในการดำเนินการจัดให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยความหมายของคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) และมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาบางคนโต้แย้งการวินิจฉัยความ หมายคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอำนาจวินิจฉัยความหมายคำดังกล่าว ซึ่งเป็นถ้อยคำในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นแล้ว และรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ บัญญัติให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ได้ ได้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ ได้
มีประเด็นต้องพิจารณาตามคำร้องต่อไปว่า
๑. คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ซึ่งเป็นคำ ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่
๒. การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" หมายความ รวมถึงบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวม ๒๘ ตำแหน่ง ตามที่ปรากฏในเอกสารคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ตำแหน่งที่เข้าข่ายเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามมาตรา ๑๐๙ (๑๑) ของ รัฐธรรมนูญ เป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) หรือไม่
๓. การที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งรับสมัครผู้สมัครรับเลือก ตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา แล ประกาศการรับสมัครโดยเปิดเผยแล้ว ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัย คำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" เป็นเหตุให้มีการแจ้งผลการไม่รับสมัครภายหลัง ถือว่าเป็นการกระทำที่ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ประเด็นที่หนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ซึ่งเป็นคำในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ พิจารณาแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่เมื่อพระราชบัญญัตินั้นบัญญัติในมาตรา ๘๗ ว่า "บุคคลซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ" การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) อันเป็นลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งของบุคคลที่จะใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๖ (๔) จึงเป็นการวินิจฉัยถ้อยคำในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ แต่เมื่อการวินิจฉัยนั้นเกิดเป็นปัญหาโต้แย้ง และประธานรัฐสภาส่งเรื่องมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐ ธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ ศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) ซึ่งจะเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๘
ประเด็นที่สอง การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวม ๒๘ ตำแหน่ง ตามที่ปรากฏในเอกสารคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ตำแหน่งที่เข้าข่ายเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามมาตรา ๑๐๙ (๑๑) ของรัฐธรรมนูญ เป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) หรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) กรณีจึงมีประเด็นต้องพิจารณาก่อนว่า คำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) มีความหมายอย่างไร
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) บัญญัติว่า "บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคล ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ …(๑๑) เป็นพนักงานหรือ ลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" และมาตรา ๑๒๖ (๔) บัญญัติว่า "บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือก ตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา… (๔) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา ๑๐๙ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)"
พิจารณาแล้ว รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๖ (๔) ให้นำลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๐๙ (๑๑) มาใช้บังคับกับลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาด้วย การพิจารณาความหมายของคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในมาตรา ๑๐๙ (๑๑) เป็นการตีความ บทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความอย่างแคบ การตีความถ้อยคำที่มีลักษณะเช่นนี้ควรถือว่า คำทั่วไปมีความหมายในแนวเดียวกันกับคำเฉพาะที่มาก่อน หมายความว่า ในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายมีถ้อยคำเฉพาะตั้งแต่สองคำขึ้นไป และมีถ้อยคำที่เป็นคำทั่วไปตามหลังคำเฉพาะ คำทั่วไปนั้นต้องมีความหมายแคบกว่าความหมายธรรมดาของคำนั้น โดยจะต้องมีความหมายเฉพาะในเรื่องและประเภทเดียวกันกับคำเฉพาะที่มาก่อนหน้า คำทั่วไปนั้น สำหรับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) ที่บัญญัติว่า "เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" นั้น คำว่า พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น เป็นถ้อยคำที่เป็นคำเฉพาะสามารถบ่งบอก ได้ว่า หมายถึงบุคคลใดบ้างอย่างชัดเจน ส่วนคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" เป็นถ้อยคำที่มีลักษณะเป็น คำทั่วไป ยังไม่อาจบ่งชี้ได้ว่าหมายถึงบุคคลใดบ้าง การตีความคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ซึ่งเป็น คำทั่วไป จึงต้องตีความโดยให้มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือในแนวเดียวกันกับคำว่า "พนักงานหรือ ลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น" นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๖ (๔) ประกอบ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจึงต้อง ตีความอย่างเคร่งครัด และการตีความถ้อยคำในมาตราดังกล่าวต้องพิจารณา บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในส่วนของการให้มีสมาชิกวุฒิสภาและการปฏิบัติหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วย รัฐธรรมนูญได้บัญญัติ เรื่อง สมาชิกวุฒิสภาไว้ในหมวด ๖ รัฐสภา ส่วนที่ ๓ วุฒิสภา โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ที่สำคัญของสมาชิกวุฒิสภาไว้หลายประการ เช่น พิจารณากลั่นกรอง ร่างพระราชบัญญัติ พิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ถอดถอนบุคคลสำคัญออกจากตำแหน่ง เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาจะต้องอาศัยการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความเป็นกลาง อิสระ และไม่อยู่ภายใต้การ ควบคุมไม่ว่าจากบุคคลหรือหน่วยงานใด ดังนั้น คำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ในรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๙ (๑๑) จึงหมายความ ว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีสถานะ ตำแหน่งหน้าที่ หรือลักษณะงานทำนองเดียวกันกับพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
๑. ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย
๒. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำ
๓. อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ
๔. มีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ตามกฎหมาย
การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาและวินิจฉัยว่า บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวม ๒๘ ตำแหน่ง เป็น "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" นั้น พิจารณาแล้ว เห็นว่า
๑. กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
๒. กรรมการอิสลามประจำจังหวัด
๓. กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง)
๔. ประธานหรือกรรมการบริหารขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
๕. ประธานหรือกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
๖. กรรมการการประถมศึกษาจังหวัด
๗. กรรมการสภาประจำสถาบันราชภัฏ
๘. กรรมการสภาสถาบันราชภัฏ
๙. อนุกรรมการข้าราชการตำรวจประจำจังหวัด (อ.ก.ตร. จังหวัด)
๑๐. อนุกรรมการข้าราชการครูสามัญ (อ.ก.ค. จังหวัด)
๑๑. อนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง (อ.ก.พ. กระทรวง)
๑๒. อนุกรรมการสามัญประจำกรม (อ.ก.พ. กรม)
๑๓. อนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด (อ.ก.พ.จังหวัด)
๑๔. อนุกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๑๕. อนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
๑๖. กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๑๗. กรรมการของสถาบันพระปกเกล้า
๑๘. กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
๑๙. กรรมการองค์การคลังสินค้า
๒๐. อนุกรรมการในคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนระดับจังหวัด
๒๑. กรรมการสภาสถาบัน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
๒๒. กรรมการสภาทนายความ
๒๓. กรรมการมรรยาททนายความ
๒๔. กรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตเทศบาล เขตสุขาภิบาล และเขตราชการ ส่วนท้องถิ่น
๒๕. กรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
๒๖. กรรมการสภามหาวิทยาลัย
๒๗. กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
บุคคลซึ่งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการ รวม ๒๗ ตำแหน่งดังกล่าวข้างต้นนี้ ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย ซึ่งหมายความรวมถึงกฎ ระเบียบ ที่ออกโดยอาศัยกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย และปฏิบัติงานประจำ ซึ่งหมายความว่าต้องมีทั้งอำนาจหน้าที่หรือหน้าที่ตามที่กฎหมาย กฎ ระเบียบที่ออกโดยอาศัยกฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ จะต้องเป็นการมีอำนาจหน้าที่หรือหน้าที่ประจำดังกล่าว แต่การใช้อำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ ที่ระบุข้างต้น เป็นการใช้อำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยคณะบุคคลที่ประกอบกันขึ้น เป็นคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ กรรมการหรืออนุกรรมการ แต่ละคนไม่สามารถใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นของคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ได้ด้วยตนเองโดยลำพัง เพราะกฎหมายให้อำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แม้ว่าคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนั้นจะอยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแล ของรัฐ และมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมายก็ตาม ดังนั้น ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวม ๒๗ ตำแหน่ง เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
ส่วนการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) นั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้พิพากษาสมทบเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบ ครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยพระราชบัญญัติทั้งสามฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะ พิจารณาพิพากษาคดี ผู้พิพากษาสมทบจึงมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ ยังบัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการ ตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการมาใช้บังคับแก่ผู้ พิพากษาสมทบโดยอนุโลม ผู้พิพากษาสมทบจึงอยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ อีกทั้งบัญญัติให้ผู้พิพากษาสมทบได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่น ดังนั้น ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ จึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) การวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" นี้ เป็นการวินิจฉัยเฉพาะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) เท่านั้น หากบุคคลใดมีหลายสถานะหรือหลายตำแหน่ง การพิจารณาสถานะและตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) ย่อมเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส่วนการพิจารณาสถานะหรือตำแหน่งอื่นที่จะเป็นลักษณะต้องห้ามสมัครรับเลือก ตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ นั้น ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ แต่ละอนุมาตราเป็นกรณี ๆ ไป ประเด็นที่ ๓ การที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งรับสมัครผู้สมัครรับเลือก ตั้ง เป็นสมาชิกวุฒิสภา และประกาศการรับสมัครโดยเปิดเผยแล้ว ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัย คำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" เป็นเหตุให้มีการแจ้งผลการไม่รับสมัครภายหลัง ถือว่า เป็นการกระทำที่ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการขอให้วินิจฉัยการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีสถานะ ตำแหน่งหน้าที่ หรือลักษณะงานทำนองเดียวกันกับพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น โดยได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติ งานประจำ อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ และมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ตามกฎหมาย ดังนั้น ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการและ อนุกรรมการที่ระบุข้างต้นจำนวน ๒๗ ตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ นั้น ไม่สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) แต่ที่วินิจฉัยว่า บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบ เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ นั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) แล้ว
(นายประเสริฐ นาสกุล) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
(นายโกเมน ภัทรภิรมย์) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายจุมพล ณ สงขลา) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(พลโท จุล อติเรก) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายชัยอนันต์ สมุทวณิช) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายมงคล สระฏัน) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายสุจินดา ยงสุนทร) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายสุวิทย์ ธีรพงษ์) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายอนันต์ เกตุวงศ์) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(นายอุระ หวังอ้อมกลาง) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา Empty การขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่กอง ทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่ต้องปฎิบัติตามคำสั่งมติคณะรัฐมนตรี

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Dec 09, 2009 8:05 pm

อังคารที่ 22 กันยายน 1998 18:32:00 น.

ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะ รัฐมนตรีอนุมัติการขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้

1. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน การที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าถือหุ้นในระบบสถาบันการเงินเกินกว่าร้อยละ 50 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการรักษาความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน และรักษาเสถียรภาพของระบบการชำระเงินของไทยให้เป็นที่น่าเชื่อถือ โดยไม่มีเจตนารมณ์จะถือหุ้นของสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นการถาวรในระยะยาว และจะพิจารณาจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นดังกล่าวในเวลาที่เหมาะสม ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ จำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 โดยให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ พิจารณาดำเนินการจำหน่ายหุ้นของสถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถือหุ้นอยู่นั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และให้รายงานกระทรวงการคลังเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบทุกครั้ง
2. กลุ่มสถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าแทรกแซง โดยที่สถาบันการเงินดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจโดยนิติเหตุ ไม่มีวัตถุประสงค์แรกเริ่มที่จะให้เป็นรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับสถาบันการเงินดังกล่าว มีการบริหารและการจัดการตามระบบเอกชนมาก่อน และต้องปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของธนาคาร จึงเห็นสมควรดังนี้
(1) ให้สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ในเรื่อง เงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของสถาบันการเงิน นั้น สำหรับสถาบันการเงินที่ต้องควบรวมกิจการกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้คณะกรรมการธนาคารกรุงไทยฯ เป็นผู้พิจารณาเรื่องดังกล่าวตามความเหมาะสม
ส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนของกรรมการในสถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ดังกล่าว ให้ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรีกำหนด และให้รายงานอัตราการจ่ายฯ ให้กระทรวงการคลังทราบ
(2) ให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าแทรกแซง ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่าย กิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 เนื่องจากการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่สถาบันการเงินนั้นเป็นเจ้าของนั้น ถือเป็นการดำเนินธุรกิจตามปกติของสถาบันการเงินอยู่แล้ว ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์เดียวกับที่กระทรวงการคลังได้ยกเว้นให้ธนาคารกรุงไทยฯ
(3) ให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าแทรกแซง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 6202/ว.156 ลงวันที่ 19 กันยายน 2534 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สินและหนี้สูญออกจากบัญชีของรัฐ วิสาหกิจ โดยเห็นสมควรให้สถาบันการเงินดังกล่าว ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และให้รายงานผลให้กระทรวงการคลังทราบตามความจำเป็นทุก ๆ 3 เดือน ทั้งนี้เนื่องจาก ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ได้กำหนดว่า ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่มิได้มีกฎหมายจัดตั้ง จำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการ จำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่ว รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการติดตามทวงถามฟ้องร้องหนี้จนถึงที่สุดแล้ว ปรากฏว่าไม่มีตัวลูกหนี้ หรือลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ (หรือฟ้องล้มละลาย) จึงจะตัดหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ได้ วิธีการปฏิบัติดังกล่าว จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การควบรวมกิจการ และการประนอมหนี้ตามนโยบายของรัฐบาล และการจูงใจให้สถาบันการเงินเข้าโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน
สำหรับกฎหมายที่เป็นพระราช บัญญัติ หรือพระราชกำหนด เช่น พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไข และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 เป็นต้น ไม่สามารถยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีได้ สำหรับเรื่องที่สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าแทรกแซงจำเป็นต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด คือ
(1) ให้มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี ตามพระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2522 และระเบียบว่าด้วยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2520 ข้อ 19
(2) ให้มีผู้แทนกระทรวงการคลังซึ่งเป็นข้าราชการประจำร่วมเป็นกรรมการอยู่ในคณะ กรรมการ ตามระเบียบว่าด้วยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2520 ข้อ 28
(3) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2538
ทั้ง นี้ ให้ถือปฏิบัตินับตั้งแต่วันที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าแทรกแซงจนเป็นรัฐวิสาหกิจ และให้ถือเป็นหลักการสำหรับสถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะเข้าแทรกแซงจนเป็นรัฐวิสาหกิจในภายหลังด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กันยายน 2541--

คำให้การ ของ นายกทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน คดีที่ดินรัชดา เป็นคำให้การที่ละเอียดและสมบูรณ์แบบ
คดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียใน สัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการ ใดเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้นเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายดังนี้

ข้อ 1. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิใช่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับดูแล ควบคุมตรวจสอบ หรือดำเนินคดีของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ดังนี้

1.1 หลักกฎหมาย “ไม่มีอำนาจกำกับดูแลมากไปกว่าที่กฎหมายกำหนด หากกฎหมายไม่กำหนดให้มีอำนาจย่อมไม่มีอำนาจ” หมายความว่า เมื่อกฎหมายไม่บัญญัติให้อำนาจ ย่อมไม่มีอำนาจ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

1.2 หลักการปกครองในระบบรัฐสภา ถือหักการบริหารกิจการของรัฐในรูปของ “คณะบุคคล” ในที่นี้แก่ “คณะรัฐมนตรี” ตามหลักการของรัฐธรรมนูญ “คณะรัฐมนตรี เป็นผู้มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน”

1.3 หลักการ “การบริหารราชการแผ่นดิน” หมายถึง “การจัดส่วนของราชการ รวมทั้งการจัดระเบียบวิธีการปฏิบัติราชสารอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการ ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มิใช่องค์กรของรัฐภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการจัดส่วนราชการ รวมทั้งการจัดระเบียบวิธีการปฏิบัติราชการ หากแต่เป็นองค์กรของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการเป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายเฉพาะและกฎหมายพิเศษ คือ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ซึ่งได้บัญญัติถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งไว้ต่างหากจากการบริหารราชการดัง กล่าวข้างต้น เพราะมีการกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ วัตถุประสงค์ ในการดำเนินการไว้ต่างหากจากการบริหารราชการไม่ว่าจะเป็นในแง่บุคคลาการที่ เข้าสู่ตำแหน่ง ในแง่ทางการเงิน ในแง่วัสดุ และในแง่กิจกรรมของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นเรื่องต่างหากจากการบริหารราชการ การจัดการส่วนราชการและการจัดระเบียบวิธีการปฏิบัติราชการทั้งสิ้นการจัด ตั้งกองทุนเพื่อการฟื้ฟูฯ เมื่อตรวจสอบในด้าน “วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ” เป็นองค์กรของรัฐตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 29 อัฏฐ พบว่า มีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายที่จัดตั้ง “ไม่ใช่การบริหารราชการแผ่นดิน” เมื่อไม่ใช่องค์กรของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในเรื่อง “การบริหารราชการแผ่นดิน” ประกอบกับเมื่อพิจารณาในแง่ “เงินเดือนและเงินอื่นๆ” ของ “ลูกจ้างและพนักงาน” ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ใช้งบประมาณของกองทุนเพื้อการฟื้นฟูฯ เอง มิใช่จากเงินคัดสรรงบประมาณของ “สำนักงบประมาณ” ที่อยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุม ดูแล ของกระทรวงการคลังตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 6 และมาตรา 10 เหมือนเจ้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล
ดัง นั้น พนักงานของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จึง “มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐบาล” ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) จากสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 มาตรา 11 มาใช้บังคับกับคดีนี้เพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีมีอำนาจ กำกับ ควบคุม ดูแลตรวจสอบ หรือดำเนินคดีของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้

1.4 “หลักการทางฝ่ายปกครอง” นายกรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ “ในฐานะฝ่ายปกครอง” ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพราะหน้าที่ในฐานะฝ่ายปกครองต้องเป็นหน้าที่ปฏิบัติกิจการที่เป็น “ปกติธุระ” ตามพระราชบัญญัติธนาราคแห่งประเทสไทย พ.ศง 2485 มาตรา29 เตรส ซึ่งบัญญัติอำนาจหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ และเป็นกรณีพิเศษตามกฎหมายที่จัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งอำนาจหน้าที่นี้ได้บัญญัติไว้ชัดเจนให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการจัดการองทุน” หากให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับในฐานะฝ่ายปกครองของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แล้ว จะทำให้มีอำนาจ “ซ้ำซ้อน” กับคณะกรรมการจัดการกองทุน

ข้อ 2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นองค์กรของรัฐใน “ภาคนโยบายการเงิน” ที่แยกต่างหากจากองค์กรของรัฐ หรือแยกจากการกำกับควบคุม ดูแล ของนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจกำกับควบคุมดูแลใน “ภาคนโยบายคลัง”
ในเศรษฐ ศาสตร์มหภาคของทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ได้แบ่งแยกองค์กรของรัฐที่กำกับ ควบคุม ดูแล ภาค “นโยบายการเงิน” (Money Policy) แยกเป็นอิสระต่างหากจากองค์กรของรัฐที่กำกับ ควบคุม ดูแล”ภาคนโยบายการคลัง”(Fiscal Policy)
ธนาคารแห่งประเทศไทยและกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงืนเป็นองค์กรของรัฐที่กำกับ ควบคุม ดูแล ในภาคนโยบายการเงินซึ่งเป็นอิสระจากการกำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ ของนายกรัฐมนตรี
แม้คณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้เคยวินิจฉัยว่า กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการงบประมาณ พ.ศ.2502 ก็ตามแต่ยังไม่มีความชัดแจ้งเพราะ “กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มิได้นำกฎหมายเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจมาบังคับใช้และกระทรวงการคลังยังมิได้ ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2523” และเมื่อตรวจสอบข้อมูลจาก “สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ” (สตง) ที่อยู่ในกำกับของกระทรวงการคลัง ที่มีอำนาจ กำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ รัฐวิสาหกิจของประเทศไทย พบว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มิได้มีกฎหมายกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทบและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ

ข้อ 3. ธนาคารแห่งประเทศไทยและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคล เกิดจาก “การตัดตั้งองค์กรของรัฐในรูปแบบที่สาม” ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการและมิใช่รัฐวิสาหกิจจัดตั้งโดยการ ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การขึ้นเป็นการเฉพาะรายตามความจำเป็นของภารกิจ เมื่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มิใช่องค์กรของรัฐที่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแล้ว กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงืนจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราช บัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 เช่นเดียวกับองค์การในลักษณะเดียวกัน คือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ องค์การทหารผ่านศึก และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ข้อ 4. แม้จะอ้างว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจกำกับ ดูแล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย จะต้องมีกฎหมายที่จัดตั้งกำหนดไว้เป็นพิเศษ และเป็นบทบัญญัติในกฎหมายเฉพาะเท่านั้น เพราะเป็น “หลักการของการกระจายอำนาจ” ที่ต้องการให้พ้นจากการเป็น “ส่วนราชการ” ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2544 และไม่เป็นส่วนราชการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502
นายก รัฐมนตรีจะมีอำนาจกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจจะต้องมีกฎหมายที่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ กำหนดไว้เป็นพิเศษ และเป็นบทบัญญัติในกฎหมายเฉพาะเท่านั้นที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับ ควบคุม ดูแล รัฐวิสาหกิจนั้นๆ ไว้เป็นการชัดแจ้ง อาทิเช่นพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาตรา 5 และมาตรา 31 พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 15-17 พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2528 มาตรา 45-47 พระราชกฤษฎีกาองค์การสวนพฤษศาสตร์ พ.ศ.2535 มาตรา 11 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ.2535 มาตรา 26-28 เป็นไปตามหลักกฎหมายที่ว่า “ไม่มีอำนาจกำกับดูแลมากไปกว่าที่กฎหมายกำหนด”

ข้อ 5.การกำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีที่จะถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพ ติดพ.ศ.2542 มาตรา 100 ต้องเป็นงานในอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ หมายถึง “เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นฝ่ายปกครอง เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติกิจการที่เป็นปกติธุระ กล่าวคือ มีอำนาจหน้าที่กำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีในกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน อย่างเป็นปกติธุระประจำตามที่กฎหมายบัญญัติ” นายกรัฐมนตรีมิใช่ฝ่ายปกครองโดยตรงของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงิน ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติกิจการที่เป็นปกติธุระ
เพื่อ ให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติคณะกรรมการจัดการกองทุนจะวางนโยบายและควบคุมและ โดยทั่วไปซึ่งคือการทำงานของกองทุนและออกข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการจัดการกองทุนสามารถดำเนินการได้เองโดยมิต้องขออนุมัติหรือขอความ เห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี การขายที่ดินเป็นปัญหาในคดีที่คณะกรรมการการจัดการกองทุนสามารถดำเนินการได้ โดยลำพัง ไม่มีบทบัญญัติหรือข้อบังคับที่ต้องให้ขออนุมัติ ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่อย่างใด ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องกำหนดตำแหน่งหน้าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐี่ต้องห้ามมิให้ดำเนินการตาม ความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัยและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติพ.ศ.2542 บทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดมีอำนาจในการกำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีสำหรับหน่วยงานใด เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นย่อมต้องห้ามมิให้เป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้ในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานนั้น

ข้อ 6 “เจตนารมณ์ของกฎหมายพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต พ.ศ 2542 มาตรา 100 (1) เป็นการบัญญัติ “แบบมีเงื่อนไข” ว่าหมายถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐมนหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอำนาจกำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ เท่านั้น เพราะเป็น “กฎหมายจำกัดสิทธิ” มีหน้าที่สำคัญที่ควรนำมาตรวจสอบคือ หลักฐานจากรายงานการประชุมวุฒิสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2542 ในหน้าที่ 55 และสามารถเปรียบเทียบได้กับมาตรา 100 (3) ที่บัญญัติไว้แบบไม่มีเงื่อนไข

ข้อ 7. นายกรัฐมนตรีไม่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การจะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาต้องเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติของ กฎหมายนั้นๆ บัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง อาทิเช่นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ 2542 มาตรา 31 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ 2542 มาตรา 12 ฯลฯ กรณีคดีนี้ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายให้นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญา

ข้อ8 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัมนาระบบสถาบันการเงิน มีอำนาจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ในการประกาศขายที่ดิน ทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ เปรียบเทียบคำพิพากษาฎีกาที่4655/2533 ระหว่าง นางลาวัณย์ ดิลคณารักษ์ โจทก์ กระทรวงการคลังกับพวก จำเลย วินิจฉัยไว้ว่า “กองทุนเพื่อการพื้นฟูฯ เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมายภายในของวัตถุประสงค์ของตน” และแม้จะอ้างว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีฐานะเป็น รัฐวิสาหกิจ แต่จะนำเอาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบรามการ ทุจริต พ.ศ 2542 หมวด 9 ว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลปละประโยชน์ส่วนรวมตามมาตรา 100 (1) มาบังคับใช้ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติในมาตรา100 (1) มิได้บัญญัติหน่วยงานของรัฐประเภท “รัฐวิสหกิจ” ไว้เช่นกันกับบทบัญญัติในมาตรา 100 (3) และสัญญาซื้อขายระหว่างคุณหญิงพจมาน ชินวัตร กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มิใช่ “สัญญาสัมปทาน”

ข้อ 9. สัญญาซื้อขายที่ดินที่จัดให้มี “การประกวดราคา” ไม่เป็นเรื่องประโยชน์ส่วนบุคคลขัดแย่งกับประโยชน์ส่วนรวม มิได้ลิดรอนผลประโยชน์ของประชาชน ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมประมูลในการประกวดราคาตามประกาศของกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯ ได้การกระทำของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ผู้ขายและ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้ซื้อ กระทำโดยสุจริตเปิดเผย มีการแข่งขันราคาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีการศึกษา และตรวจสอบแล้วว่า ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องห้ามในการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน การจำหน่ายที่ดินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การประมูลขายที่ดินและการขายที่ดินเป็นไปโดยชอบด้วย
กฎหมาย และเป็นไปตามข้อบังคับและเป็นไปตามมติของคณะกรรมการจัดการกองทุน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 29 เตรส

ข้อ 10. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไม่ได้รับความเสียหายจากการ จำหน่ายที่ดินแปลงพิพาทแต่ได้รับประโยชน์จากการจำหน่ายที่ดิน คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นผู้เสนอราคาสูงสุด เดิมราคาที่ดินที่แท้จริงที่ บริษัท เอราวัณทรัสต์ซื้อมาเพียงราคา 103 ล้านบาท หากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่จำหน่ายที่ดินต้องมีภาระดอกเบี้ยปีละประมาณ 35 ล้านบาท การที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ปรับลดราคาที่ดิน และออกหลักเกณฑ์การขาย การประกาศประกวดราคาที่ดิน ราคาที่ดินอนุมัติขาย รวมทั้ง ข้อกำหนดในการส่งมอบที่ดิน กระบวนการ ต้งแต่การประกาศขายจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายทิ่ดนทุกขั้นตอนเป็นไปโดย เปิดเผยสามารถตราจสอบได้ เพราะในเรื่องดังกล่าวกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทำ รายงานการขายที่ดินถึงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เข้าทำการตรวจสอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสร็จสิ้นแล้ว มิได้มีข้อสังเกตหรือมีข้อทักท้วงในรายงานการตรวจสอบบัญชีสำนักงานการตรวจ เงินแผ่นดินว่า การปรับลดราคาที่ดินและการขายที่ดินในครั้งนี้ ทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสียหาย และการปรับลดราคาที่ดินและการขายที่ดินเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการ กองทุน สำหรับที่มีการกล่าวว่าภายหลัง คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อที่ดิน มีการยกเลิกข้อจำกัดเรื่องความสูงในการก่อสร้างอาการ มีข้อเท็จจริงดังนี้
(1.) ข้อกำหนดตามกฎหมายผังเมืองใหม่ (พ.ศ.2549) ที่ดินที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อมาอยู่ “ประเภท ย 6 “ ซึ่ง “ห้ามสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ” (อาคารที่มีพื้นที่ตั้ง 10,000 ตามรางเมตรขึ้นไป)
(2.) ข้อกำหนดการยกเลิกข้อจำกัดความสูงในการก่อสร้างอาคาร เป็นกรณีที่อาคารสำนักงานหรืออาคารประกอบพาณิชยกรรมจะสร้างอาคารสูงประเภท ดังกล่าวไม่ได้ เพราะที่ดินที่ประมูลได้มีเขตทางไม่ถึง 30
เมตร (ถนนเทียมร่วมมิตร มีเขตทางเพียง 17-20 เมตรเท่านั้น ตามหนังสือสำนักงานเขตห้วยขวางที่ กท04803/6436 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2550 ) และที่ดินดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายในระยะ 500 เมตรจากศูนย์กลางสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จากข้อกำหนดที่ (1) และ (2) ข้างต้น สรุปได้ว่าการยกเลิกข้อจำกัดความสูงในการก่อสร้างอาคารไม่ได้ทำให้ราคา ที่ดินสูงขึ้น เพราะแม้จะให้สร้างอาคารสูงได้ แต่ข้อกำหนดเรื่องอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินตามกฎหมายผังเมือง ใหม่ (พ.ศ.2549) กำหนดไว้ไม่เกิน 45 : 1 (ตามกฎหมายผังเมืองใหม่ข้อ 17 (21) ใน (1) ย่อย กล่าวคือ ที่ดิน 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) สามารถสร้างอาคารได้เพียง 7,200 ตารางเมตรเท่านั้น) ซึ่งข้อกำหนดนี้เดิมกฎหมายผังเมืองใหม่ไม่ได้ดำหนดไว้ แต่ใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หมวดที่ 1 ข้อ 5 กำหนดไว้ที่อัตราส่วนไม่เกิน 10 : 1 กล่าวคือ ที่ดิน 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) สามารถสร้างอาคารได้ 15,000 ตารางเมตร จะเห็นว่าพื้นที่อาคารได้หายไปกว่าครึ่ง
ดังนั้นผังเมืองใหม่ดังกล่าวจึง ไม่ได้เอื้อประโยชน์ (ทำให้ราคาสูงขึ้น ให้แก่ที่ดินที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อแต่อย่างใด แต่ในทางตรงกันข้ามผังเมืองใหม่ดังกล่าวกลับทำให้ราคาที่ดินที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อ มีมูลค่าที่ดินลดลง เพราะไม่สามารถสร้างอาคารให้ได้พื้นที่ใช้สอย เท่ากับกฎหมายเดิมตามที่กล่าวมาข้างต้น (ลดลงกว่าครึ่ง) การจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จะดำเนินการจัดทำใหม่ทุก 5 ปี ตามพระราชบัญญัติผังเมืองมาตรา 26 ถ้าไม่ทันให้ขยายเวลาการใช้บังคับกฎกระทรวงตามผังรวมเดิมได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ตามมาตรา 26 วรรคห้า และกระบวนการในการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร มีขั้นตอนมากมายเช่นต้องผ่าน “คณะกรรมการผังเมือง” ซึ่งตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง (พ.ศ.2518) กำหนดให้ข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการแล้วยังมีผู้ทรง คุณวุฒิทางการผังเมืองหรือสาขาวิชากที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผังเมืองไม่ เกิน 7 คน และผุ้แทนสถาบันองค์กรอิสระและบุคคลอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับการผังเมือง ไม่เกิน 7 คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นกรรมการด้วย
นอกจากนี้คณะกรรมการ ผังเมืองยังมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามความเหมาะสมขึ้นมาพิจารณาดำเนิน การได้อีก ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติผังเมือง (พ.ศ.2518) ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะกรรมการร่างกฎหมายกระทรวงมหาดไทย และคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการกฤษฎีกา จะเห็นว่าการจัดผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จะต้องผ่านขั้นตอนและการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนสถาบันองค์กรอิสระมากมาย และที่สำคัญคือมีการผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การจัดกำหนดผังเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนากยรัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่ได้กำกับ ควบคุม ดูแลกรุงเทพมหานคร และมีข้อเท็จจริงที่สังคมทราบโดยทั่วไปว่า ในขณะนั้น “กรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นสมาชิก และผู้บริหารพรรคการเมือง ที่เป็นคู่แข่งและเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองกับพรรคการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะให้อำนาจหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีไปแทรกแซง สั่งการใดๆ ให้กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับพรรคการ เมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำยอมต้องยกเลิกข้อบังคับเรื่องอาคารสูง เพื่อให้เป็นประโยชน์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา Empty ไต่สวนที่ดินรัชดาฯ! 6 จนท.รัฐ เบิกความช่วย “แม้ว-อ้อ”

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Dec 09, 2009 8:05 pm

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์ 5 สิงหาคม 2551 15:10 น.

นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการ คณะกรรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. เข้าเบิกความเป็นพยานฝ่ายจำเลยในคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ

“ทนาย ทักษิณ-หญิงอ้อ” นำพยาน 6 ปาก จนท.กระทรวงการคลัง เลขาฯ ก.พ.และเจ้าหน้าที่ ธปท.ไต่สวนสู้คดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาฯ เพื่อนำสืบสถานะกองทุนฟื้นฟูฯไม่ได้ขึ้นตรงกับกระทรวงการคลัง การซื้อขายที่ดินไม่ต้องขออนุมัติ รมว.คลัง ครม.-นายกฯ ศาลนัดไต่สวนพยานจำเลยอีกครั้ง 15 ส.ค นี้

วันนี้ (5 ส.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง เวลา 09.30 น.นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสเจ้าของสำนวนพร้อมองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คน ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานจำเลยครั้งที่ 2 คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา 152, 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 มาตรา 4,100 และ 122

โดยวันนี้ทนายจำเลยได้นำพยานเข้าไต่ สวนรวม 6 ปาก ประกอบด้วย นายพัลลภ ศักดิ์โสภณกุล ผอ.กองกฎหมายและระเบียบ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง, นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการคณะกรรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.), นางดนุชา ยินดีพิธ รอง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง, นายสาธร โตโพธิ์ไทย ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), นายสุภร ดีพันธ์ เจ้าหน้าที่ ธปท.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน ทีมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนฟื้นฟูกิจการและพัฒนาสถาบันการเงิน และนายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท.

โดย นายพัลลภ ศักดิ์โสภณกุล ผอ.กองกฎหมายและระเบียบ สำนักงบประมาณ ตัวแทน ผอ.สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการคณะกรรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นางดนุชา ยินดีพิธ รอง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ทั้งสามคนได้เบิกความต่อศาลทำนองเดียวกันว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายพิเศษ ที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงการคลัง และด้านการบริหารก็ไม่ได้ขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

นาย สาธร ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายคดี ธปท.กล่าวว่า ขณะเกิดที่มีการซื้อขายที่ดินคดีนี้พยานปฏิบัติหน้าที่ช่วยงานผู้อำนวยการ ฝ่ายกฎหมายและติดตามทรัพย์สิน ธปท.และร่วมเป็นคณะกรรมการรับซองประกวดราคาที่ดิน ซึ่งพยานทราบว่าที่ดินพิพาทคดีนี้ กองทุนรับโอนมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณ ทรัสต์ จำกัด และเนื่องจากกองทุนมีภาระต้องคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนมาก ในการช่วยเหลือสถาบันการเงิน ดังนั้น กองทุนจึงมีความจำเป็นต้องประกาศขายทรัพย์สินที่รอการขายโดยเร็วที่สุด ซึ่งการซื้อขายทรัพย์สินรอการขายของกองทุนไม่ต้องใช้ระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ที่ใช้บังคับกับหน่วยราชการโดยการจัดการซื้อขายทรัพย์สินนั้นเป็นไปตามอำนาจ ของกองทุนฟื้นฟูฯ และไม่ต้องขออนุมัติจากผู้ว่าการ ธปท., รมว.คลัง, คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ หลังการขายที่ดินพิพาทคดีนี้ให้คุณหญิงพจมานแล้ว คณะกรรมการจัดการกองทุนฟื้นฟูฯ ยังประกาศขายที่ดินว่างเปล่าเนื้อที่ 50 ไร่ 1 งาน 30.8 ตารางวา ซึ่งใกล้ศูนย์วัฒนธรรม เมื่อวันที่ 26 ก.ค.47 ด้วยการเปิดประกวดราคา ซึ่งก็ได้มีการกำหนดราคาประกันซอง 100 ล้านบาท นอกจากนี้ ในส่วนที่คณะกรรมการจัดการกองทุนฟื้นฟูฯ ขายที่ดินให้ อ.ส.ม.ท.ตารางวาละ 55,000 บาท (เนื้อที่ 50 ไร่บริเวณใกล้เคียงที่ดินคดีพิพาทนี้) ก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดการกองทุนฯ ที่จะอนุมัติโดยไม่ได้ขออนุมัติจากผู้ว่าการ ธปท., รมว.คลัง, ครม.หรือ นายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด

ส่วน นายสุภร เจ้าหน้าที่ ธปท.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน ทีมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนฟื้นฟูฯ เบิกความว่า พยานเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร เขตห้วยขวาง ให้ดำเนินการรังวัดที่ดินพิพาทคดีนี้เพื่อรวมโฉนด 13 แปลง ให้เป็นที่ดินแปลงใหญ่ โดยสาเหตุที่ต้องรวมโฉนดที่ดินเนื่องจากในการประกาศขายที่ดินพิพาทนี้ใน ครั้งแรกผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่มีผู้เสนอราคา เพราะราคาเริ่มต้นสูงมาก ประกอบกับเนื้อที่ของที่ดินที่จะใช้ประโยชน์มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ระบุใน เอกสารสิทธิ ซึ่งการยื่นคำร้องขอรวมโฉนดก็ได้รับมอบหมายหน้าที่จากกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งดำเนินการเมื่อเดือน ก.ย.46 โดยพยานพาเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินเข้าไปรังวัดพื้นที่โดยรอบเพื่อให้แบ่ง เนื้อที่ซึ่งติดกับถนนเทียมร่วมมิตร และคลองสาธารณะ ก่อนจะให้มีการรวมโฉนด ซึ่งการรังวัดเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 23 ก.ย.ถึง 13 พ.ย.46 โดยพยานปฏิบัติหน้าที่ตามปกติไม่ได้มีการเร่งรีบที่จะให้มีการรวมโฉนด แต่กองทุนฟื้นฟูฯ ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ถึงกรมที่ดินตามขั้นตอนตามปกติในการประสานระหว่าง ราชการให้ดำเนินการรังวัดที่ดิน เพราะปกติกองทุนมีที่ดินจำนวนมากถึง 500 รายการที่ต้องให้รังวัด ซึ่งการยื่นคำร้องขอรวมโฉนดคดีนี้ เป็นการดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ใช่การร้องขอจากคุณหญิงพจมานหรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากคุณหญิงพจมานใน การเข้าร่วมประกวดราคาซื้อขายที่ดินนี้แต่อย่างใด ส่วนเลขที่โฉนดที่ให้มีรังวัดนั้นเพื่อจะให้รวมโฉนดจาก 13 แปลงเป็น 4 แปลงใหญ่ เนื้อที่ 33 ไร่ 78.9 ตารางวานั้น พยานได้ขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับเลขที่โฉนดจากนายชลากร พรหมกิติกุล หัวหน้าฝ่ายรังวัดที่ดินเมื่อวันที่ 18 พ.ย.46 เพื่อกองทุนฟื้นฟูฯ จะได้นำเลขที่โฉนดและเนื้อที่ที่รังวัดแล้ว มาลงประกาศขายที่ดินพิพาทนี้ เมื่อวันที่ 25 พ.ย.46

ด้าน นายชาญชัย ผอ.อาวุโสฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท.เบิกความว่าตามที่ปรากฏคำสัมภาษณ์ของพยาน ว่า กองทุนไม่ได้รับความเสียหายจากการซื้อขายที่ดินพิพาทนี้ เป็นการแสดงความเห็นไม่ใช้ข้อเท็จจริงซึ่งขณะให้สัมภาษณ์พยานได้รับมอบหมาย จากผู้บังคับบัญชากรณีที่ คตส.ส่งแบบฟอร์มให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าทำการร้องทุกข์ในคดีนี้ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทำเรื่องหารือไปยัง ธปท.โดยส่วนตัวพยานเห็นว่ากองทุนฟื้นฟูฯขายที่ดินพิพาทนี้ราคา 772 ล้านบาทซึ่งไม่ได้มีมูลค่าต่ำกว่าราคาประเมินอีกทั้งการซื้อขายยังได้ดำเนิน การด้วยการประกวดราคาที่กระทำโดยเปิดเผยและมีผู้เข้าร่วมเสนอราคาถึง 3 ราย โดยกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ขายที่ดินให้ผู้เสนอราคาสูงสุด ดังนั้น จึงไม่พบว่าพฤติการณ์จะทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับความเสียหายอย่างไร โดยในการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ พยานไม่ได้โต้แย้งในที่ประชุมว่ากองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ได้รับความเสียหาย เพียงแต่ในการประชุมฝ่ายกฎหมายตั้งข้อสังเกตว่า กองทุนฟื้นฟูฯจะได้รับความเสียหายเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ แต่จนถึงวันนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ก็ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทนี้

นาย ชาญชัย ยังเบิกความถึงสถานะของกองทุนฟื้นฟูฯ ด้วยว่า ในการซื้อขายทรัพย์สินรอการขายของกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ได้ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535แต่ใช้ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของ ธปท.โดยอนุโลม ส่วนโครงสร้างภายในของกองทุนเกี่ยวกับเงินเดือนกองทุนฟื้นฟูฯ ได้อนุมัติเงินจาก ธปท.โดยไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับข้าราชการ ซึ่งรายได้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มาจาก ธปท.ช่วยเหลือ ส่วนที่กองทุนฟื้นฟูฯ มีภาระความจำเป็นในการช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาตั้งแต่ปี 2540 ก็ได้รับการช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง โดยก่อนหน้านี้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เป็นรัฐวิสาหกิจ

ภาย หลังศาลนัดไต่สวนพยานจำเลยครั้งต่อไปวันที่ 15 ส.ค.51 เวลา 09.30 น.ส่วน นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง นายเอนก คำชุ่ม ทนายความจำเลยแถลงว่าวันนี้พยานติดภารกิจสำคัญจึงต้องเลื่อนนัดไต่สวนออกไป ก่อน โดยจะนำตัวเข้าไต่สวนในวันที่ 19 ส.ค.51

อย่างไรก็ดี นายเอนก ยังได้แถลงต่อศาลขออนุญาตให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารจากคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อีกครั้ง หลังจากที่ฝ่ายจำเลยได้ติดตามขอรับเอกสารจาก ป.ป.ช.ตามที่ศาลได้เคยออกหมายให้ไว้แล้วในครั้งแรก แต่ฝ่ายจำเลยได้รับแจ้งจากเลขาธิการ ป.ป.ช.ว่ายังติดขั้นตอนรอการเสนอที่ประชุม ป.ป.ช. ซึ่งเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญที่ฝ่ายจำเลยมีความจำเป็นต้องนำมาประกอบ การไต่สวนพยานจำเลยในวันที่ 19 ส.ค.นี้ ในส่วนของ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ศาลได้ออกหมายเรียกเอกสาร และ ป.ป.ช.ได้รับหมายแล้ว หากไม่ดำเนินการส่งเอกสาร ศาลก็มีอำนาจที่จะดำเนินตามกฎหมายได้ทันที ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกเอกสารซ้ำอีก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ดี ในการไต่สวนพยานจำเลย เหลือวันนัดไต่สวนอีกเพียง 3 นัดคือวันที่ 15,19 และ 22 ส.ค.51 โดยกำหนดการเดิมทนายจำเลยเตรียมที่จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน เข้าไต่สวนเป็นพยานจำเลยปากสุดท้ายในวันที่ 22 ส.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มีกำหนดที่จะต้องเข้ารายงานตัวต่อศาลฎีกาฯ หลังจากเดินกลับจากต่างประเทศในวันที่ 11 ส.ค.นี้

--------------------------------------------------------------

ข่าว ไทยรัฐออนไลน์
'ชวน-บรรหาร' แจงคดีที่ดินรัชดา [9 ก.ค. 51 - 04:53]


เมื่อ เวลา 09.30 น. วันที่ 8 ก.ค. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายทองหล่อ โฉมงาม รองประธานศาลฎีกา ในฐานะเจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะรวม 9 คน นัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ในคดีที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ กรณีการประมูลซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาฯ จำนวน 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 4, 100 และ 102 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 86, 91, 152 และ 157 โดยนายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ในฐานะอัยการโจทก์ นำพยานขึ้นเบิกความจำนวน 4 ปาก คือนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอรัปชัน (คปต.) และ น.ส.กัลยาณี รุทระกาญจน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ

ทั้งนี้ นายบรรหาร และนายชวน ได้ขึ้นเบิกความในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีไปในทำนองเดียวกันว่า ระหว่างที่ทั้งสองดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่เคยมีอำนาจสั่งการไปยังกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่ตั้งโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแลคณะรัฐมนตรีอีกทอดหนึ่งเท่านั้น

เปลี่ยนมาตรฐานประเมินราคาถูกลง

ด้าน นายวีระ สมความคิด ได้ขึ้นเบิกความพร้อมกับแถลงต่อศาลให้ถอนประกัน พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน เนื่องจากมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความของจำเลยทั้ง 2 ในคดีนี้กับพวก ร่วมกันให้เงินสินบนเจ้าหน้าที่ศาลจำนวน 2 ล้านบาท

จากนั้น น.ส.กัลยาณี รุทระกาญจน์ เบิกความว่า จากการตรวจสอบกับทางสำนักงานที่ดิน พบว่าการประเมินราคาที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงราคาโดยไม่มีมาตรฐาน เพราะมีการใช้มาตรฐานประเมินราคาที่ดินเปลี่ยนไป จากเดิมใช้ระบบวัดจากระยะห่างจากถนน เป็นระบบแผนที่ทางอากาศ หรือ UTM และยังประเมินจากราคาที่ดินแปลงเล็ก ไม่ใช่คิดราคาที่รวมเป็นโฉนดผืนใหญ่แล้ว ที่ดินผืนดังกล่าว ทางกองทุนฟื้นฟูฯได้รวบรวมที่ดินแปลงเล็กรวมเป็นผืนใหญ่ เพื่อให้ที่ดินติดถนนมีทางเข้าออก สามารถปลูกสิ่งปลูกสร้างให้มีขนาดใหญ่ได้ โดยที่ดินผืนดังกล่าว ทางเอราวัณ ทรัสต์ ขายให้กองทุนฟื้นฟูฯ 1,908 ล้านบาท หากคำนวณระยะเวลาครอบครอง 8 ปี ที่ดินดังกล่าวน่าจะมีมูลค่าประมาณ 2,800 ล้านบาท ภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น ศาลได้นัดสืบพยานครั้งต่อไปในวันที่ 15 ก.ค.นี้ เวลา 09
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา Empty นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Dec 09, 2009 8:06 pm

ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวชี้แจงกรณีที่อัยการสูงสุดฟ้องร้องคดีซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 2 ข้อหาคือ การใช้อำนาจโดยมิชอบ และราคาที่ดินที่ขายแตกต่างจากราคาประเมินในช่วงก่อนหน้า 1,000 กว่าล้านบาท ว่า
กรณี ของราคาประเมินที่ดิน ซึ่งในช่วงแรกที่กองทุนฟื้นฟูฯได้กลับมาจากผู้ซื้อกิจการบริษัทเงินทุน เอราวัณ ทรัสต์ ที่สูงถึง 2,100 ล้านบาทนั้น ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการประเมินราคาตามราคาตลาดเพราะขณะนั้น กองทุนฟื้นฟูฯต้องการจะขายใบอนุญาตการประกอบกิจการบริษัทเงินทุนของเอราวัณ ทรัสต์ให้ผู้สนใจซื้อ แต่ติดขัดที่กฎหมายไม่อนุญาต จึงใช้วิธีขายกิจการทั้งหมด ทั้งหุ้น ใบอนุญาตและสินทรัพย์ในราคาเท่าหนี้สิน ซึ่งเป็นเงินฝากของประชาชนที่บริษัทเงินทุนเอราวัณ ทรัสต์มีอยู่ และกองทุนฟื้นฟูฯ ต้องชดใช้โดยมีข้อตกลงจะให้ขายสินทรัพย์คืนในราคาที่หักราคาใบอนุญาตแล้ว เช่น สมมติว่าบริษัทเงินทุนเอราวัณ ทรัสต์ มีหนี้เงินฝากที่กองทุนฟื้นฟูฯต้องจ่ายคืนให้ประชาชนตามมติคณะรัฐมนตรีที่ ให้รับประกันเงินฝากแก่ผู้ฝากเงิน 100% ประมาณ 3,000 ล้านบาท และมีสินทรัพย์เป็นที่ดิน 2 แปลง แปลงหนึ่งคือที่ดินย่านรัชดาฯ ผู้ซื้อไลเซนส์บริษัทเงินทุนทำสัญญาซื้อกิจการเอราวัณ ทรัสต์ในราคา 3,000 ล้านบาท แต่กองทุนประเมินว่า เฉพาะไลเซนส์มีราคา 200 ล้านบาท จึงซื้อสินทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินคืนมาในราคา 2,800 ล้านบาท ทำให้เสมือนว่าที่ดินย่านรัชดาฯ มีราคาสูงถึง 2,000 ล้านบาท แต่หากจะขายที่ดินดังกล่าวในราคา 2,000 กว่าล้านบาทจริงๆคงไม่มีใครซื้อ “จากกรณีสมมติ อธิบายได้ว่า จากเดิมที่เมื่อกองทุนจ่ายคืนเงินผู้ฝากไป 3,000 ล้านบาทแล้ว แทนที่จะมีเงินคืนกลับมาจากการขายที่ดิน2 แปลง เพียงอย่างเดียวยังได้ค่าไลเซนส์มาอีก 200 ล้านบาท ส่วนต้นทุนราคาที่ดินแปลงนี้ที่แท้จริง กองทุนยึดที่ดินแปลงนี้มาจากลูกหนี้เอราวัณ ทรัสต์ในราคา 107 ล้านบาท ดังนั้น 107 ล้านบาท เป็นราคาต้นทุนกองทุนฟื้นฟูฯที่แท้จริง เมื่อจะขายจึงมีการประเมิน
ราคากัน ซึ่งในขณะนั้นติดปัญหาไม่สามารถสร้างอาคารสูงบนที่ดินแปลงดังกล่าวได้ ทำให้ราคาประเมินครั้งแรกอยู่ที่ 800 กว่าล้านบาท บนพื้นที่ 38 ไร่ แต่ไม่มีผู้ประมูล ในที่สุดจึงปรับพื้นที่ใหม่ โดยตัดคลอง และถนนออกไป เหลือ 33 ไร่ ลดราคากลางลงมา จนคุณหญิงพจมานประมูลได้ในราคา 772 ล้านบาท”.

--------------------------------------------------------------

เปิดโฉมองศ์9คณะผู้พิพากษา ตัดสินคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดา

โดย คม ชัด ลึก วัน ศุกร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 13:47 น.


เปิดรายชื่อ 9 องศ์คณะผู้พิพากษา พิจารณาตัดสินชี้ขาดคดีทุจริตการซื้อขายที่ดินรัชดา

(22มิย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังประธานศาลฎีกาเรียกประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกา เมื่อเวลา 09.30 น.เพื่อเลือกองค์คณะผู้พิพากษา 9 คน พิจารณาพิพากษา คดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดา ปรากฎว่า เมื่อเวลา 11.00 น.ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ได้ลงมติเลือกองค์คณะดวยวิธีลงคะแนนลับ เสร็จสิ้นแล้ว โดยนายรักเกียรติ วัฒนพงษ์ เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แถลงว่า การประชุมวันนี้มีผู้พิพากษาศาลฎีกาเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 84 คน จากจำนวนทั้งหมด 87 คน โดยผู้พิพากษาศาลฎีกา 3 ท่าน ที่ไม่เข้าร่วมประ ชุมใหญ่ ได้ยื่นจดหมายลาป่วย

สำหรับผลการคัดเลือกองค์คณะผู้พิพากษา โดยที่ประชุมใหญ่ ปรากฎรายชื่อเรียงตามอาวุโส ดังนี้ 1. นายสมศักดิ์ เนตรมัย ประธานแผนกคดีพานิชย์และเศรษฐกิจ ในศาลฎีกาได้ 72 คะแนน 2.นายทองหล่อ โฉมงาม รองประธานศาลฎีกา คนที่ 2 70 คะแนน 3.นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย ประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาในศาลฎีกา 70 คะแนน 4.นายสุรชาติ บุญศิริพันธ์ ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อม ในศาลฎีกา 64 คะแนน 5.นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา (นายวสันต์ เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เคยเป็นพยานให้นต.ประสงค์ สุ่นสิริ ซึ่งเคยถูกตลก.รธน. ยื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาท เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินคดีซุกหุ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 63 คะแนน

6.นายประพันธ์ ทรัพย์แสง ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา (นายประพันรธ์ เคยเป็นองค์คณะผู้พิพากษาและเจ้าของสำนวนตัดสินคดีนายรักเกียรติ สุขธนะ อดีต รมว.สธ.ทุจริตจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ที่ถูกยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงทางการเมือง 58 คะแนน 7. นายสมชาย พงษธา ประธานแผนกคดีล้มละลาย ในศาลฎีกา (นายสมชาย เป็นหนึ่งใน 9 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากที่วินิจฉัย คดียุบพรรคการเมือง 56 คะแนน 8. นายพิชิต คำแฝง ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา 54 คะแนน และ 9. นายธีระวัฒน์ ภัทรานวัช ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา 47 คะแนน

นายรักเกียรติ กล่าวว่า จากนี้ไปองค์คณะผู้พิพกษาทั้ง 9 นัดประชุมภายในเพื่อเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน และพิจารณาคำฟ้องดังกล่าว เพื่อมีคำสั่งต่อไป โดยคดีนี้ศาลฎีกาฯ นัดฟังคำสั่งวันที่ 10 กค. เวลา 10.00น.

โดยการประชุมวันนี้ยังมีผู้พิพากษา 10 คน ยื่นถอนตัวขอไม่รับเลือกเป็นองค์คณะ โดย 3 ใน 10 คน คือ มล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ รองประธานศาลฎีกา คนที่ 1 นายกิตติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และนายธานิศ เกียศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา

http://news.sanook.com/politic/politic_149429.php
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา Empty วิเคราะห์เชิงวิชาการ : คดีที่ดินรัชดา ฯ

ตั้งหัวข้อ by dimistry Wed Dec 09, 2009 8:08 pm

บทความกฏหมาย
ผู้เขียน:
ตุลาการผู้ไม่ภิวัตน์
วันที่:
25 เมษายน 2009

หมายเหตุกองบรรณาธิการ : บท ความนี้เป็นการศึกษา วิเคราะห์และเสนอความเห็นทางกฎหมายโต้แย้ง คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยอ้างอิงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตที่ดินรัชดา ซึ่งมี พตท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 2 กองบรรณาธิการได้นำคำพิพากษาและข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับคดีดังกล่าว แนบท้ายบทความ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทางวิชาการด้วย

00000000000000000000000000000000000000000000

ข้อเท็จจริงในคดี สรุปได้ความว่า เมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม 2538 กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษกของบริษัทเงินทุนเอราวัณทรัสต์ จำกัด 2 แปลง 31 โฉนด เนื้อที่รวม 121 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา เป็นราคาค่าซื้อทั้งสิ้น 4,889,497,500 บาท

ต่อมากองทุนฟื้นฟูฯ ได้ปรับปรุงเกณฑ์บัญชีทรัพย์สินรอขายใหม่ทั้งหมดเพื่อรับรู้การขาดทุน โดยใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินในขณะนั้นเป็นราคาที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง เป็นผลให้ที่ดิน 2 แปลงดังกล่าวมีราคาลดลงเหลือเพียง 2,064,600,000 บาท เฉพาะแปลงที่ 2 ที่เกี่ยวกับคดีนี้มีราคา 754,500,000 บาท

เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม 2546 กองทุนฟื้นฟูฯ นำที่ดินแปลงที่ 2 ออกประมูลขายทางอินเตอร์เน็ต โดยกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ที่ 870,000,000 บาท มีผู้ประสงค์จะซื้อ 8 ราย แต่เมื่อกำหนดต้องเสนอราคาปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดเสนอราคาประมูล กองทุนฟื้นฟูได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงที่ 2 ออกเป็น 4 โฉนดโดยแบ่งหักส่วนที่เป็นสาธารณะประโยชน์ออกไป เหลือเนื้อที่ 22 ไร่ 78.9 ตารางวา

หลังจากนั้น จึงประกาศขายที่ดินนี้ใหม่อีกครั้งโดยวิธีประกวดราคาโดยไม่กำหนดราคาขั้นต่ำ เอาไว้ มีผู้เสนอราคา 3 ราย คือบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 730,000,000 บาท บริษัท โนเบิลดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 750,000,000 บาท และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 เสนอราคา 772,000,000 บาท ซึ่งเป็นผู้ให้ราคาสูงสุด และสูงกว่าราคาที่ดินที่ปรับแล้วคือ 754,500,000 บาท

กองทุนฟื้นฟูจึงประชุมกันและอนุมัติให้คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ชนะการประกวดราคา คุณหญิงพจมานได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับกองทุนฟื้นฟูฯ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2546 และชำระราคาครบถ้วนในเวลาต่อมา ก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกันในวันที่ 30 ธันวาคม 2546

โดยพันตำรวจ ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมแก่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซึ่งเป็นภรรยา โดยมอบหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประเภทข้าราชการการเมือง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประกอบการทำสัญญาด้วย

มีปัญหาว่า โดยหลักกฎหมายและหลักนิติธรรม (Rule of Law )แล้วพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะจำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ในฐานะจำเลยที่ 2 ควรต้องรับโทษในทางอาญาหรือไม่

ตาม คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์(อัยการสูงสุด) บรรยายฟ้องมา มีเพียงการที่จำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการร่วมประมูลซื้อและทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท และจากการไต่สวนพยานของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประกอบรายงานสรุปสำนวนการตรวจสอบไต่สวนของ คตส. (คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ได้ความว่า

การดำเนินการตั้งแต่ร่วมเสนอราคา ทำสัญญาจะซื้อจะขาย จนกระทั่งทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับกองทุนฟื้นฟูฯ นั้น เป็นการดำเนินการของจำเลยที่ 2 เพียงคนเดียว โดยไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มีการกระทำการอย่างใด ที่แสดงให้เห็นว่าร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ด้วย จึง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนกระทำหรือเกี่ยวข้องในอันที่จะแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่าประสงค์จะมีเจตนาร่วมซื้อที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2

ลำพังการที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอถึงขนาดให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำการร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ววินิจฉัยเฉพาะจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้กระทำผิด เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ จึงให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2

ส่วน พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ปรับบทกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 และมาตรา 122 ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและพิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงอาญา

พระ ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ดำเนินกิจการ
ต่อ ไปนี้ (1) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่กำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้น ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี”

วรรคสองบัญญัติว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา” (ซึ่งรวมถึง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย) และวรรคสามบัญญัติว่า

“ให้ นำบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคสอง โดยให้ถือว่าการดำเนินกิจการของคู่สมรส ดังกล่าวเป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ”

มาตรา 122 บัญญัติว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 100 มาตรา 101 หรือมาตรา 103 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” และวรรคสองบัญญัติว่า “กรณีความผิดตามมาตรา 100 วรรคสาม หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด พิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยในการที่คู่สมรสของตนดำเนินกิจการตามมาตรา 100 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่า ผู้นั้นไม่มีความผิด”

ดังนี้ จะเห็นได้ว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตามข้อ เท็จจริงที่ปรากฏนั้น พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมเสนอราคาในการประมูลซื้อที่ดินพิพาทกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แต่เป็นการดำเนินการของคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว

ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 มีการกระทำการอย่างใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุนี้จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้ที่ได้กระทำการใดหรือลงมือกระทำการใด อันจะปรับได้ว่าเป็นผู้กระทำความผิดในตัวของจำเลยที่ 1 เอง แต่จะเป็นความผิดได้ เพราะการกระทำของคู่สมรสคือ คุณหญิงพจมาน ผู้ภรรยาเท่านั้น

ดังนั้น ในเบื้องต้นจึงถือไม่ได้ว่า พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 วรรคหนึ่ง (1)

ปัญหามีว่า พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ควรจะต้องรับโทษในทางอาญา เพราะการกระทำของคู่สมรสคือ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 วรรคสามหรือไม่ เห็นว่า

เมื่อการกระทำของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิด เพราะเป็นการเข้าประมูลประกวดราคาซื้อที่ดินโดยสุจริตและเปิดเผย และเงินที่ชำระราคาที่ดินที่ประมูลได้ ก็ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำความผิด ต้องคืนแก่คุณหญิงพจมานจำเลยที่ 2 ไปเช่นนี้ จึงไม่อาจจะนำเอาการกระทำที่ไม่เป็นความผิดของคุณหญิงพจมาน ไปเป็นการกระทำที่เป็นความผิดเพื่อลงโทษพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้กระทำหรือลงมือกระทำใด ๆ ดังกล่าวแล้วได้

นอก จากนั้น ตามมาตรา 122 วรรคสอง ยังบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้นด้วยว่า “กรณีความผิดตามมาตรา 100 วรรคสาม หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด พิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ในการที่คู่สมรสของตนดำเนินกิจการตามมาตรา 100 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีความผิด”

ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริง ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รับฟังเป็นยุติมาแต่แรกดังกล่าวแล้วว่า การดำเนินกิจการของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการด้วยตนเองตามลำพังเพียงคนเดียว ตั้งแต่การร่วมเสนอราคาการทำสัญญาจะซื้อจะขายตลอดจนกระทั่งทำสัญญาซื้อขาย ที่ดินพิพาท

โดยพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือไม่ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีส่วนกระทำหรือเกี่ยวข้องในอันที่จะแสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะมีเจตนาร่วมซื้อที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 ด้วย

ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งต่อศาลดังที่ปรากฏในคำวินิจฉัยของศาลเอง เช่นนี้แล้ว การดำเนินกิจการดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สมรสของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการดำเนินการของจำเลยที่ 2 เองตามลำพัง จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รู้เห็นด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รู้เห็นตั้งแต่ต้นเสียแล้ว โอกาสที่จำเลยที่ 1 จะให้หรือไม่ให้ความยินยอม จึงไม่มีหรือเป็นไม่ได้อยู่ในตัว ซึ่งก็ไม่ผิดวิสัยที่ครอบครัวที่ร่ำรวยมั่งคั่งมีทรัพย์สินนับแสนล้านบาท อย่างเช่น จำเลยที่ 1 และ จำเลยที่ 2 จะทำเช่นนั้นได้

การที่จะเหมารวมและฟังเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นเป็นใจหรือให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาท อันถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 และลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 100 (1) ประกอบด้วยมาตรา 122 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ. ศ. 2542 นั้น น่าจะไม่เป็นไปตามบทกฎหมายและความเป็นจริงดังกล่าวแล้ว

ลำพัง การยินยอมที่สามีให้แก่ภรรยา ภายหลังจากภรรยาได้อสังหาริมทรัพย์มาจากการประมูลขายโดยชอบนั้น หาเป็นเหตุที่จะแสดงว่า สามีได้รู้เห็นยินยอมให้คู่สมรสของตนดำเนินกิจการที่ผิดกฎหมายมาแต่แรก อันจะทำให้สามีต้องรับโทษในทางอาญาไม่

และเมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยมาแล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ที่จะมีเจตนาซื้อที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 แล้ว การที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใด มาพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยในการที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการตามมาตรา 100 นั้น ย่อมเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 นำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองอยู่แล้ว

ทั้งศาลก็ได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นยุติมาแต่แรกดังกล่าวแล้ว น่าจะเป็นการขัดต่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เหตุนี้ที่อ้างว่า จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้รู้เห็นยินยอมและลงโทษจำเลยที่ 1 จึงน่าจะขัดต่อเหตุผลและความเป็นจริงและไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2541 มาตรา 122 วรรคสอง ปัญหาจึงควรแก่การพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำผิดบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่

ยิ่ง กว่านั้น ในคดีที่มีองค์คณะผู้พิพากษาหลายคนที่จะต้องร่วมกันพิพากษาคดี โดยเฉพาะคดีอาญานั้น กฎหมายได้บัญญัติไว้อย่างเคร่งครัดและชัดเจนถึงการใช้ดุลพินิจและการออก เสียงลงมติในการพิพากษาแต่ละคดีว่า

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 บัญญัติว่า “บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้น จะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด”

2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 บัญญัติว่า “ให้ศาลใช้ดุลพินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงอย่าพิพากษาลงโทษจนกว่า จะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย”

3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 บัญญัติว่า “ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก ถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย หรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไป จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมาก ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า”

ปรากฏ ว่าในคดีที่ดินรัชดาฯ นี้ มีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะ 9 คน การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 197 วรรคแรก บัญญัติไว้

ดังนั้น ผู้พิพากษาทั้ง 9 คน จึงต้องตระหนักและต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 วรรคสอง และหากกรณีมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227

สำหรับการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาคดีดังกล่าวนี้ แม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 20 จะบัญญัติว่า

“การทำคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดหรือพิพากษาคดี ให้ผู้พิพากษาในองค์คณะผู้พิพากษาทุกคน ทำความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือ พร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ และให้ถือมติตามเสียงข้างมาก ในการนี้ องค์คณะผู้พิพากษาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่ง ในองค์คณะผู้พิพากษาเป็นผู้จัดทำคำสั่งหรือคำพิพากษาตามมตินั้นก็ได้...” ก็ตาม

แต่ก็ไม่ปรากฏมีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาหรือบทบัญญัติแห่งพระ ราชบัญญัตินี้ บัญญัติถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนในการประชุมปรึกษาคดี ไว้ ตลอดจนกรณีที่มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้นั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน จึงบัญญัติว่า

“...ให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาใช้บังคับ... โดยอนุโลม” นั่นก็คือ ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 ข้างต้น มาบังคับใช้นั่นเอง โดยบทกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาทั้ง 9 คนออกเสียงพร้อมกันในคราวเดียวกัน เพื่อให้ได้เสียงข้างมาก แต่บัญญัติให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ต้องทำหน้าที่เป็นประธาน ยังไม่มีสิทธิออกเสียงทันที ต้องถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาอีก 8 คนทีละคนว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดหรือไม่

ปรากฏจากคำพิพากษาที่อ่านและเปิดเผยแล้วว่า คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนลงมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดให้จำคุก 2 ปี ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ในชั้นที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำหน้าที่ประธานสอบถามความเห็นผู้พิพากษา อีก 8 คนนั้น มีผู้พิพากษา 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดแต่ผู้พิพากษาอีก 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด คะแนนเสียงจึงเป็น 4 ต่อ 4 เท่ากัน แย้งกันอยู่

กรณีเช่นนี้ ณ เวลานั้น ขณะนั้น จึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาดังกล่าวข้างต้นว่า ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดและกรณียังเป็นที่สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริงหรือไม่ เพราะมีคะแนนเสียงเท่ากัน หาเสียงข้างมากไม่ได้ ซึ่งกรณีย่อมต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 ที่บัญญัติว่า

“ถ้าปัญหาใด มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า” อีกด้วย

ดัง นั้น ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีนี้ ซึ่งเป็นประธานและต้องออกเสียงเป็นคนสุดท้าย จึงต้องถูกผูกมัดและถูกบังคับด้วยบทกฎหมายที่บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งดัง กล่าว ให้จำต้องลงมติว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด เพราะเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า แม้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน จะมีความเห็นขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ คะแนนเสียงของผู้พิพากษาคดีนี้ ที่พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 จึงเท่ากับว่า ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 และมาตรา 184

จึงมีข้อพิจารณาว่า เป็นการลงมติที่ถูกต้องหรือไม่ คำพิพากษาคดีนี้ สามารถยืนยันได้แท้จริงหรือไม่ว่า พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ควรต้องรับโทษในทางอาญา

อนึ่ง การลงมติที่จะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184 ดังกล่าวนี้ ย่อมครอบคลุมทุกประเด็นปัญหาในการประชุม เพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีอาญา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาว่า จำเลยกระทำผิดหรือไม่ ควรลงโทษจำเลยหรือไม่เพียงใด หรือสมควรลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษ แต่รอการลงโทษจำเลยไว้หรือไม่เป็นต้น

ดังจะเห็นได้จากถ้อยคำตามตัวบทมาตรา 184 ที่ว่า “...ให้เจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพาทที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย... ถ้าในปัญหาใด มีความเห็นแย้งกัน…” ดังนี้ แสดงว่าการลงมติขององค์คณะผู้พิพากษาในคดีอาญา ต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 184 ทุก ๆ ประเด็นปัญหา ไม่มีข้อยกเว้น

ด้วย เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่กล่าวมา พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 จะได้รู้เห็นยินยอมให้คุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่จะทำให้จำเลยที่ 1 กลายเป็นผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100(1) และมาตรา 122 วรรคสอง หรือไม่ และการประชุมปรึกษาองค์คณะผู้พิพากษาเป็นการประชุมและลงมติที่สอดคล้องกับ กฎหมายดังกล่าวมาแล้วหรือไม่

หากองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คน ได้ลงมติให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว มติในการพิพากษาคดีนี้ น่าจะเป็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดัง กล่าวหรือไม่

หากกรณีเป็นไปตามที่กล่าวมาโดยลำดับ สมควรหรือไม่ ที่พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะต้องได้รับโทษในทางอาญา

ที่มา - ประชาไท
http://www.dlo.co.th/node/204

-------------------------------------------------
dimistry
dimistry
Admin

จำนวนข้อความ : 808
Join date : 18/09/2009
ที่อยู่ : France

http://http:redcyberclub.co.cc

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ