มารู้จักปท.จีน วันนี้กัน"ปฏิรูป"ก่อน"ปฎิวัติ" //ค้นคว้าจากคำพูดทักษิณ 20ตค52
หน้า 1 จาก 1
มารู้จักปท.จีน วันนี้กัน"ปฏิรูป"ก่อน"ปฎิวัติ" //ค้นคว้าจากคำพูดทักษิณ 20ตค52
ประเทศจีนวันนี้“ปฏิรูป”ก่อน “ปฏิวัติ”
(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Reform before revolt in today’s China
By Francesco Sisci
10/06/2009
ทัศนคติของชาวจีนได้เปลี่ยนไปแล้วในระยะเวลา 20 ปีนับตั้งแต่การปราบปรามผู้ประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ชาวจีนในวันนี้มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับพวกขุนนางนักปฏิรูปในยุคศตวรรษที่ 19 อยู่มาก นั่นคือไม่ประสงค์ที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติเพื่อบรรลุการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยความรุนแรง แต่พวกเขากลับเลือกที่จะประคับประคองให้เรือลอยน้ำไปอย่างไม่โคลงเคลง และคอยผลักดันให้เกิดการปฏิรูปด้านต่างๆ ทีละเล็กละน้อย แทนที่จะบ่ายเบนไปตามเส้นทางที่เมื่อเลือกแล้วก็จะไม่มีวันหวนกลับมาได้อีก
ปักกิ่ง – ผมขอสารภาพ เมื่อ 20 ปีที่แล้วผมอยู่ในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ผมได้รู้จักนักศึกษาจำนวนมาก ผมได้พูดคุยกับพวกเขาในตอนนั้น และตอนนี้ก็ยังคงพูดคุยกับพวกเขาอยู่ ในเวลานั้นพวกเขาต้องการประชาธิปไตยและการปฏิวัติ ในเวลานี้พวกเขารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยากและซับซ้อนเกินกว่าที่จะอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายนเมื่อ 20 ปีก่อน แล้วเลยเห็นว่าไปพูดคุยกันในเรื่องอื่นๆ ดีกว่า หลีกเลี่ยงประเด็นนี้ไปเสียดีกว่า ทั้งนี้ก็เพราะว่าพวกเขาคิดแตกต่างไปจากเดิมเสียแล้ว
แน่นอนว่าการที่ทัศนคติของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากพวกเขาอายุมากขึ้น นอกจากนั้นประเทศจีนก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และพรรคคอมมิวนิสต์ก็มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม อาจจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ ทว่าคำอธิบายเหล่านี้ก็ดูจะยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างเต็มที่ถึงกระแสคลื่นใต้น้ำอันล้ำลึก ที่กำลังไหลพรูพรั่งไปทั่วสังคมจีน
ในศตวรรษที่ 19 จีนเวลานั้นถูกครอบงำโดยราชวงศ์ต่างชาติและชาวต่างชาติ ซึ่งก็คือราชวงศ์ชิงของพวกแมนจู พวกเขากำลังถูกโจมตีอย่างหนักทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ส่วนที่เป็นภายในนั้น พวกไท่ผิงกำลังพยายามโค่นล้มจักรพรรดิและสถาปนาราชวงศ์ใหม่ที่เป็นคนจีนอย่างเต็มตัวแต่นับถือศาสนาแบบคริสเตียนเทียมๆ ขณะเดียวกันชาวต่างชาติก็กำลังเปิดการโจมตีเช่นกัน เป็นต้นว่า รัสเซียรุกโดยทางบกเข้าสู่ซินเจียง (ซินเกียง) ส่วนพวกตะวันตกบุกทางทะเลในระหว่างสงครามฝิ่น
ในทางทฤษฎีแล้ว สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมเป็นโอกาสอันดีสำหรับชนชาติฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ในจีน ที่จะไปสนับสนุนพวกกบฎหรือชาวต่างชาติพวกใหม่และโค่นล้มแมนจูลงไป อย่างไรก็ดี เหล่าขุนนางชั้นเยี่ยมที่สุดในเมืองจีน รวมทั้งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งส่วนมากเป็นชาวฮั่น กลับพยายามกระทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ด้วยการกอบกู้ช่วยชีวิตราชวงศ์ต่างชาติราชวงศ์นี้
ถึงแม้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่าพวกแมนจูนั้นกดขี่ชาวฮั่นโดยดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มุ่งแบ่งแยกกีดกัน ทว่าทั้งขุนนางข้าราชการและประชาชนชาวฮั่นกลับลงแรงใช้ความพยายามอย่างที่สุดเพื่อปกป้องไม่ให้ราชวงศ์ชิงล้มครืนลง
ในหนังสือเรื่อง Rising China and its Postmodern Fate ที่กำลังจะออกวางจำหน่าย ผู้เขียนคือ ชาร์ลส์ ฮอร์เนอร์ ได้สำรวจศึกษาประเด็นนี้ และประเมินออกมาว่า มันเป็นทิศทางแนวโน้มอันสำคัญที่สุดแนวโน้มหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับจีนยุคใหม่
“รวมแล้วราชวงศ์ชิงต้องใช้เวลาเกือบ 15 ปี นั่นคือจนกระทั่งถึงปี 1865 ในการปราบปรามขบวนการนี้ [พวกไท่ผิง] มันเป็นสงครามกลางเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก ผู้คนหลายสิบล้านคนเข้าเกี่ยวข้องพัวพันกับทั้งสองฝ่ายในการต่อสู้คราวนี้ จำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายอยู่ในหลักหลายสิบล้านคน และความพินาศหายนะที่เกิดขึ้นตามมานั้น พวกที่พบเห็นต่างบอกเล่าตรงกันหมดว่า มากมายมหาศาลเหลือเกิน จนกระทั่ง “ความทุกข์ยากและความเดือดร้อนของพวกชาวบ้านนั้นถึงขั้นเกินกว่าที่จะบรรยายออกมาได้” ตัวกษัตริย์แห่งสวรรค์ [หงซิ่วฉวน ผู้นำขบวนการไท่ผิง] สิ้นชีวิตในฤดูร้อนปี 1864 และนครหนานจิง (นานกิง) ที่เป็นเมืองหลวงของพวกไท่ผิงมาตั้งแต่ปี 1853 ก็ถูกกองกำลังของราชวงศ์ชิงตีคืนไปได้หลังจากนั้นไม่นาน มันเป็นการยึดคืนหนึ่งในมหานครยิ่งใหญ่ของจีนด้วยความนองเลือดเหี้ยมโหด การไล่ล่าติดตามของราชวงศ์ชิง ต่อเศษเล็กเศษน้อยของพวกไท่ผิงที่พยายามหลบหนี ก็ไร้ความปรานีและไม่มีการผ่อนปรนใดๆ พอๆ กัน” (หน้า58)
พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้ฆ่าผู้คนนับล้านๆ จากการดำเนินนโยบายที่แย่ๆ (เป็นต้นว่า นโยบายการก้าวกระโดดใหญ่ ในทศวรรษ 1950) หรือด้วยการใช้ขบวนการทางการเมืองที่โหดเหี้ยม (เป็นต้นว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม ในทศวรรษ 1960) ซึ่งอย่างน้อยที่สุดในสายตาของฝ่ายตะวันตกแล้ว มันก็เป็นเหตุผลอันเหลือเฟือที่จะทำให้ใครก็ตามเคียดแค้นผู้ปกครองของตน และต้องการโค่นล้มพวกเขา กระนั้นก็ดี เวลานี้ชาวจีนส่วนใหญ่ต่างลืมการกระทำอันชั่วร้ายในอดีตเหล่านี้ และสนับสนุนให้รักษาระบอบปกครองนี้เอาไว้
เหตุผลของเรื่องนี้ก็เข้าใจได้ง่ายๆ ฮอร์เนอร์อธิบายเอาไว้ว่า พวกผู้นำพรรคในปัจจุบันส่วนที่เป็นนักปฏิรูป ก็เหมือนกับพวกขุนนางนักปฏิรูปในศตวรรษที่ 19 โดยต่างคิดว่าหนทางที่เร็วที่สุดและปลอดภัยที่สุดในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในประเทศจีนนั้น ไม่ใช่การทำให้เกิดการปฏิวัติที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว แต่คือการประคับประคองให้เรือลอยน้ำไปอย่างไม่โคลงเคลง และคอยผลักดันให้เกิดการปฏิรูปด้านต่างๆ ทีละเล็กละน้อย
ฮอร์เนอร์เสนอเอาไว้ดังนี้
“เราสามารถที่จะมองเรื่องราวของจีนยุคใหม่ ในฐานะที่เป็นการต่อสู้กันระหว่าง พวกหัวรุนแรงที่ใฝ่ฝันไปให้ถึงโลกอุดมคติ ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในตัวของเหมาเจ๋อตง ผู้นำทางที่ยิ่งใหญ่แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนฝ่ายหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่งคือพวกที่ช่ำชองในศาสตร์และศิลป์แห่งการบริหารรัฐกิจและการสร้างรัฐ อันเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีอายุเก่าแก่ยาวนาน ดังเช่น ในยุคปลายราชวงศ์ชิง ก็ได้แก่“พวกเรียกร้องให้สร้างตนเองให้แข็งแกร่ง” ส่วนในยุคนี้ ก็คือ พวกผู้ติดตามเติ้งเสี่ยวผิง ที่เป็นพวก“เน้นการปฏิบัติ” (หน้า 16)
ในโลกตะวันตก เราอาจจะคิดว่าการปฏิรูปสามารถไปไกลได้แค่ไหนกันเชียว และการที่จะบรรลุความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลชนิดที่จีนจำเป็นต้องกระทำนั้น เราจะต้องก่อการปฏิวัติขึ้นมา กระนั้นก็ตาม การปฏิวัติต่างๆ ในโลกตะวันตก บ่อยครั้งอาจจะเป็นการลุกฮือขึ้นมาโดยแทบจะไม่มีการนองเลือด ระบอบเผด็จการในสเปน, โปรตุเกส, และพวกประเทศยุโรปตะวันออก ต่างถูกโค่นล้มลงในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยที่มีการชุมนุมเดินขบวนอยู่ไม่กี่ครั้ง และไม่มีความรุนแรงอะไรให้พูดถึง
แต่ในประเทศจีน ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของความรุนแรงนั้นมีความแตกต่างออกไป ความรุนแรงเป็นเรื่องอันน่าสยดสยองจนกระทั่งชาวจีนไม่ปรารถนาแม้แต่จะเพียงขบคิดถึง เนื่องจากเมื่อก่อให้เกิดขึ้นมาแล้ว มันก็แทบไม่มีทางที่จะดึงกลับมาได้อีก
ระหว่างการปราบปรามการกบฏไท่ผิง มีผู้คนถูกฆ่าตายไปกว่า 60 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าสงครามโลกครั้งที่สองทั้งสงคราม ที่คู่ศึกทั้งสองฝ่ายต่างมีประสบการณ์เรื่องการทิ้งระเบิดปูพรมกันมาแล้ว และก็เป็นกว่า 20% ของประชากรจีนทั้งหมดในยุคสมัยนั้นด้วย ในระยะที่เกิดสงครามกลางเมืองและการรุกรานของญี่ปุ่น ก็มีผู้คนตายไปเป็นล้านๆ คน แล้วยังมีอีกเป็นล้านๆ คนที่ต้องม้วยมรณ์ไปในความเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งต่างๆ ที่มีเหมาเป็นผู้นำ กล่าวคือ มีราว 30-40 ล้านคนต้องปลิดปลงไปเพราะการดำเนินนโยบายที่ล้มเหลว นั่นคือ การก้าวกระโดดใหญ่ ซึ่งทำให้ประชาชนต้องอดอยากอยู่เป็นปีๆ
นอกจากนั้นแล้ว การปฏิวัติจะไม่นำเอาโครงการปฏิรูปต่างๆ ในอดีตมาดำเนินการต่อ เหมือนกับที่กระทำกันในโลกตะวันตก มันเป็นการเริ่มต้นทุกสิ่งทุกอย่างกันใหม่หมดอีกครั้ง สิ่งที่ได้กันมาในอดีตถูกริบถูกทำลายสูญไปหมด สะพานต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับอดีตถูกเผาทิ้งสิ้น และสถานการณ์ใหม่เอี่ยมหมดจดก็เริ่มต้นขึ้นมา ฮอร์เนอร์ชี้ให้เห็นถึงการที่ชาวจีนให้ความสนใจกับเรื่องการวางผังเมือง และตั้งข้อสังเกตว่าแท้ที่จริงแล้วเรื่องการวางผังเมืองนี้คือส่วนประกอบหนึ่งของการปฏิวัติ สำหรับโลกตะวันตกนั้น แม้จะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งแล้ว ทว่าระบอบปกครองของฝ่ายตะวันตก อย่างไรเสียก็ต้องพากเพียรพยายามที่จะอนุรักษ์อาคารเก่าๆ เอาไว้ แต่สำหรับราชวงศ์ใหม่ของจีนทุกๆ ราชวงศ์ พวกเขาจะรื้อทิ้งทำลายบ้านเรือนและพระราชวังในอดีต แล้วสร้างนครต่างๆ ขึ้นมาใหม่ พวกคอมมิวนิสต์ก็ไม่ได้ปฏิบัติแตกต่างไปจากนี้
เหมาเจ๋อตงรื้อถอนเขตเมืองชั้นในในอดีตของราชวงศ์แมนจู เพื่อขยายจัตุรัสเทียนอันเหมินให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และทายาทต่อๆ มาของเขาก็ทำลายนครต่างๆ ลงทั้งนคร เพื่อสร้างอาคารระฟ้าสไตล์อเมริกันขึ้นมาใหม่
กระแสเน้นย้ำให้อนุรักษ์นครเก่าแก่ต่างๆ ในปัจจุบัน ต้องถือว่าเป็นความพยายามทางด้านวัฒนธรรมอันห้าวหาญ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะหันหลังให้แก่วัฒนธรรมแห่งความรุนแรงและการทำลายล้างนี้ จุดมุ่งหมายก็คือเพื่อยุติการประจันหน้ากันโดยตรงระหว่างความทันสมัยกับจารีตประเพณี ซึ่งได้กลายเป็นลักษณะโดดเด่นของจีนในรอบศตวรรษที่ผ่านมา
ในยุคศตวรรษที่ 19 เรื่องนี้หมายถึงการพิทักษ์ป้องกันราชวงศ์แมนจูที่เป็นพวกต่างชาติผู้รุกราน ในทุกวันนี้เรื่องนี้หมายถึงการอนุรักษ์มรดกของเหมา ผู้เป็นสถาปนิกแห่งการสังหารหมู่มาหลายสิบปี นี่อาจจะดูน่าหัวเราะเยาะทว่าในหลายๆ แง่มุมแล้ว มันสามารถมองย้อนสาวกลับไปถึงรากเหง้าของอารยธรรมตะวันตก ตอนที่คริสตศาสนากลายเป็นศาสนาที่ครอบงำทั่วอาณาจักรโรมันนั้น ก็มีการหลงลืมหรือมีการบิดเบือนความจริงในเรื่องเกี่ยวกับการที่พวกจักรพรรดิได้เคยกล่าวโทษกวาดล้างชาวคริสเตียนก่อนหน้านี้ ชาวคริสเตียนก็ไม่ได้ปฏิเสธจักรวรรดิโรมันหรือพยายามทำลายมันให้แตกเป็นเสี่ยงๆ ในทางเป็นจริงแล้ว พวกเขากลายเป็นเสาหลักที่หนักแน่นมั่งคงที่สุดของความต่อเนื่อง จากความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอันมากมายทางด้านพิธีกรรมและอุดมการณ์ของศาสนานี้
พวกนักปฏิรูปในศตวรรษที่ 19 นั้น ในที่สุดแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ แต่พวกเขาก็ปรารถนาที่จะทำเช่นนั้นอยู่ดี หากพวกนักปฏิรูปในปัจจุบันต้องการประสบความสำเร็จในตอนนี้ พวกเขาก็จะต้องกระทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้: สงวนรักษาธงแห่งชาวคอมมิวนิสต์และภาษาถ้อยคำแบบชาวคอมมิวนิสต์เอาไว้ ขณะเดียวกับที่พยายามไม่สั่นเรือให้โคลงเคลง และสร้างนวัตกรรมอย่างมากมายให้แก่ระบบ ความสำเร็จของพวกเขาจะหมายถึงว่า ประเทศจีน –และโลกด้วย น่าจะรอดพ้นไม่ต้องประสบวงจรแห่งความรุนแรงอันไร้เหตุผลรอบใหม่
นี่อาจจะยังไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมดว่าทำไมเพื่อนๆ ของผมจึงรู้สึกอิหลักอิเหลื่อเกี่ยวกับการพูดถึงเทียนอันเหมิน และไม่สามารถมองอย่างตรงไปตรงมาสู่เหตุการณ์ต่างๆ เมื่อ 20 ปีก่อน กระนั้นก็ตาม ในเวลานี้เราก็สามารถมองสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีที่แตกต่างออกไปจากเดิมแล้ว
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นบรรณาธิการประจำเอเชียของหนังสือพิมพ์ ลา สตัมปา แห่งอิตาลี เขาพำนักอยู่ในกรุงปักกิ่ง
--------------------------------------------------------------------------------
หัวข้อ : ภาพประวัติศาสตร์-ปฏิวัติวัฒนธรรม
ภาพประวัติศาสตร์-ปฏิวัติวัฒนธรรม
โปสเตอร์กับคำขวัญ “กองทัพปลดแอกประชาชนเป็นมหาวิทยาลัยของความคิดเหมาเจ๋อตง”
เหมาพบกับพวกเรดการ์ด (Red Guard) นับล้านที่จตุรัสเทียนอันเหมิน
จับยัดข้อหา เขียนชื่อประจาน
เหล่าเรดการ์ดเข้าทำลายพระพุทธรูป
เจ้าที่ก็ไม่เว้น
เผาทำลายวรรณกรรมเก่าแก่
ถูกจับสวม “หมวกสูง”ประจานกลางถนน
แม้แต่คนตายก็ไม่เว้น สุสานโบราณถูกเรดการ์ดขุดออกมา
โปสเตอร์ต่อต้านแก๊งสี่คนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน
ประชาชนนับล้านร่วมไว้อาลัยโจวเอินไหลและต่อต้านแก๊งสี่คน
ฉลองชัยหลังทลายแก๊งสี่คนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน
วาระสุดท้ายของเจียงชิง หนึ่งในแก๊งสี่คนขณะขึ้นศาล
[b]
(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Reform before revolt in today’s China
By Francesco Sisci
10/06/2009
ทัศนคติของชาวจีนได้เปลี่ยนไปแล้วในระยะเวลา 20 ปีนับตั้งแต่การปราบปรามผู้ประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ชาวจีนในวันนี้มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับพวกขุนนางนักปฏิรูปในยุคศตวรรษที่ 19 อยู่มาก นั่นคือไม่ประสงค์ที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติเพื่อบรรลุการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยความรุนแรง แต่พวกเขากลับเลือกที่จะประคับประคองให้เรือลอยน้ำไปอย่างไม่โคลงเคลง และคอยผลักดันให้เกิดการปฏิรูปด้านต่างๆ ทีละเล็กละน้อย แทนที่จะบ่ายเบนไปตามเส้นทางที่เมื่อเลือกแล้วก็จะไม่มีวันหวนกลับมาได้อีก
ปักกิ่ง – ผมขอสารภาพ เมื่อ 20 ปีที่แล้วผมอยู่ในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ผมได้รู้จักนักศึกษาจำนวนมาก ผมได้พูดคุยกับพวกเขาในตอนนั้น และตอนนี้ก็ยังคงพูดคุยกับพวกเขาอยู่ ในเวลานั้นพวกเขาต้องการประชาธิปไตยและการปฏิวัติ ในเวลานี้พวกเขารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยากและซับซ้อนเกินกว่าที่จะอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายนเมื่อ 20 ปีก่อน แล้วเลยเห็นว่าไปพูดคุยกันในเรื่องอื่นๆ ดีกว่า หลีกเลี่ยงประเด็นนี้ไปเสียดีกว่า ทั้งนี้ก็เพราะว่าพวกเขาคิดแตกต่างไปจากเดิมเสียแล้ว
แน่นอนว่าการที่ทัศนคติของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากพวกเขาอายุมากขึ้น นอกจากนั้นประเทศจีนก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และพรรคคอมมิวนิสต์ก็มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม อาจจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ ทว่าคำอธิบายเหล่านี้ก็ดูจะยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างเต็มที่ถึงกระแสคลื่นใต้น้ำอันล้ำลึก ที่กำลังไหลพรูพรั่งไปทั่วสังคมจีน
ในศตวรรษที่ 19 จีนเวลานั้นถูกครอบงำโดยราชวงศ์ต่างชาติและชาวต่างชาติ ซึ่งก็คือราชวงศ์ชิงของพวกแมนจู พวกเขากำลังถูกโจมตีอย่างหนักทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ส่วนที่เป็นภายในนั้น พวกไท่ผิงกำลังพยายามโค่นล้มจักรพรรดิและสถาปนาราชวงศ์ใหม่ที่เป็นคนจีนอย่างเต็มตัวแต่นับถือศาสนาแบบคริสเตียนเทียมๆ ขณะเดียวกันชาวต่างชาติก็กำลังเปิดการโจมตีเช่นกัน เป็นต้นว่า รัสเซียรุกโดยทางบกเข้าสู่ซินเจียง (ซินเกียง) ส่วนพวกตะวันตกบุกทางทะเลในระหว่างสงครามฝิ่น
ในทางทฤษฎีแล้ว สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมเป็นโอกาสอันดีสำหรับชนชาติฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ในจีน ที่จะไปสนับสนุนพวกกบฎหรือชาวต่างชาติพวกใหม่และโค่นล้มแมนจูลงไป อย่างไรก็ดี เหล่าขุนนางชั้นเยี่ยมที่สุดในเมืองจีน รวมทั้งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งส่วนมากเป็นชาวฮั่น กลับพยายามกระทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ด้วยการกอบกู้ช่วยชีวิตราชวงศ์ต่างชาติราชวงศ์นี้
ถึงแม้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่าพวกแมนจูนั้นกดขี่ชาวฮั่นโดยดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มุ่งแบ่งแยกกีดกัน ทว่าทั้งขุนนางข้าราชการและประชาชนชาวฮั่นกลับลงแรงใช้ความพยายามอย่างที่สุดเพื่อปกป้องไม่ให้ราชวงศ์ชิงล้มครืนลง
ในหนังสือเรื่อง Rising China and its Postmodern Fate ที่กำลังจะออกวางจำหน่าย ผู้เขียนคือ ชาร์ลส์ ฮอร์เนอร์ ได้สำรวจศึกษาประเด็นนี้ และประเมินออกมาว่า มันเป็นทิศทางแนวโน้มอันสำคัญที่สุดแนวโน้มหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับจีนยุคใหม่
“รวมแล้วราชวงศ์ชิงต้องใช้เวลาเกือบ 15 ปี นั่นคือจนกระทั่งถึงปี 1865 ในการปราบปรามขบวนการนี้ [พวกไท่ผิง] มันเป็นสงครามกลางเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก ผู้คนหลายสิบล้านคนเข้าเกี่ยวข้องพัวพันกับทั้งสองฝ่ายในการต่อสู้คราวนี้ จำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายอยู่ในหลักหลายสิบล้านคน และความพินาศหายนะที่เกิดขึ้นตามมานั้น พวกที่พบเห็นต่างบอกเล่าตรงกันหมดว่า มากมายมหาศาลเหลือเกิน จนกระทั่ง “ความทุกข์ยากและความเดือดร้อนของพวกชาวบ้านนั้นถึงขั้นเกินกว่าที่จะบรรยายออกมาได้” ตัวกษัตริย์แห่งสวรรค์ [หงซิ่วฉวน ผู้นำขบวนการไท่ผิง] สิ้นชีวิตในฤดูร้อนปี 1864 และนครหนานจิง (นานกิง) ที่เป็นเมืองหลวงของพวกไท่ผิงมาตั้งแต่ปี 1853 ก็ถูกกองกำลังของราชวงศ์ชิงตีคืนไปได้หลังจากนั้นไม่นาน มันเป็นการยึดคืนหนึ่งในมหานครยิ่งใหญ่ของจีนด้วยความนองเลือดเหี้ยมโหด การไล่ล่าติดตามของราชวงศ์ชิง ต่อเศษเล็กเศษน้อยของพวกไท่ผิงที่พยายามหลบหนี ก็ไร้ความปรานีและไม่มีการผ่อนปรนใดๆ พอๆ กัน” (หน้า58)
พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้ฆ่าผู้คนนับล้านๆ จากการดำเนินนโยบายที่แย่ๆ (เป็นต้นว่า นโยบายการก้าวกระโดดใหญ่ ในทศวรรษ 1950) หรือด้วยการใช้ขบวนการทางการเมืองที่โหดเหี้ยม (เป็นต้นว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม ในทศวรรษ 1960) ซึ่งอย่างน้อยที่สุดในสายตาของฝ่ายตะวันตกแล้ว มันก็เป็นเหตุผลอันเหลือเฟือที่จะทำให้ใครก็ตามเคียดแค้นผู้ปกครองของตน และต้องการโค่นล้มพวกเขา กระนั้นก็ดี เวลานี้ชาวจีนส่วนใหญ่ต่างลืมการกระทำอันชั่วร้ายในอดีตเหล่านี้ และสนับสนุนให้รักษาระบอบปกครองนี้เอาไว้
เหตุผลของเรื่องนี้ก็เข้าใจได้ง่ายๆ ฮอร์เนอร์อธิบายเอาไว้ว่า พวกผู้นำพรรคในปัจจุบันส่วนที่เป็นนักปฏิรูป ก็เหมือนกับพวกขุนนางนักปฏิรูปในศตวรรษที่ 19 โดยต่างคิดว่าหนทางที่เร็วที่สุดและปลอดภัยที่สุดในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในประเทศจีนนั้น ไม่ใช่การทำให้เกิดการปฏิวัติที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว แต่คือการประคับประคองให้เรือลอยน้ำไปอย่างไม่โคลงเคลง และคอยผลักดันให้เกิดการปฏิรูปด้านต่างๆ ทีละเล็กละน้อย
ฮอร์เนอร์เสนอเอาไว้ดังนี้
“เราสามารถที่จะมองเรื่องราวของจีนยุคใหม่ ในฐานะที่เป็นการต่อสู้กันระหว่าง พวกหัวรุนแรงที่ใฝ่ฝันไปให้ถึงโลกอุดมคติ ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในตัวของเหมาเจ๋อตง ผู้นำทางที่ยิ่งใหญ่แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนฝ่ายหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่งคือพวกที่ช่ำชองในศาสตร์และศิลป์แห่งการบริหารรัฐกิจและการสร้างรัฐ อันเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีอายุเก่าแก่ยาวนาน ดังเช่น ในยุคปลายราชวงศ์ชิง ก็ได้แก่“พวกเรียกร้องให้สร้างตนเองให้แข็งแกร่ง” ส่วนในยุคนี้ ก็คือ พวกผู้ติดตามเติ้งเสี่ยวผิง ที่เป็นพวก“เน้นการปฏิบัติ” (หน้า 16)
ในโลกตะวันตก เราอาจจะคิดว่าการปฏิรูปสามารถไปไกลได้แค่ไหนกันเชียว และการที่จะบรรลุความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลชนิดที่จีนจำเป็นต้องกระทำนั้น เราจะต้องก่อการปฏิวัติขึ้นมา กระนั้นก็ตาม การปฏิวัติต่างๆ ในโลกตะวันตก บ่อยครั้งอาจจะเป็นการลุกฮือขึ้นมาโดยแทบจะไม่มีการนองเลือด ระบอบเผด็จการในสเปน, โปรตุเกส, และพวกประเทศยุโรปตะวันออก ต่างถูกโค่นล้มลงในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยที่มีการชุมนุมเดินขบวนอยู่ไม่กี่ครั้ง และไม่มีความรุนแรงอะไรให้พูดถึง
แต่ในประเทศจีน ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของความรุนแรงนั้นมีความแตกต่างออกไป ความรุนแรงเป็นเรื่องอันน่าสยดสยองจนกระทั่งชาวจีนไม่ปรารถนาแม้แต่จะเพียงขบคิดถึง เนื่องจากเมื่อก่อให้เกิดขึ้นมาแล้ว มันก็แทบไม่มีทางที่จะดึงกลับมาได้อีก
ระหว่างการปราบปรามการกบฏไท่ผิง มีผู้คนถูกฆ่าตายไปกว่า 60 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าสงครามโลกครั้งที่สองทั้งสงคราม ที่คู่ศึกทั้งสองฝ่ายต่างมีประสบการณ์เรื่องการทิ้งระเบิดปูพรมกันมาแล้ว และก็เป็นกว่า 20% ของประชากรจีนทั้งหมดในยุคสมัยนั้นด้วย ในระยะที่เกิดสงครามกลางเมืองและการรุกรานของญี่ปุ่น ก็มีผู้คนตายไปเป็นล้านๆ คน แล้วยังมีอีกเป็นล้านๆ คนที่ต้องม้วยมรณ์ไปในความเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งต่างๆ ที่มีเหมาเป็นผู้นำ กล่าวคือ มีราว 30-40 ล้านคนต้องปลิดปลงไปเพราะการดำเนินนโยบายที่ล้มเหลว นั่นคือ การก้าวกระโดดใหญ่ ซึ่งทำให้ประชาชนต้องอดอยากอยู่เป็นปีๆ
นอกจากนั้นแล้ว การปฏิวัติจะไม่นำเอาโครงการปฏิรูปต่างๆ ในอดีตมาดำเนินการต่อ เหมือนกับที่กระทำกันในโลกตะวันตก มันเป็นการเริ่มต้นทุกสิ่งทุกอย่างกันใหม่หมดอีกครั้ง สิ่งที่ได้กันมาในอดีตถูกริบถูกทำลายสูญไปหมด สะพานต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับอดีตถูกเผาทิ้งสิ้น และสถานการณ์ใหม่เอี่ยมหมดจดก็เริ่มต้นขึ้นมา ฮอร์เนอร์ชี้ให้เห็นถึงการที่ชาวจีนให้ความสนใจกับเรื่องการวางผังเมือง และตั้งข้อสังเกตว่าแท้ที่จริงแล้วเรื่องการวางผังเมืองนี้คือส่วนประกอบหนึ่งของการปฏิวัติ สำหรับโลกตะวันตกนั้น แม้จะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งแล้ว ทว่าระบอบปกครองของฝ่ายตะวันตก อย่างไรเสียก็ต้องพากเพียรพยายามที่จะอนุรักษ์อาคารเก่าๆ เอาไว้ แต่สำหรับราชวงศ์ใหม่ของจีนทุกๆ ราชวงศ์ พวกเขาจะรื้อทิ้งทำลายบ้านเรือนและพระราชวังในอดีต แล้วสร้างนครต่างๆ ขึ้นมาใหม่ พวกคอมมิวนิสต์ก็ไม่ได้ปฏิบัติแตกต่างไปจากนี้
เหมาเจ๋อตงรื้อถอนเขตเมืองชั้นในในอดีตของราชวงศ์แมนจู เพื่อขยายจัตุรัสเทียนอันเหมินให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และทายาทต่อๆ มาของเขาก็ทำลายนครต่างๆ ลงทั้งนคร เพื่อสร้างอาคารระฟ้าสไตล์อเมริกันขึ้นมาใหม่
กระแสเน้นย้ำให้อนุรักษ์นครเก่าแก่ต่างๆ ในปัจจุบัน ต้องถือว่าเป็นความพยายามทางด้านวัฒนธรรมอันห้าวหาญ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะหันหลังให้แก่วัฒนธรรมแห่งความรุนแรงและการทำลายล้างนี้ จุดมุ่งหมายก็คือเพื่อยุติการประจันหน้ากันโดยตรงระหว่างความทันสมัยกับจารีตประเพณี ซึ่งได้กลายเป็นลักษณะโดดเด่นของจีนในรอบศตวรรษที่ผ่านมา
ในยุคศตวรรษที่ 19 เรื่องนี้หมายถึงการพิทักษ์ป้องกันราชวงศ์แมนจูที่เป็นพวกต่างชาติผู้รุกราน ในทุกวันนี้เรื่องนี้หมายถึงการอนุรักษ์มรดกของเหมา ผู้เป็นสถาปนิกแห่งการสังหารหมู่มาหลายสิบปี นี่อาจจะดูน่าหัวเราะเยาะทว่าในหลายๆ แง่มุมแล้ว มันสามารถมองย้อนสาวกลับไปถึงรากเหง้าของอารยธรรมตะวันตก ตอนที่คริสตศาสนากลายเป็นศาสนาที่ครอบงำทั่วอาณาจักรโรมันนั้น ก็มีการหลงลืมหรือมีการบิดเบือนความจริงในเรื่องเกี่ยวกับการที่พวกจักรพรรดิได้เคยกล่าวโทษกวาดล้างชาวคริสเตียนก่อนหน้านี้ ชาวคริสเตียนก็ไม่ได้ปฏิเสธจักรวรรดิโรมันหรือพยายามทำลายมันให้แตกเป็นเสี่ยงๆ ในทางเป็นจริงแล้ว พวกเขากลายเป็นเสาหลักที่หนักแน่นมั่งคงที่สุดของความต่อเนื่อง จากความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอันมากมายทางด้านพิธีกรรมและอุดมการณ์ของศาสนานี้
พวกนักปฏิรูปในศตวรรษที่ 19 นั้น ในที่สุดแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ แต่พวกเขาก็ปรารถนาที่จะทำเช่นนั้นอยู่ดี หากพวกนักปฏิรูปในปัจจุบันต้องการประสบความสำเร็จในตอนนี้ พวกเขาก็จะต้องกระทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้: สงวนรักษาธงแห่งชาวคอมมิวนิสต์และภาษาถ้อยคำแบบชาวคอมมิวนิสต์เอาไว้ ขณะเดียวกับที่พยายามไม่สั่นเรือให้โคลงเคลง และสร้างนวัตกรรมอย่างมากมายให้แก่ระบบ ความสำเร็จของพวกเขาจะหมายถึงว่า ประเทศจีน –และโลกด้วย น่าจะรอดพ้นไม่ต้องประสบวงจรแห่งความรุนแรงอันไร้เหตุผลรอบใหม่
นี่อาจจะยังไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมดว่าทำไมเพื่อนๆ ของผมจึงรู้สึกอิหลักอิเหลื่อเกี่ยวกับการพูดถึงเทียนอันเหมิน และไม่สามารถมองอย่างตรงไปตรงมาสู่เหตุการณ์ต่างๆ เมื่อ 20 ปีก่อน กระนั้นก็ตาม ในเวลานี้เราก็สามารถมองสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีที่แตกต่างออกไปจากเดิมแล้ว
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นบรรณาธิการประจำเอเชียของหนังสือพิมพ์ ลา สตัมปา แห่งอิตาลี เขาพำนักอยู่ในกรุงปักกิ่ง
--------------------------------------------------------------------------------
หัวข้อ : ภาพประวัติศาสตร์-ปฏิวัติวัฒนธรรม
ภาพประวัติศาสตร์-ปฏิวัติวัฒนธรรม
โปสเตอร์กับคำขวัญ “กองทัพปลดแอกประชาชนเป็นมหาวิทยาลัยของความคิดเหมาเจ๋อตง”
เหมาพบกับพวกเรดการ์ด (Red Guard) นับล้านที่จตุรัสเทียนอันเหมิน
จับยัดข้อหา เขียนชื่อประจาน
เหล่าเรดการ์ดเข้าทำลายพระพุทธรูป
เจ้าที่ก็ไม่เว้น
เผาทำลายวรรณกรรมเก่าแก่
ถูกจับสวม “หมวกสูง”ประจานกลางถนน
แม้แต่คนตายก็ไม่เว้น สุสานโบราณถูกเรดการ์ดขุดออกมา
โปสเตอร์ต่อต้านแก๊งสี่คนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน
ประชาชนนับล้านร่วมไว้อาลัยโจวเอินไหลและต่อต้านแก๊งสี่คน
ฉลองชัยหลังทลายแก๊งสี่คนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน
วาระสุดท้ายของเจียงชิง หนึ่งในแก๊งสี่คนขณะขึ้นศาล
[b]
RED LETTER- จำนวนข้อความ : 266
Join date : 24/09/2009
Similar topics
» จดหมายเปิดผนึกจาก"มนูญกฤติ" ถึง"เปรม ติณสูลานนท์" ว่าด้วยเรื่อง "คนชั่ว"
» พฤษภาทมิฬ 2535
» ข่าววันนี้ 20 ธค 52
» **เปิดข้อมูลใหม่ "วรเจตน์ ภาคีรัตน์ " ความหวังสุดท้าย"ทักษิณ" หวังพลิกคดียึดทรัพย์..
» ***คลิปเปิดใจ"ศิวรักษ์"หลังกลับถึงปท.ไทยต้องการพบ "คำรบ" ทวงถามให้ออกมาพูดไรบ้าง***
» พฤษภาทมิฬ 2535
» ข่าววันนี้ 20 ธค 52
» **เปิดข้อมูลใหม่ "วรเจตน์ ภาคีรัตน์ " ความหวังสุดท้าย"ทักษิณ" หวังพลิกคดียึดทรัพย์..
» ***คลิปเปิดใจ"ศิวรักษ์"หลังกลับถึงปท.ไทยต้องการพบ "คำรบ" ทวงถามให้ออกมาพูดไรบ้าง***
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ